|
|
|
|
|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
|
จดหมายธุรกิจ ง่ายนิดเดียว (ที่เหลือยากหมด)
สัปดาห์ก่อน ได้รับโทรศัพท์จากป้าที่อยู่ต่างประเทศถึงไอเดียใหม่ๆ อย่างการเปิดธุรกิจเล็กๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพานักท่องเที่ยวชาวยุโรปเดินทางมาเที่ยวในไทย
ฟังดูดีจัง... เอาเงินยูโรไหลเข้าไทยซะหน่อยก็ไม่เลว
แต่วิธีการนี่สิ...
ป้าตกลงกับเพื่อน(ของเพื่อนอีกที) ให้เป็นตัวแทนในไทย ไปติดต่อนั่นโน้นนี่ไว้รอนักท่องเที่ยวชาวยุโรปที่ป้าจะส่งมาอีกที เรียกได้ว่าแบ่งเค้กกันลงตัว
ปัญหาก็คือ... ไม่ว่าจะไปติดต่อที่ไหน(ในไทย) ทุกบริษัทที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ร้านอาหาร เช่ารถฯลฯ ล้วนไม่เชื่อถือ เพราะเป็นการพูดปากเปล่า ไม่รู้ว่าคุณเป็นใครมาจากไหน แล้วขอโทษ ตอนนี้น่ะ พวกหลอกลวงเยอะอย่างกับอะไรดี
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าธุรกิจท่องเที่ยวในไทยนั้น มีมิจฉาชีพเยอะจริงๆ
ป้าไม่รอช้า ไปดำเนินการจดทะเบียนที่เยอรมันทันที(จะอะไรเดี๋ยวเฉลย) และแล้วความซวยก็มาถึงมือเราจนได้
ป้าออกคำสั่งให้เราเขียนจดหมายธุรกิจเป็นหนังสือรับรองเพื่อน(ของเพื่อน) คนนี้ เพื่อไปยื่นตามบริษัทท่องเที่ยวในไทย เวลาไปติดต่อขอส่วนลด จองห้องพัก เช่ารฯลฯ จะได้สะดวก
ไอ้เราก็ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากรับมาทำให้(ฟรี) จากความรู้ที่เคยเรียนมาสมัยพาณิชย์(ล้านปีที่แล้ว) ก็ถึงกับปวดหัวตึ้บทีเดียว
มาดูจดหมายธุรกิจฉบับชาวบ้านกัน(นี่คือฉบับร่างของป้า)
บริษัทการท่องเที่ยวของเรา ได้จดทะเบียนเมื่อวันที่ ........ หมายเลขทะเบียนภาษี ............ บริการนักท่องเที่ยวจากเยอรมันไปประเทศไทย ทางบริษัทขอส่งตัวแทนคือ น.ส. .................. มาขอข้อมูล เกี่ยวกับราคาทั่วไปสำหรับลูกค้าเกี่ยวกับส่วนลดสำหรับบริษัท ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริการการท่องเที่ยวในประเทศไทย เช่นที่พัก การเดินทางฯลฯ
หวังว่าคงจะได้รับความร่วมมือจากท่านด้วยดี เพื่อการร่วมงานกันในวันข้างหน้า ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
ขอแสดงความนับถือ ลงชื่อ........................... ประธานกรรมการ
มาดูฉบับตั้งข้อสังเกตกันหน่อย *** ในวงเล็บคือการตั้งข้อสังเกตอย่างตรงไปตรงมา***
(วันที่ไม่ปรากฏ)
(เรื่องไม่ปรากฏ)
(จ.ม. ถึงใครไม่ปรากฏ)(แน่ใจนะว่าจดหมาย)
บริษัทการท่องเที่ยวของเรา (แน่ใจหรอว่าจดทะเบียนเป็น บ. แล้ว) ได้จดทะเบียนเมื่อวันที่ ........ หมายเลขทะเบียนภาษี ............ (แล้วเลขที่ใบอนุญาตล่ะ)บริการนักท่องเที่ยวจากเยอรมันไปประเทศไทย(อยู่ดีๆ ก็บริการเลยหรอ) ทางบริษัทขอส่งตัวแทนคือ น.ส. .................. มาขอข้อมูล(ใครเขาจะให้ พวกหลอกลวงเยอะมาก) เกี่ยวกับราคาทั่วไปสำหรับลูกค้าเกี่ยวกับส่วนลดสำหรับบริษัท(ยังไม่ทันไรขอส่วนลดแล้ว) ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริการการท่องเที่ยวในประเทศไทย เช่นที่พัก การเดินทางฯลฯ(อ้าวจบประโยคแล้วหรอเนี่ย)
หวังว่าคงจะได้รับความร่วมมือจากท่านด้วยดี(ไปขอความร่วมมือจากเขาได้ไง เหมือนเขาเป็นลูกน้องหรอืมีสถานะที่ด้อยกว่าเลยนะ) เพื่อการร่วมงานกันในวันข้างหน้า (ประโยคนี้หยิ่งมาก ขอบอก-*-)ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ (อันนี้เหมือนตบหัวแล้วลูบหลัง)
ขอแสดงความนับถือ ลงชื่อ........................... ประธานกรรมการ (ไม่มีบริษัทจดทะเบียน ไม่มีคณะกรรมการ แล้วเป็นประธานได้ไงฟระ)
จากข้อความข้างต้นทำให้อนุมานได้ว่า ป้าไปจะทะเบียนจริง แต่เป็นเพียงทะเบียนพาณิชย์ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการจัดตั้งบริษัทใดๆ ทั้งสิ้น (แต่ใช้คำว่าบริษัทของเราและประธานกรรมการเฉยเลย)
แล้วขอถามหน่อย เจอฉบับร่างแบบนี้เข้าไป จะเขียนเป็นจดหมายธุรกิจออกมาได้ยังไง
องค์ประกอบของจดหมายธุรกิจมีสามส่วน
-ตอนต้น ประกอบด้วย หัวจดหมาย คำขึ้นต้น(วันที่ เรื่อง เรียน อ้างถึง สิ่งที่ส่งมาด้วย)
-เนื้อความ โดยมากมักมี 3 ย่อหน้า คือย่อหน้าเกริ่นนำ ย่อหน้าประเด็นหลัก และย่อหน้าสรุปปิดท้าย
-ตอนท้าย ประกอบด้วย ส่วนแสดงตัวตน มักใข้คำว่าขอแสดงความนับถือ ลงชื่อ พร้อมตำแหน่ง
สิ่งที่ต้องคำนึงถึง... 1. รูปแบบที่ถูกต้อง (มีมากมายหลายรูปแบบให้เลือก เลือกมาสักอย่างและทำตามนั้น) แน่นอนว่าฉบับของป้าผิดรูปแบบตั้งแต่บันทัดแรกแล้วเพราะไม่มีส่วนหัวเลย คงไม่มีใครอยากอ่านจดหมายที่จัดหน้าเละเทะหรอกจริงไหม มันแสดงถึงความไม่ใส่อย่างแท้จริง
2. แสดงเจตจำนงค์ที่ชัดเจน (แน่นอนว่าฉบับของป้านั้นชัดเจนมาก มากเกินไปด้วยซ้ำ)
3. ภาษาสุภาพเป็นทางการ ซึ่งมีหลายระดับ ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม
มาดูฉบับที่(พยายาม)แก้ไขกันบ้าง
.................(หัวจดหมาย).................
วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
เรื่อง หนังสือรับรองตัวแทนบริษัท
เรียน ................................
สิ่งที่ส่งมาด้วย สำเนาหนังสือจดทะเบียนพาณิชย์จำนวน 1 ฉบับ
หนังสือฉบับนี้ขอรับรองว่า นางสาว ........................ ถือบัตรประจำตัวประชาชนเลขที่ ...................................... ที่อยู่บ้านเลขที่ ..................................................เป็นตัวแทนของบริษัท xxxxxxxx(ขออนุญาติใช้คำว่าบริษัทไปก่อนเพราะไม่ทราบจริงๆ ว่าจะป้าไปจดทะเบียนอะไรไว้ เอาไว้รู้แน่ๆ แล้วค่อยแก้อีกที) แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย
ทางบริษัทได้ทำการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ณ ประเทศเยอรมัน เลขหมายประจำผู้เสียภาษีเลขที่ xxxxxxxxxxx ซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการด้านบริการทางการท่องเที่ยว โดยเป็นตัวกลางในการให้บริการส่งนักท่องเที่ยวจากประเทศเยอรมันมาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยตัวแทนมีหน้าที่รับผิดชอบในการติดต่อประสานงานเกี่ยวกับบริการทางการท่องเที่ยวในประเทศไทยครบวงจร อาทิ การจัดหาที่พัก ตั๋วเครื่องบิน รถเช่า การประกันภัยฯลฯ เพื่อที่บริษัทจะได้ส่งนักท่องเที่ยวจากประเทศเยอรมันเดินทางมาท่องเที่ยวได้อย่างสะดวกในโอกาสต่อไป
อนึ่ง บริษัท xxxxxx อยู่ระหว่างดำเนินการจดทะเบียนบริษัทและขอใบอนุญาติประกอบกิจการธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทยซึ่งจะแจ้งให้ท่านทราบในโอกาสต่อไป
ทางบริษัทหวังว่าจะได้รับความอนุเคราะห์จากท่านในการติดต่อประสานงานด้านต่างๆ หากท่านมีข้อสงสัยหรือเสนอแนะใดๆ กรุณาติดต่อยังที่อยู่ข้างต้นได้ตลอดเวลา และขอขอบพระคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้
ขอแสดงความนับถือ
ลงชื่อ......................... ตำแหน่ง.....................
ขอสารภาพตรงนี้ว่ายังเป็นจดหมายที่ต้องปรับปรุงแก้ไขอีกอยู่ดี แต่อย่างน้อยก็ถือว่าได้ขุดวิชาสมัยพาณิชย์มาใช้งานอย่างเต็มที่ ไม่เคยคิดอะไรหนักหนาเท่านี้มาก่อนเลยจริงๆ เล่นเอาปวดหัวตึ้บไปเป็นชั่วโมง
ที่จริงจดหมายธุรกิจนี่ไม่ยากนะ แต่ก็ไม่ง่ายเลย ถ้าเจอฉบับร่างแบบนี้ เอาไว้มีฉบับสมบูรณ์แบบเมื่อไหร่ จะลองมาให้ดูกันอีกที(ยังไม่เข็ด55)
Create Date : 25 พฤษภาคม 2553 |
|
5 comments |
Last Update : 25 พฤษภาคม 2553 11:36:45 น. |
Counter : 3475 Pageviews. |
|
|
|
|
โดย: visiter IP: 58.8.43.180 วันที่: 16 กันยายน 2553 เวลา:19:08:49 น. |
|
โดย: เจ IP: 124.120.119.36 วันที่: 18 ตุลาคม 2553 เวลา:0:28:50 น. |
|
โดย: เจ้าจ้า IP: 183.89.81.116 วันที่: 25 มกราคม 2555 เวลา:21:08:59 น. |
|
โดย: พเนจร IP: 58.137.93.82 วันที่: 27 สิงหาคม 2558 เวลา:11:16:35 น. |
|
| |
|
meaw-angle |
|
|
|
|