a whispering star
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




คุณแม่น้องเจเจ-จ๊ะจ๋าค่ะ ^^
Group Blog
 
<<
มกราคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
13 มกราคม 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add a whispering star's blog to your web]
Links
 

 
เพลโตแบบงง..งง.. ^^"...(2)

NB:... - ต้องขอโทษจริง ๆ อีกครั้ง - ... สำหรับคนที่เข้ามาเพราะชื่อของ Plato เพราะ - อะไรก็ตามที่เราเขียนไว้ต่อไปนี้ - (คือว่ามันไม่ใช่บทความนะคะ .. เป็นแค่ set คำถามเฉย ๆ ... ^^"..) คงไม่ทำให้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Plato ของคุณเพิ่มมากขึ้น ... แต่อาจจะทำให้คุณงงมากขึ้นซะมากกว่า ... - เอาเป็นว่า - ... ใครที่ไม่ต้องการอย่างนั้น .. ก็ปิดหน้านี้ซะนะ .. ^^"...



1.Eros is … ?


คิดว่าคนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะพวกที่ถูกทุนนิยมโรแมนติก (พวกที่ชอบหากินกับวันวาเลนไทน์ และทำนาบนหลังคู่รักทั้งหลายนั่นแหละ ...) ครอบงำ เวลาเห็นคำนี้แล้วน่าจะคิดถึง Cupid ใน Mythology (ที่บัดซบกว่านั้น คืออาจจะคิดถึง Cupid ที่เป็นเด็กหน้าตาคล้าย Cherubim มีอาวุธเป็นลูกศรรูปหัวใจ และชอบเล่นซนโดยการแกล้งให้คนที่ไม่น่าจะรักกันได้มารักกัน ... โดยไม่คิดถึง Mytho เลย.... กรรมเวรของเทพเจ้ากรีกจริง ๆ :P) มากกว่า Plato เพราะเราเองก็คิดอย่างนั้น เพิ่งจะมารู้ตอนเปิดหนังสือ Mythology อีกรอบ ว่า Homer ไม่ได้พูดถึง Eros ไว้ที่ตรงไหนเลย! คนที่พูดถึง Eros แบบจริงจังก็คืออีตา Plato ที่เป็นนักปรัชญานี่แหละ – คำจำกัดความที่ให้ไว้ในหนังสือ Mytho ฯ บอกว่า “Love – Eros – makes his home in men’s hearts, but not in every hearts, for where there is a hardness when he departs. His greatest glory is that he cannot do wrong nor allow it; force never comes near him. For all men serve him for their own free will. And he whom Love touches not walk in darkness.”


ส่วนคำจำกัดความเท่าที่พอจะจับได้ในบทความนี้ (ซึ่งอ่านไม่ค่อยจะรู้เรื่องเท่าไหร่..) ดูเหมือน Plato ตามการตีความของ Strauss จะบอกว่า Eros เป็น “ความอยากชนิดหนึ่ง ซึ่งแบบที่ดีก็มีตั้งแต่ความปรารถนาที่จะเป็นอมตะผ่านทางลูกหลาน ..... (หรือ)โดยอาศัยชื่อเสียงอันไม่มีวันตาย.. ...(หรือ) โดยผ่านการมีส่วนร่วมทางความรู้ในสิ่งซึ่งไม่มีวันเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ทาง ” เป็นสิ่งที่มีลักษณะเชิงปรัชญา มีความขัดแย้งกับความยุติธรรม และนคร โดยการที่จะก่อต้องนครนั้น ต้องไม่คำนึงถึง Eros นครจึงจะมีตัวตนขึ้นมาได้ เพราะ Eros เคารพกฎเกณฑ์ของตัวเอง ไม่ใช่กฎของนคร ดังนั้น ในนครที่ดี Eros จึงต้องอยู่ภายใต้สิ่งที่นครเรียกร้อง


2.นครที่ดี


ดูเหมือนว่า Plato เห็นว่านครที่ดีนั้นมีลักษณะคล้ายกับสังคมที่มีระบบวรรณะ ที่มีอยู่ในอียิปต์โบราณ ข้อสังเกตคือ พอพูดถึงระบบวรรณะจริงๆ และคนมักจะคิดถึงระบบวรรณะของอินเดียมากกว่า (รึเปล่า?) และลักษณะความมีที่ต่ำที่สูงในสังคม ก็เป็นลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่งในสังคมไทย และการเมืองไทย ความคล้ายกันในเชิงแนวคิดเช่นนี้ ทำให้การพยายามที่จะแยกปรัชญาการเมืองตะวันตกกับการเมืองตะวันออกออกจากกัน กลายเป็นความพยายามที่ไม่ได้นำไปสู่อะไร



3.ปรัชญา vs. ชีวิตทางการเมือง


จากข้อความที่ว่า นักรบเป็นชนชั้นเดียวที่มีลักษณะทางการเมือง แสดงว่า มนุษย์ไม่ได้มีชีวิตทางการเมืองทุกคน และน่าสนใจว่า ปรัชญาเมธีมีชีวิตทางการเมืองหรือไม่ เนื่องจากมีข้อความตอนหนึ่งที่บอกว่า ปรัชญาเมธีต้องแสวงหาปรัชญา (Truth? Knowledge?) จึงไม่มีเวลาว่างพอที่จะพิจารณากิจการของมนุษย์ จึงมีแต่การบังคับเท่านั้นที่จะทำให้พวกเขาเข้ามามีส่วนในชีวิตทางการเมืองได้ แต่ นครที่ดีจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อปรัชญาเมธีกลายเป็นกษัตริย์ ??? แสดงว่ากษัตริย์มีชีวิตทางการเมืองหรือไม่ ? หรือว่าชีวิตทางการเมืองของกษัตริย์เป็นไปด้วยการบังคับ ? นอกจากนี้ หากจะบอกว่าการแสวงหาปรัชญา ทำให้ไม่มีเวลาเพียงพอสำหรับการพิจารณากิจการของมนุษย์ (aka การเมือง?) แล้ว ก็น่าคิดว่า ความประจวบเหมาะระหว่างปรัชญาและการเป็นกษัตริย์ นั้น จะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน สิ่งที่ปรัชญาแสวงหาคือ ความรู้ที่แท้จริง (?) นั้น จำเป็นและไปกันได้สำหรับกษัตริย์ในฐานะผู้ปกครองหรือไม่ หากไม่มีการปกครองในรูปแบบใดเลยที่อ้างว่าต้องตั้งอยู่บนฐานความรู้ ศิลปะของผู้ปกครอง ?




ประเด็นอื่น ๆ ที่น่าสนใจ



-ทรราชย์ กับนักปรัชญา เหมือนหรือต่างกันตรงไหน ? - ใน Law มีข้อความตอนนึงที่บอกว่าทรราชตัวน้อย ๆ (ทำไมต้องตัวน้อย ๆ ด้วย ?)มีธรรมชาติในบางลักษณะเป็นเหมือนปรัชญาเมธี แต่ดันไม่บอกว่าเหมือนตรงไหน บอกแต่ว่าต่างตรงไม่นิ่มนวล ไม่หลักแหลม ไม่ได้รักความจริง แล้วก็ไม่ยุติธรรม เลยไม่รู้ว่าเหมือนตรงไหน ....-“-…


อ้างอิง :

1.ลีโอ สเตร๊าท์ (2550) “เพลโต” ใน ลีโอ เสตร๊าท์ และโจเซฟ คร็อบซีย์. ประวัติปรัชญาการเมือง. แปลโดย สมบัติ จันทรวงศ์ . กรุงเทพฯ : คบไฟ. หน้า 48 – 129

2.Hamilton, Edith. (1969) Mythology. New York : Penguin Books.



Create Date : 13 มกราคม 2551
Last Update : 13 มกราคม 2551 13:37:42 น. 0 comments
Counter : 998 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.