พระพุทธศาสนา
Group Blog
 
All Blogs
 
ฝืนกฎของกรรม ยอมรับนับถือกฎของกรรมอย่างจริงใจอยู่ตลอดเวลา ท่านใช้หลักพิจารณาเมื่อถูกอารมณ์กระทบกระทั

ฝืนกฎของกรรม ยอมรับนับถือกฎของกรรมอย่างจริงใจอยู่ตลอดเวลา ท่านใช้หลักพิจารณาเมื่อถูกอารมณ์กระทบกระทั่ง ไม่ว่าสุขหรือทุกข์เกิดขึ้นได้เพราะมีร่างกายเป็นเหตุ กรรมทั้งหลายเข้ามาตอบสนองได้ เพราะเรามีร่างกายนี่เอง ถ้าจิตยังยึดสุข หรือทุกข์อันเกิดจากร่างกายว่าเป็นเราอยู่อีก แม้ร่างกายนี้ตายไปแล้ว ก็ต้องเกิดมาพบกับร่างกายอย่างนี้อีก เนื่องด้วยการยึดสุข ทุกข์อันเกิดจากร่างกาย คือจิตใจยังเกาะติดร่างกายอยู่นี่แหละ พึงหัดพิจารณาปล่อยวางอารมณ์เหล่านี้เสีย สุขหรือทุกข์ ร่างกายดีหรือไม่ดี ถูกกระทบด้วยกฎของกรรม ก็ให้ถือเป็นเรื่องธรรมดาทั้งหมด รู้สักเพียงแต่ว่ารู้ จิตไม่กังวลหรือยินดีไปกับสุขหรือทุกข์เหล่านี้ด้วย มีความเฉยๆ สงบเย็นเป็นอารมณ์ จิตเป็นสุข ไม่เร่าร้อนด้วยเหตุใดๆ ทั้งปวง แต่อารมณ์เหล่านี้จักทรงตัวได้ จักต้องใช้ปัญญาพิจารณาร่างกายตามความเป็นจริงเท่านั้น

พระธรรมตอนหนึ่ง จากหนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น (เล่ม ๑๑)
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

 สมเด็จองค์ปฐม (ทรงตรัสสอนเรื่อง อารมณ์สักเพียงแต่ว่า)

๑. การไม่สนใจในจริยาของผู้อื่น เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับการไม่รองรับอารมณ์ที่กระทบมาจากบุคคลผู้อื่น ทั้งนี้หมายถึงไม่รองรับอารมณ์จากคน จากสัตว์ จากวัตถุ รวมทั้งจากรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ด้วย กระทบแล้วสักเพียงแต่ว่ารู้ เห็นสักเพียงแต่ว่าเห็น ได้ยินสักเพียงแต่ว่าได้ยิน ได้กลิ่นสักเพียงแต่ว่าได้กลิ่น ทราบเพียงแต่ว่าทราบ ในสัมผัสนั้น ไม่มีอุปาทานเกลียดชัง รัก โลภ หลง ในสิ่งที่มากระทบทั้งปวง นั่นชื่อว่าจิตสงบและเป็นสุขอย่างยิ่ง
๒. นี่เป็นรายละเอียดของธรรม ที่พวกเจ้าจักต้องศึกษาอารมณ์ของจิต และปฏิบัติเรียนรู้ให้เข้าถึงความสุขสงบของจิตให้ได้ ด้วยอำนาจของสมถะวิปัสสนา
๓. อยู่เฉยๆ จักให้จิตมันปล่อยวางทุกข์ อันเกิดจากการกระทบนั้นไม่ได้หรอก จักต้องมีอุบายพิจารณาด้วยปัญญา จึงจักวางได้ ค่อยๆ ทำไป ถ้าหากไม่ท้อแท้เสียอย่างเดียว เรื่องพระนิพพานนั้นเป็นของไม่ไกล
๔. ให้เอาทุกสิ่งที่เข้ามากระทบ ปัญหาทุกอย่าง เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับโลกกับ ขันธโลก คือ ร่างกายที่เราอาศัยมันอยู่ พิจารณาด้วยปัญญา เพื่อเข้าหาอารมณ์สักเพียงแต่ว่า เช่น
๔.๑ เมื่อวัดออกกฎระเบียบอะไรไว้ ก็พึงปฏิบัติตามนั้น
๔.๒ ถูกสุนัขกัดก็อย่าไปโกรธ ถือว่าใช้กรรมเขาไป เจ็บแค่กาย ใจอย่าไปเจ็บด้วย พิจารณาให้ลงตัวกฎของกรรมก็จักสบายใจ ไม่ต้องไปโทษใคร
๔.๓ อยู่ในโลกจักไม่ให้พบคนหมู่มาก อยู่กับคนหมู่มากไม่ได้นั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะโลกนี้เป็นโลกของคน ทุกๆ คนต่างมี ทิฎฐิ ไม่เหมือนกัน มีทัศนะต่างกัน ให้ยอมรับกฎธรรมดาของคน จิตจักได้เป็นสุข
๔.๔ การแก้ปัญหาทุกอย่างให้แก้ที่เรา ให้เรียนรู้และดูอารมณ์ของจิตตนเองเข้าไว้
๔.๕ ขันธ์ ๕ ยังทรงอยู่ต้องการมีกินมีใช้ ก็ต้องทำทาน ทำบุญใส่บาตร รักษาศีล และเจริญสมถะวิปัสสนา ภาวนา ก็จักมีผลทำให้การดำเนินชีวิตเป็นอยู่ไม่ฝืดเคือง
๔.๖ ทำอย่างไรก็ได้อย่างนั้นเป็นที่ตอบแทน แม้จักไม่หวังผลก็เป็นผลใหญ่ ผู้ทำมุ่งหวังนิพพานก็ได้นิพพาน ถ้าหากกำลังใจเต็ม ทานภายในก็พึงทำ (ธรรมทานและอภัยทาน) ทานภายนอก อันเป็นการสละอามิสก็พึงทำ ทำด้วยความพอดี ไม่เบียดเบียนตนเองด้วย ไม่เบียดเบียนผู้อื่นด้วย ไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น
๔.๗ ให้พิจารณาไปให้เห็นธรรมดาของชาวโลก เห็นอะไรว่าดีก็น้อมเข้าดึงเข้าหาตัวหมด ไม่เหมือนกับชาวธรรม ที่คิดแต่สักสละออก เพราะรู้ด้วยปัญญาว่า ไม่มีใครเอาสมบัติของโลกไปได้ แต่หากสละออกเป็นทาน กลับเอาไปได้เป็นอริยทรัพย์ มีอารมณ์ไม่ฝืนธรรมไม่ฝืนโลก ทุกอย่างอยู่ที่จิตที่ยอมรับกฎธรรมดา หากจิตเข้าใจทั้งทางโลก ก็จักไม่ฝืนโลก หากเข้าใจถึงทางธรรม จิตก็จักไม่ฝืนธรรม เช่น ทางโลกชอบระคนไปด้วยหมู่ เป็นครอบครัว ทางโลกซึ่งเขายึดว่าดี เป็นที่ชุมนุมของขันธ์ ๕ เป็นสภาวะที่ชื่นชอบในความทุกข์ ซึ่งต่างกับทางธรรมไม่ระคนไปด้วยหมู่ มีโอกาสก็ให้หลีกเร้นให้เกิดกายวิเวก มุ่งใช้ปัญญาตัดหรือสละภาระของขันธ์ ๕ ด้วย ภาราหะเวปัญจักขันธา หมู่มากเพียงใดก็ยุ่งมาก กระทบกระทั่งกันมาก ก็ทุกข์มากเพียงนั้น ทางโลกกับทางธรรมจึงดูเหมือนสวนทางกัน เราต้องปรับจิตให้ยอมรับนับถือกฎของธรรมดานั้น ๆ อย่าสักเพียงแต่ว่าฝืนใจ ถ้าฝืนก็ยังไม่จริง และอย่าคิดว่าทำไม่ได้ จักต้องพยายามทำ ถ้าไม่ปล่อยวางอารมณ์พิจารณาด้วยเหตุด้วยผล สักวันหนึ่งจิตก็จักยอมรับทางโลกและทางธรรม โดยความเป็นจริง เมื่อนั้นจิตก็จักลงตัว เห็นธรรมดาทั้งทางโลกและทางธรรม จักมีอารมณ์สงบและเป็นสุขอย่างยิ่ง
๔.๘ อารมณ์เบื่อคนเมื่ออยู่กับคน เป็นอารมณ์หนีปัญหา ไม่ใช้ปัญญาคืออริยสัจแก้ปัญหา ซึ่งสามารถแก้ได้หมดทุกชนิด ทางที่ถูกพึงเบื่อกำลังใจของตนเอง ที่เลวไม่ยอมรับกฎของธรรมดานั้น จิตชอบฝืนความจริงนี่ซิน่าเบื่อ ชีวิตมันเป็นอย่างนี้ โลกทั้งโลกมีแต่ความวุ่นวาย ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ สภาวะมันเกิดดับ ๆ อยู่อย่างนั้น ถ้าจิตเราไม่วาง ทุกข์ก็เกิดอยู่ร่ำไป นี่เป็นวิภวตัณหา เป็นเหตุเกิดแล้วดับไป แต่ธรรมารมณ์ที่เกิดกับจิต เกิดแล้วไม่ยอมปล่อยให้ดับไป จึงมานั่งทุกข์อยู่อย่างนี้ ให้ใช้ปัญญาพิจารณาดูว่าโง่หรือไม่โง่ เหตุเกิดผ่านไปแล้วแม้ชั่วขณะจิตหนึ่ง ก็พึงปล่อยวางให้เป็นอดีตไป ยิ่งธรรมนั้นเป็นอกุศล ยิ่งไม่ควรยึดมาเป็นธรรมารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำพูดของบุคคลอื่นจักเอามาใส่ใจเพื่อประโยชน์อันใด ใครจักว่าอย่างไรก็เรื่องของเขา จงอย่าสนใจกับอารมณ์ของผู้อื่น ให้สนใจแต่อารมณ์ของตนเอง
๔.๙ ให้พิจารณาตัวเกาะยึดนั้นเป็นทุก ตัวปล่อยวางหรือสละออกนั้นเป็นสุข ทุกข์อย่างไร ทุกข์เพราะเหตุใด สุขอย่างไร สุขเพราะเหตุใด ให้พิจารณาดูเหตุดูผลให้ดี จนกว่าจิตจักยอมรับในเหตุผลนั้น อารมณ์ใดทำให้ทุกข์ อารมณ์ใดทำให้สุข อารมณ์ไหนควรละ อารมณ์ไหนควรยึด แล้วอารมณ์มันเที่ยงหรือไม่เที่ยง ทั้งๆ ที่รู้ว่าไม่เที่ยง อารมณ์มันก็แปรปรวนไปทุกขณะจิต ก็ยังไม่มีสติกำหนดรู้ ยังอุตส่าห์ปล่อยจิตให้ตกเป็นทาสของอารมณ์ อย่างนี้ก็ใช้ไม่ได้ คนที่ปฏิบัติเพื่อพ้นจากอารมณ์ ๒ ก็จักต้องต่อสู้กับอารมณ์อย่างหนัก และจักมีเรื่องเข้ามาทดสอบจิตอย่างหนัก สู้ได้บ้าง สู้ไม่ได้บ้าง พิจารณาดูว่า สู้ได้เพราะอะไรเป็นปัจจัย ใคร่ครวญไตร่ตรองให้รอบคอบ จักได้แก้ไขอารมณ์ที่เป็นโทษได้ต่อไป

พระธรรมตอนหนึ่ง จากหนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น (เล่ม ๘)
สมเด็จองค์ปฐม ทรงเมตตาสอนเรื่อง “ธรรมเป็นปัจจัตตัง” มีความสำคัญว่า

ก) “ขอ ให้สนใจในธรรมปฏิบัติให้มาก ๆ รู้อารมณ์จิตให้จงหนัก รู้ได้ละได้ที่ตนเอง อย่าไปเที่ยวละอารมณ์จิตของผู้อื่น ไม่มีประโยชน์ ให้ละอารมณ์จิตที่มีกิเลสของตน ๆ ให้ได้เสียก่อน ใช้พระกรรมฐานบังคับกาย-วาจา-ใจ ให้อยู่ในโอวาทธรรมให้ได้เสียก่อน อย่าเพิ่งไปสอนผู้อื่น สอนตัวเองเข้าไว้แล้วยังไม่รู้จักจำ จักเที่ยวไปสอนผู้อื่นให้รู้จักจำได้อย่างไร”

ข) “จงกำหนดจิตรู้ไว้ อารมณ์ของเราเองยังดีไม่พอ ยังคบกับความชั่วอันเป็นอกุศลไว้มากมาย จักแบ่งความดีไปให้คนอื่นได้อย่างไร แบ่งไปแบ่งมาไม่สักแต่จักแบ่งให้แต่ความดี พูดไปว่าไป เขามีอารมณ์ไม่พอใจรับ เราเองนั่นแหละจักเกิดอารมณ์แบ่งความเลวไปให้เขาด้วย อย่างนี้ไม่ดีแน่ ธรรมเป็นปัจจัตตัง รู้ได้เห็นได้ด้วยตนเอง แต่ต้องให้รู้จริง เห็นจริง จึงจักแบ่งให้คนอื่นได้ แต่ต้องเลือกคนรับ เขารับไม่ได้ ภาชนะก้นรั่ว ใส่ให้อย่างไรก็รั่วไม่เป็นผล เสียของเสียเวลา เอาเวลานั้น ๆ มาเติมความดีแห่งอารมณ์พระกรรมฐานของตน ให้เต็มดีกว่า จิตจักได้มีความสุข ไม่ขัดเคืองใด ๆ กับผู้อื่น อย่าคิดว่าเรารู้จักต้องให้ผู้อื่นรู้เช่นเราทำนั้น ก็เท่ากับว่าพวกเจ้านั้นหลงตัวเอง”

ค) “อย่าลืม ตถาคตตรัส ผู้ใดเป็นบัณฑิต ผู้นั้นย่อมถ่อมตนว่าโง่เขลาอยู่เสมอ แต่ผู้ใดที่โง่เขลา ก็มักจักอวดอ้างตนเองเป็นบัณฑิตอยู่เสมอ บัณฑิตที่แท้จริงในพระพุทธศาสนา ก็คือ พระที่เพียบพร้อมไปด้วยศีล-สมาธิ-ปัญญา เต็มครบถ้วนบริบูรณ์นั่นคือพระอรหันต์ สาวกบุคคลผู้เต็มไปด้วยความดี ความถ่อมตน ไม่มีการอวดรู้ อวดฉลาด มีแต่ถ่อมตน ถนอมจิตตนอย่างผู้สิ้นความเร่าร้อนในกิเลสทั้งปวงนั่นเอง ขอให้พวกเจ้าจงจำเอาไว้และนำไปปฏิบัติให้ดี ๆ”

ง) “คอย ดู คอยแลแต่จิตของตนเอง อย่าไปคอยดูคอยแลจิตของคนอื่น กรรมเป็นปัจจัตตัง การก่อเหตุแห่งกรรมไม่เหมือนกัน ผลของกรรมจึงต่างกัน อย่าไปยุ่งกับกรรมของใคร ขอให้ทำหน้าที่ตามภาระที่รับมอบหมายกันไว้ให้ดี ๆ”

พระธรรมตอนหนึ่ง จากหนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น (เล่ม ๑)
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

บูชาพระ ขอขมาพระรัตนตรัย
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ

วันทามิ เจดิยัง สัพพัง สัพพัฎฐาเน สุปฏิษฐิตา สรีระธาตุง มหาโพธิง 
พุทธรูปัง สักการัง สัทธา นาคะโลเก เทวโลเก ดาวติงเส พรหมโลเก ชมพูทีเป ลังกาทีเป 
สรีระธาตุโย เกศาธาตุโย อรหันตาธาตุโย เจดิยัง คันธกุฎี 
จตุราศี ติสสหัสสะ ธัมมักขันธา ปาทเจดิยัง นะระเทเวหิปูชิตา 
อะหังวันทามิ ฑูระโต อะหังวันทามิธาตุโย อะหังวันทามิสัพพะโส 

สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต

 

สมเด็จองค์ปัจจุบัน ทรงตรัสว่า
“เวลานี้ขอให้พวกเจ้าอย่าห่วงใคร ขอให้ห่วงตนเอง ห่วงอารมณ์จิตของตนเองให้มาก ๆ”
ธรรมที่ทรงเมตตาแนะนำนั้นมีอยู่มาก จึงขอเล่าแค่หัวข้อ ดังนี้
๑. ให้เห็นทุกข์จากการเกิดมีร่างกาย หรือสัจธรรม ๕ (เกิด แก่ เจ็บ ตาย)
๒. เรื่องนัตถิโลเก อนินทิโต ไม่มีใครในโลกที่จะเว้นจากการถูกนินทา
๓. ให้เห็นกฎของกรรมโดยละเอียดว่า กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ หากเราไม่เคยทำกรรมเหล่านี้ไว้ในอดีต วิบากกรรม หรือเหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นกับเรานั้นเป็นไปไม่ได้ จึงให้ทุกคนเคารพในกฎของกรรม ซึ่งจัดเป็นอริยสัจขั้นสูง
๔. ที่ว่ามีดวงตาเห็นธรรมนั้น เขาเห็นกันอย่างไร เห็นกันตรงไหน
๕. ให้ยอมแพ้ความชั่ว หรือความเลวของคนอื่น เพื่อที่จะได้ชนะความชั่วหรือความเลวของตนเอง หรือกล่าวสั้น ๆ ว่าแพ้เพื่อที่จะชนะ ซึ่งรัชกาลที่ ๙ ทรงรับสั่งกับทูตเกาหลีว่า "เรายอมขาดทุนเพื่อที่จะได้กำไร" ล้วนเป็นธรรมอันเดียวกัน
๖."ธรรมะย่อมชนะอธรรม" และ "ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม"
๗."ตถาคตตรัสสิ่งใดแล้วไม่เคยคืนคำ ไม่จริงตถาคตไม่ตรัส"
๘. ทรงเน้นเรื่องความไม่ประมาทในความตาย ไม่ประมาทในธรรมปฏิบัติ โดยเฉพาะประมาทกิเลสแม้แต่กิเลสเล็กๆน้อยๆ (เกลียดอย่างยิ่งคือ เพศตรงข้าม หากต้องการจะตัดราคะ, กลัวอย่างยิ่ง เรื่องความผิดเล็กๆ น้อยๆ เพราะของใหญ่ย่อมเกิดจากของเล็กก่อนเสมอหากจิตชินต่อกรรมชั่ววันละเล็กวันละ น้อย ที่สุดจิตจะชินต่อการทำชั่วกลายเป็นฌานในมิจฉาทิฎฐิ ซึ่งแก้ยากมาก, ระวังอย่างยิ่ง เรื่องอายตนะ ๖ ประตู ทั้ง ๖ ทวารทั้ง ๖ ให้ระวังประตูจิตหรือประตูใจเป็นสำคัญ ตลอดเวลาเป็นอกาลิโก, ตบะอย่างยิ่ง หรือให้มีความเพียรอย่างยิ่งในการเผากิเลส ทำลายกิเลส ละกิเลสที่ยังมีอยู่ในจิตของตนด้วยความไม่ประมาท ให้ใช้อิทธิบาท ๔ แบบตอนที่พวกเธอเพียรรักษาศีล จนกระทั่งศีลรักษาเธอไม่ให้กระทำผิดศีลอีก ศีลเข้าถึงใจ กลายเป็นสีลานุสติจิตเกิดอัตโนมัติเองในการไม่กระทำผิดศีลอีกต่อไปตลอด ชีวิต)
๙. อุปสรรคใด ๆ ที่เกิดกับพวกเธอ เธอจงเอาอุปสรรคเหล่านั้นมาคิดพิจารณาให้เป็นพระกรรมฐานให้เกิดประโยชน์กับ จิตของเธอเอง โดยจงอย่าทิ้งอริยสัจเป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหา เพราะ พระ พุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ ต่างก็บรรลุเป็นพระพุทธเจ้าได้ด้วยอริยสัจ และพระสาวกของตถาคตทุก ๆ องค์ ต่างก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ด้วยอริยสัจทั้งสิ้น มีทางนี้ทางเดียว ทางอื่นไม่มี
๑๐. ขอยกตัวอย่างรายละเอียดสัก๑เรื่องขณะนี้เรารบกับอารมณ์ปฏิฆะโดยตรงถ้าเราไม่ พอใจบุคคลเหล่านี้ เท่ากับเราสอบตกในอารมณ์โทสะจริตบุคคลเหล่านี้มาตามกรรมทั้งสิ้น เป็นครูทดสอบอารมณ์โทสะของเรา คถาคตสอนให้ละมิใช่ยึดอารมณ์โมหะโทสะ ราคะ เพราะฉะนั้น ผู้จะเข้าถึงพระพุทธศาสนาจิตย่อมเข้าถึง หรือเต็มไปด้วยศีลสมาธิปัญญาเมื่อมีศีลจะฆ่าเขาก็ไม่ได้เมื่อมีสมาธิตั้ง มั่นก็โกรธหรือรักเขาไม่ได้มีแต่ความ กรุณาสงสารในความหลงผิดที่เขาเป็นไปเมื่อมีปัญญาตั้งมั่นอริยสาวกของตถาคตก็ จักไม่หลงไปในกฎของกรรมอีก
การกระทำใดๆ อันไม่มีอารมณ์หลง โกรธ โลภ เข้ามาครอบงำ อันนั้นเรียกว่าเป็นการตัดกรรมนั่นเอง

พระธรรมตอนหนึ่ง จากหนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น (เล่ม ๑)
 

สมเด็จองค์ปฐม ทรงเมตตาสอนเรื่อง การยืน เดิน นั่ง นอน คือ ตัวธรรมล้วน ๆ
(ต้นเหตุเพราะมีบุคคลกลุ่มหนึ่งมาก่อกวน ไม่ให้พวกเราตั้งวงสนทนาธรรมกันได้ตามปกติ) 
ทรงตรัสว่า
ก) “พวกเจ้าหมั่นเจริญสมถะธรรมเถิด ไม่ตั้งวงสนทนาธรรมก็มิใช่ว่าจักปฏิบัติธรรมมิได้ การยืน เดิน นั่ง นอน นั่นแหละคือตัวธรรมล้วน ๆ เห็นทุกข์เห็นโทษของการเกิดมาเป็นคน สงบก็ยุ่ง ไม่สงบก็ยุ่ง ตามปกติวิสัยของคน พวกเจ้ามุ่งหวังมรรคผลนิพพาน พึงมองสิ่งที่เกิดขึ้นอันสัมผัสได้ด้วยจิตว่า อายตนะภายนอกจักสงบหรือไม่สงบก็เป็นปกติ ขึ้นชื่อว่าโลกมันก็เกิดดับอยู่เป็นนิจสิน ไม่มีอะไรเป็นสิ่งที่ผิดปกติ แม้การเกิดดับภายในก็พึงจักรู้ ศึกษาได้ว่าเป็นสิ่งปกติเช่นกัน พึ่งหมั่นรู้จักความสงบหรือไม่สงบอันเป็นปกตินั้น”

ข) “ถ้าหากไม่รู้จักความสงบหรือไม่สงบแห่งอายตนะภายในแล้วไซร้ ตัวธรรมล้วน ๆ ก็เกิดขึ้นได้ยากในจิตแห่งพวกเจ้านี้ แต่ถ้าหากรู้จักความสงบและไม่สงบแห่งอายตนะภายในแล้ว เท่ากับรู้เกิด-รู้ดับแห่งกิเลส-ตันหาอย่างแท้จริง พระธรรมอันเป็นตัวแก้แห่งกิเลส-ตัณหานั้น ก็จักสามารถล้างอุปาทาน อันยึดมั่นถือมั่นในสุขในทุกข์อย่างได้แท้จริง”

ค) “จง หมั่นหาตัวธรรมล้วน ๆ ที่เกิดขึ้นมากระทบอายตนะภายใน รู้เกิด-รู้ดับ สงบรู้-ไม่สงบรู้ แต่ไม่ปรุงแต่งทุกข์-สุขให้เกิดขึ้นตามอุปาทาน ในที่สุดจิตก็จัก เตสังวู ปะ สะโม สุขโข”

ง) “ขอพวกเจ้า จงหมั่นเป็นผู้มีสติเถิด ในอิริยาบถ ๔ ยืน-เดิน-นั่ง-นอน อะไรเกิด อะไรดับ สงบหรือไม่สงบ ก็รู้ในระหว่างอิริยาบถนั้น ๆ”

จ) “นิพพะ แปลว่า ดับ ดับจากอารมณ์ทุกข์-สุขทั้งมวล พยายามเข้านะเจ้า ยังจิตให้เหลืออยู่ในอารมณ์เดียว คือ ไม่สุข-ไม่ทุกข์ เอโกธัมโมอยู่ตรงนี้ จัก ยืน เดิน นั่ง นอน ก็เอโกธัมโม ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่เกิด-ไม่ดับ นี่แหละตัวธรรมล้วน ๆ ธรรมอมตะที่ไม่เกิดไม่ตาย”

ฉ) “อย่าไปพะวงกับอาการทุกข์ของธาตุ ๔ หรืออาการ ๓๒ ให้มากนัก แต่จิตของนักปฏิบัติธรรมจักไม่เกาะทุกข์-เกาะ สุข อันเกิดจากธาตุขันธ์นั้น เห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดาของธาตุขันธ์ ซึ่งมีแต่เกิดดับอยู่ทุกวินาที จิตคนเรามักจักไม่ยอมรับกฎธรรมดานี้ (เกิด แก่ เจ็บ ตาย ล้วนเป็นทุกข์) จิตดิ้นรนไม่รู้จักปลดจักวาง ยึดธาตุขันธ์ว่าเป็นเรา แล้วฝืนกฎไตรลักษณญาณ ฝืนความเป็นจริง จนกระทั่งธาตุขันธ์แตกดับไปแล้ว จิตก็ยังไม่วายมีอุปาทานเกาะติดธาตุขันธ์นั้นต่อ ๆ ไป จนตายแล้วก็ไม่วายที่จักทุกข์ จิตแสวงหาความเกิดดับอยู่ ไม่รู้จักหยุดจักหย่อน ไม่เห็นสันตติ แต่ตกอยู่ภายใต้สันตติ เกิด-ดับ ต่อเนื่องกันไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด”

ช) “มาเถิดเจ้า มาศึกษาให้หมั่นรู้เกิด-ดับแห่งอายตนะภายใน สงบหรือไม่สงบรู้ ทุกข์สุขรู้ ถ้าไม่รู้ก็ไม่พ้น รู้แล้วให้วางให้ละ ละด้วยศีล-สมาธิ-ปัญญา อันเป็นอาวุธที่จักฟาดฟัน กิเลส-ตัณหา-อุปาทาน อกุศลธรรมได้ แห่งพระพุทธศาสนาของตถาคตนี้ ศีลสมบูรณ์ สมาธิสมบูรณ์ ปัญญาสมบูรณ์ได้ก็ที่จิตดวงเดียว รู้ที่กายคนเดียวนี้ รู้เองที่จิตที่กาย สงบได้ที่จิตที่กายของตนเอง สติ-สัมปชัญญะต่อเนื่องกัน รู้ด้วยความตั้งใจ บารมี ๑๐ ก็จักสมบูรณ์ รู้จิต-รู้กาย เป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน ก็เท่ากับรู้หมดทุกอย่าง เอโกธัมโม ชนะที่ (จิต) ตนเอง ก็ชนะหมดทุกอย่าง ธาตุ-ขันธ์หาสาระไม่ได้ มันเป็นสมบัติของโลก ก็คงอยู่คู่กับโลก”

ฌ) “พวกเจ้าต้องการละโลก ก็จงอย่ายึดธาตุขันธ์นี้ว่าเป็นเราเป็นของเรา เหตุทุกข์-สุขที่มากระทบเราได้ ก็กระทบด้วยธาตุขันธ์นี้ พวกเจ้าผู้มุ่งหวัง อริยมรรค อริยผล สมควรหรือที่จะยึดมั่นทุกข์-สุขนั้นว่าเป็นเรา เป็นของเรา สิ่งใดที่เกิดขึ้นกับธาตุขันธ์ ก่อทุกข์-ก่อสุข จงรับรู้เถิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา เป็นปกติวิสัยของโลกียชน เมื่อพวกเจ้ามุ่งหวังจักเป็นโลกุตรชน ก็จงวางทุกข์ สุขอันเกิดแก่ธาตุขันธ์นี้เสียให้ได้ ขอพวกเจ้าจงอยู่แต่ในธรรมปัจจุบันเถิด ตัวธรรมล้วน ๆ ไม่มีปรุงแต่ง โลกุตรธรรมขั้นสูงไม่มีปรุงแต่ง หรือจิตปรุงแต่งจักเข้าถึงได้ หมั่นสอบจิตกันเอาไว้ให้ดี ๆ”

พระธรรมตอนหนึ่ง จากหนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น (เล่ม ๑)
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

การซ้อมตาย

ก่อนที่จะตายจริงๆ นั้นเป็น มิจฉาทิฎฐิ หรือเปล่า
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอนเพื่อนของผมไว้ มีความสำคัญดังนี้

๑. ทุกคนหรือทุกองค์ที่ในขณะนั้น เวลาใกล้จักตาย มีใครบ้างที่คิดว่าตนเองกำลังซ้อมตาย หรือเป็นการลองตายทุกคนทุกองค์ต่างมีความคิดว่า กำลังจะตายจริง ตัดได้หรือไม่ได้ ก็สุดแต่กำลังใจของแต่ละคน
๒. ในขณะนั้นไม่มีใครคิดว่ากำลังตายไม่จริง ทุกคนต่างคิดว่ากำลังจะตายจริงๆ จุดนี้แหละที่ผิดกับกำลังใจของเจ้า เพราะในเมื่อเจ้าตั้งใจว่าจะลองตายดู แต่จิตมันยังฝังอยู่ว่าตายไม่จริง วาระนี้ยังไม่ถึงคราว เป็นการลองซ้อมตาย เจ้าก็เลยประมาทยังตายไม่จริง เกิดคิดอย่างนั้นเข้า แต่วาระนั้นเกิดตายขึ้นมาจริง ๆ แล้วเจ้าจักเสียใจ นี่จุดนี้เจ้าคิดผิดไหม เป็น มิจฉาทิฏฐิ ไหม (ก็ยอมรับว่าเป็นมิจฉาทิฎฐิ)
๓. มีหรือจักไม่จริง จิตคิดแต่ผลได้ ไม่รู้จักคิดถึงผลเสียบ้างเลย ตถาคตมิได้สอนให้คิดว่าความตายเป็นของไม่จริง ทดลองประมาทกับความตายได้ แต่ความจริงแล้วความตายเป็นของจริง ให้ทุกคนอย่าประมาทกับความตาย อย่าล้อเล่นกับความตาย 
๔. ให้ดูตัวอย่าง พี่สาวของ...ที่ชอบกินยาตายประท้วงสามีนักเที่ยว เธอประมาทมากเกินไป รู้ว่าสามีจักกลับมาถึงบ้านเวลาไหน เธอก็กินยาในเวลานั้น สามีกลับมาถึงพอเธอไปส่งโรงพยาบาล ล้างท้องได้ทันถึง ๒ ครั้ง แต่เมื่อชะตาถึงฆาต ครั้งล่าสุดเธอก็คิดประท้วงสามีด้วยลีลาเดิม เธอกินยาในเวลานั้น คิดว่าจักอย่างไรสามีก็กลับบ้านมาทัน นำเธอไปล้างท้องเหมือนเช่นเคย แต่เปล่า กฎของกรรมมันบังคับ สามีกลับผิดเวลา เธอเลยต้องสังเวยชีวิต เพราะความประมาทในการประท้วงโดยไม่เข้าท่าของเธอ จุดนี้เจ้าจักเห็นได้ว่า คนคิดว่าไม่ตายหรอก พอเกิดตายขึ้นมาจริงๆ แล้ว ก็ต้องไปสู่อบายภูมิอย่างไม่มีใครช่วยได้ นี่เพราะความคิดเห็นผิดๆ ของตนเองเป็นสำคัญ (เพื่อนผมขอขมาต่อพระองค์ ยอมรับความโง่ของตนเอง)
๕. ถ้าเจ้าประมาทคิดโง่ๆ แบบนี้ เจ้าเกิดตายตอนนี้จริงๆ กำลังจิตก็ยังไม่เข้าถึงพระนิพพานได้ จงอย่าหวังในทางลัดให้มากนัก วัดกำลังใจที่ตัดสังโยชน์ ๑๐ ประการ ดูว่าไปได้แค่ไหน เข้าพระนิพพานได้หรือยัง (ก็รับว่า ยัง)
๖. แล้วอารมณ์อยากลองตาย ก็คืออารมณ์อยากตายเร็วนั่นแหละ มันเป็นอารมณ์หยาบของจิต พิจารณาดูให้ดีๆ เถิด
๗. สู้มาวางอารมณ์จิตให้พร้อมรับกับความตายในทุกๆ ขณะจิต ในทุกๆ อิริยาบถ ในทุกๆ สถานที่ และรักษากำลังใจตั้งมั่นตัดตรงสู่พระนิพพานเข้าไว้เสมอ จักยังดีเสียกว่า เพราะจักได้ไม่ประมาทในชีวิต
๘. ให้ดูตัวอย่างของผู้ที่ได้ลองตายไปได้ หรือไปไม่ได้เพราะเหตุใด คุณหมอไปได้ ท่านพระ...ไปไม่ได้ คุณนอพอ คุณออไปไม่ได้ ทุกท่าน ทุกองค์มีอะไรเป็นสาเหตุ เอาจุดนี้มาศึกษาให้ได้เป็นประโยชน์แก่การวางอารมณ์จิตของตนเอง คุณหมอตัดตรง ท่านพระ....ตัดเหมือนกัน แต่เวลานั้นจิตไม่ได้เกาะพระนิพพาน ซึ่งเวลานี้ท่านหันมาแก้ไขจุดนี้อย่างจริงจังแล้ว ถ้าตายอีกทีท่านไปได้แน่ คุณนอพอห่วงศพ นอนไม่สวย คุณออห่วงศพจะไปไม่ถึงที่รับบริจาค คือ มหาวิทยาลัยสงขลา
๙. สรุปลงท้ายถึงสาเหตุที่ยังไปไม่ได้ ๒ แง่ คือ
ก) ท่านพระ...ไปไม่ได้ เพราะจิตมิได้เกาะพระนิพพานอย่างจริงจัง
ข) อีก ๒ ท่านห่วงขันธ์ ๕
เจ้าก็ต้องสรุปลง๒ จุดนี้ นำมาเป็นประโยชน์สอนจิต แก้ไขอารมณ์ไม่ให้เป็นอย่างเขาทั้งหลาย
๑๐. วางอารมณ์จิตเสียใหม่ด้วย คิดไว้เสมอตายเมื่อไหร่ - ที่ไหน ให้จิตมีอารมณ์ตัดการจุติอยู่เสมอ รู้ลม - รู้ตาย - รู้นิพพาน

พระธรรมตอนหนึ่ง จากหนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น (๗)
วิธีออกจากทุกข์ คือการปฏิบัติตัดกิเลสตามสังโยชน์

สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ มีความสำคัญดังนี้

๑. สังโยชน์ ๑๐ หรือกิเลสที่ร้อยรัดจิตเราไว้ ๑๐ ประการ ก็คือศีล-สมาธิ-ปัญญา ซึ่งย่อมาจากอริยมรรค ๘ ประการนั่นเอง ในการปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์ ก็ออกจากง่ายไปหายาก คือเพียรปฏิบัติให้เกิดอธิศีลก่อน แล้วจึงมุ่งหาอธิจิต และอธิปัญญาตามลำดับ โดยใช้อริยสัจเป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหา เห็นทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ล้วนไม่เที่ยงเป็นทุกข์ และในที่สุดก็อนัตตา ล้วนเป็นไตรลักษณ์ทั้งสิ้น แล้ววกเข้าหาอริยสัจ ทุกสิ่งล้วนเป็นทุกข์ เป็นทุกขัง จิตยอมรับกฎของธรรมดาเสียอย่างเดียว จิตก็สงบเป็นสุข จึงมีอุบายอยู่มากมายในการพิจารณา
๒. เช่น 
ก) พิจารณาการสัมผัสกับอากาศร้อนหรือหนาวเกินไป ให้เห็นตัวไม่เที่ยงทั้งของธรรมภายนอกและธรรมภายใน อากาศก็ไม่เที่ยง ขันธ์ ๕ ก็ไม่เที่ยง ยึดถืออันใดมิได้ เพราะธรรมทุกอย่างเข้าสู่ไตรลักษณญาณทั้งสิ้น เกิดแล้วก็เสื่อม เสื่อมแล้วก็สลายไปเป็นธรรมดา อย่าเอาจิตไปปรุงแต่ง รู้สักเพียงแต่ว่ารู้ อย่าสร้างอารมณ์ให้จิตเป็นทุกข์ยิ่งกว่านี้ แค่หนาวทุกข์เพียงร่างกายก็พอแล้ว อย่าได้มีอารมณ์พอใจหรือไม่พอใจ ให้เกิดอารมณ์ขุ่นข้องหมองใจอยู่ในจิต
ข) ขณะนี้ในช่วงเย็น ทางวัดได้เปิดเทปคำสอนเก่า ๆ ของท่านฤๅษี ให้ได้ฟังเพื่อทบทวนกันอีกที ก็ให้ตั้งใจฟัง แล้วพิจารณาคำสอนเหล่านั้นให้ละเอียดยิ่งขึ้น เป็นการเสริมการปฏิบัติให้ได้ผลยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพราะเทปคำสอนสายตรงอย่างนี้ ยิ่งฟังก็ยิ่งได้กำไร ฟังแล้วพิจารณานำมาปฏิบัติยิ่งได้กำไรหลายเท่าตัว
ค) หลวงพ่อสอนมีความว่า เรามีร่างกายจะห้ามไม่ให้มันหิวก็ไม่ได้ ห้ามตาไม่ให้เห็นรูป ห้ามหูไม่ให้ได้ยินเสียงย่อมไม่ได้ ทางที่ถูกเราต้องห้ามใจ วิธีออกจากทุกข์ก็คือการปฏิบัติตัดสังโยชน์ ให้พิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างในโลกไม่เที่ยง และตัวไม่เที่ยงสำคัญที่สุด คือร่างกายที่ยังทรงชีวิตอยู่นี่ เห็นธรรมภายนอกแล้วย้อนเข้ามาหาธรรมภายใน เพื่อตัด สักกายทิฎฐิ คลายความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายนี้ลงเสีย เพราะคนก็ดี สัตว์ก็ดี ล้วนเป็นธาตุ ๔ มีอาการ ๓๒ มาประชุมกัน มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเสื่อมไปในท่ามกลาง มีความสลายตัวไปในที่สุดเหมือนกัน พิจารณาจุดนี้อยู่เนืองๆ แล้วจักตัดราคะและปฏิฆะลงได้
ง) เรื่องทานบริจาค บุคคลใดเข้าถึงความไม่เบียดเบียนตนเองและไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น ผู้นั้นได้ชื่อว่าทำทานบริสุทธิ์ เรื่องนี้ผู้ที่ยังไม่เข้าใจจักต้องศึกษากันอีกนาน และแม้แต่จักพูด ก็พูดได้แต่เฉพาะบางบุคคล สำหรับพวกที่มี ทิฎฐิ แรงพูดไม่ได้ เขายังไม่เข้าใจเรื่องเมตตา - กรุณาตนเองในพรหมวิหาร ๔ จึงทำทานเกินพอดี ทำทานจนตนเองเดือดร้อนก็ยังไม่เห็น แล้วยังเที่ยวหยิบยืมเงินผู้อื่นมาทำทานเป็นต้น นี่แหละคนล่ะ จงทำใจของเราให้ได้ว่าธรรมดาของคน ซึ่งแปลว่ายุ่ง มันก็เป็นอย่างนี้ จักได้ไม่ต้องกลับมาเกิดพบคนเจอคนอย่างนี้อีก
๓. อย่าหนีความโกรธ เพราะเป็นเรื่องของจิตที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกิเลส จงตั้งใจละความโกรธด้วยอำนาจของสมถะและวิปัสสนา (กสิณ ๔ และพรหมวิหาร ๔) จงอย่าท้อถอยคิดว่า กิเลสที่จรเข้ามาคือครูทดสอบอารมณ์ของจิต จึงต้องแก้ที่จิตตน อย่าไปแก้ที่บุคคลอื่น พยายามเจริญวิปัสสนาให้มาก (เจริญพรหมวิหาร ๔) จักเห็นโทษของความโกรธได้ชัด แล้วจึงจักละซึ่งความโกรธได้
๔. การรับฟังคำสอนของหลวงปู่ไวย ก็ดี ของท่านฤๅษีก็ดี จากเสียงตามสายก็ดี ให้นำมาคิดพิจารณาไตร่ตรองให้มากๆ จักมีผลให้จิตเจริญในธรรมปฏิบัติยิ่งๆ ขึ้นไป อนึ่ง เหตุผ่านไปแล้ว อย่าเอาจิตไปเกาะให้เศร้าหมอง ยกเหตุขึ้นมาพิจารณาเป็นบทเรียนสอนจิตได้ แต่อย่าเกาะพยายามอยู่ในธรรมปัจจุบันให้มาก พยายามหลีกเลี่ยงการปะทะคารมกับผู้อื่นเข้าไว้ เพราะขึ้นชื่อว่าไฟไม่มีใครอยากเอามาเผากาย เผาใจตน หรือขี้ก็ไม่มีใครอยากเข้าใกล้ พยายามอย่าใส่ใจกับอารมณ์โกรธที่มาจากภายนอก พยายามใส่ใจและควบคุมระงับความโกรธที่อยู่ภายในให้มาก อย่าแก้บุคคลอื่น ให้มุ่งแก้ไขอารมณ์จิตของตนเองเป็นสำคัญ
๕. พุทธานุสสติ อย่าทิ้งไปจากจิต ในเมื่อรู้ตัวว่าอารมณ์โทสจริตยังเด่นอยู่ (อย่าทิ้งพระอย่าไปไหนคนเดียว อย่าอยู่คนเดียว ให้อยู่กับพระ) และพยายามรู้ลมหายใจให้มาก รู้ภาพพระไปด้วย จักได้ช่วยระงับอารมณ์โทสะได้ และอย่าคิดว่าทำยาก ให้พยายามทำเข้าไว้ ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จย่อมอยู่ที่นั่น อย่าลืมจักไปพระนิพพานได้ ก็อยู่ที่จิตของเรานั้นต้องพยายามชนะความโกรธ - โลภ - หลง เตือนตนเองเอาไว้เสมอ ด้วยความไม่ประมาท เพราะชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายนั้นเที่ยง อาจเกิดกับเราได้ทุกขณะจิต พิจารณาจุดนี้ให้จิตยอมรับ จักได้ไม่มีความประมาทในชีวิต

พระธรรมตอนหนึ่ง จากหนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น (เล่ม ๙)
หลักคำสอนของตถาคตมุ่งที่อริยสัจ หรือกฎของกรรมตัวเดียวกัน

สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้
๑. เจ้าเห็นหรือยังว่า โลกนี้ทั้งโลกเต็มไปด้วยความทุกข์ (รับว่า เห็นแล้ว)
๒. มันเป็นธรรมดาหรือผิดธรรมดา (รับว่าเป็นธรรมดา)
๓. เมื่อเป็นธรรมดาแล้ว จิตเราจักไปอึดอัดขัดข้องกับมันทำไม ปล่อยให้จิตยอมรับนับถือกฎของธรรมดา มีอารมณ์สบายๆ มีการกำหนดรู้ว่า นี่เป็นทุกข์ เป็นอริยสัจ มิใช่ไม่ยอมรู้ว่าเป็นทุกข์
๔. ผู้กำหนดรู้จึงจักพ้นทุกข์ไปได้ มิใช่ปล่อยให้ทุกข์มันผ่านไปเฉยๆ อาศัยความไม่รับรู้ ขาดสติสัมปชัญญะ ก็ใช้ไม่ได้ ตถาคตเจ้าทั้งหลาย สอนสติสัมปชัญญะให้มี ให้เกิดแก่พุทธบริษัททุกๆ พุทธันดร มิใช่สอนให้ไม่รู้ สอนให้ขาดสติสัมปชัญญะนั้น ย่อมมิใช่หนทางของผู้พ้นทุกข์
๕. เมื่อรู้ทุกข์ก็ให้พิจารณาทุกข์นั้นตามหลักของอริยสัจ รู้แจ้งเห็นจริงตามนั้นเป็นปกติ แล้ววางทุกข์นั้นลงเสีย อย่าให้เกาะยึดอยู่ในจิต
๖. ทุกอย่างต้องถูกกระทบก่อน จึงจักเป็นของจริงในพุทธศาสนา นักปฏิบัติกรรมฐานจักต้องวัดอารมณ์กันที่ตรงนี้ อย่าให้กิเลสมันหลอกเรา หากอยู่สงบ ๆ โดยไม่ถูกกระทบก็หลงคิดว่าตนเองแน่แล้ว จึงถูกกิเลสหลอกอยู่ตลอดเวลา
๗. เพราะฉะนั้น จงอย่ากลัวอารมณ์กระทบ ให้เอามาเป็นครู พิจารณาให้ลงตัวธรรมดา ทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปตามสภาวะของธรรม ซึ่งมีความไม่เที่ยงเป็นปกติ
๘. อย่าไปยึดเกาะความไม่เที่ยง เพราะมันทุกข์อยู่ตามปกติเป็นธรรมดา จงปล่อยวางทุกข์นั้นด้วยกำลังของอริยสัจ ให้พิจารณาวนไปวนมาอยู่อย่างนี้เป็นปกติ มองความไม่เที่ยง มองความสกปรก มองความทุกข์ของร่างกายให้ชัดตามความเป็นจริง เพียรทำให้ได้ บารมีก็จักสะสมและเต็มได้ในที่สุด

พระธรรมตอนหนึ่ง จากหนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น (เล่ม ๘)
ธรรมที่เป็นไปได้ทั้งถูกและผิด

สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนไว้ มีความสำคัญดังนี้

๑. จุดนี้ให้ดูอิทธิพลของสัญญา ที่ไปกำหนดจดจำไปสิ่งที่ตาสัมผัสรูป หูได้สัมผัสเสียง แต่จิตไม่คาดโทษ คนเปิดน้ำไหลทั้งนั้น เป็นสัญญาที่จดจำในธรรมที่กล่าวโทษ โจทย์ผู้ทำของเสียหาย ต้องตกสู่อเวจีมหานรก นี่ล้วนแต่ความจำได้ของจิตทั้งนั้น ซึ่งทำให้จิตเกาะติดอยู่ตามนั้น เจ้าเลยปรับอาบัติเขาแบบพุทธบัญญัติ หากผู้ใดผ่านไปเห็นของสงฆ์เสียหาย แล้วไม่จัดการแก้ไข หรือบอกให้ผู้อื่นแก้ไขกี่องค์ก็ปรับเท่านั้น จิตเกาะติดในกรรมจนเอาไปฝันนี่ไม่ดี เพราะไปเกาะกรรมชั่วของผู้อื่น จุดนี้จึงมีทั้งถูกและผิด ถูกที่พึงรักษาของสงฆ์ ผิดเพราะไปเอาจิตไปเกาะกรรมที่คนอื่นเขาทำเอาไว้ อีกจุดหนึ่งคือ ในอดีตเจ้าโกรธและขุ่นเคืองในบุคคลผู้เปิดน้ำ - เปิดไฟของวัดทิ้งไว้ แต่ในปัจจุบันอารมณ์ของเจ้ามันเปลี่ยนเป็นสงสารเขาแทนเพราะไม่อยากให้เขาเป็นโทษ เพราะไม่รักษาของสงฆ์ เพราะฉะนั้น รักษาอารมณ์จิตตัวเมตตานี้เข้าไว้ให้ดี แต่พยายามวางตัวอารมณ์เกาะติดในกรรมผู้อื่นให้หมดสิ้นไปด้วย เพราะพรหมวิหารมี ๔ ข้อ ต้องใช้ให้ครบ โดยเฉพาะอุเบกขา
๒. มรรคผลจักได้จริงต่อเมื่อเอาจริงกันในทางด้านปฏิบัติเท่านั้น >ให้สำรวจกาย - วาจา - ใจ ว่าจุดไหนบกพร่องบ้าง เพราะบางครั้งจิตตกอยู่ในอำนาจความโกรธ - โลภ - หลง และบางขณะก็ฟุ้งซ่านไปด้วยอำนาจของนิวรณ์ทั้ง ๕ ประการ จุดนี้จักต้องแก้ไขให้ได้ ถ้าแก้ไขไม่ได้มรรคผลก็จักได้ยาก ตถาคตเป็นเพียงผู้บอกผู้ชี้แนะ ตนจักต้องเป็นที่พึ่งแห่งตนเท่านั้น อย่าทะนงตนว่าดีแล้ว และจงอย่าประมาทในชีวิต อย่าปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยไร้ค่า มุ่งทำความเพียรเพื่อพระนิพพาน ต้องทำกาย - วาใจ - ใจให้ได้มรรค - ผล - นิพพานด้วย
๓. อย่าไปคิดว่าเพศสมณะกับฆราวาสไม่เท่ากัน ความจริงแล้วอยู่ที่การสำรวมกาย - วาจา - ใจ ให้ถึงพร้อมด้วยศีล - สมาธิ - ปัญญา อยู่ที่ความตั้งใจจริงของใจเท่านั้น ว่าจักรักษาศีล - สมาธิ - ปัญญาจริงหรือไม่ อย่าจริงแค่สัญญา ให้ใช้ปัญญาไตร่ตรองให้มาก ๆ แล้วให้พิจารณาอันไหนเป็นสัญญา อันไหนเป็นปัญญาด้วย มิใช่ทำไป ๆ เหมือนคนตาบอด จิตบอดไม่รู้จักแยกแยะ จักต้องทำไปรู้ไป จึงจักใช้ได้ เช่น <>รู้ว่าสุขภาพไม่ดีก็ต้องเพิ่มความไม่ประมาทในชีวิต ไม่มีใครฝืนกายสังขาร ไม่ให้เจ็บ ไม่ให้ตายได้ การทรงชีวิตอยู่ก็อยู่กับความทุกข์ ต้องจมอยู่กับกายที่สกปรกไม่เที่ยง ต้องเป็นภาระให้ชำระสะสางทุกวัน จิตต้องคอยกังวลกับสุข-ทุกขเวทนา ซึ่งเป็นธรรมดาของร่างกาย หากใช้ปัญญาพิจารณาตามความเป็นจริง จักเห็นธรรมของร่างกายปรากฏอยู่อย่างนั้นด้วยปัญญา ที่รู้ - ที่เห็นตามความเป็นจริงอยู่อย่างนี้ จิตก็จักคลายกังวลและวางเฉยในปกติธรรมของร่างกายลงได้ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ทุกบทเนื่องถึงจิตกับร่างกายเหมือนกันหมด อย่าประมาทคิดว่าเราจักยังไม่ตาย พระอริยเบื้องสูงท่านไม่ประมาท คิดถึงความตายทุกขณะจิต ท่านพร้อมที่จะทิ้งกายนี้อยู่เสมอ จิตมุ่งสู่พระนิพพานจุดเดียวอย่างมั่นคง รู้ลม -รู้ตาย - รู้นิพพาน
๔. อย่าไปตำหนิใครว่าปฏิปทาไม่เหมือนกับเรา ชีวิตของแต่ละคน มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นเครื่องจำแนก และถูกจองจำด้วยผลของกรรม อันเกิดจาการกระทำของตนเอง ดังนั้น จงเอาจิตรอด ส่วนกายนั้นมันไม่รอดอยู่แล้วเป็นธรรมดา

พระธรรมตอนหนึ่ง จากหนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น (เล่ม ๘)
ธรรมของพระองค์เป็นปัจจัตตัง

สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญ ดังนี้
๑. ธรรมของตถาคตเป็น ปัจจัตตัง ใครปฏิบัติถึงแล้วย่อมรู้ได้ด้วยตนเอง เฉพาะตนของใครของมัน กรรมใครกรรมมัน ธรรมของใครก็ของผู้นั้น ทำแทนกันไม่ได้
๒. เมื่อเข้าใจธรรมในข้อแรกแล้ว ก็จะเข้าใจคำสอนที่ว่า ธรรมของตถาคต ผู้ใดปฏิบัติจนเกิดความเข้าใจ หรือรู้ได้ด้วยตนเองเพียงครั้งเดียว ดีกว่ามีผู้อื่นมาบอกให้รู้๑๐๐ ครั้ง ๑,๐๐๐ ครั้ง
๓. ธรรมของตถาคต ไม่มีอะไรขัดแย้งกัน ผู้ที่ยังปฏิบัติไม่ถึงจึงต้องมีการขัดแย้งกันเป็นธรรมดา เพราะรู้ - เห็นไม่เหมือนกัน ตามบารมีธรรมของแต่ละคน ให้จับหลักข้อนี้ไว้ ก็จะเข้าถึงตัวธรรมดาได้ไม่ยาก
๔. ใครยังไม่เข้าใจจุดนี้ ก็ย่อมยังมีอารมณ์ ๒ (พอใจกับไม่พอใจ) ยังมีการตำหนิกรรมของผู้อื่น ยังยึดผิด-ถูก ดี-เลว อยู่เป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์ ๔ - ๕ ยังไม่ขาด เป็นการเห็นกันต่างมุม-ต่างทิฐิ-ต่างความเห็น เป็นสงครามทางความคิด
๕. ธรรมของตถาคตต้องจำให้ได้เป็นประการแรก แล้วนำไปปฏิบัติตามให้เกิดผลเป็นขั้นที่ ๒ โดยนำไปใคร่ครวญให้เกิดปัญญา ( ธัมมวิจยะ) ธรรมนั้น ๆ จะเดินไปในทางเดียวกันหมด จนที่สุดรวมเป็นหนึ่ง เป็น เอโกธัมโม
๖. ธรรมทุกข้อทุกขั้นตอนของพระองค์ จะเกิดขึ้นได้จากความเพียรชอบเท่านั้น มิใช่เพียรขออธิษฐาน อ้อนวอน แต่ไม่ยอมปฏิบัติ พระองค์จะสงเคราะห์เราได้ เราจะต้องช่วยจิตของเราให้สงบปราศจากนิวรณ์ก่อน โดยเจริญอานาปานัสสติ ควบคำภาวนา ยิ่งจับกสิณภาพพระ หรือภาพพระนิพพานได้ก็ยิ่งดี ส่วนใหญ่พวกเรามักเผลอ จิตทิ้งพระจึงยังเอาดีกันไม่ได้
๗. ส่วนใหญ่ประมาทและขาดความเพียรชอบ พอทำได้หรือพอสัมผัสธรรมได้ แต่ยังไม่ชำนาญ ก็วางธรรมนั้นไปสนใจธรรมอื่น ๆ ต่อไป จะต้องเพียรปฏิบัติต่อไปให้เกิด ความชำนาญจนจิตชิน กลายเป็นฌาน ชินในอารมณ์นั้น ๆ แบบเพียรรักษาศีล จนศีลรักษาเราไม่ได้ผิดศีลอีก เป็นสีลานุสสติเพียรทำทาน โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากเพื่อพระนิพพานจุดเดียว เป็น จาคานุสสติ เพียรระวังจิตอย่าให้มันคิดชั่ว เพราะกลัวผลของกรรมชั่วจะเกิดกับจิตตน เป็น เทวตานุสสติ และยากที่สุด คือ เพียรรักษาพรหมวิหาร ๔ จนกระทั่งพ้นภัยจากอารมณ์จิตของเรา ทำร้ายจิตเราเอง ได้ทรงตัว ใครทำได้ก็พ้นภัยตนเอง ต้องทำให้ชินจนเป็นฌาน
๘. ทรงตรัสว่า การกำหนดรู้วาระจิตในทุกๆ ขณะจิตนั้นแหละ คือ จิตตานุสติปัฏฐาน ซึ่งตามปกติถ้าจิตยังเจริญไม่ถึง จักฟังสักเท่าไหร่ กี่ครั้งกี่หน ก็รู้ไม่ได้อยู่ดี จนกว่าถึงแล้วก็รู้เอง นี่คือการศึกษาปฏิบัติในหลักสูตรของพระพุทธศาสนา ซึ่งฟังแต่ปริยัติจักเข้าใจไม่ได้ จนกว่าจักปฏิบัติถึงแล้ว จึงจักเข้าใจ เพราะธรรมเป็น ปัจจัตตัง ถึงแล้วรู้เอง 
๙. และการสอนให้ปฏิบัติมาตามนี้ ก็เป็นอยู่ในหลักสูตรของพระพุทธศาสนา การสอนให้เข้าถึงธรรมปัจจุบันอย่างนี้ เขาเรียกว่าสอนโดยพิสดาร สอนแล้วปฏิบัติมาก็ตรงแนวคำสอนเดิมอยู่ดี แตกต่างกันไปตามศัพท์แสง คำอธิบายเท่านั้น ซึ่ง ถ้าใช้ภาษาในอดีตคือต้นพุทธกาล พวกเจ้าก็จักเข้าใจยาก หรือยากที่จักเข้าใจ (จัดเป็นพระเมตตาของพระองค์อย่างหาประมาณมิได้)
๑๐. นักปฏิบัติพระกรรมฐาน ถ้าไม่รู้จุดนี้ จักปฏิบัติให้เข้าถึง อริยมรรค อริยผล เบื้องสูงได้ยาก แต่เมื่อรู้แล้วยังจักต้องปฏิบัติให้คล่องแคล่วชำนาญยิ่งๆ ขึ้นด้วย จึงจักมีมรรคผลเกิดขึ้นได้

ให้รู้ความสำคัญของอานาปานัสสติ

เมื่อเอาเรื่องจริต ๖ มาใคร่ครวญ ก็พบว่ากรรมฐานทุกกองต้องอาศัยกำลังจากอานาปากองเดียวที่เป็นรากฐานสำคัญสุด หากรู้ลมเฉย ๆ ก็เป็นแค่สมถะ (เป็นฌานสมาธิ) แต่ถ้ารู้ละเอียดลงไปว่า แม้ลมหายใจนี้ก็ไม่เที่ยง และเป็นเหตุเกี่ยวเนื่องกับความตายก็เป็นวิปัสสนา โยงไปสู่ความไม่ประมาทในธรรม ไม่ประมาทในชีวิต หากร่างกายตายแล้ว (หมดลม) จิตควรจักมีเป้าหมายไปไหน สิ่งที่จิตของนักปฏิบัติต้องการก็คือพระนิพพาน จึงขอสรุปสั้น ๆ ว่า รู้ลม รู้ตาย รู้นิพพาน หรือรู้อานาปา รู้ มรณา รู้อุปสมานั่นเอง ผู้ที่จะรู้ได้ระดับนี้จะต้องมีสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันสภาวะของกายและจิตที่ทำงานเป็นสันตติภายนอกและภายในอยู่เป็นปกติ พิจารณามาถึงจุดนี้ สมเด็จองค์ปฐม ก็ทรงพระเมตตาตรัสสอนว่า
๑. "ให้รู้ความสำคัญของอานาปานัสสติ แต่มิใช่เกาะติดอยู่ในลมหายใจนั้น คือ รู้ความไม่เที่ยงของลมหมายใจ แต่ไม่ให้เกาะติดความไม่เที่ยงนั้น เท่ากับมีจิตทรงอยู่ในฌานอันเกิดขึ้นได้กับการกำหนดรู้ลมหายใจ แต่มิใช่หลงใหลใฝ่ฝันในฌาน อันเกิดขึ้นได้กับการกำหนดรู้ลมหายในนั้น ๆ เมื่อร่างกายยังอยู่ ก็จำเป็นต้องพึ่งลมหายใจ เป็นบันใดให้ก้าวเข้าไปสู่พระนิพพาน ร่างกายพังเมื่อไหร่ ลมหายใจก็หมดความจำเป็นต่อจิตเมื่อนั้น" 
๒. "อรูปฌานหรือรูปฌานก็เช่นกัน เพื่อเป็นกำลังให้จิตตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหานแล้ว ร่างกายพัง จิตก็โคจรเข้าสู่ดินแดนพระนิพพานตั้งมั่นแล้ว อรูปฌานหรือรูปฌานก็หมดไป เหลือแต่อาทิสมานกายที่บริสุทธิ์ล้วน ๆ คือ พระวิสุทธิเทพนั่นเอง" 
๓. "เพราะฉะนั้น เมื่อยังมีชีวิตอยู่ อย่าทิ้งอานาปานัสสติ อย่าทิ้งรูปฌานและอรูปฌาน ใช้ตามปกติที่ร่างกายยังมีลมหายใจ แต่ไม่หลงใหลติดอยู่ตามนั้น อาศัยเพียงแค่ให้ร่างกายได้ระงับทุกขเวทนาด้วยกำลังของฌาน อาศัยฌานเป็นกำลังก้าวไปเพื่อห้ำหั่นกิเลส เป็นบันไดก้าวเข้าไปสู่พระนิพพาน" 

ธรรมตอนหนึ่ง จาก หนังสือธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น (เล่ม ๖)
การกำหนดรู้อารมณ์

คือผลของการปฏิบัติ (คือ จิตตานุสสติ)
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอน โดยให้หลักไว้ดังนี้
๑. การรู้ว่าตนสอบตกก็ยังดี ดีกว่าคนที่สอบตกแล้วยังไม่รู้ตัวเองว่าสอบตก แถมยังคิดเข้าข้างตนเองว่า ตนเองสอบได้เสียอีก นี่ซิแย่
๒. การกำหนดรู้อารมณ์พึงทำไว้ให้ตลอดเวลา ไม่พึงเอาเวลาไปทำอย่างอื่น การกำหนดรู้อารมณ์ คือ ผลของการปฏิบัติ หรือนัยหนึ่งคือ จิตตานุสสติ
๓. จุดนี้เป็นหลักใหญ่ ให้เข้าถึงพระนิพพานได้โดยง่าย ถ้าไม่ทิ้งการกำหนดรู้อารมณ์ การเอาพระกรรมฐานมาแก้จริตย่อมใช้ได้ผล และจักเป็นผลทรงตัวที่มั่นคงอยู่ตลอดเวลา
๔. ปฏิบัติจุดนี้ให้ดีๆ การสอบตกเป็นของธรรมดา ตกแล้วก็ตั้งต้นใหม่ เพราะหลักการของธรรมปฏิบัติ จักต้องรู้อารมณ์อยู่ตลอดเวลา ได้บ้างตกบ้างก็ไม่เป็นไร อย่าพึงท้อใจเสียก่อนก็แล้วกัน และ ผลการสอบจักเป็นของจริงเมื่ออารมณ์ถูกกระทบกระทั่งอยู่แล้วนั่นเองมิใช่อยู่เฉย ๆ อย่างจิตสงบ ปราศจากการกระทบกระทั่งแล้วจักมานั่งคิดว่าเป็นของจริงนั้นไม่ได้
๕. แล้วอย่าลืมพิจารณาลงตรงจุดที่ว่ามันทุกข์ อะไรเกิดขึ้นเป็นที่ขัดข้องล้วนแต่เป็นความทุกข์ทั้งสิ้น นี่คืออริยสัจหรือกฎของกรรม จุดนี้อย่าทิ้งจากการพิจารณา
บุคคลส่วนใหญ่มักชอบอารมณ์เดือดร้อนใจ
สมเด็จองค์ปฐมทรงมีพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้

๑. อย่าสนใจกับจริยาของผู้อื่น ใครจักว่าอย่างไรก็เรื่องของเขา เขาจักคิดอย่างก็เรื่องของเขา ให้รู้ว่าเรื่องของเรา คือ การปฏิบัติอย่างไร ให้สามารถละซึ่งอารมณ์พอใจหรือไม่พอใจให้หมดสิ้นไปเท่านั้น
๒. ไม่ต้องสนใจกับอารมณ์ความคิดของใคร ให้สนใจกับอารมณ์ความคิดของตนเอง (หลักการปฏิบัติธรรม จักต้องรู้อารมณ์ของตนอยู่ตลอดเวลา)
๓. จักพึงต้องกำหนดรู้เอาไว้เสมอๆว่า เวลานี้จิตกำลังคิดอะไรอยู่ ดีหรือเลว เป็น โลกียธรรมหรือ โลกุตรธรม นี่จักต้องกำหนดรู้
๔. อย่าเที่ยวปล่อยอารมณ์ให้ฟุ้งไปตามใจชอบ (นิวรณ์ครองจิต) จนวัน ๆ ไม่รู้ว่าขณะนี้จิตมีอารมณ์อะไร สุขหรือทุกข์สบายใจหรือเดือดร้อนใจ
๕. บุคคลส่วนใหญ่มักจักชมชอบอารมณ์เดือนร้อนใจ ทั้ง ๆที่เป็นอารมณ์ของความทุกข์ แต่ก็หาคนรู้หรือดูอารมณ์ของตนเองออกยาก เมื่อไม่รู้ว่าทุกข์เดือดร้อนใจ จึงเกาะทุกข์เกาะความเดือดร้อนใจอยู่ร่ำไป
๖. แต่ถ้าผู้รู้ก็จักพยายามละและปล่อยวางอารมณ์นั้นอยู่ตลอดเวลา ขอพวกเจ้าจงพยายามปฏิบัติให้ได้ตามนี้

 อย่าติดอดีตและอนาคตธรรม จิตจักไม่มีความสุข

สมเด็จปฐม ทรงพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้
๑. จงอย่ามีอารมณ์โมโหหุนหัน เมื่อพูดคุยถึงเรื่องเก่าๆ ให้รู้ว่านั่นเป็นอดีตธรรมที่ผ่านไปแล้ว อย่านำมาขุ่นเคืองผูกใจจำอยู่ในปัจจุบัน จิตจักไม่มีความสุข
๒. กรรมใดยังไม่เกิด เป็นเรื่องของอนาคตที่ยังมาไม่ถึง เมื่อเจ้านำมากล่าวขึ้นในปัจจุบัน ก็เป็นจุดซึ่งนำมาแห่งความทุกข์ ทำไมเจ้าจึงไม่คิดว่า บางทีชีวิตของเจ้าอาจสิ้นสุดในวินาทีข้างหน้านี้ สู้เอาเวลามาเตรียมตัวเตรียมใจ ซ้อมตายให้พร้อมเพื่อความได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ให้มั่นคงทุก ๆ ขณะจิตมิดีกว่าหรือ (ก็ยอมรับว่าดีกว่า แต่จิตอดคิดเลวไม่ได้)
๓. ก็เลวเป็นปกติ เพราะผู้ใดยังมีสังโยชน์ ๑๐ ประการร้อยรัดใจอยู่ จงอย่าได้ลืมตนคิดว่าเป็นคนดีเป็นอันขาด
๔. จงเตือนจิตตนเองไว้เสมอ อย่าไปดูอารมณ์ของใคร และอย่าติดใจในอารมณ์ของบุคคลอื่น ให้หมั่นดูอารมณ์จิตของตนเป็นสำคัญ เรียนให้มันรู้ว่า จิตที่เสวยอารมณ์อยู่นี้มันสุขหรือมันทุกข์ มีความถูกต้องหรือบกพร่องในอารมณ์พระกรรมฐานหรือไม่ จับตามองอารมณ์ดีๆ ผิดแล้วก็เริ่มต้นใหม่ๆ ให้ใช้ความเพียรอยู่อย่างนี้ อย่าท้อถอย อุปสรรคย่อมมีมาขัดขวาง เป็นครูที่เข้ามาทดสอบอารมณ์ของจิต นั่นเป็นของดี
๕. ไม่มีศัตรูก็ย่อมไม่มีการต่อสู้ ชนะโดยปราศจากอุปสรรคนั้นดีไม่จริง จักต้องต่อสู้ฟันฝ่าในทุกด้านของกิเลสที่สิงอยู่ในอารมณ์ ถ้าสู้เยี่ยงนี้แล้วชนะศัตรูได้ นั่นแหละจึงจะเป็นของจริง
๖. แต่ถ้าหากท้อถอยอย่างไม่ทันตั้งท่าสู้ ก็จงอย่าหวังว่าจักได้เข้าสู่พระนิพพาน ตามที่องค์สมเด็จพระบรมครูทุก ๆ องค์ต้องการให้เข้าสู่ได้ เพราะนั่นเป็นการแพ้ตั้งแต่นอนอยู่ในมุ้งแล้ว ใช้ไม่ได้
๗. พยายามอยู่ในธรรมปัจจุบันให้มาก อย่าให้อดีต - อนาคตเข้ามาเป็นพิษ ทำร้ายจิตของตนเอง เตือนกันไว้แค่นี้

เบียดเบียนผู้อื่นเห็นง่าย เบียดเบียนตนเองเห็นยาก
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอน โดยให้หลักไว้ดังนี้
๑. เรื่องการเบียดเบียนจัดเป็นธรรมขั้นสูงในพรหมวิหาร ๔ ข้อแรก คือ เมตตา ความรักจักต้องรักตนเองก่อนอื่น เพราะสิ่งที่เรารักที่สุดในโลกนี้ก็คือตัวเราเอง ปุถุชนหลงคิดว่าร่างกายนี้เป็นเราเป็นของเรา จึงเอาอกเอาใจร่างกายตนเอง ปรนเปรอตนเองจนเกินพอดี แต่กลับไม่ค่อยสนใจจิต ซึ่งความจริงก็คือตัวเราที่อาศัยร่างกายอยู่ชั่วคราวเท่านั้น
๒. ขนาดสิ่งที่เรารักที่สุด เราก็ยังเบียดเบียนมันได้ แล้วผู้อื่น คนอื่น ทำไมเราจักเบียดเบียนเขาไม่ได้ ดังนั้นการเบียดเบียนผู้อื่นจึงทำได้ง่าย เห็นง่าย แต่ที่จะเห็นการเบียดเบียนตนเองนั้นเห็นยาก รู้ตนเองยาก เพราะชอบเข้าข้างตนเองอยู่แล้ว
๓. จึงเป็นของธรรมดา เพราะการเห็นความเบียดเบียนของผู้อื่น นั่นเป็นการเห็นของปุถุชน ซึ่งผู้เห็นก็มักจักโทษบุคคลผู้มากระทำความเบียดเบียนต่อตนเองนั้น แต่การเห็นความเบียดเบียนตนเอง คือ การรู้กฎของกรรม รู้อารมณ์ที่เบียดเบียนตนเอง รู้กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุเป็นการรู้ของ อริยชน จึงต่างกันที่ตรงนี้ จักให้เห็นเหมือนๆ กันหมดนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้
ขอสรุปว่า ผู้ใดพิจารณาธรรมในธรรมเรื่องนี้ได้ด้วยตนเองแล้ว ก็จะรู้ธรรมในระดับเดียวกันได้หมด เช่น เรื่องตำหนิผู้อื่นนั้นง่าย แต่ตำหนิตนเองนั้นยาก, เรื่องทำชั่วนั้นทำง่าย แต่ทำดีนั้นทำยาก, เรื่องขี้เกียจนั้นทำง่าย ขยันนั้นทำยาก, เรื่องผู้อื่นมาบอกให้เรารู้ ๑๐๐ ครั้ง ๑,๐๐๐ ครั้ง ก็สู้เรารู้ด้วยตนเองครั้งเดียวไม่ได้ เป็นต้น
สมเด็จองค์ปฐมทรงตรัสสอนปกิณกะธรรมไว้ มีความสำคัญดังนี้
๑. การทำงานกับการทำจิต พึงจะไปด้วยกันทุกๆขณะจิต เอางานเอาสิ่งกระทบรอบด้านเข้ามาเป็นกรรมฐาน อย่าเมื่อวานนี้เจ้าดูจิตกระทบกับความร้อน ความอบอ้าวของอากาศในขณะทำงานในซุ้มพระพุทธบาทนั้น เป็นของถูกต้อง เนื่องจากเจ้าคิดถึงอารมณ์ของท่านฤๅษีที่เคยกล่าวไว้ว่า พระอรหันต์ท่านไม่ต้องมีอารมณ์ฝืนทนกับความร้อนของแสงแดด จิตของท่านลงธรรมดา จุดนี้เป็นสังขารุเบกขาญาณ ความที่จะทนกับอากาศหนาวเกินไป ร้อนเกินไปนั้น ไม่มีในพระอรหันต์ ร้อนหรือหนาวเป็นเวทนาที่จิตรับสัมผัส แต่เวทนานี้ก็ไม่ใช่เรา จุดนี้จุดเดียวถ้าเจ้าเข้าใจ ก็จักพิจารณาได้หมดทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้ามากระทบอายตนะ ยิ่งที่เจ้าพิจารณาว่า เวทนานี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ถ้ายึดก็เป็นทุกข์ นั่นเป็นการเข้าหลักอริยสัจโดยแท้ จิตไม่ยึด ปลดออก ปล่อยวาง นั่นแหละเป็นการถูกต้อง ให้ค่อยๆ ทำไป แล้วจักเข้าใจอริยสัจมากยิ่งขึ้น 
๒. ให้หมั่นถามจิตตนเอง ตายแล้วจักไปไหน ถ้าหากจิตตกอยู่ในสภาพนั้น พยายามทำจิตให้เป็นสุขด้วยเห็นทุกอย่างตามความเป็นจริง อย่าไปกังวลกับใคร แล้วทำทุกอย่างตามความเหมาะสม และทำเท่าที่สมควรจักทำ อย่าทำงานด้วยความกังวลใจ ให้ทำไปเรื่อยๆ ไม่ต้องรีบร้อน งานก็จักออกมาเป็นขั้นตอนให้เสร็จลุล่วงไปได้ตามลำดับ ในเมื่อรู้ว่าจิตขาดสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ ยิ่งในขณะที่ร่างกายเพลีย เพราะพักผ่อนไม่พอ ก็ยิ่งควรจักแก้ไข และฝึกฝนจิตในขณะนั้นให้มาก
สำหรับจิตฟุ้งซ่าน ก็พึงเห็นเป็นของธรรมดา เพราะยังไม่ใช่พระอรหันต์ แต่ก็ควรเอาพระกรรมฐานแก้จริตหกมาใช้ ให้ตรงกับอารมณ์นี้ อย่าปล่อยให้ตัวฟุ้งซ่านนั้นๆ ซึ่งมิใช่อารมณ์ธรรมดา ผ่านไปโดยไม่สนใจ ปล่อยไปโดยไม่แก้ไขจิต และพึงอย่าคิดว่าจิตดีแล้วตราบใดที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ เพราะถ้าหากคิดอย่างนั้น จักเป็นการสร้างความประมาทให้กับจิตของตนเอง 
๓. จะเอาจิตดีหรือร่างกายดี จักเอาร่างกายดีย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะร่างกายย่อมเป็นไปตามกฎของธรรมดา ไม่มีใครห้ามร่างกายไม่ให้ป่วย ไม่ให้แก่ ไม่ให้ตายได้ กฎของธรรมดาของร่างกายย่อมเป็นอย่างนี้ ไม่มีใครห้ามได้ และอย่ารับด้วยความโง่ ให้ใช้ปัญญาพิจารณา จนจิตยอมรับนับถือกฎของธรรมดาอย่างไม่ดิ้นรนฝืนใจนั่นแหละ จึงจักเป็นการยอมรับด้วยความจริงใจ จิตที่ยอมรับตรงนั้น จิตต้องไม่เร่าร้อน จิตเป็นสุข เป็นจิตที่ดี แต่ถ้าหากร่างกายยังมี ก็จำเป็นที่จักต้องรักษาเท่าที่มีความสามารถจักรักษาได้ มิใช่รักษาไม่ให้ตาย หากแต่เพื่อระงับทุกขเวทนา 
ร่างกายยังมีก็บริหารร่างกายตามหน้าที่ อย่าปล่อยให้มันทรุดโทรมเกินไป เยียวยาได้ก็เยียวยา ต้องกิน ต้องใช้ ต้องจ่าย ก็ต้องทำไปเป็นการวัดกำลังใจในตัวมัจฉริยะ ความขี้เหนี่ยวไปในตัวด้วย ถ้าโลภอยากเก็บทรัพย์สินเพื่อความสะสมเอาไว้ โดยไม่ยอมเยียวยาหาหมอเพื่อรักษาร่างกาย ก็ชื่อว่าตกเป็นทาสของความโลภอย่างแท้จริง และเป็นการเบียดเบียนตนเอง ทางกาย วาจา ใจอย่างยิ่ง คนส่วนใหญ่มักจักเก็บรักษาทรัพย์เอาไว้เพื่ออนาคต แล้วปัจจุบันกลับไม่รักษาร่างกายเอาไว้ให้ดี กว่าจักถึงจุดนั้น อนาคตร่างกายก็แย่ไปเสียก่อน จิตก็แย่ตาม เพราะไม่รู้เท่าทันกิเลสในปัจจุบัน ความโลภกับความห่วงร่างกายเข้ามาครอบงำ
เรื่องนี้ค่อยๆ ดูไป ใครก็แก้ไขจิตใจของเราไม่ได้ จักต้องรู้จิตใจ และแก้ไขจิตใจของตนเองเท่านั้น
๔. อย่าไปตั้งความหวังไว้ล่วงหน้า ความตั้งใจทำกิจการงานใดย่อมมีได้ หรือมีอยู่ตามหน้าที่ แต่อย่าไปตั้งความหวังไว้ว่า จักได้ทำให้เห็นผลในวันนี้ เนื่องจากความปรารถนาไม่สมหวังนี้เป็นเรื่องธรรมดา ถ้าจิตไปยึดมันเข้าว่าจักทำอะไรก็ตาม จักต้องสมความปรารถนาไปเสียทุกอย่าง ย่อมเป็นไปไม่ได้ จงศึกษาเรื่องนี้เอาไว้ให้ดี แล้วฝึกจิตให้ยอมรับความปรารถนาไม่สมหวังนี้เป็นทุกข์ เป็นเรื่องธรรมดา เพราะถ้าจะไปพระนิพพาน จักต้องรับธรรมจุดนี้ให้ได้เช่นกัน
ทำนองเดียวกัน เรื่องการเจ็บไข้ได้ป่วยของร่างกาย ก็เป็นเรื่องธรรมดา จักป่วยมากหรือป่วยน้อย ก็เป็นไปตามวาระของกรรม ไม่มีใครฝืนหรือห้ามอาการของการเจ็บไข้ได้ป่วยไปได้ แต่อาการป่วยจักเป็นเครื่องเตือนใจ ไม่ให้มีความประมาทในชีวิต จงมองปฏิปทาของท่านพระ....เอาไว้ให้ดี เดินทางหลักการปฏิบัตินี้เข้าไว้ จักเข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าขั้นสูงได้โดยง่าย

สมเด็จองค์ปฐม (ทรงตรัสเรื่องประโยชน์ของการใคร่ครวญศีลพระ ๒๒๗)
๑. การใคร่ครวญศีลเป็นของดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งศีล ๒๒๗ ซึ่งเป็นรายละเอียดของการสำรวมกาย วาจา ใจ ว่าพึงจักเป็นอยู่อย่างไร จึงจักได้ความสุขกาย สุขใจ จุดนี้จักช่วยให้การปฏิบัติธรรมละเอียดยิ่งๆ ขึ้นไป
๒. พระพุทธเจ้าทรงวางพระวินัยให้พระสาวกปฏิบัติ ก็เพื่อให้ผู้ปฏิบัติไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น ผู้ศึกษาศีลพระแล้วเข้าใจจุดประสงค์ของพระองค์ดี ก็พึงจักปฏิบัติให้ได้ด้วย แต่มีบางข้อไม่เหมาะกับฆราวาส เช่น ต้องรับประเคนก่อน จึงจักฉันอาหารได้ ศีลข้อนั้นก็อนุโลมผ่านไป
๓. แต่ศีลส่วนใหญ่นั้นประยุกต์เข้ากันได้กับฆราวาส เวลาปฏิบัติให้ใช้ปัญญาพิจารณาจุดมุ่งหมาย ของศีลเอาไว้ด้วยและให้รู้ว่าการละเมิดศีลไม่ว่าศีล ๕ - ๘ - ๑๐ - ๒๒๗ ล้วนแต่มีโทษปรับทั้งสิ้น
๔. อนึ่งต่อไปถ้าเห็นนักบวชทุศีล ให้ใช้คำว่านักบวช อย่าใช้คำว่าภิกษุ เพราะภิกษุแปลว่าผู้เห็นภัยในวัฏสงสารแล้ว เพราะฉะนั้นจักใช้คำพูดอันใด ให้รู้ความหมายที่แท้จริงของคำพูดอันนั้นไว้ด้วย จึงจักไม่เป็นที่ผิดพลาด

สมเด็จองค์ปฐม (ทรงตรัสสอนเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติธุดงค์)
๑. อย่าไปคิดว่ากายวิเวกไม่สำคัญ เอาแต่จิตสงบอย่างเดียวก็ไปได้ อย่างการปฏิบัติธุดงค์ เพราะพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ได้บัญญัติธุดงควัตรได้ดีแล้ว พึงศึกษาให้ตลอด อย่าไปติหรือคัดค้านว่าธุดงค์ไม่ดี เพราะการไปอยู่กายวิเวกอย่างนั้น สามารถทำให้วจีวิเวกและจิตวิเวกได้
๒. บุคคลใดติ หรือคัดค้านธุดงค์ ก็เป็นเสมือนหนึ่งปรามาสพระรัตนตรัย ที่ไปว่าไม่ดีเพราะจิตของบุคคลผู้นั้นยังไม่เข้าถึงธรรมแห่ง ธุดงควัตรนั้น ธรรมะไม่ใช่ของตื้นเขินอย่างที่เจ้าพบมาแล้วในเรื่องศีล ๘ นั่นแหละ ธุดงควัตร ก็เช่นกัน พิจารณาไปเถิด เมื่อฟัง ธุดงควัตรปฏิบัติที่ท่านฤๅษีกล่าว เจ้าก็จักเห็นธรรมในธรรมที่แฝงอยู่ใน ธุดงควัตร ๑๓ สิกขาบทนั้น

สมเด็จองค์ปฐม (ทรงตรัสสอนเรื่อง อารมณ์สักเพียงแต่ว่า)
๑. การไม่สนใจในจริยาของผู้อื่น เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับการไม่รองรับอารมณ์ที่กระทบมาจากบุคคลผู้อื่น ทั้งนี้หมายถึงไม่รองรับอารมณ์จากคน จากสัตว์ จากวัตถุ รวมทั้งจากรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ด้วย กระทบแล้วสักเพียงแต่ว่ารู้ เห็นสักเพียงแต่ว่าเห็น ได้ยินสักเพียงแต่ว่าได้ยิน ได้กลิ่นสักเพียงแต่ว่าได้กลิ่น ทราบเพียงแต่ว่าทราบ ในสัมผัสนั้น ไม่มีอุปาทานเกลียดชัง รัก โลภ หลง ในสิ่งที่มากระทบทั้งปวง นั่นชื่อว่าจิตสงบและเป็นสุขอย่างยิ่ง
๒. นี่เป็นรายละเอียดของธรรม ที่พวกเจ้าจักต้องศึกษาอารมณ์ของจิต และปฏิบัติเรียนรู้ให้เข้าถึงความสุขสงบของจิตให้ได้ ด้วยอำนาจของสมถะวิปัสสนา
๓. อยู่เฉยๆ จักให้จิตมันปล่อยวางทุกข์ อันเกิดจากการกระทบนั้นไม่ได้หรอก จักต้องมีอุบายพิจารณาด้วยปัญญา จึงจักวางได้ ค่อยๆ ทำไป ถ้าหากไม่ท้อแท้เสียอย่างเดียว เรื่องพระนิพพานนั้นเป็นของไม่ไกล
๔. ให้เอาทุกสิ่งที่เข้ามากระทบ ปัญหาทุกอย่าง เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับโลกกับ ขันธโลก คือ ร่างกายที่เราอาศัยมันอยู่ พิจารณาด้วยปัญญา เพื่อเข้าหาอารมณ์สักเพียงแต่ว่า เช่น
๔.๑ เมื่อวัดออกกฎระเบียบอะไรไว้ ก็พึงปฏิบัติตามนั้น
๔.๒ ถูกสุนัขกัดก็อย่าไปโกรธ ถือว่าใช้กรรมเขาไป เจ็บแค่กาย ใจอย่าไปเจ็บด้วย พิจารณาให้ลงตัวกฎของกรรมก็จักสบายใจ ไม่ต้องไปโทษใคร
๔.๓ อยู่ในโลกจักไม่ให้พบคนหมู่มาก อยู่กับคนหมู่มากไม่ได้นั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะโลกนี้เป็นโลกของคน ทุกๆ คนต่างมี ทิฎฐิ ไม่เหมือนกัน มีทัศนะต่างกัน ให้ยอมรับกฎธรรมดาของคน จิตจักได้เป็นสุข
๔.๔ การแก้ปัญหาทุกอย่างให้แก้ที่เรา ให้เรียนรู้และดูอารมณ์ของจิตตนเองเข้าไว้
๔.๕ ขันธ์ ๕ ยังทรงอยู่ต้องการมีกินมีใช้ ก็ต้องทำทาน ทำบุญใส่บาตร รักษาศีล และเจริญสมถะวิปัสสนา ภาวนา ก็จักมีผลทำให้การดำเนินชีวิตเป็นอยู่ไม่ฝืดเคือง
๔.๖ ทำอย่างไรก็ได้อย่างนั้นเป็นที่ตอบแทน แม้จักไม่หวังผลก็เป็นผลใหญ่ ผู้ทำมุ่งหวังนิพพานก็ได้นิพพาน ถ้าหากกำลังใจเต็ม ทานภายในก็พึงทำ (ธรรมทานและอภัยทาน) ทานภายนอก อันเป็นการสละอามิสก็พึงทำ ทำด้วยความพอดี ไม่เบียดเบียนตนเองด้วย ไม่เบียดเบียนผู้อื่นด้วย ไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น
๔.๗ ให้พิจารณาไปให้เห็นธรรมดาของชาวโลก เห็นอะไรว่าดีก็น้อมเข้าดึงเข้าหาตัวหมด ไม่เหมือนกับชาวธรรม ที่คิดแต่สักสละออก เพราะรู้ด้วยปัญญาว่า ไม่มีใครเอาสมบัติของโลกไปได้ แต่หากสละออกเป็นทาน กลับเอาไปได้เป็นอริยทรัพย์ มีอารมณ์ไม่ฝืนธรรมไม่ฝืนโลก ทุกอย่างอยู่ที่จิตที่ยอมรับกฎธรรมดา หากจิตเข้าใจทั้งทางโลก ก็จักไม่ฝืนโลก หากเข้าใจถึงทางธรรม จิตก็จักไม่ฝืนธรรม เช่น ทางโลกชอบระคนไปด้วยหมู่ เป็นครอบครัว ทางโลกซึ่งเขายึดว่าดี เป็นที่ชุมนุมของขันธ์ ๕ เป็นสภาวะที่ชื่นชอบในความทุกข์ ซึ่งต่างกับทางธรรมไม่ระคนไปด้วยหมู่ มีโอกาสก็ให้หลีกเร้นให้เกิดกายวิเวก มุ่งใช้ปัญญาตัดหรือสละภาระของขันธ์ ๕ ด้วย ภาราหะเวปัญจักขันธา หมู่มากเพียงใดก็ยุ่งมาก กระทบกระทั่งกันมาก ก็ทุกข์มากเพียงนั้น ทางโลกกับทางธรรมจึงดูเหมือนสวนทางกัน เราต้องปรับจิตให้ยอมรับนับถือกฎของธรรมดานั้น ๆ อย่าสักเพียงแต่ว่าฝืนใจ ถ้าฝืนก็ยังไม่จริง และอย่าคิดว่าทำไม่ได้ จักต้องพยายามทำ ถ้าไม่ปล่อยวางอารมณ์พิจารณาด้วยเหตุด้วยผล สักวันหนึ่งจิตก็จักยอมรับทางโลกและทางธรรม โดยความเป็นจริง เมื่อนั้นจิตก็จักลงตัว เห็นธรรมดาทั้งทางโลกและทางธรรม จักมีอารมณ์สงบและเป็นสุขอย่างยิ่ง
๔.๘ อารมณ์เบื่อคนเมื่ออยู่กับคน เป็นอารมณ์หนีปัญหา ไม่ใช้ปัญญาคืออริยสัจแก้ปัญหา ซึ่งสามารถแก้ได้หมดทุกชนิด ทางที่ถูกพึงเบื่อกำลังใจของตนเอง ที่เลวไม่ยอมรับกฎของธรรมดานั้น จิตชอบฝืนความจริงนี่ซิน่าเบื่อ ชีวิตมันเป็นอย่างนี้ โลกทั้งโลกมีแต่ความวุ่นวาย ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ สภาวะมันเกิดดับ ๆ อยู่อย่างนั้น ถ้าจิตเราไม่วาง ทุกข์ก็เกิดอยู่ร่ำไป นี่เป็นวิภวตัณหา เป็นเหตุเกิดแล้วดับไป แต่ธรรมารมณ์ที่เกิดกับจิต เกิดแล้วไม่ยอมปล่อยให้ดับไป จึงมานั่งทุกข์อยู่อย่างนี้ ให้ใช้ปัญญาพิจารณาดูว่าโง่หรือไม่โง่ เหตุเกิดผ่านไปแล้วแม้ชั่วขณะจิตหนึ่ง ก็พึงปล่อยวางให้เป็นอดีตไป ยิ่งธรรมนั้นเป็นอกุศล ยิ่งไม่ควรยึดมาเป็นธรรมารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำพูดของบุคคลอื่นจักเอามาใส่ใจเพื่อประโยชน์อันใด ใครจักว่าอย่างไรก็เรื่องของเขา จงอย่าสนใจกับอารมณ์ของผู้อื่น ให้สนใจแต่อารมณ์ของตนเอง
๔.๙ ให้พิจารณาตัวเกาะยึดนั้นเป็นทุก ตัวปล่อยวางหรือสละออกนั้นเป็นสุข ทุกข์อย่างไร ทุกข์เพราะเหตุใด สุขอย่างไร สุขเพราะเหตุใด ให้พิจารณาดูเหตุดูผลให้ดี จนกว่าจิตจักยอมรับในเหตุผลนั้น อารมณ์ใดทำให้ทุกข์ อารมณ์ใดทำให้สุข อารมณ์ไหนควรละ อารมณ์ไหนควรยึด แล้วอารมณ์มันเที่ยงหรือไม่เที่ยง ทั้งๆ ที่รู้ว่าไม่เที่ยง อารมณ์มันก็แปรปรวนไปทุกขณะจิต ก็ยังไม่มีสติกำหนดรู้ ยังอุตส่าห์ปล่อยจิตให้ตกเป็นทาสของอารมณ์ อย่างนี้ก็ใช้ไม่ได้ คนที่ปฏิบัติเพื่อพ้นจากอารมณ์ ๒ ก็จักต้องต่อสู้กับอารมณ์อย่างหนัก และจักมีเรื่องเข้ามาทดสอบจิตอย่างหนัก สู้ได้บ้าง สู้ไม่ได้บ้าง พิจารณาดูว่า สู้ได้เพราะอะไรเป็นปัจจัย ใคร่ครวญไตร่ตรองให้รอบคอบ จักได้แก้ไขอารมณ์ที่เป็นโทษได้ต่อไป

บารมี ๑๐ ประการต้องรักษาให้ครบ
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้
๑. ให้ดูคำว่ากำลังใจเต็ม คือบารมี ๑๐ ประการ ได้รับการรักษาให้เต็มอยู่ในจิตครบทั้ง ๑๐ ประการ หรือเปล่านี่เป็นเพียงแค่บารมีต้น ๑๐ ประการ ลองสอบอารมณ์จิตดูว่ายังพร่อง หรือขาดข้อไหนบ้าง ขั้นแรกต้องให้เต็มอย่าพร่อง จนแน่ใจว่า ทำได้ครบทั้ง ๑๐ บารมี แล้วจึงค่อยก้าวเข้าสู่ขั้นที่สอง คือ อุปบารมี และขั้นที่ ๓ ปรมัติถบารมีต่อไป

๒. การรับทานหรือการให้ทานก็ดี พึงดูบารมี ๑๐ ควบคู่ไปด้วยเสมอ จักทำให้การปฏิบัตินั้นเป็นการเจริญพระกรรมฐานไปในตัว เช่น อย่าขัดศรัทธาของผู้ให้ ใครจักให้สิ่งอันใดแก่เราก็จงรับไว้ก่อน แล้วค่อยพึงแจกจ่ายขยับขยายไปให้บุคคลอื่นต่อไปในภายหลัง และพึงวางอารมณ์ให้ถูก อย่าได้มีความพอใจ หรือไม่พอใจในของที่เขาให้ทั้งปวง จิตจักได้ไม่มีอารมณ์ขุ่นมัวไปด้วยกิเลส

๓. วันนี้เป็นวันสงกรานต์ (๑๔ เม.ย. ๒๕๓๙) มีคนมาวัด ขอร่วมพักในห้องของเจ้า ก็ต้องวางกำลังใจให้สบาย หากมีคนต้องการสนทนาธรรมกับเจ้า ก็พึงให้ได้ตามที่ได้ปฏิบัติมา อย่าคิดว่าเป็นภาระหรือวิตกกังวลจนเกินเหตุ อย่า ลืมการให้ธรรมะเป็นทานชนะทานทั้งปวง อย่าคิดความสงบสุขในส่วนตนจนเกินไป พึงทำไปด้วยความเหมาะสม เราปฏิบัติได้แค่ไหนก็แนะนำแค่นั้นต่อบุคคลที่มีศรัทธาต่อเรา พระตถาคตเจ้าทุกๆ พระองค์ก็แนะนำตามนี้ คือถ้าเขาไม่มีศรัทธาก็จักไม่แนะนำเลย

๔. เรื่องศีลระดับที่ ๓ ซึ่งท่านพระ...นำมาพูด โดยอ้างว่า ท่านฟังจากคำสอนของท่านฤๅษี แล้วนำมาพิจารณาและปฏิบัติตามจนได้ผลแล้วความว่า

ศีลขั้นที่ ๑ ไม่ละเมิดศีลด้วยตนเอง เป็นการเอาศีลคุมกายให้เรียบร้อย

ศีลขั้นที่ ๒ ไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นละเมิดศีล เป็นการเอาศีลคุมวาจา ให้เรียบร้อย

ศีลขั้นที่ ๓ ไม่ยินดีด้วยเมื่อบุคคลอื่นได้ละเมิดศีลแล้วเป็นการเอาศีลคุมใจ ให้เรียบร้อย

ถ้าหากทำได้สมบูรณ์ตามลำดับ จิตก็จักเข้าถึงอุเบกขา ไม่เดือดร้อนในกรรมของใครๆ จิตจักเยือกเย็นยาก มีความเคารพในกฎของกรรมสูงนั้น จุดนี้ถูกต้องแล้ว และเป็นจุดเดียวกับการที่ทำให้ไม่ไปยุ่งกับจริยาของผู้อื่นได้เป็นอย่างดี จุดนี้พวกเจ้าสมควรพิจารณาและปฏิบัติตามท่านพระ...ให้มาก

๕. ปัญญาในพุทธศาสนา คือ การรู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจหรือการรู้เท่าทันกองสังขารของกายและจิต ได้ชื่อว่าปัญญา ให้ลบสัญญาเก่าๆ อันเกี่ยวกับการยึดมั่นถือมั่นในรูป - เวทนา - สัญญา - สังขาร - วิญญาณว่าเป็นเรามาโดยตลอดนี้เสีย หมั่นทำให้บ่อยๆ โดยการพิจารณาขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง พิจารณาด้วยอารมณ์ที่ยอมรับนับถืออย่างจริงใจ แล้วจิตจักมีความสุขมาก มีความสดชื่นมาก

๖. ในการพิจารณาขันธ์ ๕ ก็ดี พิจารณาศีล - สมาธิ - ปัญญา ก็คือ ให้พิจารณาให้ลึกๆ ลงไปตามลำดับ จนกว่าจิตจักมีอารมณ์สงบ - สบาย - ยอมรับนับถือในความจริงของขันธ์ ๕ และยอมรับนับถือในความจริงของศีล - สมาธิ - ปัญญา และจงอย่าคิดว่าที่รู้อยู่นั้นดีแล้ว จงเตือนจิตของตนเองไว้เสมอๆ ว่าตราบใดที่ยังไม่เข้าถึงพระอรหัตผล ตราบนั้นอย่าคิดว่าตนเองรู้ดีแล้วเป็นอันขาด และจงหมั่นศึกษาพระธรรมวินัยให้มากๆ จิตจักได้มีความสงบเยือกเย็น และมีความละเอียดในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป

๗. ให้เห็นการเจ็บป่วยเป็นกฎของกรรม เป็นเรื่องธรรมดาของผู้มีร่างกาย ซึ่งเป็นรังของโรค แม้แต่พวกเจ้าเองก็เหมือนกัน ไม่มีใครหนีความเป็นโรคไปได้พ้น แม้ในที่สุดร่างกายนี้ก็ต้องมีความตายเป็นของธรรมดา กรรมเป็นผลมาจากการกระทำของตนเองซึ่งมีมาแต่อดีต จึงเป็นคนหลงอย่างยิ่งที่มีการตัดพ้อต่อว่ากฎของกรรม ให้ดูตัวอย่างพระมหาโมคคัลลานะ ก็ยังถูกกฎของกรรมเข้าเล่นงาน หรือแม้แต่องค์สมเด็จปัจจุบันมีความดีสูงสุดในพุทธันดรนี้ ก่อนจักเข้าสู่ปรินิพพานก็ยังประชวรหนัก ถ่ายออกมาเป็นเลือด ยังทุกขเวทนาให้เกิดแก่พระวรกายยิ่งนัก ทุกท่านทุกองค์ ยอมรับกฎของกรรมโดยดุษฎี ถ้าหากพวกเจ้าได้ยินใครกล่าวเช่นนี้ ก็ให้ชี้แจงไปอย่างนี้ ถ้าหากบุคคลผู้นั้นมีศรัทธาอันพอจักชี้แจงได้

๘. การพิจารณาทุกข์ทุกครั้ง ให้ลงตรงขันธ์ ๕ ตัวรับทุกข์ แต่ก็ไม่ควรลืมต้นเหตุแห่งทุกข์ คือกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา อันเป็นผลทำให้เกิดมามีขันธ์ ๕ พิจารณาอย่างนี้แล้ว เพียรละซึ่งสมุทัยเหล่านี้เสีย มองให้ครบวงจรก็จักเป็นทางออกทางไปให้พ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงได้

๙. อย่าฝืนจิต ในเมื่อไม่มีอารมณ์วิปัสสนาก็จงอย่าฝืนให้คอยตามดูอย่างเดียว ทำอารมณ์ใจให้สบายๆ จักได้ไม่หนักใจ อย่าใช้ปัญญาออกนอกลู่นอกทาง ให้คิดไว้เสมอว่าปัญญาในพุทธศาสนาคือการรอบรู้ในกองสังขาร ก็จงมองจุดนี้จุดเดียว ซึ่งเป็นจุดสำคัญอันจักนำไปให้จิตหลุดพ้นจาก สักกายทิฎฐิ หรือความผูกพันเกาะติดในขันธ์ ๕ หรือร่างกายนี้ อย่าไปคิดว่าเรื่องของคนอื่นจักสำคัญ ให้เห็นจุดนี้แหละที่โยงมาจากศีล-สมาธิ มาเป็นปัญญานี่แหละสำคัญ เป็น สัมมาทิฎฐิ อย่างแท้จริง ปฏิบัติไปก็จักได้มรรคผล ปฏิปทาที่พ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง และให้ดูมัชฌิมาไว้ด้วย อย่าเครียดอย่าหย่อนจนเกินไป ทำให้พอดีๆ จิตจักมีความสุขมาก ความหน่วงเหนี่ยวในขันธ์ ๕ จักเบาบางลงไป พิจารณาลงกฎของธรรมดาให้มาก จิตจักได้มีอารมณ์เยือกเย็น และยอมรับกฎของธรรมดา จนสามารถพ้นทุกข์ได้จนถึงที่สุด

๑๐. อย่าไปแก้ธรรมภายนอก ให้แก้ธรรมภายใน คืออารมณ์ใจของเรานี้คือธรรมภายใน ธรรมภายนอกจักเป็นอย่างไรก็ช่างมัน ให้เห็นเป็นธรรมดาเข้าไว้ ไม่จำเป็นต้องไปแก้ไข เหมือนกับอายตนะ ๖ รับสัมผัสธรรมแก้ไขอะไรไม่ได้ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รับรส กายได้รับสัมผัสก็เป็นอยู่ตามปกติธรรมอย่างนั้น ตา - หู - จมูก - ลิ้น - กายก็เป็นอย่างนั้น รูป - เสียง - กลิ่น -รส -สัมผัส ก็เป็นอย่างนั้น ธรรมเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องไปแก้ไขเป็นปกติธรรมทุกอย่างเป็นธรรมดาหมดทุกอย่าง ให้แก้ไขอารมณ์ใจที่ไปเกาะติดและปรุงแต่งธรรมเหล่านั้นขึ้นมาเป็นกิเลส

๑๑. ให้ดูจิตเห็นอารมณ์ของจิตเข้าไว้เป็นสำคัญ จงพยายามดูไฟภายในเข้าไว้ กิเลสหรือสังโยชน์ตัวไหน ยังกินใจอยู่หนักอยู่หรือไม่ แล้วทำอย่างไรให้จิตมีปัญญาพิจารณาสังโยชน์ตามความเป็นจริง อย่าให้อารมณ์จิตมันหลอก ดีแต่จำนึกได้แค่สัญญา จุดนั้นประโยชน์จักเกิดขั้นน้อยมาก ให้พยายามใคร่ครวญด้วยเหตุผลอยู่เสมอๆ แล้วผลของการปฏิบัติพระกรรมฐานจักก้าวหน้าไปได้ 

(พระธรรมที่ทรงตรัสสอนในเดือนเมษายน ๒๕๓๙)
ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น (เล่ม ๙)

บารมี ๑๐ คือหลักใหญ่ของการปฏิบัติ
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้
๑. จงพยายามทำความเพียรเข้าไว้อย่าท้อแท้ให้ดูบารมี ๑๐ เข้าไว้ให้ตั้งมั่น จุดนั้นเป็นหลักใหญ่ของการปฏิบัติ เพราะหากบกพร่องในบารมี ๑๐ ทุกอย่างก็บกพร่องหมด ให้ตรวจสอบเข้าไว้ หาอุบายที่จักทรงบารมี ๑๐ เข้าไว้ให้ได้ ไล่ดูให้ดีๆ นี่เป็นการบ้าน
๒. มีบารมี ๑๐ เป็นอย่างไร กาย - วาจา - ใจเป็นอย่างไร ไม่มีบารมี ๑๐ เป็นอย่างไร กาย - วาจา - ใจเป็นอย่างไร ให้พิจารณาดูกันให้ชัดๆ
๓. การพิจารณาบารมี ๑๐ นั้น ให้พิจารณาแยกกันไปทีละข้อๆ เพื่อความละเอียดของจิตให้ทำตามนี้ อาทิเช่น การมีทานบารมี จุดนี้มิใช่ว่าจักมุ่งแต่วัตถุทานอย่างเดียว ให้รวมไปถึงอภัยทาน - ธรรมทานด้วย พิจารณาให้ลึกซึ้งว่าคนที่ให้ทานได้ จิตเขาคิดอย่างไร กาย - วาจาเขาปฏิบัติอย่างไร จึงให้ทานได้ ถ้าไม่ให้ทานจิตมีสภาพอย่างไร กาย-วาจามีสภาพอย่างไร จุดนี้ให้พิจารณาให้เห็นโทษของบุคคลที่ตระหนี่ในทาน (ก็คิดว่า การไม่พอใจที่จะให้ มีอารมณ์ตระหนี่ - ขี้เหนียว กิริยาออกมาทางกาย - วาจา เมื่อไม่ให้ จิตก็กระด้างไม่อ่อนโยน ซินะ)
๔. กระด้างแน่ ถ้าหากจิตมีอารมณ์ไม่พอใจ จะสิ้นสุดแม้แต่อภัยทานและธรรมทาน แต่ถ้าหากเป็นวัตถุทาน ถ้าหากเกิดขัดสน มีไม่พอที่จักให้แก่บุคคลอื่น เพราะให้แล้วจักเบียดเบียนตนเอง ก็ให้มีอารมณ์ทรงตัวในอุเบกขาเข้าไว้
๕. แต่สำหรับทานภายใน อภัยทานก็ดี ธรรมทานก็ดี ถ้าหากสร้างให้มีไว้กับจิต คำว่าจนหรือขัดสนในทานนี้ย่อมไม่มี ทานภายในนี้มีค่ายิ่งกว่าทานภายนอก เพราะบุคคลใดมีแล้ว ยังอารมณ์จิตให้เยือกเย็น - ผ่องใส - ไม่เร่าร้อน จึงมีพรหมวิหาร เป็นอัปมัญญา ได้ เหตุการณ์ใดๆ มากระทบให้ลงตัวธรรมดาจนหมดสิ้น พยายามรักษาอารมณ์จิตให้กว้างขวางอยู่เสมอ
๖. อภัย คือ ละจากการเกาะยึดอารมณ์ที่เป็นกิเลสเข้ามากระทบจิต ไม่เกาะโกรธ ไม่เกาะโลภ ไม่เกาะหลง ธรรมภายใน - ธรรมภายนอกจรเข้ามาก็ให้อภัยหมด จิตก็เป็นสุข ความสงบของจิตที่ปราศจากกิเลสนั่นแหละ คือความสุขที่แท้จริง
๗. ต่างกับบุคคลที่มีความโลภ อะไรมากระทบก็เก็บหมด ยึดมั่นถือมั่นเอาไว้จนหมด จิตก็รุ่มร้อนหาความสุขสงบไม่ได้ ดังนี้เป็นต้น ค่อยๆ คิด ค่อยๆ พิจารณาบารมี ๑๐ นี่แหละ จักทำให้พรหมวิหาร ๔ ทรงตัว และทำให้ศีล - สมาธิ - ปัญญาตั้งมั่น ขอให้ศึกษาทบทวนจนกระทั่งอารมณ์ของจิตยอมรับในผลของการปฏิบัติบารมี ๑๐ ในที่สุด

กลัวทุกชนิดล้วนเป็นสักกายทิฎฐิทั้งสิ้น
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้

๑. ขึ้นชื่อว่ากลัว เช่น กลัวอด ก็คือกลัวตาย กลัวเจ็บ ก็คือ กลัวตาย กลัวหนาว กลัวร้อน ก็คือกลัวตาย
๒. ความกลัวทุกสิ่งทุกอย่างก็ลงที่ สักกายทิฎฐิตัวเดียว ในเวลาหิว ในเวลาป่วย ในเวลาหนาว ในเวลาร้อน อะไรมันหิว มันป่วย มันร้อน มันหนาว เป็นเรื่องของกายทั้งสิ้น ไม่ใช่เรื่องของจิต (กายกับเวทนาเป็นเรื่องทุกข์ของกาย หาใช่เรา หาใช่ของเราไม่)
๓. ต้นเหตุเพราะจิตของเจ้าไปติดในกาย เกาะความรู้สึกว่ากายนี้มีในเรา เรามีในกาย เมื่อกายเป็นอะไรก็ทนไม่ไหว จิตเกาะทุกข์จนลืมกำหนดรู้ว่า กายนี้ไม่ใช่เรา เราไม่มีในกาย แล้วพิจารณาโดยอริยสัจ รู้เห็นตามความเป็นจริงของร่างกาย
๔. การมีขันธ์ ๕ ทรงอยู่นั้นเป็นทุกข์ เพราะเราฝืนบังคับมันไม่ได้ดังใจนึก ถ้าจะเปรียบเป็นการเจริญพระกรรมฐาน การยืนนาน เดินนาน นั่งนาน นอนนาน ก็เป็น อัตตกิลมถานุโยค มันทำให้เกิดทุกข์เกิดโทษมากกว่าเป็นคุณ (ล้วนเป็นอารมณ์หลงหรือโมฆะทั้งสิ้น)
๕. การล่วงรู้อิริยาบถบรรพ ในมหาสติปัฎฐานสูตร ก็เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับจุดนี้ การมีสติกำหนดรู้อิริยาบถบรรพ เพื่อจักได้รู้หลักมัชฌิมาปฏิปทาของร่างกายที่เคลื่อนไหวไปในทุกๆ สถาน ทุกๆ เวลา รู้ความเหมาะสม ความพอดีของอิริยาบถของร่างกาย มีความยืน เดิน นั่ง นอนอย่างไม่เบียดเบียน ไม่เป็น อัตตกิลมถานุโยค ไม่เป็นที่เบียดเบียนตนเอง และไม่เป็นที่เบียดเบียนผู้อื่น ตัวอย่าง บางคนนั่งนานอัมพาตกินนี่เบียดเบียนตนเอง และทำให้คนข้างเคียง หรือคนใกล้กันจักต้องมาคอยปฐมพยาบาล นี่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น อย่างนี้ก็ไม่เป็นการสมควร เพราะเกินพอดีไป (ก็สงสัยว่า หลวงพ่อทรมานสังขารไปนั่งรับแขกนานๆ ที่ซอยลายลม เป็น อัตตกิลมถานุโยคหรือเปล่า)
สมเด็จพระพุทธกัสสป ทรงตรัสว่า
๑. ไม่เป็น เพราะพระอรหันต์ผู้จบกิจแล้ว มีจิตเหนือกาย มีจิตแยกกาย เวทนา จิต ธรรมออกแล้วได้อย่างชัดเจนตลอดเวลา
๒. ท่านมีสติกำหนดรู้ว่าทุกข์ของร่างกาย และร่างกายไม่มีในท่าน ท่านไม่มีในร่างกาย
๓. การทรงชีวิตอยู่ของขันธ์ ๕ ก็เพื่อเป็นสาธารณะประโยชน์อันใหญ่หลวงแก่บรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย มีความปรารถนาสูงสุดที่จักดึงสานุศิษย์ทั้งหลาย ให้มีจิตรักผูกพันอยู่ในพระกรรมฐาน เพื่อจักนำอารมณ์ให้ทุกคนได้เข้าถึงพระนิพพานอย่างเช่นท่าน
สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสว่า
๑. ผู้จบกิจแล้วทุกท่านต่างมีความรู้สึกเหมือนๆ กันว่า ร่างกายนี้ไม่มีความหมาย กิจที่จักทำเพื่อร่างกายนั้นหมดสิ้นแล้ว นอกจากเลี้ยงดูให้ใช้ได้กินตามปกติ
๒. นอกจากนั้นก็เป็นการอยู่เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา สงเคราะห์บุคคลอื่นให้ได้ข้ามพ้นวัฏสงสาร
๓. พวกเจ้าจงหมั่นศึกษาอิริยาบถบรรพกันให้ดีๆ

 

ให้ดูอารมณ์จิตตัวเดียว ดูแต่ความเลวของตนเอง
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้
๑. กิจ ๒ ประการที่ต้องจำไว้ให้ดี ๆ คือ เรื่องกิจของงานทางโลก ให้ทำไปเรื่อยๆ ในทางสายกลาง ใครจักว่าอย่างไรก็ช่างเขา ให้ถือเอาเจตนาบริสุทธิ์เป็นหลักสำคัญ กับเรื่องกิจของงานทางธรรม ซึ่งทำที่จิตเพื่อพระนิพพานจุดเดียว ปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนเพื่อความหลุดพ้นหรือพ้นทุกข์เป็นครั้งสุดท้าย เป็นชาติสุดท้าย ในทางสายกลางเช่นกัน

๒. เวลานี้ให้ดูที่อารมณ์ของจิตตัวเดียว ดูความเลวของตนเอง มิใช่ให้ดูความดี ถ้าระมัดระวังความเลวไม่ให้เกิดขึ้นในจิตได้เพียงประการเดียว ความดีก็จักเกิดขึ้นได้โดยง่ายเพียงแต่บังคับจิตให้คิดอยู่ในกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง หรือ มหาสติปัฎฐาน ๔ กองใดกองหนึ่ง ก็ย่อมได้ตลอดเวลา สำคัญคือต้องใช้อารมณ์ให้เป็นมวย ต้องรู้เท่าทัน มีชั้นเชิงชกให้เป็น

๓. การต่อสู้กับกิเลส มิใช่จักมานั่งประมาทเฉยๆ นั้นก็ชนะกิเลสไม่ได้ จักต้องรู้วิธีต่อสู้ด้วย โดยใช้จริตหกนั่นแหละเป็นอาวุธ หากใช้เป็น ผลที่ได้รับก็คือมีแต่ชัยชนะลูกเดียว

๔. อย่าสนใจร่างกายจนเกินพอดี บางคนห่วงกาย ปรนเปรอร่างกายจนเกินพอดี เป็นการเพิ่ม สักกายทิฎฐิ มิใช่ลด สักกายทิฎฐิ แต่บางคนก็ไร้ปัญญาเบียดเบียนร่างกายจนเกินไป แม้กายจักหิว - กระหายก็ไม่ให้กิน ไม่ให้ดื่ม ทั้งๆ ที่ พระตถาคตเจ้าทุกๆ พระองค์ อนุญาตให้บริโภคเภสัชทั้ง ๕ ได้ในยามวิกาล รวมทั้งน้ำปานะด้วย (เภสัชทั้ง ๕ มีนมสด, นมส้มหรือนมเปรี้ยว, เนยแข็ง, เนยเหลว คือพวกน้ำมันจากพืชและสัตว์, น้ำผึ้ง - น้ำอ้อย - น้ำผลไม้ที่ลูกเล็กกว่ากำปั้นมือคนโบราณ)

๕. บางคนป่วยแต่ไม่ยอมรับการรักษา คิดว่าตนเองทนสู้โรคได้ ทั้งๆ ที่เป็นความโง่ หลงผิด รู้เท่าไม่ถึงการณ์ นี่ตถาคตมิได้ตรัสเพื่อให้พวกเจ้าไปตำหนิพระ เพียงแต่ตรัสเพื่อเป็นอุทาหรณ์เตือนใจแก่พวกเจ้า ให้รู้เท่าทันสภาวะของร่างกายตามปกติ อย่าฝืนโรคจนเกิดเป็นภัยเบียดเบียนตนเอง ในขณะที่ร่างกายมันยังทรงชีวิตอยู่ ให้รู้จักรักษาร่างกายไว้ เพื่อไม่เป็นที่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้มากจนเกินไป

๖ . การรู้เท่าทันสภาวะตามความเป็นจริงของร่างกาย เสมือนหนึ่งเราได้เรียนรู้สภาวะของอักขระ พยัญชนะของตัวหนังสือ เราเข้าใจตามความเป็นจริงก็อ่านออกเขียนได้ มีความเข้าใจไม่ผิดพลาดฉันใด ร่างกายนั้นก็เช่นเดียวกัน เราเรียนรู้ว่ามันเสื่อมมันพร่องลงไปทุกวัน มันอยู่ได้ด้วยสันตติ เราก็เรียนรู้สันตตินั้น เห็นความเกิด - แก่ - เจ็บ - ตาย เป็นของธรรมดา

๗. เมื่อยังไม่ตาย ร่างกายมันก็มีเวทนาทุกวัน เราก็มีหน้าที่บรรเทาทุกเวทนาให้มันทุกวัน แต่เพียงพอดี นี่ก็เข้าหลักมัชฌิมาปฏิปทาเหมือนกัน พระตถาคตเจ้าทุก ๆ พระองค์ สอนเหมือนกันหมด เรื่องทางสายกลางคือความพอดีไม่เบียดเบียนทั้งกาย วาจา ใจ ของตนเองและผู้อื่น ศีล สมาธิ ปัญญา กำหนดลงอยู่ตรงนี้เช่นกัน บุคคลผู้สิ้นความเบียดเบียนทั้งกาย วาจา ใจ คือ ผู้เข้าถึงอรหัตผล

๘. ตัวอย่างธรรมะมีให้พวกเจ้าเห็นอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าคนหรือสัตว์ วัตถุธาตุ สุดแล้วแต่พวกเจ้าจักเห็น หรือสามารถนำมาพิจารณาลงในแง่ไหนได้เท่านั้นเอง พยายามเลิกเบียดเบียนตนเองเสียให้ได้ โดยใช้สังโยชน์เป็นหลักปฏิบัติ หมั่นถามจิตตนเองว่า การคิด การพูด การกระทำในทุก ๆ ขณะจิตนั้น เบียดเบียนตนเองหรือไม่ จักต้องศึกษาให้ได้โดยละเอียด>

๙. อย่าลืมธรรมะทุกข้อจักต้องเกิดขึ้นกับตนเองก่อน จึงจักเป็นของแท้ ตนเองจักต้องเลิกเบียดเบียนตนเองก่อน จึงจักเลิกเบียดเบียนบุคลอื่นได้ พรรษานี้จักทำความเพียรได้สักแค่ไหน พวกเจ้าทั้งสองจงถามจิตตนเองดู อายุล่วงไปใกล้ความตายเจ้าไปทุกที ยังจักประมาทกันอยู่อีกหรือ มีสติไม่ตั้งมั่น สัมปชัญญะไม่แจ่มใส จำได้บ้าง เพียรได้บ้าง ลืมเสียบ้าง เผลอปล่อยความเพียรเสียมาก เพราะอ่อนใน อานาปาสัสสติ กันทั้ง ๒ คน ชอบให้อารมณ์อื่น ๆ มาแย่งเวลาของการเจริญพระกรรมฐานไปเสียมากต่อมาก เหมือนคนไม่ตั้งใจทำจริง จึงดูคล้ายกำลังใจไม่เต็มกระนั้น นี่จงอย่าโทษใครให้โทษใจตนเองที่ไม่ใคร่จักเตือนตนให้เดินตรงทาง

๑๐. พวกเจ้ายังมีอารมณ์ขี้เก็บ ชอบเก็บทุกข์เอาไว้ไม่ยอมวาง จิตคนช่างจดจำอยู่แต่ความชั่วดีแท้ ๆ คำด่า คำนินทา ใครว่ามาหลายสิบปียังอุตส่าห์เก็บเอามาจำได้ ไม่ใคร่จักลืม ต่างกับคำสอนของตถาคตเจ้า พวกเจ้าฟังแล้วไม่ใคร่จักจำนี่แต่ละรายไม่ได้พบพระพุทธเจ้ามากันน้อยๆ นะ พบกันมาแล้ว ฟังพระธรรมคำสั่งสอนมาแล้วเป็นแสนๆ องค์ แต่ก็ไม่ค่อยจักจำไม่นำมาประพฤติปฏิบัติให้เกิดผลอย่างนี้กันมาโดยตลอด พวกเจ้าไม่เสียดายกาลเวลากันบ้างหรือ เกิดตายๆ ทนทุกข์อยู่ในวัฏฏะสงสารอย่างนี้ดีหรือ (ก็ยอมรับว่าไม่ดี) รู้ว่าไม่ดี ก็จงพยายามทำให้พ้นจากความไม่ดีนี้ ไม่มีใครช่วยพวกเจ้าได้ พวกเจ้าแต่ละคนจักต้องช่วยตนเองให้พ้นทุกข์ คิดถึงจุดนี้เอาไว้ให้ดีๆ
 

ให้ระวังการนินทา - กรรมบถ ๑๐ หมวดวาจา ๔
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้
๑. การสนทนาธรรมวันนี้ ให้หลีกเลี่ยงการนินทา ควบคุมกรรมบถ ๑๐ ทางด้านวาจาเอาไว้ บ้างเป็นดี เพราะในจุดนี้ยังสอบตกกันมาก ให้พิจารณาเสียก่อนจึงพูด พยายามจับผิดในวจีกรรมหมวดวาจา ๔ แล้วแก้ไขเสีย ฟังให้มาก พูดให้น้อย ก็จักดีขึ้นเอง 

๒. (ก็คิดว่า การควบคุมกรรมบถ ๑๐ นั้นยาก) ทรงตรัสว่า ไม่ยากหรอก ถ้าหากมีความตั้งใจ กำหนดรู้กันจริงๆ ให้ศึกษาจริยาของพระที่จิตถึงระดับนี้แล้ว ท่านไม่มีความอนาทรร้อนใจในเรื่องของขันธ์ ๕ อยู่ก็อยู่ ตายก็ตาย แต่ถ้ายังไม่ตาย หน้าที่การงานทางพุทธศาสนา ซึ่งรับผิดชอบมีเท่าใด ท่านไปได้ก็จักไปทำตามนั้น (หลวงปู่ไวย ท่านป่วย แต่ท่านก็ยังไปโปรดชาวเขาตามปกติ)

๓. ให้ดูท่านฤๅษีก็เช่นกัน แม้กระทั่งป่วยในวันสุดท้ายนั้น ท่านก็ยังลงรับแขกตามหน้าที่ และยืนยันแม้กระทั่งจักเข้ามาสอนพระกรรมฐานที่สายลม ให้พวกเจ้าศึกษากำลังใจจุดนี้ของพระอริยเจ้าเบื้องสูง ท่านเป็นอย่างนี้จงดูและศึกษาให้มากๆ

๔. หมั่นดูกรรมบถ ๑๐ ให้มากด้วย อย่าเพ้อ เจ้อเหลวไหล การพูดอย่างมีสติกับการพูดอย่างไม่มีสตินั้นต่างกัน ตรงที่จักต้องคิดไว้ก่อนแล้วจึงพูด พูดอย่างนี้มีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ เป็นกุศลหรืออกุศล เป็นบุญหรือบาป เป็นคุณหรือเป็นโทษ เป็นสุขหรือเกิดทุกข์ หากใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงพูด (นิสัมมะกรณังเสยโย) ก็จักเพิ่มกุศลให้กับตนเอง และผู้รับฟังธรรม)

๕. การทำหน้าที่เพื่อส่วนรวมนั้น ย่อมต้องเสียสละหมดทุกอย่าง แม้แต่สละร่างกายก็ยอม ด้วยเห็นผลในการทำหน้าที่เพื่อส่วนรวมนั้นๆ นี้เป็นวิสัยของพุทธสาวกพึงมีมาแล้วในทุกๆ พุทธันดร (แต่จงดูบารมีหรือกำลังใจของตนเองด้วยว่ามีระดับไหน อย่าเห็นช้างขี้ แล้วจะขี้ตามช้างโดยขาดปัญญา จะทำอะไรให้อยู่ในขอบเขตบารมีของตน)

๖. ที่ตรัสนี้เป็นปฏิปทาของพระอรหันต์ส่วนใหญ่ แต่ไม่ใช่ทุกองค์หรอกนะ เพราะทุกองค์เมื่อจบกิจแล้ว ก็จักรู้หน้าที่แห่งตน และรู้หน้าที่ควรและไม่ควรในกิจที่ต้องกระทำ หรือไม่กระทำแห่งตนอีกด้วย องค์ไหนรับหน้าที่อย่างไร ก็พึงเป็นไปตามนั้น

๗. ชาติ - ศาสนา - พระมหากษัตริย์ ๓ สถาบันนี้ขาดกันไม่ได้ ต้องพึ่งพากันอยู่ตลอด และจงอย่าลืม พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย เพราะสมเด็จองค์ปัจจุบันทรงตรัสไว้ชัดว่า พระพุทธศาสนาจักเจริญอยู่กับประเทศไทยจบครบ ๕,๐๐๐ ปี ท่านฤๅษีก็ดี - หลวงปู่ไวย ก็ดี ตอนมีชีวิตอยู่ ปฏิปทาของท่านช่วยคน ช่วยชาติอย่างไร พวกเจ้าจึงพึงศึกษากันไว้ (ให้ทุกคนศึกษาได้ในธรรมะ เล่ม ๒ รำลึกถึงความดีของหลวงพ่อในอดีต หลวงพ่อฤๅษีวัดท่าซุง หรือพระราชพรหมยานมหาเถระ)

๘. มีคนประพฤติไม่ดีอยู่เพียงคนเดียว ก็ทำให้คนทั้งวัดเดือดร้อนไปได้เหมือนกัน มันเป็นไปตามวาระของกรรม คนเห็นแก่ตัว คือ คนที่เห็นแก่ร่างกายมากเกินไป จนทิ้งหน้าที่ของตน ขาด เทวธรรม จงอย่าอยากเลวตามเขา อยากสบายตามเขา ซึ่งเป็นการตามใจกิเลส ปล่อยให้กิเลสจูงจมูกไป จงอย่าสนใจกรรมใครกรรมมัน เสียเวลาปฏิบัติธรรมโดยใช่เหตุ อยู่กับคนหมู่มาก พึงจักใจเย็นๆ เข้าไว้

๙. อย่าเอาแต่อารมณ์ของตนเองเป็นใหญ่ อะไรที่ผ่านแล้วให้ผ่านเลย เพราะเป็นอดีตแล้ว ให้ตั้งต้นปรับอารมณ์เสียใหม่ ที่ผ่านไปแล้วให้ถือว่าเป็นครูทำอะไรอย่าให้ขาดทุน ดูอารมณ์ของตนเองเข้าไว้ให้ดีๆ

พระธรรมตอนหนึ่ง จาก (ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๘)
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน




Create Date : 10 มิถุนายน 2564
Last Update : 10 มิถุนายน 2564 11:11:00 น. 0 comments
Counter : 108 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 5378236
Location :
ขอนแก่น Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ดี
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5378236's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.