" การเป็นผู้ให้ ย่อมสุขใจ กว่าการเป็นผู้รับ "
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
26 ตุลาคม 2553
 
All Blogs
 
บทความ ตามรอย พระปิยมหาราชเสด็จประพาสต้น

หลายต่อหลายท่าน ยังสงสัยคำว่า “เสด็จประพาส” และ “เสด็จประพาสต้น” ความจริงแล้วตลอดรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 มีการเสด็จประพาสสถานที่ต่างๆ มากมาย ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และคำว่า “ต้น” ที่ต่อท้ายคำการเสด็จประพาสนั้นมาจากไหน เพราะแต่ก่อนแต่ไรไม่เคยมีคำประพาสต้นนี้ปรากฏ

จากหนังสือของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ได้ให้คำตอบเรื่องที่มาของการเสด็จประพาสต้นในแง่ขำๆ แต่เป็นเรื่องจริงว่า “ที่เรียกว่า เสด็จประพาสต้น เนื่องมาจากการเสด็จแบบนี้ ในครั้งแรกได้ทรงเรือมาดไปแต่ลำเดียว เรือไม่พอบรรทุกเครื่องครัว จึงทรงซื้อเรืออีกลำหนึ่ง แล้วโปรดให้เจ้าหมื่นใจราช เป็นผู้คุมเครื่องครัวไปในเรือนั้น เจ้าหมื่นใจราช มีชื่อจริงว่า “อ้น” จึงตรัสเรียกเรือนั้นว่า “เรือตาอ้น” ซึ่งถ้าเรียกเร็วๆ ก็จะเป็นเรือต้น ต่อมาจึงโปรดให้เอาชื่อเรือต้นมาเรียกเรือพระที่นั่งทรง แล้วเลยเรียกการเสด็จแบบนี้ว่า “ประพาสต้น”







สำหรับในหนังสือพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้คำอธิบายไว้ “ประพาสต้น” หมายถึง เที่ยวไปเป็นการส่วนพระองค์, เที่ยวไปอย่างไม่เป็นทางการ, ใช้ว่า เสด็จประพาสต้น (เจ้าค่ะ)

พระเจ้าแผ่นดินปลอมพระองค์

แทบจะทุกประเทศก็ว่าได้ ต่างมีเรื่องสนุกๆ ที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จปลอมพระองค์ออกไปปะปนกับราษฎร เพื่อศึกษาหรือเรียนรู้สภาพบ้านเมืองที่แท้จริงของพระองค์ โดยเฉพาะประเทศไทยของเราเอง เป็นเรื่องจริงที่มีการบันทึกเป็นจดหมายเหตุ ตลอดจนมีภาพประกอบเป็นหลักฐาน อันเป็นเรื่องราวที่สามารถอ้างอิง เชื่อถือได้ นั่นคือ การเสด็จประพาสต้น ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นพระปิยมหาราช อันทรงเป็นที่รักยิ่งของอาณาประชาราษฎร์ ซึ่งในการปลอมพระองค์นั้น เป็นการเสด็จแบบปรับเปลี่ยนกระบวนเสด็จไปตามสถานการณ์ที่เหมาะสม หลายครั้งที่ถูกจับได้ และหลายครั้งที่ทรงรับสั่งบอกไปเอง

“คล้ายรูปที่เขาตั้งไว้ตามเครื่องบูชา”

“...พอยายผึ้งเชิญพวกเราก็เข้าล้อมสำรับกับพระเจ้าอยู่หัวด้วยกัน ว่ากันคนละคำสองคำ เจ้าเจ๊กฮวดลูกชายยายผึ้ง อายุราวสัก 20 ปี มาช่วยยกสำรับคับค้อนขณะเมื่อพวกเรากินเลี้ยง เจ๊กฮวดมันนั่งดูๆ พระเจ้าอยู่หัว ประเดี๋ยวก็เอ่ยขึ้นว่า “คล้ายนัก คล้ายนักขอรับ” ถามว่า คล้ายอะไร มันบอกว่าคล้ายรูปที่เขาตั้งไว้ตามเครื่องบูชา พอประเดี๋ยวก็ลุกขึ้นนั่งยองๆ เอาผ้าปูกราบพระเจ้าอยู่หัว บอกว่า แน่ละขอรับ ไม่ผิดละ เหมือนนัก ยายผึ้งยายแพ่งเลยรู้ว่า พระเจ้าอยู่หัว”

การเสด็จประพาส ทรงสบายหายประชวร

จากพระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ที่ทรงใช้นามปากกาว่า นายทรงอานุภาพ ไว้ว่า “...ในช่วงราว พ.ศ. 2447 สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ไม่ใคร่จะทรงสบาย ได้เสด็จพระราชดำเนินขึ้นมาประทับรักษาพระองค์อยู่ ณ พระราชวังบางปะอิน แต่แทนที่พระอาการจะดีขึ้น กลับไม่ทรงสบายมากขึ้น เพราะพระราชกิจติดตามมา ทำให้มีพระราชกังวล เป็นเหตุให้เสวยไม่ได้ และบรรทมไม่หลับ หมอได้ลงความเห็นว่า ควรจะเสด็จประพาสไปให้พ้นพระราชกิจ






แรกเริ่มในการเสด็จประพาสต้น

วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2447 เสด็จทางคลองดำเนินสะดวก คลองบางกอกใหญ่ คลองภาษีเจริญ ราชบุรี แล้วเสด็จโดยรถไฟไปเพชรบุรี แล้วกลับมาประทับแรมราชบุรี มีพระราชประสงค์ใคร่ทราบว่าราษฎรโดยสารรถไฟกันอย่างไร จึงทดลองเสด็จโดยรถไฟไปโพธาราม ปะปนกับราษฎร ซึ่งในจดหมายเหตุเล่าว่า “...เจ้าพนักงานรถไฟก็เหลือดี มีอัธยาศัย รู้พระราชประสงค์ ที่แท้แกรู้ แต่แกล้งทำเฉย ทำไม่ให้ผิดกันอย่างไร ต่อผู้ใดสังเกตจริงๆ จึงจะพอเห็นได้ว่า หน้าแกออกจะซีดๆ และเมื่อไปเรียกติเก็ตพระเจ้าอยู่หัว มือไม้แกสั่นผิดปรกติ”

เสด็จประทับแรมที่ผักไห่

จากนั้นโปรดให้เช่าเรือเป็ดทะเลของราษฎร แล่นทางทะเลเข้าเมืองสมุทรสงคราม อัมพวา แล้วจึงเสด็จประพาสเรือต้นมาทางลำน้ำท่าจีน ท่าฉลอม สมุทรสาคร เสด็จประพาสรถไฟไปพระปฐมเจดีย์ พระประโทน แล้วเสด็จทางเรือมาทางคลองสองพี่น้อง บางปลาม้า มาสุพรรณบุรี แล้วประทับแรมที่ผักไห่เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2447 พอวันรุ่งขึ้น กำหนดจะเสด็จกลับกรุงเทพฯ ผ่านทางบางโผงเผง คลองบ้านกุ่ม เพื่อที่จะเสด็จไปประทับรถไฟจากบางปะอินเข้ากรุงเทพฯ ขณะที่เรือขบวนประพาสต้นออกจากบางโผงเผงเป็นเวลาเสวยกลางวัน ที่ตรงนั้น ในจดหมายเหตุ พอนำมาสรุปได้ว่า

ผู้ลากมากดี ทำไมถึงชิมแกงด้วยจวัก เขาถือกัน (นะ)

เสาะแสวงที่ทำครัวกันจนหิว จึงมาพบบ้านที่บางหลวงอ้ายเอียง เรือนฝากระดาน มีสะพานและโรงยาวอยู่ริมแม่น้ำ จึงแวะเรือเข้าไปไต่ถาม ได้ความว่าเป็นบ้านกำนัน แต่ตัวกำนันไปค้าข้าว อยู่แต่นายช้าง อำแดงพลับ พ่อตาแม่ยาย ออกมาต้อนรับแข็งแรง ตัวนายช้างเองเข้าไปนั่งสนทนาเคียงไหล่กับพระเจ้าอยู่หัว แล้วยังบอกว่าเสด็จไปเมื่อสักครู่นี่เอง และมีใครสอดถามว่าจำพระเจ้าอยู่หัวได้หรือไม่ แกกลับขู่เอาว่า เคยเฝ้าแล้ว พระรูปก็ยังมีติดอยู่บนเรือน เลยชวนพวกขึ้นไปนั่งคุย พลันได้ยินเสียงยายพลับเอะอะขึ้นในครัว ได้ความว่าแกเอ็ดหมื่นสรรพกิจ เรื่องชิมแกง แกว่า เป็นผู้ลากมากดี ทำไมถึงชิมแกงด้วยจวัก เขาถือกันไม่รู้หรือ
คืนเงิน 400 บาท ได้เป็นหมื่นฯ





เมื่อเลี้ยงดูกันเสร็จแล้ว นายช้างได้ปรารภอยากจะได้ปืนเมาเซอร์ ขอให้คุณ (พระเจ้าอยู่หัว) ช่วยเป็นธุระจัดซื้อหาให้ด้วย “คุณ” ก็รับเป็นธุระ ก่อนกลับพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานธนบัตรใส่ซองให้กับมือนายช้าง จนเรือประพาสต้นพ้นไปแล้ว นายช้างจึงเปิดซอง พบธนบัตรเป็นจำนวนเงินถึง 400 บาท ก็ตกใจ เงินจำนวนนี้เกินกว่าคนธรรมดาจะให้กัน ครั้นนายช้างรู้ รีบล่องเรือเข้ากรุงเทพฯ และได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งนายช้างเป็นหมื่นปฏิพัทภูวนาท ได้รับพระราชทานปืนเมาเซอร์ ที่ทูลวาน “คุณ” ให้ช่วยซื้อตามประสงค์ ส่วนนางพลับก็ได้รับพระราชทาน***บหมากเงิน สลักลายอักษรพระนาม จปร. และทรงนับให้นายช้างและนางพลับอยู่ในพวก ซึ่งโปรดเรียกว่า “เพื่อนต้น” ด้วย
พระนอนที่วัดป่าโมก พูดโต้ตอบกับคนได้

การเสด็จประพาสต้นนี้ นอกจากจะได้ทรงสำราญพระราชอิริยาบถ ได้ทรงสนิทสนมคุ้นเคยกับราษฎร และเป็นการตรวจตราแผ่นดิน ส่งผลให้พระเจ้าอยู่หัวทรงได้พบเห็นเรื่องแปลกๆ ซึ่งก็ทรงบันทึกไว้โดยละเอียด นับเป็นความรู้และหลักฐานในการศึกษาเรื่องนั้นๆ ต่อมาได้เป็นอย่างดี อย่างเรื่องพระนอนที่วัดป่าโมก ซึ่งพูดโต้ตอบกับคนได้ โดยมีเสียงก้องตอบมาจากพระอุระ ได้ยินไปถึงนอกโบสถ์ และมีพระได้ยินพร้อมกันถึง 15 รูป หรือเรื่องดาบฝักทอง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ พระราชทานแก่พระยากำแพงเพชรได้ดูแลรักษาดาบนี้กันมาแล้วกี่ชั่วอายุคน ชื่ออะไรบ้าง ทรงเรียงลำดับไว้อย่างละเอียด




พระบิดาแห่งการท่องเที่ยวไทย

การเสด็จประพาสและเสด็จประพาสต้น ตลอดรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 มีการเสด็จประพาสสถานที่ต่างๆ มากมาย ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งการเสด็จแต่ละครั้งทรงพระราชนิพนธ์ไว้อย่างละเอียด นอกจากนั้นทรงโปรดถ่ายภาพในแง่มุมต่างๆ ประกอบพระราชนิพนธ์ดังกล่าวด้วย จึงนับได้ว่าในการเสด็จประพาสมีองค์ประกอบที่ครบสมบูรณ์ และพร้อมที่จะให้ผู้สนใจศึกษาหาความรู้จากหลักฐานต่างๆ ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติได้ ซึ่งพสกนิกรชาวไทย (น่า) ยกย่องให้พระองค์ท่านเป็นพระบิดาแห่งการท่องเที่ยวไทย



จากรูป ทรงฉายที่พระราชวังบางปะอิน

จากซ้ายไปขวา
สมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
กรมพระนเรศวรฤทธิ์
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์






ภาพถ่ายคราวเสด็จประพาสต้น ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๔๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ประทับอยู่หัวแถวซ้ายสุด ถัดมา กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย กรมพระยาสมมตอมรพันธ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ กรมขุนสรรพศาสตร์ศุภกิจ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระยาบุรุษรัตนราชวัลลภ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช ทรงขี่คอพระยาโบราณราชธานินทร์ เงาะคนังนั่งบนคอพระยานิพัทธราชกิจ พระยาพิพิธฯและพระยาราชัยสรรค์






พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกีฬาโครเกต์กับพระบรมวงศานุวงศ์ ในพระบรมมหาราชวัง





พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดสะพานเฉลิมโลก ๕๕ ข้ามคลองแสนแสบ
(บริเวณประตูน้ำในปัจจุบัน)
เมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑
เนื่องในงานพระราชพิธีมังคลาภิเษก
รถพระที่นั่งตกแต่งเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงออกแบบถวาย





คำสั่ง โหวต
0 คะแนน โดย sleepwalk เมื่อ 1 ปีที่แล้ว
ไม่อนุญาตให้ใช้ไอดีนี้ครับ

เครื่องบาตรพระราชทาน ประกอบด้วยตาลปัตร บาตร คัมภีร์ใบลานพร้อมประกับงา และย่ามปักดิ้น
ตาลปัตรสีเหลืองมีพระปรมาภิไธยย่อ

ส่วนตาลปัตรดำ คือพัดสังเค็ด ในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ออกแบบโดยสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์


ขอขอบคุณที่มาจากคุณ sleepwald จาก @cloud และ
Thaitown.com ค่ะ


Create Date : 26 ตุลาคม 2553
Last Update : 26 ตุลาคม 2553 20:01:44 น. 0 comments
Counter : 3124 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อลิซ ในดินแดนไม่มหัศจรรย์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




การเป็นผู้ให้ ย่อมสุขใจกว่าการเป็นผู้รับ : )
Friends' blogs
[Add อลิซ ในดินแดนไม่มหัศจรรย์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.