สุภารัตถะ บล็อก
Group Blog
 
All Blogs
 
เรื่องสั้นซีไรต์ปี 48

*.....แต่ก่อนคิดว่า รางวัลซีไรต์แต่ละปี จะให้รางวัล ทั้งนิยาย เรื่องสั้น และบทกวี ทั้งสามชนิด
....แต่ภายหลัง เพื่อนในวงการน้ำหมึกอธิบายให้ฟังว่า แต่ละปี จะมอบให้กับงานเขียนชนิดเดียว เช่น ปีนี้เรื่องสั้น ปีถัดไปก็นิยาย ปีถัดไปอีกก็บทกวี ถึงได้..ถึงบางอ้อ ... (ทำไมเฉิ่มจริงๆ เรา..)

และต่อไป .. จะมีการมอบรางวัลให้กับงานอีกประเภทนึง คือบทละคร

สำหรับปีนี้ ปี'48 ถึงคิวรางวัลเรื่องสั้นพอดี
ประกาศผลแล้ว หลังจากประกาศเรื่องสั้นผ่านเข้ารอบสุดท้ายทั้งหมด 8 เล่ม มาสักระยะ..ได้แก่
1. เจ้าหงิญ ของ บินหลา สันกาลาคีรี
2. ต้นไม้ประหลาด ของ อุเทน พรมแดง
3. นักเดินทางสู่ห้องเก็บของใต้บันได ของ จักรพันธุ์ กังวาฬ
4. นิทานกลางแสงจันทร์ ของ ประชาคม ลุนาชัย
5. เรื่องเล่าของคนบันทึกเรื่องเล่าที่นักเล่าเรื่องคนหนึ่งเล่าให ้เขาฟัง ของ ศิริวร แก้วกาญจน์
6. ลิกอร์ พวกเขาเปลี่ยนไป ของ จำลอง ฝั่งชลจิตร
7. สายลมบนถนนโบราณ ของ มาโนช พรหมสิงห์
8. อุบัติการณ์ ของ วรภ วรภา

คือเรื่อง "เจ้าหงิญ" ของบินหลา สันกาลาคีรี ขอแสดงความดีใจ กับนักเขียนหนุ่มอารมณ์ดี ที่เขียนเรื่องสั้นในรูปแบบคล้ายนิทาน...


Create Date : 24 สิงหาคม 2548
Last Update : 20 กรกฎาคม 2551 12:47:57 น. 13 comments
Counter : 2705 Pageviews.

 
อืม ไม่ได้อยู่เมืองไทยหาดูมะได้


โดย: Bluejade วันที่: 24 สิงหาคม 2548 เวลา:21:13:14 น.  

 
สวัสดีค่ะ คุณสุภาฯ

วันนี้รักดีหยุดงาน ลูกสาวไม่สบายค่ะ

พรุ่งนี้ต้องไปทัศนศึกษา วันนี้รักดีเลยให้หยุดงาน

ป้อนยาหลับไปแล้วค่ะ

รักดีมาจบเรื่องสั้นแล้ว

ไปติชมได้ตามสบายนะคะ คุณสุภาฯ


โดย: รักดี วันที่: 25 สิงหาคม 2548 เวลา:13:06:02 น.  

 
ขอแก้นิดนึงนะคะ

พรุ่งนี้ต้องไปทัศนศึกษา วันนี้รักดีเลยให้หยุดเรียน


โดย: รักดี วันที่: 25 สิงหาคม 2548 เวลา:13:07:24 น.  

 
ยินดีกับคุณบินหลาด้วยอีกคนค่ะ ถ้าเจอหนังสือจะรีบซื้อมาอ่านเลย ชอบอ่านเรื่องสั้นอยู่แล้ว


โดย: รัตน์ดา วันที่: 25 สิงหาคม 2548 เวลา:19:28:17 น.  

 
โค้งสุดท้าย"ซีไรต์"2548 4 แคนดิเดต รอบตัดเชือก

สุธาสินี จิตรกรรมไทย

รางวัลที่เกิดขึ้นมาเพื่อวงการวรรณกรรมโดยเฉพาะ ที่ส่วนใหญ่รู้จักกันดี เห็นจะหนีไม่พ้น รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือ "ซีไรต์" ซึ่งเป็นรางวัลหนึ่งเดียวก็ว่าได้ ที่สร้างกระแสทั้งทางบวกและลบให้เกิดขึ้นได้เกือบทุกปี

เรียกได้ว่า มีทั้งกลีบและหนามกุหลาบโรยอยู่บนเส้นทางแห่งซีไรต์

*ปีนี้ถึงคราวของการประกาศผลรางวัลซีไรต์ ในสาขาวรรณกรรมรวมเรื่องสั้น*

เพียงขั้นตอนการคัดเลือก ก็เรียกเสียงฮือฮาจากคนในแวดวงวรรณกรรม และคนที่ติดตามความเคลื่อนไหวของซีไรต์ได้ไม่เบา

เมื่อ *คะนองฤทธิ์ อนุฤทธิ์* ลาออกจากการเป็นหนึ่งในคณะกรรมการคัดเลือกรางวัลซีไรต์กลางคัน นำสู่การชี้แจงถึงเหตุผล ทั้งจากฝ่ายคณะกรรมการที่เหลือ และจากตัวคะนองฤทธิ์เอง

ปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ได้ทำให้ขั้นตอนการคัดเลือกหยุดชะงักแต่อย่างใด เพราะที่สุดจากหนังสือรวมเรื่องสั้นที่ส่งเข้าประกวด 79 เล่ม ได้ตัดสินเหลือเข้ารอบ 8 เล่ม จากคณะกรรมการ 6 คน ซึ่งนำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ *ดร.ธเนศ เวศร์ภาดา* ประธานคณะกรรมการคัดเลือก

รวมเรื่องสั้น 8 เล่ม จะต้องผ่านด่านหิน ให้คณะกรรมการตัดสินพิจารณารอบตัดเชือกต่อไป

"เจ้าหงิญ" ของ *บินหลา สันกาลาคีรี* "ต้นไม้ประหลาด" ของ *อุเทน พรหมแดง* "นักเดินทางสู่ห้องเก็บของใต้บันได" ของ *จักรพันธุ์ กังวาฬ* "นิทานกลางแสงจันทร์" ของ *ประชาคม ลุนาชัย* "เรื่องเล่าของคนบันทึกเรื่องเล่าที่นักเล่าเรื่องคนหนึ่งเล่าใ ห้เขาฟัง" ของ *ศิริวร แก้วกาญจน์ ลิกอร์* "พวกเขาเปลี่ยนไป" ของ *จำลอง ฝั่งชลจิตร* "สายลมบนถนนโบราณ"ของ *มาโนช พรหมสิงห์* และ "อุบัติการณ์" ของ *วรภ วรภา* คือหนังสือรวมเรื่องสั้น 8 เล่มที่ว่า

ก่อนที่คณะกรรมการตัดสินจะคัดเลือกให้เล่มไหนได้รับรางวัล สิ่งที่เกิดขึ้นกับคณะกรรมการคือ *ความหนักใจ* เพราะผลงานทั้ง 8 เล่มนั้น เสียงกรรมการออกมาค่อนข้างสูสีไล่บี้กันกว่าทุกปี

ความเห็นคณะกรรมการยังไม่ฟันธง แต่สำหรับแคนดิเดตที่มีผลงานเป็น "เพชร" ที่รอการเจียระไนวางบนเรือนแหวน พอจะเห็นๆ

เริ่มที่ *บินหลา สันกาลาคีรี* หนุ่มชาวใต้ เกิดที่ชุมพร ก่อนย้ายมาเติบโตที่สงขลา ต่อด้วยเข้ากรุงเทพฯ มาร่ำเรียนอยู่ที่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ไม่จบ

จากนั้นชีวิตก็ข้องเกี่ยวกับงานขีดเขียนมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นนักข่าว หรือนักเขียน ที่อาชีพหลังทำให้บินหลาเป็นที่รู้จักของนักอ่านจำนวนไม่น้อย ด้วยผลงานเรื่องสั้น นิยาย สารคดีท่องเที่ยว ฯลฯ

ซีไรต์ปีนี้ "เจ้าหงิญ" ผลงานรวมเรื่องสั้นลำดับที่ 3 ของบินหลา ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มติชน เป็น 1 ใน 8 เล่มที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย และเป็นปีแรกที่งานของบินหลาเข้าชิงซีไรต์

"ทุกอย่างอยู่ในหนังสือ จะให้พูดว่าไปอ่านในหนังสือก็น่าเกลียด แต่จริงๆ แล้ว…ยังไงก็ต้องไปอ่านในหนังสืออยู่ดี" บินหลาเริ่มต้นบอกเล่าถึงงานเขียนเล่มนี้ ที่ใช้เวลาถึง 4 ปี เก็บเล็กผสมน้อย จนออกมาเป็น 8 เรื่องสั้นใน เจ้าหงิญ

แรงบันดาลใจของงานรวมเรื่องสั้นชุดนี้ บินหลาบอกว่า ยังไงก็คงให้เป็นหน้าที่ของคนอ่าน ที่จะเข้าไปค้นหาแรงบันดาลใจของคนเขียนในหนังสือเอาเอง

พร้อมย้ำอย่างหนักแน่น ถึงใครหลายคนที่มักเข้าใจว่า เจ้าหงิญ คือนิทานว่า "ผมตั้งใจให้มันเป็นเรื่องสั้น"

"คิดว่านิทานพูดกันที่เนื้อหา ส่วนเรื่องสั้นพูดกันที่รูปแบบ นิทานเป็นกลวิธีการเล่า ซึ่งผมเลือกกลวิธีการเล่าในลักษณะคล้ายนิทาน แต่มันไม่ใช่นิทาน มันเป็นเรื่องสั้น"

ส่วนที่ได้เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ บินหลาบอกด้วยน้ำเสียงเรียบๆ ว่า การตัดสินเป็นเรื่องของกรรมการ งานชุดเจ้าหงิญเขียนจบไปตั้งแต่เมื่อปี 2546 เพราะฉะนั้น การเข้ารอบจึงไม่ได้ทำให้รู้สึกว่าจะทำให้ตัวเองเปลี่ยนแปลงไปอ ย่างไร

"คนอ่านคงตัดสินในตัวอยู่แล้ว" บินหลาทิ้งท้าย

ซีไรต์ประจำปี 2548 ยังมีหน้าใหม่แวะเข้ามาอีกคือ *จักรพันธุ์ กังวาฬ* ด้วยผลงานรวมเรื่องสั้นชื่อ นักเดินทางสู่ห้องเก็บของใต้บันได

จักรพันธุ์ เป็นนักเขียนประจำกองบรรณาธิการนิตยสารสารคดีมาตั้งแต่ปี 2540 อีก 3 ปีต่อมาก็เริ่มเขียนเรื่องสั้น แต่ไม่ได้เขียนตลอด มีว่างเว้นไปบ้างบางช่วง เพราะติดงานประจำที่ทำอยู่

กระทั่งหลังจากนำงานที่เขียนไว้แล้วออกมาแก้ไขอยู่หลายรอบ พร้อมเขียนงานใหม่เพิ่ม ปลายปี 2547 ก็ถึงเวลาที่จักรพันธุ์คิดว่าน่าจะพิมพ์รวมเล่มเป็นหนังสือของต ัวเองได้เสียที จึงเอาไปเสนอสำนักพิมพ์ แต่ก็ถูกปฏิเสธ

"พอดีใกล้ถึงกำหนดส่งซีไรต์ปีนี้ด้วย ก็มีคนแนะนำว่าลองพิมพ์เองดูก็ได้ เลยเข้าโรงพิมพ์ แต่เป็นในระบบที่เรียกว่า พรินท์ ออน ดีมานด์ คือเราอยากพิมพ์เท่าไหร่ก็ตามจำนวนนั้น เลยพิมพ์ออกมา 50 เล่ม แล้วก็เอาส่งซีไรต์" จักรพันธุ์เล่าถึงที่มาของงานรวมเรื่องสั้นชุดนี้ ซึ่งเป็นผลงานเล่มแรกในชีวิต

ทั้งบอกต่อว่า เมื่อรู้ว่างานเข้ารอบสุดท้าย ก็ตื่นเต้นดีใจ วูบวาบๆ แต่ความดีใจที่ต่างออกไปจากการเข้ารอบคือ ได้มีหนังสือของตนตีพิมพ์ ซึ่งภายหลังผลงานชุดนี้ ก็ตีพิมพ์ออกมาในระบบปกติจำนวน 3,000 เล่ม

จากที่เขียนงานสารคดี เมื่อมาเขียนเรื่องสั้น ทำให้เห็นถึงความคล้ายคลึงและแตกต่างกันระหว่างงานเขียนทั้ง 2 ประเภท

สารคดีจะใช้การเขียนแบบวรรณกรรมเข้ามาเพื่อทำให้ตัวสารคดีมีควา มน่าสนใจและน่าอ่านมากขึ้น อย่างการดำเนินเรื่อง การมีตัวละคร อาจมีพล็อต มีจุดไคลแมกซ์บ้าง

ที่แตกต่างออกไป คือเรื่องสั้นเป็นเรื่องแต่ง ขึ้นอยู่กับจินตนาการ ขณะที่สารคดีต้องเอาข้อมูลจริงมาเขียน ดังนั้นเรื่องสั้นจึงเล่นกับจินตนาการได้มากกว่า

บ่อเกิดของบรรดาเรื่องสั้นต่างๆ ที่รวมตัวอยู่ใน นักเดินทางสู่ห้องเก็บของใต้บันได นั้น เจ้าของผลงานบอกว่า เพราะยุคนี้เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร ยุคบริโภคนิยม การส่งเสริมการขาย และเป็นยุคที่โทรทัศน์มีอิทธิพลต่อชีวิตของผู้คนมาก พวกนี้คือสิ่งที่อยู่รอบตัว ที่เป็นสังคมเมือง จึงหยิบมาเป็นแรงบันดาลใจในงานเขียน แถมยังแทรกบางเหตุการณ์ในชีวิตจริงลงไปในเรื่อง

"เรื่องการเข้ารอบสุดท้ายซีไรต์…พูดจริงๆ ก็ต้องมีแรงกดดันบ้างกับงาน แต่ถ้ามองในแง่ดี เราก็อยากพัฒนาไปให้ดีกว่าเดิม และอาจช่วยในแง่ที่ทำให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เช่น หากไปเสนองานที่สำนักพิมพ์ ก็อาจไม่ยากเท่ากับคนที่ไม่เป็นที่รู้จัก" นักเขียนหน้าใหม่แสดงความเห็น

พ้นจาก นักเดินทางสู่ห้องเก็บของใต้บันได แล้ว จักรพันธุ์บอกว่ายังไม่ได้เขียนเรื่องสั้นเพิ่มเติมเลย ที่สนใจอีกก็คือ อยากลองเขียนนิยาย และบทภาพยนตร์ดูบ้าง แต่ทั้งหมดนี้คงต้องไว้อีกสักระยะหนึ่ง

ด้าน *ศิริวร แก้วกาญจน์* ที่ปีที่แล้วเข้าชิงซีไรต์ในสาขากวีนิพนธ์ ด้วยผลงาน ประเทศที่สาบสูญ

มาปีนี้ผลงานรวมเรื่องสั้นชื่อยาวอย่าง เรื่องเล่าของคนบันทึกเรื่องเล่าที่นักเล่าเรื่องคนหนึ่งเล่าให ้เขาฟัง ของเขา ก็เข้ารอบสุดท้ายเช่นกัน

ศิริวร เป็นคนนครศรีธรรมราช เมื่อจบความรู้ในระบบจากคณะวิจิตรศิลป์ วิทยาลัยศิลปะหัตถกรรม จ.นครศรีธรรมราช ก็เริ่มต้นทำงาน อย่างที่เจ้าตัวบอกว่าก๊อกแก๊กไปเรื่อย เพื่อหาทุนรอนเขียนหนังสือ เคยเป็นนักข่าวอยู่พักหนึ่ง พอเห็นว่าไม่เหมาะกับวิญญาณตัวเองเลยออก

จากนั้นก็คลุกคลีกับเพื่อนพ้องน้องพี่ในวงการวรรณกรรมมาโดยตลอด โดยเฉพาะด้านกวีนิพนธ์ ออกผลมาเป็นงานหลายเรื่อง หลายเล่ม ทั้งกวีนิพนธ์ ที่มีปริมาณเยอะสุดเมื่อเทียบกับงานเขียนแบบอื่น

"กวีนิพนธ์จะมีภาวะที่แปลกประหลาดบางอย่างอยู่ ถ้าภาวะนี้โผล่ขึ้นมาแล้วไม่รีบคว้าไว้ มันจะหายไป หลังจากนั้นก็ไม่สามารถติดตามมันได้อีก เป็นภาวะที่นิยายหรือเรื่องสั้นไม่มี" ศิริวรเริ่ม

ส่วนที่เรื่องสั้นมีคือ พื้นที่ที่เปิดให้นำเสนอประเด็นที่อยากสื่อ อย่างเรื่องซึ่งเป็นโครงสร้างทางสังคม สามารถทำความเข้าใจกับพฤติกรรมตัวละคร มีพื้นที่ให้เล่น ให้ครุ่นคิด และจัดการกับระบบคิดได้มากกว่างานแบบกวีนิพนธ์

สิ่งที่ทำให้งานเขียน 2 รูปแบบมาพบกันนั้นก็คือ ภาษา ซึ่งบางครั้งภาษาที่ใช้ในกวีนิพนธ์ ศิริวรก็นำมาโผล่ในเรื่องสั้น แต่อย่างไรก็เน้นว่า ต้องไม่ลืมว่าการเขียนเรื่องสั้นนั้น จำเป็นต้องใช้ชุดความคิดอีกชุดหนึ่ง

ถนัดอะไรมากกว่ากันนั้น ศิริวรบอกว่าตอบไม่ได้ แต่เห็นว่าทั้งกวีนิพนธ์ เรื่องสั้น และนิยาย เป็นเรื่องที่ยากทั้งหมดในแง่มุมของคนเขียนหนังสือ และมีความท้าทายพอกันทั้งหมด

"ผมสนใจพฤติกรรมมนุษย์ที่อยู่ในเมืองใหญ่ๆ ทุกเมือง สงสัยว่าพฤติกรรมหลายอย่างกำเนิดมาจากอะไร ทำไมพฤติกรรมคนเมืองถึงคล้ายกันแทบทั้งหมด เลยพยายามค้นหาว่ามีอะไรอยู่เบื้องหลัง ที่เป็นแรงผลักแรงดันให้มนุษย์เป็นแบบนี้ เพราะผิดพลาดมาจากรากเหง้าของมนุษย์เมืองหรือเปล่า คือสงสัยก็เลยนำมาเขียน...เรื่องนี้เป็นภววิสัยเลย เป็นเรื่องข้างนอก มาจากการสังเกตสังกาสังคมร่วมสมัย"

"สะท้อนตัวตนของผมหรือเปล่าก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่เราได้สัมผัสสัมพันธ์กับแง่มุมของสังคมบริโภคนิยม ทุนนิยม...อย่างน้อยงานนี้ต้องตอบได้ในระดับหนึ่งว่าผมกำลังสงส ัยเรื่องนี้อยู่" ศิริวรพูดยาวถึงงานรวมเรื่องสั้นเล่มล่าสุด

ใครที่สงสัยว่าทำไมเรื่องนี้ถึงมีชื่อเรื่องยาวนัก เจ้าของผลงานมีเสียงหัวเราะเบาๆ ให้เป็นคำตอบ ก่อนบอกว่า ทั้งหมดในเล่มเป็นการยอกย้อน ยั่วเย้าอะไรอยู่ในตัวมันเอง ถ้าผ่านด่านชื่อเรื่องไปได้ ก็จะคุ้นเคยระดับหนึ่งกับเรื่องทั้งเล่ม

ส่วนที่ได้เข้าชิงซีไรต์ ศิริวรบอกว่าคงไม่มีผลอะไร เพราะตามปกติก็ทำงานไปเงียบๆ เรื่อยๆ จบงานชิ้นหนึ่งที่เมื่อพิมพ์เป็นเล่มแล้ว ก็คิดถึงเล่มใหม่ต่อ

"งานชุดนี้ผมพิมพ์มาตั้งแต่ปลายปี 2546 เพราะฉะนั้น จากปีนั้นผมก็คิดถึงงานชิ้นข้างหน้าแล้ว แต่บางเล่มสอดคล้องกับซีไรต์ และเห็นว่ายังอยู่ในช่วงเวลาที่กำหนด เลยส่ง...คือเอาเข้าจริง ซีไรต์เพิ่งมีคำตอบหลังจากผมพิมพ์งานมาแล้ว 2 ปี"

"การเข้ารอบสุดท้ายผมไม่ได้คิดว่าจะกดดันหรืออะไร ผมก็ทำงานไปตามสเต๊ปของผมเรื่อยๆ ไม่กล้าคิดด้วยซ้ำว่าจะได้หรือไม่ได้ เพราะตรงนั้นไม่ได้อยู่ในการควบคุมของเรา ว่าไงก็ว่าไป เราแค่รู้สึกว่าเรายอมรับมัน แล้วก็เขียนหนังสือแบบเดิม"

หลังจากงานรวมเรื่องสั้นชุดนี้ ศิริวรก็ผลิตงานที่เป็นกลอนเปล่าออกมาเล่มหนึ่ง ส่วนตอนนี้กำลังขัดเกลานวนิยายอยู่

ปิดท้ายที่ *ประชาคม ลุนาชัย* เจ้าของผลงานรวมเรื่องสั้น นิทานกลางแสงจันทร์ ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มติชน

นักเขียนวัย 46 คนนี้ เกิดที่ อ.ทรายมูล จ.ยโสธร จบการศึกษาทั้งทางธรรมและทางโลก โยกย้ายชีวิตไปนับสิบจังหวัดของประเทศ ผ่านอาชีพหลายอย่างทั้งพนักงานโรงงาน ลูกเรือประมง พนักงานรักษาความปลอดภัย ฯลฯ

เริ่มเขียนหนังสือและมีงานลงตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2523 ทุ่มเทให้ตัวหนังสืออย่างจริงจังก็เมื่อปี 2537

ปัจจุบัน ประชาคม คือนักเขียนเจ้าของผลงานนวนิยาย 5 เล่มคือ ฝั่งแสงจันทร์ คนข้ามฝัน ดอกไม้กลางเมือง โลกห้าเหลี่ยม และกลางทะเลลึก

และเขียนงานรวมเรื่องสั้นอีก 6 เล่ม คือ ลูกแก้วสำรอง นาฏกรรมแห่งชีวิต ตัวละครตกสมัย เมืองใต้อุโมงค์ เกสรปรารถนา และนิทานกลางแสงจันทร์

ความต่างระหว่างนิยายกับเรื่องสั้น ในทรรศนะของประชาคมเห็นว่า โดยสำนึกของคนเขียนก็จะไม่แตกต่างกัน แต่เนื้อหา หรือรูปแบบ คนเขียนก็ต้องทำสิ่งใหม่อยู่เรื่อย

"แนวถนัดของผม เป็นแนวสะท้อนชีวิตมากกว่าจะเป็นแนวสัจนิยมหรือแนวอื่น...เอาปร ะสบการณ์ตรงและประสบการณ์ที่ผสมผสานกับจินตนาการมาแต่งเป็นนิยา ยและเรื่องสั้น" ประชาคมขึ้นต้น และยกตัวอย่างว่า อย่างเรื่องคนข้ามฝัน ชีวิตและตัวละครก็มาจากประสบการณ์ตรงที่เคยออกทะเลมาก่อน ส่วนประเด็นต่างๆ ก็สร้างขึ้นใหม่จากจินตนาการ

ส่วน นิทานกลางแสงจันทร์ ประชาคมบอกว่า เขียนขึ้นมาจากการคิด การสังเกตสังคม การมองชีวิต มองความเปลี่ยนแปลงของสังคมอยู่เสมอ และตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าทำเหตุอย่างหนึ่งร้ายแรงขึ้นเรื่อยๆ ผลก็อาจเป็นหายนะ โดยตั้งแบบนี้เป็นจุดเริ่มก่อน แล้วค่อยจัดแจงเรื่องสั้นแต่ละเรื่องออกไปแต่ละรูป แต่ละแบบ แต่ละที่มา

หากจะเรียกประชาคมว่าเป็นคนที่คุ้นชินกับแวดวงซีไรต์ ก็คงไม่เกินไปนัก เพราะที่ผ่านมา มีผลงานผ่านเข้ารอบสุดท้าย ทั้งนิยายและเรื่องสั้นอย่าง ฝั่งแสงจันทร์ นาฏกรรมแห่งชีวิต คนข้ามฝัน เมืองใต้อุโมงค์

ปีนี้ "นิทานกลางแสงจันทร์" คือผลงานล่าสุด ที่เข้ารอบสุดท้ายซีไรต์

"จะว่าการเข้าชิงซีไรต์ไม่มีผลเลยกับชีวิตก็คงไม่ถูกนัก แต่มีผลกับการทำงานไหม คงไม่ เพราะเราทำงานมาเรื่อยๆ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรมาก"

"การตัดสินเป็นในส่วนของคณะกรรมการ ไม่ใช่ส่วนของเรา เราก็อยู่ในวิถีอย่างนี้ เคยเป็นมายังไงก็เป็นอย่างงั้น เคยทำงานยังไงก็ทำอย่างงั้น"

"...อย่างที่บอก จะเกิดก็ได้ จะเป็นก็ได้ จะมีก็ได้ หรือไม่เกิด ไม่มี ไม่เป็นก็ได้ เราไปเรียกร้องกับใครไม่ได้ ไปกำหนดอะไรไม่ได้ ดีที่สุดคือทำสิ่งที่อยู่ในมือคืองานเขียนให้ดีที่สุด" ประชาคมบอกความในใจ

* ความงามทางวรรณศิลป์ "เรื่องสั้น" จะวัดออกมาเป็นรูปธรรมอย่างไร 24 สิงหาคมนี้ รู้กัน!*

จากมติชน รายวัน ฉบับวันที่ 11 สิงหาคม 2548

มีแค่ 4 คน หายไป 4 คน..


โดย: สุภาฯ IP: 210.246.64.37 วันที่: 26 สิงหาคม 2548 เวลา:9:40:20 น.  

 
สวัสดีตอนเย็นค่ะคุณสุภา

น่าสนใจดีนะคะ

คุณสุภาอยู่ในวงการนักเขียน

มีข้อมูลเยอะดีค่ะ

รักดีไม่ได้สนใจตรงนี้เลย

เคยซื้อหนังสือ ของคนที่ได้รับรางวัลมาอ่าน

เหมือนกัน จำได้ว่า มีอยู่เล่มเดียว

ก็ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลทุกคน

อยากให้คุณสุภาฯไปถึงจุดนี้ด้วยจริงๆนะคะ

เอาใจช่วยค่ะ

ทานอาหารเย็นให้อร่อยมากๆนะคะ คุณสุภาฯ


โดย: รักดี วันที่: 26 สิงหาคม 2548 เวลา:18:19:20 น.  

 
ว่าง ๆ ลองอ่านนิยายเราบ้างนะ


โดย: Bluejade วันที่: 26 สิงหาคม 2548 เวลา:18:54:01 น.  

 
ไปก็อปเขามาอ่ะจ๊ะรักดี ไม่ได้รู้เรื่องอะไรกะเขาหรอก
อ่านตอนที่1 แล้วอ่ะบลูเจด ตื่นเต้นๆ
อ่านหนังสือเยอะๆ ก็ดีนะจ๊ะนู๋รัตน์ดา...


โดย: สุภาฯ IP: 210.246.64.78 วันที่: 26 สิงหาคม 2548 เวลา:19:06:02 น.  

 
ชอบอ่านหนังสือที่สุดเลย หนังสือเป็นเพื่อนที่ดี
และให้ทั้งความรู้และข้อคิด

หนังสือเรื่องเจ้าหญิงส้มน่าสนใจ

ส่วนใหญ่ชอบเช่าเอานะค่ะคุณสุภากลับไทยก็เช่ามาอ่าน อ่านแล้วชอบถึงจะซื้อ
มาเก็บ


โดย: อยู่ไกลบ้าน วันที่: 26 สิงหาคม 2548 เวลา:21:22:23 น.  

 
ขอแสดงความยินดีกับบินหลา สันกาลาศีรี ด้วยที่ได้รับรางวัลประจำปี 2548


โดย: แป้ง IP: 203.113.60.72 วันที่: 31 กรกฎาคม 2549 เวลา:22:25:27 น.  

 
โดนัดมาหาซีไรต์ 2548เปิดไปที่เว็บไหนๆ ก็เจอแต่เรื่อง เจ้าหญิงอยากรู้ทำได้ไง สุดยอดเลย สุดๆ


โดย: โดนัด IP: 203.113.60.72 วันที่: 31 กรกฎาคม 2549 เวลา:22:42:00 น.  

 
อยากรุ้ประวัติของคุณ บินหลา มีคัยรุ้บ้างงงงงงง


โดย: ดด IP: 58.8.38.158 วันที่: 7 มิถุนายน 2550 เวลา:19:39:10 น.  

 
อยากรู้ผลงานของบินหลามากกก
ค่ะๆๆๆๆๆๆๆๆ

โดย: แอบชอบ bird IP: 222.123.22.32 วันที่: 19 กรกฎาคม 2550 เวลา:20:52:35 น.


เขามีหนังสือวางขายเยอะนะ ลองไปหาดูจ๊ะ



โดย: suparatta วันที่: 7 พฤศจิกายน 2550 เวลา:9:13:22 น.  

suparatta
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




..วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร..
..ท่านนาคารชุนะ..
วิภาษวิธี..เกริ่นนำ..ตอนจบ..

๐ สมุดเยี่ยมและบ่นได้..
**ทางลัด**
๐ สารบัญทักทาย(ทั้งหมด)
๐ ชวนคุย&ฟังเพลงปี48(ทั้งหมด)
๐ นอนดูจันทร์..(ส่วนตัว)

**log in หน่อยน่า..



Google.co.th
Friends' blogs
[Add suparatta's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.