ไปดำน้ำมัลดีฟเป็นรอบที่สาม
(หลังจากที่เคยคิดว่า น่าจะพอแล้ว)
แต่ทริปนี้มีลักษณะพิเศษ
คือ ไปแถวๆเกาะทางใต้ของมัลดีฟ
บริเวณเส้นศูนย์สูตรเลย
เนื่องจากมัลดีฟประกอบไปด้วยเกาะเล็กๆกว่าหนึ่งพันเกาะ
การ locate ตำแหน่งจะค่อนข้างยากในภาพเดียว
ก็เลยต้องทำแผนที่เป็นหลายๆภาพ ด้วยสเกลที่ต่างกัน
เริ่มจาก บินจาก กทม-Male
แล้วต่อด้วย domestic flight ไป Kooddoo airport
จาก Kooddoo airport
ก็หิ้วกระเป๋าไปลงเรือ
แล้วเรือก็วิ่งไปเรื่อยๆ
ผ่านเกาะต่างๆ ก็แวะดำน้ำเรื่อยไป
จนไปจบที่เกาะ Addu
แล้วก็ไปขึ้น domestic flight ที่ Gan International airport
กลับไป Male แล้วนั่งเครื่องจาก Male กลับ Bangkok
ทริปนี้ เป็นทริปที่ถ่ายรูปน้อยมากถึงมากที่สุด
เพราะมักจะต้องดำน้ำในลักษณะ channel dive
คือ ลงไปดำในปากร่องน้ำระหว่างสองเกาะ
ไปว่ายในทะเลลึก หรือใช้ Hook เกาะหินเพื่อรอดูฉลาม
และปล่อยตัวไหลเข้าไปในร่องน้ำตอนจบไดฟ์
ประมาณว่า ถ้าไม่เจอฉลาม ก็จะไม่ได้ถ่ายรูปเลยสักแชะ
แต่ก็มีไดฟ์ที่ไปนั่งดู Manta อยู่สองไดฟ์
และมี easy dive ดูปะการัง(แข็ง)อยู่สักสองสามไดฟ์
ทะเลมัุลดีฟ ไม่ค่อยมีปะการังอ่อนสีสวยๆเหมือนบ้านเรา
ปะการังส่วนมาก เป็นปะการังแข็ง
ปลาแนวปะการัง ก็ไม่ได้หลากหลายมากเท่าไร
นูดีก็ไม่ค่อยมี
สรุปว่า ใต้น้ำไม่ค่อยมีอะไรให้ถ่ายรูปนั่นแหละ
ก็เลยมีรูปบนบกซะเยอะ
เนื่องจากทริปนี้เป็นทริปที่เราจะมาดูฉลามว่ายน้ำกัน
ก็เลยจะนำเสนอฉลามซะก่อน
การไปดูฉลาม เราต้องว่ายลงไปในบริเวณปาก channel
ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างทะเลลึกกับช่องแคบระหว่างเกาะสองเกาะ
ซึ่งจะเป้นบริเวณที่กระแสน้ำแรงมาก เพราะมันจะเบียดตัวเองวิ่งเข้าไปในช่องแคบ
เราต้องตะกายลงไปเกาะหิน เอา hook เกี่ยวก้อนหินไว้ไม่ให้ตัวหลุดลอยไปตามน้ำ
และพยายามอยู่ให้นิ่งๆ
ส่วนมากก็จะเป็นประมาณนี้
ให้สังเกตฟองอากาศ
ปรกติ ถ้าน้ำนิ่ง ฟองอากาศจะลอยขึ้นตรงๆ
แต่ถ้าน้ำมีกระแสแรงๆ ฟองอากาศจะถูกพัดปลิวไปด้านหลัง
ยิ่งฟองอากาศลอยเป็นแนวนอนมากเท่าไร ก็แสดงว่า น้ำแรงมากขึ้นเท่านั้น
จากภาพนี้ เป็นไดฟ์ที่น้ำแรงมาก
น้ำเข้าหน้ากากกันทุกคน ดีแต่ว่าไม่มีเหตุหน้ากากปลิวหรือ reg ปลิว อิอิอิ
ไดฟฺลีด เอาขวดน้ำพลาสติกลงไปด้วย
เขาจะบีบขวดพลาสติกให้มีเสียงดัง
เพื่อล่อความสนใจจากฉลาม ให้มันวนเข้ามาใกล้ๆ
ฉลามมาเยอะแยะไปหมด
ฉลามส่วนมากที่เจอ
ก็จะเป็น Grey reef shark
White-tip shark, Black-tip Shark อะไรประมาณนั้น
มีจุดดำน้ำจุดหนึ่ง
ที่จะลงไปลุ้นหาฉลามเสือ (Tiger shark) โดยเฉพาะ
ซึ่ง ฉลามเสือ เป็นสิ่งที่หาดูได้ยากมาก
มันขึ้นชื่อว่าเป็นฉลามที่ดุร้ายที่สุดชนิดหนึ่งในโลก
ลักษณะเด่น คือ มีลายสึดำพาดขวางตามลำตัว
และจะต่างจากฉลามชนิดอื่นๆชัดเจน
และก็โชคดีพอที่จะได้เจอตัวหนึง
มีเพื่อนคนหนึ่งที่สามารถตีฟินไปถ่ายรูปมันมาได้
(photo by: Kay)
อีกไฮไลท์หนึ่งก็คือ ไปดู Manta Ray หรือกระเบนราหู
มาใกล้ซะขนาดนี้
ถ้าจะสังเกตให้ดี
ตัวนี้จะม้วนแผ่นริมปากเป็นแท่งยาวๆ
แสดงว่า กำลังอยากจะเดินทาง ไม่ได้อยากกิน
ถ้ามันจะกินแพลงค์ตอน
มันจะคลายแผ่นริมปากนี้ออกมายาวๆ เพื่อช่วยในการดักแพลงตอนให้เข้าปาก
เปรียบเทียบกับรูปนี้
แมนต้าโฉบเข้ามาใกล้มาก
ว่ายผ่านเหนือหัวไปเลย
คิดว่า มันมาเล่นฟองอากาศที่เราเป่าออกมา
ไฮไลท์อีกอย่างหนึ่งคือ ฝูงโลมา
เราเห็นมันดำผุดดำว่ายอยู่ไกลๆ เสมอ
และฝูงใหญ่มาก น่าจะถึงร้อยตัว
แต่พอเราลงไปอยู่ใต้น้ำ
ก็ไม่เจอพวกมัน
ตอนลอยพักนั้ำไดฟ์หนึ่ง ได้ยินเสียงโลมาสื่อสารกัน
ไดฟ์ลีดบอกให้พวกเราช่วยกันมองหา
ในที่สุด ก็มองเห็นพวกมันว่ายอยู่ประมาณผิวน้ำ (เราอยู่ที่ความลึกห้าเมตร)
ก็เห็นไม่ชัดเท่าไร เพราะแสงสะท้อนจากผิวน้ำมีเยอะ
คนที่อยู่ลึกๆกว่าพวกเรา จะมองขึ้นมาเห็นชัดกว่า
เด็กเรือโชคดีกว่าเรา
มันมาว่ายข้างๆเรือ
ไม่ต้องลงไปดำน้ำให้เหนื่อย
ปลาโลมาว่ายน้ำข้างเรือ
ในเวลาเดียวกัน ก็มีฝูงกระโทงแทง
(Indo-Pacific Sail fish) ห้าหกตัว
ว่ายผ่านใต้เท้าพวกเราไป
น่าจะอยู่ลึกประมาณ 30 เมตร
อันนี้มองเห็นได้ชัด เพราะเราอยู่ด้านบนของพวกมัน
น่าเสียดายที่ถ่ายรูปไม่ได้ เพราะมันว่ายผ่านไปแค่ 2-3 วินาทีเอง
กระโทงแทง กระโทงร่ม
ยังไม่รู้ว่ามันต่างกันไหม อย่างไร
ตัวนี้เป็นตัวที่เด็กเรือตกขึ้นมาได้ระหว่างเราไปดำน้ำกัน
มีตัวปาราสิตติดขึ้นมาด้วย แปลกดี
มันยังไม่ตายเลยนะ ทำตัวยืดๆหดๆ
ปล. ใครไม่ชอบหนอน ให้รีบผ่านๆรูปนี้ไป
เราเตือนท่านแล้ว
มีไดฟ์บ่ายวันหนึ่ง ที่เราไม่ได้ลง
เพราะคิดว่า กระแสน้ำน่าจะแรงมาก
ไม่อยากตีฟินสู้น้ำ
แต่คนที่ลงไป ก็สามารถถ่ายรูป Eagle ray (กระเบนนก) มาได้ฝูงหนึ่ง
(Photo by: Kay)
หมดเรื่องปลาฉลาม ปลากระโทงแทง
กระเบนราหู กระเบนนก แล้ว
ก็มาดูปลาอื่นๆกันมั่งนะ
ปลาสินสมุทรบั้งเหลือง
Regal angelfish
ปลาผีเสื้อไข่
Oval butterflyfish
ปลาปักเป้าเล็กหลังบั้ง
Black saddle Toby
Maldives anemonefish
ปลาการ์ตูนที่นี่ มีลักษณะพิเศษ
คือมีแถบขาวรอบแก้ม และครีบท้อง(บางทีก็ใต้ท้องด้วย)จะเป็นสีดำ
ปลานกขุนทองหัวโหนก
Bump-headed wrasse
Napoleon fish
ปลาแตงโม
Oriental sweetlips
Dotted sweetlips
ปลาการ์ตูนสองบั้ง
Clark's anemonefish
รูปนี้ anemone สวย
ปลาวัวจมูกยาว
ฺBeaked Leatherjacket
Black spot angelfish
Nurse shark ตัวใหญ่มาก
นอนหลับอยู่ใต้กอปะการัง
ปลาหูช้างครีบยาว
Longfin batfish
ที่เรือจม
ตัวนี้น่าจะยังเด็ก เพราะสัดส่วนครีบยาวมากเมื่อเทียบกับลำตัวฃ
ปลาสลิดหินคอดำ
Indian dascyllus
ปลาเหยี่ยวหน้าจุด
Freckled hawkfish
ปลาเหยี่ยวลายจุด
Pixy hawkfish
ปลากระเบน
ฺBrown Sting Ray
ติดเบ็ดที่ท้ายเรือ
ก็ตัดเบ็ดปล่อยมันไป
ปลาไหลริบบิ้น
Ribbon eel
ตัวเล็กมาก
ปลาไหลมอร์เร่ย์
Morey eel
ปลาปากขลุ่ย
Flutemouth fish
ทริปนี้
ได้ถ่ายนูดีมาสองตัว
ปะการัง
ฟอกขาวยังมีอยู่
เต่านอนกลางแจ้ง
ปรกติมักเห็นมันหลบนอนใต้ก้อนหิน
เพรียงหัวหอม
หอยเขา
ปะการังแบบนี้
เรียกว่าอะไรก็ไม่รู้
แต่สวยดี มองดูเหมือนลุกปัดเม๊ดใหญ่ๆ
เรือจม
เรือลำนี้เป็น tanker
เขาเล่าว่า ถูกตอร์ปิโดยิงจม
โดยจมมาตั้งแต่ปี 1947
และจมในลักษณะนอนตะแคง เอากราบเรือด้านหนึ่งแนบกับพื้นทราย
เป็นภาพบนบกมั่งละนะ
ออกจากสุวรรณภูมิ
ไปถึงสนามบิน Ibrahim Nasir International Airport, Male
ต่อ domestic flight (Maldivian air)
โลโก้เป็นรูปปลาโลมาสีฟ้า
ไป Kooddoo
เป็นเครื่องบินใบพัด ลำเล็กมาก
ทั่นั้งเป็นแบบ 2+2 ต่อหนึ่งแถว
บันไดก็น้อยๆ
แต่เค้าก็มีเอกสารประจำเที่ยวบินให้อ่านนะ
take off แล้ว
มาถึงสนามบิน Kooddoo
คนก็เดินหิ้วของลงมาเข้าตัวอาคาร
กระเป๋าโหลดก็ตามมาแบบบ้านๆ
ใช้แรงคนดึงรถลาก
(กะว่า ปรกติ คงไม่มีกระเป๋าหนักๆมากๆเท่ากลุ่มพวกเรา)
สายพาน..เอ๊ย..รางรับกระเป๋า
แบบประหยัดพลังงาน
สิ่งที่เราไม่เคยคิด
ก็คือ เข็นรถกระเป๋าออกมาจากตัวอาคาร
เดินไปตามถนน
ออกไปนอกสนามบิน
เดินไปเรื่อยๆๆๆๆ
ดีที่มีต้นไม้เยอะ แดดไม่ร้อนมาก
เข็นรถมาจนเจอท่าเรือ
เรือเล็กขาว ก็พาเราไปหาเรือใหญ่ขาว
facilities ภายในเรือ
ห้องอาหาร
อยู่ท้ายเรือบนชั้นสาม open air
ห้อง briefing
ห้องนอน อยู่ชั้นล่าง (ชั้น 1)
ส่วนแต่งตัว
(ซึ่งไม่ค่อยได้แต่ง ส่วนมากเอาไว้ชาร์ทโทรศัพท์)
ห้องน้ำอยู่ภายในห้องนอน
ส่วนของสะพานเดินเรือ
เป็นแหล่ง wifi
ชั้นสี่ เป็นดาดฟ้า
วันปาร์ตี้ชายหาด
กินยังไม่ทันเสร็จเลย
ฝนก็ตก....
ต้องหอบหิ้วของกินกลับไปเรือใหญ่
เซลฟี่
สถานีเครื่องบินน้ำ
เค้ามีบริการเช่าเหมาลำเพื่อชมวิว
ราคา 1000 เหรียญ ต่อ 16 คน
ระยะเวลาบิน 15 นาที
หาดขาวใส ของมัลดีฟ
เหตุที่ทรายขาวมาก
เป็นเพราะเป็นซากปะการังหักป่นล้วนๆ
เป็นแคลเซี่ยมคาร์บอเนต
ต่างจากบ้านเราที่เป็นหินและทรายธรรมชาติ
สวัสดี
สรุปว่า ยังใช่โอลิมปัสไม่ค่อยเป็น
รู้สึกว่ายุ่งยากในการตั้งกล้องก่อนถ่ายรูปมากกว่าแคนนอน
บางทีก็ขี้เกียจหมุนนู่นนี่ เลยทำให้รูปไม่ค่อยคมชัดเท่าที่มันควรจะเป็น
ปล. สุดท้าย
เรือลำนี้ เชฟทำอาหารอร่อยจริง
โดยเฉพาะสปาเกตตี้ครีมซอสแบบต่างๆ
โรตีแผ่นหอม นุ่ม
แกงที่ประกอบไปด้วยเครื่องเทศก็อร่อย
ทุกมื้อจะมีสลัดผักสองแบบให้เลือก
มีข้าวสวย หรือข้าวผัด และซุป
เสียอย่างเดียว
ทำไข่เจียวเค็มปี๋ทุกทีเลย
ขอบคุณข้อมูลดีๆ แน่นๆๆ นะคร้า