|
| 1 | 2 |
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 | |
|
|
|
|
|
|
|
ปล่อยม้าน้ำ@สิมิลัน
ปล่อยม้าน้ำ@สิมิลัน
date: 14-17 ม.ค. 2553 dive: 302-314 boat: โชคศุลี
ทริปนี้ เป็นทริปปล่อยม้าน้ำที่หมู่เกาะสิมิลัน และไปตรวจเยี่ยมดูความเติบโตของหอยมือเสือที่หมู่เกาะสุรินทร์ ที่เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯได้นำมาปล่อยไว้เมื่อสองสามปีที่แล้ว ทริปนี้ เป็นการจัดการของพี่จ๋อมและพี่น้อย แห่ง SaveOurSea.net ม้าน้ำนี้ ได้มาจากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ ที่ให้พันธุ์ม้าน้ำ 140 ตัว ที่ต้องการจะนำไปปล่อยแถวสิมิลัน และเก็บขยะ-ตัดอวน เท่าที่มองเห็นและตัดเก็บได้
กิจกรรมเริ่มจาก การนำม้าน้ำมาโดยเจ้าหน้าที่ของศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง จ. ประจวบคีรีขันธ์ 2 คน นำมาขึ้นเรือและทำการคัดแยกใส่แก้ว แก้วละ 5 ตัวเพื่อให้นักดำน้ำแยกย้ายกันนำไปปล่อย

ม้าน้ำในแก้ว

แก้วที่เตรียมพร้อมสำหรับลงไปใต้น้ำ

นักดำน้ำ พร้อมด้วยกระเป๋าใส่แก้วม้าน้ำ

หลังจากได้รับแจกคนละแก้ว ก็ว่ายไปหาที่เหมาะๆที่จะปล่อย ที่เหมาะๆได้แก่ กอกัลปังหาที่มีกิ่งก้านเยอะๆ ที่จะให้ม้าน้ำพันหางและหลบซ่อนตัวได้

หาได้แล้ว ก็ค่อยๆเปิดฝาแก้ว ปล่อยม้าน้ำออกมา

พอปล่อยเข้ากอไปแล้ว ม้าน้ำบางตัวก็ไม่ยอมพันหาง ลอยล่องขึ้นไปด้านบนซะงั้น ต้องไล่จับกันกลับมาอีก "จับเบาๆนะน้อง ถ้าทำได้ ก็ค่อยๆจับหางเค้าพันไว้ด้วย"

ก็พยายามช่วยๆกัน จนม้าน้ำสามารถพันหางอยู่ได้ (แต่ก็มีหลายตัวที่ลอยหายไปเหมือนกัน)



ปล่อยเสร็จแล้ว ก็รวบรวมแก้วมาใส่กระเป๋า เพื่อจะนำขึ้นเรือ


ระหว่างไดฟ์ ก็ดำสำรวจไปเรื่อยๆ หาขยะและอวน ถ้าเจอก็ตัดเก็บเสีย



ไปเจอลอบเก่าหักพังอยู่อันหนึ่ง ขนาดใหญ่มาก แต่อันนี้ไม่ได้เก็บ เพราะอยู่ค่อนข้างลึก เกือบ 30 เมตร
:: อธิบายต่อนิดหน่อย ที่ว่า เก็บไม่ได้ มักเป็นอวนหรือลอบขนาดใหญ่ที่อยู่ลึก 30 เมตรขึ้นไป เพราะจะเป็นอันตรายต่อนักดำน้ำ เนื่องจากการทำงานในที่ลึก ต้องใช้อากาศจำนวนมาก และมีความเสี่ยงต่อการเกิดการเมาไนโตรเจน ::

ดำไปดำมา กอดถังทำ safety stop ซะงั้น (แก้อาการปวดหลัง อิอิ)

อันนี้ เป็นการทดลองอะไรสักอย่าง ถ้าใครรู้ว่า มันคืออะไร มีไว้ทำไม ช่วยบอกมาด้วย จะขอบคุณหลายๆๆ (ปล. อันนี้ไม่เก็บจ้า เผื่อเดี๋ยวเจ้าของมาหาไม่เจอ)

เศษอวนและเชือกที่เก็บมาไว้ในดิงกี้

ปรากฏว่าในกองที่เก็บขึ้นมา มีสาหร่าย sargassum และมีปลากบ sargassum frogfish อยู่ในนั้นด้วยหลายตัว เลยมีการแยกปลาและสาหร่ายออกมาจากเศษขยะ เอามาใส่กระป๋องไว้ก่อน แล้วจะนำไปปล่อยลงทะเลต่อไป
 เครดิต: รูปนี้มาจาก //kona-scuba-diving.blogspot.com/2009/04/sargassum-frogfish-drifting-oceans.html
แกะออกมาได้ มีทั้งหมด 7 ตัว ทั้งตัวใหญ่และตัวเล็ก



ทั้งหมดนั้น เรานำไปปล่อยในทะเลเปิด เพราะตามข้อมูลบอกว่า ปลากบ sargassum frogfish จะลอยไปเรื่อยๆที่ผิวน้ำ โดยเกาะไปกับกอสาหร่าย sargassum ดังนั้น นักดำน้ำทั่วไป จะไม่พบมันที่พื้นทะเล
เย้ เย เย
********
คืนที่จอดนอนแถวสิมิลัน ลมแรงมาก เรือที่ผูกทุ่นอยู่ลำหนึ่ีงถูกลมดึงจนเชือกขาด แล้วเรือถูกพัดไปเกยน้ำตื้นที่เกาะ ตอนเช้ามีเรือพยายามไปช่วยกันดึง ก็ไม่สำเร็จ เรือรั่วจนท้ายเรือจมน้ำเลย น่าจะเป็นเรือ liveaboard จากภูเก็ต

แล้วเราก็มาสำรวจและวัดการเจริญเติบโตของหอยที่หมู่เกาะสุรินทร์

เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ วัดขนาดหอยที่พบ การวัด ต้องเลือกวัดเฉพาะหอยพันธุ์ที่นำมาปล่อย (คือ พวกที่มีเนื้อหอยสีเขียว+น้ำตาล) เพราะพันธุ์อื่น สีอื่นๆ จะเป็นหอยที่มีอยู่ในธรรมชาติแถบนี้อยู่แล้ว

เจอตัวที่ต้องการ ก็วัดอีก

ตัวนี้ต้องถูกแงะออกมาจากใต้กอปะการังเขากวาง แล้วย้ายที่ไปอยู่ที่อื่น เพราะ เจ้าหน้าที่บอกว่า ถ้าปล่อยไว้ มันจะตาย เนื่องจากไม่ได้รับแสงแดดที่เหมาะสม

แงะออกมาได้แว้ว

ลูกหอยขนาดกำลังน่ารัก สังเกตสีเนื้อมันจะไม่เหมือนกัน ตัวหนึ่งเป็นตัวเพาะเลี้ยงและปล่อย อีกตัวหนึ่งเป็นพันธุ์ที่มีอยู่แล้วแต่เดิม

หอยตัวนี้ เป็นพันธุ์อะไรไม่รู้ น่าจะเป็นหอยจาน เดี๋ยวรอผู้รู้มา confirm อีกที

พอสำรวจหอยเสร็จ ก็มีเจ้าหน้าที่อุทยานมาเยี่ยมเยียนที่เรือ (คงตั้งใจจะมาเก็บเงินค่าเข้าอุทยาน อิอิอิ)

เมื่อเจรจาวิสาสะกันแล้ว เจ้าหน้าที่ก็ขอให้ขึ้นไปพบหัวหน้าฯบนเกาะ เพื่อขอการรายงานผลด้วย แต่ไปแล้วไม่เจอหัวหน้าฯ เจอแต่ผู้ช่วยหัวหน้าฯ

แต่พอขึ้นเกาะแล้ว ก็เจอสิ่งที่ไม่น่ามีที่อุทยานหมู่เกาะสุรินทร์ ก็คือ เริ่มมีผู้ประกอบการเจ๊ตสกี นำเจ๊ตสกีมาบริการนักท่องเที่ยว

ที่ว่าไม่เหมาะสม เพราะหมู่เกาะสุรินทร์ เป็นอันดับหนึ่งในการดำน้ำตื้น จะมีใครสามารถช่วยทำเรื่องร้องเรียนไปได้มั่งไหมเนี่ยะ (เพราะบอกเจ้าหน้าที่บนเกาะแล้ว เขาก็ไม่ได้ทำท่าเดือดเนื้อร้อนใจอะไร)

เพื่อความสวยงามของอุทยานแห่งชาติของเรา ให้คงอยู่กับความงามธรรมชาติและวิถีชีวิตพื้นบ้าน

ส่วนเรื่องความเป็นอันตราย ก็คงไม่อันตรายไปมากกว่าเรือหางยาวที่นำนักท่องเที่ยวไปดำสน๊อกอยู่ เพียงแต่ว่า นักท่องเที่ยวที่ขับขี่เจ๊ตสกี จะไม่มีความระมัดระวังต่ออันตรายที่จะเกิดกับคนที่ดำสน๊อก เทียบเท่ากับคนขับเรือท้องถิ่นที่คอยช่วยดูแลนักท่องเที่ยวอยู่เสมอ
*******
เสร็จงานแล้ว ก็ดำน้ำเที่ยวกัน ไปดู tuna wreck มันอยู่ค่อนข้างลึก 30 กว่าเมตร เลยไม่มีปะการังมาเกาะเท่าไร

ไปส่องๆดู ก็พอเจอะปะการังสวยๆบ้างเล็กน้อย



ดำน้ำไป ก็เจออะไรสวยๆตามเคย

แต่ไฮไลท์ของสัตว์น้ำทริปนี้ คือกุ้งตัวตลก (Harlequin shrimp) ที่ริเชลิว
เจอ 3 กลุ่มๆละ 2 ตัว คู่นี้ อยู่ที่ใต้กอปะการังเขากวาง

คู่นี้ อยู่ในซอกตื้นๆ มีตัวใหญ่ตัวหนึ่งออกมากินที่ปากถ้ำ พอให้ถ่ายรูปได้สวยงามมาก

อีกจุดหนึ่ง ตัวเล็กมาก ใหญ่กว่ากุ้งมดแดงนิดเดียวเอง

ใกล้ๆกุ้งตัวตลกตัวใหญ่ มีม้าน้ำ (Sea horse) ตัวเล็กเท่าก้านไม้ขีด

หอยเบี้ยเทียมลายเสือ สองตัว เกาะอยู่ที่กอเดียวกัน


มีนูดีน้อยมาก นอกจากนูดีปุ่มขาวดำปรกติแล้ว ก็มีตัวนี้แหละ (ปล. จริงๆเจอปิกะจู้ด้วย แต่ขี้เกียจฝ่าดงฟินเข้าไปถ่าย มีคนประมาณล้านเจ็ดกลุ้มรุมมันอยู่ 55555+) เนื่องจากเคยได้รูปมันมาแล้ว เลยทำเป็นไม่สนใจซะงั้น

มาถ่ายปูปะการังดีกว่า

เคยเห็นปูยิ้มไหม อิอิอิ

กั้ง (Mantis shrimp) อยู่ในรู

น้องเต่าเจ้าประจำที่สิมิลัน ที่มีนิสัยเสียไปแล้ว เนื่องจากชอบไปโผล่หน้าขอของกินที่ข้างๆเรือ

กุ้ง lobster

หมึกยักษ์ (Octopus) ตัวใหญ่มาก

กุ้งมดแดง สีตัดกับหอยเม่นสีดำ สวยดี

ปลาบู่หน้าขาว กับปลานกขุนทอง (wrasse) หนีกล้องไปคนละทาง

เจอ Marble Ray ด้วย

หน้าตาเป็นอย่างนี้

ปลาการ์ตูนปานดำ (Red Saddleback anemonefish) ที่เขตน้ำตื้น หน้าเกาะ


ปลากระเบนจุดฟ้า

ปลาไหลมอร์เรย์ยักษ์ (Giant morey) ตัวนี้ดูท่าจะแก่แล้ว ตัวใหญ่ หน้าย่น และฟันหักหมดปาก

ปลาขี้่ตังเบ็ดโฉมงาม Indian Orange-spine Unicornfish เป็นครั้งแรกที่ถ่ายได้แบบเห็นหน้าตาชัดๆ ทุกทีถ่ายได้แต่ด้านข้าง

ปักเป้าจุดฟ้า Blue spot puffer

ปลาการ์ตูนลายปล้อง Clark's anemonefish


ปลาลูกดอกไฟ Fire dartfish

ปลากัดทะเล Comet

ปลาวัวจมูกยาว Longnose filefish

ฝูงปลาผีเสื้อคอขาว White collared butterflyfish นานๆจะเจอเป็นฝูงสักที ส่วนมากอยู่กันเป็นคู่

แบบนี้

ปลาการ์ตูนส้มขาว False clown anemonefish


lone traveler ปลาหูช้าง Batfish

ปลาผีเสื้อจุดฟ้า ปลาผีเสื้ออันดามัน Blue spot butterflyfish (Andaman butterflyfish)

ปลาแตงโม (Indian ocean oriental sweetlips) ในฝูงปลากล้วย (มั๊ง)

ปลากล้วยฟ้าหลังเหลือง Yellowback fusilier

ปลายูนิคอร์น Unicornfish

ปลาผีเสื้อลายทะแยง Vagabond butterflyfish

ปลาผีเสื้อลายกระ Spotted butterflyfish

ปลาปากขลุ่ย Flutemouth

ปักเป้ากล่องดำลายจุด Spotted boxfish

ปักเป้ากล่องเหลือง Yellow boxfish

ปลาพยาบาล Blue streak cleaner wrasse มาทำความสะอาดหูนักดำน้ำ

ปลาสินสมุทรจักรพรรดิ Emperor angelfish

ปลาจิ้มฟันจรเข้ลายด่าง Scribbled pipefish

มีสองตัว อยู่ใกล้ๆกัน

ทายสิว่า ปลาอะไร

Great baracuda ปลาสากยักษ์ ตัวยาวประมาณเมตรครึ่ง เข้ามาวนเวียนใกล้ๆ ไม่เกินสิบเมตร เป็นที่สยองขวัญของเหล่านักดำน้ำ

ปลาไหลตาขาว White eye morey

ปลาเหยี่ยวลายจุด Pixy hawkfish เกาะหินห้อยหัวอยู่

ฝูงลูกปลา






ป่าแส้ทะเล Sea whip

ปะการังหนัง อันหนึ่งมี polyp หาอาหารอยู่ อีกอันหนึ่งนอนหลับอยู่ ไม่มี polyp

ปะการังลูกโป่ง และสาหร่ายเขียว

กัลปังหา??

ปะการัง ดูเหมือนกุหลาบขาว อยู่ท่ามกลางดงดอกไม้แดง

สาหร่ายและไฮดรอยด์

กัลปังหา

ดาวขนนก Feather star

อันนี้ก็สวย ถ้าต้นน้อยสีเหลืองโตขึ้นกว่านี้ น่าจะสวยกว่านี้อีก









Create Date : 19 มกราคม 2553 |
Last Update : 20 มกราคม 2553 20:09:08 น. |
|
25 comments
|
Counter : 10573 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: YingTomm IP: 124.122.74.119 วันที่: 19 มกราคม 2553 เวลา:13:08:38 น. |
|
|
|
โดย: tik IP: 58.8.97.137 วันที่: 19 มกราคม 2553 เวลา:18:14:34 น. |
|
|
|
โดย: ก้อย IP: 61.90.76.135 วันที่: 19 มกราคม 2553 เวลา:18:30:38 น. |
|
|
|
โดย: เบย์ IP: 115.87.88.178 วันที่: 19 มกราคม 2553 เวลา:21:05:57 น. |
|
|
|
โดย: ปภังกร IP: 110.164.83.153 วันที่: 19 มกราคม 2553 เวลา:22:20:27 น. |
|
|
|
โดย: ชมไพร IP: 125.25.112.2 วันที่: 19 มกราคม 2553 เวลา:22:41:15 น. |
|
|
|
โดย: เอ๋ IP: 125.24.189.150 วันที่: 20 มกราคม 2553 เวลา:2:42:48 น. |
|
|
|
โดย: Su IP: 192.168.50.62, 202.149.101.242 วันที่: 20 มกราคม 2553 เวลา:5:42:30 น. |
|
|
|
โดย: *Cookies* วันที่: 20 มกราคม 2553 เวลา:7:48:09 น. |
|
|
|
โดย: อี๊ด ชมนาฎ watercolor IP: 61.47.27.62 วันที่: 20 มกราคม 2553 เวลา:7:56:15 น. |
|
|
|
โดย: สีน้ำ IP: 119.160.212.30 วันที่: 20 มกราคม 2553 เวลา:9:42:58 น. |
|
|
|
โดย: มานพ IP: 202.44.33.3 วันที่: 20 มกราคม 2553 เวลา:12:29:15 น. |
|
|
|
โดย: noinanai วันที่: 20 มกราคม 2553 เวลา:13:00:30 น. |
|
|
|
โดย: จรวยพร IP: 10.13.1.122, 10.13.2.2, 202.28.169.166 วันที่: 20 มกราคม 2553 เวลา:16:02:25 น. |
|
|
|
โดย: ขึ้นเป้ วันที่: 20 มกราคม 2553 เวลา:17:04:11 น. |
|
|
|
โดย: zoopod IP: 125.25.37.190 วันที่: 21 มกราคม 2553 เวลา:17:29:38 น. |
|
|
|
โดย: *Cookies* วันที่: 21 มกราคม 2553 เวลา:20:06:50 น. |
|
|
|
โดย: Pin IP: 125.24.70.206 วันที่: 21 มกราคม 2553 เวลา:20:56:31 น. |
|
|
|
โดย: benze IP: 203.144.144.165 วันที่: 24 มกราคม 2553 เวลา:10:19:16 น. |
|
|
|
โดย: เก๋จ้า IP: 10.13.2.159, 202.28.169.166 วันที่: 25 มกราคม 2553 เวลา:13:40:24 น. |
|
|
|
โดย: kkg IP: 61.91.251.10 วันที่: 25 มกราคม 2553 เวลา:14:05:50 น. |
|
|
|
โดย: Kungkings IP: 65.49.2.14 วันที่: 30 มกราคม 2553 เวลา:16:59:33 น. |
|
|
|
โดย: acidrain IP: 110.49.177.185 วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:22:24:08 น. |
|
|
|
โดย: จ๋า (didylily ) วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:13:07:34 น. |
|
|
|
|
|
|
|