พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
12 มีนาคม 2555
 
All Blogs
 
ประวัติศาสตร์อาณาจักรอยุธยา

ประวัติศาสตร์อาณาจักรอยุธยา

อยุธยาเป็นเมืองหลวงของสยามเป็นเวลากว่า 400 ปี สถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นโดยพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) เมื่อวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ.1893 และถูกทำลายโดยกองทัพพม่าในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2310 อยุธยามีกษัตริย์ปกครองทั้งหมด 34 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ (มีราชวงศ์ อู่ทอง สุพรรณบุรี สุโขทัย ปราสาททอง และบ้านพลูหลวง) มีพุทธศาสนาแบบหินยานเป็นศาสนาประจำอาณาจักร แต่ในขณะเดียวกันก็มีความเชื่อด้านวิญญาณและพระพุทธศาสนาแบบมหายานเจือปนอยู่ด้วย สำหรับในสถาบันกษัตริย์ของอยุธยา ก็ยังใช้พิธีกรรมที่เป็นฮินดูและพราหมณ์เป็นการสร้างอำนาจและความศักดิ์สิทธิ์ เป็นการผสมระหว่างหลัก “ธรรมราชา” และ “เทวราชา”
ภูมิศาสตร์
อยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีความได้เปรียบทางสภาพภูมิศาสตร์ คือตั้งอยู่ที่บริเวณแม่น้ำ 3 สายมาบรรจบกัน มีแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี ทำให้อยุธยามีสภาพเป็นเกาะมีแม่น้ำล้อมรอบ ถนนรอบเกาะยาวประมาณ 12 กิโลเมตร เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำการเพาะปลูกข้าวและยังอยู่ใกล้ทะเลพอสมควร ทำให้สามารถทำการค้าต่างประเทศได้โดยสะดวก
ก่อนอาณาจักรอยุธยา
ในช่วงแต่กลางพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรไทยได้เกิดขึ้นหลายอาณาจักร เช่น สุโขทัย ล้านนา (เชียงใหม่) ล้านช้าง (หลวงพระบาง) แต่อาณาจักรเหล่านี้ยังมีลักษณะเป็น “แว่นแคว้น” หรือ “เมือง” ที่รวมกันขึ้นมาตั้งเป็นอิสระ ยังมิได้มีอาณาจักรใดอาณาจักรหนึ่งมีอำนาจหรือมีลักษณะเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง
อยุธยาถือกำเนิดขึ้นมาจากการรวมตัวของเมืองสุพรรณบุรีและลพบุรี ทั้งสองเมืองนี้เป็นศูนย์กลางของอำนาจในวงกำจัดในภาคกลางของประเทศไทย สุพรรณบุรีมีอำนาจทางซีกตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีเมืองเก่าหลายเมืองรวมอยู่ในกลุ่มนี้ เช่น นครชัยศรี (นครปฐมเดิม), ราชบุรี, เพชรบุรี ส่วนลพบุรีก็มีอำนาจทางซีกตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา
ทั้งสุพรรณบุรีและลพบุรีมีมรดกทางประวัติศาสตร์สืบเนื่องมาจากสมัยทวารวดี และอยู่ภายใต้อิทธพลของขอม (เขมร) จากเมืองพระนครหลวงหรือกรุงศรียโสธรปุระ (สมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 - สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7)
อาณาจักรอยุธยา
เมื่อปี พ.ศ. 1893 พระเจ้าอู่ทองได้สถาปนาอยุธยาขึ้น โดยตั้งขึ้นในเมืองเก่า “อโยธยา” ที่มีมาก่อน และเป็นเมืองที่อยู่ระหว่างกลางของสุพรรณบุรีและลพบุรี ประวัติศาสตร์ช่วงแรกของอยุธยา เป็นเรื่องของการแก่งแย่งชิงอำนาจของ 2 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทองและราชวงศ์สุพรรณบุรี (อันเป็นฝ่ายของพระเชษฐาหรือพระอนุชาของมเหสีของพระเจ้าอู่ทอง) และจบด้วยชัยชนะของฝ่ายสุพรรณบุรีในสมัยของพระเจ้าอินทราชาธิราชที่ 1 ดังนั้นในครึ่งหนึ่งของประวัติศาสตร์อยุธยา (ก่อนเสียกรุงให้พม่าครั้งที่ 1) ที่มีกษัตริย์จาก 2 ราชวงศ์ รวม 17 พระองศ์นั้น จะมีกษัตริย์จากราชวงศ์อู่ทอง 3 พระองศ์คือ พระรามาธิบดีที่ 1 พระราเมศวร และพระรามรามาธิราช
ในช่วงแรกของอาณาจักรอยุธยา มีความพยายามที่จะยึดอาณาจักรของขอมที่เมืองพระนครหลวงหรือกรุงศรียโสธรปุระ ซึ่งมีการทำสงคราม 3 ครั้งใหญ่ อันเป็นผลทำให้อาณาจักรขอมอ่อนอำนาจลงและต้องย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่พนมเปญ ในขณะเดียวกันอยุธยาก็พยายามแผ่อำนาจไปทางเหนือ เข้าครอบครองอาณาจักรสุโขทัยได้สำเร็จ ส่วนทางใต้อยุธยาก็ได้เมืองนครศรีธรรมราช
การขยายอำนาจของอยุธยาทำให้เกิดการแย่งชิงอำนาจเหนือเชียงใหม่และอาณาจักรมอญ (ในพม่าตอนล่าง) ความพยายามของอยุธยาที่จะมีอำนาจเหนือเชียงใหม่และมอญนี้ ก็ทำให้มีการขัดแย้งกับพม่าเป็นประจำ อันทำให้อยุธยาถูกทำลายลงในปี พ.ศ.2310 (เสียกรุงครั้งที่ 2)
การปกครอง
ระบบการปกครองของอยุธยาเป็นระบบ “ราชาธิราชผสมกับศักดินา” กล่าวคือกษัตริย์มีอำนาจสูงสุด แต่ก็ยังมีการแบ่งชนชั้นปกครองเป็น พระมหากษัตริย์-ขุนนาง-พระสงฆ์-ราษฎร ออกเป็นหมวดหมู่อย่างชัดเจน มีการเกณฑ์แรงงาน “ไพร่” และการเก็บอากร “ส่วย” เป็นผลิตผลและตัวเงิน พระเจ้าแผ่นดินทรงผูกขาดการค้ากับต่างประเทศ
การแบ่งชนชั้นของความเป็นเจ้าและขุนนาง มิได้มีการแบ่งตายตัวทั้งนี้เพราะการสืบราชสมบัติ บางครั้งขุนนางก็สามารถขึ้นมายึดอำนาจตั้งราชวงศ์
ใหม่ได้ ดังจะเห็นในกรณีของขุนวรวงศาธิราช หรือในกรณีของราชวงศ์ปราสาททองและราชวงศ์บ้านพลูหลวง
สำหรับราษฎรทั่วไปนั้น ออกแบ่งออกเป็น “ไพร่” โดยต้องมีสังกัดขึ้นกับ “มูลนาย” อย่างแน่นอน มีการแบ่งเป็น “ไพร่หลวง” และ “ไพร่สม” (ไพร่หลวงขึ้นตรงต่อพระเจ้าแผ่นดิน ไพร่สมขึ้นเจ้าหรือขุนนาง) ไพร่ทั้งสองแบบมีหน้าที่ที่จะต้องถูกเกณฑ์แรงงานทำงานให้กับนายของตน และถูกเกณฑ์เป็นทหารเมื่อเวลามีสงคราม นอกจากนี้ยังมี “ไพร่ส่วย” ซึ่งเป็นไร่ที่เอาผลิตผลมาเสียภาษีแทนการเกณฑ์แรงงาน ไพร่แบบนี้จะเป็นราษฎรที่อยู่ห่างไกลออกไปและอยู่ในพื้นที่ที่มีผลิตผลจากป่าหรือจากแผ่นดิน
ตำนาน
ตำนาน คือหนังสือที่เป็นผลงานทางด้านประวัติศาสตร์ของไทยที่เก่าแก่ที่สุดควบคู่กับ “พงศาวดาร” โดยทั่วไปตำนานแบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
1.เป็นเรื่องราวของวงศ์ตระกูลหรือตัวบุคคล
2.เป็นเรื่องราวของการสร้างบ้านสร้างเมือง
3.เป็นเรื่องราวของพุทธศาสนาหรือพุทธสถาน
ดังนั้นตำนานก็เป็นเสมือนผลงานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นหลักฐานเกี่ยวกับบ้านเมืองหรือผู้ปกครองเป็นหลักฐานที่อ้างถึงสิทธิอันชอบธรรมในการเป็นผู้ปกครองที่สืบทอดกันมาโดยบรรพบุรุษ
ตำนานที่เป็นที่รู้จักกันก็มีเช่น ตำนานมูลศาสนา เขียนเป็นภาษาไทยยวน เนื้อหาของตำนานนี้เป็นเรื่องราวของพุทธศาสนาที่กำเนิดขึ้นในอินเดียและเผยแพร่เข้ามาในประเทศไทย
ตำนานอื่นๆที่มีความสำคัญในลักษณะเดียวกันนี้ก็มี เช่น จามเทวีวงศ์ ชินกาลมาลีปกรณ์ ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช และตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช ตำนานพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช
พงศาวดาร
พงศาวดาร คือหนังสือที่เป็นประวัติศาสตร์ไทยที่เก่าแก่ที่สุดควบคู่กับ “ตำนาน” พงศาวดารมาจากคำ 2 คำ คือ พงศ์ และ อวตาร โดยพงศาวดารจะเขียนเป็นภาษาไทย งานเขียนของนักปราชญ์ประจำราชสำนัก พงศาวดารจึงเป็นงานเขียนที่เน้นให้ความสำคัญของพระมหากษัตริย์
พงศาวดารมักจะพบในงานเขียนของอาณาจักรอยุธยา ซึ่งสะท้องให้เห็นถึงอำนาจของอาณาจักรซึ่งมีลักษณะการรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางที่เมืองหลวงและองค์มหากษัตริย์ เช่น พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐ, พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระนพรัตน์, พระราชพงศาวดารกรุงสยาม ฉบับบริติชมิวเซียม, พงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา





Create Date : 12 มีนาคม 2555
Last Update : 12 มีนาคม 2555 11:11:28 น. 0 comments
Counter : 2422 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.