Group Blog
 
All Blogs
 
thinking model(๔)


อารมณ์(emotion)


จากรูป จะเห็น emotion ดูด้านบน
emotion มีผลต่อทุกๆขั้นตอนของกระบวนการคิด ตั้งแต่ ข้อมูล(input) กระบวนการคิดทั้งหมด(process) และผล(out put)
emotion แบ่งออกได้เป็นสองระดับ

1. ส่วนตัว

เช่นเมื่อคืนอดนอน ตอนเช้าท้องเสีย ตอนมาทำงานรถติด อารมณ์หงุดหงิดไม่สบาย จึงเกิดขึ้นแต่เป็นอารมณ์ของบุคคลคนนั้นเท่านั้น

2. ส่วนรวม

ในบางครั้งสามารถเกิดขึ้นกับคนส่วนใหญ่ในเวลาเดียวกัน (จิตวิทยามวลชน)
บางครั้งเป็นความรู้สึกร่วมที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ(เหล่าอาสาสมัครที่เข้าไปช่วยเหลือเหยื่อสึนามิ) แต่หลายๆครั้งก็สามารถถูกสร้างขึ้นได้ผ่านกระบวนการคิดและเตรียมการอย่างรอบคอบ

หลายๆครั้งในเชิงธุรกิจ ท่านจะได้ยินคำว่า อย่าใช้อารมณ์ หรืออย่าเอาอารมณ์มาอยู่เหนือเหตุผล
แต่ในความเป็นจริงเป็นเรื่องที่ยากมากเพราะโดยแท้จริงแล้ว อารมณ์ เป็นเหตุผล และท่านจะเห็นได้ชัดอย่างยิ่งในวิธีทางการตลาด ผู้บริโภคเลือกดูสินค้าด้วยเหตุผล(แชมพูที่บ้านหมด)แต่ตัดสินใจด้วยอารมณ์(เอายี่ห้อนี้ก็แล้วกัน)

บางท่านอาจจะโต้แย้งว่า การตัดสินใจช่วงสุดท้ายเป็นเรื่องของการประมวลความคุ้มซึ่งเป็นเรื่องของเหตุผล… อาจจะมีบ้างครับแต่หากท่านลองตั้งสติให้มั่นแล้วคิดย้อนกลับไป จริงๆแล้วท่านจะพบว่าท่านตัดสินใจขั้นสุดท้ายด้วยความเชื่อครับ ความเชื่อจากข้อมูลข่าวสารทางการตลาดที่ส่งออกมาตอกย้ำความน่าเชื่อนั้น(ขจัดรังแค,ผมนุ่มสลวย,เงางาม,ฯลฯ) และความเชื่อเป็นอารมณ์ครับ

ผมไม่ได้หมายความว่าคำพูด “อย่าเอาอารมณ์มาอยู่เหนือเหตุผล” ไม่ถูกต้อง
ในแง่หนึ่งมันถูกต้องมากๆเลยครับ เพราะโดยส่วนใหญ่อารมณ์มีความเป็นปัจเจกสูงมาก ในเมื่อแต่ละคนมีพื้นฐานทั้งวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน(มากบ้างน้อยบ้าง) สภาพสังคมที่ต่างกัน พื้นฐานการศึกษาที่ต่างกัน ประสบการณ์ในชีวิตที่ต่างกัน

ในช่วงเวลาหนึ่ง อารมณ์อาจจะเหมือนกัน(ผลทางอารมณ์ ซึ่งนำไปสู่การกระทำที่ ใกล้เคียงกัน) แต่เมื่อเวลาผ่านไป การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ย่อมแตกต่างกันเนื่องจากพื้นเพที่ต่างกันนั่นเอง และส่งผลให้ ผลของอารมณ์นั้นแตกต่างกันไปในแต่ละคน และยิ่งยากที่จะคาดเดาว่าตัวอารมณ์เองนั้นเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด(บางคนรุนแรงขึ้น บางคนสงบลง บางคนจากเสียใจกลายเป็นโกรธ บางคนจากเสียใจกลายเป็นน้อยใจ) การคาดเดาอาจจะสามารถกระทำเป็นเฉพาะบุคคลได้ แต่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในการคาดการณ์เชิงมวลชน นอกจากจะมีการชี้นำอย่างสม่ำเสมอ

ฉะนั้นการนำ อารมณ์ มาเป็นปัจจัยในกระบวนการคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การคาดการณ์ อารมณ์ ของผู้อื่นเป็นเรื่องที่ยากมากๆครับ
ยกตัวอย่างเช่น พนักงานต้อนรับเห็นลูกค้าเดินเข้ามาในร้าน (input) เขาต้องทำอย่างไรเพื่อจะ please ลูกค้า(เริ่มต้นกระบวนการคิด) พนักงานอาจจะมองรสนิยมลูกค้าจากการแต่งกาย(information เพิ่มเติม) สีหน้าเพื่อประเมินอารมณ์(information เพิ่มเติม) … ความยากอยู่ตรงนี้ครับ … การแสดงออกทางอารมณ์ของแต่ละคนต่างกัน และผลของอารมณ์นั้นของแต่ละคนก็แตกต่างกัน

นี่คือตัวอย่างของอารมณ์จากภายนอก
หากเป็นอารมณ์ภายใน คือ อารมณ์ ที่เกิดแก่ผู้คิดเอง สิ่งที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นการจับประเด็น(analysis)ที่ผิดพลาด การแตกหาความสัมพันธ์(synthesis)ที่ผิดพลาด(วันนี้อารมณ์ไม่ดี เกลียดลูกค้ารายนี้ อย่าไปทำให้มันเลย มันไม่ชอบหรอก) ซึ่งหลายๆครั้ง อารมณ์ อาจจะมาจากประสบการณ์(ที่ผ่านมา) หรือ ทัศนคติ(attitude) อันเนื่องมาจากกระบานการคิดของเราเองที่ผ่านๆมานั่นเอง

ประเด็นคือ ไม่ใช่ตัดอารมณ์ออกจากกระบวนการคิดโดยสิ้นเชิง แต่ให้คงความตระหนักรู้ อยู่เสมอว่า ส่วนใดเป็นอารมณ์ ส่วนใดเป็นข้อมูลดิบ ทั้งสองส่วนสามารถเก็บเพิ่มเติม มีผลส่งเสริมกัน หรือ หักล้างกันได้อยู่เสมอ ซึ่งหากข้อมูลและอารมณ์มีผลหักล้างกัน นั่นหมายความว่าท่านควรจะหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น เนื่องจากทั้งอารมณ์และข้อมูลสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามกาลเวลานั่นเอง


Create Date : 26 มีนาคม 2550
Last Update : 26 มีนาคม 2550 11:13:27 น. 0 comments
Counter : 422 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ยังอยากเป็นคนไทยอยู่
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ยังอยากเป็นคนไทยอยู่'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.