<<
สิงหาคม 2552
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
29 สิงหาคม 2552
 

การฝึกสมาธิเจริญปัญญา


พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)


วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ

จังหวัดอุบลราชธานี


คัดลอกจาก: อุปลมณี


แก้วก่องส่องธรรมนำชน

เรืองโลก เรืองอุบล

คือ พระโพธิญาณเถร





————————————


การฝึกสมาธิเจริญปัญญา


พระพุทธองค์ตรัสว่า เมื่อศีลมั่นคงดีแล้ว นักปฏิบัติไม่ควรประมาท
จงน้อมจิตเพื่อการฝึกอบรมที่สูงขึ้นไป คือการภาวนานั่นเอง
หลวงพ่อให้คำจำกัดความเกี่ยวกับการฝึกสมาธิภาวนาว่า


“เป็นการฝึกจิตของเราให้ตั้งมั่น และมีความสงบ เพราะตามปกติ
จิตนี้เป็นธรรมชาติดิ้นรน กวัดแกว่ง ห้ามได้ยาก รักษาได้ยาก
ชอบไหลไปตามอามรณ์ต่ำ ๆ เหมือนน้ำชอบไหลสู่ที่ลุ่มเสมอ


พวกเกษตรกรเขารู้จักกั้นน้ำไว้ทำประโยชน์ในการเพาะปลูกต่าง ๆ
มนุษย์เรามีความฉลาดรู้จักเก็บรักษาน้ำ เช่น กั้นฝาย ทำทำนบ ทำชลประทาน
เหล่านี้ ก็ล้วนแต่กั้นน้ำไว้ทำประโยชน์ทั้งนั้น


พลังงานไฟฟ้าที่ให้ความสว่างและใช้ทำประโยชน์อื่น ๆ
ก็ยังอาศัยน้ำที่คนเรารู้จักกั้นไว้นี่เอง
ไม่ปล่อยให้มันไหลลงสู่ที่ลุ่มเสียหมด จิตใจที่มีการกั้น การฝึกที่ดี
ก็ให้ประโยชน์อย่างมหาศาลเช่นกัน


ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า จิตที่ฝึกดีแล้วนำความสุขมาให้ การฝึกจิตให้ดี ย่อมสำเร็จประโยชน์ ดังนี้เป็นต้น”


การฝึกจิตเป็นหัวใจของชีวิตนักบวช
หลวงพ่อให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากในฐานะเป็นงานหลักของชีวิตประจำวันที
เดียว ดังที่ท่านชี้แนะพระเณรที่วัดหนองป่าพงว่า


“คนที่จะมีกำลังนี่เดินจงกรมก็ไม่ได้ขาด นั่งสมาธินี่ไม่ได้ขาด
สังวรสำรวมไม่ได้ขาด เราสังเกตพระเณรที่นี้ก็ได้
องค์ใดถ้าเห็นว่าฉันเสร็จแล้วหมดธุระแล้ว เข้าไปในกุฏิของท่าน


ตากจีวรไว้ เดินจงกรม เดินไปตามกุฏิเท่านั้น เราจะเห็นทางเดินเป็นแถว
เราเห็นบ่อยครั้ง การเดินจงกรม การนั่งสมาธิ ท่านองค์นี้ไม่เบื่อไม่หน่าย
นี่ท่านมีกำลัง ท่านเป็นผู้มีกำลังมาก ทุก ๆ องค์
ถ้าเอาใจใส่ในการประพฤติปฏิบัติอย่างนี้แล้ว ผมว่ามันสบาย”


ปริยัติปฏิบัติ


หลวงพ่อมักแนะนำพระภิกษุสามเณร ผู้ที่มุ่งเข้ามาประพฤติปฏิบัติที่วัดหนองป่าพงว่า


“ไม่ต้องอ่านหนังสือ ให้อ่านใจตัวเองดีกว่า”
แต่ไม่ใช่ว่าท่านประมาทในเรื่องปริยัติธรรม
เพียงแต่เป็นห่วงว่าลูกศิษย์จะหลงเข้าใจผิดว่า ตนรู้ธรรมะดีแล้ว ทั้ง ๆ
ที่จิตยังเข้าไม่ถึง


“ปริยัตินี้เหมือนตำรายาที่ชี้บอกให้หารากไม้ แต่ถ้าไม่ปฏิบัติ
ออกแสวงหาต้นยา ให้รู้จักว่า ต้นนี้เป็นอย่างนั้น ต้นนั้นเป็นอย่างนี้
มันไม่เกิดประโยชน์อะไร”


มิหนำซ้ำ ความรู้ที่เป็นสัญญาความทรงจำอาจจะมีโทษต่อผู้ภาวนา


“นักปริยัติชอบสงสัย เช่น เวลานั่งสมาธิ ถ้าจิตสงบปั๊บ เอ!
มันเป็นปฐมฌานละกระมัง ชอบคิดอย่างนี้ พอนึกอย่างนี้จิตถอนเลย ถอนหมดเลย
เดี๋ยวก็นึกว่าเป็นทุติยฌานแล้วกระมัง


อย่าเอามาคิด พวกนี้มันไม่มีป้ายบอก มันคนละอย่าง ไม่มีป้ายบอกว่า
นี่ทางเข้าวัดหนองป่าพง มิได้อ่านอย่างนั้น มันไม่บอก
มีแต่พวกเกจิอาจารย์มาเขียนไว้ว่า ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน มาเขียนไว้ทางนอก


ถ้าจิตเราเข้าไปสงบถึงขั้นนั้นแล้ว ไม่รู้จักหรอก
รู้อยู่แต่ว่ามันไม่เหมือนปริยัติที่เราเรียน
ถ้าผู้เรียนปริยัติแล้วชอบกำเข้าไปด้วย ชอบนั่งคอยสังเกตว่าเอ เป็นอย่างไร
มันเป็นปฐมฌานแล้วหรือยัง


นี่มันถอนออกหมดแล้ว ไม่ได้ความ ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น เพราะมันอยาก
พอตัณหาเกิดมันจะมีอะไร มันก็ถอนออกพร้อมกัน
นี่แหละเราทั้งหลายต้องทิ้งความคิดความสงสัยให้หมด
ให้เอาจิตกับกายวาจาล้วน ๆ เข้าปฏิบัติ


ดูอาการของจิต อย่าแบกคัมภีร์เข้าไปด้วย ไม่มีคัมภีร์ในนั้น
ขืนแบกเข้าไปมันเสียหมด เพราะในคัมภีร์ไม่มีสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
ผู้ที่เรียนมากๆ รู้มาก ๆ จึงไม่ค่อยสำเร็จ เพราะมาติดตรงนี้”


หลวงพ่อเคยสอนพระที่แตกฉานในทางปริยัติรูปหนึ่งว่า


“เอาปริยัติของคุณใส่หีบใส่ห่อเก็บไว้เสีย อย่าเอามาพูด เวลามีอะไรขึ้นมา มันไม่เป็นอย่างนั้น เหมือนกับเราเขียนหนังสือว่า ความโลภ


เวลามันเกิดขึ้นในใจมันไม่เหมือนกับตัวหนังสือ เวลาโกรธก็เหมือนกัน
เขียนใส่กระดานดำเป็นอย่างหนึ่ง มันเป็นตัวอักษร เวลามันอยู่ในใจ
มันอ่านอะไรไม่ทันหรอก


มันเป็นขึ้นมาที่นี่เลย สำคัญนัก สำคัญมาก จริงอยู่ปริยัติเขียนไว้ถูก แต่ต้อง โอปนยิโก ให้เป็นคนน้อม ถ้าไม่น้อมก็ไม่รู้จักความจริง”


อุปกรณ์เสริมส่งสมาธิภาวนา


“เราจะต้องเป็นผู้ที่มีจิตใจเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี ที่เรียกว่าเมตตาธรรม
ให้เป็นผู้มีเมตตา เป็นคุณธรรม เช่นว่า เรากำจัดตัวโลภะ
หรือความเห็นแก่ตัวออก


ทางพระท่านว่า ทานคือการให้ คนเราถ้าเห็นแก่ตัวแล้วไม่ค่อยสบาย แต่คนชอบจะเห็นแก่ตัวหลาย แต่เจ้าของไม่รู้สึก ไม่รู้สึกตัว


จะรู้ได้ในเวลาไหน ? รู้ได้ในเวลาเราหิวอาหาร ถ้าเราได้แอปเปิ้ลมา
แล้วเราจะแบ่งคนอื่น จะแบ่งให้เพื่อน คิดแล้วคิดอีก
อยากจะให้เพื่อนก็อยากจะให้


แต่ว่าอยากจะเอาลูกเล็ก ๆ ให้จะเอาลูกใหญ่ให้ก็ แหม! เสียดายเหลือเกิน
คิดยากนักหนา เอาไป เอาไป เอาลูกนี้ไป เราก็ให้ลูกเล็ก ให้แอปเปิ้ลลูกน้อย
ๆ ไป แต่เอาลูกใหญ่ไว้


นี่ความเห็นแก่ตัวชนิดนี้อันหนึ่ง แต่คนไม่ค่อยจะเห็น เคยมีไหม ?
เคยเป็นไหม ? การให้ทานนี้ เป็นการทรมานจิตนะ มันอยากให้เขาลูกเล็ก ๆ
อุตส่าห์บังคับเอาลูกใหญ่ให้เพื่อน พอให้แล้ว เออ! สบายนะ


นี่การทรมานจิตอย่างนี้ ต้องบังคับจิตใจให้มันรู้จักให้ ให้มันรู้จักละ ไม่ให้มันเห็นแก่ตัว เมื่อเราให้คนอื่นเสียแล้ว มันก็สบายหรอก


ถ้าเรายังไม่ให้นี่ จะให้ลูกไหนหนอ มันลำบากมากเหลือเกิน
กล้าตัดสินว่าให้ลูกใหญ่นี่หนา เสียใจนิดหน่อยนะ
แต่พอตกลงใจให้เขาแล้วมันก็แล้วไป นี้เรียกว่าทรมานจิตในทางที่ถูก
มันเป็นอย่างนี้


ถ้าเราทำให้ได้อย่างนี้เรียกว่าเราชนะตัวเอง
ถ้าเราทำไม่ได้อย่างนี้เรียกว่าเราแพ้ตัวเอง เห็นแก่ตัวเรื่อยไป
ก่อนนี้เรามีความเห็นแก่ตัว อันนี้ก็เป็นกิเลสอันหนึ่งเหมือนกัน
ต้องขจัดออก


ทางพระเรียกว่าการให้ทาน การให้ความสุขแก่คนอื่น
อันนี้เป็นเหตุช่วยให้ชำระความสกปรกในใจของเราได้
และต้องให้เป็นคนจิตใจอย่างนี้ ให้พิจารณาอย่างนั้น อันนี้ประการหนึ่ง
ที่ควรทำไว้ในใจของเรา


บางคนอาจจะเห็นว่าอย่างนี้ ก็เบียดเบียนตัวเอง นี้ไม่ใช่เบียดเบียนตัว
แต่เป็นการเบียดเบียนกิเลสตัณหาต่างหากล่ะ ถ้าในตัวมันมีกิเลสขึ้นมา
ให้กิเลสมันหายไป


กิเลสนี้เหมือนแมว ให้กินตามใจมันก็ยิ่งมาเรื่อยๆ
แต่มีวันหนึ่งมันข่วนนะ ถ้าเราไม่ให้อาหารมัน ไม่ต้องให้อาหารมัน
มันจะมาร้องแง๊ว ๆ อยู่ เราไม่ให้อาหารมัน สัก ๑ - ๒
วันเท่านั้นก็ไม่เห็นมันมาแล้ว


เหมือนกันแหละ กิเลสไม่มากวนเรา เราก็จะได้สงบใจต่อไป
ทำให้กิเลสกลัวเรา อย่าทำให้เรากลัวกิเลส ให้กิเลสกลัวเรา
นี่พูดให้เห็นธรรมในปัจจุบันในใจของเราอย่างนี้


ธรรมะของพระพุทธเจ้าของเราอยู่ที่ไหน อยู่ที่ความรู้ความเห็นในใจของเรา
อย่างนี้รู้ได้ทุกคน เห็นได้ทุกคน ไม่ใช่อยู่ในตำรา
ไม่ต้องมาเรียนให้มันมาก


พิจารณาเดี๋ยวนี้ก็เห็น เห็นได้ทุกคน เพราะมันอยู่ในใจทุกคน
เรามีกิเลสทุกคนใช่ไหม ถ้ามันได้เห็นอย่างนี้ก็รู้จัก
แต่ก่อนนี้เราต้องเลี้ยงกิเลสไว้


ให้รู้จักกิเลส อย่าให้มันมากวนเรา อันนี้เป็นอันหนึ่งที่ยังไม่บังเกิด ให้ทำให้เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็ทำให้มากขึ้น


ทีนี้ข้อปฏิบัติต่อไปคือ การรักษาศีล ศีลนี้จะดูแลธรรมะให้เจริญขึ้น
เหมือนพ่อแม่กับลูก การรักษาศีลคือ
การเว้นการเบียดเบียนและทำการเกื้อกูลช่วยเหลือ อย่างน้อยให้มี ๕ ข้อ คือ


๑. ให้เมตตาสัตว์และมนุษย์ทั้งหมด ไม่ให้ทำร้ายเบียดเบียนตลอดถึงการฆ่า


๒. ให้มีความสุจริต อย่าไปข้ามสิทธิ์ของกันและกัน พูดง่าย ๆ คือ ไม่ให้ขโมยของกันนั่นเอง


๓. ให้รู้จักประมาณในการบริโภค อยู่ในฆราวาสวิสัยก็ต้องมีครอบครัว
มีพ่อบ้าน แม่บ้าน แต่ถ้ารู้จักประมาณก็ปฏิบัติธรรมะได้
ให้รู้จักพ่อบ้านของเรา รู้จักแม่บ้านของเราเท่านั้น


ให้รู้จักประมาณ อย่าทำให้เกินประมาณ ให้มีขอบเขต
แต่โดยมากคนจะไม่มีขอบเขตเสียด้วยนะ บางทีพ่อบ้านคนเดียวก็ไม่พอ
มีสองคนบ้าง บางทีแม่บ้านคนเดียวไม่พอ ต้องมีสองมีสามด้วย อย่างนี้ก็มี


อาตมาว่าคนเดียวก็กินไม่หมดแล้ว จะไปมีสองคนสามคนนี่
มันเรื่องสกปรกทั้งนั้นนี่ อย่างนี้ต้องพยายามชำระ
พยายามฝึกใจให้มันรู้จักประมาณ ความรู้จักประมาณนี้มันบริสุทธิ์ดี


ที่ไม่รู้จักประมาณนี้ มันไม่มีขอบเขต ถึงได้อาหารเอร็ดอร่อยอย่างนี้
อย่าไปนึกถึงความเอร็ดอร่อยมันมาก ให้รู้จักท้องเรา ให้รู้จักประมาณ
ถ้าเรากินมากก็ลำบากเหมือนกัน


ให้รู้จักประมาณ ความรู้จักประมาณนี่ดีที่สุด ให้มีแม่บ้านคนเดียวก็พอแล้ว มีพ่อบ้านคนเดียวก็พอแล้ว มีสองมีสามเกินขอบเขตแล้ววุ่นวาย


๔. ความซื่อสัตย์ นี้ก็เป็นเครื่องกำจัดกิเลสเราเหมือนกัน เป็นคนตรงมีสัจจะ เป็นคนซื่อสัตย์


๕. เป็นคนที่ไม่ดื่มสุราน้ำเมา อย่างนี้ก็ให้รู้จักประมาณ
ให้เลิกเสียก็ดี คนเราเมามัวในครอบในครัวก็มากแล้ว เมาลูก เมาหลาน
เมาทรัพย์สมบัติหลายอย่าง มันก็พอแล้ว


ยิ่งเอาเหล้ามากินเข้าไปอีก มันก็มืดเท่านั้นแหละ
อันนี้บริษัททั้งหลายไม่รู้ ดูตัวเราเอง ถ้าหากว่ามักมาก
ใครมีมากก็พยายามค่อย ๆ ปัดเป่ามันออกไป ปัดเป่ามันออกไปให้หมด


ทีนี้ เมื่อมีศีลบริสุทธิ์ดีแล้ว มีความรักกัน ซื่อสัตย์ ก็จะมีความสุข
ความเดือดร้อนไม่มี เมื่อความเดือดร้อนไม่มีแล้ว
เพราะไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน อย่างนี้ก็มีความสุข


นี้คืออยู่ในเมืองสวรรค์แล้ว สบาย กินก็สบาย นอนก็สบาย มีความสุข
สุขเกิดจากศีล เมื่อมีการกระทำอย่างนี้ ก็เป็นเหตุให้อันนี้เกิดขึ้นมา
ละความชั่วเช่นนี้


เป็นกฏอันหนึ่งเพื่อความดีนี้เกิดขึ้นมา นี่ถ้าเรามีศีล อย่างนี้
ความชั่วหนีไป ความสุขเกิดขึ้นมา นี่ละเกิดเพราะการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ


ทีนี้ยังไม่จบแค่นี้นา คนเราถ้ามีความสุขแล้วชอบเผลอเหมือนกัน
ชอบเผลอไม่อยากไปที่ไหน ชอบติดสุขอยู่ที่นั่นแล้ว ไม่อยากไปที่ไหนหรอก
ชอบสุขมันเป็นสวรรค์


ถ้าพูดตามบุคคลาธิษฐาน เป็นเมืองสวรรค์ ผู้ชายก็เป็นเทวบุตร
ผู้หญิงก็เป็นเทวดา สบาย ไม่รู้เนื้อรู้ตา
อันนี้ให้ทำความพิจารณาอีกทีหนึ่งอย่างหลงมัน


ให้พิจารณาโทษของความสุขอีก ว่าความสุขนี่มันไม่แน่นอนเหมือนกัน
มีความสุขแล้วไม่ช้าไม่นานเท่าไร ความสุขนั้นก็จะเลิกจากเรา
นี้เป็นของไม่แน่เหมือนกัน


เมื่อความสุขเลิกจากเรา ความทุกข์เกิดขึ้นมา เราก็ร้องไห้อีกแหละ
นางเทวดาร้องไห้แล้วซิ เทวบุตร ยังร้องไห้เป็นทุกข์
แล้วท่านให้เราพิจารณาโทษของมัน


ให้เห็นโทษของมันว่า โทษของความสุขมีอยู่ แต่ในเวลาที่มีความสุขนี่ไม่รู้จัก มีความสุขนี้มันปิด ทำให้เราไม่เห็นทุกข์หรอก







Free TextEditor

//lanpanya.com/wash/archives/762


Create Date : 29 สิงหาคม 2552
Last Update : 29 สิงหาคม 2552 8:08:43 น. 0 comments
Counter : 915 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

พฤติภาพแห่งจิต
 
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สนใจศึกษาธรรมะ ยินดีและน้อมรับคำชี้แน่ะจากทุกท่าน
[Add พฤติภาพแห่งจิต's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com