ตีความหนัง...ตีความชีวิต
สารบัญภาพยนตร์
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
 
กรกฏาคม 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
13 กรกฏาคม 2556

ระดับของกล้อง (Camera Level)

ระดับของกล้อง (Camera Level)


ระดับของกล้อง หมายถึงการตั้งระดับของกล้องแทนสายตาของคนดูเป็นหลัก

ระดับแรก คือ Bird's Eye View

Bird's Eye View หรือระดับสายตานก คือ ตั้งกล้องสูงที่สุดจนเป็นมุมฉาก อยู่ด้านบนของวัตถุที่จะถ่าย

ภาพแบบนี้มักใช้ถ่ายจากด้านบนของตัวละครที่ทำให้ตัวละครดูเล็กเป็นจุด และถูกปิดล้อมจนไปไหนไม่ได้ เพราะถูกเฟรมภาพล้อมรอบอยู่

หรือ บางครั้ง อาจเรียกว่า God's Eye View มุมมองพระเจ้า ที่ใช้แทน Estlablish shot หรือช็อตยืนยันสถานที่ ได้เลย

และ God's Eye View ต้องถ่ายมาจากที่สูงมากๆเหมือนสายตาของพระเจ้า ซึ่งต่างจาก Bird's Eye View ที่ต่ำลงมา และกลายเป็นการคุมคามตัวละครโดยปริยาย

สำหรับมือใหม่แล้วระดับของภาพแบบนี้ ถือเป็นเรื่องเกินเหตุโดยไม่จำเป็น เพราะต้องพึ่งอุปกรณ์เช่นเครนในการถ่ายทำเข้าช่วย

แต่ระดับภาพแบบนี้สามารถสร้างอารมณ์ให้กับหนังของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพเลยทีเดียว



มุมสูง High Angel

มุมสูงคือการตั้งกล้องให้สูงกว่าระดับสายตาของตัวละคร ทำให้ภาพของวัตถุที่ถ่ายเตี้ยและเล็กลง แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอต่ำต้อยของตัวละครหรือวัตถุที่ถูกถ่ายนั่นเอง




มุมต่ำ Low Angel

เป็นการถ่ายโดยให้กล้องอยู่ต่ำกว่าวัตถุที่ถ่าย ต่ำกว่าระดับสายตาของผู้ชม ทำให้สิ่งที่ถ่ายดูใหญ่โตกว่าปรกติ ภาพดูสูงใหญ่ แสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่มีอำนาจของวัตถุที่ถูกถ่าย



มุมระดับสายตา Eye Level

เป็นมุมกล้องระดับทั่วไปตั้งในระดับสายตา ในกรณีที่กล้องแทนสายตาคนดู จะถือเกณฑ์ความสูงเฉลี่ยของคนทั่วๆไป แต่ถ้าแทนสายตาของตัวละคร ก็ถือเอาความสูงของตัวละครเป็นหลัก เช่นระดับสายตาขณะนั่งกับยืน




Tatami Level

หนังญี่ปุ่นมีระดับสายตาที่ต่างไปจากชาติอื่นๆ เรียกว่า Tatami Level เป็นมุมกล้องที่วางบนพื้น เนื่องจากประเพณีประเทศญี่ปุ่น ถ้าจะพูดคุยมักจะนั่ง และบ้านแบบญี่ปุ่นไม่มีเก้าอี้ เพราะฉะนั้นระดับสายตาของญี่ปุ่นก็เลยเป็นระดับที่ต้องตั้งกล้องบนพื้น




เอียงกล้อง(Dutch Angle)

เป็นระดับสายตาที่ผิดแผกจากปรกติ โดยทั่วไปทุกระดับสายตาจะต้องรักษาเส้นขนานกับพื้นเอาไว้ตลอด แต่การเอียงกล้องมักใช้เพื่อแสดงถึงความสับสนวุ่นวายของตัวละครหรือ เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ที่พบเห็นกันบ่อยคือ ขณะที่เกิดอันตราย การเอียงกล้องมักถูกนำมาใช้เพื่อแสดงความสับสนอลหม่าน




Create Date : 13 กรกฎาคม 2556
Last Update : 13 กรกฎาคม 2556 22:05:52 น. 0 comments
Counter : 4903 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

A-Bellamy
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ย้ายบล็อกแล้วนะครับ ติดตามกันต่อได้ที่ http://www.A-Bellamy.com ครับ

พูดคุยเรื่องหนังกันได้ที่Facebook

สนุกกับการอ่านบล็อกนะครับ


บทความล่าสุด
Jack the Giant Slayer (2013)
The Tree of Life(2011)
Iron Man (2013)
ลัทธิ Constructivism
คู่กรรม(2013)
Stoker(2013)
Amour(2012)
Silver Linings Playbook(2012)
Zero Dark Thirty(2012)
Les Misérables(2012)


บทความแนะนำ
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
สารบัญภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

[Add A-Bellamy's blog to your web]