" การเป็นผู้ให้ ย่อมสุขใจ กว่าการเป็นผู้รับ "
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
26 ตุลาคม 2553
 
All Blogs
 
บทความ ตามรอยเสด็จฯ ร.5จากโปแลนด์สู่รัสเซีย

ได้อ่านเรื่องรวที่คุณ สิงค์คะนองนาได้โพสไว้ค่ะ
ใน @cloud
//atcloud.com/stories/52242

จึงขอนำมาให้ทุกท่านได้อ่านนะคะ ^____^
ขอขอบคุณผู้โพส ด้วยนะคะ


ในฐานะนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่น 2550 ได้ร่วมคณะเดินทางไปดูงานบนเส้นทาง ตามรอยเสด็จฯ ของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งนำโดย พล.ท.ปริญญา บูรณางกูร ที่ปรึกษา วปอ. และ น.ต.พงษ์ศักดิ์ เปลี่ยนขำ รองผู้อำนวยการใหญ่ (ฝ่ายปฏิบัติการบิน) บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ประธานนักศึกษา






...โปแลนด์ในเวลานั้นยังถือเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้เสด็จฯ ถึงกรุงวอร์ซอ เมื่อ 1 กรกฎาคม 2440 ทางการได้จัด พระราชวังลาเซียนกี้ (Lazienki) ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางกรุงวอร์ซอให้เป็นที่ประทับอย่างสมพระเกียรติ

ตรัสว่า ผังเมืองของวอร์ซอช่างมีความงดงามและเป็นระเบียบ สมกับที่เป็นเมืองประวัติศาสตร์

ปัจจุบัน พระราชวังลาเซียนกี้ เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ ล้อมรอบด้วยสวนสวยงามและมีความสงบร่มรื่น นกยูงจำนวนหนึ่งรำแพนหางอวดความงามให้กับผู้เข้าเยี่ยมชมพระราชวัง อดนึกไปไม่ได้ถึงความปีติยินดีของชาวโปลิชที่พากันมาเฝ้าฯ รับเสด็จ พระมหากษัตริย์จากประเทศสยาม



"โปแลนด์วันนี้เปลี่ยนไปมาก เพราะภายหลังการล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ตามด้วยการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ผู้คนจะดำรงชีวิตกันอย่างชาวยุโรปตะวันตก และมีอัธยาศัยไมตรีกับชาวต่างชาติผู้เข้ามาเยี่ยมเยียน มีการแสดงดนตรีตามสวนสาธารณะ บรรยากาศของประเทศซึ่งเคยถูกกองทัพนาซีเข้าไปถล่มทลายราบคาบเมื่อสงครามโลก ครั้งที่ 2 แทบไม่หลงเหลือให้เห็นแม้แต่น้อย...

"...กรุงวอร์ซอซึ่งถูกทำลายไปเกือบ 100% กลับฟื้นคืนชีพด้วยน้ำพักน้ำแรงของชาวโปลิชที่ได้ช่วยกันบูรณะซ่อมแซมก่อสร้างเมืองข
ึ้นใหม่ ที่ทำให้วอร์ซอมีความงดงามตระการตาได้อย่างมหัศจรรย์"

ประธานคณะกรรมาธิการรัฐสภาโปแลนด์ (SEJM) บอกว่า ชาวโปลิชมีความผูกพันต่อประวัติศาสตร์ชาติ และข้อเท็จจริงนี้เองที่ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างดูจะลงตัวไปหมด ไม่ว่าจะเป็นความไม่เห็นแก่ตัวของผู้คน และการจรรโลงหลักจริยธรรมที่ถือเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาประเทศ



เมื่อกองกำลังทหารเผชิญกับความพ่ายแพ้และสภาวะทางเศรษฐกิจดำเนินสู่ขั้นวิกฤต จนกระทั่งเกิดการปฏิวัติโดยพรรคบอลเชวิค ในปี พ.ศ.2460 สหภาพโซเวียตเป็นประเทศแรกที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์

อย่างไรก็ดี ยุคโลกาภิวัตน์ได้นำความเปลี่ยนแปลงสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในที่สุด

รำลึกกลับไปเมื่อ 3 กรกฎาคม 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯเยี่ยม พระเจ้าซาร์นิโคลัส ที่ 2 ราชวงศ์โรมานอฟแห่งรัสเซีย ณ กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก อันเป็นการตอบแทนจากเมื่อครั้งที่พระเจ้าซาร์ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นมกุฎราชกุมาร
แห่งรัสเซีย ได้เคยเสด็จฯเยือนประเทศสยามเมื่อปี พ.ศ.2433 โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เป็นข้าหลวงต่างพระองค์เสด็จออกไปรับองค์รัชทายาทรัสเซียที่สิงคโปร์ แล้วนำเข้าเฝ้าที่พระราชวังบางปะอิน ความรู้จักคุ้นเคยฉันพระสหายที่มีอัธยาศัยไมตรีต่อกันจึงเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ครั้งนั้น


บรรยากาศของ พระราชวังปีเตอร์ฮอฟ (Peterhoff) ทำให้นึกไปถึงเมื่อเช้าของวันที่พระเจ้าซาร์ได้ทรงนัดพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้
าอยู่หัว เสด็จฯมาพบกัน ณ ห้องโถงใหญ่ของพระราชวัง อย่างไม่มีอยู่ในหมายกำหนดการล่วงหน้า จากนั้น เช้าวันที่ 5 กรกฎาคม 2440 ทั้งสองพระองค์ได้

"ฉายพระรูปประวัติศาสตร์คู่กัน" ที่ก่อให้เกิดเรื่องเล่าขานสืบต่อกันมาจนทุกวันนี้

พระเจ้าซาร์มีรับสั่งให้ส่งภาพนี้ไปลงในหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่ออกในเมือง
หลวงของประเทศต่าง ๆ ในมหาทวีปยุโรป และได้ทรงเขียนอธิบายด้วยพระองค์เองว่า "สยามเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา หาใช่ประเทศล้าหลัง ซึ่งมหาประเทศจะอาศัยเป็นมูลเหตุเข้ายึดครองมิได้"

การดำเนินวิเทโศบายชั้นสูงและบทบาทนักการทูตชั้นเยี่ยมของพระองค์ ยังผลให้มหาอำนาจทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสยุติการรุกรานประเทศไทยตั้งแต่บัดนั้น และดำรงความเป็นเอกราชอยู่ได้ตลอดมา






บรรยากาศของ พระราชวังปีเตอร์ฮอฟ (Peterhoff) ทำให้นึกไปถึงเมื่อเช้าของวันที่พระเจ้าซาร์ได้ทรงนัดพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้
าอยู่หัว เสด็จฯมาพบกัน ณ ห้องโถงใหญ่ของพระราชวัง อย่างไม่มีอยู่ในหมายกำหนดการล่วงหน้า จากนั้น เช้าวันที่ 5 กรกฎาคม 2440 ทั้งสองพระองค์ได้

"ฉายพระรูปประวัติศาสตร์คู่กัน" ที่ก่อให้เกิดเรื่องเล่าขานสืบต่อกันมาจนทุกวันนี้

พระเจ้าซาร์มีรับสั่งให้ส่งภาพนี้ไปลงในหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่ออกในเมือง
หลวงของประเทศต่าง ๆ ในมหาทวีปยุโรป และได้ทรงเขียนอธิบายด้วยพระองค์เองว่า "สยามเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา หาใช่ประเทศล้าหลัง ซึ่งมหาประเทศจะอาศัยเป็นมูลเหตุเข้ายึดครองมิได้"

การดำเนินวิเทโศบายชั้นสูงและบทบาทนักการทูตชั้นเยี่ยมของพระองค์ ยังผลให้มหาอำนาจทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสยุติการรุกรานประเทศไทยตั้งแต่บัดนั้น และดำรงความเป็นเอกราชอยู่ได้ตลอดมา






ภาพนี้นี่เองที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงให้ชื่อว่า "ภาพที่ช่วยให้ สยามยังอยู่ยั้ง ยืนยง"







พระปิยะมหาราช
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี
ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระนามเดิมว่า
สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ฯ ทรงเสด็จครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2441 ขณะที่มีพระชนมายุ 15 พรรษา

พระราชกรณียกิจที่ทรงกระทำ ล้วนเป็นการนำประเทศไปสู่ความเจริญก้าวหน้า ด้วยพระปรีชาสามารถ
ปวงประชาราษฎร์จึงพร้อมกันถวายพระนามว่า พระปิยมหาราช ทรงมีพระราชกรณีกิจที่สำคัญอาทิเช่น

ด้านการปกครอง ทรงยกเลิกจตุสดมภ์(เวียง วัง คลัง นา) มาเป็นระบบกระทรวง ทรงแบ่งการปกครองออกเป็นมณฑล
จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ทรงตั้งกรมตำรวจภูธร ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

ด้านการศึกษา ทรงตั้งกระทรวงธรรมการ ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครู ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครู
ตั้งโรงเรียนสำหรับราษฏรที่วัดมหรรณพาราม โปรดฯให้คัดเลือกนักเรียนที่เรียนดี
และข้าราชการไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศ หรือดูงานในต่างประเทศมากขึ้น ทรงจัดตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือน

ด้านการคมนาคม ทรงโปรดให้มีการเดินรถไฟ เริ่มใช้รถราง สร้างถนนราชดำเนิน ถนนเยาวราช
เริ่มมีการใช้รถยนต์โดยเฉพาะรถที่ขับเคลื่อนด้วยจักรกล

ด้านการสาธารณูปโภค ทรงเริ่มกิจการไฟฟ้า ประปา และกิจการไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์

ด้านการคลัง ทรงตั้งกรมธนบัตร ประกาศใช้ธนบัตร และทรงจัดทำงบประมาณแผ่นดิน เมื่อพ.ศ.2439

ด้านการสาธารณสุข ทรงจัดตั้งสภากาชาด ทรงก่อตั้งโรงพยาบาลศิริราช ตั้งโรงเรียนราชแพทยาลัยฯลฯ

ด้านการวรรณกรรม ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง เงาะป่า ลิขิต นิทราชาคริต พระราชนิพนธ์ไกลบ้าน
ทรงเริ่มการเล่นละครนอก ละครในฯลฯ

ด้านการต่างประเทศ ทรงดำเนินการนโยบายผ่อนสั้นผ่อนยาว ยอมเสียน้อยเพื่อรักษาส่วนไว้ ทรงประพาสยุโรป 2
ครั้ง เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจ และเพื่อนำความเจริญกลับมาสู่ประเทศไทย

พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์คือ การเลิกทาส ในปี พ.ศ. 2448

สมเด็จพระปิยมหาราช ทรงสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุ 58 พรรษา
ทรงครองราชย์ยาวนานถึง 42 ปี



Create Date : 26 ตุลาคม 2553
Last Update : 26 ตุลาคม 2553 19:55:29 น. 0 comments
Counter : 2163 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อลิซ ในดินแดนไม่มหัศจรรย์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




การเป็นผู้ให้ ย่อมสุขใจกว่าการเป็นผู้รับ : )
Friends' blogs
[Add อลิซ ในดินแดนไม่มหัศจรรย์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.