space
space
space
<<
มิถุนายน 2559
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
10 มิถุนายน 2559
space
space
space

เสียบปลั๊กชาร์จไฟ Mercedes C350e


คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับรถคันนี้คือ เสียบปลั๊กยังไง ชาร์จไฟยังไงอะ กินไฟเยอะมั๊ย ขับได้ไกลเท่าไหร่ เปลี่ยนแบตใหม่กี่บาท etc etc

แบตเตอรี่ในรถน้องโน๋ (MB C350e) เป็น Lithium ion battery ขนาด 6.4 kWh จะว่าใหญ่ ก็ใหญ่อยู่เพราะมันก็กินที่ยางอะไหล่ แถมยังทำให้เสียพื้นที่กระโปรงหลังไปนิดนึง เทียบกับแบตน้องเล็ก (Lexus CT200h) ก็ใหญ่กว่ากันเกือบ 5 เท่า เพราะแบตน้องเล้กแค่ 1.3 kWh เท่านั้น  ส่วนถ้าเทียบกับ Nissan leaf หรือ Tesla ก็ผิดกันลิบลับ พวกนั้นเป็น pure electric car แบตมีขนาดตั้งแต่ 24 kWh(Nissan Leaf) จนถึง 90 kWh (Tesla รุ่น top) 

คงจะเป็นการยากที่จะเพิ่มความจุแบตเตอรี่โดยไม่กำจัดเครื่องยนต์ทิ้ง น้องโน๋แบกทั้งเครื่องยนต์ มอเตอร์ไฟฟ้า และแบตเตอรี่ รวมกันน้ำหนักมากกว่ารุ่นที่ใช้ตัวถังและเครื่องยนต์เดียวกันถึง 120 kg แถมยังเสียพื้นที่ในกระโปรงหลังไปด้วย  ในจุดนี้ต้องยอมรับว่า BM 330e ทำได้ดีกว่า เพราะแบต BM 330e ใหญ่กว่านิดนึง 7.6 kWh และพื้นที่ในกระโปรงหลังหายไปน้อยกว่านี้ ทาง Mercedes ก็พยายามลดน้ำหนักรถโดยการใช้อลูมิเนียมในส่วนต่าง ๆ เป็นส่วนใหญ่ ความแตกต่างสังเกตได้ชัดตอนปิดประตู  น้องโน๋นี้ปิดประตูยากกว่าปกติเพราะประตูเบา ต้องออกแรงนิดนึง เทียบกับน้องเล็กซึ่งประตูหนักกว่า ผลักเบา ๆ ก็ปิดสนิท

MB ให้ portable charger ยี่ห้อ Delphi มา 1 อัน หน้าตาเป็นก้อนสี่เหลี่ยมใหญ่ ๆ มีที่พันสายรอบ ๆ โดย MB บอกว่าให้เสียบปลั๊กไฟบ้านได้เลย แต่ขอให้มีขากราวด์ และก็อยากให้ติดตั้งเบรกเกอร์ด้วย ซึ่งเบรกเกอร์ 15-20 Amp ก็เกินพอ

Delphi portable charger photo IMG_4345_zpsfddbqblb.jpg
Delphi portable charger ที่มาพร้อมกับรถ


Type 2 connector photo IMG_4349_zps5alt3ecm.jpg
Type 2 connector (ใช้แพร่หลายที่ยุโรป ที่เมกาเป็น type 1)


Type 2 connector pins photo IMG_4352_zps7bygp6f9.jpg
Close up ปลายหัวต่อ type 2 Connector 


ปกติปลั๊กไฟบ้านเราที่ถือเป็นมาตรฐาน มอก.ในปัจจุบันได้แก่ปลั๊กหลุมตากลมแบบ Schuko ซึ่งจ่ายไฟฟ้าได้สูงสุดที่ 16 Amp แต่เนื่องจากมีคนชอบใช้เต้าเสียบปลั๊กไฟแบบสากล (แบบที่รับได้ทั้งขาแบน ขากลม) เยอะ ทาง MB ก็เลยให้ Delphi portable charger ซึ่งมีปลั๊กตัวผู้เป็นแบบขากลม 3 ขา ไม่สามารถเสียบเต้า Schuko ได้ ต้องเสียบกับเต้า universal นั่นแหละ

หาก Delphi brick หา ground ไม่พบ ก็จะมีสัญญาณไฟขึ้น แต่เคยลองดูก็เห็นมันก็ชาร์จให้ คิดว่าคนส่วนใหญ่คงอยากจะรู้สึกสบายใจกว่าถ้ามีขากราวด์ต่ออยู่เผื่อกรณีไฟรั่วหรืออะไรก็ตาม

Delphi portable charger ไม่มีปุ่มปรับเลือกกระแสไฟที่ต้องการชาร์จ ในเมนู setting ที่พวงมาลัยรถ จะสามารถเลือกได้ว่าอยากจะให้รถชาร์จไฟที่กระแสไฟเท่าไหร่ ตั้งแต่ 8A, 13A, maximum

ที่ MB ไม่บอกเราก็คือ max เท่าไหร่ จากที่พยายามค้นในเว็บดูเข้าใจว่า on board charger น่าจะจำกัดกระแสไฟสููงสุดไม่เกิน 16A หรือ 3.7 kWh ดังนั้นใครที่คิดจะลงทุนซื้อ wall charger 32A ก็คงจะไม่ช่วยอะไรเท่าไหร่

Delphi charger ที่ให้มาชาร์จได้เร็วสุดแค่ 10A หรือ 2.2 unit/hr ดังนั้นไม่ว่าจะตั้งความเร็วในรถไว้เท่าไหร่ตั้งแต่ 13A หรือ Maximum ก็จะได้แค่ 10A นั่นแหละ  แต่ถ้าตั้ง 8A ก็จะได้ 8A ตามที่ขอ

จากสถิติที่บันทึกไว้ พบว่าถ้าใช้ Delphi charger ที่ให้มา และตั้งค่ากระแสไฟที่รถตั้งแต่ 13A ขึ้นไป ซึ่งจะทำให้ Delphi charger ชาร์จได้ที่ 10A  จะสามารถชาร์จได้ 30% ต่อชั่วโมง ถ้าแบตหมด (ไม่เคยหมดถึง 0 เคยใช้จนลงต่ำสุดเหลือ 8% ใช้เวลาชาร์จนาน 177 นาที ที่ 10A จึงจะขึ้นมาถึง 100% และเสียไฟฟ้าไป 6.5 units

วิ่งได้กี่โล

MB โฆษณาว่าชาร์จเต็ม 6.4 kWh จะวิ่งได้ 30 km ซึ่งใคร ๆ ก็รู้ว่าไม่จร๊ิง ไม่จริง  เท่าที่สืบรู้บริษัทรถพวกนี้มักจะวัดนู่นนี่ในห้องแล็บ พูดง่าย ๆ ก็คือให้รถวิ่งบนสายพานในห้องทดลอง ไม่ได้ออกมาวิ่งจริง สถิติที่เคยได้ทำ (แบบไม่ได้ตั้งใจ) คือ 26 km โดยขับไม่เกิน 50 km/h (ไม่กล้าขับเร็ววันนั้น เพราะกลัวหลงทาง) และรถต้องไม่ติดด้วย  ถ้าอยากให้ได้ระยะทางเยอะ ๆ คงต้องปิดแอร์ ปิดวิทยุ ปิดไฟ อะไรทุก ๆ อย่าง เพราะแต่ละครั้งที่รถติด รถหยุด ต้องออกตัวใหม่ พลังงานเสียไป การเบรคได้พลังงานคืน ได้ไม่เท่ากับที่ออกรถสตาร์ทใหม่

สรุปว่า ถ้าไม่นับวันนั้นที่ฟลุ๊คๆ ได้ 26 km แบบไม่ตั้งใจ ในวันปกติที่เรานั่งโน๋ไปที่ทำงานผ่านเส้นบรมไปกลับ ผ่านทั้งด้านเมเจอร์ (ขาไป) ด้านเซ็นทรัลปิ่น (ขากลับ) ทั้งเช้า ทั้งเย็น รถติด (บรม) มักจะกลับมาถึงบ้านเหลือไฟแค่ประมาณ 40%  เท่ากับใช้ไปเฉลี่ย 30% แต่ละขา ขาละ 6 km พอกลับมาบ้านเหลือ 40% ถ้าต้องออกไปใหม่ ไปที่ทำงาน ก็จะยังไปถึงได้ แต่ขากลับจะไม่เหลือไฟกลับมา นอกจากขอเสียบไฟที่ทำงาน (จริง ๆ อยากจะขออนุญาตหัวหน้าติดตั้งแผงโซล่าร์บนดาดฟ้าตึกแล้วเดินสายไฟลงมาที่จอดรถมาก)

ทุกวันนี้ก็เลยต้องเสียบปลั๊กทุกวัน ส่วนค่าไฟก็แล้วแต่จะคิด เนื่องจากเราผลิตไฟใช้เอง ถ้าไม่นับค่าลงทุนระบบโซล่าร์ก็ถือว่าไม่เสียค่าไฟ แต่ถ้าเอามาจะคิดจะสยอง ต้องขอดูระยะยาวว่าระบบจะผลิตไฟฟ้าให้ได้กี่ปี เอาเป็นว่าถ้าเป็นคนอื่นที่ต้องจ่ายค่าไฟการไฟฟ้ายูนิตละ 3.5 บาท เราใช้ไฟประมาณ 30% ของแบตต่อระยะทาง 6 km (แบบรถติด ๆ เลย) ไฟ 30% ของแบตคือการชาร์จ 10A ที่ 1 ชม. หรือ 2.2 units ดังนั้นขับรถติด 6 km = 2.2 units หรือ 7.7 บาท หรือคิดเป็นกิโลละ 1.28 บาท ซึ่งถือว่าถูกมาก ๆ

เนื่องจากเรายังไม่เคยทดลองโหมดไฮบริดหรือโหมดอื่นไปทำงาน แต่ถ้าอาศัยตัวเลขน้องเล็ก (Lexus CT200h) ในอดีตที่ใช้งานปกติคือ 15 km/L น้ำมันตราหอยวีเพาเวอร์ (คนขับเขาชอบเติมอันนี้อะ) ที่เติมเมื่อ 7 พ.ค. 2559 คือ 28.46 บาท/ลิตร หรือ 1.89 บาท ต่อกิโล ระยะทาง 6 km = 11.38 บาท ถ้าไม่คิดมากก็ถือว่าแพงกว่ากันไม่เท่าไหร่ นอกจากตอนที่น้ำมันมันเคยลิตรละ 40 บาท ก็คงแพงกว่านี้เยอะ เรื่องรักสิ่งแวดล้อม คงไม่ต้องเปรียบเทียบ

ส่วนคำถามที่ว่าแล้วถ้าเปลี่ยนแบตก้อนใหม่เสียเงินเท่าไหร่ คำตอบคือไม่รู้ ยังไม่มีใครเคยเปลี่ยน  ถ้าใครแบตเสื่อมตอนนี้ก็คงอยู่ในระยะเวลาประกัน เอกสารภาษาอังกฤษที่ให้มาเรื่องประกันเขียนไว้ว่ารับประกันแบต 6 ปีเต็ม น้องเบียร์คนขายโม้ว่ารับประกัน 10 ปี  พอเราเรียกหาเอกสาร ถึงกับจ๋อย หามิได้  จะว่าไปรถรุ่นที่มีประสบการณ์เรื่องแบตไฮบริดและอยู่ในตลาดมานานที่สุดและมีจำนวนมากที่สุด ก็คงจะเป็น Toyota Prius สิ่งที่เกิดขึ้นในต่างประเทศก็คือระยะเวลารับประกันแบตนานขึ้นเรื่อย แม้แต่ในเมืองไทยเองในปัจจุบันทั้ง Camry hybrid และ Honda accord hybrid เมืองไทยก็กล้ารับประกันแบตถึง 10 ปี  แต่แบตเหล่านั้นเป็นแบต NiMH

อะไรที่ทำให้บริษัทผู้ผลิตกล้ารับประกันนานขึ้น เท่าที่สืบดูก็พอบว่าอัตรา failure rate ต่ำมาก มีคนแอบกระซิบว่าโตโยต้าตั้งใจล็อก software ไว้ให้ชาร์จไฟและใช้ไฟจากแบตได้แค่ในช่วง 20-80% โดยบอกผู้ใช้ว่า 0-100% เลยทำให้แบตใช้งานได้นานขึ้น อันนี้ไม่รู้จะพิสูจน์อย่างไร  ส่วนราคาแบต NiMH (ขนาดประมาณ 1.3 kWh) มีสนนราคาประมาณ $2500 ที่เมกา หรือ £800 ที่ฝั่งอังกฤษ

ส่วนแบตลิเธียม คงต้องขอศึกษาจาก Nissan leaf ซึ่งเป็น pure electric car ที่ขายดีที่สุดในเมกา แบต Nissan leaf ความจุ 24 kWh บริษัท Nissan เสนอค่าแบตใหม่ที่ $5499 โดยมีข้อแม้คือต้องคืนแบตเก่าให้ Nissan ไป เนื่องจาก Nissan ถือว่าแบตเก่ามีมูลค่า $1000 บาท โดยหากคิดต่อ kWh เท่ากับค่าแบตใหม่ตกที่ $270/kWh (6499/24) หากเอาตัวเลขดังกล่าวมาคำนวณเป็นความจุของ MB C350e = $270*6.4 = $1733 หรือ THB 62,390 

ความเป็นไปได้อาจจะค่อนข้างน้อยเนื่องจากอะไรก็ตามที่ติดป้าย Mercedes ราคามักจะสูงกว่าอย่างอื่น ประเด็นคือไม่รู้จะห่วงไปทำไม อีก 6 ปีค่อยลุ้น และถ้ามันอยู่ได้ถึง 10 ปี ยิ่งดีใหญ่เลย ได้แต่หวังว่าอีกหน่อยรถไฮบริดเยอะขึ้น แบตลิเธียมราคาถูกลง หรือมีแบต third party ให้เปลี่ยนได้หลายยี่ห้อ อะไรเงี้ย ตอนนี้ก็หยอดกระปุกไปก่อน บอกแล้วว่าค่ารักษ์โลกนี้มันแพงนักหนา

ไว้วันหลังจะเล่าประสบการณ์เรื่อง wall charger, third party portable charger ให้ฟังนะคับ





Create Date : 10 มิถุนายน 2559
Last Update : 10 มิถุนายน 2559 23:17:53 น. 0 comments
Counter : 13639 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

gollygui
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]






space
space
[Add gollygui's blog to your web]
space
space
space
space
space