อาการต่างๆหลังคลอด

ช่วงหลังคลอดอวัยวะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์และการคลอด ได้แก่ มดลูก ปากมดลูก ช่องคลอด หน้าท้องจะค่อยๆกลับสู่สภาพเดิม แต่ก็ต้องใช้เวลา และร่างกายก็ต้องค่อยๆ ปรับตัวกับระดับฮอร์โมนที่ลดลง ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่คุณแม่ต้องเตรียมรับมือ ดังนี้

ปวดท้องหลังคลอด

เนื่องจากการหดรัดตัวของมดลูก (เพื่อที่จะยุบเข้าสู่สภาพปกติ) จะทำให้คุณแม่รู้สึกปวดท้องเหมือนการมีประจำเดือน แต่จะปวดมากกว่า เพราะมดลูกจะหดรัดตัวค่อนข้างแรงและเร็ว แต่นับว่าเป็นเรื่องดี เพราะเท่ากับลดโอกาสการตกเลือดหลังคลอดนั่นเอง วิธีการลดปวดที่ได้ผลดี คือ การให้ลูกดูดนมแม่ เนื่องจากขณะที่ให้นมแม่นั้น จะมีฮอร์โมนออกซีโตซินหลั่งออกมา เป็น
ฮอร์โมนที่ช่วยบีบรัดตัวให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น และยังกระตุ้นการสร้างน้ำนมอีกด้วย

ปากมดลูกและช่องคลอด

สำหรับคุณแม่ที่คลอดทางช่องคลอด ปากมดลูกขยายออก แต่ก็ไม่ต้องเป็นกังวล เพราะภายใน 1 สัปดาห์ ปากมดลูกก็จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ส่วนแผลฝีเย็บนั้นใน 1-2 สัปดาห์แรกอาจจะยังรู้สึกเจ็บอยู่ แต่รับรองว่าหายเร็วกว่าผ่าตัดคลอดแน่นอน ถ้าแผลไม่เกิดการติดเชื้อเสียก่อน

เจ็บแผลฝีเย็บ

1.ใช้ความร้อนจากโคมๆ ไฟ จะช่วยให้รู้สึกสบายปากแผลมากขึ้น
2.ถ้าเจ็บแผลมาก ให้ใช้ห่วงยางว่ายน้ำขนาดเล็กมารองนั่ง
3.ขณะปัสสาวะอาจจะรู้สึกแสบแผลในวันแรกๆ ให้ราดด้วยน้ำอุ่นขณะปัสสาวะไปด้วย เพื่อให้ปัสสาวะซึ่งมีสภาพเป็นกรดอ่อนๆ เจือจางลง หรือถ้าเจ็บมากจริงๆ ก็รองน้ำใส่กะละมัง และนั่งปัสสาวะในน้ำ

ทำความสะอาดแผลฝีเย็บ
1.ล้างและซับให้แห้งทุกครั้งหลังถ่ายหนักและเบา โดยเช็ดจาก ด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ
2. เปลี่ยนผ้าอนามัย บ่อยๆ ยิ่งถ้ามีน้ำคาวปลาไหลออกมามาก
ก็จำเป็นต้องเปลี่ยนบ่อยยิ่งขึ้น

แผลผ่าตัด

คุณแม่ที่ผ่าตัดโดยการคลอด ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับ
ช่องคลอด แต่ก็ต้องอดทนกับการเจ็บแผลผ่าตัดนานพอสมควร เพราะแผลผ่าตัดไม่ใช่แค่รอยบนหน้าท้องที่มองเห็นเท่านั้น ภายในชั้นกล้ามเนื้อลงไปจนถึงมดลูก ล้วนมีแผลที่ถูกเย็บ
ดังนั้นถึงแผลภายนอกจะหายดีแล้ว คุณแม่อาจจะยังรู้สึกเสียวแปลบภายในได้อีก ฉะนั้นเท่าที่ยังรู้สึกเจ็บแผล คุณแม่ไม่ควรยกของหนัก หรือออกกำลังกายที่จะเป็นอันตรายต่อการฉีกขาดของแผล

ท้องผูก

หลายท่านเกิดอาการท้องผูกหลังคลอด เพราะกล้ามเนื้อท้องยังไม่เข้าที่ ทำให้ความดันในช่องท้องลดลง รวมถึงระดับฮอร์โมน โปรเจสเตอโรนที่เพิ่มสูงขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์
นั้นก็ทำให้กล้ามเนื้อลำไส้คลายตัว แถมยังมีอาการเจ็บแผลฝีเย็บ ยิ่งทำให้คุณแม่ไม่รู้สึกอยากถ่ายมากขึ้น คุณแม่ต้องดื่มน้ำมากๆรับประทานผักผลไม้ อาหารที่มีกากใย เพื่อให้อุจจาระนิ่ม ขยับร่างกายบ้างเพื่อให้ลำไส้ได้บีบตัว การขับถ่ายจะได้ปกติ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาถ่าย เพราะยาบางตัวอาจแทรกซึมไปทางน้ำนมได้

อ่อนเพลีย อ่อนล้า

อาการเหนื่อยหลังคลอด เนื่องจากหมดพลังไปกับการคลอดลูก
เจ็บแผล ปวดเต้านม และการเลี้ยงลูกที่ตื่นทุก 2-3 ชั่วโมงเพื่อ
กินนมแม่นั้น อาจทำให้คุณแม่บางคนหมดแรง รู้สึกท้อแท้ บวกกับฮอร์โมนที่ปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว ทำให้อารมณ์อ่อนไหวง่าย บางครั้งร้องไห้ออกมาอย่างไม่รู้ตัวก็มีคุณแม่
ต้องพยายามนอนหลับให้มากที่สุด คือ ลูกนอนแม่ก็นอน ลูกตื่นกินนมแม่ก็ตื่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้เต็มที่ เรื่องของงานบ้านต้องทิ้งไว้ก่อน หาคนมาช่วยหลังคลอด เป็นสิ่งจำเป็นมาก ที่จะช่วยให้คุณแม่ผ่านสัปดาห์แรกๆ หลังคลอดไปได้อย่างราบรื่น

ดูแลเต้าเพื่อลูก

นมแม่นับเป็นอาหารมหัศจรรย์ของลูกน้อย คุณแม่มากมาย เต้านมแหล่งผลิตน้ำนมให้ลูก จึงต้องได้รับการดูแลอย่างดี เพื่อลูกจะได้รับน้ำนมแม่อย่างไม่ขาดตอนเต้านมคัด ภายในสัปดาห์แรกหลังคลอด คุณแม่จะรู้สึกคัดเต้านม คือ เต้านมจะขยายใหญ่ หนักขึ้น เวลาจับจะเจ็บ
วิธีง่ายที่สุดคือ ให้ลูกดูดนม น้ำนมจะถูกระบายออก (ต้องให้ลูกดูดให้เกลี้ยงเต้า) และร่างกายจะสร้าง น้ำนมขึ้นมาทดแทนให้เพียงพอกับปริมาณที่ลูกต้องการ ถ้ารู้สึกคัดเต้าแต่ลูกยังไม่หิว ให้คุณแม่บีบเก็บใส่ถุงเก็บน้ำนม เขียนวันที่กำกับให้เรียบร้อย นำไปแช่ช่องแข็ง เป็นสต็อกน้ำนมให้ลูกในยามที่คุณแม่ไม่สามารถให้ลูกดูดนมจากเต้าได้ เมื่อให้นมมาได้สักพัก ร่างกายจะปรับตัวตามเวลาที่ลูกดูดนม เต้านมก็จะคัดเป็นเวลา และเมื่ออยู่ตัวอาการคัดเต้าจะหายไป ตราบใดที่คุณแม่ให้ลูกดูดนมสม่ำเสมอ น้ำนมก็จะยังมีพอให้ลูกดูดไปเรื่อยๆ


หัวนมแตก

ส่วนใหญ่เกิดจากการให้ลูกดูดนมไม่ถูกวิธี คือ ปาดลูกอมแต่หัวนมวิธีที่ถูกคือ ลูกต้องอมมิดเข้าไปถึงลานนม และตัวอุ้มลูกน้อยให้กินนมให้ถูกท่าด้วยเช่นกัน รวมถึงวิธีถอนปากลูกออกจากหัวนมแม่ ต้องให้ลูกอ้าปากให้กว้างพอ ไม่ใช่รูดออกมา จะทำให้หัวนมแม่เจ็บได้
วิธีการรักษาความสะอาดหัวนมก็สำคัญ คุณแม่บางคนใช้น้ำอุ่น
เช็ดหัวนมบ่อยเกินไป ก็ทำให้หัวนมแตกได้ การทำความสะอาดหัวนมเพียงแต่ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาดก็เพียงพอ อาจจะใช้สำลีชุบน้ำธรรมดาเช็ดก่อน และหลังลูกดูดนม ไม่จำเป็นต้องใช้
แอลกอฮอร์ หรือฟอกสบู่บ่อยเกินไป จะทำให้หัวนมแห้งแตกได้

วิธีรักษาหัวนมแตก
ถ้าแตกไม่มาก ให้บีบน้ำนมมาทาที่หัวนมและผึ่งไว้ให้แห้ง และสามารถให้ลูกดูดต่อได้ โดยให้ดูดข้างที่ไม่แตกก่อน ถ้าแตกมาก คุณแม่เจ็บจนทนไม่ไหว อาจจะต้องให้ลูกงดดูดนมข้างนั้นไปก่อน
ใช้วิธีบีบนมเก็บไว้ หรือนำมาป้อนลูกแทน

เพศสัมพันธ์หลังคลอด

ถ้าถามว่าจะเริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไหร่ดี ถ้าทางการแพทย์ก็ต้องบอกว่าให้แผลฝีเย็บ หรือแผลผ่าตัดแห้งสนิทดีเสียก่อน แต่ถ้าตามหลักความเป็นจริงเห็นจะต้องตอบว่า เริ่มเมื่อคุณแม่
พร้อม ความต้องการทางเพศย่อมแตกต่างกัน เพราะไม่ได้ขึ้นอยู่กับร่างกายหรือแผลที่หายดีเท่านั้น
ทางด้านจิตใจก็มีส่วนสำคัญ ความเหนื่อยล้าจากการเลี้ยงลูกอ่อน อาจทำให้ความรู้สึกทางเพศลดลง เรื่องนี้คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องหันหน้าคุยกัน ทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน และเริ่มด้วยความนุ่มนวล เพราะเพศสัมพันธ์หลังคลอดนั้นมีข้อดีอย่างมากมาย ถ้าเพศสัมพันธ์นั้นเป็นไปอย่างเต็มใจ จะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ชีวิตคู่ และฮอร์โมนที่หลั่งออกมาระหว่าง
การมีเพศสัมพันธ์ยังช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้นอีกด้วย





Create Date : 20 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 23 กรกฎาคม 2552 20:59:41 น.
Counter : 3859 Pageviews.

0 comments

เจ้าแม่แฟชั่น
Location :
  Maldives

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



Group Blog
กุมภาพันธ์ 2552

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
21
22
23
24
25
27
28
 
20 กุมภาพันธ์ 2552