แว๊บ!!แว๊บ!!_จริงจริง นะค๊ะ!
Group Blog
 
All Blogs
 
ประชาธิปไตยหลังเลือกตั้ง 23 ธันวาฯ

***ผมเกรงว่าระบอบประชาธิปไตยที่เราจะได้มาหลังเลือกตั้ง 23 ธันวาคมศกนี้
จะเป็น "ประชาธิปไตยไส้กลวง" หรือ "ประชาธิปไตยปลอดประชาชน"
(Hollowed-Out Democracy or Democracy without the Demos)

กล่าวคือมีโครงร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญและเหล่าสถาบันตรวจสอบถ่วงดุลที่ไม่ได้มาจากอำนาจเสียงข้างมากเป็นกรอบแข็งแกร่งล้อมรอบอยู่ภายนอก
แต่ขาดตกบกพร่องซึ่งอำนาจอธิปไตยของประชาชนจากการเลือกตั้ง
และการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงและจริงจังข้างใน!

****ทั้งนี้เพราะตัวแบบ ระบอบเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democracy)
ที่ไทยเราและนานาประเทศซึ่งพัฒนาไปเป็นสังคมสมัยใหม่ทีหลังรับมา
จากโลกตะวันตกนั้น ตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐาน 2 ชุดที่มาประกอบเข้าด้วยกัน
อยู่ร่วมกัน และหนุนเสริมเติมเต็มซึ่งกันและกัน ทว่าเอาเข้าจริงมีเนื้อหาผิดแปลกแตกต่างและรากเหง้าที่มาแยกต่างหากจากกัน ได้แก่:

1) หลักการเสรีนิยม (Liberalism)
****ซึ่งเรียกขานไปได้ต่างๆ กัน อาทิ เสรีนิยมโดยรัฐธรรมนูญ (Constitutional Liberalism), ประชาธิปไตยโดยรัฐธรรมนูญ
(Constitutional Democracy), หรือประชาธิปไตยแบบเมดิสัน
(Madisonian Democracy-ตามชื่อของ James Madison, ค.ศ.1751-1836, ประธานาธิบดีคนที่ 4 และหนึ่งในคณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญและก่อตั้งประเทศสหรัฐอเมริกา อีกทั้งเป็นผู้ร่วมเขียน เดอะ เฟเดอรัลลิสต์เปเปอร์, ค.ศ.1787-88, เอกสารความคิดทางการเมืองอเมริกันชิ้นสำคัญด้วย)

2) หลักการประชาธิปไตย (Democracy)
***ซึ่งก็เรียกขานไปได้ต่างๆ เช่นกัน อาทิ ประชาธิปไตยโดยประชาชน (Popular Democracy), ประชาธิปไตยประชานิยม (Populistic Democracy)
เป็นต้นเนื้อหาสาระและความเป็นมาที่แตกต่างของหลักการ 2 ชุดข้างต้น
อาจสรุปเรียบเรียงเป็นตารางได้ดังนี้
หลักการเสรีนิยมหลักการประชาธิปไตย

จุดเน้น สิทธิเสรีภาพเหนือร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินของบุคคลพลเมือง
และหลักนิติธรรมความเสมอภาคและอำนาจอธิปไตยของประชาชนทิศทาง
จำกัดอำนาจของผู้ปกครอง กระจายอำนาจไปให้ประชาชน
เนื้อหา แสดงออกผ่านองค์ประกอบด้านรัฐธรรมนูญของระบอบประชาธิปไตยซึ่งปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของพลเมืองจากอำนาจรัฐ,
เน้นความจำเป็นที่สถาบันต่างๆ ต้องตรวจสอบถ่วงดุลกันอย่างซับซ้อน
เพื่อป้องกันการสะสมรวมศูนย์รวบริบผูกขาดฉวยใช้อำนาจโดยมิชอบ
ของผู้กุมตำแหน่งรัฐบาล, มีนัยถึงการปกครองเพื่อประชาชน
แสดงออกผ่านองค์ประกอบด้านประชาชนของระบอบประชาธิปไตยซึ่งมุ่ง
ให้ประชาชนได้เป็นเจ้าของและใช้อำนาจรัฐด้วยตัวเองอย่างเสมอภาคกัน,
เน้นบทบาทของพลเมืองธรรมดาและการเข้าร่วมของมวลชนผ่านการเลือกตั้ง
ที่เสรี เป็นธรรม สม่ำเสมอ และกระบวนการเคลื่อนไหวอื่นๆ โดยรวมตัวจัดตั้งกันเป็นพรรคการเมือง, มีนัยถึงการปกครองโดยประชาชน

นักคิดปรัชญา จอห์น ล็อก, เจมส์ เมดิสัน, อเล็กซิส เดอ ต๊อกเกอวิลล์, จอห์น สจ๊วต มิลล์, เบนจามิน กองสตองต์ จัง-จ๊ากส์ รุสโซ

หลักหมายอ้างอิง ระบบการเมืองการปกครองอเมริกันอันเกิดจากสภาร่างรัฐธรรมนูญปี ค.ศ. 1787 ระบบการเมืองการปกครองฝรั่งเศสอันเกิดจากการปฏิวัติปี ค.ศ.1789

(สรุปประมวลจาก Noberto Bobbio, Liberalism and Democracy (1990); Fareed Zakaria, "The Rise of Illiberal Democracy", Foreign Affairs (November/December 1997); Peter Mair, "Ruling the Void? The Hollowing of Western Democracy", New Left Review, 11/42 (November/December 2006)

มาบัดนี้ ด้วยเหตุปัจจัยอันเกี่ยวเนื่องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมวัฒนธรรมอันสลับซับซ้อนที่เชื่อมโยงกับกระบวนการโลกาภิวัตน์ในรอบสองทศวรรษที่ผ่านมา -โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระแสการเปลี่ยนแนวนโยบายเศรษฐกิจไปเป็นแบบเสรีนิยมใหม่ (economic neo-liberalization) และกระแสการเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองไปเป็นประชาธิปไตย
(political democratization) ในขอบเขตทั่วโลก - ปรากฏว่านักรัฐศาสตร์และนักวิเคราะห์การเมืองได้ตั้งข้อสังเกตสอดคล้องต้องกันว่าหลั
กการพื้นฐานทั้ง 2 ชุดของระบอบเสรีประชาธิปไตยดังกล่าวกำลังปริแยกแตกร้าวและเคลื่อนออกห่างจากกันในทาง
ปฏิบัติจริง, หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง การณ์กลับกลายเป็นว่าองค์ประกอบด้านรัฐธรรมนูญกับองค์ประกอบด้านประชาชนของระบอบประชาธิปไตย
มิจำต้องผูกติดเป็นหนึ่งเดียวกันอีกต่อไป หากอาจตึงเครียดขัดแย้ง
เบียดขับครอบงำ และกระทั่งฉีกขาดแยกทางจากกัน

****บางประเทศซึ่งเน้นย้ำยึดมั่นหลักการประชาธิปไตยโดดๆ
แต่กดทับละเลยหลักการเสรีนิยม ในลักษณะที่มีการเลือกตั้งเสรี แต่กลับจำกัดสิทธิบุคคลพลเมืองและฉวยใช้อำนาจบริหารโดยมิชอบนั้น ก็เปลี่ยนสีแปรธาตุจากตัวแบบเสรีประชาธิปไตยไปเป็น ระบอบประชาธิปไตยไม่เสรี
(Illiberal Democracy) เช่น การปกครองของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย, ประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซ แห่งเวเนซุเอลา, อดีตประธานาธิบดีอัลแบร์โต
ฟูจิโมริ แห่งเปรู เป็นต้น

****ในทางกลับกัน อีกบางประเทศก็ทำท่าหันไปเน้นย้ำยึดมั่นหลักการเสรีนิยมโดดๆ แต่กดทับละเลยหลักการประชาธิปไตยมากขึ้น ในสภาพที่ประชาชนเซ็ง
และเฉื่อยเนือยทางการเมือง ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและเข้าร่วมพรรคน้อยลงเรื่อยๆ หันไปหมกมุ่นธุระส่วนตัวแทน ข้างผู้นำและพรรคเองก็ค่อยขยับโยกย้ายจากภาคประชาสังคมหันไปตั้งหลักปักฐานพึ่งพิงภาครัฐมากขึ้น

ทำให้ความสำคัญของการเลือกตั้ง การเข้าร่วมทางการเมืองและอำนาจอธิปไตยของประชาชนลดน้อยถอยลง ขณะที่บทบาทอำนาจของเหล่าสถาบัน
ที่ไม่ได้มาจากเสียงข้างมาก (Non-Majoritarian Institutions) กล่าวคือไม่ได้มาจากการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย ไม่เอาพรรค ไม่เอาการเมือง
เช่น เทคโนแครต, ตุลาการ, เอ็นจีโอ ฯลฯ กลับเพิ่มทวีขึ้นทุกที
ส่งผลให้ประชาธิปไตยในประเทศเหล่านี้กำลังถูกนิยามใหม่ในทิศทางที่ถอยห่างออกจากตัวแบบเสรีประชาธิปไตยกลายเป็น ระบอบประชาธิปไตยปลอดประชาชน (Democracy without the Demos)
หรือ ระบอบเสรีประชาธิปไตยครึ่งใบ (Liberal Semi-Democracy)
ไปเสีย เช่น สภาพที่ได้เกิดขึ้นในบรรดาประเทศประชาธิปไตยตั้งมั่นส่วนใหญ่ในยุโรปตะวันตกนับแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1990 เรื่อยมา เป็นต้น

ฉะนั้น ถ้าจะบอกว่าผู้นำที่ขึ้นสู่ตำแหน่งผ่านการเลือกตั้งโดยประชาชนอย่างประธานาธิบดีปูติน หรือชาเวซ หรือฟูจิโมริ ชักจะจำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชน กำราบเล่นงานสื่อมวลชนเสรี พรรคฝ่ายค้านและตุลาการเยี่ยง Democratators (จอมบงการประชาธิปไตย) เข้าไปทุกที ดังที่ Joel Simon ผู้อำนวยการบริหารแห่งองค์การ Committee to Protect Journalists-CPJ วิจารณ์แล้ว (Joel Simon, "Introduction", Attacks on the Press in 2006, accessed 7 September 2007, //www.cpj.org/ attacks06/pages06/intro06.html)

ก็คงต้องบอกควบไปด้วยว่าการควักล้วงองค์ประกอบด้านประชาชนออกมาจากตับไตไส้พุงของระบอบประชาธิปไตยตั้งมั่นในโลกตะวันตก กำลังทำให้ ประชาธิปไตยที่นั่นปลอดประชาชน กลายเป็น ประชาธิปไตยที่มีไว้ให้ประชาชนเป็นผู้ชมเฉยๆ (audience democracy) ส่วนนักการเมืองก็เล่นการเมืองกันไปเองเหมือนแสดงหนังวิดีโอ (video politics) โดยประชาชนมีส่วนร่วมน้อยกว่ารายการ Reality TV ต่างๆ ที่กำลังฮิตติดตลาดเสียอีก ขณะที่อำนาจแท้จริงรวบอยู่ในมือบรรดาสถาบันภาครัฐ/เอกชนที่ไม่ได้มาจากเสียงข้างมาก จนสรุปเป็นสูตรสำเร็จแปลกใหม่ชวนสะท้านใจได้ว่า

NGOs + judges = democracy หรือ

เอ็นจีโอ + ตุลาการ(ภิวัตน์?) = ประชาธิปไตย นั่นเอง!

ภายใต้กรอบอ้างอิงของการเปลี่ยนสีแปรธาตุแยกขั้วแยกข้างระบอบ "ประชาธิปไตย" ทั่วโลกข้างต้น อาจกล่าวได้ว่าการเมืองในระบอบประชาธิปไตยไทยหลายปีหลังนี้ก็ประสบความพลิกผันทำนองเ
ดียวกัน ทว่าอาการหนักหนาสาหัสกว่าชาวบ้านหน่อยตรงที่ดับเบิ้ลพลิกผันถึงสองเด้งสองต่อ กล่าวคือ : -

สืบเนื่องจากผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจและรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมือง พ.ศ.2540 การเมืองไทยก็มีอันพลิกผันเปลี่ยนไป ภายใต้รัฐบาลทักษิณ เป็น ระบอบประชาธิปไตยไม่เสรี จากนั้นผ่านการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549, รัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ 2550 และกฎหมายความมั่นคงภายในรวมทั้งชุดกฎหมายจัดระเบียบคุมเข้มและจำกัดบทบาทนักการเมือง
พรรคการเมืองและการเมืองภาคประชาชนฉบับอื่นๆ มันก็กำลังพลิกผันอีกรอบไปสู่ ระบอบประชาธิปไตยปลอดประชาชน ภายใต้การกำกับดูแลของกองทัพ ตุลาการ ระบบราชการ เทคโนแครต เอ็นจีโอ และบรรดาองค์กรภาครัฐ/เอกชนที่ไม่ได้มาจากเสียงข้างมาก หลังเลือกตั้ง 23 ธันวาฯ

ชะตากรรมของการเลือกตั้ง นักการเมือง พรรคการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมืองและอำนาจอธิปไตยของประชาชนในระบอบนี้จึงขลุกขลักฝืดเคืองอึ
มครึมไม่แน่ไม่นอน หัวร่อไม่ออก ร้องไห้ไม่ได้ ไม่รู้จะถูกตัดสิทธิ ยุบพรรค หรือห้ามชุมนุม ฯลฯ เมื่อไหร่ดังที่เห็นๆ กันอยู่

โดย เกษียร เตชะพีระ



Create Date : 19 ธันวาคม 2550
Last Update : 19 ธันวาคม 2550 14:35:23 น. 1 comments
Counter : 765 Pageviews.

 
เหเด้ร


โดย: เรน IP: 58.147.38.36 วันที่: 22 มิถุนายน 2551 เวลา:14:30:33 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

แสนแสบ!!ทรวง!!
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add แสนแสบ!!ทรวง!!'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.