creatio ex nihilo

ศล
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 85 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ศล's blog to your web]
Links
 

 
diode

เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สารกึ่งตัวนำที่อาศัยคุณสมบัติรอยต่อ p-n ยินยอมให้มีกระแสไหลผ่านได้ทางเดียว รูป (a) แสดงรอยต่อ p-n ส่วนพื้นที่สีม่วงคือบริเวณปลอดประจุพาหะ ซึ่งเกิดขึ้นในภาวะสมดุลความร้อนของไดโอดตามธรรมชาติ (b) แสดงสัญลักษณ์ และ (c) แสดงหน้าตาที่เราพบเห็นเมื่อซื้อมาใช้งาน แถบที่คาดเป็นการบอกด้าน K



กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกระแสที่ไหลผ่านซิลิกอนไดโอด (ID) กับแรงดันตกคร่อม A-K (VD) แสดงดังรูป



จากกราฟช่วงไบอัสตรง VD > 0 (ซิลิกอน)ไดโอดนำกระแสเมื่อมีแรงดันตกคร่อมขีดเริ่มที่ 0.7 V (ตัวเลข 0.7 เป็นจริงสำหรับซิลิกอนไดโอด หากเป็นไดโอดจากสารกึ่งตัวนำอื่น ค่านี้เปลี่ยนไป) ความชันค่อนข้างมากเกือบอนันต์ กราฟเกือบขนานแกน y นั่นคือไดโอดมีความต้านทานต่ำมากขณะไบอัสตรง สำหรับช่วงไบอัสย้อนกลับ VD < 0 ไม่มีกระแสไหลผ่านไดโอดจนกระทั่งเพิ่มแรงดันถึงจุดที่ทำให้ไดโอดพัง (breakdown) คุณสมบัติรอยต่อ p-n ถูกทำลาย เกิดกระแสจำนวนมากไหลผ่านตัวมัน สมการกระแสที่ไหลผ่านไดโอดคือ

ID = IS(eqVD/kT - 1)

เมื่อ ID คือ กระแสที่ไหลผ่านไดโอด (แอมป์), IS คือ กระแสอิ่มตัว โดยทั่วไปมีค่าประมาณ 10-12 A, VD คือ VA - VK แรงดันตกคร่อมไดโอด หรือ ความต่างศักดาไฟฟ้าระหว่าง A เทียบกับ K, kT/q คือ Thermal voltage นิยมเขียนแทนด้วย VT มันคือแรงดันไฟฟ้าที่สร้างโดยรอยต่อ p-n อันเนื่องมาจากผลของอุณหภูมิ ที่อุณหภูมิห้อง VT ประมาณ 26 mV เราอาจเขียนสมการไดโอดใหม่เป็น

ID = IS(eVD/0.026 - 1)

ในการวิเคราะห์วงจร หรือใช้งานไดโอดจริง ๆ นั้น เราไม่จำเป็นต้องรู้สมการพวกนี้ครับ ความรู้เดียวที่พอใช้งานคือแรงดันตกคร่อมขณะไบอัสตรงเพื่อใช้งานมันคือ 0.6-0.7 V

เราสามารถใช้มัลติมิเตอร์ตรวจสภาพไดโอด (รอยต่อ p-n) ทักษะนี้ถือเป็นทักษะพื้นฐานที่นักอิเล็กทรอนิกส์มือใหม่-มือเก่าต้องรู้ สำหรับดิจิทัลมัลติมิเตอร์ที่มีฟังก์ชันเช็คไดโอด เราสามารถวัดได้โดยตรง รูปตัวอย่างต่อไปนี้ แสดงค่าที่วัดคือแรงดันตกคร่อมไดโอดเมื่อไบอัสตรง



นอกจากนี้ยังอาจใช้เทคนิคเดียวกับการวัดตัวต้านทานโดยโอห์มมิเตอร์ หลักการของมันคือจ่ายแรงดันไฟฟ้าผ่านสายวัด (ดิจิทัลมิเตอร์ทั่วไปจ่ายไฟบวกผ่านสายสีแดง และไฟลบทางสายสีดำ) จากนั้นวัดกระแสที่ไหลผ่านเพื่อคำนวณค่า R ถ้าหากแรงดันไฟฟ้าที่มิเตอร์จ่ายออกมามีค่ามากพอที่จะไบอัสไดโอดให้นำไฟฟ้า เราสามารถอ่านความต้านทานได้ค่าน้อย ๆ หรือ 0 เมื่อต่อไดโอดถูกขั้ว แต่หากต่อไดโอดสลับขั้ว ค่าความต้านทานที่อ่านได้จะสูงมาก หรือ OL (Open Loop) ดังรูป (a) และ (b) ตามลำดับ กรณีที่ไดโอดพัง คือ ไม่ว่าจะสลับขั้วอย่างไร ก็อ่านค่าได้ 0 (ไดโอด short cct.) หรือ อ่านค่าได้ OL (ไดโอด open cct.) เพียงแบบใดแบบหนึ่ง แต่คุณต้องมั่นใจว่ามิเตอร์จ่ายแรงดันพอไบอัสไดโอดนะครับ



ถ้ามิเตอร์จ่ายแรงดันไม่พอไบอัสไดโอด เราอาจเจอกรณีแบบนี้ (ผมเคยใช้เป็นโจทย์ออกข้อสอบถามเด็กนักเรียน เพื่อวัดความรู้พื้นฐาน)



สาเหตุที่มิเตอร์วัดค่าความต้านทานรวมได้ 1 kΩ เป็นเพราะ มันจ่ายแรงดันไฟฟ้าน้อยกว่าแรงดันไบอัสตรงของไดโอด (สาเหตุอื่น ๆ ที่อาจเป็นไปได้ เช่น ไดโอดพัง ลายทองแดงขาด บัดกรีไม่ดี หรือ มิเตอร์เสีย ฯลฯ)




Create Date : 17 มกราคม 2551
Last Update : 18 ตุลาคม 2551 20:36:32 น. 0 comments
Counter : 6605 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.