<<
กุมภาพันธ์ 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
26 กุมภาพันธ์ 2558

เศรษฐศาสตร์ในความคิดนักธนาคาร กับนักการเมือง นั้นต่างกัน

" ผลิตภัณฑ์ " ในมุมของรัฐบาล และนักเศรษฐศาสตร์ แตกต่างกัน :
คำว่า Product สมัยผมเรียนในวิชาการตลาดเมื่อ 5 ปีก่อน จำกัดความครอบคลุม 3 ส่วน คือ 1. สินค้า 2. บริการ และ 3. ความคิด ... แต่ทั้งนี้ ในการจำนวนบัญชีรายได้ประชาชาติ (GDP,GNP) เขาวัดแค่สองอย่าง 1.สินค้า และ 2. บริการ โดยไม่นับ"ความคิด" ... ก็เข้าใจได้นะ 

และเวลาที่ผมฟังพวกนักเศรษฐศาสตร์ นักบัญชี นักธนาคารพูด ก็เห็นได้ชัด ว่าคนเหล่านี้จะเน้นไปที่การรักษา "เสถียรภาพ"(Stability) เป็นหลัก โดยถือว่าสำคัญที่สุดเลย และรองลงมาก็คือ "การเติบโต" ... ส่วนความเสมอภาค กับเสรีภาพทางเศรษฐกิจนี้ คนพวกนี้จะไม่พูดเลย ทำไมอย่างงั้น ?



++
ก็เข้าใจได้ครับ ว่ามันเป็นหน้าที่ของเขา (ธนาคารกลาง , นโยบายการเงิน) และก็เป็นหน้าที่ของวิชาเศรษฐศาสตร์ ที่จะมีพื้นฐานของวิชาที่ไม่ค่อยบู๊และอนุรักษ์นิยม .... อย่างผูั้ว่าธนาคารกลางบางคนนี้ จะพูดเรื่องธนาคารเก่งมาก แต่เมื่อสักครึ่งปีที่แล้ว ผมได้ยินแกพูดเรื่องการเมือง  ต้องบอกว่าอ่อนหัดจริงๆ ไม่เข้าใจสิ่งที่ประชาชนต้องการสำหรับชีวิตและจิตใจเลย


++
แต่ทว่า ต้องยอมรับครับ ว่าธนาคารกลางของไทย(BOT) ถือว่าเก่ง และทำหน้าที่ได้ดีมากเมื่อเทียบกับระดับโลก และ In fact เสถียรภาพทางการเงินของไทยถือว่าไม่มีปัญหา แต่ปัญหาคือ ความเสมอภาคกับเสรีภาพทางเศรษฐกิจต่างหาก ,เป็นปัญหาทางโครงสร้างที่เรื้อรังมานาน ( เศรษฐศาสตร์ มีเป้าหมายเพื่อ 3 ข้อ บางตำราก็ว่า 4 ข้อ คือ 1. เสถียรภาพ 2. การเติบโต 3. ความเสมอภาค และ 4 เสรีภาพทางเศรษกิจ) ปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายที่ดินเอย กฎมรดกเอย จริงๆจอมพล ป. แกคิดจะทำตั้งนานแล้ว ให้เหมือนอารยประเทศ 

++
วิชาพวกนี้มันก็ต้องพัฒนาไปเหมือนกัน ... และที่จริง มันขึ้นอยู่กับทัศนคติ และมุมมองทางความคิดต่อเรื่องที่มาของทรัพยากร สินเชื่อ ความคิดประชาชน และอื่นๆ ... นี่แหละครับ เพราะความคิดคือสิ่งที่ทำให้ชาติที่ทรัพยากรน้อย กลายเป็นชาติมหาอำนาจได้

มุมมองทางความคิดต่อเศรษศาสตร์นั้นสำคัญกว่ากราฟครับ กราฟมันมาทีหลัง จะชิป LRAS จะควบคุม AE ก่อนอื่นเลย ต้องตีความคำว่า "ผลิตภัฒน์"ให้แตกจริงๆเสียก่อน เพราะ GDP คือ 'ผลิตภัณฑ์'มวลรวมแห่งชาติ ... นักเศรษฐศาสตร์ นักธนาคารอาจจะไม่ต้องมาทำเรื่องนี้ ใช่ แต่ขอแค่ง่ายๆครับ ขอให้"เข้าใจทัศนคติ" เมื่อเข้าใจทั้งสองก็จะประสานกันได้ง่ายนั่นเอง

อ้างอิงข้อมูลบางส่วน 
www.scb.co.th/



Create Date : 26 กุมภาพันธ์ 2558
Last Update : 26 กุมภาพันธ์ 2558 15:51:33 น. 0 comments
Counter : 1018 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1085247
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add สมาชิกหมายเลข 1085247's blog to your web]