creatio ex nihilo

ศล
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 85 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ศล's blog to your web]
Links
 

 
led

led (light emitting diode) หรือ ไดโอดเปล่งแสง เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สารกึ่งตัวนำ ที่เหมาะนำมาเล่นเป็นอันดับแรก มีรูปและสัญลักษณ์ตาม 1.ก และ 1.ข ตามลำดับ





1.ก


1.ข


1.ค


เมื่อไบอัสตรง led จะเปล่งแสง (ถ้ามันไม่พัง) มันเป็นไดโอด ดังนั้นกระแสจึงไหลผ่านได้ทางเดียวในทิศจาก A ไปยัง K วิธีสังเกตง่าย ๆ คือให้ดูรอยบากตัด (flat) ซึ่งจะตัดทางขา K (นิยมใช้เป็นขาสั้น ดู 1.ค) เราสามารถตรวจสอบ led ได้โดยต่อวงจรดังรูปที่ 2




Fig. 2




Fig. ตัวอย่างการลงอุปกรณ์บน proto-board

led ธรรมดาโดยทั่วไปนั้น มีแรงดันตกคร่อมประมาณ 2 V และรองรับกระแสไบอัสตรงได้ประมาณ 20 mA จึงต้องต่อตัวต้านทานดังรูปเพื่อจำกัดกระแส สามารถคำนวณได้ง่าย ๆ ตามกฏของโอห์ม จากตัวอย่าง Fig. 2

R = (Vdc-VF)/IF = (9-2)/0.02 = 350 อาจเลือกใช้ 390

หลักการทำงานของ led แสดงดังรูปที่ 3 เมื่อไบอัสตรง อิเล็กตรอนข้ามจากแดน n สู่แดน p และจับกับโฮล (recombination process) ปลดปล่อยโฟตอนออกมามีความถี่ในย่าน IR หรือแสงที่ตามองเห็น กระบวนการดังกล่าว เรียก electroluminescence เช่นแสงสีแดง ความยาวคลื่น 700 nm เกิดจากโฟตอนซึ่งถูกปลดปล่อยออกมาด้วยพลังงาน 1.77 eV, คำนวณจากสมการ E = hf เมื่อ h คือ ค่าคงที่ของ Planck เท่ากับ 6.626 x 10-34 J-s, f คือ ความถี่ หน่วย Hz หาได้จากอัตราเร็วแสง (3 x 108 m/s) หารด้วยความยาวคลื่น และ E คือ พลังงาน หน่วย J (1 eV = 1.602 x 10-19 J)


Fig. 3


led จึงสามารถเปล่งแสงได้หลายสี ขึ้นอยู่กับการออกแบบให้พลังงานที่ประจุพาหะปล่อยออกมาเป็นแสงย่านความถี่ใด ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของสารกึ่งตัวนำ เช่น AlGaAs สำหรับสีแดง และ IR, AlGaP สำหรับสีเขียว, GaP สำหรับสีแดง เหลือง และเขียว, C สำหรับ UV



เราสามารถต่อตัว led ได้ทั้งแบบอนุกรม ขนาน และผสม



มีข้อควรระวังในการต่อขนานนิดเดียว ถ้าเราต่อ led ขนาน ควรใช้ตัวต้านทานแยกกัน ไม่ควรเป็นดังรูปที่ 4 เพราะถ้าหาก led ทั้ง 2 ตัวไม่ identical กระแสจะไหลผ่าน led ตัวหนึ่งมากจนมันพัง จากนั้นจึงทำลาย led อีกตัว การต่อแบบนี้นอกจากจะไม่มีประโยชน์แล้ว ราคาตัวต้านทานก็ถูกแสนถูก คำนวณแยก led 1 ดวงต่อ R 1 ตัวเป็นดีที่สุด



Fig. 4


ยังมี led ในรูปกรอบกล่องชนิดต่าง ๆ เช่น Bargraph, 7-Segment, Starbust, Dot matrix รูปเรียงตามลำดับ






Create Date : 16 มกราคม 2551
Last Update : 13 ธันวาคม 2553 19:44:16 น. 0 comments
Counter : 1365 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.