Group Blog
 
All Blogs
 

ไอโอดีน


ไอโอดีน
ไอโอดีน (Iodine) เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นในการสร้างฮอร์โมนจากต่อมธัยรอยด์เกี่ยวข้องกับกระบวนการเผาผลาญและการใช้อาหารภาย ในร่างกาย ทำให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ

ต่อมธัยรอยด์ในคนหนัก 25 กรัมมีไอโอดีนประมาณ 10 มิลลิกรัม
เลือด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตรมีไอโอดีน 15 ไมโครกรัม

ไอโอดีนที่รับประทานและดูดซึมเข้าร่างกายจะไปที่ต่อมธัยรอยด์ เพื่อสร้างฮอร์โมน (Thyroid hormone) ใน เลือดธัยรอยด์ฮอร์โมนจะรวมอยู่กับโปรตีน ปริมาณ PBI หรือ Protein bound iodine ในเลือดจะเป็นเครื่องชี้บอกการทำงานของต่อมธัย รอยด์ในร่างกาย
...
แหล่งอาหารของไอโอดีน
จากการค้นคว้าพบว่าร่างกายต้องการไอโอดีนประมาณวันละ 1 ไมโครกรัม/น้ำหนัก 1 กิโลกรัมสภาอาหารและโภชนาการของสหรัฐฯ แนะนำให้รับประทานไอโอดีนวันละ 0.1-0.2 มิลลิกรัม

ไอโอดีนพบมากในอาหารทะเลทุกชนิดและในเกลือแกงที่เติม
สารประกอบของไอโอดีน (Iodized salt) พืชผักที่ขึ้นบนดินมีไอโอดีน สูงจะมีธาตุนี้มากด้วย
...
ผลของการกินไอโอดีนน้อยไปและมากเกินไป
ถ้าร่างกายได้รับไอโอดีนไม่พอต่อมธัยรอยด์สร้างฮอร์โมนไม่ได้ต่อมธัยรอยด์จะขยายตัวใหญ่ขึ้นเพื่อทำงานชดเชยกับการขาดไอโอดีน ทำให้เกิดโรคคอหอยพอกขึ้น โรคคอหอยพอกที่เกิดจากไอโอดีนเรียกว่า โรคคอหอยพอกชนิดไม่เป็นพิษ (Simple goitre)จากการสำรวจพบ ว่าอัตราการเป็นโรคคอหอยพอกขึ้นกับจำนวนไอโอดีนในดิน น้ำ และอาหาร แหล่งที่ขาดไอโอดีนมักจะเป็นแถบภูเขาหรือที่ราบสูงซึ่งอยู่ห่าง ทะเล โรคคอหอยพอกที่เกิดจากการขาดไอโอดีนมักปรากฏชัดในวัยหนุ่มสาวหรือในสตรีที่ตั้งครรภ์เพราะความต้องการของร่างกายมากขึ้นใน ระยะนี้ถ้าได้รับไม่พอจะเป็นโรคคอหอยพอกได้ง่าย นอกจากกินอาหารมีไอโอดีนไม่พอแล้ว โรคคอหอยพอกยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น ร่าง กายผิดปกติ กินอาหารมีแคลเซียมสูง หรือกินสารที่ขัดขวางการใช้ไอโอดีนสร้างฮอร์โมน (Goitrogens) สารดังกล่าวมีในผักดิบบางชนิด เช่น ผักตระกูลกะหล่ำปลี ถั่วเหลืองดิบ ถั่วลิสงดิบ และหัวผักกาดเหลือง (yellow turnips) ความร้อนจะทำลายการเป็นสารทำลายไอโอดีนใน อาหารได้
มีผู้สังเกตว่าคนที่ขาดไอโอดีนมักมีผมแดง แตกและหยาบ ดังนั้นจึงเข้าใจกันว่าไอโอดีนอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับสุขภาพของเส้นผมด้วย
ในภาคใต้หรือแหล่งที่มีไอโอดีนสูงยังพบโรคคอหอยพอกจากการกินไอโอดีนที่มากเกินไปเป็นเวลานาน ๆ เช่น ที่ประเทศญี่ปุ่นที่มีการ บริโภคสาหร่ายทะเลทุกวัน

...
แหล่งอ้างอิง
สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย.
เสาวนีย์ จักรพิทักษ์. หลักโภชนาการปัจจุบัน. พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, 2532




 

Create Date : 02 เมษายน 2548    
Last Update : 4 เมษายน 2548 22:04:59 น.
Counter : 1079 Pageviews.  

ฟอสฟอรัส

ฟอสฟอรัส

ฟอสฟอรัส (Phosphorus) หรือ ฟอสเฟต (Phosphate) มีอยู่ในร่างกายประมาณ 1% ของน้ำหนักตัว จำเป็นในการสร้างกระ ดูกและฟันร่วมกับแคลเซียม มีอยู่ในผู้ชายประมาณ 670 กรัม ในผู้หญิงประมาณ 680 กรัม และประมาณ 85 - 90% อยู่ในสภาพของผลึก แคลเซียมฟอสเฟต ที่ไม่ละลาย นอกจากนี้ฟอสฟอรัสยังเป็นธาตุที่อยู่ในเซลล์ทุกเซลล์ทั่วร่างกาย เป็นสารที่จำเป็นสำหรับการเพิ่มจำนวนเซลล์ การเคลื่อนไหวของเซลล์และการรักษาระดับของเหลวในเนื้อเยื่อต่างๆ รวมทั้งเป็นส่วนประกอบของสารเคมีที่สำคัญๆ ในร่างกาย เช่น ฟอสโฟ ไลปิด โปรตีน เอนไซม์ โคเอนไซม์ และสารเก็บพลังงานไว้ได้สูง ในเลือด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีฟอสฟอรัส 35 - 45 มิลลิกรัม (ในเลือด แคลเซียมมักอยู่ในน้ำเลือด แต่ฟอสฟอรัสส่วนใหญ่อยู่ในเม็ดเลือดแดง)
...
หน้าที่ของฟอสฟอรัส
1. ควบคุมการปล่อยพลังงานจากการเผาไหม้หรือการ oxidation ของคาร์โบไฮเดรท ไขมันและโปรตีนจะมีพลังงานเกิดขึ้น ฟอส ฟอรัสจะควบคุมการปล่อยพลังงานนี้
2. ส่งเสริมการดูดซึมและการลำเลียงของสารอาหาร เพราะว่าฟอสเฟตจะเกาะติดอยู่กับสารต่าง ๆ หลายชนิด เป็นจำพวกน้ำตาลชั้น เดียวภายในเซลล์ ในกระบวนการที่เรียกว่า ฟอสโฟริลเลชั่น (phosphorylation) ซึ่งปรากฏในการดูดซึมจากลำไส้ปล่อยจากกระแสเลือด เข้าสู่ของเหลวในเซลล์และเก็บเข้าสู่เซลล์ ไขมันที่ไม่ละลายในน้ำจะส่งเข้าสู่กระแสโลหิตในสภาพของฟอสโฟไลปิด (phospholipid) ซึ่ง เป็นการรวมตัวของฟอสเฟตกับไขมันช่วยไขมันละลายได้มากขึ้น เมื่อกลับโคเจนถูกปล่อยออกจากตับหรือกล้ามเนื้อ เพื่อมาใช้เป็นพลังงานจะ ปรากฏในลักษณะส่วนประกอบของฟอสโฟริลเลทกลูโคส (phosphorylated glucose)
3. เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกายอยู่ในวิตามินและในสภาพที่ทำหน้าที่ได้ดีเช่น thiamine pyrophosplate และเอ็นไซม์ ส่วนใหญ่เป็นโปรตีน และเป็นจำนวนมากมีส่วนของฟอสฟอรัส
4. การเกาะตัวของฟันและกระดูก พบว่า หากการเกาะตัวของกระดูกล้มเหลว เป็นผลเนื่องมาจากการขาดแคลนฟอสฟอรัส เช่นเดียว กับขาดแคลเซียม
ในผู้ที่ระดับของฟอสฟอรัสในร่างกายต่ำผลของการขับถ่ายฟอสฟอรัสในปัสสาวะมากกว่าการได้รับอาหารที่มีฟอสฟอรัสไม่เพียงพอ
...
การดูดซึมและการเผาผลาญ
โดยปกติฟอสฟอรัสในอาหารต้องดูดซึมหมดในสภาพของ free phosphate ปริมาณที่ถูกดูดซึมจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปริมาณ ของเหล็ก แมกนีเซียมและสารอื่นๆ ซึ่งจะรวมตัวกันเป็นสารที่ไม่ละลายและถูกขับออกทางอุจจาระฟอสฟอรัสในอาหารที่ไม่ถูกดูดซึมประมาณ 30% การควบคุมระดับของฟอสฟอรัสกระทำโดยการขับออกทางไตมากกว่าการดูดซึม
ปัจจัยในการเผาผลาญแคลเซียมและฟอสฟอรัสชนิดเดียวกัน พาราไทรอยด์ควบคุมระดับแคลเซียมในเลือด มีผลต่อระดับ ฟอสฟอรัส ในเลือดและอัตราการซึมออกจากไต วิตามินดี ซึ่งส่งเสริมการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสจากทางเดินอาหาร พร้อมกันนี้เพิ่ม อัตราการซึม กลับของฟอสฟอรัสจากไตด้วย ในลักษณะเช่นนี้ ระดับของเคลเซียมและฟอสฟอรัสที่ต้องการ เพื่อการเกาะของกระดูกจะสูงขึ้น เช่นเดียวกับ แคลเซียม คือ ฟอสฟอรัสจะถูกปล่อยและสร้างใหม่ในเนื้อเยื่อกระดูก พบว่าฟอสฟอรัสที่ส่วนเคลือบฟันแลกเปลี่ยนกับฟอสฟอรัส ในน้ำลาย และ ฟอสฟอรัสในส่วนเนื้อฟันจะแลกเปลี่ยนกับส่วนในเลือดที่มาเลี้ยง
...
การบริโภคฟอสฟอรัส
ฟอสเฟตดูเหมือนไม่ค่อยมีความสำคัญเพราะในอาหารที่มีแคลเซียมมักมีฟอสเฟตอยู่ด้วยเสมอ การบริโภคฟอสเฟตมากเกินไปจะขัด ขวางการทำงานของแคลเซียมได้ นมและผักใบเขียวมีแคลเซียมมากกว่าฟอสเฟต เนื้อ ปลา สัตว์ปีก มีฟอสเฟตมากแต่มีแคลเซียมน้อย เครื่อง ดื่มคาร์บอเนตหรือน้ำอัดลม (เช่น โค้ก เป๊บซี) มีฟอสฟอรัสอยู่มาก ดังนั้นผู้ที่ดื่มพวกนี้เป็นประจำควรดูแลเกี่ยวกับแคลเซียมด้วย

...
แหล่งอ้างอิง
สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย.
ปาหนัน บุญ-หลง. โภชนาการ. พิมพ์ครั้งที่ 4. เชียงใหม่: ปอง, 2530.
เสาวนีย์ จักรพิทักษ์. หลักโภชนาการปัจจุบัน. พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, 2532




 

Create Date : 02 เมษายน 2548    
Last Update : 2 เมษายน 2548 19:53:05 น.
Counter : 4184 Pageviews.  

ฟูลออไรด์

ฟูลออไรด์

ฟลูออไรด์ (Fluorine) เป็นสารประกอบของธาตุฟลูออรีน (f) ที่ไม่ใช่สารอาหารที่จำเป็นแก่ร่างกาย เพราะไม่มีผลต่อการเจริญเติบ โตของร่างกายและอื่น ๆ แต่ฟลูออไรด์สามารถลดอัตราการเกิดฟันผุ (dental caries) ได้ การใช้ฟลูออไรด์เสริมต้องระมัดระวัง เพราะอาจมีผลเสียต่อกระดูกในร่างกายได้
...
ฟลูออรีน
ฟลูออรีน (Fluorine) เป็นธาตุที่มีอยู่ทั่วไปในร่างกาย มีมากที่สุดในกระดูกและฟันโดยเฉพาะในส่วนเคลือบฟัน
...
หน้าที่ของฟลูออรีน ฟลูออรีนในน้ำดื่มจำนวนพอเหมาะจะช่วยป้องกันโรคฟันผุในเด็กได้ ถ้าเป็นระยะที่ฟันกำลังจะขึ้นหรือก่อนฟันขึ้นจะได้ผลมากที่สุด
...
แหล่งอาหารของฟลูออรีน อาหารที่มีมาก ได้แก่ ปลา ถั่วเมล็ดแห้ง ใบชา และในน้ำดื่ม ส่วนนม ผัก ผลไม้และเนื้อเสัตว์ มีฟลูออรีนอยู่น้อย น้ำที่มีฟลูออรีน 1 ส่วน ในล้านส่วนหรือลิตรละ 1-1.5 มิลลิกรัม จะช่วยป้องกันโรคฟันผุได้
ผลของการกินฟลูออรีนน้อย ถ้าเป็นระยะก่อนฟันขึ้นหรือฟันกำลังจะขึ้น อาจทำให้ฟันผุง่ายขึ้น
ผลของการกินมาก ฟลูออรีนในน้ำบริโภคปริมาณสูงกว่า 2 ส่วนในล้านส่วนจะทำให้เคลือบฟันเป็นจุด ถ้ากินอาหารมีฟลูออรีนสูงกว่า 20 ส่วนในล้านส่วน เคลือบฟันจะไม่เป็นเงาเปราะ (Fluorosis) เกิดอันตรายแก่กระดูกหรือฟลูออรีนอาจเข้าไปแทนที่ไอโอดีนในการสร้างธัย รอยด์ฮอร์โมนทำให้เกิดอันตรายได้
...
แหล่งอ้างอิง
สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย.
เสาวนีย์ จักรพิทักษ์. หลักโภชนาการปัจจุบัน. พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, 2532




 

Create Date : 02 เมษายน 2548    
Last Update : 2 เมษายน 2548 19:46:14 น.
Counter : 491 Pageviews.  

คลอไรด์

----------------------
คลอไรด์
----------------------
คลอไรด์เป็นเกลือแร่ตัวหนึ่งที่มีอยู่ในสารน้ำที่อยู่นอกเซลล์มากที่สุด ปกติเกลือแร่ในร่างกายจะอยู่ในน้ำและแตกตัวเป็นประจุ เราสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1. ชนิดที่มีประจุบวก ได้แก่ โซเดียม โปแตสเซียม แคลเซียม
2. ชนิดที่มีประจุลบ ได้แก่ คลอไรด์ ไบคาร์บอเนต


ปกติคลอไรด์มีบทบาทสำคัญที่เกี่ยวข้อง กับการทำงานของระบบต่างๆ ได้แก่
1. การปรับความสมดุลของน้ำในร่างกาย
2. การปรับความเป็นกรด - ด่างในร่างกาย
3. มีส่วนช่วยในระบบการควบคุมความดัน โลหิต
4. เป็นส่วนประกอบของกรดในกระเพาะ อาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการย่อย อาหารในร่างกาย เป็นต้น



ระดับปกติของคลอไรด์ในเลือด ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
Cl- = 98 - 106 มิลลิโมล / ลิตร


ภาวะที่มีระดับคลอไรด์ในเลือดต่ำ
1. อาเจียนรุนแรง
2. ท้องร่วงรุนแรง
3. ถูกไฟลวกรุนแรง
4. มีไข้สูง เป็นต้น

ภาวะที่มีระดับคลอไรด์ในเลือดสูง
1. ภาวะขาดน้ำ
2. กินอาหารที่มีรสเค็มจัด
3. ไตล้มเหลวเรื้อรัง
4. การได้รับน้ำเกลือทางหลอดเลือด
เป็นเวลานาน เป็นต้น

ร่างกายได้รับคลอไรด์จากอาหาร ผู้ใหญ่ควรได้รับปริมาณคลอไรด์ประมาณวันละ 700 มิลลิกรัม โดยทั่วไป ร่างกายมักจะได้รับคลอไรด์ในรูปของเกลือเป็นส่วนใหญ่ การ รับประทานอาหารที่มีความเค็มสูง พบว่ามีความ สัมพันธ์กับการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงและการรับประทานอาหารที่มีเกลือต่ำจะลดความเสี่ยงของการเกิด
ภาวะความดันโลหิตสูง

.....
แหล่งข้อมูล :
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์




 

Create Date : 02 เมษายน 2548    
Last Update : 2 เมษายน 2548 19:43:44 น.
Counter : 9889 Pageviews.  

โซเดียม

----------------------
โซเดียม
----------------------
โซเดียมเป็นเกลือแร่ตัวหนึ่งที่มีอยู่ในร่างกาย ปกติเกลือแร่ในร่างกายจะอยู่ในสารน้ำและแตกตัวเป็นประจุ เราสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1. ชนิดที่มีประจุบวก ได้แก่ โซเดียม โปแตสเซียม แคลเซียม
2. ชนิดที่มีประจุลบ ได้แก่ คลอไรด์ ไบคาร์บอเนต

ปกติโซเดียมมีบทบาทสำคัญที่เกี่ยวข้อง กับการทำงานของระบบต่างๆ ได้แก่
1. การปรับความสมดุลของน้ำในร่างกาย
2. การปรับความเป็นกรดด่างในร่างกาย
3. การควบคุมความดันเลือดในร่างกาย
4. ปฏิกิริยาชีวะเคมีต่างๆในร่างกาย
5. การทำงานของระบบกล้ามเนื้อและ ระบบประสาทในร่างกาย เป็นต้น


ระดับปกติของโซเดียมในเลือด ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ Na+ = 136 - 146 มิลลิโมล / ลิตร
ภาวะที่มีระดับโซเดียมในเลือดต่ำ ภาวะที่มีระดับโซเดียมในเลือดสูง
1. ท้องร่วงรุนแรง
2. อาเจียนรุนแรง
3. โรคไตเรื้อรัง
4. ถูกไฟลวกหรือน้ำร้อนลวก เป็นต้น 1. ภาวะขาดน้ำ
2. ได้รับน้ำเกลือเป็นเวลานาน
3. โรคท่อไตอักเสบ เป็นต้น

ร่างกายได้รับโซเดียมจากอาหาร ผู้ใหญ่ควรได้รับปริมาณโซเดียม ประมาณวันละ 500 มิลลิกรัม และไม่ควรเกินวันละ 2400 มิลลิกรัม

ตารางแสดงแหล่งอาหารที่มีโซเดียม

อาหาร ปริมาณโซเดียม
นม 120 มิลลิกรัม/ถ้วยตวง
ไข่ไก่ 162 มิลลิกรัม/ฟอง
เกลือ 120 มิลลิกรัม/ช้อนชา
ข้าวโพด 8 มิลลิกรัม/ถ้วยตวง
ข้าว 4 มิลลิกรัม/ถ้วยตวง

.......
แหล่งข้อมูล
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์




 

Create Date : 02 เมษายน 2548    
Last Update : 2 เมษายน 2548 19:37:22 น.
Counter : 881 Pageviews.  

1  2  3  

Charan
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Charan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.