ต้นไม้ ใบหญ้า นาข้าว
Group Blog
 
All blogs
 

มีดกรีดยาง ซุปเปอร์แท็พ



การกรีดยาง

สวนยางพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตสูงจำเป็นต้องใช้วิธีการเปิดกรีด วิธีการกรีด ระบบการกรีดยางที่ถูกต้อง จึงจะรักษาต้นยางเพื่อให้สามารถกรีดได้นาน แต่หากใช้วิธีการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง นอกจากได้นำยางน้อยแล้ว ยังทำให้ต้นยางเสียหาย เป็นเหตุให้รายได้ของเกษตรกรลดน้อยลงด้วย
การเปิดกรีดหน้ายาง
1. ต้นยางที่จะเปิดกรีด ต้องมีขนาดเส้นรอบลำต้น 50 เซนติเมตร วัดที่ระดับความสูงจากพื้นดิน 150 เซนติเมตร
2. ใช้ระบบกรีดครึ่งต้น วันเว้นวัน
3. ความลาดเอียงของรอยกรีด 30 องศา
4. ติดรางรองรับน้ำยางและลวดรับถ้วยน้ำยาง
5. การเปิดกรีดหน้าที่ 2 จะต้องเปิดกรีดที่ระดับความสูง 150 เซนติเมตร

วิธีปฏิบัติในการเปิดกรีดหน้ายาง

การวัดขนาดของต้นยาง
ใช้เชือกยาว 50 เซนติเมตร วัดขนาดของต้นยางในช่วงความสูงจากพื้นดิน 150 เซนติเมตร หากปลายเชือกทั้งสองไม่ซ้อนกันแสดงว่าต้นยางได้ขนาด 50 เซนติเมตรหรือโตกว่าจึงเปิดกรีดได้
ข้อควรพิจารณาในการกรีดยาง
1. ความลึกของรอยกรีด การกรีดยางให้ได้น้ำยางมาก จะต้องกรีดให้ใกล้เยื่อเจริญมากที่สุด แต่จะกรีดให้ห่างจากเยื่อเจริญประมาณ 1 มิลลิเมตร เพื่อป้องกันมิให้บาดเยื่อเจริญ
2. ขนาดของงานกรีดยาง หมายถึงจำนวนต้นยางที่คน 1 คน สามารถกรีดยางได้ในแต่ละวัน ปกติได้ 400-500 ต้น
3. เวลาที่เหมาะสมในการกรีดยาง ควรเป็นเวลาเช้าที่สามารถมองเห็นต้นยางได้ชัดเจน น้ำยางจะลดลงเรื่อย ๆ เมื่อมีอากาศร้อนจัด
4. การสิ้นเปลืองเปลือก แต่ละครั้งกรีดควรอยู่ระหว่าง 1.7-2 มิลลิเมตร และในเดือนหนึ่ง ไม่ควรสิ้นเปลืองเปลือกเกิน 2.5 เซนติเมตร
5. ต้องหมั่นลับมีดกรีดยางให้คมกริบอยู่เสมอ


กายวิภาคของต้นยาง
ในการกรีดยางผู้กรีดจำเป็นต้องทราบและเข้าใจถึงส่วนประกอบของต้นยางที่เกี่ยวข้องกับการกรีดยาง คือ
เปลือก
เป็นส่วนที่อยู่บริเวณนอกสุด แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ เปลือกชั้นนอกและเปลือกชั้นใน เปลือกชั้นในจะมีท่อน้ำยาง มากกว่าเปลือกชั้นนอก ท่อน้ำยางของยางพันธุ์ดีจะไหลเวียนจากขวาไปซ้าย
เยื่อเจริญ
คือ ส่วนที่อยู่ระหว่างเปลือกกับเนื้อไม้ เป็นส่วนที่สร้างความเจริญเติบโตให้กับต้นยางแลเป็นส่วนที่สร้างเปลือกงอกใหม่ขึ้นมาแทนที่เปลือกที่กรีดไป การกรีดยางแต่ละครั้งจึงต้องไม่ทำลายเยื่อเจริญ โดยกรีดให้ห่างจากเยื่อเจริญประมาณ 1 มิลลิเมตร
เนื้อไม้
เป็นแกนกลางสำหรับยึดลำต้น แต่ไม่มีท่อน้ำยางอยู่เลย
ขั้นตอนการฝึกกรีดยาง
1. กระตุกมือ สลับเท้า
2. กรีดอย่าให้ถึงเนื้อไม้
3. รักษามุมกรีด 30 องศา
4. กรีดให้หน้ายางเรียบ
5. กรีดให้ถึงท่อน้ำยาง
6. หน้ากรีด 1 นิ้ว ต้องกรีดให้ได้ 15-18 ครั้ง




 

Create Date : 07 พฤษภาคม 2554    
Last Update : 7 พฤษภาคม 2554 20:02:06 น.
Counter : 1522 Pageviews.  

มีดกรีดยางพารา

ขออนุญาตแก้ไขวันที่จากวันพฤหัส 23 ธันวาคม 2553
เป็นวันที่ 22 ธันวาคม ค่ะ เชิญชมรายการสยามเช้านี้
เวลาประมาณ 6.30 น. เกี่ยวกับมีดกรีดยาง ซูเปอร์แทพ ค่ะ

วันนี้มีรูปมีสำหรับใช้ในการกรีดยางพายามาให้ชมค่ะ

มีดซูเปอร์แทพ














ติดต่อ 089-993-5989
ขอแจ้งว่า ห้ามนำรูปไปใช้นอกจากผู้ที่ได้รับอนุญาตแล้วเท่านั้น

การกรีดยาง

สวนยางพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตสูงจำเป็นต้องใช้วิธีการเปิดกรีด วิธีการกรีด ระบบการกรีดยางที่ถูกต้อง จึงจะรักษาต้นยางเพื่อให้สามารถกรีดได้นาน แต่หากใช้วิธีการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง นอกจากได้นำยางน้อยแล้ว ยังทำให้ต้นยางเสียหาย เป็นเหตุให้รายได้ของเกษตรกรลดน้อยลงด้วย

การเปิดกรีดหน้ายาง

1. ต้นยางที่จะเปิดกรีด ต้องมีขนาดเส้นรอบลำต้น 50 เซนติเมตร วัดที่ระดับความสูงจากพื้นดิน 150 เซนติเมตร
2. ใช้ระบบกรีดครึ่งต้น วันเว้นวัน
3. ความลาดเอียงของรอยกรีด 30 องศา
4. ติดรางรองรับน้ำยางและลวดรับถ้วยน้ำยาง
5. การเปิดกรีดหน้าที่ 2 จะต้องเปิดกรีดที่ระดับความสูง 150 เซนติเมตร

วิธีปฏิบัติในการเปิดกรีดหน้ายาง

การวัดขนาดของต้นยาง

ใช้เชือกยาว 50 เซนติเมตร วัดขนาดของต้นยางในช่วงความสูงจากพื้นดิน 150 เซนติเมตร หากปลายเชือกทั้งสองไม่ซ้อนกันแสดงว่าต้นยางได้ขนาด 50 เซนติเมตรหรือโตกว่าจึงเปิดกรีดได้

ข้อควรพิจารณาในการกรีดยาง

1. ความลึกของรอยกรีด การกรีดยางให้ได้น้ำยางมาก จะต้องกรีดให้ใกล้เยื่อเจริญมากที่สุด แต่จะกรีดให้ห่างจากเยื่อเจริญประมาณ 1 มิลลิเมตร เพื่อป้องกันมิให้บาดเยื่อเจริญ
2. ขนาดของงานกรีดยาง หมายถึงจำนวนต้นยางที่คน 1 คน สามารถกรีดยางได้ในแต่ละวัน ปกติได้ 400-500 ต้น
3. เวลาที่เหมาะสมในการกรีดยาง ควรเป็นเวลาเช้าที่สามารถมองเห็นต้นยางได้ชัดเจน น้ำยางจะลดลงเรื่อย ๆ เมื่อมีอากาศร้อนจัด
4. การสิ้นเปลืองเปลือก แต่ละครั้งกรีดควรอยู่ระหว่าง 1.7-2 มิลลิเมตร และในเดือนหนึ่ง ไม่ควรสิ้นเปลืองเปลือกเกิน 2.5 เซนติเมตร
5. ต้องหมั่นลับมีดกรีดยางให้คมกริบอยู่เสมอ


กายวิภาคของต้นยาง

ในการกรีดยางผู้กรีดจำเป็นต้องทราบและเข้าใจถึงส่วนประกอบของต้นยางที่เกี่ยวข้องกับการกรีดยาง คือ
เปลือก
เป็นส่วนที่อยู่บริเวณนอกสุด แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ เปลือกชั้นนอกและเปลือกชั้นใน เปลือกชั้นในจะมีท่อน้ำยาง มากกว่าเปลือกชั้นนอก ท่อน้ำยางของยางพันธุ์ดีจะไหลเวียนจากขวาไปซ้าย

เยื่อเจริญ

คือ ส่วนที่อยู่ระหว่างเปลือกกับเนื้อไม้ เป็นส่วนที่สร้างความเจริญเติบโตให้กับต้นยางแลเป็นส่วนที่สร้างเปลือกงอกใหม่ขึ้นมาแทนที่เปลือกที่กรีดไป การกรีดยางแต่ละครั้งจึงต้องไม่ทำลายเยื่อเจริญ โดยกรีดให้ห่างจากเยื่อเจริญประมาณ 1 มิลลิเมตร

เนื้อไม้

เป็นแกนกลางสำหรับยึดลำต้น แต่ไม่มีท่อน้ำยางอยู่เลย

ขั้นตอนการฝึกกรีดยาง

1. กระตุกมือ สลับเท้า
2. กรีดอย่าให้ถึงเนื้อไม้
3. รักษามุมกรีด 30 องศา
4. กรีดให้หน้ายางเรียบ
5. กรีดให้ถึงท่อน้ำยาง
6. หน้ากรีด 1 นิ้ว ต้องกรีดให้ได้ 15-18 ครั้ง

ถอดน๊อต



นำใบมีดออกมาลับให้คม แล้วโชลมน้ำมันเพื่อกันสนิมค่ะ






 

Create Date : 21 มกราคม 2551    
Last Update : 4 พฤษภาคม 2554 23:13:57 น.
Counter : 4375 Pageviews.  

พันธุ์ PB 260

พีบี 260

การเจริญเติบโตลำต้น ระยะก่อนเปิดกรีด เจริญเติบโตดี และขนาดลำต้นสม่ำเสมอทั้งแปลงดี ทำให้มีต้นเปิดกรีดมาก ระหว่างกรีด เจริญเติบโตปานกลาง

การแตกกิ่งและทรงพุ่ม แตกกิ่งน้อย กิ่งขนาดปานกลาง แต่ละกิ่งมีกิ่งเล็ก ๆ จำนวนมาก เป็นชั้น ๆ ทรงพุ่มปานกลาง รูปกลม ช่วงอายุน้อยพุ่มใบทึบ

การพลัดใบ เริ่มผลัดใบช้า

ความหนาเปลือก เปลือกเดิมหนาปานกลาง เปลือกงอกใหม่บาง

ระบบกรีดที่แนะนำ ครึ่งลำต้น วันเว้นวัน

ผลผลิตน้ำยางเฉลี่ยต่อปี ไร่ละ 322 กก. เฉลี่ย 10 ปีกรีด

ผลผลิตเนื้อไม้เฉลี่ยต่อไร่ 6.85/19.90/25.53 ลูกบาศก์เมตร ในช่วงอายุ 6/15/20 ปี ตามลำดับ

ความต้านทานโรค
ใบร่วงจากเชื้อไฟทอปโทรา ต้านทานปานกลาง
ราแป้ง ต้านทานปานกลาง
ใบจุดนูน ต้านทานปานกลาง
เส้นดำ ต้านทานปานกลาง
ราสีชมพู ต้านทานดี

อาการเปลือกแห้ง จำนวนต้นจางแสดงอาการค่อนข้างมาก

ความต้านทานลม ต้านทานดี

ข้อเด่น ปลูกได้ในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และมีระดับน้ำใต้ดินสูง

ข้อจำกัด ไม่แนะนำการกรีดถี่ ที่มีวันกรีดติดต่อกัน เพราะจะทำให้เกิดอาการเปลือกแห้งมาก

** ที่มา คำแนะนำพันธุ์ยาง ปี 2546
กรมวิชาการ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์
การทำสวนยาง




 

Create Date : 09 กรกฎาคม 2550    
Last Update : 6 เมษายน 2551 20:47:35 น.
Counter : 898 Pageviews.  

พันธุ์ PB 255

พันธุ์ยาง พีบี 255

การเจริญเติบโตของลำต้น ระยะก่อนเปิดกรีดเจริญเติบโตดี ขนาดลำต้นสม่ำเสมอทั้งแปลงปานกลาง ระหว่างกรีด เจริญเติบโตปานกลาง

การแตกกิ่งและทรงพุ่ม แตกกิ่งขนาดเล็กจำนวนมาก ทรงพุ่มปานกลาง รูปกลม พุ่มใบทึบ

การผลัดใบ เริ่มผลัดใบค่อนข้างช้า

ความหนาเปลือก เปลือกเดิมและเปลือกงอกใหม่หนา

ระบบกรีดที่แนะนำ ครึ่งลำต้น วันเว้นวัน

ผลผลิตน้ำยางเฉลี่ยต่อปี ไร่ละ 318 กก. เฉลี่ย 10 ปี กรีด

ผลผลิตเนื้อไม้เฉลี่ยต่อไร่ 6.26/21.57/27.24 ลูกบาศก์เมตร ในช่วงอายุ 6/15/20 ปี ตามลำดับ

ความต้านทานโรค
ใบร่วงจากเชื้อไฟทอปโทรา อ่อนแอ
ราแป้ง ต้านทานปานกลาง
ใบจุดนูน อ่อนแอ
เส้นดำ ต้านทานปานกลาง
ราสีชมพู อ่อนแอ

อาการเปลือกแห้ง จำนวนต้นยางแสดงอาการปานกลาง

ความต้านทานลม ต้านทานดี

ข้อเด่น ปลูกได้ในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และมีระดับน้ำใต้ดินสูง

ข้อสังเกต ไม่แนะนำการกรีดถี่ ที่มีวันกรีดติดต่อกัน เพราะจะเกิดอาการเปลือกแห้งมาก

*** ที่มา คำแนะนำพันธุ์ยางปี 2546 โดยกรมวิชาการ
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง





 

Create Date : 07 กรกฎาคม 2550    
Last Update : 6 เมษายน 2551 21:02:09 น.
Counter : 578 Pageviews.  

ค่าใช้จ่ายการปลูกสร้างสวนยาง

สวัสดีค่ะ เพิ่งได้ข้อมูลมาใหม่ เพื่อบอกกล่าวผู้ที่จะปลูกสร้างสวนยางในแหล่งปลูกยางใหม่

ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ 1 ไร่

ขั้นตอนการปลูก

1. ไถเตรียมพื้นที่
2. ค่าวางแนวปลูก
3. ค่าเจาะหลุมปลูก
4. ต้นพันธุ์ยาง
5. ค่าขนส่งต้นยาง
6. ปุ๋ย Rock phosphate รองก้นหลุม
7. ปุ๋ยคอกรองก้นหลุม + ค่าจ้าง
8. ค่าจ้างปลูก
9. ค่ากำจัดวัชพืช + ค่าจ้าง
10. ค่าไถพื้นที่ระหว่างแถวยาง
11. ค่าปุ๋ยบำรุงต้นยาง + ค่าจ้าง
12. ค่าฟาง + ค่าจ้าง
13. ค่าจ้างทำแนวกันไฟ
14. ค่าจ้างตัดแต่งกิ่ง

รวมค่าใช้จ่าย ปีแรก 3,876 บาท
ค่าใช้จ่ายรวม 1-7 ปี 11,398 บาท
ข้อมูลจากการปฏิบัติจริง
โดยคำนวณจากต้นยาง 76 ต้น/ไร่ (ข้อมูล ปี 2548 )






 

Create Date : 02 กรกฎาคม 2550    
Last Update : 6 เมษายน 2551 21:03:32 น.
Counter : 1050 Pageviews.  

1  2  

yanet
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




< [Add yanet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.