ONE SUNSET WILL BE ONE MOONLIGHT
Group Blog
 
All Blogs
 

กติกาการเล่นแบดมินตัน

ผู้เล่น (PLAYERS)
(ก.) คำว่า"ผู้เล่น" (players)หมายความว่าผู้เล่นในเกมทุกคน
(ข.) ในการเล่นประเภทคู่ ผู้เล่นจะต้องมีข้างละ 2 คน และการเล่นประเภทเดี่ยวจะมีผู้เล้นข้างละ 1 คน (ค.) ข้างใดที่มีสิทธิส่งลูกจะต้องเรียกว่าข้าง"ส่งลูก"(The "In" Side) ส่วนอีกข้างหนึ่งจะเรียกว่าข้าง"รับลูก" (The "Out" Side)
การเสี่ยง (THE TOSS)

ก่อนที่จะตั้งต้นเล่น ทั้ง 2 ข้างที่จะต่อต้านกันต้องทำการเสี่ยง ข้างที่ชนะการเสี่ยง มีสิทธิที่จะเลือก:-
ก. เลือกส่งลูกก่อน
ข. ไม่ส่งลูกก่อน
ค. เลือกที่ (เอาด้านใดด้านหนึ่ง)ข้างที่แพ้การเสี่ยงจะได้แต่ที่ยังเหลืออยู่เท่านั้น
การนับแต้ม(SCORING)

(ก.) การเล่นประเภทคู่ และการเล่นประเภทชายเดี่ยวเกมๆหนึ่งมี 15 คะแนน เมื่อได้ 14 เท่ากันสิทธิที่จะเลือก "กำหนด" (Setting the game) ให้เกมนั้นเล่นที่ 15 คะแนนเลย หรือ จะเล่นต่อไปอีก 3 คะแนนในกรณีหลังใครถึง 3 ก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ
(ข.) การเล่นประเภทหญิงเดี่ยว และเด็กเล็ก เกมหนึ่งจะมี 11 คะแนน เมื่อได้ 10 คะแนนเท่ากัน ผู้ที่ได้ 10 คะแนน ก่อน จะมีสิทธิที่"กำหนด" ว่าจะเล่นที่ 11 คะแนน หรือ จะเล่นต่อไปอีก 3 คะแนน ในกรณีหลังผู้ที่ได้ 3 คะแนนก่อนจะ เป็นฝ่ายชนะถ้าไม่ตกลงกันเป็นอย่างอื่น ผู้แข่งขันจะต้องเอาชนะกันให้ได้ก่อน 2 ใน 3 เกม ผู้เล่นจะต้องสลับข้างกัน เมื่อเล่นเกมที่ 1 จบลงถ้ามีการเล่นถึงเกมที่ 3 ผู้เล่นจะต้องเปลี่ยนข้างกันเมื่อ คะแนนตามที่กำหนดไว้ตังต่อไปนี้
(ก.) 8 คะแนนสำหรับเกม 15 คะแนน
(ข.) 6 คะแนนสำหรับเกม 11 คะแนน
---------------------------------------------------------------------------------

กติกาการเล่นคู่และเดี่ยว
การเล่นคู่ (DOUBLES PLAY)

เมื่อได้ตกลงกันว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายส่งลูกก่อนผู้เล่นซึ่งอยู่ในสนาม "ส่งลูก" แทยงมุมตรงกันข้ามถ้าเสียผู้ที่คู่กับฝ่ายส่งลูก จะต้องเป็นผู้ส่งลูกต่อไป ถ้าเสียอีก จะเปลี่ยนการส่งลูกให้แก่ฝ่ายตรงข้ามอีกทีหนึ่งซึ่งแต่ละฝั่งจะสิทธิการส่งลูกข้างละ 2 ครั้ง
ผู้ที่จะรับลูกส่งได้นั้นต้องเป็นผู้ที่ส่งลูกมาให้เท่านั้น แต่ถ้าลูกถูกตัวผู้เล่นที่ร่วมกันกับผู้ที่รับลูกส่ง หรือผู้ที่เล่นร่วมกันรับลูกส่ง ตีลูกส่งนั้น ผู้ที่ส่งลูกจะได้ 1 คะแนน
ข้างที่ตั้งต้นเกมส่งลูกได้คนเดียวในการเข้าตีโต้คราวแรกผู้ส่งลูกนั้นจะส่งลูกได้เรื่อยๆ จนกว่าจะเสียแต้มในการตีโต้คราวต่อๆไป ผู้เล่นร่วมแต่ละข้างส่งลูกได้จนครบจำนวน ข้างที่ชนะเกมจะต้องเป็นข้างที่ส่งลูกก่อนในเกมต่อไป
ถ้าผู้เล่นยืนผิดคอร์ดเวลาส่งลูก และบังเอิญเป็นฝ่ายได้แต้ม จะต้องมีการให้"เอาใหม่" โดยเงื่อนไขจะต้องใช้สิทธิเรียกร้อง ก่อนที่จะมีการส่งลูกครั้งต่อไป
การเล่นเดี่ยว(SINGLES PLAY)
การเล่นเดี่ยว ให้ใช้กติกาในข้อ 9-12 เว้นแต่
(ก.) ผู้เล่นจะต้องส่งลูก หรือรับลูกส่งให้สนามรับลูกส่งขวามือ แต่เฉพาะเมื่อการนับคะแนนของผู้ส่งลูกจำนวน 0(ศูนย์) หรือการนับคะแนน ของเขาได้เป็นจำนวนเลขคู่เท่านั้นการส่งลูกและรับลูกจะต้องส่งและรับในสนาม ส่งลูกทางซ้ายมือเมื่อการนับแต้มของผู้ส่งลูกได้จำนวนเป็นคี่
(ข.) ผู้เล่นต้องเปลี่ยนสนามส่งลูกภายหลังที่ทำคะแนนได้ 1 คะแนน
การทำ"เสีย"(FAULTS)
การทำ"เสีย" ซึ่งผู้เล่นที่เป็นข้าง"ส่งลูก" เป็นผู้ทำขึ้น จะทำให้เสียสิทธิการส่งลูก แต่ถ้าเกิดขึ้นจากฝ่ายรับลูกผู้ที่ส่งลูกจะได้แต้ม
การทำ"เสีย"เกิดขึ้นเมื่อ:-
(ก.) ในการส่งลูก
(1.) ถ้าลูกที่กำลังถูกตีนั้นอยู้สูงกว่าเอวของผู้ส่ง
(2.) ถ้าตัวก้านของแร็กเก็ตไม่ชี้ตำลงถึงขนาดที่เห็นได้ชัดว่าส่วนหัวของแร็กเก็ตทั้งหมดอยู่ตำกว่าทุกส่วนของมือที่จับแร็กเก็ต
ของผู้ส่งลูก
(ข.) ในการส่งลูก ถ้าลูกไปตกอยู่ในสนามส่งลูกที่ไม่ทแยงมุมตรงข้ามกันกับผู้ส่งลูกหรือไม่ถึงเส้นเสิร์ฟลูกสั้น หรือออกข้างสนามหรือออก
ทางด้านท้ายสนาม
(ค.) ถ้าเท้าของผู้ส่งลูกไม่อยู่ในสนามส่งลูกที่จะต้องส่งลูกไป หรือเท้าของผู้เล่นที่เป็นผู้รับลูกไม่อยู่ในสนามส่งลูกที่ทแยงมุมตรงข้าม
จนกระทั่งลูกได้ถูกส่งออกมาแล้ว
(ง.) ในขณะที่ทำการส่งลูกหรือก่อนที่จะส่งลูก ถ้าผู้เล่นคนใดแสร้งทำ หรือหลอกล้อก่อนที่จะส่งลูกไปจริงๆ
หรือจงใจขัดขวางหรือทำให้คู่ต่อต้านชะงัก
(จ.) ในการส่งลูกก็ดี หรือในการตีโต้ลูกออกไปนอกสนาม หรือผ่านทะลุตาข่ายไป หรือผ่าานไปใต้ตาข่าย
ถูกตัวหรือเครื่องแต่งกายผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง (ลูกที่ตกลงบนเส้นจะถือว่าเป็นลูกที่ดี)
(ฉ.) ถ้าลูกทีกำลังเล่น ฝ่ายตีโต้ตีก่อนที่จะข้ามตาข่าย (อย่างไรก็ดี ผู้ตีลูกอาจใช้แร็กเก็ตตามลูกที่ที่ตนตีข้ามตาข่ายไปได้)
--------------------------------------------------------------------------------

การเล่นประเภทเดี่ยว
การเล่นประเภทเดี่ยวนี้ ผู้เล่นมีโอกาสปรับปรุงการเล่นได้โดยสะดวกตลอดเวลา เช่น การส่งลูกแบบระยะสั้นถ้าเห็นว่าฝ่ายตรงกันข้ามตบลูกเก่ง การยืนอย่ายืนล้ำออกมาให้ส่งจากสนามใกล้เส้นกลาง เพื่อที่จะได้กลับตัวรวดเร็วและต้องพยายามให้คู่แข่งวิ่งหมุนไปมาอยู่เสมอ
ตำแหน่งการยืนส่งลูก
ผู้ เล่นควรยืนห่างจากเส้นหน้าประมาณ 3 ฟุตเพื่อให้ส่งลูกได้สูงและไกลมากที่สุด ไม่ควรส่งลูกสั้นในการเล่นประเภทเดี่ยวเว้นแต่คู่แข่งจะยืนไป ทางด้านหลังของสนาม การส่งลูกไม่ควรทำอย่างรีบเร่งหรือไม่ระมัดระวัง เพราะถ้าส่งลูกเสียก็เท่ากับเสียโอกาสที่จะทำคะแนนไป และเมื่อส่งลูกไปแล้ว ต้องรีบถอยไปอยู่ตรงกึ่งกลางสนามของตน
การตอบโต้ลูกที่ส่งมาโด่งหลัง
การ ตอบโต้ลูกนี้ต้องใช้ลูกโด่งหลังเช่นเดียวกัน เพื่อเปลี่ยนให้ฝ่ายส่งลูกเป็นฝ่ายรับ ควรโต้ตอบไปทางข้างหลังทางด้านหลังมือของฝ่ายตรง ข้าม ซึ่งอาจจะทำให้ไม่สามารถโต้ตอบกลับมาได้ หรือบางครั้งเราอาจใช้ลูกหยอดหน้าตาข่าย แต่ต้องใช้เมื่อมีความชำนาญมากๆ เพราะลูกหยอดจะใช้ ได้ดีเมื่อคู่ต่อสู้พะวงทางด้านหลังเท่านั้น

วิธีเล่นเมื่อผู้แข่งขันส่งลูกมา

1. ถ้าคู่แข่งขันส่งลูกมาลึกและเป็ฯการส่งที่ดีด้วย เราไม่สามารถจะตบลูกได้ จะโต้ด้วยการใช้ลูกหยอดอย่างยาว หรือ โต้อย่างสูงไปยังมุม สนามของคู่แข่งขัน หรือ โต้ลูกหยอดไปยังเส้นส่งลูกสั้น หรือ โต้ลูกเหนือศรีษะไปตกกลางสนามเพื่อให้คู่แข่งขันเข้าใจว่าจะต้องตีแบบลึก เราจะได้มีโอกาสหยอดลูกได้
2. ถ้าคู่แข่งขันส่งลูกมาสั้น ควรโต้โดยการหยอดลูกให้เฉียงหรือโต้ลูกโด่งไปมุมสนามของคู่แข่งขัน
การเล่นทั่วไปควรใช้การหยอดลูกเร็วบ้าง หยอดลูกลึกบ้างและอื่นๆ สลับกันเรื่อยไป ทำให้คู่ต่อสู้ต้องวิ่งไปวิ่งมาย่อมเหนื่อยมากการเคลื่อนไหว ก็จะช้าลง เราจะมีโอกาสโจมตีได้สะดวก

การถ่วงเวลา

การตีลูกเพื่อถ่วงเวลานี้จะใช้การตีด้วยหน้ามือหรือหลังมือก็ได้ แต่ต้องรอดูการตกของลูก และมองดูท่าทีการเคลื่อนไหวของคู่ต่อสู้ ถ้าเห็นคู่แข่งเปลี่ยนน้ำหนักตัวทำท่าจะมาข้างหน้าเราก็ตีไปข้างหลัง หรือถ้าเห็นว่าเขาจะไปข้างหลังเราก็ตีไปข้างหน้า เป็นต้น
ในการเล่นประเภทเดี่ยวนั้นควรเว้นการตบลูกเมื่อลูกโด่งไปข้างหลัง เพราะถ้าเราตบไม่ลงจะทำให้เราเสียหลัก ควรใช้ลูกโด่งกับการตบ ผสมกันไปขณะที่คู่ต่อสู้รอรับการตบลูกของเรา
ในระหว่างแข่งขัน แม้ว่าฝ่ายตรงข้ามจะทำคะแนนนำไปมากก็ไม่ควรตกใจ ต้องคิดหาวิธีเล่นเพื่อตีให้ได้คะแนน ถ้านึกไม่ออกให้ตีลูกโด่ง หลังเอาไว้ก่อน จะทำให้เห็นจุดอ่อนของคู่แข่งขันได้ และยังเป็นการช่วยให้เกมส์ช้าลงด้วย
กำลังกายเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการเล่นประเภทเดี่ยวระวังอย่าให้คู่แข่งรู้ว่าเหนื่อย ต้องกระฉับกระเฉงตลอดเวลาการแข่งขัน

หลักการเล่นประเภทเดี่ยว

การเล่นประเภทเดี่ยวเป็นการ เล่นที่ต้องอาศัยความอดทนเป็นอย่างมากนอกจากนี้ผู้เล่นควรมีสมรรถภาพร่างกาย ที่ดี การเล่นเดี่ยวทั่วๆไปผู้เล่นควรจะ

1. วางแผนการเบ่นก่อนทุกครั้ง โดนศึกษาคู่แข่งขันประกอบ
2. พยายามดึงคู่แข่งขันเล่นเกมที่ตนถนัด
3. มีความตั้งใจจริงและอดทนในการแข่งขัน
4. อย่าตีลูกไปในทิศทางเดียว ควรเปลี่ยนทิศทางอย่าให้อีกฝ่ายจับทางได้
5. การเล่นต้องพยายามหลอกล่อ และอย่าให้คู่แข่งอ่านหน้าไม้เราออกว่าเราจะตีค่อยหรือแรง
6. ลูกตบต้องมีวิถีที่เด็ดขาดไปในทางทิศทางที่วางหรือพุ่งเข้าหาตัว
7. การหยอดลูกต้องพยายามหยอดให้ชิดตาข่ายให้มาก
8. อย่ารอให้ลูกตกลงมาจึงค่อยตี ต้องพยายามพุ่งเข้าหาลูกทุกครั้ง
9. พยายามหลีกเลี่ยงลูกหลังมือถ้าจำเป็นก็ให้ใช้ได้
10. ควรเล่นอย่างออมแรง อย่าตีโหมแรงๆ เพราะจะทำให้เหนื่อยและแพ้ได้ง่าย
---------------------------------------------------------------------------------




 

Create Date : 16 พฤศจิกายน 2552    
Last Update : 16 พฤศจิกายน 2552 21:41:26 น.
Counter : 17095 Pageviews.  

วิธีการเล่นแบดมินอย่างง่าย ๆ โดย ศาสตราจารย์เจริญ วรรธนะสิน

แนะนำวิธีการเล่นแบดมินอย่างง่าย ๆ โดย ศาสตราจารย์เจริญ วรรธนะสิน นายกสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ อดีตนักแบดมินตันทีมชาติไทย และ นักแบดมินตัน ทำเนียบเกียรติคุณ แบดมินตันของโลก Hall of Fame ของ สหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ IBF

บทที่ 1 คำแนะนำง่าย ๆ สำหรับนักเล่นหัดใหม่
เป็นการแนะนำง่าย ๆ ถึงวิธีการเล่นแบดมินตันสำหรับผู้ที่สนใจในกีฬาแบดมินตัน

บทที่ 2 รู้จักแหล่งที่มาของการตีลูก
การที่นักเล่นหัดใหม่ตีลูกไปสักพักหนึ่ง ก็เริ่มจะฉุกคิดขึ้นมาว่า ทำไมการ
ตีลูกของตนถึงไม่มีแรงส่งอย่างใจนึก เหวี่ยงแร็กเก็ตหวดตีลูกเต็มแรงแล้ว
ลูกยังไปไม่ถึงหลัง ให้เรามาช่วยกันคิดค้นดูว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?

บทที่ 3 ฟุตเวิร์คกับจังหวะของการตีลูก
กีฬาแบดมินตัน เป็นเกมเล่นที่ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายต้องมีการเคลื่อนย้ายตัววิ่งไล่ตีลูกตลอดเวลา ผู้เล่นจึงต้องรู้จักการวิ่งเข้าออก การประชิดลูกในจังหวะที่ถูกต้อง เคลื่อนย้ายตัวเองไปอยู่ในจุดที่ถูกต้อง ตีลูกได้ถนัด ตีด้วยความสะดวก ตีลูกด้วยความง่ายดาย และสิ้นเปลืองพลังงานของตัวเองให้น้อยที่สุด

บทที่ 4 การตีลูกหลังมือแบ๊คแฮนด์
นักเล่นหัดใหม่ หรือแม้แต่คนที่เล่นแบดมินตันมานาน มักจะบ่นกันเสมอว่า การตีลูกหลังมือ หรือแบ๊คแฮนด์ ทำไมถึงตียากตีเย็น เหวี่ยงตีเต็มที่แต่ลูกไม่วิ่งไกล ตีลูกไม่ถึงหลังสนามฝ่ายตรงข้าม หรือตีได้แรงเหมือนกับการตีลูกหน้ามือโฟร์แฮนด์ ลองมาค้นหาสาเหตุแก้ไขปัญหาของการตีลูกหลังมือ

บทที่ 5 ลูกหลักในเกมแบดมินตัน
ลูกหลักในกีฬาแบดมินตัน แบ่งออกได้เป็น 4 จำพวกใหญ่ ๆ คือ
ลูกโยน (Lob or Clear)
ลูกตบ (Smash)
ลูกดาด (Drive)
ลูกหยอด (Drop)

ีบทที่ 6 วิธีการตีลูกหลักในเกมแบดมินตัน - การตบลูก
ในเกมแบดมินตัน ลูกตบ เป็นลูกเด็ดขาดที่ตีจากเบื้องสูง กดลูกลงสู่เป้าหมายให้พุ่งลงสู่พื้นในวิถีตรงที่รุนแรง และรวดเร็ว (ดูภาพ ) เป็นลูกที่พุ่งไปสู่เป้าหมายด้วยความเร็วที่สูงกว่าเกมเล่นอื่น ๆ ที่ใช้แร็กเก็ต เป็นลูกที่ใช้บีบบังคับให้คู่ต่อสู้ต้องตกเป็นฝ่ายรับ มีเวลาจำกัดสำหรับการเตรียมตัวตอบโต้ ลูกตบเป็นลูกฆ่า เป็นลูกทำแต้มที่ได้ผล ถ้ารู้จักใช้อย่างถูกต้อง


บทที่ 7 การตีลูกหลักในเกมแบดมินตัน - ลูกดาด
ลูกดาด (Drive) คือ ลูกดาดที่พุ่งเฉียดข้ามตาข่าย มีวิถีพุ่งข้ามขนานไปกับพื้นสนาม ผู้เล่นตีลูกดาดสูงในระดับอก ตีได้ทั้งหน้ามือโฟร์แฮนด์ และหลังมือแบ็คแฮนด์ทั้งจากด้านซ้ายและขวาของลำตัว

ที่มา //www.badmintonthai.or.th/howtoplay.html




 

Create Date : 16 พฤศจิกายน 2552    
Last Update : 16 พฤศจิกายน 2552 21:33:35 น.
Counter : 2603 Pageviews.  

เล่นเทนนิสอย่างไรให้ดีขึ้น

ทุก ๆ คนต่างก็อยากจะเล่นเทนนิสให้ดีขึ้นด้วยกันทั้งนั้น แต่จนแล้วจนรอดก็ยังทำให้ดีขึ้นไม่ได้ สาเหตุก็อาจเป็นเพราะนั่งดูตัวเองเล่นไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตามผมจะขอกล่าวถึงหลักการพิจารณาตัวเองขณะการเล่น ให้ลองสังเกตตัวเองดู เชื่อแน่ว่าคุณต้องมีจุดบกพร่องอยู่บ้างไม่จุดใดก็จุดหนึ่งคือ

1. ตาคุณมองลูกเทนนิสอยู่ตลอดเวลาขณะที่คุณเล่นหรือเปล่า เพราะส่วนใหญ่สายตาของผู้เล่นมักจะมองไปในทิศทางที่ใจปรารถนาตีลูกไปมากกว่า ที่จะมองลูก ซึ่งทำให้การตีลูกไม่กระทบตรงกลางหน้าไม้เท่าที่ควร
2. คุณจับไม้กระชับดีหรือเปล่า คุณจับไม้ถูกต้องตามหลักวิธีหรือไม่
3. เวลาคุณจะตีลูก คุณหันข้างให้เน็ตบ้างหรือไม่
4. น้ำหนักตัวของคุณโถมไปข้างหน้าตามลูกที่ตีไปบ้างหรือเปล่า
5. คุณเงื้อไม้เทนนิสในมือ คุณรอลูกหรือพอลูกมาถึงค่อยเงื้อไม้ การเงื้อไม้ช้าทำให้คุณตีลูกได้ไม่ดีเพราะคุณจะตีในจังหวะฉุกละหุกนั่นเอง
6. คุณร้อนรนในการตีลูกหรือเปล่า การร้อนรนหรือการเร่งจังหวะจะทำให้เสียจังหวะการตีลูกไปเสียหมด ทางที่ดีควรจะเงื้อไม้รอไว้ก่อน แล้วก็บรรจงตีลูกไปอย่างปราณีตที่สุด
7. เวลาคุณจะตีลูก คุณมีความมั่นใจขนาดไหน อย่างเช่นเวลาที่ลูกมาในทิศทางซึ่งคุณต้องตีโต้ด้วยแบคแฮนด์หรือในทิศทางใด ก็ตามที่คุณไม่ถนัด คุณกลัวหรือไม่ ความกลัวจะทำลายความมั่นใจของคุณ และเมื่อคุณไม่มีความมั่นใจแล้ว คุณก็จะตีลูกได้ไม่ดีเท่าที่ควรเช่นกัน
8. เวลาเล่น คุณยืนเตรียมพร้อมที่จะคอยตีลูกหรือไม่ การยืนเตรียมพร้อมที่ดีก็คือการยืนอย่างมั่นคง แต่พร้อมที่จะเคลื่อนไหวได้ด้วย ดังนั้นเวลาคุณยืนเตรียมพร้อม อย่ายืนเต็มฝ่าเท้า ควรยืนด้วยปลายเท้าหรือฟุตเวิร์คตลอดเวลา จะทำให้คุณสตาร์ตได้อย่างคล่องตัวและรวดเร็ว

จากจุดบกพร่องต่าง ๆ เหล่านี้ เชื่อว่าถ้าคุณแก้ไขได้โดยสมบูรณ์แล้ว ก็จะทำให้การเล่นเทนนิสของคุณดีขึ้นมากทีเดียว และวิธีที่จะทำให้ดีขึ้นได้นั้นก็คือการขยันฝึกซ้อมให้มาก ๆ พร้อมกับคอยแก้ไขตนเอง ถึงแม้ไม่มีผู้ฝึกสอนคุณก็อาจหาเพื่อนมาสักคนช่วยดูเวลาเล่นสังเกตตามข้อที่ กล่าวมาข้างต้น เฝ้าดูและคอยบอกว่าคุณยังผิดพลาดในจุดไหน ถ้ามีเวลาว่างพอ คุณก็อาจจะลองซ้อมตีลมดูตัวคุณเองที่หน้ากระจกบานใหญ่ในบ้านบ้างจะช่วยได้ มากทีเดียว แต่ต้องคอยระวังอย่าให้คนอื่นเขาเห็น เดี๋ยวเขาจะว่าเราประสาทเอาได้!

บทความโดย : นิตยสารเทนนิส
---------------------------------------------------------------------------------

ค่านิยมสังคมเทนนิส
แน่นอนว่าเวลาเราอยู่ในสังคมใดก็ตาม หากไม่รู้จักปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นก็อาจถูกจัดให้อยู่ในข่ายของบุคคลไม่ พึงประสงค์ได้ ต่อไปนี้เป็นมารยาทในการเล่นและแข่งขันเทนนิสเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เรานำมาฝาก จะได้ไม่ถูกแบนด์จากสังคมคนรักเทนนิส

1. อย่าพยายามพูดถึงข้อเสียในการตีลูกโฟรแฮนด์หรือแบคแฮนด์ของผู้ที่เล่นกับท่าน โดยที่เขาไม่ได้ถาม
2. อย่าพยายามพูดถึงชัยชนะของตนเองบ่อย ๆ ในวงสนทนา
3. อย่าคุยกับผู้ชนะว่า ท่านก็รู้จุดอ่อนของคู่ต่อสู้ของเขาเหมือนกัน
4. เวลาเล่นคู่กับคนที่เก่งกว่าท่าน อย่าแย่งเล่นคอร์ตแบคแฮนด์ นอกจากท่านถนัดมือซ้าย
5. เวลาหมดเกมคู่ อย่าหยุดกินน้ำหรือถ่วงเวลาการแข่งขัน

6. อย่าเดินทอดน่องผ่านหลังคอร์ตในขณะที่เขากำลังเล่นหรือแข่งขันอยู่
7. อย่าเล่นแต่เฉพาะกับมือดี ๆ เท่านั้น บางครั้งควรให้โอกาสแก่สุภาพสตรี เด็ก หรือมือที่อ่อนกว่าเล่นด้วยบ้าง
8. ถ้าคอร์ตอื่นมี 4 คนอยู่แล้ว คอร์ตท่านขาดคน อย่าพยายามไปตื๊อเขามา
9. เทนนิสเป็นเกมที่มีความสง่าและงดงาม ฉะนั้นอย่าลงไปในคอร์ตด้วยเสื้อผ้าที่เปื้อนเปรอะสกปรกหรือไม่เหมาะสม
10. ต่อหน้าแขก อย่าพยายามวิจารณ์ผู้เล่นที่มีชื่อเสียงให้เขาฟัง

11. อย่าออกความเห็นเกี่ยวกับลูกที่เราตีไปฝั่งตรงข้ามว่าดีหรือออก
12. อย่าพยายามพูดวิจารณ์เกมกับผู้แพ้ ถ้าเขาไม่ได้ถาม
13. เวลาพาร์ทเนอร์ตีไม่ดี อย่าซ้ำเติม เพราะทุกคนล้วนอยากเล่นให้ดีที่สุดกันทั้งนั้น
14. อย่าเล่นฟรี โดยไม่ยอมเสียค่าบำรุงให้แก่สมาคมหรือสโมสรนั้น ๆ ตามระเบียบ

บทความโดย : นิตยสารเทนนิส




 

Create Date : 16 พฤศจิกายน 2552    
Last Update : 16 พฤศจิกายน 2552 21:32:10 น.
Counter : 4389 Pageviews.  

วิธีการเลือกใช้ไม้เทนนิสให้เหมาะสม

การเลือกใช้ไม้เทนนิสให้เหมาะสมกับตัวเองมีความสำคัญมาก ไม้เทนนิสยี่ห้อหนึ่งอาจจะเหมาะสมกับคนหนึ่ง แต่อาจจะไม่เหมาะสมสำหรับอีกคนก็ได้ หลักการเลือกแรคเก็ตที่สำคัญที่สุดควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ คือ น้ำหนัก ขนาดของด้ามจับ น้ำหนักสมดุลย์ระหว่างหัวไม้กับด้ามจับ ชนิดของเอ็นและสีสัน ความแข็งกระด้างและความมีสปริงของไม้

น้ำหนักของไม้ จำเป็นที่ผู้ใช้จะต้องตัดสินใจในการเลือกซื้อให้ดี ให้มีความเหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด ไม่ใช่ใช้ไม้หนักเกินไปหรือเบาเกินไป อนึ่ง เราควรจะคิดถึงกำลังของตนเองด้วยว่าจะคอนน้ำหนักไปได้แค่ไหน เพราะบางทีในการเล่นเกมแรก ๆ ไม้ก็ยังเหมาะมือดีอยู่ แต่พอไปเกมหลัง ๆ ไม้ที่ใช้ชักหนักขึ้นทุกที ๆ เหล่านี้เป็นต้น ขนาดของด้ามจับควรกระชับฝ่ามือให้มีความถนัดในการจับมากที่สุด ไม่ควรใหญ่เกินไปหรือเล็กเกินไป การเลือกใช้ด้ามจับที่ตนเองไม่ถนัดมีส่วนในการที่ทำให้เล่นเทนนิสได้ไม่ดี เท่าที่ควรเช่นกัน

น้ำหนักสมดุลย์ระหว่างหัวไม้กับด้ามจับ ไม้เทนนิสแต่ละยี่ห้อจะมีความสมดุลย์ในเรื่องเหล่านี้แตกต่างกันไป อย่างเช่นไม้ยี่ห้อหนึ่งหนักที่หัวไม้มากกว่าด้ามไม้ แต่ไม้อีกยี่ห้อหนึ่งหนักที่ด้ามจับมากกว่าหัวไม้ ดังนั้นผู้เล่นก็ควรจะต้องพิจารณาดูตนเองว่าชอบเล่นแบบไหน เล่นอยู่ที่ท้ายคอร์ตหรือวอลเลย์ที่หน้าเน็ต เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ การใช้ไม้เทนนิสที่หนักหัวเล่นที่ท้ายคอร์ตจะทำให้การตีลูกเป็นไปอย่างแม่น ยำกว่า ้พราะน้ำหนักที่หัวไม้ช่วยในการส่งลูกได้ดีกว่า แต่พอใช้เล่นวอลเลย์ที่หน้าเน็ต ไม้ที่หนักหัวจะทำให้ตีลูกได้ช้ากว่าไม้ที่เบาที่หัวไม้ การที่ช้ากว่าแม้จะเพียงเสี้ยววินาที วินาทีก็ทำให้เกิดการตีลูกวอลเลย์ผิดจังหวะไปอย่างน่าเสียดาย

ความแข็งกระด้างและความมีสปริงของไม้ ความแข็งกระด้างและความมีสปริงของไม้ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะไม้แต่ละยี่ห้อมักมีสิ่งเหล่านี้แตกต่างกันไป ไม้เทนนิสที่แข็งกระด้างหรือมีสปริงให้สังเกตดูได้จากคอไม้เทนนิส ว่ามีความอ่อนหรือความแข็งมากแค่ไหน ถ้าแข็งก็แสดงว่ามีความแข็งกระด้างไม่มีสปริง ถ้าคออ่อนก็แสดงว่ามีสปริง ผลของการเล่นไม้ที่มีคุณสมบัติที่กล่าวมานี้ก็แตกต่างกัน คือไม้ที่แข็งกระด้างจะไม่ช่วยผ่อนแรงผู้เล่นเลย ในขณะที่ไม้ที่มีสปริงจะช่วยผ่อนแรงและส่งลูกให้ผู้เล่นได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามนักเทนนิสอาวุโสของวงการเทนนิสไทยผู้หนึ่งเคยบอกว่า ไม้ที่แข็งกระด้างก็มีข้อดีอยู่เหมือนกันสำหรับผู้ที่มีพลกำลังดี เพราะทำให้สามารถคำนวณแรงและตำแหน่งที่ตีไปได้ไม่ผิดพลาด

ชนิดของเอ็นที่ใช้กับไม้เทนนิส ชนิดของเอ็นมีอยู่หลายอย่างด้วยกัน คือเอ็นแท้ เอ็นเทียม และเอ็นไนลอน ซึ่งยังมีจำแนกออกไปอีกหลาย ๆ อย่างตามยี่ห้อซึ่งมีอยู่หลายยี่ห้อ คุณสมบัติของเอ็นที่กล่าวถึงนี้แตกต่างกันมาก คือเอ็นแท้จะมีสปริงมากกว่าเอ็นเทียม และเอ็นเทียมจะมีสปริงมากกว่าไนลอน แต่เอ็นไนลอนมีความคงทนมากกว่าเอ็นเทียม และเอ็นเทียมมีความคงทนมากกว่าเอ็นแท้ เอ็นจำพวกมีสปริงมาก ๆ เหมาะสมสำหรับไม้ที่มีความกระด้าง เอ็นที่มีสปริงน้อยก็เหมาะกับไม้ที่มีสปริงมาก หรือเป็นไปตามใจของผู้เล่น ว่าต้องการความมีสปริงมากแค่ไหน และใช้ไม้อย่างไร ความตึงของของการขึ้นเอ็นก็สำคัญไม่น้อยเลย ปกติแล้วร้านกีฬาในเมืองไทยจะขึ้นเอ็นตึงอย่างมากแค่ 60-70 ปอนด์ ซึ่งความจริงแล้วไม้สมัยใหม่ยังขึ้นได้ตึงกว่านั้นอีก นักเทนนิสระดับโลกมักขึ้นเอ็นตึง ๆ เพราะการขึ้นเอ็นหย่อนจะทำให้มีความยืดหยุ่นมากเกินไป และเอ็นมักรวนเวลาเล่นลูกสปริง แต่การขึ้นเอ็นตึง ๆ นั้นบางคนก็บ่นว่าทำให้มีความกระด้างและเอ็นก็จะขาดง่ายอีกด้วย

สีสันของไม้เทนนิส บางคนคิดว่าสีสันเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะจากการวิจัยพบว่าสีสันอันสวยงามของไม้เทนนิสมีผลทางจิตวิทยากับผู้เล่น อย่างมากมาย เช่นเดียวกับทฤษฎีที่ว่าสีมีอิทธิพลเหนือจิตใจมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น คุณมีไม้ที่คุณชอบและเล่นอยู่เป็นประจำทุกวัน แต่ต่อมาเพื่อนคุณไปซื้อแรกเก็ตใหม่มาอวด แรคเก็ตเพื่อนคุณนั้นมีสีสันสวยงาม และดูกะทัดรัดเหมาะมือดี ตอนนี้คุณก็จะเริ่มมองไม้ของคุณด้วยสายตาที่เปลี่ยนไป ต่อมาเมื่อคุณมีโอกาสยืมไม้อันนั้นมาเล่นดูบ้างด้วยจิตใจของคุณที่จดจ่ออยู่ กับความสวยงามของมัน คุณก็เลยถูกอกถูกใจไปกับไม้อันนั้น ซึ่งผลของความถูกอกถูกใจจะทำให้คุณรู้สึกได้ว่าตีได้ดีขึ้น ผลสะท้อนก็กลับกลายเป็นว่าไม้อันเดิมของคุณไม่เอาไหนเลยนั่นเอง
หลัก การสำคัญ ๆ ในการเลือกไม้เทนนิสประจำตัวก็มีเท่านี้ บางคนเล่นเทนนิสมานาน เมื่อเปลี่ยนไม้ดูก็พบว่าตีได้ดีขึ้น โดยพิจารณาจากหลักการกว้าง ๆ ข้างต้นนี้เอง
บทความโดย : นิตยสารเทนนิส




 

Create Date : 16 พฤศจิกายน 2552    
Last Update : 16 พฤศจิกายน 2552 21:31:12 น.
Counter : 842 Pageviews.  

การ์ตูนภาษาอังกฤษ


discreet สุขุม ระมัดระวัง
Z's หลับ


inadvertently โดยไม่เจตนา
deodorant ยาระงับกลิ่นตัว


impress สร้างความประทับใจ
toenail clippers กรรไกรตัดเล็บ



in charge of รับผิดชอบในหน้าที่




 

Create Date : 21 มิถุนายน 2552    
Last Update : 21 มิถุนายน 2552 23:15:24 น.
Counter : 2441 Pageviews.  

1  2  

ayuhi292
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ayuhi292's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.