Free to read , to write , Free to live, live it free!! - เพื่ออิสรภาพทางการเงิน**
Group Blog
 
All Blogs
 
ชำแหละค่า P/E และ Growth VS Value


Money Game : ชำแหละค่า P/E


นักลงทุนทุกท่านคงเคยได้ยินอย่างสม่ำเสมอว่าหุ้นไทย P/E ถูกมาก ซึ่ง P/E
ของ SET ไทยปัจจุบันอยู่ที่ 9-10 เท่า ซึ่งอาจจะถูกเป็นอันดับต้นๆ
ของภูมิภาคแถวนี้



การใช้ราคาปิดต่อหุ้น/กำไรต่อหุ้น (P/E Ratio)
เป็นค่าวัดความน่าสนใจในการลงทุนว่า นักลงทุนเต็มใจซื้อหุ้นในราคาเท่าใด
เพื่อแลกกับกำไร และเงินปันผลที่จะได้รับในอนาคต
และหุ้นตัวนั้นจะใช้เวลากี่ปีที่ผลตอบแทน
หรือกำไรที่บริษัททำได้จะรวมกันเท่ากับเงินทั้งหมดที่ใช้ซื้อหุ้นไป
กำไรต่อหุ้น (Earning per share หรือ EPS) ที่คิดในสูตรของ P/E Ratio
จะต้องเป็นกำไรในอนาคต หรือปีที่ n+1
เนื่องจากราคาหุ้นจะสะท้อนถึงผลการประกอบการในอนาคต
และต้องเป็นกำไรก่อนรายการพิเศษ
เพื่อได้ค่าที่ถูกต้องในการคำนวณราคาหุ้นตามปัจจัยพื้นฐานบริษัท


นักลงทุนบางท่านคงจะสงสัยว่าทำไมบางบริษัทถึงมี P/E ถูกมาก
แต่หุ้นไม่ได้ไปไหนเลย หรือบางบริษัท P/E แพงมาก
และยังคงแพงอยู่อย่างนั้นราคาหุ้นไม่ยอมปรับตัวลงเลย แท้จริงแล้วค่า P/E
มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมาก การที่บริษัทต่างๆ ต้องการที่จะให้ค่า P/E
ของตัวเองเพิ่มขึ้น เพื่อที่จะเพิ่มความมั่งคั่ง (Wealth)
ผู้ถือหุ้นของตนเองจะต้องเข้าใจปัจจัยที่ขับดัน (Drives) ของค่า P/E ดังนี้


ปัจจัยภายนอก ซึ่งบริษัทไม่สามารถควบคุมได้ เช่น อัตราดอกเบี้ย
ในภาวะดอกเบี้ยขาลง นักลงทุนจะมีความอดทน (Tolerance) ต่อหุ้นที่มี P/E
สูงๆ ได้ เพราะนักลงทุนจะให้ความสนใจในอัตราการเติบโต (Growth)
มากกว่าความถูกหรือแพงของราคาหุ้นนั้น ในทางกลับกันถ้าดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น
หุ้นที่ P/E สูงๆ จะมีราคาตกต่ำอย่างรวดเร็ว



ปัจจัยภายในบริษัท จะประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ความเสี่ยง (Market risk
premium) อัตราการเติบโตของกำไร และผลตอบแทนของการลงทุนของบริษัท


ส่วนที่หนึ่ง : โดยปกติความเสี่ยง (Market risk premium) จะมีผลต่อต้นทุนในการลงทุน ซึ่งประกอบด้วย (เรียงจากน้ำหนักมากไปหาน้อย)


1) ความเสี่ยงของสินทรัพย์ในการลงทุน ซึ่งมีน้ำหนักของความเสี่ยงมากสุด เช่น ภาวะอุตสาหกรรมสินค้า และธุรกิจ


2) ความเสี่ยงทางด้านการเงิน (Financial leverage) บริษัทที่ต้องการเพิ่ม
P/E อาจจะต้องมีการเพิ่มหนี้ หรือ Debt
แต่ต้องไม่มากเกินไปที่จะทำให้บริษัทล้มละลาย


3) ความเสี่ยงจากการดำเนินงาน (Operational leverage)
บริษัทที่มีต้นทุนคงที่มากเกินไป (Fixed cost)
จะมีความเสี่ยงต่อการขาดทุนสูงในกรณีเศรษฐกิจขาลง คือ
ต้นทุนไม่เพียงพอต่อยอดขาย



4) ปัจจัยเฉพาะในประเทศ (Country risk) เช่น ภาวะการเมือง


5) ความเสี่ยงของตัวผู้บริหาร


6) ความเสี่ยงจากสภาพคล่องในการลงทุน เช่น เวลาซื้อ-ขายหุ้นจะไม่มีสภาพคล่องเพียงพอ


7) ความเสี่ยงจากความไม่สม่ำเสมอของกระแสเงินสด เช่น ในกรณีธุรกิจซึ่งเป็น Cyclical


8) ความเสี่ยงจากผู้ถือหุ้น


9) ความเสี่ยงจากกลยุทธ์ในการดำเนินงาน


ถ้าลดความเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้ นักลงทุนจะมีความมั่นใจในการเพิ่มค่า P/E ให้บริษัทนั้น


ส่วนที่สอง ผลตอบแทนการลงทุน จะมีน้ำหนักในการกำหนดทิศทาง P/E คือ
ถ้าบริษัทลงทุนในธุรกิจที่ใหม่ให้ผลตอบแทนต่ำกว่าธุรกิจเดิมไม่ว่าจะวัดใน
แง่ของผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น (Return on equity หรือ ROE)
หรือวัดในแง่ต้นทุนของหุ้นทุน (Cost of equity) นักลงทุนจะให้ P/E
ที่ต่ำกับบริษัทนั้น


กรณีที่สาม ถ้ากำไรบริษัทเพิ่มขึ้น นักลงทุนให้ P/E ที่สูงกับบริษัทนั้น


กล่าวโดยสรุป สำหรับผู้ประกอบการหรือบริษัทจดทะเบียน การที่ต้องการ Wealth
ตัวเองเพิ่มขึ้น จะต้องเข้าใจพฤติกรรมการให้มูลค่าหุ้นจากนักลงทุน
บริษัทจะต้องแสวงหาการเติบโต
และการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าผลตอบแทนผู้ถือหุ้น
และต้นทุนหุ้นทุนของผู้ถือหุ้นในปัจจุบัน


Money Game : Growth VS Value


กลยุทธ์ลงทุนใน Growth stock (หุ้นเติบโตสูง) หรือ Value stock
(หุ้นที่เน้นมูลค่า ในทางปัจจัยพื้นฐาน หรือ Cheap valuations)
ซึ่งจะเป็นเหรียญสองด้าน ซึ่งเดินขนานกันในบางจังหวะของการลงทุน
การลงทุนใน Growth stock จะให้ผลตอบแทนสูง แต่ในบางจังหวะการลงทุนใน Value
stock จะให้ผลตอบแทนสูงกว่า
เนื่องจากการลงทุนในหุ้นจะขึ้นอยู่กับการคาดหวัง และการคาดการณ์
(Perception) มากกว่าความเป็นจริง (Reality)



นักลงทุนที่ชาญฉลาดจะต้องคาดการณ์ที่เหนือความคาดหมายของตลาดให้ได้
(Earning surprises) และทิศทางของการปรับเปลี่ยนผลดำเนินงาน (Directions
of revisions to consensus exceptions) การหาจังหวะลงทุนให้ถูกต้อง
ซึ่งสามารถหาได้จาก “วงจรการคาดหวังของผลกำไร” (Earnings Expectations
Life Cycles) ดังนี้


จากวงจรดังกล่าว นักลงทุนที่เน้น Growth (หุ้นเติบโตสูง)
จะเริ่มศึกษาการลงทุนในหุ้นทันทีที่นักวิเคราะห์เริ่มปรับประมาณการกำไรขึ้น
ในขณะที่นักลงทุนประเภทเน้นมูลค่าเริ่มศึกษาการลงทุนทันทีที่นักวิเคราะห์
ปรับผลการดำเนินงานลง ซึ่งจะเห็นว่านักลงทุนเน้น Growth
และนักลงทุนเน้นมูลค่า (Value) จัดเป็นเหรียญ 2 ด้านซึ่งเดินขนานกัน

นักลงทุนที่เน้น Growth จะต้องค้นหาหุ้นที่มี Growth Momentum คือ
ผลกำไรเติบโตต่อเนื่อง เมื่อไรก็ตามที่ Growth Momentum ลดลง
หุ้นนั้นจะไม่เป็นที่น่าสนใจเลย
โดยปกติหุ้นที่เน้นการเติบโตจะมี 4 ประเภท
คือ


หนึ่ง.. ประมาณการของผลกำไรเติบโตมาก (Projection Earnings Growth)


สอง.. การปรับผลกำไรให้สูงขึ้นของนักวิเคราะห์ในหุ้นนั้น (Upward Earning Revision)


สาม.. ผลกำไรออกมาดี และ Surprise ตลาด (Positive Earnings Surprise)


และ สี่.. หุ้นที่ผลกำไรต่อเนื่อง (Earnings Momentum)


จากการศึกษาในการเคลื่อนไหวของหุ้นในอดีต
ราคาหุ้นจะตอบสนองต่อกรณีที่สองและสามมากที่สุด นั่นคือ
การปรับประมาณผลกำไรเพิ่มขึ้นของนักวิเคราะห์ และการที่หุ้นที่มีผลกำไรที่
Surprise นักลงทุน ในขณะที่นักลงทุนที่เน้นมูลค่า (Value)
จะค้นหาหุ้นที่ถูกลืมและมีความคาดหวังต่ำ (Low expectation) เผื่อถ้ามี
Earning surprise ขึ้นมา หุ้นตัวนั้นจะปรับตัวขึ้นทันที

มีงานวิจัยที่ผมได้ศึกษามา ปรากฏการณ์ที่น่าสนใจดังนี้คือ
หุ้นที่เน้นมูลค่า (Value stocks) จะให้ผลตอบแทนที่สูง ในสามกรณีดังนี้คือ


หนึ่ง ผลกำไรของหุ้นทั่วไปในตลาดหลักทรัพย์ดีต่อเนื่อง (Continued earnings momentum)


สอง การคาดการณ์ของดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น และ


สาม การจ่ายเงินปันผลเพิ่ม สัดส่วนรายได้ลง (Payout Ratio)
อย่างเช่นหุ้นบ้านเราในช่วงสองปี (ปี พ.ศ. 2547 และปี 2548) ที่ผ่านมา
หุ้นที่ P/E ต่ำจะให้ผลตอบแทนสูง ในขณะที่หุ้นเติบโตสูง (Growth stocks)
จะให้ผลตอบแทนสูงในกรณีดังต่อไปนี้


หนึ่ง.. ผลกำไรของหุ้นทั่วไปในตลาดหลักทรัพย์เริ่มลดลง
ทำให้หุ้นที่มีการเติบโตโดดเด่นจะได้รับความสนใจเป็นพิเศษ สอง..
การคาดการณ์ว่าดอกเบี้ยจะลดลง
และการจ่ายเงินปันผลเทียบสัดส่วนของรายได้เพิ่มขึ้น (Rising Ratio)






Free TextEditor


Create Date : 24 กรกฎาคม 2552
Last Update : 24 กรกฎาคม 2552 18:59:17 น. 0 comments
Counter : 990 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

MakotoN
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




สวัสดีครับ

เพิ่งเริ่มเล่นหุ้น มือใหม่ฝากตัวด้วยครับ
กำลังศึกษาเรื่องการลงทุนในตลาดหุ้นอยู่


บลอกแห่งนี้มีไว้แปะข้อมูล บทความต่างๆ ที่ผมพบเจอในเว็บไซต์ต่างๆ
ที่ผมเห็นว่า มีประโยชน์ และรวมรวมมาจากที่ต่างๆ มากมาย

บทความทั้งหมด ผมจะพยายามใส่เครดิตที่มาไว้นะครับ
บทความไหนถ้ามีลืมใส่ไปก็แจ้งเข้ามาได้นะครับ บางทีรีบแล้วลืมใส่


...



อาจจะมีแปะเรื่องอื่นๆบ้าง แล้วแต่อารมณ์

ยังไงก็เข้ามาเยี่ยมชมบ่อยๆ นะครับ รับรองว่าได้ความรู้ติดไม้ติดมือกลับไปแน่นอน *-*
Friends' blogs
[Add MakotoN's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.