Group Blog
 
All Blogs
 
thinking model(๕)


แนวคิดที่สำคัญของกระบวนการคิด


ความตระหนักรู้ มีสติ


การมีอารมณ์ หรือ การใช้ ข้อมูลสะสม(inner data) ไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่พึงรู้ไว้เสมอว่า นี่คืออารมณ์นะ นี่คือข้อมูลเก่านะ
หลายครั้งเมื่อมีระยะเวลาที่จำกัด หรือ เพื่อลดระยะเวลา(เพิ่มประสิทธิภาพ) เราเข้าข้อมูลเก่า(inner data) เป็นข้อสรุปโดยทันที เช่น
นักธุรกิจ มองดูตัวเลขทางการเงิน เขาอาจจะบอกว่าปลายปีสถานะทางการเงินจะไม่ดี(เพราะมันเป็นอย่างนี้ทุกปี)
อาจจะถูก และอาจจะผิด เพราะแต่ละปีมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย ถ้ามองแล้วว่า ตัวเลขรายรับ รายจ่าย การผลิต ใกล้เคียงปีก่อนๆ บทสรุปนี้ก็อาจจะถูก
แต่ ตัวแปรอื่นๆถูกนำมาคิดร่วมด้วยหรือไม่ สภาพเศรษฐกิจโลก ค่าเงินที่เปลี่ยนแปลง อัตราการถดถอยของประเทศคู่ค้า
บทสรุปอาจจะไม่ไช่ “เหมือนปีที่แล้ว” ข้อสรุปที่ได้อาจจะเป็น “แย่กว่าปีที่แล้ว และจะแย่ลงเรื่อยๆ”
สัญญาณเตือนภัยที่ดีกว่า คือสัญญาณเตือนที่มาในเวลาที่เหมาะสม มีเวลาให้เปลี่ยนแปลงและปรับตัว ไม่ใช่หรือ

ความยืดหยุ่น และ การแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา


ต้องเข้าใจว่าทุกสิ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอ สิ่งที่เราเคยรู้อาจจะผิดก็ได้
เปิดใจ ไม่ทำตัวเป็นชาล้นถ้วย
เช่นเดียวกับตัวอย่างข้อแรก
ข้อมูลเก่า สามารถนำมาใช้ได้ในเชิงสถิติ แต่ไม่ใช่นำมาใช้สรุป เนื่องจากข้อมูลใหม่ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

เนื่องจากในกระบวนการคิด มักเกิดข้อมูลป้อนกลับเสมอ
ดังที่ว่า ข้อมูลใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา
แต่ไม่ได้หมายความว่า เก็บข้อมูลไปชั่วชิวิตไม่ตัดสินใจอะไรสักอย่าง
เพราะ การตัดสินใจแต่ละครั้งมีกรอบเวลาเสมอ
จงตัดสินใจ(สรุป) เมื่อถึงเวลาที่ต้องตัดสินใจ(สรุป) อาจจะไม่ถูกต้อง 100% ยิ่งไม่มีทางถูกต้องตลอดกาล
กาลเวลาที่เปลี่ยนไป ข้อมูลที่เปลี่ยนไป เงื่อนไขทางสังคมที่เปลี่ยน
การตัดสินใจ(สรุป) ที่ถูกต้องเมื่อ สามปีที่แล้ว อาจจะไม่สามารถนำมาใช้ได้ในปัจจุบัน

แต่เมื่อเวลามาถึง(ต้องตัดสินใจ ต้องสรุป) นั่นคือสิ่งที่คุณต้องทำ ณ เวลานั้น

การฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ


skill ทั้งหลาย เช่น

1. การตรวจสอบข้อมูล :
ลองอ่านข่าวจากหล่ายๆแหล่ง การฟังเสียงจากทุกๆฝ่าย ในเบื้องต้นอาจจะเป็นเรื่องยากที่จะต้องไปรับรู้ข้อมูลที่ขัดแย้งกับความคิดตน(inner data) แต่นี่เป็นสิ่งจำเป็น ทุกๆข้อมูลที่เข้ามาจะค่อยๆลำดับความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล รวมถึงความสามารถในการวิเคราะห์แหล่งข้อมูล เช่น แหล่งข้อมูลมีอคติหรือไม่(inner data และ emotion ของแหล่งข้อมูล)
2. การวิเคราะห์ข้อมูล :
นำข้อมูลที่ได้มาแยกแยะ ส่วนไหนเป็นอารมณ์ ส่วนไหนเป็นเหตุผล ส่วนไหนเป็นข้อมูลเก่า(inner data ของแหล่งข้อมูล)
จากนั้น จับให้ได้ว่า ส่วนใดเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราต้องตัดสินใจ(สรุป) อีกวิธีคือ การหัดย่อความ และการอ่านเอาเรื่อง
3. การสังเคราะห์ข้อมูล :
การมองออกจากข้อมูลที่ได้รับ การมองให้กว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้(แน่นอน ด้วยกรอบเวลาที่มี และข้อมูลที่ได้ สิ่งเหล่านี้สามารถค่อยๆสะสมได้)
เมื่อฝึกฝนไปเรื่อยๆ ผู้คิดจะพบว่า สิ่งใดที่ควรจะมองเพิ่มเติมในกระบวนการคิดในแต่ละเรื่อง ซึ่ง ในการคิดบางเรื่อง ก็ไม่จำเป็นต้องมองให้ครบทุกเรื่อง เช่นถ้าคุณกำลังตัดสินใจจะซื้อ คอนโดกลางเมือง ก็คงไม่ต้องพยายามมองว่าจะมีผลกระทบอะไรต่อชาวไร่ชาวนาที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นต้น
ศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องนี้ได้โดยหาอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับ system thinking
4. การสรุป รวบรวม :
หลายๆครั้งคุณอาจจะพบว่า ข้อสรุปไม่ตรงกับข้อมูลที่วิเคราะห์ออกมา หรือ ไม่ตรงกับประเด็นที่ตั้งไว้ตอนแรก
เกิดอะไรขึ้นหรือ
คุณอาจจะตั้งประเด็นผิด ไม่ก็ สรุปผิด
ไม่ครับ ถ้าไม่ตรงกันต้องถือว่าข้อสรุปผิด เพราะคุณต้องมีประเด็นก่อน คุณถึงจะสรุปได้

ทั้งหมดล้วนเป็นสิ่งที่สามารถฝึกฝน และ เรียนรู้เพิ่มเติมได้ ซึ่งต้องอาศัยความยืดหยุ่นดังที่กล่าวมาข้างต้น

< จบแล้ว>



Create Date : 26 มีนาคม 2550
Last Update : 26 มีนาคม 2550 11:13:51 น. 0 comments
Counter : 738 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ยังอยากเป็นคนไทยอยู่
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ยังอยากเป็นคนไทยอยู่'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.