Life is not too long. Do it now.
 
ระบบกักเก็บน้ำใต้ดิน หนทางแก้วิกฤติการขาดแคลนน้ำรูปแบบใหม่

เกาะสมุยเปรียบประดุจอัญมณีที่ล้ำค่าของประเทศไทยเพราะทำรายได้เข้าสู่ประเทศปีละกว่า 10,000 ล้านบาท และทุกๆปีจะมีนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ หลั่งไหลเข้ามาท่องเที่ยวอยู่เป็นประจำ ก่อให้เกิดการสร้างงานและกระจายรายได้สู่ชุมชน แต่ปัจจุบันเกาะสมุยกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำดิบที่จะนำมาผลิตเป็นน้ำประปาเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว ซึ่งความต้องการการใช้น้ำบนเกาะสมุยเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหน้าแล้ง ล่าสุด พ.ศ. 2550 ความต้องการการใช้น้ำของเกาะสมุยอยู่ที่ 5.46 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งความต้องการดังกล่าวมีมากที่สุดในช่วงหน้าแล้ง ประมาณ 120 วัน และคิดเป็นปริมาณความต้องการน้ำดิบที่จะใช้ผลิตน้ำประปาที่ 6,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งถือว่าอยู่ในขั้นวิกฤติ

การประเมินศักยภาพแอ่งน้ำบาดาลบริเวณเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกแอ่งน้ำบาดาลที่มีศักยภาพสูงสุดและเหมาะสมที่สุด ทั้งในแง่กายภาพและเศรษฐศาสตร์ โดยกำหนดพื้นที่ที่จะทำการก่อสร้างระบบกักเก็บน้ำใต้ดิน และนำน้ำบาดาลที่ได้จากระบบกักเก็บน้ำใต้ดิน มาใช้ประโยชน์ในการผลิตเป็นน้ำประปาในช่วงขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง และป้องกันปัญหาการรุกล้ำของน้ำเค็มเข้าสู่ชั้นน้ำบาดาล ในระหว่างที่มีการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้

จากการศึกษาและเปรียบเทียบลักษณะทางกายภาพของแอ่งน้ำบาดาลที่มีอยู่บนเกาะสมุยจำนวน 5 แห่ง คือ 1) แอ่งบ้านเขาแพง 2) แอ่งบ่านบ่อผุด 3) แอ่งบ้านเฉวง 4) แอ่งบ้านละไม และ 5) แอ่งบ้านมะเร็ต ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าบริเวณที่เหมาะสมที่สุดที่จะสามารถก่อสร้างระบบกักเก็บน้ำใต้ดินและป้องกันปัญหาการรุกล้ำของน้ำเค็มเข้าสู่ชั้นน้ำบาดาล คือ บริเวณแอ่งบ้านมะเร็ต ตำบลมะเร็ต อำเภอเกาะสมุย จังหวัด สุราษฎร์ธานี เนื่องจากบริเวณดังกล่าวรองรับด้วยแอ่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่ที่สุดบนเกาะสมุย และยังไม่มีการขยายเขตแหล่งชุมชนและสถานที่รองรับท่องเที่ยวในบริเวณแอ่งน้ำใต้ดินมากนักทำให้โอกาสของการปนเปื้อนของสิ่งสกปกลงสู่น้ำใต้ดินมีน้อยกว่าบริเวณอื่นของเกาะสมุย แอ่งน้ำบาดาลดังกล่าวประกอบไปด้วยชั้นน้ำบาดาลแบบไร้แรงดัน (Unconfined aquifer) ที่ประกอบไปด้วยชั้นน้ำบาดาล 2 ชนิด คือ ชั้นน้ำบาดาลตะกอนกรวดทราย และชั้นน้ำบาดาลหินแกรนิตผุ ซึ่งแอ่งน้ำบาดาลดังกล่าวมีความกว้างประมาณ 3.0 กิโลเมตร ยาวประมาณ 5.0 กิโลเมตร และลึกเฉลี่ยประมาณ 30 เมตร และมีค่าสัมประสิทธิ์ในการกักเก็บเฉลี่ยประมาณ 0.036 และสามารถกักเก็บน้ำบาดาลไว้ได้ทั้งหมดประมาณ 13.3 ล้านลูกบาศก์เมตร และสามารถทำการสูบขึ้นมาใช้ได้วันละ 4,000 – 6,000 ลูกบาศก์เมตร ในช่วงฤดูแล้งที่ขาดแคลนน้ำดิบในการผลิตน้ำประปา โดยไม่ส่งผลกระทบกับแหล่งน้ำที่มีอยู่เดิม ซึ่งถือว่ามากที่สุดในจำนวนแอ่งน้ำบาดาลทั้งหมด ที่มีอยู่บนเกาะสมุย








Create Date : 10 กันยายน 2551
Last Update : 10 กันยายน 2551 20:47:39 น. 5 comments
Counter : 1566 Pageviews.  
 
 
 
 
Long time no see.

I wish you're doing well.
 
 

โดย: A.T. IP: 118.172.134.51 วันที่: 13 กันยายน 2551 เวลา:19:55:04 น.  

 
 
 
ได้รับความรู้ว่าเกาะสมุยกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำดิบ จากภาพสุดท้ายทำให้เข้าใจการทำงานของระบบสูบน้ำใต้ดิน

ขอบคุณมากค่ะ มีประโยชน์จริงๆ
 
 

โดย: YUCCA วันที่: 7 พฤศจิกายน 2551 เวลา:3:52:24 น.  

 
 
 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
 
 

โดย: Yushi วันที่: 11 กรกฎาคม 2552 เวลา:16:24:16 น.  

 
 
 
พอดีเห็นในกระทู้หน่ะค่ะเกี่ยวกับเรื่องระบบน้ำที่มีปัญหา ขอแนะนำอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ตัวนี้ค่ะเป็นการลงทุนเพียงครั้งเดียวทางบริษัทรับประกันถึง5ปีหากไม่พอใจสามารถคืนเงินได้เต็มจำนวนโดยไม่ต้องยุ่งยากค่ะ หากเครื่องเกิดปัญหาขัดข้องทางบริษัทจะเปลี่ยนเครื่องใหม่ให้ทันที เนื่องจากบ.เพิ่งจะมีการเปิดตลาดในประเทศไทยถ้าต้องการทราบรายละเอียดของอุปกรณ์ลองเข้าไปดูในเว็บไซด์นะค่ะ หรือติดค่อเข้ามาที่บ.ได้เลยค่ะ02-6428919 เบอร์วิศวะกรณ์ 0815902964 จะสามารถให้รายละเอียดข้อมุลทั้งหมดได้เลยค่ะ
 
 

โดย: mam IP: 58.8.84.182 วันที่: 4 สิงหาคม 2552 เวลา:9:49:22 น.  

 
 
 
 
 

โดย: Yushi วันที่: 19 สิงหาคม 2552 เวลา:16:44:28 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

Duke of York
 
Location :
Sheffield United Kingdom

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




If today is Monday, tomorrow will be Tuesday for sure then.
[Add Duke of York's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com