ตีความหนัง...ตีความชีวิต
สารบัญภาพยนตร์
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
<<
มีนาคม 2555
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
28 มีนาคม 2555

บทเรียนจาก The Hunger Games

: ภาพสะท้อนความขัดแย้งที่ไม่เคยจางไปของอเมริกัน




“ที่ใดมีข่าวดี ที่นั้นมีข่าวร้ายรอเราอยู่เสมอ” นี้คงเป็นวลีที่ยกนำมาใช้ได้กับกรณีของภาพยนตร์ The Hunger Games ได้ดีเลยทีเดียว หลังจากเมื่อผ่านพ้นสุดสัปดาห์ที่เข้าฉาย The Hunger Games กวาดรายได้ไปถึง $155 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการเปิดตัวสูงสุดที่มากเป็นอันดับ 3 ในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ที่เข้าฉายตลอดกาลในอเมริกาเลยทีเดียว เป็นรองแค่ Harry Potter and the Deathly Hallows Part 2 และ The Dark Knight เท่านั้น

แต่ข่าวร้ายที่ตามมาก็คือหลังจาก The Hunger Games ที่ถูกดัดแปลงมาจากหนังสือของ Suzanne Collins จนโด่งดังและถูกผลิตออกฉายเป็นภาพยนตร์ มีแฟนหนังสือเป็นจำนวนมากที่รู้สึกไม่เข้าใจว่าทำไม ตัวละครของ ริว (Rue) เทรสช์ (Thresh) และซินน่า (Cinna) ถึงใช้บุคคลที่ผิวดำมาแสดง แม้ตามต้นฉบับหนังสือ สีผิวของซินน่า ไม่ได้ถูกอธิบายเอาไว้ในหนังสือก็ตาม แต่ก็เกิดข้อสงสัย อาจใช้คนผิวขาว คนเอเชีย หรือลาติน ก็ได้

แต่สำหรับตัวละครริว ได้ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนในหนังสือฉบับภาษาอังกฤษหน้า 45 ในทันทีที แคทนิส เห็นริว เป็นครั้งแรก

…And most hauntingly, a twelve-year-old girl from District 11. She has dark brown skin and eyes, but other than that's she's very like Prim in size and demeanor…

และหลังจากที่เห็น เทรสช์

The boy tribute from District 11, Thresh, has the same dark skin as Rue, but the resemblance stops there. He's one of the giants, probably six and half feet tall and built like an ox.

ซึ่งถูกระบุชัดเจนโดยผู้เขียน Suzanne Collins ด้วยคำว่า Dark skin หรือผิวดำ(มืด) นั่นเอง แต่ก็น่าแปลกใจว่าเหตุใดผู้ชมส่วนมากที่เข้าไปชมภาพยนตร์ถึงได้เกิดอาการตกใจ (Shock) สับสนงุนงง และ รู้สึกโกรธเป็นอย่างมาก

ทำให้เกิดเหตุการณ์แสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ กันในโลกของโซเชียล มีเดีย อย่างมากมาย เช่น ผู้หญิงบางคนก็แสดงความคิดเห็นว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นหายนะดีๆชิ้นหนึ่งเลย

เด็กผู้หญิงบางคนก็ต้องการรู้ว่าทำไมพวกเขา(คนดำ) “เป็นคนดำที่ดีได้ ทั้งๆที่คนดำน่าจะไม่ใช่คนดี เพราะคนดำเป็นได้แต่คนชั่ว”



บางคนก็ยอมรับว่าตัวเองเหยียดผิว และเมื่อ ริว ตายเขาไม่รู้สึกเศร้าใดๆเลย



บางคนก็บอกว่า ด้วยความที่ตัวละครริวเป็นเด็กไร้เดียงสา แต่ไม่มีทางที่เด็กผิวดำจะไร้เดียงสาได้ เด็กผิวขาวเท่านั้นที่ไร้เดียงสา และต้องผมบลอนด์อีกด้วย

นอกจากนั้นก็ยังมีข้อความต่างๆมากมายที่บ่งบอกถึงการเหยียดผิวกันอย่างรุนแรง เช่น การด่าว่า "black bitch” a "nigger" (พวกนิโกร)



และมีหนึ่งคนที่แสดงความคิดเห็นไว้ว่า “หลังจากที่คนอ่านหนังสือ The Hunger Games จบลง ทุกคนได้ตกหลุมรักและรู้สึกชื่นชอบในตัวริวมากๆ และเชื่อว่าพวกเขาได้สร้างภาพของ ริว ขึ้นมาในใจ ซึ่งต้องเป็นเด็กผู้หญิงที่น่ารัก และพวกเขาต้องเศร้าใจอย่างถึงที่สุดเมื่อรู้ว่า ริว ต้องตาย แต่หลังจากได้ประกาศตัวแสดงที่รับบทริวออกมาหรือใครก็ตามที่ไปชมภาพยนตร์ พวกเขาจะต้องตกใจที่เห็นริวเป็นคนผิวดำ และตัวใหญ่กว่าที่คิดไว้ ทำให้ทุกคนจะต้องรู้สึกถึงความน่ารังเกียจและสะอิดสะเอียน

บางคนถึงขั้นรับไม่ได้ที่ผู้หญิงที่เขาร้องไห้ตอนอ่านหนังสือนั้น กลับกลายเป็นเด็กผิวดำ เขารู้สึกโกรธ เสียดายน้ำตา และเสียดายความรู้สึก เขาเสียใจที่รู้ว่าเธอคือคนผิวดำ และไม่มีทางจะเศร้าและเสียใจเป็นแน่เมื่อเธอต้องตาย

นี้คือข้อมูลส่วนหนึ่งที่ถูกรวบรวมขึ้นจากผู้ใช้โซเชียล มีเดีย ในการระบายความรู้สึกต่อการชม The Hunger Games แม้ส่วนหนึ่งที่ว่านี้อาจเป็นแค่คนส่วนน้อยในสังคม เป็นวัยรุ่นที่ยังทำตามอำเภอใจ ไม่ได้ไตร่ตรองให้ถี่ถ้วนใดๆ แต่เราก็สามารถมองเห็นภาพขัดแย้งอะไรบางอย่างเกิดขึ้นภายในสหรัฐอเมริกาได้ ภาพมายาที่สร้างขึ้นด้วยภาพลักษณ์หลายต่อหลายอย่าง ด้วยระบบอุตสาหกรรมใหญ่ของวัฒนธรรมที่เรียกว่าภาพยนตร์ ที่เป็นตัวการที่ทำให้ อเมริกาเผยแพร่อุดมการณ์ต่างๆ ของเขาไปสู่ผู้ชมทั่วโลกด้วยภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์อย่างไม่ทันระแวดระวังตัว ทำให้เราถูกปลูกฝังค่านิยมกันไม่ต่างจากอเมริกาชน

แต่เชื่อเหลือเกินว่าภาพที่ถูกส่งตรงมาสู่จอภาพยนตร์ในโรงแห่งความืดหรือบางครั้งก็ถูกส่งมาถึงหน้าจอทีวีที่บ้านเรา ภายในภาพเหล่านั้นได้ถูกปรุงแต่งและดัดแปลงให้เป็นของหวานสำหรับประชาชนทั่วโลกได้เป็นอย่างดี หากเราไม่มีการตรวจสอบ เราก็อาจเป็นเครื่องมือทางอุดมการณ์ของประเทศอย่างสหรัฐอเมริกาอย่างไม่ทันระวังตัว

และเหตุการณ์นี้มันได้บ่งบอกว่า แม้ภาพลักษณ์แห่งความเป็นเจ้าโลก ในการสร้างภาพมายาคติจะดูสดใสเท่าไหร่ แต่ภายในอาณาบริเวณของเขาก็ยังมีพื้นที่แห่งความขัดแย้ง ที่ปลูกสร้างรากลึกสั่งสมมาอย่างยาวนานส่งไปสู่คนรุ่นใหม่อย่างวัยรุ่น ณ ปัจจุบัน แม้เราจะพบเห็นว่าภาพการต่อต้านเรียกร้องของประชาชนผิวดำ หรือความเสมอภาคเท่าเทียมกันได้ถูกดำเนินการอย่างเข้มข้นตั้งแต่ ทศววรษ 1950 หรือก่อนหน้านั้นเป็นต้นมา

แต่เมื่อเลยเข้าสู่ ศตวรรษที่ 21 จนถึงปัจจุบัน เหตุการณ์อย่างนี้ก็ยังไม่ได้จางหายไป และที่น่าแปลกใจก็คือ คนที่แสดงความคิดเห็นนั่นคือวัยรุ่น อีกด้วย ซึ่งพอจะบอกทิศทางได้ว่าผู้ใหญ่ในประเทศนั้นๆก็ไม่ได้ซึมซัมวัฒนธรรมแห่งเสรีภาพของการสมานฉันท์สีผิวกันเท่าไหร่นัก ไม่เช่นนั้นคงไม่หลุดรอดมาให้บุคคลแห่งความหวังใหม่ได้รู้สึกเช่นนี้ได้

ดังนั้น จึงหวังว่า เราในฐานะประเทศที่อยู่ใต้การบัญชาในระบอบทุนนิยมซึ่งประเทศสหรัฐฯได้สร้างขึ้นโดยที่ไม่มีใครสามารถต้านทานได้ สิ่งที่น่ากลัวก็คือการถ่ายทอดส่งผ่านอุดมการณ์มาตามภาพยนตร์ ซึ่งเกาะกุมพื้นที่ในโรงภาพยนตร์จนกดหัวภาพยนตร์ในประเทศให้จมดิ่งจนไม่สามารถลืมตาอ้าปากได้ รวมถึงการสร้างรากฐานใหม่ๆ ให้ใครๆต้องเดินตาม

ซึ่งผู้เขียนไม่ได้ตั้งใจโจมตีหรือกระทำการใดเป็นการป้ายสีใส่ร้ายอเมริกา เพราะบางสิ่งบางอย่างที่เรานำมานั้นถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในขั้นสูงสุด แค่อยากเป็นแรงกระตุ้นเตือนให้ทุกคนรู้จักใช้วิจารณญาณในการตรวจสอบอยู่เสมอ เหมือนที่ผู้เขียนคอยกระตุ้นเตือนตนเองไม่ให้หลงกลตกเป็นทาสทางวัฒนธรรม อุดมการณ์ จิตวิทยา และสังคม ต่างๆ ของประเทศนี้โดยเด็ดขาด

เพราะในโลกนี้ไม่มีใครดีล้นและเหนือล้ำ บางคนศรัทธาในพระเจ้า ยังสบถใส่พระเจ้าอย่างไม่รู้ตัว แล้วนับประสาอะไรกับ มนุษย์ ที่เหมือนกัน ไม่มีใครสูงส่งกว่าใครอย่างแน่นอน

ข้าพเจ้าไม่เคยมีครั้งใดเลยที่มีความคิดเกลียดอเมริกา แต่ข้าพเจ้าก็ไม่เคยมีสักครั้งเหมือนกัน ที่จะหลงรักอเมริกา

เพราะข้าพเจ้าเป็นคนไทย !!!!




อ่านวิจารณ์ The Hunger Games The Hunger Games (2012)

อ่านบทความวิจารณ์หนังสารบัญภาพยนตร์




Create Date : 28 มีนาคม 2555
Last Update : 13 กรกฎาคม 2556 21:43:32 น. 3 comments
Counter : 1158 Pageviews.  

 
เขียนได้โดนมากๆเลยครับ บางทีมันก็แค่สีผิวจะรังเกียจกันขนาดนี้เลยหรอ เอิ่ม ...


โดย: Naphasin .S IP: 101.51.156.143 วันที่: 28 มีนาคม 2555 เวลา:19:48:51 น.  

 
เขียนได้ดีครับ ขอ share ครับ


โดย: supawichable IP: 171.98.6.99 วันที่: 31 มีนาคม 2555 เวลา:12:08:17 น.  

 
ยินดีครับ ^^


โดย: A-Bellamy วันที่: 1 เมษายน 2555 เวลา:16:47:17 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

A-Bellamy
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ย้ายบล็อกแล้วนะครับ ติดตามกันต่อได้ที่ http://www.A-Bellamy.com ครับ

พูดคุยเรื่องหนังกันได้ที่Facebook

สนุกกับการอ่านบล็อกนะครับ


บทความล่าสุด
Jack the Giant Slayer (2013)
The Tree of Life(2011)
Iron Man (2013)
ลัทธิ Constructivism
คู่กรรม(2013)
Stoker(2013)
Amour(2012)
Silver Linings Playbook(2012)
Zero Dark Thirty(2012)
Les Misérables(2012)


บทความแนะนำ
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
สารบัญภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

[Add A-Bellamy's blog to your web]