|
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
มารู้จักกับ (EP) English Program กันเถอะ
 | |  | |
สวัสดีครับ วันนี้ผมก็มีบทความมาแบ่งปันเช่นเคยนะครับ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์โดยเฉพาะ คนที่มีบุตรหลานที่กำลังจะเข้าเรียน อนุบาล 1 หรือกำลังเลือกโรงเรียนให้ลูกหลาน... ได้ยินพ่อแม่ผู้ปกครองหลาย ๆ คนพูดว่า ลูกเรียนอีพี (EP) ซึ่งผมคิดว่าเรา ๆ ท่าน ๆ ก็คงพอเดาได้อยู่ว่าคือ English Program แปลกันตรงๆ ก็คือ โปรแกรมภาษาอังกฤษ แต่จริง ๆ แล้วมันคืออะไรกันแน่นะ เรียนภาษาอังกฤษกับครูต่างชาติเหรอ? แล้ววิชาสามัญทั่วไป เช่น คณิตศาสตร์ สังคม วิทยาศาสตร์ ฯลฯ ล่ะ? จะเรียนกับใครยังไง? ค่าเล่าเรียน ถูกแพง เท่าไหร่ ยังไง? ก่อนอื่นมารู้จัก English Program กันก่อนนะครับ

โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษหรือที่ได้ยินกันในชื่อ English Program เป็นโครงการของโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ความสามารถและทักษะทางภาษาของผู้เรียน หรืออาจเรียกว่าโรงเรียนสองภาษา และในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนต้องคำนึงถึงความสามารถพื้นฐานในการใช้ภาษาของผู้เรียน การสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันดีงาม ตลอดจนการเรียนการสอนในบริบทของความเป็นผสมผสานกับความเป็นสากล สำหรับรูปแบบการจัด สามารถทำได้ 2 แบบ คือ English Program (EP) และ Mini English Program (MEP) ซึ่งมีความแตกต่างกัน คือ EPจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษได้ทุกวิชา ยกเว้นภาษาไทยและสังคมศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไทย กฎหมายไทย ประเพณีและวัฒนธรรมไทย ส่วน MEP สอนได้ไม่เกิน ๕๐% ของชั่วโมงสอนทั้งหมดต่อสัปดาห์ คำว่า English Program เป็นคำที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดขึ้นเพื่อ อธิบายรูปแบบการจัดการศึกษาประเภทหนึ่ง โดยมีชื่อภาษาไทยว่า "การจัดการ เรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ"
ส่วนคำว่า Bilingualism Education เป็นทฤษฎีการจัดการศึกษารูปแบบ หนึ่ง ซึ่งเป็นที่เข้าใจได้ทั่วโลก เนื่องจากเป็นทฤษฎีสากลที่ใช้ในหลาย ประเทศ เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบผสมผสานระหว่างภาษาที่ 1 (ภาษาหลัก) กับภาษา ที่สอง (ภาษารอง) โดยไม่มีข้อจำกัดถึงอัตราส่วนที่แน่นอนระหว่างภาษา ที่ 1 และภาษาที่ 2 และไม่บังคับวิชาที่จะใช้สอนเป็นสองภาษา ซึ่งกระทรวง ศึกษาธิการได้กำหนดอัตราส่วนและรูปแบบของ English Program ไว้ดังนี้
ระดับอนุบาล จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ระดับประถม จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และพลศึกษา ระดับมัธยม สามารถจัดได้ทุกวิชา ยกเว้นวิชาภาษาไทย และสังคมศึกษาใน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไทย กฎหมาย ประเพณีและวัฒนธรรมของไทย
การพิจารณาเลือกโรงเรียน
สิ่งสำคัญคือภาษาที่ใช้จริง ๆ ในหลักสูตรของโรงเรียนเป็นภาษาอะไร ใน หลักสูตรของโรงเรียนสองภาษาที่ดีจะมีรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายการ สอนสองภาษาของโรงเรียน อีกประการหนึ่งคือต้องดูว่า คุณครูในโรงเรียนสนับ สนุนการพัฒนาทั้งสองภาษาหรืไม่ อย่ามองเพียงผลสอบหรือลำดับของโรงเรียนในการ วัดผล เพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมาก เช่น กิจกรรมนอกเวลาที่ช่วยส่งเสริม การเรียนรู้สองภาษา
ติดตามอ่าน บทความเพิ่มเติมได้นะครับ
คิดดีๆ ก่อนส่งลูกเรียน EP
ข้อมูลโรงเรียน 2 ภาษาจากกระทรวงศึกษาธิการ
รายชื่อโรงเรียนสองภาษา
| |  | |  |
Create Date : 31 สิงหาคม 2555 |
|
0 comments |
Last Update : 31 สิงหาคม 2555 13:02:35 น. |
Counter : 44788 Pageviews. |
|
 |
|
|
|
|
|
Search blogs
|
|
|
|
|
|
|