Group Blog
 
All blogs
 
เทคนิคการเเต่งกลอนให้เพราะค่ะ

กลอนสุภาพ

นักกลอนสมัครเล่น รุ่นใหม่ๆ หลายๆคน ที่เมื่อเริ่มต้น เขียนกลอนแปด มักจะลืมเลือน หรือไม่ทราบถึง กฏเกณฑ ์ทางฉันทลักษณ์ และไม่สามารถแยกแยะ เสียงกับจังหวะ ของกลอนสุภาพ ที่ถูกต้องได้ จึงได้ทำการค้นคว้า และรวบรวม เป็นข้อเสนอแนะ สำหรับนักกลอนรุ่นใหม่ๆ ให้อ่าน และทำความเข้าใจ ถึงลีลาและชั้นเชิงใน การเขียนกลอนสุภาพ ให้ไพเราะ และสัมผัสใจคนอ่าน โดยจะพยายาม อ้างอิงจาก ท่านผู้รู้ในเชิงกลอน ให้มากที่สุด

ข้อบังคับในกลอนสุภาพ

๑ คณะ กลอนสุภาพแต่ละบท จะมี ๒ บาท แต่ละบาทจะมี ๒ วรรค แต่ละวรรค จะมี ๘ คำ (ตามปกติ ให้ใช้คำได้ ระหว่าง ๗ - ๙ คำ) ดังตัวอย่าง

กลอนสุภาพแปดคำประจำบ่อน <- วรรคสดับ
อ่านสามตอนทุกวรรคประจักษ์แถลง <- วรรครับ
ตอนต้นสามตอนสองสองแสดง <- วรรครอง
ตอนสามแจ้งสามคำครบจำนวน <- วรรคส่ง

บาทที่ ๑ เรียกว่า บาทเอก มี ๒ วรรค คือ วรรคสดับ(วรรคสลับ) และวรรครับ
บาทที่ ๒ เรียกว่า บาทโท มี ๒ วรรค คือ วรรครอง และวรรคส่ง

๒ สัมผัส มี ๒ อย่างคือสัมผัสนอก และสัมผัสใน สัมผัสนอกนั้น เป็นข้อบังคับที่ต้องใช้ ดังรูป ส่วนสัมผัสใน ใช้เพื่อ ให้กลอนนั้น มีความไพเราะ มากขึ้น



การใช้ สัมผัสนอก เป็นเรื่องที่ทุกคน ทราบดี อยู่แล้ว เพียงแต่ ที่เคยเห็น นักกลอนมือใหม่ บางคน มักจะไม่ส่งสัมผัส ระหว่างบท คือส่งจาก คำสุดท้าย ในวรรคสุดท้าย ไปยังคำสุดท้ายในวรรคที่สอง ของบทต่อมา และสัมผัสนอกนั้น จะใช้สัมผัสสระ ที่เป็นเสียงเดียวกัน ความผิดพลาด ที่มักจะพบเห็น คือใช้สัมผัสสระ เสียงสั้นกับเสียงยาว ทำให้กลอน บทนั้นเสียไปทันที เช่น ไม้ สัมผัสกับ วาย , สันต์ สัมผัสกับ วาร เป็นต้น

ส่วนการใช้สัมผัสใน มีได้ทั้งสัมผัส สระและอักษร การใช้สัมผัสใน อันไพเราะ ตามแบบอย่าง ของสุนทรภู่ มักจะใช้ ดังตัวอย่าง

เหมือนหนุ่มหนุ่มลุ่มหลงพะวงสวาท
เหลือร้ายกาจกอดจูบรักรูปเขา
ครั้นวอดวายตายไปเหม็นไม่เบา
เป็นหนอนหนองพองเน่าเสียเปล่าดาย
"สุนทรภู่" สิงหไตรภพ

สังเกตได้ว่า สุนทรภู่ มักจะใช้ สัมผัสใน ที่คำที่ ๓-๔ และคำที่ ๕-๗ และมักจะใช้ รูปแบบเช่นนี้ เป็นส่วนมาก ในบทประพันธ์ บางตำแหน่งที่ไม่สามารถใช้สัมผัสสระได้ ก็อาจจะใช้สัมผัสอักษรแทน

๓ เสียง คำสุดท้าย ในแต่ละวรรค ของกลอน มีข้อกำหนด ในเรื่องเสียง ของวรรณยุกต์ เป็นตัวกำหนดด้วย การกำหนดเรื่องเสียงนี้ ถือว่าเป็นข้อบังคับ ทางฉันทลักษณ์ อย่างหนึ่ง ของกลอนแปด หรือกลอนสุภาพ อันมีข้อกำหนด ดังต่อไปนี้

๑. คำสุดท้ายวรรคที่ ๑ (วรรคสดับ) ใช้ได้ทุกเสียง แต่ไม่ค่อยนิยมใช้เสียงสามัญ
๒. คำสุดท้ายวรรคที่ ๒ (วรรครับ) ต้องใช้เสียงเอก โท หรือจัตวา นิยมใช้เสียงจัตวา ห้ามใช้เสียงสามัญและตรี (บางท่านก็อนุโลมให้ใช้เสียงตรีได้แต่ไม่นิยม)
๓. คำสุดท้ายวรรคที่ ๓ (วรรครอง) ต้องใช้เสียงสามัญ หรือเสียงตรี ที่นิยมที่สุดคือเสียงสามัญ ห้ามใช้เสียง เอก โท และจัตวา
๔. คำสุดท้ายวรรคที่ ๔ (วรรคส่ง) ต้องใช้เสียงสามัญหรือตรี ที่นิยมมากที่สุดคือเสียงสามัญ ห้ามใช้เสียงเอก โท และจัตวา

สิ่งที่พึงระวัง ในการใช้สัมผัส มากเกินไป จนลืมความหมาย สำคัญหลัก อันเป็นเรื่องราว ของกลอนนั้นๆ ก็จะทำให้ กลอน ดูไม่เป็นธรรมชาติ ไม่มีความหมายที่ลึกซึ้งกินใจ

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เคยกล่าวไว้ว่า "ถ้าหลงไหลถือเคร่งกับสัมผัสคำมากเกินไป ก็ทำให้เกิด คำด้าน ขึ้นมาได้"
"คำด้าน" คือคำที่มีแต่ "สัมผัสคำ" แต่ไม่ "สัมผัสใจ" นั่นเอง

๔ จังหวะ ในกลอนสุภาพมักจะแบ่งกลุ่มคำออกเป็น ๓ ช่วงจังหวะ คือ ooo oo ooo เป็นกลุ่มแบบ ๓-๒-๓ บางท่าน อาจจะแบ่ง เป็นอย่างอื่น ก็ได้เช่น oo oo ooo (๒-๒-๓) , oo ooo ooo (๒-๓-๓) , ooo ooo oo (๓-๓-๒) หรือใช้หลายๆแบบที่กล่าวมานี้ผสมกัน แต่รูปแบบ ๓-๒-๓ เป็นมาตรฐานที่นิยมกันมากที่สุด ใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเฉพาะในกลอนของ สุนทรภู่ ดังตัวอย่าง

เมื่อเคราะห์ร้าย-กายเรา-ก็เท่านี้
ไม่มีที่-พสุธา-จะอาศัย
ล้วนหนามเหน็บ-เจ็บแสบ-คับแคบใจ
เหมือนนกไร้-รังเร่-อยู่เอกา

การยึดจังหวะ เช่นนี้รวมกับ การใช้สัมผัสใน แบบท่านสุนทรภู่ เป็นหลักการ มาตรฐาน ที่มักจะ ทำให้กลอน ไพเราะ สละสลวย ได้โดยง่าย แต่ก็พึงระวัง การแบ่งจังหวะ แบบที่ฝืน จนต้องฉีกคำ เช่น เที่ยวสวนส-นุกอ-เนกประสงค์ ซึ่งทำให ้กลอนนั้น อ่านไม่ได้จังหวะ ดังที่ต้องการ และอาจทำให้ กลอนเสีย ทั้งบทได้

๕. ข้อควรหลีกเลี่ยงในการเขียนกลอน

ข้อควรหลีกเลี่ยงนี้ เป็นเพียง ข้อแนะนำ (ส่วนตัว) มิใช่กฏเกณฑ์ ตายตัว ที่ต้องปฏิบัติตาม อย่างเคร่งครัด เพียงแต่ ถ้าสามารถ ปฏิบัติตาม ข้อควรระวัง เหล่านี้แล้ว จะทำให้กลอน ดูสละสลวย และถูกต้อง ตามความนิยม ของกวีสมัยก่อนๆ และมิใช่วิธีการ ในการประเมิณค่า ของบทประพันธ์ แต่อย่างใด ถ้าใครสามารถ ยึดถือไว้ เป็นหลัก ในการแต่งกลอน ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี

๕.๑ ไม่ควรใช้คำไม่สุภาพ, คำหยาบต่างๆ มาใช้ เช่น X , ตูด, ถุย ฯลฯ, คำแสลงเช่น มหา'ลัย, แม่ง ฯลฯ เป็นต้น

๕.๒ ไม่นำคำเสียงสั้น กับเสียงยาว มาสัมผัสนอกกัน อย่างที่เคย กล่าวมาแล้ว ในเรื่องสัมผัส การกระทำ เช่นนี้ ถือว่าเป็นความผิดพลาด ทางฉันทลักษณ์โดยตรง โดยให้ดูที่รูปสระนั้นๆ เป็นหลักเช่น รัก สัมผัสกับ มาก, ใจ สัมผัสกับ วาย, คน สัมผัสกับ โดน, เก้า สัมผัสกับ ท้าว, เก็น สัมผัสกับ เขน ฯลฯ เป็นต้น ดังตัวอย่าง

ศึกสิงห์เหนือเสือใต้ในวันนี้
ขอสตรีร่วมบทบาทชาติสุขศานต์
ตาร้อยคู่ตาคู่เดียวเกี่ยวร้อยกัน
สงครามนั้นจักสงบเลิกรบรา

๕.๓ ไม่ชิงสัมผัสก่อน ในการใช้คำ สัมผัสนอกกันนั้น พึงระวังมิให้ มีคำที่เป็นเสียง สระเดียวกัน กับคำที่ จะใช้สัมผัส ปรากฏก่อน คำสัมผัส ในวรรคเดียวกัน เช่น

จะไหวตัวกลัวเชยเลยลองนิ่ง
เขากลับติงว่านั่น มันเชยใหญ่
อะไรอะไรก็ตะบันไป
ทำฉันใดหนอพ้นเป็นคนเชย

การกระทำเช่นนี้ จะทำให้กลอนด้อย ความไพเราะ ในเชิง คำสัมผัส เพราะมีการ ชิงสัมผัส กันก่อน

๕.๔ ไม่สัมผัสเลือน มักปรากฏอยู่ในวรรค รับ (ที่ ๒) และวรรคส่ง (ที่ ๔) คือมีการใช้คำ สัมผัส ภายในวรรค เดียวกัน ในคำที่ ๓, ๕ และ ๘ เช่น

ถึงฤกษ์เรียงเคียงหมอนเมื่อนตอนดึก
กลับรู้สึกหนาวสั่นขันไหมเล่า?
ใครไม่เคยเข้าหออย่าล้อเรา
ถึงตัวเข้าบ้างคงหนาวเหมือนกล่าวเอย

จะเห็นได้ว่า คำว่า หนาว กับ กล่าว นั้น เป็นสัมผัสใน ที่ถูกต้องแล้ว แต่ดันไปสัมผัส กับคำว่า เข้า ก่อนหน้านี้อีก จึงติดเงื่อนไข การใช้สัมผัสเลือนไป

๕.๕ ไม่สัมผัสซ้ำ มี ๒ ประเภทคือ

ก. สัมผัสซ้ำแบบ "พ้องรูปและเสียง" คือเป็นการใช้คำสัมผัส เป็นคำเดียวกัน ซ้ำภายในบทกลอนบทดียวกัน หรือบทติดๆกัน เช่น

ช่างกำเริบเสิบสานทหารชั่ว
อย่างเป็นผัวนางนี่ร้อยตรีสาว
วันัยอ่อนหย่อนดื้อแถมมือกาว
พบนายสาวไม่คำนับเข้าจับตัว

ข. สัมผัสซ้ำแบบ "พ้องเสียง" คือเป็นการใช้คำสัมผัส เป็นคำพ้องเสียง ซ้ำภายในบทกลอนบทดียวกัน หรือบทติดๆกัน เช่น

ชีวิตเลือกเกิดมิได้ใครก็รู้
ต้องดิ้นรนต่อสู้อุปสรรค
ทำให้ดีที่สุดอย่าหยุดพัก
ทางสู่ศักดิ์ศรีแม้ไกลเหมือนใกล้กัน

๕.๖ ไม่ควรใช้คำศัพท์โบราณ มาใช้มาก เกินความจำเป็น เนื่องจากคำเหล่านี้ ต้องแปลความหมาย ซึ่งคนส่วนมาก ไม่ทราบความหมาย เหล่านั้น ทำให้กลอน อ่านแล้ว ทำความเข้าใจ ได้ยากขึ้น เช่น

สรวงสวรรค์ชั้นกวีรุจีรัตน์
ผ่องประภัศร์พลอยหาวพราวเวหา
พริ้งไพเราะเสนาะกรรณวัณณนา
สมสมญาแห่งสวรรค์ชั้นกวี
อิ่มอารมณ์ชมสถานวิมานมาศ
อันโอภาสแผ่ผายพรายรังสี
รัสมีมีเสียงเพียงดนตรี
ประทีปทีฆะรัสสะจังหวะโยน ฯ

๕.๗ ไม่นำคำเฉพาะที่เป็นคำคู่ มาสลับหน้าหลังกัน เพราะจะทำให้ ความหมายเปลี่ยนไป หรือ สูญสิ้นความหมาย ของคำนั้นๆไปได้ เช่น

ขุกเข็ญ เขียนเป็น เข็ญขุก
งอกงาม เขียนเป็น งามงอก
ลิดรอน เขียนเป็น รอนริด
หุนหัน เขียนเป็น หันหุน
ว้าเหว่ เขียนเป็น เหว่ว้า
ย่อยยับ เขียนเป็น ยับย่อย
ทักทาย เขียนเป็น ทายทัก
บดบัง เขียนเป็น บังบด
งมงาย เขียนเป็น งายงม
ร่ำรวย เขียนเป็น รวยร่ำ
ชั่วช้า เขียนเป็น ช้าชั่ว

การใช้คำสลับกันเช่นนี้ อาจจะทำให้กลอน ที่ไพเราะ ด้อยคุณค่า ลงได้ เช่น

แค้นมีหนอนบ่อนไส้ใจไม่ซื่อ
เป็นเครื่องมือเบียนเบียดช่วยเหยียดหยาม
มันขายชาติช้าชั่วมิกลัวความ
หายนะรุกรามเข้าทำลาย

๕.๘ ไม่ควรให้คำสัมผัสนอก ซ้ำภายในวรรคเดียวกัน เช่น

พวกเราเหล่าทหารชาญสนาม
ไม่ครั่นคร้ามใครว่าหรือมาหยาม
จะยืนหยัดซัดสู้ให้รู้ความ
ดังนิยามเชิงเช่นผู้เป็นชาย

๕.๙ ไม่ลอกเลียนหรือละเมิดลิขสิทธิ์ บทประพันธ์ของผู้อื่น นอกจาก จะผิดกฏหมาย พระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์แล้ว ยังเป็นการผิด จรรยาบรรณ อีกด้วย จึงควรระวัง ไม่ลอกบทประพันธ์ ของผู้อื่นอย่างจงใจ เช่น

กลอนที่ชื่อว่า "ขอ" ของ เอก หทัย เขียนไว้ว่า

ขอเธอมีรักใหม่อย่าให้รู้
และถ้าอยู่กับใครอย่าให้เห็น
ให้ฉันเถอะ ขอร้องสองประเด็น
แล้วจะเป็นผู้แพ้อย่างแท้จริง

มีผู้นำไปแปลงใหม่ แล้วให้ชื่อว่า "วันนี้ที่รอคอย" ดังนี้

ขอเธอมีผัวใหม่บอกให้รู้
และเลือกคู่หล่อกว่าพี่อย่างที่เห็น
พินัยกรรมใบหย่าอย่าลืมเซ็น
แล้วจะเป็นโสดตอนแก่อย่างแท้จริง


*** หนังสืออ้างอิง:
๑. "เรียงร้อยถ้อยคำ" โดย เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และ วาณิช จรุงกิจอนันต์
๒. "กลอนสัมผัสใจได้อย่างไร" โดย วาสนา บุญสม

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



โคลงสี่สุภาพ

ปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า มีผู้เขียน ร้อยกรอง ในรูปแบบ กลอนสุภาพ เป็นส่วนมาก แต่จะหาผู้ที่ประพันธ์ เป็นโคลงสี่สุภาพ ได้น้อยลง เนื่องจาก การเขียนโคลงนั้น มีกฎเกณฑ์ ในการประพันธ์ หลายอย่าง อีกทั้งจะหา ตำราที่ว่าด้วย การเขียนโคลง อย่างละเอียด ก็มีอยู่น้อยเล่มเต็มที พอดีผมไปเจอ หนังสือการประพันธ์ โคลงสี่สุภาพ ของกรมศิลปากรมา (๒๕๔๑) จึงคิดจะคัดย่อ ลงมาให้ผู้ที่สนใจ ได้ศึกษากันต่อไป

ฉันทลักษณ์ของโคลงสี่สุภาพ




0 0 0 อ ท 0 x ( 0 ส)
0 อ 0 0 x อ ท
0 0 อ 0 x 0 อ ( 0 ส)
0 อ 0 0 ท อ ท 0 x



0 - คือคำใดๆก็ได้
ส - คือคำสร้อยไม่นิยมให้มีความหมาย มักจะใช้คำ เช่น นา แล ฤๅ แฮ ฮา รา บารนี ฯลฯ
x - คือตำแหน่งคำสุภาพ ทีสัมผัสสระกัน ไม่ควรใส่รูป วรรณยุกต์ใดๆ เพราะจะทำให้น้ำหนักของโคลงเสียไป

ข้อควรสังเกต: ในวรรคสุดท้าย ของโคลงสี่สุภาพ สี่คำสุดท้าย ต้องเขียน ติดกัน (มือใหม่ๆ มักจะเขียน แยกจากกัน)

คำเอกคำโท

ตัวอย่างของโคลงสี่สุภาพ มีตำแหน่ง รูปวรรณยุกต์เอก ๗ แห่ง และ ตำแหน่งรูปวรรณยุกต์โท ๔ แห่ง

สิบเก้าเสาวภาพแก้ว กรองสนธิ์
จันทรมณฑล สี่ถ้วน
พระสุริยะเสด็จดล เจ็ดแห่ง
แสดงว่าพระโคลงล้วน เศษสร้อยมีสอง ฯ

ตำแหน่ง รูปวรรณยุกต์เอก ในโคลง อาจใช้คำตาย แทนได้ ส่วนคำที่กำหนด รูปวรรณยุกต์โท ไว้นั้น แทนด้วยอะไร ไม่ได้ทั้งสิ้น ต้องใช้รูปโทเท่านั้น ส่วนตำแหน่งอื่นๆ อีก ๑๙ คำ จะใช้รูปใดๆก็ได้มีรูปวรรณยุกต์ใดๆก็ไม่ถือว่าผิด

คำตาย คือคำที่สะกดด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น กะ, แกะ, เกาะ, กุ ฯลฯ และ คำที่สะกดด้วยแม่ กก, กด, กบ รวมทั้ง ฤ ก็ บ่

การใช้เอกโทษ โทโทษ คือการแผลงรูปคำ ให้ใช้วรรณยุกต์ เอกหรือโท ตามต้องการ แต่เสียงให้อ่าน เหมือนกับคำ ที่แผลงมานั้น เช่น เหล้น หมายถึง เล่น , เหยี้ยง หมายถึง เยี่ยง ฯลฯ ปัจจุบันไม่นิยมใช้ เอกโทษ,โทโทษ อีกแล้ว เพราะถือว่า เป็นข้อบกพร่อง ในรูปวรรณยุกต์ ถ้าไม่จำเป็นให้หลีกเลี่ยง

สัมผัส

ในโคลงมีสัมผัสบังคับ หรือเรียก อีกอย่างหนึ่งว่า สัมผัสนอก ตามผังข้างต้น ในส่วนที่เป็นสีแดง ทั้งตำแหน่งเอก และโท ในหนังสือ จินดามณี ฉบับพระโหราธิบดี อธิบาย สัมผัสบังคับ ของโคลงสี่สุภาพ ไว้ว่า

ให้ปลายบทเอกนั้น มาฟัด
ห้าที่บทสองวัจน์ ชอบพร้อง
บทสามดุจเดียวทัด ในที่ เบญจนา
ปลายแห่งบทสองต้อง ที่ห้าบทหลัง ฯ

สัมผัสระหว่างวรรคแรก กับวรรคหลัง ในบาทเดียวกัน จุดส่งสัมผัส ที่ทำให้จังหวะเสียง ในโคลงแต่ละบาท มีความสง่า ไพเราะยิ่งขึ้น คือสัมผัสอักษร ระหว่างวรรคแรก กับวรรคหลัง โดยคำสุดท้าย ของวรรคแรก อาจส่งสัมผัส ไปยังคำใด คำหนึ่ง ในวรรคหลัง ดังตัวอย่าง

กำสรวลศรีปราชญ์พร้อง เพรงกาล
จากจุฬาลักษณ์ลาญ สวาทแล้ว
ทวาทศมาสสาร สามเทวษ ถวิลแฮ
ยกทัดกลางเกศแก้ว กึ่งร้อนทรวงเรียม ฯ

คำสร้อย

คำสร้อย ซึ่งใช้ต่อท้าย โคลงสี่สุภาพ ในบาทที่ ๑ และบาทที่ ๓ นั้นจะใช้ต่อ เมื่อใจความขาด หรือยังไม่สมบูรณ์ หากความ ในบาทนั้น สมบูรณ์ ได้ใจความ ดีอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็น ต้องมีสร้อย ซึ่งถ้าใช้สร้อย ในที่ไม่จำเป็น ก็จะทำให ้โคลงบทนั้น "รกสร้อย"

ตัวอย่างโคลงที่สมบูรณ์ไพเราะที่ไม่ต้องมีสร้อย

เช่น

๏ โบสถ์ระเบียงมรฑปพื้น ไพหาร
ธรรมาสน์ศาลาลาน พระแผ้ว
หอไตรระฆังขาน ภายค่ำ
ไขประทีปโคมแก้ว ก่ำฟ้าเฟือนจันทร์ ฯ

และตัวอย่างโคลงที่ความไม่สมบูรณ์ ต้องใช้สร้อยจากเรื่องเดียวกัน คือ

๏ อยุธยายสล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤๅ
สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร เจิดหล้า
บุญเพรงพระหากสรรค์ ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
บังอบายเบิกฟ้า ฝึกฟื้นใจเมือง ฯ

คำสร้อยที่นิยมใช้ กันมาแต่โบราณนั้น มีทั้งหมด ๑๘ คำ ดังนี้

๑. 'พ่อ' ใช้ขยายความเฉพาะบุคคล เช่น ฤทธิ์พ่อ, นี้พ่อ, นาพ่อ ฯลฯ
ศัตรูหมู่พาลา พาลพ่าย ฤทธิ์พ่อ

๒. 'แม่' ใช้ขยายความ เฉพาะบุคคล หรือเป็นคำ ร้องเรียก เช่น แม่แม่, มาแม่ ฯลฯ
แสนศึกแสนศาสตร์ซ้อง แสนพัน มาแม่

๓. 'พี่' ใช้ขยายความ เฉพาะบุคคล อาจทำหน้าที่ เป็นสรรพนาม บุรุษที่ ๑ หรือบุรุษที่ ๒ ก็ได้ เช่น เรือพี่, ฤๅพี่ ฯลฯ
สองเขือพี่หลับไหล ลืมตื่น ฤๅพี่

๔. 'เลย' ใช้ในความหมาย เชิงปฏิเสธ เช่น เรียมเลย, ถึงเลย ฯลฯ
ประมาณกึ่งเกศา ฤๅห่าง เรียมเลย

๕. 'เทอญ' มีความหมาย ในเชิงขอให้มี หรือขอให้เป็น เช่น ตนเทอญ ฯลฯ
สารพัดเขตจักรพาล ฟังด่ำ บลเทอญ

๖. 'นา' ดังนั้น เช่นนั้น
จำบำราศบุญเรือง รองบาท พระนา

๗. 'นอ' มีความหมาย เช่นเดียวกับคำอุทานว่า 'หนอ' หรือ 'นั่นเอง'
ยอกไหล่ยอกตะโพกปาน ปืนปัก อยู่นอ

๘. 'บารนี' สร้อยคำนี้ นิยมใช้มากในลิลิตพระลอ มีความหมายว่า 'ดังนี้' 'เช่นนี้'
กินบัวอร่อยโอ้ เอาใจ บารนี

๙. 'รา' มีความหมาย ละเอียดว่า 'เถอะ' 'เถิด'
วานจวนชำระใจ ความทุกข์ พี่รา

๑๐. 'ฤๅ' มีความหมาย เชิงถาม เหมือนกับคำว่า หรือ
มกุฏพิมานมณ ฑิรทิพย์ เทียมฤๅ

๑๑. 'เนอ' มีความหมายว่า ดังนั้น 'เช่นนั้น'
วันรุ่งแม่กองทวิ ทศพวก นายเนอ

๑๒. 'ฮา' มีความหมาย เช่นเดียวกับ คำสร้อย นา
กวัดเท้าท่ามวยเตะ ตึงเมื่อย หายฮา

๑๓. 'แล' มีความหมายว่า อย่างนั้น เป็นเช่นนั้น
กัลยาเคยเชื่อไว้ วางใจ มาแล

๑๔. 'ก็ดี' มีความหมาย ทำนองเดียวกับ ฉันใดก็ฉันนั้น
นิทานนิเทศท้าว องค์ใด ก็ดี

๑๕. 'แฮ' มีความหมายว่า เป็นอย่างนั้นนั่นเอง ทำนองเดียว กับคำสร้อย แล
อัชฌาสัยแห่งสามัญ บุญแต่ง มาแฮ

๑๖. 'อา' สร้อยคำนี้ ไม่มีความหมายแน่ชัด แต่จะวางไว้หลังคำร้องเรียก ให้ครบพยางค์ เช่น พ่ออา แม่อา พี่อา หรือเป็นคำ ออกเสียงพูด ในเชิง รำพึง แสดงความวิตกกังวล
เป็นไฉนจึงด่วนทิ้ง น้องไป พี่อา

๑๗. 'เอย' ใช้เมื่ออยู่หลัง คำร้องเรียก เหมือนคำว่า เอ๋ย หรือวางไว้ ให้คำครบตามบังคับ
จำปาจำเปรียบเนื้อ นางสวรรค์ กูเอย

๑๘. 'เฮย' ใช้ในลักษณะ ที่ต้องการเน้น ให้มีความเห็น คล้อยตามข้อความ ที่กล่าวมาข้างหน้า สร้อยคำนี้ มาจากคำเขมรว่า "เหย" แปลว่า "แล้ว" ดังนั้นเมื่อใช้ ในคำสร้อย จึงน่าจะมีความหมายว่า เป็นเช่นนั้นแล้ว ได้เช่นกัน
ขึ้นดั่งชัยพฤกษ์พร้อม มุรธา ภิเษกเฮย

คำสร้อยทั้ง ๑๘ คำที่กล่าวมานี้ เป็นคำสร้อยแบบแผน ที่ใช้กันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้แล้ว ยังมีคำสร้อย อีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า "สร้อยเจตนัง" เป็นคำสร้อยที่กวี ต้องการให้เป็น ไปตามใจของตน หรือใช้คำสร้อยนั้น โดยจงใจ ผู้ที่เริ่มฝึกหัด การประพันธ์ ควรใช้แต่สร้อย ที่เป็นแบบแผน หลีกเลี่ยงการใช้ สร้อยเจตนัง ในงานกวีนิพนธ์ ที่เป็นพิธีการ ก็ไม่ควรใช้เช่นกัน สร้อยแบบนี้ ไม่พบบ่อยนัก ในวรรณกรรมเก่า จึงหาตัวอย่างได้ยาก เช่น

หายเห็นประเหลนุช นอนเงื่อง งงง่วง
พวกไทยไล่ตามเพลิง เผาจุด ฉางฮือ
ลัทธิท่านเคร่งเขมง เมืองท่าน อือฮือ

การใช้คำสร้อย ของกวีในอดีต แต่ละท่านมีความนิยม แตกต่างกัน ในงานประพันธ์ บางชิ้น ที่ไม่ทราบว่า ท่านใด เป็นผู้ประพันธ์ อาจใช้รูปแบบ ความนิยม ในการใช้คำสร้อย เป็นสิ่งช่วยวินิจฉัยว่า ผลงานนั้นเป็น ของกวีท่านใดได้

ผลงานนั้นเป็น ของกวีท่านใดได้
พยางค์ คำ อักษร

การนับคำ ที่เกิดจากพยางค์ กวีบางท่านจะนับแต่ละพยางค์เป็น ๑ อักษรเช่น

จักผทมเดียวดู แต่ไม้

บางท่านจะนับรวบหลายๆพยางค์เป็น ๑ อักษรก็ได้ เช่น

จงเฉลิมแหล่งพสุธาร เจริญรอด หึงแฮ

จะเลือกใช้แบบใดก็ได้แล้วแต่ถนัดครับ

เสียงสูงและเสียงต่ำในโคลง

เสียงของโคลงที่นิยมว่าอ่านแล้วมีลีลาของเสียงไพเราะคือ ขึ้นสูง รับสูง และส่งสูง เช่น

๏ สาวสนมสนองนาถไท้ ทูลสาร
พระจักจรจากสถาน ถิ่นท้าว
เสด็จแดนทุรกันดาร ใดราช เสนอนา
ฤๅพระรานเสน่ห์ร้าว ด่วนร้างแรมไฉน ฯ

หรือ

๏ แตกกระจายต่อมน้ำ ฝนฝัน
เปรียบนั่นแหละชีวัน ครู่น้อย
อัตตาสั่นกระสัน สรรพสิ่ง
เลิกใฝ่อธรรมต่ำต้อย ต่อต้านตัณหา ฯ


รูปแบบนี้ถือว่า ลีลาของเสียง ไพเราะที่สุด แต่ไม่บังคับ จะใช้หรือไม่ก็ไม่มีใครว่า ลองไปอ่านโคลง ของท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ ดูสิครับ เป็นแบบอย่างเรื่อง ความไพเราะของ เสียงโคลงที่ดีมาก

*** หนังสืออ้างอิง: "การประพันธ์โคลงสี่สุภาพ" โดย กรมศิลปากร พ.ศ. ๒๕๔๑

--------------------------------------------------------------------------------------------------

หวังว่าจะมีประโยชน์นะ ไปอ่านเจอมา เห็นว่าดีเลยเอามาแบ่งปัน ถ้าใครเห้นว่ามีประโยชน์ก็ช่วยโหวตคะแนนให้ด้วยเน้อ!

ช่วงนี้บอร์ดนักเขียนกำลังโดนพูดถึงด้วยเรื่องไม่มีความเป็นบอร์ดนักเขียน ก็เลยช่วยเพิ่มสาระลงไปหน่อย

เหอๆยังไงก็รักบอร์ดน้า


โคลงสี่สุภาพ

ปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า มีผู้เขียน ร้อยกรอง ในรูปแบบ กลอนสุภาพ เป็นส่วนมาก แต่จะหาผู้ที่ประพันธ์ เป็นโคลงสี่สุภาพ ได้น้อยลง เนื่องจาก การเขียนโคลงนั้น มีกฎเกณฑ์ ในการประพันธ์ หลายอย่าง อีกทั้งจะหา ตำราที่ว่าด้วย การเขียนโคลง อย่างละเอียด ก็มีอยู่น้อยเล่มเต็มที พอดีผมไปเจอ หนังสือการประพันธ์ โคลงสี่สุภาพ ของกรมศิลปากรมา (๒๕๔๑) จึงคิดจะคัดย่อ ลงมาให้ผู้ที่สนใจ ได้ศึกษากันต่อไป

ฉันทลักษณ์ของโคลงสี่สุภาพ




0 0 0 อ ท 0 x ( 0 ส)
0 อ 0 0 x อ ท
0 0 อ 0 x 0 อ ( 0 ส)
0 อ 0 0 ท อ ท 0 x



0 - คือคำใดๆก็ได้
ส - คือคำสร้อยไม่นิยมให้มีความหมาย มักจะใช้คำ เช่น นา แล ฤๅ แฮ ฮา รา บารนี ฯลฯ
x - คือตำแหน่งคำสุภาพ ทีสัมผัสสระกัน ไม่ควรใส่รูป วรรณยุกต์ใดๆ เพราะจะทำให้น้ำหนักของโคลงเสียไป

ข้อควรสังเกต: ในวรรคสุดท้าย ของโคลงสี่สุภาพ สี่คำสุดท้าย ต้องเขียน ติดกัน (มือใหม่ๆ มักจะเขียน แยกจากกัน)

คำเอกคำโท

ตัวอย่างของโคลงสี่สุภาพ มีตำแหน่ง รูปวรรณยุกต์เอก ๗ แห่ง และ ตำแหน่งรูปวรรณยุกต์โท ๔ แห่ง

สิบเก้าเสาวภาพแก้ว กรองสนธิ์
จันทรมณฑล สี่ถ้วน
พระสุริยะเสด็จดล เจ็ดแห่ง
แสดงว่าพระโคลงล้วน เศษสร้อยมีสอง ฯ

ตำแหน่ง รูปวรรณยุกต์เอก ในโคลง อาจใช้คำตาย แทนได้ ส่วนคำที่กำหนด รูปวรรณยุกต์โท ไว้นั้น แทนด้วยอะไร ไม่ได้ทั้งสิ้น ต้องใช้รูปโทเท่านั้น ส่วนตำแหน่งอื่นๆ อีก ๑๙ คำ จะใช้รูปใดๆก็ได้มีรูปวรรณยุกต์ใดๆก็ไม่ถือว่าผิด

คำตาย คือคำที่สะกดด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น กะ, แกะ, เกาะ, กุ ฯลฯ และ คำที่สะกดด้วยแม่ กก, กด, กบ รวมทั้ง ฤ ก็ บ่

การใช้เอกโทษ โทโทษ คือการแผลงรูปคำ ให้ใช้วรรณยุกต์ เอกหรือโท ตามต้องการ แต่เสียงให้อ่าน เหมือนกับคำ ที่แผลงมานั้น เช่น เหล้น หมายถึง เล่น , เหยี้ยง หมายถึง เยี่ยง ฯลฯ ปัจจุบันไม่นิยมใช้ เอกโทษ,โทโทษ อีกแล้ว เพราะถือว่า เป็นข้อบกพร่อง ในรูปวรรณยุกต์ ถ้าไม่จำเป็นให้หลีกเลี่ยง

สัมผัส

ในโคลงมีสัมผัสบังคับ หรือเรียก อีกอย่างหนึ่งว่า สัมผัสนอก ตามผังข้างต้น ในส่วนที่เป็นสีแดง ทั้งตำแหน่งเอก และโท ในหนังสือ จินดามณี ฉบับพระโหราธิบดี อธิบาย สัมผัสบังคับ ของโคลงสี่สุภาพ ไว้ว่า

ให้ปลายบทเอกนั้น มาฟัด
ห้าที่บทสองวัจน์ ชอบพร้อง
บทสามดุจเดียวทัด ในที่ เบญจนา
ปลายแห่งบทสองต้อง ที่ห้าบทหลัง ฯ

สัมผัสระหว่างวรรคแรก กับวรรคหลัง ในบาทเดียวกัน จุดส่งสัมผัส ที่ทำให้จังหวะเสียง ในโคลงแต่ละบาท มีความสง่า ไพเราะยิ่งขึ้น คือสัมผัสอักษร ระหว่างวรรคแรก กับวรรคหลัง โดยคำสุดท้าย ของวรรคแรก อาจส่งสัมผัส ไปยังคำใด คำหนึ่ง ในวรรคหลัง ดังตัวอย่าง

กำสรวลศรีปราชญ์พร้อง เพรงกาล
จากจุฬาลักษณ์ลาญ สวาทแล้ว
ทวาทศมาสสาร สามเทวษ ถวิลแฮ
ยกทัดกลางเกศแก้ว กึ่งร้อนทรวงเรียม ฯ

คำสร้อย

คำสร้อย ซึ่งใช้ต่อท้าย โคลงสี่สุภาพ ในบาทที่ ๑ และบาทที่ ๓ นั้นจะใช้ต่อ เมื่อใจความขาด หรือยังไม่สมบูรณ์ หากความ ในบาทนั้น สมบูรณ์ ได้ใจความ ดีอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็น ต้องมีสร้อย ซึ่งถ้าใช้สร้อย ในที่ไม่จำเป็น ก็จะทำให ้โคลงบทนั้น "รกสร้อย"

ตัวอย่างโคลงที่สมบูรณ์ไพเราะที่ไม่ต้องมีสร้อย

เช่น

๏ โบสถ์ระเบียงมรฑปพื้น ไพหาร
ธรรมาสน์ศาลาลาน พระแผ้ว
หอไตรระฆังขาน ภายค่ำ
ไขประทีปโคมแก้ว ก่ำฟ้าเฟือนจันทร์ ฯ

และตัวอย่างโคลงที่ความไม่สมบูรณ์ ต้องใช้สร้อยจากเรื่องเดียวกัน คือ

๏ อยุธยายสล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤๅ
สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร เจิดหล้า
บุญเพรงพระหากสรรค์ ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
บังอบายเบิกฟ้า ฝึกฟื้นใจเมือง ฯ

คำสร้อยที่นิยมใช้ กันมาแต่โบราณนั้น มีทั้งหมด ๑๘ คำ ดังนี้

๑. 'พ่อ' ใช้ขยายความเฉพาะบุคคล เช่น ฤทธิ์พ่อ, นี้พ่อ, นาพ่อ ฯลฯ
ศัตรูหมู่พาลา พาลพ่าย ฤทธิ์พ่อ

๒. 'แม่' ใช้ขยายความ เฉพาะบุคคล หรือเป็นคำ ร้องเรียก เช่น แม่แม่, มาแม่ ฯลฯ
แสนศึกแสนศาสตร์ซ้อง แสนพัน มาแม่

๓. 'พี่' ใช้ขยายความ เฉพาะบุคคล อาจทำหน้าที่ เป็นสรรพนาม บุรุษที่ ๑ หรือบุรุษที่ ๒ ก็ได้ เช่น เรือพี่, ฤๅพี่ ฯลฯ
สองเขือพี่หลับไหล ลืมตื่น ฤๅพี่

๔. 'เลย' ใช้ในความหมาย เชิงปฏิเสธ เช่น เรียมเลย, ถึงเลย ฯลฯ
ประมาณกึ่งเกศา ฤๅห่าง เรียมเลย

๕. 'เทอญ' มีความหมาย ในเชิงขอให้มี หรือขอให้เป็น เช่น ตนเทอญ ฯลฯ
สารพัดเขตจักรพาล ฟังด่ำ บลเทอญ

๖. 'นา' ดังนั้น เช่นนั้น
จำบำราศบุญเรือง รองบาท พระนา

๗. 'นอ' มีความหมาย เช่นเดียวกับคำอุทานว่า 'หนอ' หรือ 'นั่นเอง'
ยอกไหล่ยอกตะโพกปาน ปืนปัก อยู่นอ

๘. 'บารนี' สร้อยคำนี้ นิยมใช้มากในลิลิตพระลอ มีความหมายว่า 'ดังนี้' 'เช่นนี้'
กินบัวอร่อยโอ้ เอาใจ บารนี

๙. 'รา' มีความหมาย ละเอียดว่า 'เถอะ' 'เถิด'
วานจวนชำระใจ ความทุกข์ พี่รา

๑๐. 'ฤๅ' มีความหมาย เชิงถาม เหมือนกับคำว่า หรือ
มกุฏพิมานมณ ฑิรทิพย์ เทียมฤๅ

๑๑. 'เนอ' มีความหมายว่า ดังนั้น 'เช่นนั้น'
วันรุ่งแม่กองทวิ ทศพวก นายเนอ

๑๒. 'ฮา' มีความหมาย เช่นเดียวกับ คำสร้อย นา
กวัดเท้าท่ามวยเตะ ตึงเมื่อย หายฮา

๑๓. 'แล' มีความหมายว่า อย่างนั้น เป็นเช่นนั้น
กัลยาเคยเชื่อไว้ วางใจ มาแล

๑๔. 'ก็ดี' มีความหมาย ทำนองเดียวกับ ฉันใดก็ฉันนั้น
นิทานนิเทศท้าว องค์ใด ก็ดี

๑๕. 'แฮ' มีความหมายว่า เป็นอย่างนั้นนั่นเอง ทำนองเดียว กับคำสร้อย แล
อัชฌาสัยแห่งสามัญ บุญแต่ง มาแฮ

๑๖. 'อา' สร้อยคำนี้ ไม่มีความหมายแน่ชัด แต่จะวางไว้หลังคำร้องเรียก ให้ครบพยางค์ เช่น พ่ออา แม่อา พี่อา หรือเป็นคำ ออกเสียงพูด ในเชิง รำพึง แสดงความวิตกกังวล
เป็นไฉนจึงด่วนทิ้ง น้องไป พี่อา

๑๗. 'เอย' ใช้เมื่ออยู่หลัง คำร้องเรียก เหมือนคำว่า เอ๋ย หรือวางไว้ ให้คำครบตามบังคับ
จำปาจำเปรียบเนื้อ นางสวรรค์ กูเอย

๑๘. 'เฮย' ใช้ในลักษณะ ที่ต้องการเน้น ให้มีความเห็น คล้อยตามข้อความ ที่กล่าวมาข้างหน้า สร้อยคำนี้ มาจากคำเขมรว่า "เหย" แปลว่า "แล้ว" ดังนั้นเมื่อใช้ ในคำสร้อย จึงน่าจะมีความหมายว่า เป็นเช่นนั้นแล้ว ได้เช่นกัน
ขึ้นดั่งชัยพฤกษ์พร้อม มุรธา ภิเษกเฮย

คำสร้อยทั้ง ๑๘ คำที่กล่าวมานี้ เป็นคำสร้อยแบบแผน ที่ใช้กันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้แล้ว ยังมีคำสร้อย อีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า "สร้อยเจตนัง" เป็นคำสร้อยที่กวี ต้องการให้เป็น ไปตามใจของตน หรือใช้คำสร้อยนั้น โดยจงใจ ผู้ที่เริ่มฝึกหัด การประพันธ์ ควรใช้แต่สร้อย ที่เป็นแบบแผน หลีกเลี่ยงการใช้ สร้อยเจตนัง ในงานกวีนิพนธ์ ที่เป็นพิธีการ ก็ไม่ควรใช้เช่นกัน สร้อยแบบนี้ ไม่พบบ่อยนัก ในวรรณกรรมเก่า จึงหาตัวอย่างได้ยาก เช่น

หายเห็นประเหลนุช นอนเงื่อง งงง่วง
พวกไทยไล่ตามเพลิง เผาจุด ฉางฮือ
ลัทธิท่านเคร่งเขมง เมืองท่าน อือฮือ

การใช้คำสร้อย ของกวีในอดีต แต่ละท่านมีความนิยม แตกต่างกัน ในงานประพันธ์ บางชิ้น ที่ไม่ทราบว่า ท่านใด เป็นผู้ประพันธ์ อาจใช้รูปแบบ ความนิยม ในการใช้คำสร้อย เป็นสิ่งช่วยวินิจฉัยว่า ผลงานนั้นเป็น ของกวีท่านใดได้

ผลงานนั้นเป็น ของกวีท่านใดได้
พยางค์ คำ อักษร

การนับคำ ที่เกิดจากพยางค์ กวีบางท่านจะนับแต่ละพยางค์เป็น ๑ อักษรเช่น

จักผทมเดียวดู แต่ไม้

บางท่านจะนับรวบหลายๆพยางค์เป็น ๑ อักษรก็ได้ เช่น

จงเฉลิมแหล่งพสุธาร เจริญรอด หึงแฮ

จะเลือกใช้แบบใดก็ได้แล้วแต่ถนัดครับ

เสียงสูงและเสียงต่ำในโคลง

เสียงของโคลงที่นิยมว่าอ่านแล้วมีลีลาของเสียงไพเราะคือ ขึ้นสูง รับสูง และส่งสูง เช่น

๏ สาวสนมสนองนาถไท้ ทูลสาร
พระจักจรจากสถาน ถิ่นท้าว
เสด็จแดนทุรกันดาร ใดราช เสนอนา
ฤๅพระรานเสน่ห์ร้าว ด่วนร้างแรมไฉน ฯ

หรือ

๏ แตกกระจายต่อมน้ำ ฝนฝัน
เปรียบนั่นแหละชีวัน ครู่น้อย
อัตตาสั่นกระสัน สรรพสิ่ง
เลิกใฝ่อธรรมต่ำต้อย ต่อต้านตัณหา ฯ


รูปแบบนี้ถือว่า ลีลาของเสียง ไพเราะที่สุด แต่ไม่บังคับ จะใช้หรือไม่ก็ไม่มีใครว่า ลองไปอ่านโคลง ของท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ ดูสิครับ เป็นแบบอย่างเรื่อง ความไพเราะของ เสียงโคลงที่ดีมาก

*** หนังสืออ้างอิง: "การประพันธ์โคลงสี่สุภาพ" โดย กรมศิลปากร พ.ศ. ๒๕๔๑

--------------------------------------------------------------------------------------------------

หวังว่าจะมีประโยชน์นะ ไปอ่านเจอมา เห็นว่าดีเลยเอามาแบ่งปัน ถ้าใครเห้นว่ามีประโยชน์ก็ช่วยโหวตคะแนนให้ด้วยเน้อ!

ช่วงนี้บอร์ดนักเขียนกำลังโดนพูดถึงด้วยเรื่องไม่มีความเป็นบอร์ดนักเขียน ก็เลยช่วยเพิ่มสาระลงไปหน่อย

เหอๆยังไงก็รักบอร์ดน้า



Create Date : 10 เมษายน 2553
Last Update : 10 เมษายน 2553 14:48:43 น. 0 comments
Counter : 440 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

tabtim-mike
Location :
สุรินทร์ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





Code Calendar by zalim-code.com
Friends' blogs
[Add tabtim-mike's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.