พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
เมษายน 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
5 เมษายน 2555
 
All Blogs
 
ประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่

ประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่

     เริ่มตั้งแต่ปีที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ( Christopher Columbus ) ค้นพบโลกใหม่หรือทวีปอเมริกา และสิ้นสุดลงในปีที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ยุโรปสมัยใหม่ เป็นสมัยแห่งการฟื้นฟูอารยธรรมกรีก-โรมัน และมีการพัฒนาทางด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศิลปะวิทยาการ เป็นยุคที่มีอารยธรรมเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก และแพร่ไปยังดินแดนต่างๆ

สมัยใหม่ช่วงแรก    /    สมัยใหม่ช่วงหลัง    /    ศิลปวัฒนธรรมยุโรปยุคใหม่
 

รูปปูนปั้นนูนสูงบนประตูชัยกรุงปารีส


 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองของยุโรปในช่วงประวัติศาสตร์สมัยใหม่
 
่  1.การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ( Renaissances ) ทำให้ยุโรปกลายเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้

  2.การสำรวจเส้นทางเดินเรือ โดยมุ่งหมายทางการค้าและการเผยแผ่คริสต์ศาสนา

  3.การเกิดชนชั้นกลาง (พ่อค้า) เข้ามาควบคุมเศรษฐกิจแทนพวกขุนนางในระบบฟิวดัล และสนับสนุนกษัตริย์ ในด้านการปกครอง ทำให้ฐานะกษัตริย์เข้มแข็ง

  4.ความก้าวหน้าทางด้านการพิมพ์ มีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์ได้สำเร็จ ทำให้มีการพิมพ์หนังสือเผยแพร่ความรู้และวิทยาการใหม่ๆออกไปอย่างรวดเร็ว

 
สมัยใหม่ช่วงแรก (คริสต์ศตวรรษที่ 15-18) มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้
 
  1.การฟื้นฟูศิลปวิทยาการของกรีกและโรมัน ( Renaissances ) นำความรู้วิธีคิด ใช้ปัญญาและเหตุผลตามแบบอย่างนักปราชญ์ชาวกรีก ให้ความสำคัญกับคุณค่าความเป็นมนุษย์ หรือเป็นลักษณะยุคมนุษย์นิยม  

 

โบสถ์ในคริส์ตศาสนา นิกายโรมันคาทอริก

 

  2.การปฏิรูปศาสนา เกิดการแบ่งแยกศาสนจักรเป็น 2 นิกายใหญ่ๆ คือ

 


      2.1.นิกายโรมันคาทอริก มีศูนย์กลางที่กรุงโรม มีพระสันตะปาปา ( Pope ) เป็นประมุข

 


      2.2.นิกายโปรแตสแตนท์ แบ่งเป็นนิกายย่อยๆอีกหลายนิกาย นับถือในประเทศต่างๆ เช่น นิกายอังกฤษ ( Church of England ) และนิกายลูเธอร์ ( Lutheranism ) ในเยอรมนี

 

 
 

  3.การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก

 


   3.1.ยุโรปเข้าสู่ยุคการสำรวจเส้นทางเดินเรือ

 


  ยุคกลาง มีการค้าระหว่างยุโรปกับเอเชีย ผ่านทางทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยนและตะวันออกกลาง โดยอิตาลีได้เปรียบประเทศอื่น สามารถควบคุมเส้นทางการค้าเกือบทั้งหมด ทำให้อังกฤษ ฝรั่งเศส โปรตุเกส สเปน ฮอลันดา พยายามทำลายการผูกขาดนี้ ประจวบกับชาวยุโรปส่วนหนึ่ง เบื่อชีวิตที่อยู่ภายใต้อิทธิพลมืดของสันตะปาปา จึงคิดอพยพไปตายเอาดาบหน้าเพื่ออิสระในการนับถือศาสนา เป็นเหตุหนึ่งในการออกสำรวจแสวงหาเส้นทางการเดินเรือใหม่ และเส้นทางการค้าทางบกของชาวยุโรปกับตะวันออก ตกอยู่ในมือของพ่อค้าชาวมุสลิม ทำให้ชาวยุโรปต้องการหาเส้นทางการค้าใหม่ก็คือ ค้าขายทางทะเลเท่านั้น การติดต่อของชาวยุโรปและโลกตะวันออกจากการค้า ทำให้ชาวยุโรปมีโอกาสสัมผัสกับอารยธรรมของโลกตะวันออก วิชาความรู้ต่างๆ    ของกรีกและมุสลิม หลั่งไหลมาสู่สังคมตะวันตก ทำให้ปัญญาชนเริ่มทบทวนและตรวจสอบความรู้ของตน ตลอดจนเกิดการท้าทายคำสอนศาสนาที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาในสมัยกลางถึงเรื่องโลกแบน ความรู้ทางภูมิศาสตร์และแผนที่ของปโตเลมี (Ptolemy) นักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ที่แสดงให้เห็นดินแดนที่กว้างใหญ่ ความต้องการสำรวจเส้นทาง โดยเฉพาะทางเรือ จึงเพิ่มขึ้น

 


    3.2.การค้นพบดินแดนทางตะวันออกของชาติตะวันตก

 


  -บาร์โธโลมิว ไดแอส ชาวโปรตุเกสสามารถเดินเรือเลียบทวีปแอฟริกาจนเข้าแหลม กู๊ดโฮม ได้สำเร็จใน ค.ศ.1488

 


  -วาสโก ดา กามา ใช้เส้นทางของไดแอส จนถึงเอเชีย และสามารถขึ้นฝั่งที่เมืองคาลิกัต ของอินเดียและสามารถซื้อเครื่องเทศโดยตรงจากอินเดีย นำกลับไปขายในยุโรปได้กำไรมากมาย

 


  -คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ชาวอิตาลีรับใช้กษัตริย์สเปนในการสำรวจเส้นทางเดินเรือไปประเทศจีน เป็นผู้ค้นพบทวีปอเมริกา และเป็นผู้เชื่อว่าโลกมีสัณฐานกลม ไม่แบนตามคำสอนของคริสต์ศาสนา ในสมัยกลาง

 


  -เฟอร์ดินานด์ มาเจลแลน ชาวโปรตุเกส รับอาสากษัตริย์สเปน หาเส้นทางเดินเรือมายังตะวันออกจนสามารถเข้าฟิลิปปินส์แต่เขาถูกชาวพื้นเมืองฆ่าตาย แต่ลูกเรือสามารถนำเรือกลับมาสเปนได้

 

     ยุคนี้ได้ชื่อว่ายุคแห่งการค้นพบ ( Age of Discovery ) การค้นพบดินแดนต่างๆทำให้ ฮอลันดา อังกฤษ และต่อมาฝรั่งเศส เข้ามาสร้างอิทธิพลครอบครองดินแดนทางตะวันออก และทำให้เกิด ลัทธิจักรวรรดินิยม


โคลัมบัส ผู้ค้นพบทวีปอเมริกา

 

คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส

 

  4. การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์


   ปัญญาชนชาวตะวันตกให้ความสนใจศึกษาค้นคว้าจนเกิดความรู้และความเจริญก้าวหน้าในศาสตร์แขนงต่างๆ โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ และคณิตศาสตร์ และจากการประดิษฐ์แท่นพิมพ์ของ โยฮัน กูเตนเบอร์ก ชาวเยอรมัน ทำให้วิทยาการความรู้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว


   ปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เกิดจากแนวความคิดที่สำคัญ 2 ประการ คือ


    1. แนวคิดมนุษยนิยม ( Humanism ) ซึ่งได้รับมาจากหลักปรัชญาของชาว กรีกโดยสอนให้มนุษย์มีความเชื่อมั่นในความสามารถของมนุษย์ สติปัญญาของมนุษย์สามารถนำมนุษย์ไปสู่การค้นหาความจริงของสรรพสิ่งต่างๆ ในโลก


    2. แนวคิดในปรัชญาธรรมชาตินิยม ( Naturalism ) สอนให้เชื่อว่าสิ่งต่างๆ ล้วนดำเนินไปตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติ ธรรมชาติที่อยู่รอบๆตัวมนุษย์นั้นมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ จึงเริ่มศึกษาค้นคว้าและทดลอง จนเกิดองค์ความรู้ใหม่เรียกว่าเป็น ยุคแห่งภูมิธรรม หรือ ยุคแห่งการรู้แจ้ง (The Enlightenment)


นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่


  นิโคลัส โคเปอร์นิคัส ค้นพบทฤษฎีระบบสุริยจักรวาล ที่มีสาระสำคัญคือ ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลโดยมีโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ โคจรโดยรอบ ซึ่งขัดแย้งกับหลักความเชื่อของคริสตจักรอย่างมาก ที่เชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ความคิดของโคเปอร์นิคัส เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์


  กาลิเลโอ ผู้ประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์ ( Telescope ) ทำให้ความรู้เรื่องระบบสุริยจักรวาลชัดเจนยิ่งขึ้น


  เซอร์ไอแซค นิวตัน ผู้ค้นพบ 2 ทฤษฎีคือ กฎแรงดึงดูดของจักรวาล และกฎแห่งความโน้มถ่วง

กาลิเลโอ


กาลิเลโอ ผู้ประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์ (Telescope)
 
สมัยใหม่ช่วงหลัง (นับแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 จนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2)
 
 

มีเหตุการณ์สำคัญ ได้แก่


   1. การปฏิวัติอุตสาหกรรม


    1.1 เป็นยุคที่เปลี่ยนวิธีการผลิตสินค้าจากใช้แรงงานคนและสัตว์มาใช้เครื่องจักร


    1.2 ประเทศแรกที่บุกเบิกคืออังกฤษโดยอุตสาหกรรมแรกที่มีการปฏิวัติ คือ อุตสาหกรรม การทอผ้า

 


เครื่องจักรกลไอน้ำ ของ เจมส์ วัตต์


เจมส์ วัตต์
 
 
  2.การเกิดแนวความคิดทางการเมือง และเศรษฐกิจแบบใหม่


    - การปกครองระบอบประชาธิปไตย มีนักปราชญ์ที่เสนอแนวคิด ดังนี้

 

จอห์น ล๊อค ชาวอังกฤษกล่าวว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกันและ มีอิสระไม่มี ผู้ใดมีสิทธิ์ที่จะใช้อำนาจในการคุกคามชีวิตเสรีภาพและทรัพย์สินของผู้อื่นได้


มองเตสกิเออ ชาวฝรั่งเศส ได้เขียนหนังสือเรื่อง เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย ( The Spirit of Laws ) เสนอความคิดการแบ่งแยกอำนาจ คือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ เขาเชื่อว่าหากแยกอำนาจสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจะได้รับการคุ้มครอง แต่ถ้าอำนาจทั้ง 3นี้รวมกันอยู่ในองค์การเดียวกัน อาจจะทำให้เกิดการกดขี่ประชาชน


วอลแตร์ ชาวฝรั่งเศส เป็นนักคิดและมีผลงานด้านการเขียนมากมายให้ความสำคัญแก่เสรีภาพในการพูดและการนับถือศาสนา ต่อต้าน ความอยุติธรรมในสังคม แต่ในด้านการเมืองไม่เคยแสดงความคิดเห็น อย่างชัดเจน จึงไม่มีทฤษฎีการเมืองที่แน่นอน

 


รุสโซ ชาวฝรั่งเศส ผลงานหนังสือที่สำคัญคือ สัญญาประชาคม ( The Social Contract ) ข้อความที่จับใจคนเป็นจำนวนมากคือ “มนุษย์ทุกคนเกิดมามีอิสระ แต่ทุกหนทุกแห่งเขาถูกพันธนาการ” รุสโซ เน้นเรื่องเจตจำนงร่วมกันของประชาชน( General Will ) เขาได้รับสมญาว่า “เจ้าทฤษฎีแห่งอำนาจอธิปไตย”

 


   - เศรษฐกิจแบบทุนนิยม สังคมนิยม พาณิชย์นิยม

 

 
 

  3.สงครามโลกครั้งที่ 1

      3.1 ปัญหาหลักคือ ลัทธิชาตินิยม และจักรวรรดินิยม เกิดการแย่งชิงผลประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจและการเมือง

      3.2 มีการแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายมหาอำนาจกลาง

      3.3 สงครามครั้งนี้ ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะ


      3.4 เกิดสนธิสัญญาแวร์ซายน์และองค์การสันนิบาตชาติ

การสู้รบในมหาสงครามโลกครั้งที่ 1
 

  4.สงครามโลกครั้งที่ 2

      4.1 ปัญหาหลักคือ การละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซายน์ของเยอรมันและการล่มขององค์การสันนิบาตชาติ
      4.2 มีการแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ
      4.3 สงครามครั้งนี้ ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะ
      4.4 เกิดองค์การสหประชาชาติและสงครามเย็น

สหรัฐฯ ใช้ระเบิดปรมาณูถล่มเมืองฮิโรชิมาเพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่ 2

 
ศิลปวัฒนธรรมยุโรปสมัยใหม่
 

สมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ( Renaissances ) เป็นช่วงที่ยุโรปนำศิลปกรรมสมัยกรีก-โรมัน กลับมาใช้อีก


ด้านประติมากรรม เน้นการแสดงสัดส่วนสรีระร่างกายมนุษย์ ผลงานสำคัญของ ไมเคิล แอนเจลโล ได้แก่

รูปสลักเดวิด ( David ) แสดงสัดส่วนและกล้ามเนื้อที่สมส่วนของร่างกาย

รูปสลักลาปิเอตา ( La Pieta ) เป็นรูปสลักพระมารดา กำลังประคองพระเยซูในอ้อมพระหัตถ์ หลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนแล้ว ผลงานแสดงให้เห็นถึงความนุ่มนวล อ่อนไหว

ด้านจิตรกรรม เป็นงานแสดงถึงความนุ่มนวล ละเมียดละไมแฝงไว้ซึ่งอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ มีการใช้สีและเงาให้เกิดแสงสว่าง ศิลปินที่มีชื่อเสียง เช่น

เลโอนาร์โด ดาวินชี

ภาพอาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซู ( The Last Supper )

ภาพโมนาลิซา ( Mona Lisa )

ราฟาเอล


ภาพพระแม่ พระบุตร แสดงความรักของแม่ที่มีต่อบุตร

วรรณกรรมที่เป็นบทละครรับอิทธิพลของบทละครกรีก โดยนักประพันธ์ที่มีชื่อ เช่น

วิลเลียม เชกสเปียร์ ได้แก่ โรมิโอและจูเลียต , เวนิสวานิส , คิงเลียร์ , แมคเบท , ฝันคืนกลางฤดูร้อน ซึ่งบทละครเหล่านี้จะสะท้อนให้เห็นถึงอารมณ์ อุปนิสัย และการตัดสินใจของมนุษย์ในภาวการณ์ต่างๆกัน

เซอร์ทอมัส มอร์ ได้แก่ ยูโทเปีย ที่กล่าวถึงเมืองในอุดมคติที่ปราศจากความเลวร้าย


รูปสลักเดวิด


รูปสลัก ลาปิเอตา La Pieta


แท่นบูชาในโบสถ์เซนต์ปีเตอร์

 

ศิลปะแบบบารอค


สถาปัตยกรรม ได้แก่ พระราชวังแวร์ซายส์ ของฝรั่งเศส , แท่นบูชาในโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ ในกรุงโรม

ดนตรี เป็นวงดนตรีแบบออร์เคสตร้า ( Orchestra ) โดยใช้ผู้เล่นและเครื่องดนตรีมากชิ้น

 

ศิลปะแบบนีโอคลาสสิก


สถาปัตยกรรม เน้นความสง่างาม สมดุลกลมกลืนได้สัดส่วน

ประติมากรรม ลอกเลียนแบบประติมากรรมกรีก-โรมัน

จิตรกรรม เน้นเรื่องเส้นมากกว่าการใช้สี แสดงถึงความสง่างามและยิ่งใหญ่ในความเรียบง่าย เช่น ภาพการตายของมารา ( The Death of Marat ) โดย ชาก หลุยส์ เดวิด

ดนตรี นักประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียงคือ โมสาร์ต ชาวออสเตรีย
 
 The Death of Marat

ศิลปะแบบโรแมนติก หรือจินตนิยม ( Romanticism )

 


      เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นศิลปะที่ให้ความสำคัญกับอารมณ์ความรู้สึก และธรรมชาติ โดยลดความเชื่อในเรื่องเหตุและระเบียบแบบแผน รวมทั้งให้ความสำคัญแก่มนุษย์ในฐานะเป็นปัจเจกบุคคลมากกว่าส่วนรวม รวมทั้งแฝงความรู้สึกชาตินิยมไว้ด้วย

     ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเกิดศิลปะแบบโรแมนติก คือ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในสมัยนั้น โดยเฉพาะความคิดแบบเสรีประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 และการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปส่งผลให้โลกทัศน์ของชาวยุโรปเปลี่ยนแปลงไป ต่างผ่อนคลายการยึดมั่นในระเบียบกฎเกณฑ์ของสมัยคลาสสิก ละทิ้งสมัยแห่งเหตุผล แต่กลับแสดงออกอย่างเสรีทางด้านอารมณ์ ความรู้สึกและความต้องการของตน แม้จะไม่มีเหตุผลหรือไม่มีจริงก็ตาม

 


สถาปัตยกรรม นำรูปแบบในอดีตมาดัดแปลง โดยได้รับอิทธิพลจากแบบโกธิก

ประติมากรรม เน้นการแสดงอารมณ์ความรู้สึก เช่น

รูปปั้นนูนสูง มาเซเลส ประดับฐานอนุสาวรีย์ประตูชัย ในกรุงปารีส

รูปปั้นสัตว์ มักเป็นรูปสัตว์ป่าสองตัวต่อสู้กัน

จิตรกรรม ใช้ สี เส้น แรเงา รุนแรงมุ่งให้เกิดความสะเทือนอารมณ์ เช่น

ภาพ “อิสรภาพนำประชาชน” ( Liberty Leading the People )

ภาพ “แพของเมดูซา” ( Raft of Medusa )

ดนตรี มีจุดมุ่งหมายที่จะเร้าความรู้สึกทางจิตใจ เช่นความรู้สึกชาตินิยม นักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงคือ เบโทเฟน ซึ่งแต่งเพลง “ซิมโฟนีหมายเลข 9” และ ปีเตอร์ อิลยิช ไชคอฟสกี ซึ่งแต่งเพลง “ซิมโฟนีหมายเลข 6” เป็นเพลงประกอบบัลเลต์เรื่อง Swan Lake
 
 
รูปปั้นนูนสูง มาเซเลส บนประตูชัยในกรุงปารีส


ภาพ "อิสรภาพนำประชาชน"

 

ศิลปวัฒนธรรมแบบสัจนิยม

ความหมายของศิลปวัฒนธรรมแบบสัจนิยม

      ศิลปะแบบสัจนิยม ( Realism) เป็นศิลปะที่สะท้อนความจริงที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างตรงไปตรงมา ไม่เน้นความรู้สึก อารมณ์ และจินตนาการของศิลปิน แต่มุ่งเสนอความจริงตามหลักวิทยาศาสตร์ เช่น สะท้อนสภาพความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้นของชนชั้นกรรมชีพ เป็นต้น

      แนวทางของศิลปะแบบสัจนิยม มุ่งต่อต้านศิลปะแบบโรแมนติกที่มิได้ให้ความสำคัญต่อสภาพที่เป็นจริงของสังคม เป็นกระบวนการทางศิลปะที่เกิดขึ้นในช่วงตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ทำให้งานสร้างสรรค์ศิลปะมีประโยชน์และรับใช้มนุษย์โดยตรงมากขึ้น

1. งานวรรณกรรม แนวสัจนิยมมีดังนี้

ผลงานของชาร์ลส์ ดิกแกนส์ ( Charles Dickens) ชาวอังกฤษ ในเรื่อง "โอลิเวอร์ ทวิสต์" ( Oliver Twist) สะท้อนถึงชีวิตของเด็กในสังคมอุตสาหกรรม งานเขียนอื่นๆ เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ความเลวร้ายของสังคมและความเอารัดเอาเปรียบของนายทุน เป็นต้น

ลิโอ ตอลสตอย ( Leo Tolstoy) นักเขียนชาวรัสเซีย ผลงานที่ยิ่งใหญ่ คือ "สงครามและสันติภาพ" ( War and Peace)

งานเขียนประเภทสัจสังคม ( Social Realism) เป็นงานวรรณกรรมที่ได้รับอิทธิพลของลัทธิมาร์กซ์ มุ่งสะท้อนปัญหาสังคม การต่อสู้ทางชนชั้นระหว่างนายทุนกับกรรมกร ชี้นำถึงสาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไขตามวิธีของมาร์กซิสม์ นวนิยายที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในแนวนี้ คือ "แม่" ( Mother) ผลงานของแมกซิม กอร์กี (Maxim Gorky) นักเขียนชาวรัสเซีย

ศิลปะนาฎกรรม การละครแบบสัจนิยมมุ่งสะท้อนสภาพสังคมตามความเป็นจริง เน้นให้ผู้แสดงเล่นอย่างสมจริงตามธรรมชาติ ไม่แสดงอารมณ์มากนัก เศร้าอย่างรุนแรงแบบโรแมนติก เป็นละครแบบร้อยแก้ว ตัวละครใช้บทเจรจาด้วยภาษาที่สมจริงตามฐานะของตัวละคร ไม่ใช่ภาษากวีร้อยกรองเหมือนแต่ก่อน

2. ด้านจิตรกรรม จิตกรแนวสัจนิยมไม่นิยมเขียนภาพด้วยจินตนาการเหมือนอย่างพวกโรแมนติก แต่จะเขียนภาพจากสิ่งที่พบเห็น เช่น ภาพชีวิตของคนยากจนในเมืองใหญ่ การใช้ชีวิตหรูหราของชนชาติกลาง ต่อมาภาพวาดมีลักษณะให้ความสำคัญกับแสง สี และเงามากกว่าเส้น นิยมวาดทิวทัศน์ตามธรรมชาติ เรียกว่า “ศิลปะแบบอิมเพรสชันนิสม์”

แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว ข้อมูลการท่องเที่ยวในประเทศไทย
 

 

นิรันดร์รัตน์|เครื่องรางของขลัง|วัตถุมงคล|พระเครื่อง|นิรันดร์รัตน์|ก๋วยเตี๋ยวเรือ|กุมารทอง|กุมารทอง|ทำบล็อกฟรี|สมุนไพร|เครื่องรางของขลัง|พระเครื่อง|อาหารเจ |ตลาดพระเครื่อง|ตลาดพระ|ลงโฆษณา|ตะกรุด|ดูดวง |สถานที่ท่องเที่ยว


Create Date : 05 เมษายน 2555
Last Update : 5 เมษายน 2555 13:03:38 น. 0 comments
Counter : 16814 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.