Group Blog
 
 
สิงหาคม 2551
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
26 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 
จะติดตามรายละเอียดในการเวนคืนได้อย่างไร


ดูหนังสือและแผนที่จากพระราชกฤษฎีกา

ข้อมูลที่ตรงที่สุดเกี่ยวกับการตรวจสอบการเวนคืนคือ ดูพระราชกฤษฎีกา ทั้งนี้ "มาตรา 6 พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนต้องระบุ

1.ความประสงค์ของการเวนคืน
2.เจ้าหน้าที่เวนคืน
3.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเท่าที่จำเป็นให้มีแผนที่หรือแผนผังประเมินเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนและแสดงเขตที่ดินที่อยู่ในบริเวณที่ประเมินนั้น ติดไว้ท้ายพระราชกฤษฎีกานั้น แผนที่หรือแผนผังดังกล่าวให้ถือเป็นส่วนหนึ่งแห่งพระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกาเช่นว่านี้ให้ใช้บังคับได้มีกำหนดสองปี หรือตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกานั้น แต่ต้องไม่เกินสี่ปี แล้วแต่จะเห็นว่าจำเป็นเพื่อทำการสำรวจที่ดินที่จะต้องเวนคืนนั้น"

แล้วจะไปหาดูพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวได้จากที่ไหนกัน คำตอบคือ

"มาตรา7 เมื่อพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 ใช้บังคับแล้วให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ปิดประกาศสำเนาแห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว พร้อมทั้งแผนที่หรือแผนผังท้ายพระราชกฤษฎีกาไว้โดยเปิดเผย ณ สถานที่ดังต่อไปนี้

1.ที่ทำการของเจ้าหน้าที่
2.ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขต และที่ทำการแขวงหรือศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ที่ทำการตำบลและที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน แล้วแต่กรณี แห่งท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์ซึ่งจะต้องเวนคืนนั้นตั้งอยู่
3.กำสำนักงานที่ดินจังหวัด และที่ทำการที่ดินอำเภอแห่งท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์ซึ่งจะต้องเวนคืนนั้นตั้งอยู่"

ดังนั้น หากคุณสงสัยว่าที่ดินที่กำลังจะซื้อหรือที่ดินที่คุณเป็นเจ้าของอยู่จะถูกเวนคืนหรือไม่ คุณสามารถแวะไปตรวจสอบยังสถานที่ต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น ถือสำเนาโฉนดไปด้วยก็จะสะดวกมากขึ้น การติดตามข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์เป็นข้อมูลเบื้องต้น ส่วนข้อมูลที่มีแสดงถึงผลบังคับทางกฎหมายต้องดูจากพระราชกฤษฎีกา

สำหรับขั้นตอนดำเนินการในการเวนคืนของเจ้าหน้าที่จะคล้ายคลึงกันดังนี้ คือ

ขั้นที่ 1 จัดทำรายละเอียดเวนคืนในเวลาไม่เกิน 2 ปี ขยายเวลาได้อีกไม่เกินร้อยแปดสิบวัน
ขั้นที่ 2 สำรวจแล้วเสร็จตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเวนคืนภายใน 30 วัน ให้มีผู้แทนของสภาท้องถิ่นร่วมด้วย และให้ราคาเวนคืนเกินที่กำหนดไว้ไม่ได้ หากผู้ถูกเวนคืนไม่เห็นด้วยให้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีต้นสังกัดหน่วยงานเวนคืน และในกรณีราคาที่ดินขึ้น รัฐมนตรีต้นสังกัดสามารถปรับเปลี่ยนราคาเวนคืนให้ขึ้นตามได้
ขั้นที่ 3 เมื่อตกลงราคากันได้และทำสัญญาซื้อขายให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับการมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ จ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองภายในเวลา 120 วัน นับแต่วันทำสัญญาซื้อขาย
ขั้นที่ 4 หากจำเป็นและเห็นว่า การเวนคืนตามปกติจะเนิ่นช้าเป็นอุปสรรคอย่างมากแก่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้การเวนคืนนั้นเป็นกรณีเร่งด่วนได้ หลังจากนั้นเมื่อแจ้งให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ทราบภายใน 60 วัน สามารดำเนินการต่อไปได้รวมทั้งการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างถ้าจำเป็น การแจ้งนี้ใช้การปิดประกาศ ณ ที่ตั้งอสังหาริมทรัพย์แทนได้

เอาเป็นว่า รัฐ มีอำนาจทางกฎหมายเพียงพอที่จะดำเนินการ แต่ปฏิบัติการจริงก็อาศัยหลักการปกครองมายืดหยุ่นอย่างที่เห็นๆ กันอยู่ ถ้าลงเอยกันแบบไม่มีปัญหา เรื่องต่อไปนี้คือ ใครบ้างที่จะได้เงินจากการเวนคืน

--------------------------------------------------------------------------------
• เวนคืนคือการบังคับ
• การเวนคืนจะทำได้เมื่อใด
• จะติดตามรายละเอียดในการเวนคืนได้อย่างไร
• ใครบ้างที่จะได้เงินจากการเวนคืน

แหล่งที่มา homedd





Create Date : 26 สิงหาคม 2551
Last Update : 26 สิงหาคม 2551 18:07:15 น. 0 comments
Counter : 491 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

inspection
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add inspection's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.