<<
เมษายน 2558
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
1 เมษายน 2558

ปูมหลัง CEO ธนาคารไทยพาณิชย์ ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย




ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย กรรมการ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการกิจกรรมเพื่อสังคม

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)




ดร.วิชิต สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทสาขาวิศวกรรมศาสตร์จาก University of California, Berkeley ปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาบริหารธุรกิจ จาก University of California, Los Angeles ประเทศสหรัฐอเมริกา





เขาเป็นคนกรุงเทพฯ เกิดในครอบครัวเจ้าของโรงงานผลิตกล่องกระดาษโรงแรกในประเทศไทย ที่ก่อตั้งขึ้นโดยพ่อของเขา พงษ์ สุรพงษ์ชัยกับแม่-ลาวัณย์ เป็นกิจการครอบครัวที่เริ่มจากเล็ก ๆ และเติบโตขึ้นมาพร้อม ๆ กับวัยที่เติบโตของเขากับพี่ชายเพียงคนเดียว-วินิจสุรพงษ์ชัย อดีตผู้บริหารคนสำคัญของเอสเอสซีแอนด์บี ลินตาสที่เพิ่งจะมีข่าวครึกโครมเรื่องลาออกไปตั้งเอเยนซี่ใหม่ไม่กี่เดือนมานี้

วิชิต เริ่มเรียนหนังสือที่อัสสัมชัญบางรัก เขาคิดว่าเขากับวินิจน่าจะต้องแสดงบทบาทความเป็นเถ้าแก่ดูแลกิจการโรงงานผลิตกล่องกระดาษต่อจากรุ่นพ่อแม่ ซึ่งก็เป็นความปรารถนาของครอบครัวด้วย เมื่อจบระดับเตรียมอุดมศึกษาแล้ววิชิตจึงตรงแน่วเข้าเป็นนิสิตใหม่คณะวิศวกรรมศาสตร์ แผนกเครื่องกลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างมุ่งมั่น เขาตั้งใจว่าจะนำความรู้ทางด้านวิศวะเครื่องกลไปใช้กับโรงงานของเขา ส่วนวินิจที่ชอบด้านศิลปะก็ถูกส่งไปเรียนวิชาที่ตัวเองชอบที่อังกฤษ

ดูเหมือนครอบครัว "สุรพงษ์ชัย" จะได้วางเส้นทางเดินของทายาทเอาไว้แล้วอย่างรัดกุม

คนโตไปเรียนวิชาที่จะต้องนำมาใช้ในการสร้างสรรค์สินค้าใหม่ ๆ ของโรงงาน

ส่วนคนเล็กเรียนวิชาที่จะใช้ในด้านการผลิต




ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย วัยหนุ่ม



     เพียงแต่บางทีอนาคตข้างหน้านั้นก็ใช่ว่าจะเป็นสิ่งที่กำหนดกันได้เสมอไปเท่านั้น

วินิจ สุรพงษ์ชัย กลับจากอังกฤษก็เข้าทำหน้าที่ในโรงงานผลิตกล่องกระดาษาของครอบครัวทันควัน ตอนนั้น วิชิตยังเรียนวิศวะปี 3 แม้จะยังไม่จบแต่ด้วยความจำเป็นบางประการของครอบครัวทำให้เขาต้องเรียนไปพร้อม ๆ กับช่วยงานในโรงงานและเริ่มให้เวลากับงานอย่างจริงจังทันทีที่หลุดจากรั้วจุฬาฯ

"โรงงานของเราเคยเป็นโรงงานที่มีกำลังการผลิตใหญ่ที่สุด ตอนที่ผมทำงานนั้นก็น่าจะพูดได้ว่าทำเกือบทุกอย่าง ตั้งแต่เถ้าแก่ไปจนถึงจับกังแบกของขนของขึ้นรถลงรถขับรถส่งของหรือแม้แต่ไปญี่ปุ่นเพื่อซื้อเครื่องจักร ต้องอยู่เทรนที่ญี่ปุ่น 6-7 เดือน ผมคิดว่าผมก็ได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มากทีเดียว" วิชิต เล่าให้ฟัง


หนึ่งปีหลังจากจับงานของครอบครัวอย่างเต็มตัว กิจการเริ่มประสบปัญหาจากการแข่งขัน วิชิตเริ่มคิดในขณะนั้นว่า เขามีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนากิจการให้อยู่ในฐานะที่แข็งแกร่งขึ้น "ผมคิดว่าความรู้ทาง

หนึ่งปีหลังจากจับงานของครอบครัวอย่างเต็มตัว กิจการเริ่มประสบปัญหาจากการแข่งขัน วิชิตเริ่มคิดในขณะนั้นว่า เขามีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนากิจการให้อยู่ในฐานะที่แข็งแกร่งขึ้น "ผมคิดว่าความรู้ทางด้านวิศวะที่มีอยู่ของผมจริง ๆ แล้วมันยังไม่แน่นพอที่จะนำมาใช้ในการพัฒนากิจการก็คิดแค่เพียงด้านนี้ด้านเดียวจริง ๆ ผมก็เลยตัดสินใจไปเรียนต่อระดับปริญญาโทที่ต่างประเทศ"


ปี 2512 วิชิตเข้าเรียนในระดับปริญญาโททางด้านวิศวอุตสหกรรรมที่เบิร์กเล่ย์ประเทศสหรัฐอเมริกา

แต่ดูเหมือนว่าความรู้ระดับปริญญาโทที่ร่ำเรียนมาไม่ได้ช่วยให้กิจการของครอบครัวพัฒนาไปสู่จุดที่มุ่งหวัง เขาเริ่มมองเห็นสัจธรรมว่าอะไรคือสาเหตุในช่วงนี้เอง

"จริง ๆ แล้วมันเป็นปัญหาเรื่องการจัดการเรื่องเงิน เรื่องระบบธุรกิจแบบครอบครัว ซึ่งเป็นปัญหาที่เราไม่มีความรู้ที่จะแก้ไขเลย" วิชิตบอก

เขาตัดสินใจขจัดความไม่รู้ด้วยการบินกลับไปเรียนปริญญาโทบริหารธุรกิจ (เอ็มบีเอ) เพิ่มเติมที่ยูซีแอลเอ สหรัฐอเมริกา เขาหวังอย่างมากที่จะกลับมาฟื้นฟูกิจการของครอบครัวอีกครั้ง เพียงแต่เขาตัดสินใจออกจะช้าไปสักนิดบริษัทสิงห์ทอง จำกัด โรงงานผลิตกล่องกระดาษที่ครอบครัว "สุรพงษ์ชัย" ก่อร่างสร้างขึ้นมาด้วยระยะเวลานับสิบ ๆ ปี ตัดสินใจขายหุ้นส่วนข้างมากให้กับบริษัทออสเตรเลีย คอนโซลิเดเต็ด อินดัสทรีย์ (ที่เข้ามาเป็นหุ้นใหญ่ในบริษัทไทยกลาสในประเทศไทย) และบริษัทเบอร์ลี่ ยุคเกอร์เพื่อรับช่วงกิจการไปดำเนินการต่อพร้อม ๆ กับเปลี่ยนชื่อบริษัทจากสิงห์ทองเป็นบริษัทสยามบรรจุภัณฑ์




"ช่วงนั้นเป็นปี 2514 ดร.วิชิตยังอยู่ต่างประเทศ เจ้าของเก่าเขาดูแล้วว่าเขากำลังไม่พอที่จะพากิจการให้รุ่งเรืองได้เหมือนเก่าท่ามกลางการแข่งขัน บวกกับกลุ่มไทกลาสที่ติดต่อธุรกิจกันมานานก็เสนอเงื่อนไขดีมาก ๆ เขาก็เลยตัดสินใจขายหุ้นส่วนใหญ่ให้ คงเหลือหุ้นไว้เพียงเล็กน้อยบริษัทนี้ต่อมาในปี 2524 หรือ 10 ปีให้หลังก็เข้าไปอยู่ในเครือซิเมนต์ไทย ก็บริษัทสยามบรรจุภัณฑ์ที่เรารู้จักกันนั่นเอง ไม่ค่อยจะมีคนทราบหรอกว่าคนที่วางรากบริษัทนี้เริ่มจากพวกสุรพงษ์ชัยโดยมี ดร.วิชิตเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงคนหนึ่งในขณะที่ยังอยู่ในวัยหนุ่ม"






ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย เริ่มทำงานเป็นพนักงานฝ่ายวิเคราะห์สินเชื่อ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) และเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อมาย้ายมาอยู่ธนาคารกรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2520 และในปี พ.ศ. 2535 ดร.วิชิต ได้รับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารกรุงเทพ ในปี 2537 ดร.วิชิต ลาออกจากธนาคารกรุงเทพ โดยให้เหตุผลว่าจะไปรักษาสุขภาพ แต่เพียงไม่ถึงปีของการลาออก เขาได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย

 





มีประวัติการทำงานที่ยาวนานในภาคการเงินการธนาคาร โดยเริ่มต้นการทำงานด้านการธนาคารที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และได้ลาออกในขณะที่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในระหว่างปี พ.ศ. 2537-2538 และได้กลับเข้าสู่ธุรกิจการธนาคารอีกครั้งในตำแหน่งประธานกรรมการธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) ในปี พ.ศ. 2541 และในปี พ.ศ. 2542 ดร. วิชิต ได้เข้าร่วมงานกับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร และกรรมการ ธนาคาร นอกจากนี้ยังเป็นกรรมการของ Kempinski AG แห่งสวิตเซอร์แลนด์ และดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์


ด้วยวิสัยทัศน์และการวางยุทธศาสตร์ภายใต้การนำและขับเคลื่อนของ ดร.วิชิต ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการทำธุรกิจในกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์เป็นอย่างมาก การยึดถือรูปแบบธุรกิจให้การบริการอย่างครบวงจร (Universal Banking) ส่งผลทำให้ธนาคารมีการเติบโตที่โดดเด่นก้าวขึ้นเป็นธนาคารชั้นนำของประเทศ มีศักยภาพสูงในการแข่งขันและสามารถสร้างผลกำไรในระดับสูงได้อย่างต่อเนื่อง ผลักดันให้หุ้นธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าทางตลาด (Market Capitalization) สูงสุดของสถาบันการเงินไทย นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลต่างๆ มากมายทั้งในต่างประเทศและในประเทศ ดร.วิชิต ให้ความสำคัญในการวางรากฐานและได้ถ่ายทอดหลักการบริหารการเปลี่ยนแปลงแก่ทีมผู้บริหารของ ธนาคารเพื่อให้ธนาคารสามารถเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพในอนาคต


ดร.วิชิต มีบทบาทในการพัฒนาการศึกษาของประเทศ โดยที่ผ่านมาเคยดำรงตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล, กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, กรรมการสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) รวมถึงการดำรงตำแหน่ง กรรมการของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)




Create Date : 01 เมษายน 2558
Last Update : 1 เมษายน 2558 17:28:15 น. 1 comments
Counter : 4929 Pageviews.  

 
5 เมษายน 2559 (ครั้งที่2)
343 ศูนย์การค้าเนเบอร์เซ็นเตอร์ ห้าแยกวัชรพล กรุงเทพมหานคร
เรียน 1.ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)
2.นายญนน์ โภคทรัพย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)
เรื่อง ขอเปลี่ยนรถยนต์เช่าซื้อคันใหม่
ข้าพเจ้านายพิพัฒน์ เพชรจง ได้ทำสัญญาเช่าซื้อทรัพย์รถปิคอัพ ยี่ห้อMITSUBISHI แบบTRITON Single Cab เลขเครื่อง 4M41UCBF3754 เลขตัวถัง MMTERKD80AD000457 เลขที่สัญญา 49792221908 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2558 จากบริษัทมิตซู ออโต้ซิตี้ จำกัด
เพื่อมอบเป็นของขวัญวันพ่อ 5 ธันวาคมที่ผ่านมา แต่รถยนต์มีปัญหาต่างๆ และที่หนักหนาเรื่อง 1.ซีลท้ายเกียร์ 2.ซีลฝาท้ายเกียร์ 3.ซีลเพลาข้อเหวี่ยงหลัง ทำให้น้ำมันเกียร์รั่วซึม และน้ำมันรั่วซึ่มตรงข้อต่อเพลาขับหลัง ตลอดเวลา 4 เดือน หรือหลักจากเข้าศูนย์บริการตรวจเช็คระยะ 1000 กิโลเมตร ถึง เลขไมล์ 3879 จะพบน้ำมันรั่วซึมมาตลอด โดยยืนยันได้จากภาพถ่าย,หัวหน้าช่าง และเจ้าหน้าที่รับรถ ประจำศูนย์บริการมิตซู ทั้ง 4 ศูนย์ฯ,คนใกล้ชิดที่พักอาศัย, คนใกล้ชิดที่ทำงาน
โดยข้าพเจ้าได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่คอลเซ็นเตอร์ SCB แต่ได้รับคำตอบว่าเราเป็นเพียงสถาบันทางการเงิน หรือได้รับการบริการที่ไม่ประทับใจ หรือคุณสิรินดา คุณเฉลิมชัย ต่างก็ไม่ค่อยให้ความร่วมมือ
และเจ้าหน้าที่คอลเซ็นเตอร์บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ (ประเทศไทย)จำกัด และบริษัทมิตซู ออโต้ ซิตี้ จำกัด ทราบตลอดระยะเวลา ผ่านทางอีเมล์ และโทรศัพท์ ซึ่งทั้งสองแจ้งเพียงว่าเป็นสารหล่อลื่นของอะไหล่
ทั้งนี้ข้าพเจ้าได้ร้องขอกับเจ้าหน้าที่คอลเซ็นเตอร์SCB ช่วยติดต่อประสานงาน และบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ (ประเทศไทย)จำกัดมาตลอด ให้ส่งวิศวกร ช่างผู้ชำนาญการ ช่างเทคนิค มาร่วมตรวจสอบพร้อม กับหัวหน้าช่าง ช่างประจำศูนย์บริการฯ แต่ก็ได้รับคำตอบ ปฎิเสธ โดยข้าพเจ้านำรถยนต์เข้ารับบริการ ตรวจเช็ค ดังนี้
1. ศูนย์บริการ บ.มิตซู ออโต้ ซิตี้ ทั้งจอดค้างคืน จำนวน 2 ครั้ง รวมเวลามากกว่า 4 วัน
2.เข้าศูนย์บริการ บ.มิตซู พีพีเอส กม.4 จำนวน 2 ครั้ง 2วัน
3.เข้าศูนย์บริการ บ.มิตซู เอเบิล ลาดพร้าว 122 จำนวน 1 ครั้ง ทั้งจอดค้างคืน รวมเวลากว่า 3 วัน
***ทั้ง 3 ศูนย์บริการข้างต้น ช่างทำได้แค่ทำความสะอาดหยดน้ำมัน และคราบใต้ท้องรถยนต์ หรือข้อมูลจากการปรึกษาหัวหน้าช่างประจำศูนย์บริการ และผู้เชี่ยวชาญรถยนต์ สรุป เชื่อว่า อะไหล่ซีลชำรุดทั้ง 3 จุด ที่เกิดจากการประกอบจากโรงงาน เพราะศูนย์บริการ บ.มิตซู เอเบิล ตรวจเช็คพบว่า น้ำมันเกียร์ขาดหายไปเกือบ 2 ลิตร ***
*กระทั่งข้าพเจ้าจนมุม ไม่มีทางออกที่ดีแล้ว เพราะ 1.ไม่ได้รับการร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ SCB 2.ได้รับคำตอบ ปฎิเสธ จากเจ้าหน้าที่คอลเซ็นเตอร์ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ (ประเทศไทย)จำกัด ที่ได้ร้องขอให้ส่งวิศวกร ช่างผู้ชำนาญการ ช่างเทคนิค มาร่วมตรวจสอบพร้อมกับหัวหน้าช่าง ช่างประจำศูนย์บริการฯ 3.หัวหน้าช่าง ช่างประจำศูนย์ฯไม่กล้าดำเนินการตัดสินใจอย่างหนึ่งอย่างใด เนื่องจาก เป็นรถยนต์ใหม่ป้ายแดง ,จุดที่ชำรุด มีความเสี่ยงสูง
*ข้าพเจ้าจึงนำเรื่องราวข้างต้นลงใน สื่อโซเซียล ซึ่งเป็นผลให้ เจ้าหน้าที่คอลเซ็นเตอร์ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ (ประเทศไทย)จำกัด ยินยอมจะส่งเจ้าหน้าที่เทคนิคมาร่วมตรวจสอบให้ โดยแจ้งให้ข้าพเจ้า
4. นำรถยนต์เข้าศูนย์บริการมิตซู บ. กฤษฎากลการ รามอินทรา กม.8 วันที่ 21/01/59 แต่เจ้าหน้าที่เทคนิคจากบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ (ประเทศไทย)จำกัด เข้ามาตรวจเช็ควันที่ 03/02/59 ตรวจสอบร่วมกับช่างประจำศูนย์บริการ พร้อมได้ถอดอะไหล่(ฝาครอบข้อต่อเพลาขับหลัง) ผลสรุป ซีลรั่ว หรือชำรุด ทั้ง 3 จุด อันเกิดจากการประกอบจากทางโรงงาน
*วันที่ 5/02/59 ข้าพเจ้าเข้าไปตรวจดูรถยนต์ พบว่าอะไหล่หายไป ไม่มีฝาครอบข้อต่อเพลาขับหลัง จึงได้ทวงถามบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ (ประเทศไทย)จำกัดผ่านทางอีเมล์ และโทรศัพท์ จนถึงปัจจุบัน ยังไม่ได้รับคำตอบครับ และ รถยนต์ก็ยังจอดค้างอยู่ที่ศูนย์บริการมิตซู บ. กฤษฎากลการ รามอินทรา กม.8
*เมื่อวันที่ 11/03/59 คุณเฉลิมชัย ติดต่อกลับมาหลังจากที่ข้าพเจ้าเมล์ติดตามSCB อย่างต่อเนื่อง โดยรับปากว่าจะช่วยติดตามประสานงานกับบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย)จำกัด ,บริษัท มิตซู ออโต้ ซิตี้ จำกัด ให้ครับ
จึงใคร่กราบเรียนถึงผู้บริหาร ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร และนายญนน์ โภคทรัพย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ว่าในฐานะท่านเป็นผู้ให้บริการเช่าซื้อ หรือผู้ถือกรรมสิทธิ์ของรถยนต์ คันดังกล่าว
ส่วนข้าพเจ้านายพิพัฒน์ เพชรจง เป็นผู้ครอบครองหรือเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์จากท่าน ที่ได้ซื้อรถยนต์ใหม่ป้ายแดงที่พร้อมใช้งานจากศูนย์บริการ ตัวแทนจำหน่าย แต่รถยนต์ประกอบมาไม่ได้คุณภาพ /ชำรุด ทำให้ข้าพเจ้าสูญเสียเวลาอย่างมาก ,ความรู้สึกหดหู่ ,กระทบโดยตรงต่อหน้าที่การงาน รายได้ และไม่ได้รับการให้บริการที่ดี แต่ข้าพเจ้าเชื่อว่าท่านทั้งสอง เป็นบริหารระดับสูงสุดของธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นธนาคารที่มีธรรมมาภิบาล การดูแลลูกค้าเป็นอย่างดี ซื่อสัตย์ จริงใจ จึงใคร่อยากทราบว่าท่านจะรับผิดชอบตามข้อเรียกร้องของข้าพเจ้าได้หรือไม่
ซึ่งข้อเรียกร้องที่ข้าพเจ้าอยากให้ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือผู้ให้บริการเช่าซื้อ รับผิดชอบมีดังนี้
1.ซื้อรถยนต์คืน 2.เปลี่ยนรถยนต์คันใหม่ พร้อมเยี่ยวยาค่าเสียประโยชน์การใช้รถยนต์
หวังว่าจะได้รับการพิจารณาและดูแลจากธนาคารไทยพาณิชย์ ของท่านเป็นอย่างดี


"ไม่ว่าคุณคิดอะไร คิดถึงไทยพาณิชย์"
นายพิพัฒน์ เพชรจง
092-4541578 / 02-9635555


โดย: พิพัฒน์ เพชรจง IP: 58.8.148.20 วันที่: 5 เมษายน 2559 เวลา:14:19:25 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1085247
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add สมาชิกหมายเลข 1085247's blog to your web]