Group Blog
 
All Blogs
 
แมกนีเซียม

แมกนีเซียม

แมกนีเซียมและสุขภาพของเส้นโลหิตแดง
-----------------------------------------
ดร.อัลทูร่า ให้ความเห็นว่า การมีระดับแมกนีเซียมในร่างกายสูง จะทำให้มีระดับโคเลสเตอรอลต่ำ เขากล่าวว่าเราอาจป้องกันการก่อต ัวของพล้าคที่พบตามผนังหลอดเลือดที่แข็งและเสื่อมด้วยการรับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียมสูง

เป็นที่รู้กันแล้วว่า การขาดแมกนีเซียมจะทำให้เลือดมีความโน้มเอียงที่จะแข็งตัวเพิ่มขึ้น ดร.อัลทูร่า กล่าวว่า "เนื่องจากแมกนีเซียมทำ ให้ปฏิกิริยาของเพลตเลตเกิดความสมดุลย์จึงพิจารณาได้ว่าแร่ธาตุชนิดนี้มีความเป็นไปได้สูงมากในการลดหรือป้องกันการเ กิดลิ่มในหลอดเลือดเข้าสู่หัวใจ ปอด และสมอง ซึ่งสามารถเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้"

เนื้อเยื่อของหลอดเลือดสมองมีความเข้มข้นของแมกนีเซียมมากกว่าเนื้อเยื่อในอวัยวะอื่น ๆ ถึง 2 เท่า และมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงค วามเข้มข้นของแมกนีเซียมมาก การขาดแมกนีเซียมทำให้หลอดเลือดหดตัวลงเช่นเดียวกับหลอดเลือดหัวใจ

การทดลอง : ดร.อัลทูร่า ได้วัดกรีของความตึงเครียดในหลอดเลือดแดงที่เข้าสู่สมองของสุนัข ขั้นแรกใช้สารละลายที่ไม่มีแมกนีเซียม ขั้นต่อมาให้สารละลายที่มีแมกนีเซียมสูง ปรากฏว่าถ้าไม่มีแมกนีเซียม ความตึงเครียดได้เกิดขึ้นกับหลอดเลือดแดงอย่างรวดเร็ว ในทางตรงกันข้ามพอให้แมกนีเซียมเข้าไปอย่างทันทีทันใด ความตึงเครียดในหลอดเลือดแดงในสมองก็ผ่อนคลายลงอย่างรวดเร็วเ ช่นกัน

ดร.อัลทูร่า ยังได้พบอีกว่า การหดตัวของหลอดเลือดในสมองที่เกิดจากสารอื่น ๆ เช่น ซีโรโทนิน และพรอสตาแกลนดิน จะผ่อนคลายลงอย่างง่ายดายแทบไม่น่าเชื่อเมื่อได้รับแมกนีเซียมเพิ่ม

ดร.อัลทูร่า แนะนำว่าการรักษาด้วยแมกนีเซียมให้ประโยชน์แก่สมองขาดเลือด (ischemia) และหลอดเลือดกระตุกโดยไม่ทราบสาเหตุ และมีประโยชน ์ในการป้องกันหลอดเลือดในสมองตีบตัน (อัมพาต) และการอุดตันของหลอดเลือดในสมองอีกด้วย
แมกนีเซียมอาจบรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรน


เป็นที่ทราบกันด้วยว่าอาการปวดศีรษะไมเกรน เกิดจากการกระตุก (spasm) ของหลอดเลือด ความจริงแล้วมักจะเกิดกับสตรีตั้งครรภ์ทั้งที่ตั้งครรภ์อ่อน ๆ หรือจวนจะคลอด ซึ่งเป็นเวลาที่ขาดธาตุแมกนีเซียม สตรีเหล่านี้อาจเป็นโรคครรภ์เป็นพิษ ซึ่งทำให้ชักได้ง่าย ซึ่งการวิจัยได้พบว่าเกิดจากการขาดแมกนีเซียม

น.พ.เค็นเน็ธ วีเวอร์ แห่งมหาวิทยาลัยอีสต์ เทนเนสซี่ ได้กล่าวว่าไมเกรนหายได้ด้วยแมกนีเซียม ในการศึกษาเรื่องนี้ เขาได้ทำการศึกษากับสตรี 500 คน ในจ ำนวนนี้มี 300 คนที่มีครรภ์และประมาณ 60 คนได้รับประทานยาคุมกำเนิดซึ่งมักจะทำให้เป็นโรคปวดศีรษะไมเกรน สตรีทั้ง 500 คน ปวดศีรษะไมเกรน ทุกคน และทุกคนเริ่มรับประทานแมกนีเซียมวันละ 200 มิลลิกรัมทุกวัน ทำให้สตรีเหล่านี้ 80 เปอร์เซ็นต์หายจากปวดศีรษะไมเกรนอย่างสมบูรณ์ ความจริงแล้ว การบรรเทาได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก คือพอรู้สึกว่าจะปวดศีรษะก็รีบรับประทานแมกนีเซียม อาการปวดก็หายไปในครึ่งชั่วโมง
การใช้โภชนาการกับโรคลมบ้าหมู


นักวิจัยที่ International Center for the Disabled (ICD) ที่นิวยอร์ค ได้พบว่าใน เซลล์เม็ดเลือดแดงในคนไข้โรคลมบ้าหมูจำนวนหนึ่งที่รักษาด้วยาไม่หาย< wbr>นั้นขาดแร่ธาตุแมกนีเซียม ดร.รอเบิร์ต ฟรีค ได้รายงานว่า ด้วยการใช้ไบโอฟีดแบ็ค, ควบคุมการบริหารการหายใจ และรับประทานอาหารที่ไม่มีนม น้ำตาล กาแฟ และแอลกอฮอล์มากเกินไป ก็สามารถลดการเป็นโรคลมบ้าหมูลงจากสัปดาห์ละ 5 ครั้ง เหลือเดือนละครั้งหรือไม่เป็นเลยเป็นเ วลาหลายเดือนเป็นครั้งแรกในหลายปีที่ผ่านมา

นักวิจัยกล่าวว่า เขาได้วางแผนว่าจะเสริมแมกนีเซียมเข้าไปในอาหารของคนไข้ ด้วยความหวังว่าจะช่วยให้คนไข้ของเขาเป็ นโรคนี้น้อยลง
การขาดแมกนีเซียมที่แท้จริง


แพทย์ได้มองข้ามการขาดแมกนีเซียมไปใช่หรือไม่?

เมื่อ 15-20 ปีที่ผ่านมา การขาดแมกนีเซียมถือว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นยาก แต่ปัจจุบันนี้นักวิจัยเกี่ยวกับแมกนีเซียมพูดว่า การขาดแมกนีเซียมได้แพร่หลายไปมากกว่าที่แพทย์ส่วนมากรู้

ดร.อัลทูร่า กล่าวว่า"สถิติทางด้านโภชนาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งของซีกโลกตะวันตกบ่งชี้ว่า การได้รับแมกนีเซียมจากอาหารได้ลดลงเรื่อย ๆ จนคนเป็นจำนวนมากอยู่ในภาวะที่ "จวนเจียนจะขาดอยู่แล้ว" การวิจัยที่มหาวิทยาลัยเทนเนสซี่ ที่น็อกซ์วิลล์ ได้พบว่าสตรีมีคร รภ์มีธาตุแมกนีเซียมในร่างกายน้อยกว่าที่ทางการแนะนำ 60 เปอร์เซ็นต์ หรือน้อยกว่า น.พ.วีเวอร์ ได้คาดไว้ อย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ของสตรีวัยสาวที ่เขาพบจะขาดแมกนีเซียม ดร.ชีแฮน ก็เชื่อว่าครึ่งหนึ่งของคนสูงอายุที่เขาทำการรักษาอยู่ขาดธาตุแมกนีเซียม

ดร.ชีแฮน กล่าวว่า แพทย์ส่วนมากไม่ค่อยนึกถึงการขาดแมกนีเซียม ตัวอย่างเช่นคนไข้ที่เขาพบ แพทย์ที่เขารักษาอยู่ มักจะทึกทักเอาว่าอาการอ่อนเพลีย หัวใจเต้นไม่สม่ำสเมอ และเครียด เป็นผลที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ของโรคต่าง ๆ เช่น หัวใจล้มเหลวเพราะเลือดคั่ง คน ไข้ที่หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอนั้นเขาได้ใช้แมกนีเซียมรักษาให้หายได้ ไม่มีแพทย์คนไหนเลยที่รักษาคนไข้เหล่านี้ยอมรับร ายงานจากห้องทดลองที่บอกว่ามีระดับแมกนีเซียมต่ำหรือรักษาคนไข้ด้วยแมกนีเซียม

เหตุผลที่คนปัจจุบันขาดแมกนีเซียมมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็เพราะว่า คนมีอายุยืนขึ้นและมีชีวิตอยู่ได้ทั้ง ๆ ที่มีโรคประจำตัวเรื้อ รังอยู่ด้วยการใช้ยาต่าง ๆ เช่น ยาขับน้ำ ยาดิจิแทลลิส ยาปฏิชีวนะ การรักษาด้วยสารเคมีซึ่งล้วนทำให้ขาดแมกนีเซียมทั้งสิ้น

สาเหตุใหญ่ของการขาดแมกนีเซียมคือโภชนาการที่ไม่ได้ ซึ่งเราสามารถแก้ไขได้ทาง RDA ของสหรัฐฯ แนะนำให้ได้รับแมกนีเซียมวันละ 270 ถ ึง 400 มิลลิกรัม และนักวิจัยหลายคนบอกว่าปริมาณนี้ต่ำเกินไป

อาหารที่มีธาตุแมกนีเซียมมากได้แก่ นัทต่าง ๆ (ที่หาง่ายก็ได้แก่ถั่วลิสง มะม่วงหิมพานต์ อัลม่อนด์) ส่วนแอลกอฮอล์ ไขมัน และโปรตีนปริมาณสูงจะขับแมกน ีเซียมออกจากร่างกาย และแมกนีเซียมก็ทำงานอย่างใกล้ชิดกับแคลเซียม เราจะต้องได้รับแคลเซียมมากกว่าแมกนีเซียม 1 1/2เท่า การรักษาด้วยแมกนีเซียมจะได้ผลอย่างเต็มที่จะต้องได้รับไวตามิน บี 6 อย่างเพียงพอด้วย

อาหารที่มีแมกนีเซี่ยมมาก
อาหาร ปริมาณ แมกนีเซียม (ม.ก.)
แป้งถั่วเหลืองสด 1/2 ถ้วย 180
เต้าหู้สด 1/2 ถ้วย 127
อับม่อนด์แห้ง 1/4 ถ้วย 105
Black-eyed peas แห้ง 1/4 ถ้วย 98
ถั่วเหลืองคั่ว 1/4 ถ้วย 98
วีทเจอมอบ 1/4 ถ้วย 91
มะม่วงหิมพานต์อบ 1/4 ถ้วย 89
ผักพวยเล้งสุก 1/2 ถ้วย 79
ถั่วเหลืองต้ม 1/2 ถ้วย 74
แป้งสาลีไม่ขัดขาว (โฮลวีท) 1/2 ถ้วย 68
ถั่วลิสงทุกชนิด (คั่ว) 1/4 ถ้วย 64
ข้าวโอ๊ต 1 ถ้วย 56
มันฝรั่งขนาดกลาง (ปิ้ง) 1 หัว 55
กล้วย 1 ใบ 35
ปลาแซลม่อนกระป๋อง 1/2 ออนซ์ 33
ข้างกล้อง (สุก) 1 ถ้วย 28
นมไม่มีไขมัน 1/2 ถ้วย 28


--------------------------------------------------------------------------------

พ.อ.หญิง ศรีนวล เจียจันทร์พงษ์ แปลและเรียบเรียงจากเรื่อง The Health Power of Magnesium : AMedical Roundup หนังสือ The Complete Book of Vitamins and Minerals for Health และ
ศรีนวล เจียจันทร์พงษ์ คอลัมภ์เรื่องยาวประจำฉบับ อาหาร & สุขภาพ ปีที่ 8 ฉบับที่ 57 พ.ศ. 2538 หน้า 50-53


บทบาทของแมกนีเซียมต่อสุขภาพ


ร่างกายจะสะสมแมกนีเซียมไว้ที่กระดูกและจะดึงออกมาใช้ในยามที่ต้องการ โดยเฉพาะปฏิกิริยาบางอย่างซึ่งมีความสำคัญต่อร่างกาย แมกนีเซียมจะทำหน้าที่ในทุกเซลล์ของเนื้อเยื่ออ่อน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างโปรตีน และจำเป็นต่อการปล่อยพลังงานออกมา บทบาทที่เด่นชัดของแมกนีเซียมคือ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการสังเคราะห์สารที่เป็นตัวนำพลังงานในเซลล์

นอกจากนี้ แมกนีเซียมยังช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวหลังจากการหดตัว ช่วยเป็นสื่อนำกระแสประสาท ต่อต้านฟันผุโดยช่วยให้แคลเซียมจับที่เคลือบฟัน และทำหน้าที่อื่น ๆ อีกหลายอย่าง

การขาดแมกนีเซียมอาจเกิดขึ้นได้ หากกินอาหารที่มีแมกนีเซียมไม่เพียงพอ การอาเจียน อุจจาระร่วง โรคแอลกอฮอลิซึม หรือภาวะการขาดโปรตีน ผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่ได้รับอาหารทางเส้นเลือดนานเกินไป หรือผู้ที่ใช้ยาขับปัสสาวะ สิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาล้วนทำให้เกิดการขาดแมกนีเซียมได้ การขาดแมกนีเซียมจะทำให้มีอาการอ่อนเพลีย สับสน การหลั่งฮอร์โมนที่ ตับอ่อนจะลดลง ถ้าขาดมาก ๆ กล้ามเนื้อจะหดเกร็งอย่างรุนแรงโดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่ตาและบริเวณหน้า เกิดอาหารหลอน และกลืนลำบาก

มีรายงานว่า คนที่ดื่มน้ำที่มีแมกนีเซียมในปริมาณที่พอเหมาะ จะมีอัตราการตายจาก หัวใจล้มเหลวน้อยกว่าคนที่ขาดแมกนีเซียม ทั้งนี้สันนิษฐานว่า การขาดแมกนีเซียมทำให้หัวใจไม่สามารถที่จะหยุดอาการชักกระตุกเมื่ออาการดังกล่าวเกิดขึ้น ดังนั้น เพื่อสุขภาพที่ดีจึงควรกินอาหารที่มีแมกนีเซียมให้เพียงพอ เช่น ถั่วเมล็ดแห้ง ธัญพืช ผักสีเขียวเข้ม อาหารทะเล เป็นต้น
--------------------------------------------------------------------------------
โดย โครงการเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อมวลชนสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย เดลินิวส์ หน้า 10
--------------------------------------------------------------------------------
แมกนีเซียม
ร่างกายคนผู้ใหญ่มีแมกนีเซียม (Magnesuim) ประมาณ 20-25 กรัม ซึ่งในจำนวนนี้จะอยู่ในโครงกระดูก 50-60% และประมาณ 1 ใน 3 รวมอยู่กับฟอสเฟต แมกนีเซียมมักอยู่ในของเหลวที่อยู่ภายในเซลล์ (Intracellular fluid) เช่นเดียวกับโปรแตสเซียม ประมาณร้อยละ 35 ของแมกนีเซียมในน้ำเลือดจะรวมอยู่กับโปรตีน เด็กแรกเกิดมีแมกนีเซียมต่ำ เมื่อโตขึ้นจะมีแมกนีเซียมมากขึ้น
...
หน้าที่ของแมกนีเซียม
1. มีส่วนควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อเช่นเดียวกับแคลเซียม
2. ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่จำเป็นสำหรับการเผาผลาญสารอาหาร และการสังเคราะห์โปรตีน
3. มีส่วนเกี่ยวข้องกับการต้านทานความหนาว ในที่อากาศเย็น ความต้องการแมกนีเซียมจะสูงขึ้น
...
การดูดซึม
การดูดซึมเริ่มในลำไส้เล็ก ร่างกายจะดูดซึมไว้ได้ประมาณ 43% ของแมกนีเซียมในอาหารที่รับประทานเข้าไปและอัตราการดูดซึมนี้ จะเปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณของแมกนีเซียม
การขับถ่ายของแมกนีเซียมถูกควบคุมด้วย aldosterone สูญเสียทางเหงื่อสูงสุดถึงวันละ 15 มิลลิกรัม การอาเจียนก็เป็นเหตุให้สูญ เสียแมกนีเซียม เพราะในน้ำย่อยอาหารมีสารนี้อยู่สูงมาก
...
ปริมาณที่ควรรับประทาน
ขณะนี้ยังไม่ทราบความต้องการที่แน่นอน ชายผู้ใหญ่อาจต้องการประมาณวันละ 200-300 มิลลิกรัม เด็กหญิงอายุ 7-9 ปี ต้องการ ประมาณวันละ 120-230 มิลลิกรัม หญิงมีครรภ์ประมาณวันละ 450 มิลลิกรัม อาหารทั่วไปมีแมกนีเซียมประมาณ 300-800 มิลลิกรัม ซึ่งถือ ว่าเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
...
การขาดแมกนีเซียมและได้รับแมกนีเซียมมากเกินไป
ภาวะที่ร่างกายมีปริมาณของแมกนีเซียมในเลือดต่ำกว่าปกตินาน 100 วันขึ้นไปมักแสดงอาการผิดปกติเกี่ยวกับการย่อยอาหารและการ ทำงานของระบบประสาทภาวะการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อจะเปลี่ยนไปทำให้ไม่สามารถควบคุมการทำงานของประสาทต่อกล้ามเนื้อ ได้จะมีอาการสั่นกระตุกและชักคล้ายการขาดแคลเซียม (แคลเซียมในเลือดมักต่ำด้วย)ได้ พบในผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังเพราะแอลกอฮอล์ส่ง เสริมการขับแมกนีเซียมออกจากร่างกาย เด็กที่เป็นโรคขาดโปรตีน และคนไข้ที่อดอาหารเป็นเวลานานหลังการผ่าตัด
ส่วนการกินแมกนีเซียมมากไปยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับโทษ แต่มีผู้รายงานว่าอาหารที่มีแมกนีเซียมสูงอาจช่วยป้องกันโรคหัวใจและ หลอดเลือดตีบได้
...
แหล่งอาหารที่ให้แมกนีเซียม
แมกนีเซียมมีอยู่ทั่วไปในอาหารที่มาจากพืชและสัตว์ และเป็นส่วนประกอบของรงควัตถุสีเขียวหรือคลอโรฟิลล์ในพืช ผลไม้เปลือกแข็ง มีแมกนีเซียมมากกว่าพืชอย่างอื่น อาหารที่มีกรดออกซาลิกและไฟติกทำให้เสียแมกนีเซียมได้เช่นเดียวกับแคลเซียม
...
ตาราง ปริมาณแมกนีเซียมในอาหาร
อาหาร มิลลิกรัม ต่ออาหารที่กินได้ 100 กรัม
ผลไม้เปลือกแข็ง 200-300
ถั่วเมล็ดแห้ง 175-250
ธัญพืช (เมล็ดข้าวที่ยังไม่ได้สี) 150-300
ผักใบเขียว 40-100
ผักสีเหลืองและแสด ผักอื่น ๆ 15-30
ผลไม้แห้ง 30-70
ผลไม้สด 10-15
เนื้อสัตว์และผลิตผลจากสัตว์ 10-40

...
แหล่งอ้างอิง
สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย.
ปาหนัน บุญ-หลง. โภชนาการ. พิมพ์ครั้งที่ 4. เชียงใหม่: ปอง, 2530.
เสาวนีย์ จักรพิทักษ์. หลักโภชนาการปัจจุบัน. พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, 2532.

--------------------------------------------------------------------------------
แมกนีเซียมคืออะไร
--------------------------------------------------------------------------------
แมกนีเซียม เป็นสารอาหารประเภทเกลือแร่ (Mineral) ชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มเกลือแร่ที่มีมากในร่างกาย (Macronutrients หรือ Principal elements) ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะในโครงสร้างกระดูกมีธาตุ แมกนีเซียม เป็นองค์ประกอบประมาณ 25 กรัม หรืออาจมากกว่านี้ และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ต่างๆ กล้ามเนื้อ สมองและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่างๆ แมกนีเซียม ส่วนใหญ่ในร่างกาย (60-70%) พบในกระดูก ส่วนที่เหลืออีก 30% พบในเนื้อเยื่ออ่อนและของเหลวในร่างกาย แมกนีเซียม มักอยู่ในของเหลวที่อยู่ภายในเซลล์ (Intracellular fluid) เช่นเดียวกับโพแทสเซียม ประมาณร้อยละ 35 ของแมกนีเซียมในเลือดจะรวมอยู่กับโปรตีน เด็กแรกเกิดมี แมกนีเซียม ต่ำ และเมื่อโตขึ้นจะมี แมกนีเซียม มากขึ้น

แมกนีเซียม เป็นโคแฟกเตอร์ (Co-factor) ที่สำคัญของเอ็นไซม์ในร่างกายไม่น้อยกว่า 300 ชนิด เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีนต่างๆ ในร่างกาย และเป็นเกลือแร่ที่มีโอกาสขาดได้ง่ายรองจาก แคลเซียม หากร่างกายได้รับไม่เพียงพอจะมีโอกาสเป็น โรคหัวใจ มากขึ้น แมกนีเซียม ยังทำหน้าที่ในการส่งผ่านกระแสประสาท จึงช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวกับสมองได้ เช่น ซึมเศร้า ไมเกรน เครียด เป็นต้น และมีหน้าที่สำคัญอีกอย่างคือเป็นตัวช่วยในการสะสม แคลเซียม เข้ากระดูก และลดความรุนแรงของ โรคหัวใจ วายเรื้อรัง

แต่เป็นที่น่าเสียดายที่มีน้อยคนมากๆ ที่จะได้รับ แมกนีเซียม อย่างเพียงพอต่อวันจากอาหารที่รับประทานเข้าไป เนื่องจากอาหารที่ปรุงส่วนใหญ่จะมีแร่ธาตุนี้อยู่น้อย การรับยาบางชนิดก็ส่งผลให้เกิดขาดแร่ธาตุ แมกนีเซียม อีกทั้งโรคบางชนิดเช่น เบาหวาน โรคติดเหล้า ก็ส่งผลให้เกิดการขาดแร่ธาตุ แมกนีเซียม ได้เช่นกัน

ดังนั้นการรับประทานในรูปแบบอาหารเสริมก็จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าร่างกายได้รับ แมกนีเซียม อย่างเพียงพอ ซึ่งเราจะพบ แมกนีเซียม ในรูปแบบต่างๆ มากมาย เช่น แมกนีเซียมซิเตรด แมกนีเซียมแอสพาเตรด แมกนีเซียมคาร์บอเนต แมกนีเซียมกลูคอเนต แมกนีเซียมออกไซต์ และแมกนีเซียมซัลเฟต

หน้าที่และประโยชน์
แมกนีเซียม เปรียบเสมือนคนงานที่ทำงานแบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพียงเพื่อจะสังเคราะห์โปรตีนให้ร่างกาย และเป็นโคเอนไซม์ที่สำคัญที่สุดชนิดหนึ่งในร่างกายที่จะทำงานร่วมกับ แคลเซียม อันเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในระบบต่างๆ ของร่างกาย แมกนีเซียม ยังช่วยให้การผลิตฮอร์โมนต่างๆ เป็นปกติ มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและเซลล์ต่างๆ มีผลต่อการทำงานของระบบประสาท ระบบย่อยอาหาร ระบบสืบพันธุ์ ระบบเลือด และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยหน้าที่และประโยชน์ของ แมกนีเซียม มีดังนี้

1. มีส่วนควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อเช่นเดียวกับ แคลเซียม โดยจำเป็นสำหรับการส่งสัญญาณทางประสาทและการหดตัวของกล้ามเนื้อ
2. ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่จำเป็นสำหรับการเผาผลาญสารอาหาร และการสังเคราะห์โปรตีน
3. ช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย มีส่วนเกี่ยวข้องกับการต้านทานความหนาว ในที่อากาศเย็น ความต้องการแมกนีเซียมจะสูงขึ้น
4. จำเป็นสำหรับการเติบโตของกระดูกและฟัน
5. สำคัญในการนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ของวิตามิน บี ซี และ อี
6. จำเป็นสำหรับการเผาผลาญแคลเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม และโพแทสเซียม
7. อาจป้องกันโรคทางหลอดเลือดหัวใจ โดยจะไปลดความดันเลือดลง และป้องกันการเกาะของโคเลสเตอรอลในหลอดเลือดแดง ช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ
8. ช่วยในการควบคุมสมดุลของกรด-ด่างในร่างกาย
9. อาจทำหน้าที่เป็นตัวยาสงบประสาทตามธรรมชาติ ช่วยบรรเทาอาการปวดไมเกรน และลดความถี่ในการเกิดได้ ลดอาการซึมเศร้า และช่วยให้นอนหลับโดยเป็นตัวที่ช่วยในการสร้างสารเมลาโตนิน
10.ป้องกันไม่ให้ แคลเซียม จับตัวอยู่ตามอวัยวะต่างๆ เช่น ไต
11.จำเป็นต่อการรวมตัวของ parathyroid hormone ซึ่งมีบทบาทในการดึงเอาแคลเซียมออกจากกระดูก
12.ป้องกันการแข็งตัวของเลือด
13.ลดอาการปวดเค้นหน้าอกในผู้ป่วย โรคหัวใจ
14.ป้องกันและรักษาโรคหอบหืด
15.บรรเทาและป้องกัน อาการปวดประจำเดือนโดยการคลายกล้ามเนื้อมดลูก
16.การรับประทา นแมกนีเซียม จะช่วยลดการเกิดตะคริวในหญิงมีครรภ์ที่มีระดับของ แมกนีเซียม ต่ำได้
17.ช่วยป้องกันการเกิดอาการ ไมเกรน คนที่มีปัญหาโรค ไมเกรน มักจะมีปริมาณ แมกนีเซียม ในเลือดต่ำ
18.ช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวกับสมองได้ เช่น ซึมเศร้า ไมเกรน เครียด

การควบคุมความดันโลหิต
อย่างที่เราทราบหากเราลดความดันลงมา ความเสี่ยงต่ออาการหัวใจกำเริบหรืออาการหัวใจวายก็จะลดลงไปด้วย แมกนีเซียมจะไปช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจคลายตัวลงร่วมกับมันยังไปช่วยปรับสมดุลของโปตัวเซียมกับโซเดียมในเลือดให้สมดุล ส่งผลให้ความดันโลหิตลดลงตามไปด้วย มีการศึกษาเมื่อไม่นานนี้เองในชายหญิงจำนวน 60 คนที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง พบว่าแมกนีเซียมทำให้ทั้งความดัน Systolic และ Diastolic ลดลง ทั้งนี้โดยปกติ แมกนีเซียมจะรับประทานควบคู่กับ แคลเซียม เพื่อประโยชน์ในการควบคุมความดันโลหิต แมกนีเซียม ป้องกัน แคลเซียม จับตัวอยู่ตามผนังหลอดเลือดจึงป้องกันอาการหลอดเลือดแข็งตัว รักษาความดันโลหิตให้เป็นปกติ

การป้องกันโรคหัวใจ
การที่กล้ามเนื้อหดตัวเป็นผลมาจาก แคลเซียม เข้าไปอยู่ภายในเซลล์กล้ามเนื้อ เนื่องจากมีความเครียดเข้ามากระตุ้น และตัวที่จะควบคุมการเคลื่อนไหวของ แคลเซียม นี้ก็คือ แมกนีเซียม เมื่อ แมกนีเซียม ไม่พอ แคลเซียม จะไหลเข้าไปในเซลล์กล้ามเนื้อมากเกินไป จนเป็นเหตุให้การหดตัวของกล้ามเนื้อไม่ปกติ เกิดอาการสั่น เป็นตะคริว หากผนังหลอดเลือดเกิดเป็นตะคริว จะทำให้เกิดโรคหัวใจตีบ หลอดเลือดหัวใจแข็งตัว เป็นต้น

ป้องกันโรคกระดูกพรุน
แมกนีเซียม จะช่วยในการสร้าง วิตามินดี ในรูปแบบที่ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้ ในการสร้างเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูกและฟัน ทำให้กระดูกและฟันมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น จึงช่วยทำให้ขยายระยะเวลาในการเสื่อมของกระดูกให้ยืดนานออกไป

แคลเซียม vs. แมกนีเซียม
หน้าที่ของ แมกนีเซียม ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการเป็นตะคริว คือ แมกนีเซียม มีส่วนควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อเช่นเดียวกับ แคลเซียม โดยจำเป็นสำหรับการส่งสัญญาณทางประสาทและการหดตัวของกล้ามเนื้อ ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวหลังจากการหดตัว การที่กล้ามเนื้อหดตัวเป็นผลมาจาก แคลเซียม เข้าไปอยู่ภายในเซลล์กล้ามเนื้อ เนื่องจากมีความเครียดเข้ามากระตุ้น และตัวที่จะควบคุมการเคลื่อนไหวของ แคลเซียม นี้ก็คือ แมกนีเซียม เมื่อ แมกนีเซียมไม่พอ แคลเซียม จะไหลเข้าไปในเซลล์กล้ามเนื้อมากเกินไป จนเป็นเหตุให้การหดตัวของกล้ามเนื้อไม่ปกติ เกิดอาการสั่น ถ้าขาดมากๆ กล้ามเนื้อจะหดเกร็งอย่างรุนแรง และเป็นตะคริวได้ ด้านอารมณ์จะรู้สึกหงุดหงิด สับสน ตื่นเต้นง่าย หากผนังหลอดเลือดเกิดเป็นตะคริว จะทำให้เกิดโรคหัวใจตีบ หลอดเลือดหัวใจแข็งตัว เป็นต้น แมกนีเซียมป้องกันแคลเซียมจับตัวอยู่ตามผนังหลอดเลือดจึงป้องกันอาการหลอดเลือดแข็งตัว รักษาความดันโลหิตให้เป็นปกติ

ในโลกของแร่ธาตุตามธรรมชาติ แคลเซียม และ แมกนีเซียม ต้องทำหน้าที่ร่วมกันโดยจะแยกออกจากกันมิได้ แมกนีเซียม ช่วยร่างกายในการดูดซึม แคลเซียม และ แคลเซียม ก็มีความสำคัญอย่างใหญ่หลวงต่อร่างกายในการย่อยสลาย แมกนีเซียม แคลเซียม นั้นไม่เพียงแต่ทำหน้าที่สร้างเสริมกระดูกให้แข็งแรงเท่านั้น แต่ยังช่วยป้องกันภาวะกระดูกเปราะ กระดูกพรุน และยังช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตบำรุง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ ป้องกันการหดตัวของกล้ามเนื้อและกระบวนการการทำงานของอวัยวะที่สำคัญอื่นๆของร่างกาย ในขณะที่ แมกนีเซียม จะช่วย แคลเซียม สร้างเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูก ควบคุมการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อให้อยู่ในระดับปกติ ป้องกันการเป็นตะคริว กระตุ้นระบบประสาทควบคุมการใช้น้ำตาลของร่างกาย รวมถึงช่วยให้ร่างกายผลิตโปรตีนอันเป็นปัจจัยสำคัญในการบำรุงกล้ามเนื้อ และเซลล์ต่างๆ นอกจากนั้นยังควบคุมมิให้ระบบการหดตัวของหลอดเลือดทำงานผิดปกติทำให้เลือดในหลอดเลือดไหลได้สะดวก และหากสาเหตุของการเป็นตะคริวเกิดจากภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ หรือสตรีมีครรภ์ที่มีระดับของแคลเซียมในเลือดต่ำ และควรจะบริโภค แคลเซียม เสริม ก็ควรจะบริโภค แมกนีเซียม เสริมด้วย เนื่องจาก แคลเซียม และ แมกนีเซียม จำเป็นต้องทำงานร่วมกัน

ในการรับประทาน แมกนีเซียม ควรควบคุมปริมาณของ แคลเซียม ควบคู่ไปด้วย โดยอัตราส่วนของ แคลเซียม ต่อ แมกนีเซียม ในอุดมคติ ได้แก่ 2 ต่อ 1 ถึง 3 ต่อ 1 ปริมาณ แคลเซียม ที่ได้รับต่อวัน ควรจะอยู่ประมาณ 600 มก. แมกนีเซียม 300 มก. แต่ในความเป็นจริง คนส่วนใหญ่ได้รับ แมกนีเซียม เพียง 150-300 มก. ในขณะที่ แคลเซียม มีผู้หันมาบริโภคมากขึ้นเพื่อป้องกันโรคกระดูก ในผู้สูงอายุนั้นควรใส่ใจกับปริมาณของ แมกนีเซียม ด้วยเช่นกัน ผู้ดื่มนมในปริมาณมาก ควรหันมาบริโภค แมกนีเซียม ให้มากขึ้น หากได้รับ แคลเซียม มากเกินไป จะไปขัดขวางการดูดซึม แมกนีเซียม ในร่างกาย

สาเหตุหนึ่งของการเกิดตะคริว ได้แก่ การที่ร่างกายเสียสมดุลระหว่างแร่ธาตุ แคลเซียม และ แมกนีเซียม และ/หรือ ขาด วิตามินอี ดังนั้นจึงควรจะรับประทาน แมกนีเซียม และ แคลเซียม ให้สมดุลกัน โดยอัตราส่วนของ แคลเซียม ต่อ แมกนีเซียม ในอุดมคติ ได้แก่ 2 ต่อ 1 ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว โดยอาหารที่มี แคลเซียม มากได้แก่ นม ผักใบเขียว งา กุ้งแห้ง ปลาเล็กปลาน้อยที่กินทั้งกระดูก เป็นต้น ส่วนอาหารที่มี แมกนีเซียม สูง ได้แก่ ผลไม้เปลือกแข็ง ถั่วเมล็ดแห้ง ธัญพืช (เมล็ดข้าวที่ยังไม่ได้สี) และผักใบเขียว เป็นต้น

ขนาดรับประทาน
มาตรฐานกำหนด (ที่มา : //www.fda.moph.go.th/fda-net
ผลของการรับประทาน แมกนีเซียม ไม่เพียงพอ
จากการทดลองกับสัตว์พบว่า ถ้าให้อาหารที่มี แมกนีเซียม ต่ำเป็นเวลานานจะทำให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาท กล้ามเนื้อ ไต หัวใจ และหลอดเลือด คนสูงอายุที่กินอาหารไม่มีแมกนีเซียมนาน 100 วันขึ้นไป มักแสดงอาการผิดปกติเกี่ยวกับการย่อยอาหาร และการทำงานของระบบประสาท อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบปัญหาการขาดแมกนีเซียมในคนปกติ ผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง เด็กที่เป็นโรคขาดโปรตีน และคนไข้ที่อดอาหารเป็นเวลานานหลังการผ่าตัดอาจมีอาการขาด แมกนีเซียม ได้ คนพวกนี้มักมี แมกนีเซียม ในเลือดต่ำ และมีอาการชักคล้ายการขาด แคลเซียม (แคลเซียม ในเลือดมักต่ำด้วย)

การขาด แมกนีเซียม จะมีผลทำให้ภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายต่ำลง ระบบกล้ามเนื้อและระบบการย่อยอาหารจะทำงานผิดปกติ ระบบประสาทจะถูกทำลาย และประสาทรับรู้อาการเจ็บปวดจะไวขึ้น กระดูกอ่อนจนร่างกายรับน้ำหนักไม่ไหว และร่ายกายจะสร้างโปรตีนทดแทนไม่ได้ตามปกติ นอกจากนี้การขาด แมกนีเซียม จะทำให้ร่างกายเก็บสะสมพลังงานไว้ไม่ได้ สังเคราะห์ฮอร์โมนเพศไม่ได้ เลือดแข็งตัวช้า

สาเหตุของการขาดแมกนีเซียม
ความเครียดทำให้ แมกนีเซียม ถูกใช้มากขึ้นหลายเท่า เนื้อและอาหารที่ผ่านกรรมวิธีปรุงแต่ง น้ำอัดลม ล้วนแต่มีส่วนผสมของฟอสฟอรัสมากซึ่งจะไปขัดขวางการดูดซึม แมกนีเซียม การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก การใช้ยาขับปัสสาวะก็มีส่วนทำให้ขาดแมกนีเซียมได้เช่นกัน รวมทั้งผู้ที่เป็นโรค เบาหวาน มีโอกาสขาด แมกนีเซียม ได้ง่าย

การดูดซึมจะถูกควบคุมด้วยพาราธัยรอยด์ ฮอร์โมน และจำนวนของ แคลเซียม และฟอสฟอรัสในอาหาร กรดไฟติกที่พบในข้าวอาจป้องกันการดูดซึมของ แมกนีเซียม อัลโดสเตอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนหลั่งจากต่อมแอดรีนัลจะคอยควบคุมจำนวนของ แมกนีเซียม ที่ถูกขับออกมาทางปัสสาวะ ยาขับปัสสาวะและการดื่มเหล้าจะเพิ่มจำนวนของ แมกนีเซียม ที่สูญเสียไปทางปัสสาวะ การได้รับฟลูออไรด์หรือสังกะสีปริมาณมากๆ จะไปเพิ่มการขับถ่าย แมกนีเซียม ทางปัสสาวะให้มากขึ้นเช่นกัน

ผลการรับประทานแมกนีเซียมมากเกินไป
ขณะนี้ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับโทษของการรับประทาน แมกนีเซียม มากไป มีผู้รายงานว่าอาหารที่มี แมกนีเซียม สูงอาจช่วยป้องกัน โรคหัวใจ และหลอดเลือดตีบได้

ในกรณีปกติหากได้รับ แมกนีเซียม มากเกินไป ไตจะทำการขับออกนอกร่างกาย แต่ในคนที่เป็นโรคไต แมกนีเซียม ที่มากเกินไปอาจไม่ถูกขับออกมาอย่างพอเพียง จึงทำให้เกิดอาการเป็นพิษ คือ ท้องร่วง และอัตราส่วนของ แคลเซียม-แมกนีเซียม ไม่สมดุล เป็นผลให้เกิดการซึมเศร้าเนื่องจากระบบประสาทกลาง

การรับประทานแมกนีเซียม
แนะนำให้รับประทาน แมกนีเซียม เป็นอาหารเสริมประมาณวันละ 300 มก. และควรรับประทาน แมกนีเซียม ที่ไม่มีผลทำให้เกิดอาการถ่ายเหลว เช่น แมกนีเซียม ออกไซด์ และ แมกนีเซียม ฟอสเฟต ซึ่งร่างกายจะได้รับธาตุฟอสฟอรัส ช่วยในการสร้างความหนาแน่นของกระดูก

ข้อควรระวังในการรับประทาน แมกนีเซียม คือ ควรควบคุมปริมาณของ แคลเซียม ควบคู่ไปด้วย โดยอัตราส่วนของ แคลเซียม ต่อ แมกนีเซียม ในอุดมคติ ได้แก่ 2 ต่อ 1 ถึง 3 ต่อ 1 ปริมาณ แคลเซียม ที่ได้รับต่อวัน ควรจะอยู่ประมาณ 600 มก. แมกนีเซียม 300 มก. แต่ในความเป็นจริง คนส่วนใหญ่ได้รับ แมกนีเซียม เพียง 150-300 มก. ในขณะที่ แคลเซียม มีผู้หันมาบริโภคมากขึ้นเพื่อป้องกันโรคกระดูก ในผู้สูงอายุนั้นควรใส่ใจกับปริมาณของ แมกนีเซียม ด้วยเช่นกัน ผู้ดื่มนมในปริมาณมาก ควรหันมาบริโภค แมกนีเซียม ให้มากขึ้น หากได้รับ แคลเซียม มากเกินไป จะไปขัดขวางการดูดซึม แมกนีเซียม ในร่างกาย

แมกนีเซียมเหมาะสำหรับใคร

► ผู้มีความเครียดสูง

► ผู้ที่มือเท้าชาบ่อยๆ หรือเป็นตะคริวบ่อยๆ

► ผู้ที่เป็นโรคลมบ้าหมู (ควรปรึกษาแพทย์)

► ผู้ที่ทานนม อาหารปรุงแต่ง น้ำอัดลม เหล้า ในปริมาณมาก

► ผู้ป่วยที่ทานยาขับปัสสาวะ

► ผู้ที่ต้องการป้องกันตนเองจากความดันโลหิตสูง หลอดเลือดแข็งตัว โรคหัวใจ นิ่วในไต โรคกระดูก osteoporosis

► ผู้สูงอายุ เพื่อบำรุงร่างกาย ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และเสริมสร้างกระดูก



Create Date : 02 เมษายน 2548
Last Update : 2 เมษายน 2548 18:21:17 น. 0 comments
Counter : 1213 Pageviews.

Charan
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Charan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.