ความรู้คู่ความก้าวหน้า
 
IP address ตอนที่ 3 - การแบ่ง Class ให้กับ IP address ขั้นพื้นฐาน (ก่อนครับ)

จาก IP address ตอนที่ 2 ที่ผมได้ทิ้งท้ายเป็นคำถามไว้ว่า

"ทำไม Network ID ของ นางสาว A เป็น 10 แล้วทำไม Network ID ของนาย B จึงไม่เป็น 172 หรือทำไม Network ID ของนางสาว A ไม่เป็น 10.1 ก็ในเมื่อ Network ID ของนาย B ยังเป็น 172.16 เลย?"

หมายเหตุ หากใครยังไม่ได้อ่านตอนที่สอง ผมขอกล่าวคร่าวๆ อย่างนี้ครับ
- IP address แบ่งเป็นตัว 4 ชุด แต่ละชุดจะถูกขั้นด้วยจุด เช่น 10.1.1.1 หรือ 172.16.1.1 แล้วมีการแบ่ง IP address ออกเป็น Network id กับ Host id โดย
- 10.1.1.1 มี Network id = 10 และ Host id = .1.1.1
- 172.16.1.1 มี Network id = 172.16 และ Host id = .1.1
จึงเกิดคำถามทิ้งท้ายในตอนที่สองว่า "เราจะใช้เกณฑ์อะไรในการแบ่ง Network id กับ Host id"

ก่อนที่เราจะไปหาคำตอบกันว่าอะไรเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง Network id กับ Host id ให้กับ IP address เรามาทำข้อตกลงในเรื่องของ ชุดของ IP address เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน ก่อนที่จะไปเรียนรู้เรื่องถัดไป กันสักนิดดังนี้ครับ

1. IP address 1 เบอร์ จะประกอบไปด้วยตัวเลขทั้งหมด 4 ชุด แต่ละชุดจะถูกคั่นด้วยจุด เช่น 10.1.1.1 หรือ 172.16.1.1
2. ผมขอเรียกชื่อแต่ละชุดดังนี้ครับ
IP address: ชุดที่ 1 . ชุดที่ 2 . ชุดที่ 3 . ชุดที่ 4
(สำหรับคนที่เคยเรียนเลขฐานสองมา เราจะเรียกเป็น Bytes หรือ Octet)
3. ตัวเลขที่เป็นไปได้ในแต่ละชุดคือ 0 ถึง 255 (ที่มานั้นขอข้ามไปกล่าวในภายหลังในหัวข้อประมาณ "เลขฐานสอง" ครับ) ดังนั้น IP address จึงมีความน่าจะเป็นคือ 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255 ครับ

เอาล่ะครับ มาถึงคำเฉลยกันเลยครับ (แบบขั้นพื้นฐานก่อนนะครับ!!!!)

เกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง Network id กับ Host id ให้กับ IP address นั้นก็คือ การแบ่งโดยอิงตาม Class ครับ

IP address ได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 class คือ Class A, Class B และ Class C ซึ่งแต่ละ Class จะมีการกำหนดไว้ดังนี้ครับ

Class A:
- Network id = IP address ชุดที่ 1
- Host id = IP address ชุดที่ 2, 3 และ 4
(Network . Host . Host . Host)
- Subnet mask = 255.0.0.0 (อันนี้ขอกล่าวไว้ก่อนสำหรับคนที่พอมีความรู้มาบ้างแล้ว แต่จะกล่าวอย่างละเอียดในตอนอื่นๆ ครับ)
ถาม จะรู้ได้ไงว่า IP address อะไรอยู่ใน Class A
ตอบ ให้สังเกตที่ตัวเลขที่อยู่ตรง IP address ชุดที่ 1 (จากสี่ชุด) จะเป็นตัวเลขตั้งแต่ 1 ถึง 126
หมายเหตุ สำหรับ IP address ชุดที่ 1 คือ 127 (127.x.x.x) ได้ถูกจองไว้ใช้งานเป็น loopback address ซึ่งสามารถไปดูรายละเอียดได้ใน IP address ตอนที่ 6 นะครับ
ตัวอย่าง
10.1.1.1 = Class A, Network id = 10, Host id = .1.1.1
100.220.100.4 = Class A, Network id = 100, Host id = .220.100.4
126.110.154.5 = Class A, Network id = 126, Host id = 110.154.5

Class B:
- Network id = IP address ชุดที่ 1 และ 2
- Host id = IP address ชุดที่ 3 และ 4
(Network . Network . Host . Host)
- Subnet mask = 255.255.0.0 (อันนี้ขอกล่าวไว้ก่อนสำหรับคนที่พอมีความรู้มาบ้างแล้ว แต่จะกล่าวอย่างละเอียดในตอนอื่นๆ ครับ)
ถาม จะรู้ได้ไงว่า IP address อะไรอยู่ใน Class B
ตอบ ให้สังเกตที่ตัวเลขที่อยู่ตรง IP address ชุดที่ 1 (จากสี่ชุด) จะเป็นตัวเลขตั้งแต่ 128 ถึง 191
ตัวอย่าง
128.100.200.1 = Class B, Network id = 128.100, Host id = .200.1
172.16.1.1 = Class B, Network id = 172.16, Host id = .1.1
191.111.123.4 = Class B, Network id = 191.111, Host id = .123.4

Class C:
- Network id = IP address ชุดที่ 1, 2 และ 3
- Host id = IP address ชุดที่ 4
(Network . Network . Network . Host)
- Subnet mask = 255.255.255.0 (อันนี้ขอกล่าวไว้ก่อนสำหรับคนที่พอมีความรู้มาบ้างแล้ว แต่จะกล่าวอย่างละเอียดในตอนอื่นๆ ครับ)
ถาม จะรู้ได้ไงว่า IP address อะไรอยู่ใน Class C
ตอบ ให้สังเกตที่ตัวเลขที่อยู่ตรง IP address ชุดที่ 1 (จากสี่ชุด) จะเป็นตัวเลขตั้งแต่ 192 ถึง 223
หมายเหตุ สำหรับ IP address ชุดที่ 1 ตั้งแต่ 224 ถึง 255 ได้ถูกจองเอาไว้ใช้งานอย่างอื่น เช่น Multicast address เป็นต้น (ซึ่งจะยังไม่ขอกล่าวอะไรมากในตอนนี้)
ตัวอย่าง
192.168.211.8 = Class C, Network id = 192.168.211, Host id = .8
200.123.9.81 = Class C, Network id = 200.123.9, Host id = .81
223.255.129.247 = Class C, Network id = 223.255.129, Host id = .247

มาถึงตรงนี้น่าจะทำให้พอเข้าใจได้แล้วว่าทำไม 10.1.1.1 จึงมี Network id = 10, Host id = .1.1.1 และทำไม 172.16.1.1 จึงมี Network id = 172.16, Host id = .1.1

สรุปแนวคิด สำหรับ IP address
จากความรู้เบื้องต้นในตอนนี้ ถ้าเราเห็น IP address หนึ่งเบอร์ เราจะมีวิธีการคิด หรือแนวคิดอย่างไรกับมันบ้าง? ให้คิดตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ครับ
1. ให้ถามตัวเองว่า IP address เบอร์นี้อยู่ Class อะไร? โดยการดูที่ IP address ชุดที่ 1 ว่าตกอยู่ในตัวเลขช่วงไหน
- ถ้า IP address ชุดที่ 1 อยู่ในช่วง 1-126 = Class A
- ถ้า IP address ชุดที่ 1 อยู่ในช่วง 128-191 = Class B
- ถ้า IP address ชุดที่ 1 อยู่ในช่วง 192-223 = Class C

2. ให้ถามตัวเองว่า Subnet Mask ใช้ชุดไหน?
-ถ้าเป็น Class A แล้ว - Subnet Mask ที่จะต้องใช้ คือ 255.0.0.0
-ถ้าเป็น Class B แล้ว - Subnet Mask ที่จะต้องใช้ คือ 255.255.0.0
-ถ้าเป็น Class C แล้ว - Subnet Mask ที่จะต้องใช้ คือ 255.255.255.0

3. ให้ถามตัวเองว่า IP address เบอร์นี้ อะไรเป็น Network และ อะไรเป็น Host?
-ถ้าเป็น Class A = Network . Host . Host . Host
-ถ้าเป็น Class B = Network . Network . Host . Host
-ถ้าเป็น Class C = Network . Network . Network . Host


สำหรับ "การแบ่ง Class ให้กับ IP address" ขั้นประยุกต์ ได้ถูกเขียนเสร็จเรียบร้อยแล้วครับ จะอยู่ในหัวข้อดังข้างล่างครับ

IP address ตอนที่ 6 - ลึกอีกนิดกับ Class ของ IP และ loopback address (127.0.0.1/localhost)



แต่ก็เกิดคำถามขึ้นมาใหม่คือ
- Subnet mask คืออะไร มีไว้ทำไม?
- Class A, B, และ C ให้สังเกตที่ IP address ชุดที่ 1 แล้วเลขเหล่านี้มีที่มาที่ไปอย่างไร?
- ทำไม IP address จึงมีค่าได้ 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255 เท่านั้น?

สิ่งเหล่านี้มีคำตอบครับ แต่ขอยกไปกล่าวในตอนต่อไปครับ


Bye
โก้-ชัยวัฒน์





Create Date : 16 กรกฎาคม 2554
Last Update : 20 มกราคม 2559 0:25:07 น. 21 comments
Counter : 35272 Pageviews.  
 
 
 
 
ขอบคุณครับ โก้ ลูกเป็นไรหายเร็วๆเน้อ
 
 

โดย: thep IP: 124.122.3.2 วันที่: 17 กรกฎาคม 2554 เวลา:1:06:22 น.  

 
 
 
ขอบคุณคราบ ถ้า training ตัวต่อตัว เท่าไรพี่
 
 

โดย: Tong IP: 202.91.23.4 วันที่: 17 กรกฎาคม 2554 เวลา:17:27:19 น.  

 
 
 
ลองรวมตัวกันสักสามคนดีไหมครับ จะได้ share กัน ไม่ต้องจ่ายมากครับ ดีไหม แต่ถ้าไม่มีจริง โทรมาคุยกันดูครับ 081-694-0010
 
 

โดย: kochaiwat วันที่: 19 กรกฎาคม 2554 เวลา:15:50:08 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากค่ะะะ
 
 

โดย: แป้ง IP: 110.49.227.48 วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:22:41:20 น.  

 
 
 
เจ๋งมากพี่ ขอบคุณน๊าาา
 
 

โดย: Inan IP: 27.130.210.61 วันที่: 3 มีนาคม 2555 เวลา:17:58:26 น.  

 
 
 
ขอบคุณทุกท่านมากครับ
 
 

โดย: kochaiwat วันที่: 4 มีนาคม 2555 เวลา:8:54:21 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากครับ ได้ความรู้อีกแว้ว
 
 

โดย: MAWEL IP: 58.8.152.82 วันที่: 7 เมษายน 2555 เวลา:17:07:25 น.  

 
 
 
ขอบคุณพี่มากเลยครับอ่านเเล้ว เข้าใจง่ายมาก ครับ อยากให้พี่เขียน บทความดีๆ ออกมาเรื่อยๆ ครับ จะติดตามบทความต่อไปนะครับ ครับ
 
 

โดย: Mo IP: 223.205.84.223 วันที่: 7 พฤษภาคม 2555 เวลา:22:59:13 น.  

 
 
 
เจ๋งค่ะ
 
 

โดย: ปุน IP: 192.168.91.159, 58.8.171.98 วันที่: 22 พฤษภาคม 2555 เวลา:16:48:23 น.  

 
 
 
ขอบคุณอาจารย์ มากๆครับ(ขออนุญาติ เป็นลูกศิษย์นะครับ)
 
 

โดย: pruetikul IP: 180.110.235.160 วันที่: 21 กรกฎาคม 2556 เวลา:18:44:42 น.  

 
 
 
@ K. Pruetikul,
ยินดีครับ
 
 

โดย: kochaiwat วันที่: 21 กรกฎาคม 2556 เวลา:22:40:48 น.  

 
 
 
สุดยอดครับ ไอดอลลลลลลลลเลย
 
 

โดย: tum IP: 27.145.172.176 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:12:11:20 น.  

 
 
 
ตามมาภาค 3
 
 

โดย: Ironman IP: 58.10.22.106 วันที่: 3 เมษายน 2558 เวลา:14:19:55 น.  

 
 
 
ได้ความรู้มากๆครับ สอนได้เข้าใจสุดๆเลยครับอาจารย์
 
 

โดย: ท้อได้แต่อย่าถอย IP: 182.52.58.65 วันที่: 16 กรกฎาคม 2558 เวลา:13:38:11 น.  

 
 
 
อธิบายเข้าใจง่ายชอบๆครับ
 
 

โดย: jeabpro IP: 182.93.224.57 วันที่: 24 กรกฎาคม 2559 เวลา:23:19:40 น.  

 
 
 
อ.เก่งมากกกๆครับ ผมเรียนมาตั้งนานไม่ค่อยเข้าใจ พอได้ดูแล้วเข้าใจขึ้นมากๆๆๆๆครับ
 
 

โดย: ปุ๊ IP: 158.108.210.186 วันที่: 22 มกราคม 2560 เวลา:18:59:21 น.  

 
 
 
ช่วง 127 ถูกจัดอยู่ใน class ไหนครับ
 
 

โดย: Guy IP: 122.154.22.40 วันที่: 19 พฤษภาคม 2560 เวลา:16:26:43 น.  

 
 
 
@K. Guy
ถ้ายิดหลักตาม bit แล้ว 127.x.x.x จัดอยู่ใน Class A ครับ
 
 

โดย: kochaiwat วันที่: 20 พฤษภาคม 2560 เวลา:20:08:46 น.  

 
 
 
อ่านแล้ว เข้าใจขึ้นมากครับ

ขอให้กำลังใจในการให้ความรู้แก่เด็กรุ่นต่อๆ ไปครับ.
 
 

โดย: Beau IP: 180.183.247.27 วันที่: 21 กรกฎาคม 2560 เวลา:17:56:57 น.  

 
 
 
เข้ามาแอบจดครับ อาจารย์

ขอบคุณครับ ^__^
 
 

โดย: Anothai IP: 223.24.67.191 วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:13:03:56 น.  

 
 
 
ขอบคุณบทความดีๆครับอาจารย์
 
 

โดย: Apiwat IP: 159.192.219.169 วันที่: 10 กรกฎาคม 2562 เวลา:11:42:33 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

kochaiwat
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 693 คน [?]




เริ่มงานครั้งแรกที่บริษัท UIH (United Information Highway) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการทางด้านการสื่อสารข้อมูล อาทิเช่น Lease Line, Frame Relay และ MPLS และได้ย้ายไปร่วมงานกับบริษัท dtac โดยได้ทำงานเกี่ยวกับ IP Network (Switch/Router/Firewall/F5-Loadbalancer) รวมถึง MPLS Network และ IPRAN (IP Radio Access Network) ซึ่งเป็น IP Network ที่รองรับ Access ของ Mobile System นอกจากนั้นยังสนใจศึกษาเรื่อง IPv6 Address ที่จะมาใช้แทน IPv4 ที่เราใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
แต่ด้วยความชอบในการแบ่งปันความรู้ จึงได้มีโอกาสสอน CCNA อยู่ที่สถาบันแห่งหนึ่งในอาคารฟอร์จูนทาวน์ในวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึง พ.ศ. 2553 รวมเป็นเวลา 4 ปี, หลังจากนั้นในระหว่างที่ทำงานที่ dtac ก็ได้สอนเสาร์-อาทิตย์เรื่อยมา

เคยเป็น Trainer หรือ Instructor อย่างเต็มตัว สอนวิชาต่างๆ ของ Cisco อย่างเป็นทางการ (Authorize Training) ที่บริษัท Training Partner Thailand จนถึง มีนาคม 2014 และได้ตัดสินใจออกมาสอนเอง เพราะด้วยความรักในอาชีพการสอน และต้องการที่จะแบ่งปันความรู้ให้กับบุคคลในระดับกลางและล่างเพื่อส่งเสริมให้ได้มีโอกาสได้เรียน และได้มีโอกาสสมัครงาน แต่ด้วยใจรักในบริษัท Cisco ดังนั้น เมื่อมีโอกาสเข้ามา จึงได้ตัดสินใจหยุดการสอน และได้เข้าไปเป็นพนักงาน หรือทำงานที่บริษัท Cisco Thailand ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 (2016) จนถึงปัจจุบัน

ลูกค้าที่เคยมารับการอบรม เช่น
- Lao Telecom Company Ltd
- CAT Telecom
- TOT
- True
- dtac
- CDG Group
- SITA air transport communications and information technology (www.sita.aero/)
- Infonet Thailand
- MultiLink Co., Ltd
- โรงพยาบาลไทยนครินทร์
- และเคยไปเป็นวิทยากรพิเศษที่ มหาวิทยลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ

ปัจจุบัน โก้-ชัยวัฒน์ ได้ผ่านการสอบ:
- Cisco Certified Internetwork Expert (CCIE) No. 51353 และ
- Cisco Certified Systems Instructor (CCSI) ซึ่งเป็น Certificate ที่ออกให้โดย Cisco สำหรับผู้ที่จะเป็นผู้สอน Cisco Certificate อย่างเป็นทางการ และได้รับ CCSI ID: 34784

วิชาที่สามารถได้สอนได้สำหรับ Cisco Certificate ในขณะนี้คือ
- CCNA Routing & Switching
- CCNA Security (IINS)
- CCNP Route & Switch: ROUTE
- CCNP Route & Switch: SWITCH
- CCNP Route & Switch: TSHOOT
- MPLS (IOS)
- MPLS Traffic Engineering (IOS)
- CCNP Service Provider: SPROUTE (OSPF, IS-IS, BGP, Prefix-List, Route-Map and RPL (Routing Policy Language))
- CCNP Service Provider: SPADVROUTE (Advance BGP, Multicast, and IPv6)
- CCNP Service Provider: SPCORE (MPLS, MPLS-TE, QoS)
- CCNP Service Provider: SPEDGE (MPLS-L3VPN, MPLS-L2VPN (AToM and VPLS)
- IPv6

Certification ที่มีอยู่ในปัจจุบัน CCIE# 51353, CCSI# 34784, CCNA Routing & Switching, CCNA Security (IINS), CCNA Design, CCNP Routing & Switching, CCIP, CCNP Service Provider ซึ่งเป็น Certification ของ Cisco product รวมถึง Certification ของสถาบัน EC-Council (www.eccouncil.org) นั่นคือ Certified Ethical Hacker (CEH)

"เป้าหมายมีไว้ให้ไล่ล่า บ้างเหนื่อยล้าบ้างหยุดพัก
ชีวิตแม้ยากนัก แต่เรารักเราไม่ถอย
ชีวิตแม้ต้องคอย จะไม่ปล่อยไปวันๆ
ชิวิตไม่วายพลัน แม้นสักวันต้องได้ชัย"

"แม้ระยะทางจะไกลแค่ไหน แม้ต้องใช้เวลามากเพียงใด
ขอเพียงแค่มีความตั้งใจ เราต้องได้ไปให้ถึงมัน"

ผมจะไม่ยอมทิ้งฝัน แต่จะไล่ล่ามันให้ถึงที่สุด สักวันฝันอาจจะเป็นจริง ถึงจะไปไม่ถึง แต่ผมก็ภูมิใจที่ได้ทำ
==============================
ความรู้ = เมล็ดพืช
ความพยายามในการเรียนรู้ = ปุ๋ย, น้ำ และความใส่ใจที่จะปลูก
สรุปคือ
ยิ่งพยายามเรียนรู้ ยิ่งพยายามศึกษาในเรื่องใดๆ ผลที่ได้คือ จะได้ความรู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง เปรียบเสมือนปลูกต้นไม้ด้วยความใส่ใจ ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ผลที่ได้ก็คือ ต้นไม้ที่เติบโตอย่างแข็งแรง และผลิดอกและผลที่งดงามให้เราได้ชื่นชม
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จจะอยู่ที่นั่น หรือที่ไหนก็ช่าง แต่เชื่อเถอะ เราจะได้ผลลัพธ์ที่ดีจากความพยายามนั้นๆ ไม่มากก็น้อย
อยากได้อะไรให้พยายาม แล้วความสำเร็จมันจะเข้ามาหาเอง
ผมเชื่อ และมั่นใจอย่างนั้น
===============================
ตอนนี้ผมได้ไปถึงฝัน (CCIE) แล้ว และสิ่งที่ไม่คาดฝัน คือได้ทำงานที่บริษัท Cisco ซึ่งถือได้ว่าไกลเกินฝัน

กว่าผมจะมาถึงจุดนี้ได้ เกิดจากความตั้งใจ มุ่งมั่น และพยายามอย่างไม่ย่อท้อ ศึกษาหาความรู้ และฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ จนกระทั่งประสบความสำเร็จ และผมก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ขอเพียงแค่อย่าท้อ อย่าถอย และอย่าหยุด

ผมขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคน และขอให้ประสบความสำเร็จดังที่มุ่งหวัง ไม่ว่าท่านจะหวังสิ่งใดก็ตามครับ

ท้ายที่สุด ผมขอฝากข้อคิดในเรื่อง Certificate ไว้สักนิดนะครับ:
*** "CCIE และ Certificate อื่นๆ มีไว้เพื่อทำมาหากิน และมีไว้เพื่อข่มตนไม่ให้เกรียน เพราะความเกรียนจะนำมาซึ่งการเป็นเป้าให้คนที่เค้าหมั่นไส้ยิงเอานะครับ" ***

Facebook: Chaiwat Amornhirunwong
New Comments
[Add kochaiwat's blog to your web]

MY VIP Friends


 
 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com