your enjoyable TENTarized knowledge :)
เข้าไปถามคำถามในเฟซบุคที่จะสะดวกตอบกว่านะ ^^

เฉลย: เซลล์และกล้องจุลทรรศน์

เฉลยเรื่อง เซลล์และกล้องจุลทรรศน์

ตอนที่ 1
1. ถูก ภาพจาก compound light microscope ในห้องแล็บเป็นภาพเสมือนหัวกลับเมื่อเทียบกับวัตถุ
2. ผิด ไวรัสไม่ประกอบไปด้วยเซลล์
3. ถูก centriole และ chromosome จำลองตัวเองได้ขณะแบ่งเซลล์, mitochondria และ chloroplast มีสารพันธุกรรมเป็นของตัวเองจึงจำลองตัวได้
4. ผิด peroxisome พบในเซลล์สัตว์โดยเฉพาะที่ตับ ไต
5. ถูก ระบบเยื่อภายใน (endomembrane system) ที่มาจาก Golgi body, ER, vesicle ต่างๆสามารถหลอมรวมกับเยื่อหุ้มเซลล์ เป็นการสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ได้ทางอ้อม ข้อนี้เคยเป็นข้อสอบเอนท์นะ
6. ถูก RER สร้าง membrane protein และ export protein, Golgi complex สร้างคาร์โบไฮเดรตแต่งเติมให้สารต่างๆ , SER สร้างไขมันโดยเฉพาะ phospholipid และ steroid
7. ถูก plasmodesmata กับ gap junction ยอมให้ cytosol ของเซลล์ข้างเคียงไหลไปหากันได้ เป็น cell communication อย่างหนึ่ง
8. ผิด ทั้ง cilia และ flagellum ต่างก็จัดเรียงท่อโปรตีน microtubule แบบ 9 + 2 เหมือนกัน
9. ผิด นิวเคลียสไงที่มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ข้อสอบเอนท์เคยเอามาออก
10. ถูก lysosome มี hydrolytic enzyme ย่อยอาหาร, เชื้อโรค และ organelle ที่เสื่อมสภาพ, peroxisome มี catalase สลาย hydrogen peroxide ได้ ส่วน SER ก็สลายแอลกอฮอล์และยาบางชนิดได้เหมือนกัน
11. ผิด รงควัตถุอย่าง chlorophyll ไม่ได้อยู่ใน stroma แต่ฝังตัวอยู่บนเยื่อภายใน chloroplast (thylakoid membrane)
12. ถูก การผ่านเข้าออกเซลล์ของแก๊สเป็น simple diffusion ที่ไม่ใช้พลังงาน และพลังงานในเซลล์สัตว์ส่วนใหญ่อยู่ในรูป ATP ที่เกิดจากการหายใจแบบใช้ออกซิเจนใน mitochondria
13. ถูก เคยเป็นข้อสอบเอนท์ cyclosis เกิดจาก microfilament ซึ่งเป็น cytoskeleton อย่างหนึ่ง เซลล์ prokaryote ไม่มี cytoskeleton ทั้ง 3 ชนิด
14. ถูก เป็น concept สำคัญว่าโครโมโซมที่เราเห็นเป็นแท่งปาท่องโก๋นั้นจะเห็นก็ต่อเมื่อแบ่งเซลล์นะ ในภาวะปกติสารพันธุกรรมจะลอยอยู่ในนิวเคลียสในรูปของร่างแหโครมาทินต่างหาก
15. ถูก ถ้า organelle เคลื่อนใช้ microtubule + พลังงาน แต่ถ้า cytoplasm เคลื่อนใช้ microfilament + พลังงาน อย่าลืมว่าหน้าที่ต่างๆของ cytoskeleton (ที่ไม่ใช่การค้ำจุนโครงสร้างเซลล์) เช่น การแบ่งเซลล์ การเคลื่อนที่ของเซลล์ การเคลื่อนที่ของออร์แกเนลล์ ทั้งหมดเหล่านี้ล้วนใช้พลังงานทั้งสิ้น
16. ผิด สำคัญมากๆๆๆๆว่า แรงดันออสโมซิส แปรผันตาม ความเข้มข้นสารละลาย เข้มข้นมากแรงดันออสโมซิสมาก เข้มข้นน้อยแรงดันออสโมซิสน้อย
17. ถูก สารละลาย 0.85% NaCl เป็น isotonic ต่อเซลล์เม็ดเลือดแดง ความเข้นข้นใกล้เคียงพลาสมา
18. ถูก
19. ถูก น้ำกับแก๊สแพร่โดย simple diffusion
20. ผิด hemolysis เกิดเพราะเซลล์เม็ดเลือดแดงเต่งแล้วแตก จำไว้ว่า “ไฮโป เซลล์โต” นั่นคือสารละลาย hypotonic ทำให้น้ำทะลักเข้าเซลล์ต่างๆ

ตอนที่ 2
1. ค.
กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงจะให้ภาพเสมือนหัวกลับเทียบกับวัตถุ กลับบนเป็นล่าง กลับซ้ายเป็นขวา
2. ข.
กำลังขยายทั้งหมด 10 x 40 = 400 เท่า
เห็นภาพ 12 mm แสดงว่าแต่ละเซลล์ยาว 12 / 4 = 3 mm
จากสูตร ขนาดภาพที่เห็น / ขนาดภาพจริง = กำลังขยาย
จะได้ว่า ขนาดภาพจริง = 3 mm / 400 = 7.5 ไมครอน
3. ก.
ปรับกำลังขยายเลนส์ใกล้วัตถุจาก 40X เป็น 100X เลยขยายทั้งหมด 10 x 100 = 1000 เท่า
ขยาย 400 เท่าเห็น 4 เซลล์
ขยาย 1000 เท่า ต้องเห็นเซลล์น้อยลง (เพราะขยายได้มากขึ้น ซูมเข้าไปใกล้ๆไง) ใช้บัญญัติไตรยางศ์ส่วนกลับ = 4 x 400 / 1000 = 1.6 เซลล์
4. ข.
กำลังขยายมากขึ้น ทำให้เห็นรายละเอียดมากขึ้น แต่ความเข้มแสงที่ตกกระทบ specimen ลดลง ทำให้สนามภาพมืดลง เลยต้องเปิด iris diaphragm ให้กว้างขึ้น
5. ค.
ก. ถูก เป็นการทดลองหนึ่งในบทเรียน
ข. ถูกแล้ว SEM ใช้ดูโครงสร้างสามมิติ
ค. ผิด องค์ประกอบเคมี (เช่น มีคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ยังไงบ้าง ฯลฯ) ดูจากกล้องจุลทรรศน์ไม่ได้
ง. ถูก กล้อง stereo เอาไว้ส่องดูโครงสร้างที่มองเห็นด้วยตาเปล่าแต่อยากรู้รายละเอียดมากขึ้น
6. ง.
ข้อนี้คือถามว่าข้อไหนไม่ประกอบด้วยโปรตีนนั่นเอง
chromatin fiber = DNA + โปรตีน histone
ribosome กับ nucleolus องค์ประกอบคล้ายกัน (เพราะเป็นพ่อลูกกัน) = RNA + โปรตีน
cell wall ไม่ว่าของพืช สาหร่าย แบคทีเรีย หรือฟังไจ จะมีองค์ประกอบต่างๆกัน แต่ไม่มีโปรตีน
7. ค.
สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินเป็น prokaryote แต่สาหร่ายอื่นๆเป็น eukaryote
a) ถูก ไม่มีเยื่อหุ้ม นิวเคลียส
b) ผิด organelle ที่ไม่มีเยื่อหุ้มอย่าง ribosome ใครๆก็มีกัน ไม่เห็นจะเป็นข้อแตกต่าง
c) ถูก prokaryote ไม่มี nucleolus, nuclear membrane, นิวเคลียส, cytoskeleton และ organelle ที่มีเยื่อหุ้มทั้งหมด
8. ง.
microbublue พบอยู่ใน centriole (centrosome ของสัตว์น่ะแหละ), basal body เป็นแบบ 9 + 0
อยู่ใน cilia, flagellum (อย่างที่หางอสุจิ) เป็นแบบ 9 + 2
นอกจากนี้ยังอยู่ใน spindle fiber, polar cap ของพืช, อยู่ใต้เยื่อหุ้มเซลล์ช่วยคงโครงสร้างเอาไว้ ฯลฯ ด้วย
9. ก.
ก. ผิด น้ำย่อยเป็นโปรตีนที่ต้องหลั่งออกนอกเซลล์ (export protein) จึงสร้างมาจาก ribosome บน RER
ข. ถูก SER ที่ตับ สร้างไขมันได้และสลายแอลกอฮอล์ได้
ค. ถูก เม็ดเลือดขาวที่เขมือบได้ ต้องมี lysosome และ pseudopodia
ง. ถูก เซลล์ประสาทต้องใช้ ATP ทั้งคุมสมดุล ion, ส่งกระแสประสาท, สังเคราะห์โปรตีนต่างๆ, หลั่งสารสื่อประสาท เป็นต้น
10. ง.
โครงสร้างเยื่อแบบ fluid mosaic model ไม่จำเป็นต้องอยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ แต่เยื่อของ organelle ต่างๆและเยื่อหุ้มนิวเคลียสก็มีโครงสร้างแบบนี้ รวมเรียกว่าระบบเยื่อภายใน (endomembrane system)
11. ก.
basal body กับ centriole เป็น microtubule แบบ 9 + 0
cilia กับ flagellum เป็น microtubule แบบ 9 + 2
basal body เป็นฐานของ cilia และ flagellum
microtubule เป็นท่อ polymer ของโปรตีน tubulin
ส่วน actin เป็นโปรตีนใน microfilament ต่างหาก
12. ค.
a) ผิด prokaryote กับ mitochondria มี ribosome แบบ 70s
b) ถูก ทั้งสองมี DNA ชั้นต่ำที่เกาะกับโปรตีนซึ่งไม่ใช่ histone
c) ถูก สังเคราะห์โปรตีนได้เพราะมี DNA, RNA และ ribosome เป็นของตัวเอง
13. ก.
เป็นข้อสอบ ANET ที่ค่อนข้างยาก ต้องอาศัยความรู้เรื่องฮอร์โมน
steroid hormone อย่างเช่น sex hormone และฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตชั้นนอก
สร้างโดย mitochondria และ SER โดยมี cholesterol เป็นสารตั้งต้น
หลั่งออกนอกเซลล์โดยวิธี simple diffusion คือไม่ใช้ ATP หรือ Golgi body และผ่านเยื่อหุ้มเซลล์
14. ค.
ลองเทียบกับข้อเมื่อกี้
การสร้าง peptide hormone ต้องอาศัยคำสั่งจากนิวเคลียสให้สังเคราะห์โปรตีน
โดยมี ribosome จะวิ่งไปเกาะบน RER แล้วสร้าง polypeptide ออกมา
เมื่อเสร็จแล้วจึงส่งไปที่ Golgi body ให้แพ็คและเติมแต่งต่างๆจนหลุดออกมาเป็น vesicle
ก่อนจะ exocytosis ออกนอกเซลล์ไป (ใช้ ATP และไม่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์)
15. ข.
enzyme สร้างจาก ribosome อาจจะที่ RER หรือลอยอิสระก็ได้
lysosome เป็นถุงใส่ enzyme บางอย่างที่ Golgi body จับยัดใส่ตัวมันเฉยๆ ไม่ใช่แหล่งสร้าง
16. ง.
ก. ผิด นิวเคลียสต้องยิ่งใหญ่กว่านั้นสิ
ข. ผิด lysosome ทำลาย organelle ที่เสื่อมสภาพได้ก็จริง แต่เซลล์ยังมีของเสียอีกเยอะแยะที่กำจัดไม่ได้ด้วย lysosome
ค. ผิด mitochondria ทำงานทั้งวันทั้งคืนเลยนะ ถ้าฉุกเฉินน่าจะเป็นกระบวนการหมักมากกว่า
ง. ถูก chloroplast เป็นห้องครัวเพราะสร้างอาหารได้ และสังเคราะห์ด้วยแสงเฉพาะเวลากลางวันเท่านั้น
17. ข.
a) ผิด contractile vacuole พบในโพรโทซัวน้ำจืด (hypotonic ต่อเซลล์) มีไว้บีบตัวไล่น้ำที่ทะลักเข้ามา
b) ผิด sap vauole พบเฉพาะในพืช ยิ่งเซลล์แก่ก็ยิ่งใหญ่ขึ้นแปลงร่างกลายเป็น central vacuole
c) ถูก food vacuole เกิดขึ้นจากการกินของสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ และต้องอาศัยการย่อยภายในเซลล์โดย lysosome
18. ค.
70s ribosome พบ 3 ที่คือ 1) prokaryote 2) mitochondria 3) chloroplast
ก. มี เพราะเป็น prokaryote เหมือนกันนิ
ข. มี อยู่ใน chloroplast ไง
ค. ไม่มี เพราะเม็ดเลือดแดงที่เต็มวัยของคนจะไม่มี นิวเคลียส, mitochondria, organelle อื่นๆ
19. ค.
ตัดข้อ c) ทิ้ง เพราะทั้งน้ำย่อย amylase และเอนไซม์ hexokinase ไม่เกี่ยวกับ lysosome เลย
amylase เป็นเอมไซม์ย่อยแป้ง หลั่งจากต่อมน้ำลายและตับอ่อน เป็น export protein คือต้องสร้างด้วย ribosome บน RER แล้ว exocytosis โดย Golgi body
hexokinase เป็นโปรตีนภายในเซลล์ (ใช้ใน glycolysis ที่ cytosol) สร้างด้วย ribosome อิสระ จบแค่นี้ ไม่ต้องออกนอกเซลล์ไปไหน
20. ค.
ก. ส่งผล การไหวเวียนของ cytoplasm (cyclosis) ใช้ microfilament (โปรตีน actin)
ข. ส่งผล pseudopodia สร้างมาจาก microfilament เหมือนกัน
ค. ไม่ส่งผล การแยกโครโมโซมระหว่างแบบเซลล์ใช้ spindle fiber ที่เป็น microtubule (โปรตีน tubulin) แต่ถ้าเป็นการแยกกันของ cytoplasm ในขณะแบ่งเซลล์สัตว์ถึงจะใช้ microfilament
ง. ส่งผล เพราะ actin ใน microfilament รักษาสภาพเซลล์ให้แข็งแรงไว้ เป็นหน้าที่ของ cytoskeleton
21. ง.
a) ใช้ ATP : Na+ - K+ pump เป็น active transport อย่างหนึ่ง พบมากที่เซลล์ประสาท
b) ใช้ ATP : receptor-mediated endocytosis เป็นการขนส่งสารแบบไม่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ เหมือนกับ exocytosis และ endocytosis แบบอื่นๆ ทั้งหมดนี้ต้องการพลังงาน
c) ใช้ ATP : เซลล์เยื่อบุกระเพาะหลั่ง peptide hormone ที่ชื่อ gastrin โดย exocytosis ซึ่งต้องการพลังงานเหมือนกัน
ปล. อยากรู้ว่าฮอร์โมนประเภทไหนหลั่งออกนอกเซลล์ยังไง ต้องเรียนเรื่องฮอร์โมนก่อนนะ
22. ก.
นึกถึง metabolism นึกถึง mitochondria ไง
ตามความจริงแล้ว cyanide เป็นสารพิษที่ยับยั้งการถ่ายทอด e- ใน mitochondria นะครับ
23. ก.
A = phospholipid
B = cholesterol
C = membrane protein
D = carbohydrate
สมบัติของไหล (fluidity) มาจาก phospholipid ที่เป็นไขมันครับ นึกถึงน้ำมันไหลไปมา
แต่ cholesterol จะสร้างความเสถียรและความยืดหยุ่น ไม่ทำให้มันเหลวเป๋วเกินไป
(แก้ไข 18 มค 58)**** หลังจากพิมพ์ไปสักพักมีน้องมาถามเรื่อง cholesterol กับ fluidity ของ cell membrane  นะครับ ความจริงแล้ว cholesterol ส่งผลกับ fluidity ของ cell membrane โดยอ้อมคือช่วยทำให้มันมีเสถียรภาพขึ้นในอุณหภูมิร่างกาย (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมด้วย) โดยตัวโครงสร้างที่แข็งแรงของมันเอง (คือลด fluidity) ในขณะเดียวกันการมี cholesterol ในปริมาณที่เหมาะสมก็ไม่ทำให้ membrane เหลวจนเกินไปด้วย (คือเพิ่ม fluidity) สำหรับโจทย์ข้อนี้คำถามอาจจะกำกวม จะปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงครับ ****
24. ค.
ข้อสอบเอนท์นะ สังเกตเห็นว่าทั้งเกลือแกง กลูโคส และยูเรีย เป็นสารที่ผ่านเยื่อได้
แต่ไข่ขาวเนี่ย มันหนืดดดด และเหนียวสุดๆ จนไม่ละลายน้ำ แถมยังไม่ผ่านเยื่ออีก
ลองนึกดูว่าบีกเกอร์ A B และ D มีความเข้มข้นอยู่ระดับนึง เพราะมีตัวถูกละลาย
แต่บีกเกอร์ C เนี่ย ไม่มีความเข้มข้นเลย เพราะมันไม่ละลายน้ำ ไม่มีตัวถูกละลาย เปรียบเสมือนน้ำเปล่า
สรุปคือให้ติ๊ต่างว่าบีกเกอร์ C เอาไข่ไปจุ่มน้ำเปล่านั่นเอง มีแต่น้ำๆๆเลยออสโมซิสขึ้นไปบนหลอดมากที่สุดจากที่ที่น้ำมากไปน้ำน้อย
25. ข.
เซลล์พืชที่เห็นเยื่อหุ้มเซลล์ร่นเข้ามาแสดงว่ากำลังเหี่ยว (plasmolysis) เพราะใส่ลงไปในสารละลาย hypertonic คือเข้มข้นๆ อย่างน้ำเชื่อม น้ำในเซลล์เลยไหลออกมา
26. ก.
ก. ผิด เพราะเซลล์ประสาทในระยะพัก จะ active transport เอา Na+ ออกเซลล์ และ K+ เข้าเซลล์ เรียก Na+ - K+ pump การเคลื่อนเข้าเซลล์ประสาทในระยะพักใช้ simple diffusion (อ่านเพิ่มเติมเรื่องระบบประสาท)
ข. ถูก การดูดซึมที่ลำไส้เล็กใช้ทั้ง simple diffusion, facilitated diffusion, active transport และ pinocytosis หยดไขมันเป็นอะไรที่เหลวๆ เลยถูก pinocytosis (cell drinking) เข้าไป
ค. ถูก การเขมือบของราเมือก อะมีบา เม็ดเลือดขาว ใช้ phagocytosis
ง. ถูก exocytosis มักใช้กับการหลั่งโปรตีนต่างๆออกนอกเซลล์ น้ำย่อยที่กระเพาะก็เป็นเอนไซม์ (โปรตีน) เช่น pepsin
27. ง. (ในหนังสือเขียน ค. จริงๆต้องเป็น ง. นะครับ, โทษที) -*-
ถ้าเกิดเปิด texybook จะพบว่าบางเล่มให้การแพร่ของไอออนผ่าน protein channel นั้นเป็น facillitated diffusion แต่อีกหลายๆเล่ม (รวมทั้งหนังสือเรียน) บอกว่ามันคือ simple diffusion นะครับ พี่จะขอใช้ตามหนังสือเรียนเป็นหลัก ข้อนี้เป็นข้อสอบเอนท์
a) ได้ simple diffusion อาจจะเป็นการแพร่ของน้ำ+แก๊สผ่าน phospholipids bilayer โดยตรง หรือเป็นการแพร่ของไอออนผ่าน protein channel ก็ได้
b) ได้ facilitated diffusion คือผ่าน protein carriier เช่นกลูโคส กรดอะมิโน ยูเรีย และอีกมากมายร้อยแปด เอาง่ายๆน้องก็ต้องรู้ว่ากรดอะมิโนมันมีประจุนะครับ โดยเฉพาะพวกที่มีหมู่กรด (อย่าง กลูตาเมท หรือแอสปาเตท มี COO-) หรือสารอินทรีย์ต่างๆพออยู่ในรูปสารละลายในร่างกายมันก็แปลงร่างเป็นไอออนทั้งนั้น เช่น แอสคอร์เบท (วิตามินซี) แลคเตท ฯลฯ
c) ได้ active transport ก็ใช้ protein carrier ลำเลียง ion ได้ อย่าง Na+ - K+ pump ไง
28. ง.
พูดง่ายๆคือ ใส่เซลล์ลงไปในสารละลาย hypertonic ต่อเซลล์
ก. ผิด ต้อง hypertonic
ข. ผิด osmotic pressure แปรผันตามความเข้มข้น hypertonic คือเข้มข้นมากกว่าจึงมี osmotic pressure มากกว่าด้วย
ค. ผิด เมื่ออยู่ใน hypertonic solution น้ำจะออสโมซิสออกเรื่อยๆ เซลล์จะเหี่ยว แล้วมันจะมีแรงดันเต่งได้ยังไงกัน
ง. ถูก เซลล์ A เกิดการออสโมซิสของน้ำออกไป เรียกว่า plasmolysis
29. ก.
a) ถูก เพราะข้างในมีกลูโคสมากกว่า และข้างนอกมีฟรักโทสมากกว่า
b) ผิด ข้างนอกมีความเข้มข้นของตัวถูกละลาย 0.03 M (มันเอามาบวกกันได้เลย เป็นคุณสมบัติของสารละลายอยู่ในวิชาเคมีนะ ^^) ส่วนข้างในเข้มข้น 0.23 M น้ำข้างนอกมากกว่าเลยออสโมซิสเข้ามาในเซลล์
c) ถูก ความเข้มข้นข้างนอกน้อยกว่า เป็น hypotonic ต่อเซลล์
d) ถูก เซลล์สัตว์อาจเต่งขึ้นเรื่อยๆจนแตกในที่สุด
30. ค.
เมื่ออยู่ในสมดุล ความเข้มข้นของทั้งสองฟากเยื่อจะเท่ากัน และจะมีค่าเป็นค่าเฉลี่ยของความเข้มข้นสองฟากในตอนแรก
ในโจทย์ ตอนแรกข้างนอกเข้มข้น 10% ข้างในเข้มข้น 20%
ต่อมาทั้งข้างนอกและข้างในจะเข้มข้น 15% (เฉลี่ยระหว่าง 10 และ 20)
ถึงแม้เกลือจะผ่านเข้าออกถุงไม่ได้ (โจทย์บอกไว้)
แต่น้ำจากข้างนอกซึ่งมีมากกว่าจะออสโมซิสเข้าไปข้างในจนความเข้มข้นเท่ากัน (แพร่เข้าไปเจือจางน้ำเกลือที่อยู่ข้างใน)
นั่นคือเมื่อเวลาผ่านไปสารละลายในถุงจะเข้มข้นลดลง แต่ปริมาตรน้ำเพิ่มขึ้นนั่นเอง



Create Date : 03 ตุลาคม 2552
Last Update : 19 มกราคม 2558 10:27:20 น. 85 comments
Counter : 112927 Pageviews.  

 
สงสัยข้อ 30 เรื่องเซลล์และกล้องจุลทรรศน์อ่ะค่ะ
เกลือเป็นของแข็งแต่สามารถแพราได้ด้วยหรอคะ


โดย: 123 IP: 118.174.21.147 วันที่: 26 ตุลาคม 2552 เวลา:18:07:10 น.  

 
พี่เต๊น คะ หนู งง เฉลย ข้อ 29 เรื่องเซลล์และกล้องจุลทรรศน์ อ่ะค่ะ



b) ผิด ข้างนอกมีความเข้มข้นของตัวถูกละลาย 0.03 M (มันเอามาบวกกันได้เลย เป็นคุณสมบัติของสารละลายอยู่ในวิชาเคมีนะ ^^) ส่วนข้างในเข้มข้น 0.032 M น้ำข้างนอกมากกว่าเลยออสโมซิสเข้ามาในเซลล์


ข้างในเข้มข้น 0.23 ไม่ใช่หรอคะ

โจทย์กำหนดว่า 0.03M ซูโครส
0.2 M กลูโคส
รวม 0.23M (รึเปล่าคะ)


โดย: อีฟว์ IP: 125.27.195.52 วันที่: 26 ตุลาคม 2552 เวลา:21:47:33 น.  

 
# ข้อ 30 ข้างในที่เขียนว่า 20% NaCl เป็นความเข้มข้นครับแพร่ได้
ถึงไม่มีคำว่าสารละลายแต่ก็ต้องรู้อะว่า % นี่มันเป็นหน่วยของสารละลายนะ
มี %โดยมวล, %โดยปริมาตร, %โดยมวลต่อปริมาตรไง เคมีม.สี่
ถ้าเป็นของแข็งหน่วยต้องเป็นมวล (g, kg ฯลฯ) ครับ
และโจทย์บอกว่า "ความเข้มข้น NaCl ในถุง" ด้วยอะ ความเข้นข้น = สารละลายไง

#29
นอกเข้าใจถูกแล้ว พี่พิมพ์เฉลยในบล๊อกผิดเอง m(._.)m แก้ให้แล้วครับ
ข้างนอก 0.03M ข้างใน 0.23M น้ำจะออสโมซิสเข้าเซลล์ b)ผิด


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 26 ตุลาคม 2552 เวลา:22:25:12 น.  

 
พี่เต็นท์ครับพอดีวันนี้ที่โรงเรียนผมสอบเรื่องการย่อยอาหาร ในข้อสอบมีอยุ่ข้อหนึ่งถามว่สารอาหารถูกดูดซึมมากที่สุดที่ไหนของลำไส้เล็ก ผมเลยตอยดูโอดีนัมไป แต่ครุกลับให้ผิดแต่ที่จริงปัจจุบันที่ถูกคือดูโอดีนัมใช่มั้ยครับ ผมควรจะทำอย่างไรดี คะแนนสอบด้วยอะครับ


โดย: คิว IP: 113.53.1.147 วันที่: 27 พฤศจิกายน 2552 เวลา:23:06:58 น.  

 
น้องคิวครับ

เรื่อง duodenum กับ jejunum มีน้องถามมาบ้าง คือยังงี้นะ
ข้อสอบเอนท์สมัยเก่าเนี่ย มีข้อนึงก็ถามแบบอ.น้องนี่แหละ
ส่วนไหนของลำไส้เล็กดูดซึมมากที่สุด ?
ซึ่งคนออกข้อสอบเป็นอ.ที่วิทยามหิดลที่เก่งเรื่องสรีรวิทยาของสัตว์มาก
และอ.ท่านนี้แหละที่บอกพี่เองว่าเฉลยในสมัยนั้นคือ jejunum
แต่บอกว่า ถ้าเป็นเดี๋ยวนี้ จะเฉลยว่า duodenum และจะไม่ออกยังงี้


1. ที่บอกว่าเฉลยว่า jejunum เพราะ
- คนสมัยก่อนผ่านอาจารย์ใหญ่มาและพบว่าที่ jejunum ค่อนข้างว่างเปล่า เลยคิดว่าดูดซึมได้ดี และ
- jejunum ยาวกว่า duodenum
แต่ความเป็นจริงที่อ.ได้อ่านงานวิจัยใหม่ๆมาคือ
- jujenum ค่อนข้างว่างเปล่าเพราะเป็นส่วนที่อาหารเคลื่อนผ่านไปได้เร็วมากต่างหาก
- duodenum สั้นกว่าแต่มีพื้นที่หน้าตัดมากกว่า มีความหนาแน่นของ microvilli และ villi มากกว่า
- สรุปคือ dudenum สั้นกว่าก็จริงแต่ประสิทธิภาพการดูดซึมมากกว่า jejunum

2. ที่บอกว่าจะไม่ออกข้อสอบแบบนี้แล้วเพราะ
- ข้อสอบแบบนี้เป็นข้อสอบที่โต้แย้งได้ คำถามวิชาชีววิทยาที่ดีไม่ควรในประเด็นที่ไม่ชัดเจน หรือถามคำถามที่ตอบได้โดยไม่ต้องคิดว่า'ทำไม'
อย่างเช่นคน 100 คนเดินมา ดูดซึมมากที่ dudenum รึเปล่า..ก็ไม่
คน 100 คนเดินมา หัวใจอยู่ข้างซ้ายและชี้ไปทางซ้ายหมดรึเปล่า..ก็ไม่
- ดังนั้นพวกคำถามที่ว่า ...ไวรัสเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่ ? ...ยูกลีนาเป็นสาหร่ายหรือโพรโทซัว ? duodenum หรือ jejunum ดูดซึมได้มากกว่ากัน ?
อะไรแบบนี้ เป็นคำถามที่อ.บอกว่าไม่ดี และพี่ก็เห็นด้วย
(ไม่เหมือนกับการที่ dudenum ย่อยได้มากสุด เพราะนั่นเป็น fact ที่เห็นได้อย่างชัดเจนอยู่แล้ว)
- ใน textbook ส่วนใหญ่จึงมักใช้คำว่า usually, probably คืออาจจะ
(ซึ่งพี่ก็เติมคำว่าอาจจะอยู่เต็มไปหมดในหนังสือเหมือนกัน)
ซึ่งไอ้ประโยคเหล่านี้นี่แหละ ที่ไม่ควรเอามาออกข้อสอบ
ยกตัวอย่างความรู้ม.ปลายที่ไม่ควรเอามาออกข้อสอบ
- เอนไซม์ทุกชนิดเป็นโปรตีน (มักเฉลยว่าถูก) : ผิด เอนไซม์บางชนิดเป็น RNA ก็มี
- niacin เป็นวิตามินบี 5 (หนังสือเรียนบอก) : ผิด ที่จริงเป็นบี 3 ต่างหาก
- วิตามินอีขาดแล้วเป็นหมัน (ท่องกันมาตั้งแต่ประถมและในหนังสือเตรียมสอบ) : ผิด นั่นเกิดขึ้นเฉพาะกับหนูทดลองเท่านั้น
- มนุษย์มีวิวัฒนาการเป็นแบบ anagenesis (ในหนังสือเตรียมสอบ) : ผิด ที่จริงแล้วหลักฐานใหม่ๆบอกว่าเป็น cladogenesis
- ลิ้นรับรสได้ 4 รส (ท่องกันมานานแล้ว) : ผิด มีรสหลัก 5 รสและรสผสมอีกมากมาย
- การเคลื่อนที่ของไอออนผ่านเข้าออกเยื่อหุ้มเซลล์เป็นแบบไหน (หนังสือเรียนบอก simple) : บอกไม่ได้ textbook หนังสือแต่ละเล่มบ้างบอก simple บ้างบอก facilitated เป็นปัญหาโลกแตกที่ไม่สมควรออกข้อสอบ หนังสือพี่จึงเขียนเอาไว้ว่า "แบ่งตามหนังสือเรียน.."

วิชาชีวะควรเรียนว่า ทำไมนะ ยังไงนะ มากกว่าที่จะมานั่งท่องว่า อะไรกัน ตัวไหนกัน
ซึ่งน่าเสียดายว่าการประเมินโดยข้อสอบส่วนใหญ่จะให้ท่องมากกว่า
พี่แนะนำน้องคิวได้แค่ว่า 1. อาจารย์สอนยังไงให้ตอบยังงั้น 2. พยายามเปรียบเทียบสิ่งที่เรียนกับความรู้ภายนอกที่เชื่อถือได้
ถ้าเกิดทำแต่ข้อ 1. จะเกลียดวิชานี้เอาได้ง่ายๆนะ แบบว่า อะไรวะ? ทำไมไม่เห็นจะตรงกันเลย ไรเงี้ย
สรุป: พี่ว่าพี่ช่วยอะไรไม่ได้เลย (น้องก็คงไปบอกอ.ไม่ได้ด้วยว่า "นี่เป็นข้อสอบที่ไม่ดีนะ", หรือถ้าไปบอกเรื่องเหตุผลที่พี่ว่า เค้าอาจไม่ฟังก็ได้ พี่ไม่มีเอกสารข้อมูลอะไรให้เลย หาไม่เจอ)
หวังว่าหนึ่งคะแนนที่น้องเสียไปจะไม่ทำให้เกรดตกนะครับ ^^" เอาใจช่วย


โดย: ตัวตุ่นตามัว วันที่: 28 พฤศจิกายน 2552 เวลา:19:03:59 น.  

 
พี่ค้นมาให้นะ
จาก Textbook Human Physiology from Cell to System (Lauralee Sherwood) 6th edition หน้า 613
ซึ่งเป็นหนังสือที่อ.ท่านนั้นใช้สอนทั้ง สอวน สสวท ศิริราช รามา วิทยาศาสตร์มหิดล

Most absorption occurs in the duodenum and jejunum; very little occurs in the ileum, not because the ileum does not have absorptive capacity but because most absorption has already been accomplished before the intestinal contents reach the ileum. The small intestine has an abundant reserve absorptive capacity. About 50% of the small intestine can be removed with little interference to absorption-with one exception. If the terminal ileum is removed, vitaminB12 and bile salts are not properly absorbed, because the specialized transport mechanisms for these two substances are located only in this region. All other substances can be absorbed throughout the small intestine's length.

เพราะฉะนั้นที่น้องตอบก็ไม่ผิดนะครับ


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 29 พฤศจิกายน 2552 เวลา:9:02:30 น.  

 
โคตรเจ๋ง !


โดย: ^^ IP: 118.172.0.137 วันที่: 29 พฤศจิกายน 2552 เวลา:10:31:47 น.  

 
พี่เต๊นขาคืออยากรู้ว่า

ข้อ 7 ที่พี่เต๊นบอกว่า BGA ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสอ่ะค่ะ
จึงไม่มี membrane บอกขอบเขตสารพันธุกรรม

แล้ว cell memb.ถือเป็นตัวบอกขอบเขตมั้ยคะ

สงสัย


โดย: อยากรู้ IP: 112.142.233.25 วันที่: 2 ธันวาคม 2552 เวลา:21:06:15 น.  

 
คือคำนี้พี่ไม่ได้คิดเองนะ
ไอ้เยื่อหุ่มบอกขอบเขตสารพันธุกรรมไรเนี่ย
มันอยู่ในข้อสอบเอนท์ครับ
แต่ถ้าคิดดูแล้วแบคทีเรียเค้าจะถือว่า
โครโมโซมมันลอยเท้งเต้งใน cytoplasm ไม่มีอะไรมาห่อหุ้มนะ
พี่ว่าเค้าคงอยากให้คำนี้มีความหมายว่าเยื่อหุ้มนิวเคลียสมากกว่า
ไอ้เยื่อหุ้มเซลล์นี่มันไม่ได้ "บอกขอบเขต" สารพันธุกรรมอะครับ อยู่ห่างกันซะขนาดนั้น


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 2 ธันวาคม 2552 เวลา:21:12:03 น.  

 
พี่คะ หนูขอถามข้อสอบข้อนึงหน่อยค่ะ

ข้อใดถูกต้อง
1. กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนมีกำลังขยายสูงสุด 50,000 เท่า
2. ภาพที่เกิดขึ้นกับกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนเป็นภาพจริงขนาดขยาย
3. ตัวอย่างที่ต้องนำมาส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดต้องผ่านการเคลือบด้วยทองคำ
4. เอิร์นสท์ รุสกา และคณะเป็นนักวิทยาศาสตร์กลุ่มแรกที่สร้างกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด

เฉลย : 3.

คือหนูงงว่าภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนเป็นภาพจริงหรือว่าภาพเสมือนหรอคะ (เข้าใจมาตลอดว่าเป็นภาพจริง)

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ


โดย: KW IP: 118.172.27.237 วันที่: 4 ธันวาคม 2552 เวลา:23:49:03 น.  

 
อีกข้อนึงค่ะพี่

ระยะใดมีการสังเคราะห์เอนไซม์ เกิดกระบวนการเมทาบอลิซึม
1. M-phase และ G2
1. S และ G1
1. M-phase และ S
1. G1 และ G2

เฉลย : 2.

แต่หนูก็เข้าใจอีกว่ามันคือ G1 และ G2
(สงสัยหนูคงเข้าใจผิดมากไปแล้ว 55+)

พี่ช่วยอธิบายหน่อยนะคะ

ขอบคุณล่วงหน้าอีกครั้งค่ะ


โดย: KW IP: 118.172.27.237 วันที่: 4 ธันวาคม 2552 เวลา:23:57:59 น.  

 
ขอตอบคำถามของน้อง KW แทนพี่เต๊น ในฐานะที่เป็นแฟน เอ้ย แฟนคลับของพี่เต๊นน้า เพราะพี่เต๊นอยู๋ในช่วงสอบ ฮ่าๆ

ข้อที่เกี่ยวกับ EM
1. ผิด เพราะกล้องอิเล็กตรอนในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง TEM สามารถมีกำลังขยายได้สูงสุดถึง 5 แสนเท่า
2. ถูกเลยจ้า เพราะภาพที่เกิดจากกล้องอิเล็กตรอน จะเป็นภาพจริง สีขาวดำ และสามารถใช้ฉากรับได้ อย่าลืมความรู้ฟิสิกส์นะที่ว่า ภาพจริง ฉากรับได้
3. ผิด ไม่เคลือบด้วยทองคำก็นำมาส่องได้จ้า เพราะวิธีในการเตรียมตัวอย่างสำหรับทำ TEM มีตั้งหลายแบบ ขอยกตัวอย่างให้น้องไปหาข้อมูลเพิ่มเติมนะ แต่มันยากอยู่ เอาเป็นว่าอ่านผ่านๆ พอให้รู้ว่ามันไม่ได้มีแค่วิธีที่ใช้ทองคำ
1 ถ้ากรณีเราตัดชิ้นเนื้อได้ชิ้นบางมากๆ ก็สามารถนำมาย้อมด้วย Uranyl acetate หรือ Lead citrate ได้
2 ใช้เทคนิค Autoradiograph (ใช้สารกัมมันตรังสี)
3 Negative staining
4 Shadowing วิธีนี้นี่แหละ ที่ใช้ทองคำ หรือ แพททินัม สเปรย์ใส่ตัวอย่างชิ้นเนื้อของเรา
5) Freeze fracturing ใช้ดูส่วนประกอบของ cell membrane
ส่วนของ SEM ก็อาจใช้วิธีเคลือบตัวอย่างด้วยทองคำ แพททินัม แต่ชิ้นเนื้อตัวอย่างต้องถูกติดบนก้อนโลหะกลมๆด้วย (stub)
4. ผิด คุณเอิร์น lสร้างกล้องแบบส่องผ่าน (TEM) จ้า ซึ่งสร้างได้สำเร็จในปี พ.ศ.2475 แถวๆยุคอันตพาลครองเมือง ฮ่าๆๆ ส่วนคุณเอ็ม ตั่งหาก ที่สร้างแบบส่องกราด (SEM)

สรุปแล้ว เป็นอันเคลียร์นะ


ข้อต่อมา ที่เกี่ยวกับเรื่อง Cell division
ข้อนี้น้องเข้าใจถูกต้องมากๆเลย ที่ตอบ 4
จริงๆแล้ว ระยะ Interphase เป็นระยะที่ cell มีกระบวนการ Metabolism มากที่สุดเลยหล่ะ (เป็นชนิดที่เรียกย่อยว่า Anabolism เพราะมีการสร้างสารต่างๆ) จนอาจเรียกได้ว่า ระยะ Metabolic phase ของเซลล์ แต่ทีนี้ การที่เค้าแบ่งออกเป็น 3 เฟสย่อยๆ (subphase) ได้แก่ G1(Gap1) S (Synthetic) และ G2 (Gap 2) นั้น เพราะต้องการที่จะระบุชี้เฉพาะว่า ระยะไหน มันสร้างอะไร โดยจะขอเริ่มจาก
- G1 เซลล์จะสร้างสารต่างๆเพื่อเตรียมใช้ในการจำลองตัวของโครโมโซม ได้แก่ RNA, protein เป็นต้น รวมทั้งมีการเก็บสะสมสารต่างๆไว้ในออร์แกเนลล์มากยิ่งขึ้น ไม่มีการส่งออกไปใช้ภายนอก
- S ระยะนี้เป็นระยะที่มีการสังเคราะห์ DNA หรือการจำลองตัวของโครโมโซมนั่นเอง ทำให้ในที่สุดจะได้โครโมโซมที่ 1 แท่ง มี 2 sister chromatids ซึ่งจะสังเกตุเห็นชัดในระยะ Metaphase
- G2 เป็นระยะทีี่่มีการจำลองตัวของออร์แกเนลล์ ที่มี DNA เป็นของตัวเอง และสังเคราะห์สารต่างๆเพิ่มเติมที่จำเป็นในการแบ่งเซลล์


จากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ ใครสักคนไปหาใน Text ชื่อ Cooper จะเจอน้า พบว่า ถ้าเราทำให้เซลล์มี Cell cycle แค่เพียงระยะ S และ M Phase จะพบว่าเซลล์ลูกที่แบ่งมานั้น จะมีขนาดเล็กลงไปเรื่อยๆๆๆ ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้คุ้นๆมั้ยจ๊ะ ว่าอยู่ในเรื่องอะไรน้า ..................................


โดย: Noname IP: 58.9.132.187 วันที่: 6 ธันวาคม 2552 เวลา:0:47:42 น.  

 
ขอบคุณคุณ Noname
แฟน เอ้ย แฟนคลับของพี่เต๊นมาก ๆๆ ค่ะ 55+

เข้าใจแล้ว !!


โดย: KW IP: 118.172.38.28 วันที่: 6 ธันวาคม 2552 เวลา:23:56:48 น.  

 
คำตอบตามพี่ข้างบนเลยนะ ^^"


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 7 ธันวาคม 2552 เวลา:1:06:37 น.  

 
คำถามครับ
1.เวลาแบ่งเซลล์อะไรแบ่ง ออแกนแนลครับ
2.ไมโอซิส 1 ระยะ เมทาเฟส I โครโมโซมมาเข้าคู่กันได้อย่างไรครับ
3.ไดอะตอมมีเซลล์สืบพันธุ์ได้ไงครับ งง เข้าถึงบอกว่ามีแฟลเจลลัม
4.Young Gametophyte คือไรครับ
5.Cone อยู่ส่วนไหนของพืชครับ
6.Cyanobacteria เป็นแกรมลบจริงหรือครับ ไฉนหนังสือเรียนจึงไม่มีบอก
7.หน้า 106 อ่ะครับ ที่บอกว่าเหมือนแม่เปี๊ยบคงจะไม่ถูกซะทีเดียวนะครับ งานวิจัยที่เขาโคลนแมวมาสีขนมันไม่เหมือนแม่ มันขึ้นกับสิ่งแวดล้อม จนนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆไม่เชื่อ จนเอา DNA มาตรวจเขาถึงจะเชื่อ่าครับ
8.ทำไมถ้าไม่มีอินวูลินแล้วนำน้ำตาลไปใช้ไม่ได้อ่ะครับ ก็มันเป็นตัวที่เปลี่ยนน้ำตาลมาเป็นไกลโคเจนมิใช่หรือครับ
9.หน้า185 อ่าครับ อัตราส่วน 8:1:1:8 เห็นบอกว่าเป็นเรื่องซับซ้อน
10.แล้วก็หน้า186 ข้อ ข. 7:2:2:7 มาจากไหนครับ งง
11.หน้า215 ผมว่าผิดนะครับ ถ้านกฮูกหายไปแล้ว เป็ด หนู นกกระจาบ ต้องเพิ่มสิครับ ก้อนกฮูกมันไม่อยู่ล่ามันนี่ จะบอกว่า หนู เป็ด นกกระจาบ ลดลงได้ไงครับ ก็นกฮูกล่ามัน
12.หน้า 58 อ่ะครับ มันต้อง C ไป B ไป A สิครับ เพราะว่า C ลด Bเพิ่ม A เท่าเดิม C เปลี่ยนไปเป็น B ไงครับ


โดย: แตงโม IP: 58.9.40.103 วันที่: 24 ธันวาคม 2552 เวลา:20:59:58 น.  

 
- คำถาม 6 ข้อแรกพี่ตอบน้องไปทางเมลล์แล้วนะ
- โพสหน้าเดียวก็พอแล้วครับ โพสทำไมตั้งห้าหน้าอะ งงจัง ^^"

1. นักวิทยาศาสตร์ยังศึกษาอยู่ แตกต่างกันแต่ละชนิดออแกเนลล์และ species สิ่งมีชีวิตครับ
2. โปรตีนชื่อ synaptonemal complex
3. ทำไมจะมีไม่ได้อะครับ ไดอะตอมมีเซลล์เดียว ก็สร้างเซลล์สืบพันธุ์ที่มีแฟลกเจลลัมได้เหมือนกัน
4. young gametophyte = แกมีโทไฟต์ที่ยังเด็กๆ
5. cone อยู่บนต้นสนครับ seach รูปใน google ดู
6. จริงครับ หนังสือเรียนน้องไม่ได้บอกทุกอย่างบนโลกนะครับ
7. หรอครับ น่าสนใจดีนะ
8. insulin ลดระดับน้ำตาลโดยเก็บเป็น glycogen และให้เซลล์ไปสันดาปครับ
การเปลี่ยนน้ำตาลเป็น glycogen ไม่ใช่การ "นำเอาไปใช้" นะ
การ "นำเอาไปใช้" คือสร้างพลังงานโดยหายใจระดับเซลล์
9./10 พี่เขียนเอาไว้ว่า "อัตราส่วนแปลกๆเป็นคู่ๆ เช่น 8 : 1 : 1 : 8
คำว่าเช่น แปลว่า ยกตัวอย่าง แปลว่า ยังมีอื่นๆที่คล้ายลักษณะนี้อีกครับ
7:2:2:7, 5:1:1:5, 11:2:2:11 ฯลฯ ก็เป็นลักษณะดังกล่าวครับ หวังว่าคงไม่งงนะ
11./12. ขอบใจที่ช่วยบอกครับ


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 25 ธันวาคม 2552 เวลา:13:22:38 น.  

 
จาถามเรื่อง fluidity ของ cell membrane อะคับ

คือ ถ้าผมจาตอบว่า มัน fluidity เพราะ คลอเลสเตอรอลไม่ได้หรอคับ???...

เพราะที่พี่เต๊นเฉลยผมว่ามันก็คลุมๆๆ อยู่หง่า

หรือไงพี่เต๊นช่วยอธิบายให้ละเอียดหน่อยได้มั๊ยอะคับ

อ่อออ Happy New year นะคับ


โดย: อาร์ทคุง IP: 58.8.170.130 วันที่: 30 ธันวาคม 2552 เวลา:18:31:57 น.  

 
Steroids
The steroids are a family of lipids based on a molecule with four fused carbon rings. This family includes many hormones of animals and cholesterol. Cholesterol is a component of the cell membrane in animals and functions to maintain membrane fluidity becuase it prevents packing of the fatty acid tails.



โดย: เด็กห้องไพร่ IP: 58.8.170.130 วันที่: 30 ธันวาคม 2552 เวลา:21:17:33 น.  

 
อ่า โจทย์พี่อาจจะไม่ค่อยเคลียร์นี่เอง
ที่ถามว่าอะไรทำให้มันเป็นของไหลได้เพราะว่าอะไร
พี่เฉลยว่า phospholipid เพราะมันเหมือนกับน้ำมันอะน้อง
เหลวไปเหลวมา ทำให้เป็นของไหลได้
แต่ cholesterol มันเหมือนกับเป็นไขแข็งๆ (พี่คิดเอาเอง) ไม่ให้มันเหลวมากเกินไป สร้างความแข็งแรงให้กับเยื่อหุ้มเซลล์
ดังนั้น phospholipid ทำให้มันเหลวไปมา (เกิด fluidity)
แต่ cholesterol ทำให้มันไม่เหลวมากเกินไป (maintain fluidity)
ทั้งสองอย่างมีส่วนใน fluidity เหมือนกัน แต่ phospholipid เกี่ยวของกับความเหลวเป๋วโดยตรงไงครับ


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 31 ธันวาคม 2552 เวลา:15:06:40 น.  

 
ทำเฉลย ทุกเรื่องเลยได้มั้ยง่าคับ



โดย: นิก IP: 222.123.173.86 วันที่: 2 มกราคม 2553 เวลา:18:27:19 น.  

 
พี่ก็ทำทุกอันแล้วนี่หว่า โทดทีคับๆ T^T


โดย: เอ้อโทดทีครับพี่ IP: 222.123.173.86 วันที่: 2 มกราคม 2553 เวลา:18:28:09 น.  

 
พี่ครับ งง ครับ คือที่พี่ว่า 3. ผิด ไม่เคลือบด้วยทองคำก็นำมาส่องได้จ้า เพราะวิธีในการเตรียมตัวอย่างสำหรับทำ TEM มีตั้งหลายแบบ ขอยกตัวอย่างให้น้องไปหาข้อมูลเพิ่มเติมนะ แต่มันยากอยู่ เอาเป็นว่าอ่านผ่านๆ พอให้รู้ว่ามันไม่ได้มีแค่วิธีที่ใช้ทองคำ
1 ถ้ากรณีเราตัดชิ้นเนื้อได้ชิ้นบางมากๆ ก็สามารถนำมาย้อมด้วย Uranyl acetate หรือ Lead citrate ได้
2 ใช้เทคนิค Autoradiograph (ใช้สารกัมมันตรังสี)
3 Negative staining
4 Shadowing วิธีนี้นี่แหละ ที่ใช้ทองคำ หรือ แพททินัม สเปรย์ใส่ตัวอย่างชิ้นเนื้อของเรา
5) Freeze fracturing ใช้ดูส่วนประกอบของ cell membrane
ส่วนของ SEM ก็อาจใช้วิธีเคลือบตัวอย่างด้วยทองคำ แพททินัม แต่ชิ้นเนื้อตัวอย่างต้องถูกติดบนก้อนโลหะกลมๆด้วย (stub)
ที่พี่พูดมานี่คือ TEM อ่ะครับ แต่ในโจทย์เป็น SEM พี่ยกตัวอย่างแค่ 2 อย่างอ่าครับ ซึ่งมันก็มีในตัวเลือกด้วยอ่ะครับ ถ้าข้อนี้ผิดจริงก็ต้องมีตัวอย่างมากกว่านี้สิครับ

2.อัตราส่วนแปลกๆ ที่พี่ว่านี่เกิดจากอะไรหรอครับ ถึงได้เกิดเป็นอัตราส่วนแปลกๆเช่นนั้น มีอะไรเป็นปัจจัยครับ แล้วทำไมถึงได้มีหลายอัตรส่วนครับ
ขอบคุณพี่มากครับ


โดย: แตงโม IP: 58.9.109.181 วันที่: 2 มกราคม 2553 เวลา:19:45:30 น.  

 
1. โจทย์บอกว่า:
ตัวอย่างที่ต้องนำมาส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดต้องผ่านการเคลือบด้วยทองคำ
เพื่อนพี่บอกว่า:
อาจใช้วิธีเคลือบตัวอย่างด้วยทองคำ แพททินัม
น้องบอกว่า:
ถ้าข้อนี้ผิดจริงก็ต้องมีตัวอย่างมากกว่านี้สิครับ

ไม่จริงครับ ถ้าจำตรรกศาสตร์ม.4 ได้น้องจะไม่พูดยังงี้ครับ
โจทย์บอกต้องเคลือบทองคำ ซึ่งมันผิดครับ ไม่ใช่เสมอไป
ถ้าพี่บอกน้องว่า "จะกินข้าวเหนียวต้องใช้มือ" ก็ไม่จำเป็นไม่ใช่หรอครับ?

2. เกิดจากความห่างของยีนสองยีนที่เกิด crossover กันครับ
ยิ่งห่างมาก โอกาส cross กันก็มาก
(ดังนั้นถ้าเกิดใกล้กันมาก จึงเป็น linkage กัน คือไม่ cross กัน)
โอกาส cross มาก ก็ทำให้ได้อัตราส่วนแบบ gene recombination มาก
ยีน A กับ B cross กันแล้วเป็น 1 : 0.1 : 0.1 : 1
ยีน A กับ C cross กันแล้วเป็น 1 : 0.3 : 0.3 : 1
จึงพอเดาได้ว่า A อยู่ห่างกับ C มากกว่า B ครับ
อยู่ในหลักสูตรโอลิมปิกหรือวิทยาศาสตร์ครับ พี่ก็ไม่ได้เรียนในคณะหรอก

//users.rcn.com/jkimball.ma.ultranet/BiologyPages/L/Linkage.html




โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 2 มกราคม 2553 เวลา:21:38:45 น.  

 
ขอบคุณพี่มากครับ


โดย: แตงโม IP: 58.9.109.181 วันที่: 2 มกราคม 2553 เวลา:21:54:05 น.  

 
ที่พี่ว่า
8. insulin ลดระดับน้ำตาลโดยเก็บเป็น glycogen และให้เซลล์ไปสันดาปครับ
การเปลี่ยนน้ำตาลเป็น glycogen ไม่ใช่การ "นำเอาไปใช้" นะ
การ "นำเอาไปใช้" คือสร้างพลังงานโดยหายใจระดับเซลล์
1. ถามว่า ทำไมต้องเปลี่ยนน้ำตาลเป็นไกลโคเจนก่อนแล้วค่อยให้เอาเซลล์ไปใช้อ่าครับ คือถ้าเซลล์เอาน้ำตาลจากในเลือดมาใช้เลยมันจะไม่สะดวกกว่าหรอครับ คือแพร่จากเลือดเข้าเซลล์มาได้เลยไงครับ
2.young gametophyte = แกมีโทไฟต์ที่ยังเด็กๆ ถ้าเทียบกับพืชดอกแล้วคือส่วนไหนครับ แล้วถ้าเทียบกับพวกพืชเมล็ดเปลือย กับ พืชไม่มีเมล็ดแล้วมันคืออะไร


โดย: แตงโม IP: 61.90.83.46 วันที่: 3 มกราคม 2553 เวลา:10:44:32 น.  

 
1. glycogen เหมือนเป็นสารสะสมมากกว่าครับ
ไม่ใช่ว่า ถ้าอยากใช้น้ำตาลแล้ว ต้องเปลี่ยนเป็น glycogen ก่อนแล้วค่อยสลายกลายเป็นน้ำตาลอีกต่อหนึ่ง
น้ำตาลที่ดูดซึมมาจากลำไส้ส่วนใหญ่จะถูกเปลี่ยนเป็น glycogen ที่ตับ ตับจึงเปรียบเสมือนธนาคารน้ำตาล
เวลาที่อยากใช้ก็มาเบิกจ่ายเอาครับ
ไม่ใช่ทุกเซลล์ที่เก็บ glycogen ได้ ส่วนใหญ่อยู่ในตับกับกล้ามเนื้อลาย
เวลาสลาย glycogen ออกมาเป็นน้ำตาลในเลือดแล้ว แต่ละเซลล์ก็เอาไปใช้ได้เลยโดยไม่ต้องเปลี่ยนเป็น glycogen อีก
ส่วนที่ตับและกล้ามเนื้อลายไม่เก็บคาร์โบไฮเดรตในรูปน้ำตาลเพราะมันไม่ค่อยเสถียรนะ อยู่ในรูป polymer ดีกว่า
2. เฉพาะ young gametophyte ของมอสกับเฟินที่มีชื่อเรียกพิเศษนะพี่ว่า เพราะรูปร่างมันมีลักษณะเฉพาะ
ส่วนของพืชมีเมล็ดพี่ว่าไม่มีศัพท์เฉพาะ เพราะกระบวนการเจริญของ gametophyte มันเกิดจากการแบ่งเซลล์แค่ 2-3 ครั้งเท่านั้นเอง


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 3 มกราคม 2553 เวลา:14:18:25 น.  

 
1.งั้นแสดงว่าพืชดอกไม่มี young gametophyte ใช่ไหมครับ
2.แล้วการเปลี่ยนน้ำตาลเป็นไกลโคเจนที่ตับไม่ต้องใช้อินซูลินใช่ไหมครับ ถ้าใช่ แล้วอินซูลินเกี่ยวอะไรกับการที่เซลล์ขาดน้ำตาลใช้เมื่อขาดอินซูลินล่ะครับ งงอ่า.....
หรือว่าการที่ลำไส้ดูดซึมน้ำตาลแล้วส่งผ่านตับให้ตับเปลี่ยนเป็นไกลโคเจนยังต้องใช้อินซูลินอ่าครับ


โดย: แตงโม IP: 58.9.113.89 วันที่: 6 มกราคม 2553 เวลา:1:00:17 น.  

 
1. ไม่รู้ครับ แต่เค้าไม่เรียกกัน
2. เซลล์ตับ ใช้ insulin เก็บน้ำตาลเป็น glycogen
เซลล์ร่างกาย ใช้ insulin เอาน้ำตาลมาสันดาป
เซลล์ตับกับเซลล์ร่างกาย จึงใช้ insulin ลดระดับน้ำตาลในเลือด
เมื่อไม่มี insulin เซลล์ตับเอาน้ำตาลมาเก็บเป็น glycogen ไม่ได้
เมื่อไม่มี insulin เซลล์ร่างกายเอาน้ำตาลมาสันดาปไม่ได้
เมื่อไม่มี insulin ระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูงขึ้น เป็นเบาหวาน

ok?


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 6 มกราคม 2553 เวลา:19:02:55 น.  

 
อ๋อครับ ขอบคุณครับ ถ้าไม่มีอินซูลิน ร่างกายก็จะไม่มีเสบียงสำรองน้ำตาล ร่างกายเลยขาดน้ำตาลไปใช้ใช่ไหมครับ


โดย: แตงโม IP: 58.9.115.176 วันที่: 7 มกราคม 2553 เวลา:17:58:00 น.  

 
พี่ครับต่อไปผมจะใช้สัญลักษณ์ตัวเลขเป็น แบบฝึกหัด ตอนที่/ครั้งที่ นะครับ มีคำถามจะถามครับ
1.หนังสือเรียนไม่เห็นมีบอกเลยครับว่า พวกไอออนผ่านเยื่อหุ้มเซลล์โดย การแพร่ธรรมดา มันควรจะเป็นแบบ facilitated diffusion ไม่ใช่หรอครับ เช่น Na+ K+ ฯลฯ
2.Safranin ติด ลิกนินกับแบคทีเรียแกรมลบ แสดงว่าแบคทีเรียแกรมลบมีผนังเซลล์เป็นพวกลิกนินด้วยหรอครับ


โดย: แตงโม IP: 58.9.115.176 วันที่: 7 มกราคม 2553 เวลา:18:59:00 น.  

 
- textbook จะเขียนเรื่อง ion channel ไว้ไม่เหมือนกันครับ เป็น simple บ้าง เป็น facilitated บ้าง
ในหนังสือเรียนไม่ได้เขียนเอาไว้ แต่รูปในหนังสือเล่มมด หน้า simple diffusion จะมีรูป ion channel ที่เค้าไม่ได้เขียนอธิบายเอาไว้อะ
facilitated ในหนังสือเรียนคือโปรตีนตัวพาต้องเปลี่ยนรูปครับ
ซึ่ง ion chanel ทั่วไป (leakage channel) ไม่ได้เป็นแบบนั้น
- ไม่ใช่ครับ, ปฏิกิริยาเคมีที่เหมือนกันเกิดจากหมู่ฟังก์ชันที่เหมือนกัน ไม่ใช่คู่สารเดียวกันเสมอไป
(ตรรกศาสตร์) A -> C, B -> C, A กับ B ไม่จำเป็นต้องสมมูลกันนะ


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 7 มกราคม 2553 เวลา:22:31:53 น.  

 
-พี่ครับหน้าอ่าครับ ไม่เห็นบอกหน้าที่ของ Ribosome ที่เกาะอยู่บนเยื่อหุ้มนิวเคลียส (หน้า11)


โดย: แตงโม IP: 58.9.115.176 วันที่: 7 มกราคม 2553 เวลา:23:15:41 น.  

 
พี่ครับ Secondary Cell Wall มีเซลลูโลสไหมครับ


โดย: แตงโม IP: 58.9.115.176 วันที่: 8 มกราคม 2553 เวลา:0:13:55 น.  

 
คำถามเหล่านี้ทั้งหมดทุกข้อ ทุกบทผมตั้งใจถาม และพิมพ์จนแทบไม่ได้นอน(ในคืนนี้) หวังว่าจะได้คำตอบที่ชัดเจนและคำตอบอย่างละเอียดทุกเรื่องทุกคำถามนะครับ
ขอโทษ ขออภัย ขอขมาด้วยครับ ที่ต้องรบกวนที่ต้องให้ตอบคำถามอ่าครับ ขอบคุณมากครับ ซึ้งใจในความเสียสละของพี่


โดย: แตงโม IP: 58.9.115.176 วันที่: 8 มกราคม 2553 เวลา:3:07:10 น.  

 
- ribosome บนเยื่อหุ้มนิวเคลียสพี่ค้นดูหลายๆที่แล้วมันไม่บอกหน้าที่ แต่เยื่อหุ้มนิวเคลียสกับเยื่อ RER เป็นส่วนที่ต่อเนื่องกัน
พี่คิดเองว่ามันคงติดๆกันมาและมีหน้าที่เหมือนกันมั้ง
ตอนเด็กๆคิดว่าคงสร้างโปรตีนเข้าไปในนิวเคลียส แต่ความจริงคือเป็นหน้าที่ RER ต่างหาก
- secondary cell wall มี cellulose ครับ (อยู่หน้า 150)
- ที่ถามว่าตัวตุ่นตามัวคืออะไร -*- พี่จำไม่ได้แล้วเพราะมันเป็น log in ในพันทิปที่ทำมาตั้งแต่ม.ต้นและ
ตอนนั้นไม่เข้าใจอารมณ์เหมือนกัน
ตอนนี้ก็อายๆเด็กๆเพราะมันดูปัญญาอ่อนนิดนึง 55
- จริงๆไม่ต้องซีเรียสพิมพ์คำถามทั้งคืนขนาดนั้นก็ได้นะ -*-
และพี่คิดว่ามันเป็นไปไม่ได้หรอกนะน้องที่จะตั้งคำถามกับคนๆนึงแล้วได้คำตอบอย่างละเอียดทุกเรื่องทุกคำถามอะ ^^"
เพราะเวลาพี่ไม่เข้าใจอะไรไปถามอ.ที่คณะซึ่งเก่งมากๆแล้ว ยังต้องถามหลายๆคนเลย
แล้วพี่เป็นใครเนี่ย 55+ แค่ทำหนังสือภาพประกอบเล่มนึงเท่านั้นเอง


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 9 มกราคม 2553 เวลา:14:24:11 น.  

 
ใช้ออกสอวนหรือเปล่าคับสอบพรุ่งนี้


โดย: เอิด IP: 125.25.78.109 วันที่: 16 มกราคม 2553 เวลา:18:42:27 น.  

 
คืออยากรู้ค่ะว่าจะหาซื้อ campbell ได้ที่ไหน ราคาประมาณไหน เพราะวันนั้นไปหาที่ศูนย์หนังสือเค้าบอกว่ายังไม่มีน่ะค่ะ แล้วชุดของ campbell มีกี่เล่มคะ ช่วยตอบหน่อยนะคะ^^


โดย: aElle IP: 119.31.87.57 วันที่: 17 มกราคม 2553 เวลา:23:13:48 น.  

 
Cambell มีอยู่เล่มเดียวครับ แต่มีการแก้ไขหลายครั้งมาก ซึ่งจะมีการเพิ่มเติมองค์ความรู้ใหม่ๆที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบไปด้วยครับ ทำให้เล่มหลังๆมีเนื้อหามากขึ้น และศัพท์บางอย่างเขาก็เรียกไม่เหมือนเล่มเก่าๆ แต่ตอนนี้คงน่าจะไม่มีเล่มใหม่ๆออกมาแล้วมั้งครับ เพราะว่า อาจารย์Cambell ตายแล้วครับ ประมาณปีที่แล้ว อยากซื้อไปหาซื้อได้ที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯครับ หรือถ้าไม่สะดวกก็สั่งซื้อทางโทรศัพท์ได้นะครับ โทรไปศูนย์หนังสือจุฬาฯ ที่ 022554433


โดย: แตงโม IP: 58.9.51.156 วันที่: 25 มกราคม 2553 เวลา:16:56:19 น.  

 
พี่เต๊นค่ะ พี่ทำไมเก่งจังเลย ย




โดย: มิว IP: 117.47.13.3 วันที่: 9 มีนาคม 2553 เวลา:15:37:16 น.  

 
7. ข้อใดเกิดขึ้นเมื่อขึ้นไปบนยอดเขาสูง

ก. อัตราการหายใจและการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น
ข. สร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น
ค. เลือดไหลเวียนในเส้นเลือดเร็วขึ้น

1 ก.
2 ก. และ ข.
3 ข. และ ค.
4 ก., ข. และ ค.


พี่เต๊นค่ะ ช่วยตอบด้วยนะค่ะ

เพราะเฉลยบางเล่มตอบข้อ 4 บางเล่มตอบข้อ 1

ตกลงมันตอบข้อไหนกันแน่ค่ะ

เหนข้อนี้ออกข้อสอบเอนท์บ่อย ๆค่ะ

ขอบคุณมาก ๆ ๆนะค่ะ




โดย: มิว IP: 117.47.13.3 วันที่: 13 มีนาคม 2553 เวลา:15:51:28 น.  

 
ตอนนี้พี่เต๊นไปเที่ยวต่างประเทศนะคะ คำตอบชัวร์ๆต้องรอพี่เค้ามาตอบอีกทีค่ะ แต่พี่จะขอเอาความรู้ที่มีอยู่น้ิอยนิดตามที่ได้เรียนมามากล่าวให้ฟังก่อนนะคะ


เวลาขึ้นไปบนภูเขาสูงนั้น ความดันบรรยากาศจะน้อยมาก ไม่ใช่ 760 mmHg เหมือนบนพื้นผิวระดับน้ำทะเล หมายความว่าค่าความดันเฉพาะของก๊าซออกซิเจน (partial pressure of oxygen) ก็จะน้อยลงไป ภาวะนี้เราก็จะเรียกว่า Hypoxia


ทีนี้ร่างกายของเราจึงจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาชั่วคราวค่ะ โดยเฉพาะทำยังไงก็ได้ที่จะต้องให้ร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างพอเพียง

อันดับแรก ปอดต้องมีการขับเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกเร็วขึ้น เพื่อให้รับออกซิเจนได้บ่อยครั้ง ทำให้อัตราการหายใจเพิ่มขึ้นคล้ายๆกับการออกกำลังกาย และหัวใจก็จะต้อง pump เลือดแรงขึ้น เพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายให้ไกลๆได้

อันดับสอง หลอดเลือดเมื่อโดนแรงบีบของหัวใจแรงขึ้น ก็จะขยายตัวออกมากขึ้นเพราะผนังหลอดเลือดมีความยืดหยุ่น ดังนั้นจะไปทำให้พื้นที่ผิวของหลอดเลือดมากขึ้น ส่งผลให้เลือดไหลได้เร็วขึ้น


อันดับสาม อัตราการสร้างเม็ดเลือดแดงจะเพิ่มขึ้น อันนี้มีหลักเลยฐานค่ะ ใน Text จะมีบอกไว้ เค้าบอกว่า อัตราการสร้างเม็ดเลือดแดงปกติจะอยู่ที่ประมาณ 400-500 มล.ต่อเดือน แต่อัตรานี้จะเปลี่ยนได้ขึ้นกับความดันหรือปริมาณออกซิเจนในเลือด ในกรณีที่อากาศหายใจมีปริมาณออกซิเจนต่ำหรือกรณีที่ร่างกายเสียเลือด จะมีผลเร่งให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น แต่หากร่างกายได้รับเลือดทำให้เม็ดเลือดแดงสูงขึ้น จะทำให้อัตราลดลง


สำหรับพี่นะคะ พี่คิดว่าตอบ ง. ค่ะ


โดย: มาตอบแทนค่ะ IP: 58.9.246.72 วันที่: 25 มีนาคม 2553 เวลา:13:56:49 น.  

 
พี่ว่าตอบ ง. นะครับ
โจทย์คงมีมากกว่านี้ เพราะเวลาขึ้นไปบนเขาสูงๆเนี่ย
ขึ้นไปแป๊บนึง อย่างเช่นเราไปดอยอินทนนท์ไม่กี่วันแล้วกลับมา
หรือขึ้นไปค้างเป็นสัปดาห์, หรือขึ้นไปอยู่นานๆเป็นชาวเขา
ร่างกายของเราปรับตัวไม่เหมือนกันเลยครับ

ข้อสอบพี่โมเมไปเองว่าน่าจะเป็นแบบแรก
ถ้าเกิดเราขึ้นไปที่ๆ O2 ไม่เพียงพอ เม็ดเลือดแดงก็จะสร้างเพิ่มขึ้นแน่นอนครับ (ข.ถูก)
เพราะร่างกายจะสร้าง erythropoietin ทันที แต่เม็ดเลือดแดงล็อตนั้นจะออกมาเมื่อผ่านไปห้าวันครับ
หายใจก็ต้องถี่ขึ้นแน่นอน เพราะร่างกายต้องชดเชย O2 ที่ลดลง
หัวใจก็ต้องเต้นถี่ขึ้น เพื่อไปเลี้ยงทุกส่วนที่ขาด O2 ให้ได้เต็มที่ (ก.ถูก)
เมื่อหัวใจเต้นเร็วขึ้น พี่ว่าเลือดก็ต้องไหลเร็วขึ้นด้วย
ถึงแม้ว่าจลศาสตร์ของเลือดใน artery, vein, cappilary จะไม่เหมือนกัน
แต่ลองนึกดูดีๆดิว่าถ้าหัวใจมันเต้นเร็ว เลือดมันก็ต้องไหลเร็วขึ้นด้วยใช่ไหม
(ข้อนี้เลือก ข. เอาไว้ก่อน เหลือ 2,3,4 แล้วเลือก 4 เพราะว่า ก. กับ ค. มันน่าจะไปด้วยกันได้)


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 6 เมษายน 2553 เวลา:18:08:26 น.  

 
ตอนที่ 1 ข้อ 18. ผมเห็นหนังสือบางเล่มเขียนว่าการลำเลียง glucose เข้าเซลล์ ใช้ facilitated diffusion อ่ะครับ แล้วตกลงมันผ่านได้ทั้งสองทางเหรอครับ (ทั้งชั้น phospholipid และก็ผ่าน protein channel) ??

ตอนที่ 2 ข้อ 17. ผมเห็นหนังสือบางเล่มเขียนว่า sap vacuole อาจพบได้ในสัตว์แต่ไม่เด่นนัก เช่นเดียวกันพบเห็นหนังสือบางเล่มเขียนว่า lysosome พบทั้งเซลล์สัตว์และพืช มันเป็นข้อยกเว้นหรือเป็นข้อถกเถียงกันหรือเปล่าครับ แล้วตอนสอบ Ent' ควรจะยึดแบบไหน

อยากรู้ว่า lysosome ใช้เรียกออร์แกนเนลล์ที่บรรจุเอนไซม์ต่างๆที่ใช้ในการย่อยนอกเซลล์ เช่น พวกน้ำย่อยในร่างกายต่างๆของเรา ได้หรือป่าวครับ เห็นพี่เต๊นท์เฉลยข้อ 19. บอกว่า amylase ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ lysosome เลย แต่ผมเห็นหนังสือบางเล่มเขียนว่า lysosome เกี่ยวข้องกับการย่อยนอกเซลล์ด้วยเลยสงสัยว่าเกี่ยวกับน้ำย่อยด้วยหรือเปล่า

ข้อ 26. ตัวเลือก ข. ถ้าเปลี่ยนจากหยดไขมันเป็นกรดไขมันจะใช้ simple diffusion ในการดูดซึมใช่ไหมครับ

มีโจทย์ ent' อยู่ปีนึง ถามว่า nuclear pore ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของสารใด บางเล่มเฉลยว่า protein,ribosome,RNA ส่วนบางเล่มเฉลย เฉพาะ protein,RNA อยากรู้ข้อเท็จจริงอ่ะครับ

ผมชักเริ่มกังวลใจแล้วอ่ะครับว่า เฉลยแต่ละที่บางข้อไม่เหมือนกันเลย แล้วตอนสอบจะยึดความรู้จากแหล่งไหนดีอ่ะครับ เป็นไปได้อยากให้พี่เต๊นท์ทำหนังสือเฉลยโจทย์ Ent' ทั้งหมดเลย อิอิ


โดย: akiji IP: 58.9.220.146 วันที่: 13 เมษายน 2553 เวลา:9:01:26 น.  

 
ผมอ่านในหนังสือกระทรวงมันบอกว่ากล้องจุลทรรศ์แบบอิเล็กตรอนมันให้ภาพเสมือนอะครับ(ชีวะเล่ม1 หน้า35 บรรทัดก่อนสุดท้าย)


โดย: pop IP: 115.67.154.244 วันที่: 13 เมษายน 2553 เวลา:20:52:46 น.  

 
# น้องอะคิจิ
- กลูโคสผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ต้องใช้โปรตีนตัวพาครับ
เป็นการแพร่แบบ facilitated
โจทย์บอกว่าเยื่อหุ้มเซลล์ยอมกลูโคส (ซึ่งผ่านแบบ facilitated)
แต่ไม่ยอมซูโครส (ซึ่งใหญ่เกินกว่าจะผ่านได้ และไม่มีโปรตีนตัวพาของซูโครสในร่างกายเรา) จึงตอบว่าถูก
- lysosome ในพืชนั้นเป็นที่ถกเถียงว่ามีหรือเปล่าครับ
จริงๆมันมีรายงานมาบ้าง ฉบับแรกคือ Lysosomes of root tip cells in corn seedlines (1968)
เพราะฉะนั้นมี แต่มีน้อยมากๆๆๆๆและที่ค้นพบก็ไม่รู้ว่าใช่หรือเปล่าครับ
- sap vacuole ในสัตว์พี่ว่าน่าจะหมายถึง vesicle ต่างๆมากกว่านะ น่าจะเรียกผิด
ส่วน central vacuole นี่มีเฉพาะในเซลล์พืชที่แก่ๆแล้วเท่านั้นครับ
- lysosome คือ vesicle ที่บรรจุน้ำย่อยสำหรับย่อยในเซลล์ครับ
ถ้าหลุดออกมาจาก golgi แล้วมีน้ำย่อยนอกเซลล์ (พวกน้ำย่อยอาหารต่างๆ) จะไม่เรียกว่า lysosome นะ
ไม่มีชื่อเรียกเฉพาะ เรียก secretory vesicle, secretory granule ฯลฯ ประมาณนี้
- กรดไขมัน ประมาณนั้นแหละครับ
แต่ถ้าเรียนมหาลัยแล้วก็จะรู้เพิ่มว่าที่ลำไส้เล็กไม่ได้ดูดซึมกรดไขมันเดี่ยวๆนะ มันมีรูปแบบของมัน
- โจทย์เอนท์ข้อนั้นหนังสือพี่ก็มีในบฝ.นะ
ribosome ผ่าน nuclear pore ได้นะ เพราะมันสร้างมาจาก nucleolus ไง ไม่งั้นจะมาจากไหนอะ

# น้องป๊อบ
พี่ค้นดูให้แล้ว
ทั้ง TEM และ SEM ภาพปรากฎบนจอได้
แต่ TEM เป็นภาพจริง รูปในหนังสือเรียนจะเห็นว่าแนวของแสงมันบรรจบกันเป็นภาพพอดี.. ประมาณนั้นแหละพี่ก็ไม่เก่งฟิสิกส์
แต่ถ้าเป็น SEM จะเป็นภาพเสมือนนะ
//microsystem.re.kr/main_kor/menu06/sub_menu02_view.asp?no=1133&m_type=&m_search_type=all&m_search_word=solve&page=1&startpage=1
//e-ditionsbyfry.com/Olive/ODE/RRDSupp/default.aspx?href=RRD%2F2007%2F07%2F01&pageno=38&entity=Ar03800&view=entity
//www.hei.org/research/aemi/emt.htm


โดย: แฮปปี้สงกรานต์ (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 19 เมษายน 2553 เวลา:16:44:00 น.  

 
ข้อสอบสอวน.ชีวรอบแรกนี่ออกถึงชั้นไหนค้ะ.?


โดย: U IP: 58.8.242.162 วันที่: 26 เมษายน 2553 เวลา:20:53:45 น.  

 
พี่เต๊นฮาดีอ่ะ



เวลาตอบข้อสงสัยของน้อ ง ๆอ่ะ



ห้าห้า
ขำ ดี


โดย: เพื่อMED. IP: 180.180.25.196 วันที่: 6 พฤษภาคม 2553 เวลา:15:03:19 น.  

 
พี่ค่ะ

อนุกรมวิธาน ข้อ10. ที่พี่เฉลยว่าก้างกลางลำตัวปลาเก๋าเป็นปล้องลำตัวอ่่ะค่ะ แล้วมนุษย์เรามีปล้องลำตัวมั้ยค่ะ

การหายใจ ข้อ8. ออกซิเจนมันไปกระตุ้นการเติมฟอสเฟสยังไงค่ะ

สังเคราะห์แสง ข้อ11. พี่เฉลยว่าเป็น ก.NADPH และO2 ทำไมถึงไม่เกิด ATP ด้วยหล่ะคะ

ขอบคุณมากๆๆๆค่ะ



โดย: JuNNeR IP: 125.26.249.32 วันที่: 6 พฤษภาคม 2553 เวลา:18:57:01 น.  

 
- สวอน.รอบแรกถ้าเป็นสมัยพี่ใช้ความรู้ม.ต้นออกครับ
- ปล้องลำตัวของคนคือปล้องของกระดูกสั้นหลังครับ เทียบเท่าได้กับก้างปลาเลย
- (copy มาจากเฉลย) ออกซิเจนไม่ได้กระตุ้นการเติมหมู่ฟอสเฟตโดยตรงแต่อย่าลืมว่า ออกซิเจนเป็นตัวกระตุ้นให้เกิด Krebs cycle และการถ่ายทอดอิเล็กตรอน ถ้าไม่มีออกซิเจนการเติมหมู่ฟอสเฟตให้ ADP ใน oxidative phosphorylation ก็ไม่เกิดขึ้น
- ไม่เกิด ATP เพราะใส่ไปแต่ ADP แต่ไม่ใส่หมู่ฟอสเฟตครับ


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 17 พฤษภาคม 2553 เวลา:17:54:54 น.  

 
ไม่เข้าใจข้อ ex1 ของเรื่องกล้องจุลทรรศน์อ่ะค่ะ

ว่าไอ้ตรงที่มันบอกว่าขยายจนมีขนาด 1 cm. คืออะไร????


โดย: เยาะ IP: 125.26.150.192 วันที่: 5 มิถุนายน 2553 เวลา:15:07:03 น.  

 
พี่เต๊นน ข้อ24 บทที่1 หน้า222 ทำไมไข่ขาวทำให้น้ำเข้าไปได้มากสุดอ่า คือตอนแรกหนูคิดว่ามันเป็นไข่ขาวเหมือนกับข้างในก้เลยไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเลยตัดออกข้อแรกเลย เหอะๆ งงงง TT


โดย: ii IP: 124.121.159.145 วันที่: 11 มิถุนายน 2553 เวลา:11:50:03 น.  

 
พี่เต้นๆ

หนังสือเขียนดีมากเลยพี่

อยากให้พี่แต่งหนังสืออีกสักเล่ม

อิอิ


โดย: mpmpx IP: 180.183.150.207 วันที่: 18 มิถุนายน 2553 เวลา:0:03:04 น.  

 
พี่เต้นคะ หนูไม่เข้าใขข้อ3อ่ะค่ะ ของตอนที่2อ่ะคะ่
คือหนูไม่เข้าใจเลยสักนิดว่าทำไมมันถึงคำนวนออกมาได้เปนแบบนั้น ตอนแรกพี่บอกว่าปรับจาก40xเป็น100x แล้วทำไมอยู่ดีดีถึงได้กลายเป็น10*100ได้

งงมากๆเลยคะ่

ช่วยตอบด้วนะคะ^^


โดย: NooPangRum IP: 180.180.109.29 วันที่: 18 มิถุนายน 2553 เวลา:19:01:09 น.  

 
คือว่า งงอ่าครับ
actin ใน sarcromere เป็น microfilament ใช่ไหมครับ
myosin นี่เป็น microfilament หรือ imtermediated filament อ่าครับ ช่วยทีนะครับ


โดย: SWS#8 IP: 58.9.58.92 วันที่: 11 กรกฎาคม 2553 เวลา:19:16:40 น.  

 
ไวรัสไข้หวัดใหญ่ 2009 H1N1 มีสายพันธุกรรมเป็นแบบใด รบกวนช่วยอธิบายหน่อยคะ แบบว่า ฏ์ฤ สายเดี่ยว สายคู่ อะไรประมาณนี้


โดย: ลิงน้อย IP: 180.180.175.136 วันที่: 20 กรกฎาคม 2553 เวลา:10:27:39 น.  

 
อยากได้เฉลยบทที่ 20-21 ค่ะอธิบายการทำอย่างละเอียดค่ะ


โดย: Nong IP: 125.26.127.125 วันที่: 27 กรกฎาคม 2553 เวลา:17:15:14 น.  

 
สงสัยข้อ 19 ที่ ถูกผิด อ่ะครับ

จาก หมอ พิชญ์
Simple diffusion = สารไม่มีขั้วผ่านลงไปทาง Lipid membrane
Facilitate diffuison = สารมีขั้วผ่านทางโปรตีน

น้ำเป็นสารมีขั้ว ดังนั้นจึงเป็นการลำเลียงแบบ Facilitate

งงครับ ช่วยอธิบายทีครับ

มีอีกเรื่อง การที่เซล์มีคุณสมบัติ fluidity
หมอพิชญ์บอก เป็นหน้าที่ของ Cholesterol
พี่เตนท์บอก เป็นหน้าที่ของ Phospholipid bilayer

ช่วยให้หายข้อสงสัยหน่อยนะครับ


โดย: AA IP: 115.67.35.103 วันที่: 17 สิงหาคม 2553 เวลา:16:43:48 น.  

 
พี่ๆ ไวรัสเป็นสิ่งมีชีวิตหรือป่าวอะ? แล้วสิ่งมีชีวิตใดมีขนาดเล็กที่สุดหรอ?

พึ่งสอบ สอวน พิโลก ไม่นานนี้ยัง สงสัยอยู่เลย

ขอบใจล่วงหน้าเน้อ );


โดย: Drow IP: 182.53.157.253 วันที่: 20 กันยายน 2553 เวลา:20:12:43 น.  

 
สงสัยข้อ 7 ตอนที่ 2 อะครับ
พี่เต็นท์บอกว่า ribosome ใครๆก็มีกันไม่เห็นจะเป็นข้อแตกต่าง
คือผมสงสัยว่า ในเมื่อสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน เป็น prokaryote ซึ่งมี ribosome ชนิด 70s ส่วนสาหร่ายอื่นๆเป็น eukaryote ซึ่งมี ribosome ชนิด 80s อย่างนี้มันต่างกันรึเปล่าครับ

ขออีกข้อนะครับ ข้อ 21 ตอนที่ 2 ครับ
พี่เต็นท์บอกว่า " receptor-mediated endocytosis เป็นการขนส่งสารแบบไม่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ เหมือนกับ exocytosis และ endocytosis แบบอื่นๆ ทั้งหมดนี้ต้องการพลังงาน"
แต่ในหนังสือแบบเรียนที่เป็นรูปมดอะครับ หน้า 101 เรื่อง
4.3.2 การลำเลียงสารโดยไม่ผ่านเยือหุ้มเซลล์
บรรทัดแรกของหัวข้อนี้เลยครับ เค้าบอกว่า
"ในกรณีที่มีการลำเลียงสารโมเลกุลใหญ่เข้าหรือออกจากเซลล์ ซึ่งสารโมเลกุลใหญ่เหล่านี้ไม่สามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลล์หรือโปรตีนในเยื่อหุ้มเซลล์ได้โดยตรง จึงไม่สามารถใช้กระบวนการแพร่แบบฟาซิลิเทต และการลำเลียงแบบใช้พลังงานได้..."
ตกลงข้อเท็จจริงมันเป็นอย่างไหนหรอครับ ช่วยหน่อยนะครับพี่เต็นท์
ขอบคุณมากๆครับ


โดย: aon IP: 125.25.236.57 วันที่: 25 กันยายน 2553 เวลา:3:01:11 น.  

 
พี่เตนท์หายไปไหนอ่ะ ???


โดย: Oporii IP: 125.27.56.121 วันที่: 7 ตุลาคม 2553 เวลา:11:11:51 น.  

 
ข้อ19ตอน1อ่ะค่ะ
นำ้มัน osmosis ไม่ใช่หรอค่ะ


โดย: Pat IP: 110.164.168.210 วันที่: 14 ตุลาคม 2553 เวลา:17:04:40 น.  

 
อ่านมา ทุกคำถาม

นับถือพี่ เตนท์ มาก มาก จากใจจริงคับ

หนังสือแสนถูก 190 บาท (อาจถูกกว่าถ้าซื้อช่วงลดราคา)

แต่ พี่เตนท์ คงได้เงินไ่ม่เท่าไหร

แต่ต้องมาตอบคำถาม ล่อเป้า เยอะแยะไปหมด

สุดยอดเลยพี่

เป็นกำลังใจครับ สู้ ต่อไป

ยังมีคน สนับสนุนพี่ มากมายครับ แต่เป็นพลังเงียบ

ไม่กล้าแสดงตัว

รออุดหนุน ทุกผลงานคับ

ผมซื้อตั้งแต่ ed1 กย 52 3000 เล่มแรกครับ

ดีใจที่เห็นพี่โคตรมี น้ำใจมากมายต่อ น้องๆครับ

ข้อสงสัยเรื่อง fluidity ออกข้อสอบ pat2 ตค 53 ด้วยครับ

ไม่รู้เหมือนกันว่่าตอบไรดี

หมอพิชญ์ ตอบ คอเลสเตอรอล

หมอเตนท์ ตอบ ฟอสโฟลิปิด

คำถามล่อเป้ามากๆ ช่วยหน่อยนะครับ

กลัวว่ามันจะไปออก กสพท ครับ


โดย: สุดยอดหนังสือแห่งประวัติศาสตร์ประเทศไทยครับ IP: 183.89.78.40 วันที่: 17 พฤศจิกายน 2553 เวลา:2:54:57 น.  

 
หนูอยากรู้แนวข้อสอบแพทย์กสพท เพราะหาดูจากทั้งร้านหนังสือ และในเน๊ตก็ไม่มีข้อสอบเก่าของแพทย์กสพทเลย อยากรู้มากว่าข้อสอบจะออกแบบไหน เกินหลักสูตรเหมือนบางคนบอกหรือเปล่า อยากให้พี่เต๊นช่วยบอกทีถ้าได้ทุกวิชายิ่งดีคะ ขอบคุรมากนะคะ
ปล หนูอ่านหนังสือพี่เต๊น3 จบครบไม่ได้ใช่มั้ยคะ สดุดตาที่รูปวาดน่ารัก รูปแบบการสรุปของพี่เต๊นคล้ายหนูมาก จึงทำให้ชอบอ่าน แต่มีบางส่วน หนูต้องไปหารายอะเอียดเองเพราะไม่เข้าใจว่าคืออะไร เสียเวลานิดหน่อย แต่ก็ได้ความรู้มากขึ้น ขอบคุณนะคะที่ทำให้หนูรักวิชาชีวะขึ้นมาจากที่ชอบ ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ตอนนี้ชอบชีวะมากกว่าค่ะ


โดย: อนาคตน้องคณะพี่เต๊น IP: 124.120.158.89 วันที่: 20 พฤศจิกายน 2553 เวลา:7:36:28 น.  

 
สงสัยเหมือนกันเรื่องfluidity พี่เต็นช่วยตอบด้วยค่ะ


โดย: Pat IP: 222.123.184.45 วันที่: 27 พฤศจิกายน 2553 เวลา:20:59:14 น.  

 
พี่เต็นที่พี่บอกว่าในพืชถือว่ามี centrosome นี่ ยังไงอ่ะค่ะ ช่วยอธิบายหน่อย


โดย: Pat IP: 222.123.184.45 วันที่: 27 พฤศจิกายน 2553 เวลา:21:28:33 น.  

 
สงสัยเรื่องcarrierกับchannelอ่ะคับ
ถ้าเป็นcarrierมันจะลำเลียงสารที่จำเำพราะกว่าchannelหรือเปล่าเพราะเหมือนว่าchannelมันเป็นแค่่รุให้สารผ่านได้เฉยๆ
ถ้าไม่แล้วสองอันนี้ต่างกันยังไงนอกจากโครงสร้าง


โดย: ALONE IP: 10.99.9.36, 61.90.230.113 วันที่: 13 ธันวาคม 2553 เวลา:18:21:40 น.  

 
ขอถามพี่เตนท์หน่อยครับ งง ตอนที่ 1 อ่า :
คือว่า
ตอนที่ 1 ข้อ 11 :
- ไม่ถือว่า thylakoid อยู่ใน stroma แล้ว chlorophyll ก็อยู่ใน stroma ด้วยหรอครับ ?

ข้อ 17 : ต้องเป็น 0.9% NaCl รึเปล่าครับ ?
ข้อ 19 : Osmosis คือ simple diffusion หรอครับ ? แล้วทำไมเค้าถึงเขียนแยกกันอ่าครับ ?

คือครูที่โรงเรียนสอนมาก็เลยงงๆ อ่ะครับ - -"

ขอบคุณมากครับ :)


โดย: L.DINSOR IP: 222.123.132.186 วันที่: 13 ธันวาคม 2553 เวลา:19:38:28 น.  

 
คือพี่ค่ะ


การคำนวนหสเซลล์แต่ล่ะเซลล์จะยาวกี่ไมครอนแบบว่า
หนูงงมากเลยค่ะพี่


คือครูหนูสอนกับพี่มันไม่ตรงกันค่ะคำตอบมันก็ได้เหมือนกันน่ะแต่ลองไปทำดูแล้วหนูได้คำตอบไม่ตรงค่ะ หนูว่าหนูผิดแต่หนูไม่รุ้มันผิดตรงไหอ่ะค่ะ พี่เต๊นท์ช่วยอธิบายแบบละเอียดๆๆๆๆที่ได้มั้ยค่ะ หนูว่าคำนวนมันง่ายๆๆๆแต่ทำไม่ได้อ่ะ ทำกีที่คำตอบมันก็ไม่ตรง ไอ้ข้ออื่นที่ยากกว่านี้หนูว่าทำได่น่ะแต่ข้อนี้ทำงัยคำตอบก็ไม่ตรงอ่ะค่ะ


ขอบคุณมากค่ะสำหรับหนังสือดีๆเนื้อหาดีๆ ที่หาแบบสังเคราะห?ดีๆๆแบบนี้ไม่ได้อีกแล้ว^^


โดย: จ๋อมแจ๋ม IP: 118.175.148.1 วันที่: 17 ธันวาคม 2553 เวลา:17:01:34 น.  

 
ข้อ 6 ตอน 2 เรื่องแรก
cell wall ไม่ว่าของพืช สาหร่าย แบคทีเรีย หรือฟังไจ จะมีองค์ประกอบต่างๆกัน แต่ไม่มีโปรตีน แต่ bacteria เป็น เปปทิดดไกลแคน = protein กับ คาร์โบ แล้วไม่โดนย่อยเหรอ


โดย: wiggy IP: 111.84.85.230 วันที่: 17 มีนาคม 2554 เวลา:6:46:13 น.  

 
ตอบคุณ Drow นะคะ
พอดีพึ่งเรียนมาไม่นาน ^ ^''

ไวรัส ถือเป็นสิ่งมีชีวิตค่ะ

ถึงแม้ว่ามันจะ ไม่มีเซลล์ แต่ก็นับว่าเป็นสิ่งมีชีวิตเพราะ

"มันสามารถสืบพันธุ์ได้"

ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่กำหนดว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งมีชีวิต

สิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กที่สุดคือ "viroid" ค่ะ


ถ้าตอบผิดแต่ประการใดต้องขออภัยนะคะ พึ่งเรียนมาเขาสอนมาแบบนี้
ไม่ใช่ผู้รู้จริง แต่อยากแบ่งปันความรู้ ^ ^


โดย: คนที่พึ่งเริ่มอ่านหนังสือ IP: 14.207.183.119 วันที่: 30 มีนาคม 2554 เวลา:14:17:49 น.  

 
พี่เต๊นค่ะเฉลยในบทอื่นอย่างละเอียดอยุ ที่ไหนอ่ะ ค่ะ ขอบคุนค่ะ


โดย: 999 IP: 183.89.185.233 วันที่: 25 เมษายน 2554 เวลา:21:31:08 น.  

 
พี่เต๊นเก่งจังเลยนะคะ
อยากเก่งแบบพี่จังเลยค่ะ
แล้วทำอย่างไรจะอ่านแล้วเข้าใจและจำได้คะ


โดย: สุพัตรา IP: 182.53.102.95 วันที่: 17 กรกฎาคม 2554 เวลา:16:07:35 น.  

 
พี่ครับ

ผมซื้อหนังสือของพี่ตอนพิมพ์ครั้งที่9

เเล้วพบว่า มีการเฉลยเเล้วขัดกับเนื้อหาในหนังสือ

ข้อ 12.ในหน้า 234.

มีใจความว่า

12.ข้อใดกล่าวถึงบทบาทของ cholesterol ได้ถูกต้อง

a)ทำให้เกิดหลอดเลือดอุดตัน

ิb)มีส่วนช่วยสังเคราะห์ฮอร์โมนเพศ

c)เสริมสร้างความแข็งแรงให้ผนังเซลล์

ก.a ข.a b ค.b c ง.a b c

ในหนังสือพี่เฉลยข้อ 2.

แต่ในหน้า11 บรรทัดที่ 4 พี่เขียนไว้ว่า

cholesterol แทรกอยู่ระหว่างชั้น phospholipid bilayer เสริมสร้างความแข็งเเรงเเละความยืดหยุ่น

ฉะนั้น น่าจะเฉลยข้อ 4. ใช่มั้ยครับ

แล้วพี่น่าจะเคยเรียนกับหมอบีมนะครับ (มั้ง)

ข้อ 23. หน้า 222

เฉลยว่า phospholipid ทำให้เยื่อหุ้มเซลล์มีคุณสมบัติเป็นของไหล

แต่ในหนังสือ OPD 1 ของหมอบีมหน้า 98 บอกคอเลสเตอรอลเป็นตัวทำ

แล้วในหนังสือ OPD 1 (อีกที) หน้า160 ข้อ 16.

ถามในเชิงว่า ATP synthase ส่ง H+ ไปแบบใด

หมอบีมเฉลยข้อ 3.active transport แต่หนังสือพี่ในหน้า63บอกเป็นการแพร่

(ข้อนี้เเอบเข้าข้างพี่เต็นท์)
เลยอยากให้พี่เต็นท์ช่วยชี้เเจงข้อสงสัยนี้้ด้วยครับ ^^


โดย: ปณต IP: 49.48.95.197 วันที่: 13 สิงหาคม 2554 เวลา:22:20:09 น.  

 
สวัสดีค่ะพี่เต๊น
พอดีว่าหนูอยากได้เฉลยแบบละเอียดครบทุกบทค่ะ
รบกวนพี่เต๊นช่วยเอามาลงเว็บนี้ให้หนูหน่อยนะค่ะ
ต้องการด่วนมาก เพราะว่าหนูจะไปสอบ กศบ.ชีววิทยาเดือนหน้าแล้วค่ะ
ขอบคุณพี่เต้นล่วงหน้าค่ะ


โดย: น้องปู IP: 115.67.131.117 วันที่: 26 สิงหาคม 2554 เวลา:19:39:39 น.  

 
พี่ครับมีคำผิดอยู่คำนึงในหนังสือพี่ครับ ในเรื่องของระบบขับถ่าย ของไตอะครับ
reabsorbtion ต้องสะกดแบบนี้- reabsorption พี่สะกดผิดครับ ช่วยแก้ในการตีพิมพ์ครั้งต่อไปด้วยครับ


โดย: บบ IP: 49.49.140.149 วันที่: 8 กันยายน 2554 เวลา:18:12:22 น.  

 
ช่วยแก้
B oxidation เป็นใช้ ATP เริ่มต้น 1 ATP ด้วยครับ


โดย: ใจ IP: 101.51.4.255 วันที่: 24 กันยายน 2554 เวลา:11:07:02 น.  

 
ผมอยากรู้ว่า มีลักษณะทางพันธุกรรมที่อยูใน cytosol รึป่าวครับ
เพราะผมเคยได้ยินจากอาจารย์ แล้วถ้ามี จะส่งผลต่อการ clone หรือไม่ครับ
แล้วก็กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงที่เป็นประเภทสเตอร์ริโอ ให้ภาพแบบไหนหรอครับ

ขอบคุณพี่เต๊นมากๆเลยนะครับ


โดย: zk. IP: 58.8.167.45 วันที่: 4 พฤศจิกายน 2554 เวลา:15:42:45 น.  

 
พี่ครับข้อ18 หน้า 2247 ผมงงมากเลย ครับพี่ช่วยอธิบายหน่อยครับ


โดย: ครับ IP: 223.207.105.245 วันที่: 3 มีนาคม 2555 เวลา:21:23:04 น.  

 
ถึงคุณ ปณต
ที่ว่า
"พี่ครับ

ผมซื้อหนังสือของพี่ตอนพิมพ์ครั้งที่9

เเล้วพบว่า มีการเฉลยเเล้วขัดกับเนื้อหาในหนังสือ

ข้อ 12.ในหน้า 234.

มีใจความว่า

12.ข้อใดกล่าวถึงบทบาทของ cholesterol ได้ถูกต้อง

a)ทำให้เกิดหลอดเลือดอุดตัน

ิb)มีส่วนช่วยสังเคราะห์ฮอร์โมนเพศ

c)เสริมสร้างความแข็งแรงให้ผนังเซลล์

ก.a ข.a b ค.b c ง.a b c

ในหนังสือพี่เฉลยข้อ 2.

แต่ในหน้า11 บรรทัดที่ 4 พี่เขียนไว้ว่า

cholesterol แทรกอยู่ระหว่างชั้น phospholipid bilayer เสริมสร้างความแข็งเเรงเเละความยืดหยุ่น

ฉะนั้น น่าจะเฉลยข้อ 4. ใช่มั้ยครับ"

ผมว่าเฉลยถูกแล้วนะครับ เพราะ bilayer มันอยู่ใน cell mambrane ไม่ใช่ cell wall ตามช้อยนะครับ

ถ้าอ่านหนังสือพี่เต้นมากๆ จะรู้ว่าเพียงคำๆ เดียวก็ทำให้เราเขวได้แบบนี้ละครับ พอรู้สึกว่าเราจำได้ลางๆ อย่าเพิ่งดีใจเด็ดขาดเลย เดี๋ยวโดนหลอก


โดย: ขี้เกียจตั้ง IP: 115.67.70.62 วันที่: 4 พฤศจิกายน 2555 เวลา:13:26:33 น.  

 
ข้อ5 ตอน 2 เรื่องเซลล์เเละกล้องจุลทรรศน์อะคะ
การใช้กล้องจุลทรรศน์ในข้อใดไม่เหมาะสมที่สุด
ก. LM-ศึกษาการไหลเวียนของเลือดในหางปลานั้นๆ
ข. SEM-ศึกษาลักษณะผิวของเส้นผมมนุษย์
ค. TEM- ศึกษาองค์ประกอบเคมีภายในmitochondriaของเซลล์ตับ
ง. stereo microscope-ศึกษาโครงสร้างอับสปอร์ของมอส

ที่เฉลยตอบค.อะคะ พอดีหนูสงสัยนิดหน่อยว่า องค์ประกอบเคมีภายใน เช่น lipid,protein หรืออื่นๆ ใช่ไหมคะ เเต่ว่า transmitted electron microscope สามารถดูองค์ประกอบเคมีได้ไม่ใช่หรอคะ เพราะมันดูได้เล็กสุด 0.1-2nm ซึ่งขนาดของพวกlipid//proteinก็มีขนาดที่อยู่ในขอบเชตที่ TEMจะสามารถส่องดูได้

พอดีไม่เเน่ใจอะคะ ไม่เเน่ใจว่าเข้าใจผิดหรือปล่าว
ฝากพี่เต๊นท์ตอบให้นิดนึงนะคะ ขอบคุณมากๆเลยนะคะ :-)

ปล. ถ้าหนูเข้าใจผิดประการใดต้องของโทษด้วยนะคะ TT ขอบคุณนะคะ


โดย: mkk IP: 110.171.18.175 วันที่: 14 เมษายน 2556 เวลา:20:19:32 น.  

 
พี่เต้นท์ ดีใจด้วยนะ จบแล้ว


โดย: Love_Bordeaux วันที่: 13 กันยายน 2556 เวลา:12:19:44 น.  

 
ว่าด้วยเรื่อง fluidity
Unsaturated hydrocarbon tails คือตัวการที่ทำให้ membrane fluidity พูดง่ายๆไอตัวfatty acid ที่ขางอๆที่เกิดจากพันธะคู่อ่ะ มันทำให้การเรียงตัวไม่มั่นคงไม่แข็งแรงเกิดช่องว่างจึงทำให้มัน fluid
เทียบกับที่ ไม่งอ(saturated hydrocarbon tail)แพ็คเรียงกันขายาวเหยียดตรงเรียงกันแน่นแน๊นนน ก็ง่ายๆมันก็ขยับเขยื่อนได้น้อย เปรียบประดุลขึ้นรถไฟฟ้าสถานีสยามเบียดกันเป็นปลากระป๋องตัวติดยืนตรงแนบชิดสนิทกาย แล้วไหนจะมี chloresterol เพิ่มเข้ามา สร้างความแนบชิดให้กับตัวphospholipidเรียงชิดมากขึ้นอีก
สรุป ตามข้อสงสัย
Phospholipid- cell membrane fluidity
Chloresterol- cell membrane stabilized
สู้ต่อไปเด็กๆ


โดย: บังเอิญตอบได้และชัวร์มาก IP: 125.24.20.32 วันที่: 13 พฤศจิกายน 2556 เวลา:1:14:01 น.  

 
ข้อสอบยุไหนอะครับ


โดย: .... IP: 113.53.52.17 วันที่: 17 พฤษภาคม 2557 เวลา:11:49:27 น.  

 
พี่เต๊นท์ค่ะหนูงง ข้อที่ 2 ตอนที่ 2 ค่ะ หนูงงคำว่า "แสดงว่าแต่ละเซลล์ยาว 12 / 4 = 3 mm " พี่เต๊นเอาเลข 4 มาจากไหนค่ะ หนูคิดไม่เป็นอ่ะค่ะ


โดย: เข้าใจยาก IP: 223.205.123.125 วันที่: 16 สิงหาคม 2557 เวลา:14:23:47 น.  

 
พี่เต๊นท์ค่ะหนูงง ข้อที่ 2 ตอนที่ 2 ค่ะ หนูงงคำว่า "แสดงว่าแต่ละเซลล์ยาว 12 / 4 = 3 mm " พี่เต๊นเอาเลข 4 มาจากไหนค่ะ หนูคิดไม่เป็นอ่ะค่ะ
ตอบแทนค่ะ
คือว่าถ้าดูจากรูปมันบอกว่าเส้นผ่านศูนย์กลาง 12mm
แล้วในรูปจะเห็นว่ามี4เซลล์ใช่ป่าว
สี่เซลล์ เท่ากับ สิบสองมิลิเมตร เพราะฉะนั้น หนึ้งเซลล์ เท่ากับ 12/4 = 3 mm.


โดย: ตอบคุณเข้าใจยาก IP: 161.200.188.51 วันที่: 11 พฤศจิกายน 2557 เวลา:23:55:37 น.  

มิสเตอร์คัสตาร์ด
Location :
Igloo house Antarctica

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 240 คน [?]




เมลล์มาคุยกันได้นะครับ
tentaroro@yahoo.com :)

[Add มิสเตอร์คัสตาร์ด's blog to your web]