ต้นไม้ ใบหญ้า นาข้าว
Group Blog
 
All blogs
 

แร่เทคโตซิลิเกตกับนาข้าว

แปลงทดลองนาข้าวจังหวัดพิจิตร ที่ใช้แร่เทคโตซิลิเกต (Tectosilicate)
เพื่อช่วยบำรุงดิน เพิ่มแร่ธาตุต่าง ๆ ได้สอบถามเจ้าของแปลงอื่นที่ไม่ได้ใช้
แร่เทคโตให้เปรียบเทียบกันแล้ว ปรากฏว่าแปลงที่ใช้แร่เทคโตได้ผลดีกว่า
แต่ใส่ไม่ครบสูตรค่ะเนื่องจากไม่ได้ไปดูแลเอง ดูรูปไปก่อนนะค่ะ













ดูข้าวแตกกอค่ะ เป็นนาหว่านนะค่ะ










 

Create Date : 17 กันยายน 2550    
Last Update : 6 เมษายน 2551 20:18:59 น.
Counter : 1777 Pageviews.  

เทคโทซิลิเกท กับ ยางพารา

เทคโทซิลิเกท ( Tectosilicate) : สารธรรมชาติเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย
โดยปกติปุ๋ยเคมีที่เราใส่ลงไปในดิน พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เพียงร้อยละ 20 เท่านั้น ที่เหลือบางส่วนระเหิดสูญเสียไป ส่วนใหญ่ถูกดินยึดตรึงไว้ อันเป็นผลมาจากความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกของดิน ( CEC – Cation exchange Capacity ) ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการใส่วัสดุธรรมชาติที่มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกของดินสูง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยเคมีที่ใช้ ให้คุ้มค่ากับราคาที่ค่อนข้างสูง


ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นวัสดุหนึ่งที่มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกของดินสูง แต่ต้องใช้ในปริมาณมาก และใช้เวลานานกว่าจะเห็นประสิทธิภาพได้ชัดเจน
อีกชนิดหนึ่งคือแร่เทคโทซิลิเกท ซึ่งเป็นสารจากธรรมชาติที่มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกของดินสูง แต่ใช้ในปริมาณน้อย และเห็นผลได้รวดเร็วกว่า

เทคโทซิลิเกท : วัสดุธรรมชาติจากหินอัคนี
เทคโทซิลิเกท เป็นหินเบากลุ่มหินอัคนี ที่เกิดจากการระเบิดไหลออกมาจากใต้ดินในรูปหินเหลว มีความพรุนสูง ประกอบด้วยแร่ธาตุ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืช จึงมีการนำมาใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
องค์ประกอบหลัก หรือแกนหลักได้แก่ ซิลิกา และอลูมินัม ที่เหลือเป็นแร่ธาตุอื่นๆประกอบกันประมาณ 12 ชนิด ได้แก่ โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม ซิลิกา โบรอน แคลเซียม กำมะถัน โซเดียม แมงกานีส สังกะสี ทองแดง เหล็ก

ธาตุอาหารในเทคโทซิลิเกท
ผลวิเคราะห์ธาตุอาหารในเทคโทซิลิเกท 100 กรัม จากวัสดุตัวอย่างเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2544 ของภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วยธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริมดังนี้
ประเภทธาตุอาหาร ชนิดธาตุอาหาร ปริมาณพีพีเอ็ม*ใน100กรัม
ธาตุอาหารหลัก โพแทสเซียม 6900
ธาตุอาหารหลัก ฟอสฟอรัส 5615
ธาตุอาหารรอง แมกนีเซียม 1400
ธาตุอาหารรอง แคลเซียม 91
ธาตุอาหารเสริม เหล็ก 3321
ธาตุอาหารเสริม ซิลิกา 229.14
ธาตุอาหารเสริม โซเดียม 91
ธาตุอาหารเสริม แมงกานีส 72.5
ธาตุอาหารเสริม สังกะสี 3
ธาตุอาหารเสริม ทองแดง 3
*พีพีเอ็ม ( ppm ) = ปริมาณในล้านส่วน
ที่เด่นชัด คือมีค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกของดิน ( CEC )สูงมากถึง137.8 cmol ต่อกิโลกรัม ซึ่งหมายถึง แร่เทคโทซิลิเกท ช่วยให้ดินอุดมสมบูรณ์ สามารถดูดซับธาตุอาหารและปลดปล่อยธาตุอาหารได้มากขึ้น เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของดินประเมินได้จากค่าซีอีซี ยิ่งดินมีค่าซีอีซี ( CEC) สูงเท่าใด ดินนั้นย่อมสามารถดูดซับธาตุอาหารและปลดปล่อยธาตุอาหารได้มากยิ่งขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดและคุณสมบัติของเนื้อดินนั้นๆเป็นหลัก

เทคโทซิลิเกทกับยางพารา
เนื่องจากธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม มีผลต่อขบวนการทางเคมีภายในพืช ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืช ดังเช่น ในยางพารา
ฟอสฟอรัส ช่วยสร้างโปรตีนและสารให้พลังงาน หากขาดธาตุนี้ยางพาราจะชะงักการเจริญเติบโต ใบน้อย ให้น้ำยางน้อย

โพแทสเซียม( K )ช่วยให้การสร้างเปลือกงอกใหม่เร็วขึ้น ให้น้ำยางเพิ่มขึ้น และควบคุมสมดุลของแมกนีเซียมซึ่งมีผลต่อการคงตัว/จับตัวของน้ำยาง
แคลเซียม( Ca ) มีความสำคัญในการสร้างราก และคุณภาพของน้ำยาง
ทองแดง ( Cu ) มีผลต่อเปลือกและคุณภาพของน้ำยาง
ซิลิกา ช่วยให้ผนังเซลล์หนา แข็งแรง ทนทานต่อการทำลายของโรคและแมลง
แมกนีเซียม มีผลต่อการเจริญเติบโตและให้น้ำยาง หากมากไปน้ำยางจะจับตัวก่อนกำหนด
สังกะสี หากขาดในรูปที่ยางพารานำไปใช้ได้ จะทำให้น้ำยางลดลง ใบมีขนาดเล็ก
กำมะถัน มีส่วนสำคัญในการโปรตีน หากมีไม่เพียงพอ ต้นยางโตช้า ยอดอ่อนเหลือง หรือเขียวซีด
จะเห็นได้ว่าแม้เทคโทซิลิเกทมิใช่ปุ๋ยโดยตรง แต่เป็นตัวใช้ประกอบกับปุ๋ย ที่ช่วยเสริมธาตุอาหารที่จำเป็นให้ และช่วยให้ปุ๋ยเป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น

การใช้เทคโทซิลิเกทในแปลงขยายพันธุ์ยางพารา
เนื่องจากเทคโทซิลิเกทมีฟอสฟอรัส แคลเซียม ซิลิกา เป็นองค์ประกอบจึงเหมาะสมต่อการนำมาใช้ในงานเพาะขยายพันธุ์ เพื่อให้ได้ต้นกล้าพันธุ์ที่แข็งแรง สมบูรณ์ มีรากมาก ทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี
เพาะเมล็ด ใช้เทคโทซิลิเกท 1 กิโลกรัม ละลายน้ำ 100 ลิตร แช่เมล็ดนาน 2-3 ชั่วโมง ก่อนนำไปเพาะ จะช่วยให้เมล็ดงอกมีหน่อใหญ่ รากมาก สมบูรณ์ เจริญเติบโตไว
แปลงเพาะต้นกล้า และแปลงกิ่งตาใช้เทคโทซิลิเกทผสมปุ๋ยสูตร 20 – 8 – 12 ในอัตราร้อยละ 10 ของปุ๋ยที่ใช้ จะช่วยให้ลอกเปลือกเพื่อติดตาได้ง่าย ต้นกล้าสามารถติดตาได้เร็วขึ้น

การใช้เทคโทซิลิเกทในการปลูกยางพารา
หลุมปลูก ใช้เทคโทซิลิเกท 30 กรัม ผสมดินบนก่อนกลบหลุม จะช่วยให้ต้นยางแตกรากและตั้งตัวได้รวดเร็วขึ้น
ต้นตอตา หรือยางชำถุง ใช้เทคโทซิลิเกท 1 กิโลกรัม ละลายน้ำ 100 ลิตร แช่นาน 2-3 ชั่วโมง ก่อนนำไปปลูกลงแปลง เพื่อให้ต้นยางได้รับน้ำและธาตุอาหารเสริมเต็มที่

การใช้เทคโทซิลิเกทบำรุงรักษาสวนยางพารา
สวนยางก่อนเปิดกรีด ใช้ปุ๋ยสูตร 20 – 8 – 20 สำหรับดินทุกชนิดในเขตปลูกยางเดิม และสูตร20-10-12 สำหรับดินทุกชนิดในเขตปลูกยางใหม่ ทั้ง 2 สูตรก่อนใช้ผสมเทคโทซิลิเกทอัตราร้อยละ 10 ของปุ๋ยที่ใช้ เพื่อให้ต้นยางเจริญเติบโตได้มาตรฐาน ราก และลำต้นแข็งแรง สมบูรณ์
ในช่วงยางอายุ 2 ปีแรก ใส่ปุ๋ยบริเวณแนวรัศมีทรงพุ่มใบรอบโคนต้นยาง หลังจากนั้นให้ใส่เป็นแถบ 2 ข้าง ในบริเวณระหว่างแถวยางตามแนวทรงพุ่มของต้นยาง แนะนำให้ใส่โดยวิธี หว่านกลบ หรือขุดหลุมลึกประมาณ 5-10 เซนติเมตร จากผิวดิน ต้นละ 2 หลุม ตามอัตราแนะนำด้านล่าง เมื่อใส่ปุ๋ยแล้วเกลี่ยดินกลบ

อัตราการใช้ปุ๋ยสูตร20-8-20สำหรับต้นยางก่อนเปิดกรีดเขตปลูกยางเดิม

อายุเดือน ดินร่วน (กรัม/ต้น) ดินทราย (กรัม/ต้น)
ปุ๋ย เทคโทฯ ปุ๋ย เทคโทฯ
2 50 5 60 6
4 60 6 90 9
6 60 6 90 9
12 130 13 170 17
15 150 15 210 21
18 150 15 210 21
24 150 15 210 21
30 230 23 320 32
36 230 23 320 32
42 240 24 330 33
48 240 24 330 33
54 260 26 360 36
60 260 26 360 36
66 270 26 370 37
รวม 2,480 247 3,430 343

อัตราการใช้ปุ๋ยสูตร20-10-12สำหรับต้นยางก่อนเปิดกรีดเขตปลูกยางใหม่

อายุเดือน ปุ๋ย(กรัม/ต้น) เทคโทฯ(กรัม/ต้น)
1 60 6
6 80 8
12 100 10
18 110 11
24 120 12
30 180 18
36 180 18
42 180 18
48 180 18
54 200 20
60 200 20
66 200 20
72 200 20
78 200 20
รวม 2,190 219

สวนยางเปิดกรีด ทุกครั้งที่กรีดยางธาตุอาหารบางส่วนย่อมสูญเสียไปกับน้ำยาง โดยน้ำยาง 1 ตันจะสูญเสียธาตุไนโตรเจน 20 กิโลกรัม ฟอสฟอรัส 5 กิโลกรัม โพแทสเซียม 25 กิโลกรัม และแมกนีเซียม 5 กิโลกรัม หากไม่มีการใส่ปุ๋ยเคมีเพื่อชดเชยธาตุอาหารที่สูญเสียไปกับน้ำยาง จะทำให้ดินขาดความสมดุลของธาตุอาหาร มีผลทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง
ปุ๋ยที่เหมาะสม คือ ปุ๋ยสูตร 30–5–18 อัตราต้นละ 1 กิโลกรัมต่อปี ผสมเทคโทซิลิเกทในอัตราร้อยละ 10 ของปุ๋ยที่ใช้ หรือ ต้นละ 100 กรัม
การใส่แบ่งใส่ 2 ครั้ง ช่วงต้นฤดูฝนครั้งหนึ่งและปลายฤดูฝนอีกครั้งหนึ่ง ในบริเวณกึ่งกลางระหว่างแถวยางแล้วคราดกลบ

การใช้เทคโทซิลิเกทลดอาการเปลือกแห้ง
ต้นยางที่แสดงอาการเปลือกแห้ง ให้งดการกรีด ทำความสะอาดหน้ากรีดด้วยแปรงแข็ง แล้วใช้แปรงทาสีทาหน้ากรีดด้วยเทคโทซิลิเกท 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 3 ลิตร พร้อมกับหว่านเทคโทซิลิเกท ต้นละ 0.5 – 1 กิโลกรัม ขึ้นกับความรุนแรงของอาการ



การใช้เทคโทซิลิเกทปลูกและบำรุงรักษาพืชคลุม
ก่อนปลูก ใช้เทคโทซิลิเกท อัตรา 1 กิโลกรัม ละลายน้ำ 100 ลิตร แช่เมล็ดพร้อมกับการแช่น้ำอุ่นกระตุ้นการงอก นาน 12ชั่วโมง ก่อนนำไปเพาะหรือหว่านปลูก
การบำรุงรักษา ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ปริมาณไร่ละ 15 กิโลกรัม ต่อปี ผสมเทคโทซิลิเกท1.5 – 2 กิโลกรัม หว่านใส่แปลงพืชคลุม โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ช่วงต้นฤดูฝนครั้งหนึ่งและปลายฤดูฝนอีกครั้งหนึ่ง

การใช้เทคโทซิลิเกทแทนปูนขาว
เทคโทซิลิเกทสามารถใช้ทาต้นยางพาราเพื่อป้องกันความร้อนและแสงแดดในหน้าแล้งทดแทนปูนขาวได้เป็นอย่างดี ทั้งช่วยให้เปลือกลำต้นแข็งแรงขึ้นจากธาตุซิลิกาและธาตุอาหารอื่นที่ดูดซึมเข้าไป
นอกจากนี้ในการตัดแต่งกิ่งยาง การใช้เทคโทซิลิเกททาปิดรอยแผลแทนปูนแดง ยังช่วยให้แผลสมานเร็ว ป้องกันเชื้อเข้าทำลายได้
-------------------------------------------
บทความโดย วิชิต สุวรรณปรีชา




 

Create Date : 25 มิถุนายน 2550    
Last Update : 6 เมษายน 2551 20:21:48 น.
Counter : 717 Pageviews.  

Biomine

สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางร่วมกับสถาบันวิจัยยาง กระทรวงเกษตร ได้จัดนิทรรศการเข้าร่วมนำเสนอในงาน พืชสวนโลก ราชพฤกษ์ 49 ซึ่งทางศูนย์เพิ่มผลผลิตและแก้ปัญหายางพารา นำโดย อ.ดนูศิษฏ์ ดีมิตร ผู้อำนวยการศูนย์เพิ่มผลผลิตและแก้ปัญหายางพารา ได้รับเกียรติจากทาง สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ให้เข้าไปแนะแนวทางในการฟื้นฟูสวนยางทรุดโทรม







ซึ่งเดิมแปลงยางนี้เป็นของ สถาบันวิจัยยาง ได้เริ่มปลูกทดลองพันธุ์ไว้ตั้งแต่ปี 2529 สวนยางมีสภาพทรุดโทรมเป็นอย่างมาก หน้ากรีดมีปัญหาเสียหายที่เกิดจากการขาดการดูแลรักษา เปลือกแตก ต้นยางมีสภาพกรีดไม่ได้(ตายนึ่ง)ถึง 70 % ส่วนที่กรีดได้ผลผลิตที่ได้มามีปริมาณน้อย


ขั้นตอนการฟื้นฟู สอกถามจากทางศูนย์เพิ่มผลผลิตและแก้ปัญหายางพารา โทร. 08-9074-0426


หลังจากได้รับวิธีและแนวทางในการฟื้นฟู สวนยางแปลงนี้กลับมาใช้งานได้ภานในระยะเวลา 4 เดือน หน้ายางที่เสียหายได้รับการรักษา ต้นที่มีอาการตายนึ่งกลับมากรีดได้ ผลผลิตกลับมา และในขณะนี้มีผู้ที่เข้าชมงานพืชสวนโลก ราชพฤกษ์ 49 ให้ความสนใจในแปลงยางพาราเป็นอย่างมาก




//www.kasikam.com/index.php?option=com_content&task=view&id=38&Itemid=1




 

Create Date : 19 มิถุนายน 2550    
Last Update : 6 เมษายน 2551 20:23:22 น.
Counter : 497 Pageviews.  

แร่เทคโตซิลิเกต

ยางพาราเป็นพืชเศรฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้ให้เกษตรกรสูงในขณะนี้ ดังนั้นการให้อาหารกับต้นยางอย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง การให้ปุ๋ยในยางปลูกใหม่และยางเปิดกรีดโดยทั่วไปถือว่ายังน้อยและไม่เพียงพอกับความต้องการของต้นยาง เพราะปุ๋ยที่มีอยู่ในท้องตลาดส่วนใหญ่เป็นปุ๋ยทีมีธาตุอาหารไม่ครบจึงไม่เพียงพอกับความต้องการของยางพารา ศูนย์เพิ่มผลผลิตและแก้ปัญหายางพารา จึงได้ทดลองการให้ปุ๋ย ตั้งแต่การปลูก จนถึง ต้นยางเปิดกรีด เพื่อให้ต้นยางมีความสมบูรณ์และสามารถให้ผลผลิตได้มากและสม่ำเสมอ โดยได้ทำการทดลองในแปลงเกษตรกรในทุกภูมิภาค ผลเป็นที่พอใจของเกษตรกรเป็นอย่างมาก ดังที่จะนำเสนอต่อไปนี้
การให้ปุ๋ยยางปลูกใหม่
ปุ๋ยรองก้นหลุม
การปลูกยางใหม่ นอกจากต้องเลือกต้นกล้ายางพาราพันธุ์ดีที่มีความสมบูรณ์ มาปลูกแล้ว ยังต้องใช้ปุ๋ยรองก้นหลุมอย่างเหมาะสมด้วยเพื่อให้ ยางพาราปลูกใหม่ จะเจริญเติบโตดี จะรอดผ่านฤดูแล้งได้
ยางพาราปลูกใหม่ ต้องการระบบรากที่สมบูรณ์และแข็งแรง ดังนั้ปุ๋ยรองก้นหลุม จึงต้องมี ธาตุฟอสฟอรัส เช่น 0-3-0 ทาง ศูนย์เพิ่มผลผลิตและแก้ปัญหายางพารา ไม่แนะนำให้ใช้ เพราะ 0-3-0 ย่อยสลายได้ช้าไม่สามารถสร้างรากได้อย่างเหมาะสม ต่อการตั้งตัวในระยะต้นจึงเสนอแนะให้ใช้ แร่เทคโตซิลิเกต แทน 0-3-0 โดยให้รองก้นหลุมต้นละ 1 ขีด ( 3 ช้อนแกง ) รองก้นหลุมยางก่อนปลูกเพียงอย่างเดียว
ยางปลูกใหม่อายุ 1 เดือนถึง 1ปี
หลังจากการรองก้นหลุมด้วย แร่เทคโตซิลิเกต แล้ว เมื่อต้นยางพาราปลูกใหม่อายุ 1 เดือนขึ้นไปให้ แร่เทคโตซิลิเกต 1 ขีดต่อ ต้น ในทุกๆ 3 เดือนและให้ปุ๋ย สูตร 20-8-20 หรือ 20-10-12 ตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง หรือปุ๋ยอินทรีย์ ในอัตราต้นละ 1 ขีด หรือปุ๋ยอินทรีย์ ในอัตราต้น 1 ก.ก. ในทุกๆ 3 เดือนเช่นกัน

ยางอายุ 1 ปีถึง 3 ปี
ยางพาราที่อายุ 1 ถึง 3 ปี เป็นช่วงที่ต้องการสร้างระบบรากและลำต้นให้สูงแข็งแรง ทรงพุ่มกว้าง ใบใหญ่ จึงเสนอแนะให้ใช้ ปู๋ยสูตรผสมกับ แร่เทคโตซิลิเกต ในอัตรา ปุ๋ยสูตร 5 กิโลกรัม ผสม แร่เทคโตซิลิเกต 1 กิโลกรัม ให้ต้นละ 2-3 ขีด
การให้ปุ๋ยยางเตรียมเปิดกรีด
ยางพารา ที่ปลูกได้ 5-7 ปี ที่พร้อมจะเปิดกรีดเก็บผลผลิตนั้น ต้องบำรุงต้นยางมีความสมบูรณ์สูงสุดเพราะถ้าต้นยางยังไม่พร้อมที่จะเปิดกรีดแล้วมาเปิดกรีด จะมีผลให้เปลือกยางบางให้น้ำยางน้อย และมีอายุกรีดสั้น
การให้ปุ๋ยยางพาราเตรียมเปิดกรีดควรให้ ใช้ปุ๋ยสูตร ตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง เสริมด้วย แร่เทคโตซิลิเกต ในทุกๆ 6 เดือนก่อนเปิดกรีด ซึ่งจะช่วยให้ ต้นยางแข็งแรง ใบใหญ่เขียวเข้ม เปลือกหนา กรีดง่าย และให้ผลผลิตสูง
การให้ปุ๋ยยางพาราหลังเปิดกรีดแล้ว
ยางพาราที่เปิดกรีดแล้วเป็นช่วงที่ต้นยางต้องการธาตุอาหาร สูงมากและครบทุกธาตุ ทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุเสริม เนื่องจากต้นยางดูดซึมธาตุอาหารจากดินเพื่อสร้างน้ำยาง จึงทำให้ดินเหลือธาตุอาหารน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของต้นยาง
สูตรปุ๋ยยางพาราเปิดกรีด ให้ใช้ ปุ๋ยสูตร 50 กิโลกรัม ผสมปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง 50 กิโลกรัม และ แร่เทคโตซิลิเกต 10 กิโลกรัม เป็นสูตรที่ยางพาราจะได้ธาตุอาหารครบทั้ง 13 ธาตุ จะช่วยให้ผลผลิตน้ำยางสูงและคงที่ ต้นยางแข็งแรง ไม่เป็นโรค

สูตรปุ๋ยยางพาราเปิดกรีด ให้ใช้ ปุ๋ยสูตร 50 กิโลกรัม ผสมปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง 50 กิโลกรัม และ 10 กิโลกรัม เป็นสูตรที่ยางพาราจะได้ธาตุอาหารครบทั้ง 13 ธาตุ จะช่วยให้ผลผลิตน้ำยางสูงและคงที่ ต้นยางแข็งแรง ไม่เป็นโรค

ที่มา
//www.kasikam.com/index.php?option=com_content&task=view&id=40&Itemid=41






 

Create Date : 19 มิถุนายน 2550    
Last Update : 11 ตุลาคม 2551 19:58:54 น.
Counter : 3118 Pageviews.  


yanet
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




< [Add yanet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.