ความรู้คู่ความก้าวหน้า
 
IP address ตอนที่ 2 - IP address ก็มีการแบ่งเป็นบ้านเลขที่และเมืองครับ

จาก IP address ตอนที่ 1 ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบการสื่อสารในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กับการส่งจดหมายนั้น มีสิ่งหนึ่งที่ผมตั้งใจจะมาบอกในตอนที่ 2 นี้ก็คือ IP address ก็มีการแบ่งเป็นเมืองเช่นกัน (แต่ในทางเทคนิคแล้ว เราไม่ได้เรียกว่าเมืองนะครับ) เอ้าเรามารู้จัก IP address ให้มากขึ้นกันอีกนิดนะครับ

ผมขอท้าวความเดิมจาก IP address ตอนที่ 1 ในเรื่องของการเปรียบเทียบคำศัพท์ในเรื่องจดหมายกับ IP address สักหน่อยนะครับ โดยจะเพิ่มเรื่อง เมืองกับบ้านเลขที่ใน IP address เข้าไป

• ซองจดหมาย = IP packet
• ตัวจดหมาย = ข้อความที่อยู่ใน IP packet (data หรือ application หรือ service) ที่ใช้ในการสื่อสารกัน
• บุรุษไปรษณีย์ = อุปกรณ์ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือเครือข่าย IP (IP network) เช่น Switch, Router, ADSL Router และ Firewall เป็นต้น
• ที่อยู่ของผู้ส่งและผู้รับจดหมาย = IP address ของอุปกรณ์ต้นทางและอุปกรณ์ปลายทาง เช่น IP address ของคอมพิวเตอร์ต้นทาง และ IP address ของคอมพิวเตอร์ปลายทางเป็นต้น

ที่อยู่บนซองจดหมาย ประกอบด้วย เมือง และ บ้านเลขที่

IP address บนหัว (header) ของ IP packet ประกอบด้วย Network ID และ Host ID

นั่นคือ

เมือง = Network ID
บ้านเลขที่ = Host ID

หมายเหตุ ที่อยู่ของผู้ส่งและผู้รับจดหมาย ผมขอแบ่งออกง่ายๆ (เพื่ออธิบายเรื่อง IP address) เป็นสองส่วนคือ เมือง และบ้านเลยที่ครับ

ทำไม IP address ถึงต้องแบ่งเป็น Network ID กับ Host ID?



เราลองนึกถึงการส่งจดหมาย ประกอบกับรูปข้างบนดูนะครับ ลองนึกดูว่า หากบุรุษไปรษณีย์ 1 ต้องส่งจดหมายของนางสาว A ไปให้กับนาย B ซึ่งอยู่ที่เมือง 3 บ้านเลขที่ 1 แล้ว บุรุษไปรษณีย์ 1 ควรจะมีข้อมูลซึ่งเป็นที่อยู่ของนาย B ละเอียดแค่ไหนถึงจะเพียงพอต่อการส่งจดหมายไปให้ถึงปลายทาง โดยมีคำตอบให้เลือกสองข้อ ดังนี้

ก. ต้องมีข้อมูลที่อยู่ของนาย B ซึ่งประกอบไปด้วย เมือง 3 และบ้านเลขที่ 1 (รวมถึงต้องรู้ที่อยู่ของคนอื่นๆ ทุกคนในเมือง 3 และเมืองอื่นๆ อย่างละเอียด [เมือง และบ้านเลขที่]) และจากนั้นก็ดูต่อว่าจดหมายฉบับนี้ควรจะส่งไปทางไหน หรือส่งผ่านเมืองอะไรจึงจะใกล้ที่สุด และใช้เวลาในการส่งน้อยที่สุด

ข. มีแค่เพียงข้อมูลที่เป็นเมืองของนาย B ก็พอแล้ว ไม่จำเป็นต้องรู้บ้านเลขที่ของนาย B เพราะเดี๋ยวพอจดหมายฉบับนี้ไปถึงเมือง 3 แล้ว บุรุษไปรษณีย์ 3 ซึ่งเป็นบุรุษไปรษณีย์ท้องถิ่นของเมือง 3 เขาก็รู้เองว่านาย B บ้านเลยที่ 1 อยู่ที่ไหน (บรุษไปรษณีย์ จะต้องรู้จัก หรือมีข้อมูลบ้านเลขที่ภายในท้องถิ่นของตนเองทั้งหมด แต่สำหรับเมืองอื่น รู้เพียงแค่ปลายทางเป็นเมืองไหน จะส่งต่อไปได้อย่างไร [ส่งต่อไปให้กับเมืองไหน] ก็พอ) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า บุรุษไปรษณีย์ 1 รู้เพียงแค่ว่า เมืองปลายทางที่จะต้องส่งจดหมายฉบับนี้ไป เป็นเมืองที่ 3 (โดยไม่สนใจบ้านเลขที่) และจะส่งจดหมายฉบับนี้ต่อไปยังเมืองไหนจึงจะทำให้จดหมายฉบับนี้สามารถเดินทางไปหาเมืองที่ 3 ด้วยระยะทางที่สั้นที่สุด หรือเร็วที่สุด

ถ้าเป็นคุณ คุณจะเลือกข้อไหนครับ แต่ถ้าเป็นผม ผมจะเลือกข้อ ข. ครับ เพราะถ้าเลือกข้อ ก. คุณจะต้องใช้ความจำมาก (หรือเป็น Router ก็ต้องใช้ Memory หรือหน่วยความจำมากเช่นกัน) ไหนจะต้องจำบ้านเลขที่ในเมืองของตัวเองทั้งหมด และยังต้องมาจำบ้านเลขที่ของเมืองอื่นๆ อีก โอ้วล้นสมองครับ แต่ถ้าเลือกข้อ ข. คุณก็จำบ้านเลขที่เฉพาะภายในเมืองที่คุณดูแลก็พอแล้ว ส่วนบ้านเลขที่ในเมืองอื่นไม่ต้องไปจำหรอกครับ จำแค่ว่าเมืองปลายทางต่างๆ จะส่งผ่านไปเมืองไหนจึงจะทำให้จดหมายสามารถเดินทางด้วยระยะทางที่สั้นสุด หรือเร็วสุดก็พอ จริงไหมครับ

กล่าวมาซะเยอะ สรุป ตอบ ข. ครับ

เอ้ากลับมาที่เรื่องของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) หรือเครือข่ายไอพี (IP network) กันบ้างครับ

ก่อนอื่นขอเปรียบเทียบบุรุษไปรษณีย์กับ Router ดังนี้ครับ
- บุรุษไปรษณีย์ 1 = Router 1
- บุรุษไปรษณีย์ 2 = Router 2
- บุรุษไปรษณีย์ 3 = Router 3

เปรียบเทียบเมือง/บ้านเลขที่ กับ Network ID/Host ID

รูปแบบจดหมาย รูปแบบ IP address

ที่อยู่นางสาว A = เมืองที่ 1 บ้านเลขที่ 1

เมืองที่ 1

บ้านเลขที่ 1

IP address ของ Computer นางสาว A = 10.1.1.1

Network ID = 10

Host ID = .1.1.1

ที่อยู่นาย B = เมืองที่ 3 บ้านเลขที่ 1

เมืองที่ 3

บ้านเลขที่ 1

IP address ของ Server B = 172.16.1.1

Network ID = 172.16

Host ID = .1.1


เมื่อ Router 1 รับ IP packet (ที่มีปลายทางคือ 172.16.1.1) มาจากคอมพิวเตอร์ของนางสาว A จากนั้น Router 1 จะทำการตรวจสอบ IP address ปลายทางบนหัวของ IP packet (IP header) พบว่า IP ปลายทางนี้มี Network ID = 172.16 จากนั้น Router 1 จะนำ Network ID นี้ไปเปรียบเทียบกับตารางเส้นทาง (routing table) ของตนเอง (ซึ่งในตารางเส้นทางจะเก็บแต่ Network ID เท่านั้น) เพื่อหาว่า จะส่งต่อ (forward) IP packet ที่มีปลายทางเป็น Network ID: 172.16 นี้ต่อไปให้ Router ตัวไหน จึงจะทำให้ IP packet นี้ไปถึงปลายทางได้เร็วที่สุด หรือใช้ระยะสั้นที่สุด ซึ่งแน่นอน จากรูปมีแค่เส้นทางเดียวคือ ต้องส่งต่อให้ Router 2 ซึ่ง Router 2 ก็ทำเช่นเดียวกับ Router 1 จนกระทั่ง IP packet นี้ไปถึง Server B จนได้
หมายเหตุ เส้นทางที่ดีที่สุดในภาษา Router เราเรียกว่า Best Path

เกิดคำถามว่า
ทำไม Network ID ของ นางสาว A เป็น 10 แล้วทำไม Network ID ของนาย B จึงไม่เป็น 172
หรือทำไม Network ID ของนางสาว A ไม่เป็น 10.1 ก็ในเมื่อ Network ID ของนาย B ยังเป็น 172.16 เลย?

อันนี้ก็ยาวครับ สำหรับตอนที่ 2 นี้ขอจบแค่นี้ก่อนครับ ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป ค่อยเก่งนะครับ ไม่ต้องรีบร้อนครับ

ตอนต่อไป จะเน้นทางด้านเทคเนคของ IP address มากขึ้นนะครับ คือจะใช้คำที่เป็นภาษาของ IP network มากขึ้นเรื่อยๆ ลองติดตามดูนะครับ

ขอบคุณครับสำหรับกำลังใจจากทุกท่าน ผมจะพยายามเขียนไปเรื่อยๆ ครับ (ยังมีอีกเยอะ)
โก้-ชัยวัฒน์



Create Date : 08 มิถุนายน 2554
Last Update : 20 มกราคม 2559 0:25:42 น. 25 comments
Counter : 12394 Pageviews.  
 
 
 
 
มันยอดมากเลย คราวหน้าขอ MPLS ได้มั้ยครับพี่ มาแรงโคตรๆ
 
 

โดย: คนกันเอง IP: 202.91.20.84 วันที่: 10 มกราคม 2555 เวลา:13:33:47 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากค่ะ
 
 

โดย: แป้ง IP: 110.49.227.48 วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:22:36:02 น.  

 
 
 
สุดยอดเลยครับสำหรับเนื้อหาที่อัดแน่นเปี่ยมไปด้วยความรู้ที่มากมายครับ

ขอบคุณมากครับสำหรับบทความดี
 
 

โดย: มด IP: 58.137.171.130 วันที่: 19 มีนาคม 2555 เวลา:7:58:43 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากครับ
 
 

โดย: jj IP: 202.149.29.81 วันที่: 26 มีนาคม 2555 เวลา:17:17:36 น.  

 
 
 
ขอบคุณมาก กำลังศึกษาอยู่เลย
 
 

โดย: 1 IP: 124.120.62.117 วันที่: 16 กรกฎาคม 2555 เวลา:11:20:16 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากคร้าบ อธิบายได้เข้าใจมากครับ
 
 

โดย: โก้ IP: 27.130.144.53 วันที่: 17 กันยายน 2555 เวลา:2:45:03 น.  

 
 
 
ขอบคุณครับ

ขอเป็นกำลังใจให้ครับ
 
 

โดย: pbig IP: 171.6.174.30 วันที่: 13 ตุลาคม 2555 เวลา:20:40:37 น.  

 
 
 
ขอบคุณคะ สำหรับเนื้อหา อ่านเข้าใจง่ายมากเลยคะ แบบว่าเรียนผ่านมาแล้ว 3 ปี แต่ตอนนี้มีโอกาสมาเรียนวิชานี้อีกครั้ง แต่ต่างภาษา ด้วยความที่เป็นภาษาอังกฤษ บวกกลับคืนความรู้อาจารย์ตั้งแต่เรียนจบ เลยจำเป็นต้องหาข้อมูลภาษาไทยอ่านก่อนคะ ขอบคุณจริงๆ คะ
 
 

โดย: K IP: 121.209.201.71 วันที่: 25 มีนาคม 2556 เวลา:19:57:51 น.  

 
 
 
@ คุณ K และทุกท่าน ขอบคุณมากครับ และยินดีครับ
 
 

โดย: kochaiwat วันที่: 26 มีนาคม 2556 เวลา:20:00:08 น.  

 
 
 
ยอดเมเข้าใจต่างๆยี่ยมมากครับ ได้ความรู้ ความเข้าใจ
มากมายครับ
 
 

โดย: pruetikul IP: 180.110.235.160 วันที่: 21 กรกฎาคม 2556 เวลา:18:06:11 น.  

 
 
 
-ขอบคุณมากๆ ครับ
 
 

โดย: Snackjack IP: 203.158.109.3 วันที่: 24 มีนาคม 2557 เวลา:9:41:06 น.  

 
 
 
พี่ครับ เเล้ว อย่าง Hub นี้ถือเป็น บุรุษไปรษณีย์ด้วยหรือป่าว
 
 

โดย: Snackjack IP: 180.183.49.226 วันที่: 24 มีนาคม 2557 เวลา:23:18:40 น.  

 
 
 
@Snackjack
Hub เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานระดับสัญญาณไฟฟ้า (Layer 1) - (ไม่รวม Switch นะครับ) มันอ่าน protocol หรือ header ของข้อมูลไม่ได้ เหมือน Router และ Switch ครับ
Hub เป็นแค่ตัวขยาย port ของวง LAN และมีข้อเสียมากมาย ดังนั้นในปัจจุบันคนจึงไม่ใช้ Hub กันแล้วครับ แต่หันมาใช้ switch แทนครับ
สรุปคือ Hub ไม่สามารถเปรียบเป็นบรุษไปรษณีย์ได้ครับ มันเป็นแค่ตัวขยาย port และตัวทวนสัญญาณเท่านั้นครับ

โก้-ชัยวัฒน์
 
 

โดย: kochaiwat วันที่: 25 มีนาคม 2557 เวลา:10:19:01 น.  

 
 
 
เป็นประโยชน์มากครับ ขอบคุณมาก
 
 

โดย: nitikarn IP: 180.183.207.53 วันที่: 16 มิถุนายน 2557 เวลา:16:05:24 น.  

 
 
 
เนื้อหา ดีมาก ๆ เหมาะกับคนที่ไม่มีพื้น มาก ๆ มีคำถามตั้งให้ติดตามตอนต่อไป น่าติดตาม มาก ๆ เรื่องนี้ IP เคยอ่านหลายที่ก็ยังงง จนเลิก อ่านไป มาเจอบทความของพี่ รู้สึกเหมือนกับอาจารย์ที่รู้จริง รู้ที่มาที่ไป ทำให้ไม่ต้องจำหมด


ผม ติดตามผลงาน อยู่ครับ
 
 

โดย: โก้ IP: 110.78.187.227 วันที่: 25 กรกฎาคม 2557 เวลา:12:59:44 น.  

 
 
 
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
 
 

โดย: วัชรพล IP: 58.11.49.38 วันที่: 2 สิงหาคม 2557 เวลา:15:35:41 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากครับ
 
 

โดย: eyenewera IP: 49.49.112.43 วันที่: 20 สิงหาคม 2557 เวลา:11:06:08 น.  

 
 
 
ขอบคุณ มากๆครับ
 
 

โดย: TTIT IP: 171.96.144.14 วันที่: 26 พฤศจิกายน 2557 เวลา:9:25:39 น.  

 
 
 
อธิบายได้เยี่ยมมากๆเลยค่ะ ขอบคุณมากคะ
 
 

โดย: ผู้อ่าน IP: 118.175.64.146 วันที่: 17 ธันวาคม 2557 เวลา:11:48:27 น.  

 
 
 
ขอบคุณ มากๆครับ
 
 

โดย: ct IP: 122.155.34.20 วันที่: 20 ธันวาคม 2557 เวลา:9:39:54 น.  

 
 
 
ทวนภาคต่อ
 
 

โดย: Ironman IP: 58.10.22.106 วันที่: 3 เมษายน 2558 เวลา:14:09:39 น.  

 
 
 
ผมตามหาเนื้อหาแบบนี้มานานมากเลย เพิ่งมาเจอนี้แหละ อธิบายหรือสอนให้คนไม่รู้เรื่องหรือรู้แบบผิดๆกลับมาเข้าใจได้ และท่านอธิบายได้ดีจริงๆครับ กราบงามๆเลยคับ
 
 

โดย: LEK IP: 101.108.85.100 วันที่: 27 ตุลาคม 2558 เวลา:17:31:49 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากครับ
 
 

โดย: Bitbasic IP: 49.49.216.104 วันที่: 9 กรกฎาคม 2559 เวลา:2:07:59 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากๆครับ หาคนสอนแบบนี้มานานมากครับ เคยศึกษาเองอ่านหนังสือคอม มากมายแต่ก็ไม่เข้าใจถ่องแท้ ดูyoutubeก็เจอแต่สอนแบบเลคเชอร์มาถึงก็ใส่แต่นิยามๆ คำนวณๆๆ เลขฐาน2 แต่ไม่ยอมสอนแบบ mind map เลยไม่ค่อยเข้าใจ มาเจอบล็อกนี้ โห ยอดเยี่ยมมากๆครับ
 
 

โดย: tintin IP: 223.24.175.6 วันที่: 7 มีนาคม 2561 เวลา:23:08:50 น.  

 
 
 
ขอบคุณบทความดีๆครับอาจารย์
 
 

โดย: Apiwat IP: 159.192.219.169 วันที่: 10 กรกฎาคม 2562 เวลา:11:37:05 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

kochaiwat
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 693 คน [?]




เริ่มงานครั้งแรกที่บริษัท UIH (United Information Highway) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการทางด้านการสื่อสารข้อมูล อาทิเช่น Lease Line, Frame Relay และ MPLS และได้ย้ายไปร่วมงานกับบริษัท dtac โดยได้ทำงานเกี่ยวกับ IP Network (Switch/Router/Firewall/F5-Loadbalancer) รวมถึง MPLS Network และ IPRAN (IP Radio Access Network) ซึ่งเป็น IP Network ที่รองรับ Access ของ Mobile System นอกจากนั้นยังสนใจศึกษาเรื่อง IPv6 Address ที่จะมาใช้แทน IPv4 ที่เราใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
แต่ด้วยความชอบในการแบ่งปันความรู้ จึงได้มีโอกาสสอน CCNA อยู่ที่สถาบันแห่งหนึ่งในอาคารฟอร์จูนทาวน์ในวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึง พ.ศ. 2553 รวมเป็นเวลา 4 ปี, หลังจากนั้นในระหว่างที่ทำงานที่ dtac ก็ได้สอนเสาร์-อาทิตย์เรื่อยมา

เคยเป็น Trainer หรือ Instructor อย่างเต็มตัว สอนวิชาต่างๆ ของ Cisco อย่างเป็นทางการ (Authorize Training) ที่บริษัท Training Partner Thailand จนถึง มีนาคม 2014 และได้ตัดสินใจออกมาสอนเอง เพราะด้วยความรักในอาชีพการสอน และต้องการที่จะแบ่งปันความรู้ให้กับบุคคลในระดับกลางและล่างเพื่อส่งเสริมให้ได้มีโอกาสได้เรียน และได้มีโอกาสสมัครงาน แต่ด้วยใจรักในบริษัท Cisco ดังนั้น เมื่อมีโอกาสเข้ามา จึงได้ตัดสินใจหยุดการสอน และได้เข้าไปเป็นพนักงาน หรือทำงานที่บริษัท Cisco Thailand ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 (2016) จนถึงปัจจุบัน

ลูกค้าที่เคยมารับการอบรม เช่น
- Lao Telecom Company Ltd
- CAT Telecom
- TOT
- True
- dtac
- CDG Group
- SITA air transport communications and information technology (www.sita.aero/)
- Infonet Thailand
- MultiLink Co., Ltd
- โรงพยาบาลไทยนครินทร์
- และเคยไปเป็นวิทยากรพิเศษที่ มหาวิทยลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ

ปัจจุบัน โก้-ชัยวัฒน์ ได้ผ่านการสอบ:
- Cisco Certified Internetwork Expert (CCIE) No. 51353 และ
- Cisco Certified Systems Instructor (CCSI) ซึ่งเป็น Certificate ที่ออกให้โดย Cisco สำหรับผู้ที่จะเป็นผู้สอน Cisco Certificate อย่างเป็นทางการ และได้รับ CCSI ID: 34784

วิชาที่สามารถได้สอนได้สำหรับ Cisco Certificate ในขณะนี้คือ
- CCNA Routing & Switching
- CCNA Security (IINS)
- CCNP Route & Switch: ROUTE
- CCNP Route & Switch: SWITCH
- CCNP Route & Switch: TSHOOT
- MPLS (IOS)
- MPLS Traffic Engineering (IOS)
- CCNP Service Provider: SPROUTE (OSPF, IS-IS, BGP, Prefix-List, Route-Map and RPL (Routing Policy Language))
- CCNP Service Provider: SPADVROUTE (Advance BGP, Multicast, and IPv6)
- CCNP Service Provider: SPCORE (MPLS, MPLS-TE, QoS)
- CCNP Service Provider: SPEDGE (MPLS-L3VPN, MPLS-L2VPN (AToM and VPLS)
- IPv6

Certification ที่มีอยู่ในปัจจุบัน CCIE# 51353, CCSI# 34784, CCNA Routing & Switching, CCNA Security (IINS), CCNA Design, CCNP Routing & Switching, CCIP, CCNP Service Provider ซึ่งเป็น Certification ของ Cisco product รวมถึง Certification ของสถาบัน EC-Council (www.eccouncil.org) นั่นคือ Certified Ethical Hacker (CEH)

"เป้าหมายมีไว้ให้ไล่ล่า บ้างเหนื่อยล้าบ้างหยุดพัก
ชีวิตแม้ยากนัก แต่เรารักเราไม่ถอย
ชีวิตแม้ต้องคอย จะไม่ปล่อยไปวันๆ
ชิวิตไม่วายพลัน แม้นสักวันต้องได้ชัย"

"แม้ระยะทางจะไกลแค่ไหน แม้ต้องใช้เวลามากเพียงใด
ขอเพียงแค่มีความตั้งใจ เราต้องได้ไปให้ถึงมัน"

ผมจะไม่ยอมทิ้งฝัน แต่จะไล่ล่ามันให้ถึงที่สุด สักวันฝันอาจจะเป็นจริง ถึงจะไปไม่ถึง แต่ผมก็ภูมิใจที่ได้ทำ
==============================
ความรู้ = เมล็ดพืช
ความพยายามในการเรียนรู้ = ปุ๋ย, น้ำ และความใส่ใจที่จะปลูก
สรุปคือ
ยิ่งพยายามเรียนรู้ ยิ่งพยายามศึกษาในเรื่องใดๆ ผลที่ได้คือ จะได้ความรู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง เปรียบเสมือนปลูกต้นไม้ด้วยความใส่ใจ ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ผลที่ได้ก็คือ ต้นไม้ที่เติบโตอย่างแข็งแรง และผลิดอกและผลที่งดงามให้เราได้ชื่นชม
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จจะอยู่ที่นั่น หรือที่ไหนก็ช่าง แต่เชื่อเถอะ เราจะได้ผลลัพธ์ที่ดีจากความพยายามนั้นๆ ไม่มากก็น้อย
อยากได้อะไรให้พยายาม แล้วความสำเร็จมันจะเข้ามาหาเอง
ผมเชื่อ และมั่นใจอย่างนั้น
===============================
ตอนนี้ผมได้ไปถึงฝัน (CCIE) แล้ว และสิ่งที่ไม่คาดฝัน คือได้ทำงานที่บริษัท Cisco ซึ่งถือได้ว่าไกลเกินฝัน

กว่าผมจะมาถึงจุดนี้ได้ เกิดจากความตั้งใจ มุ่งมั่น และพยายามอย่างไม่ย่อท้อ ศึกษาหาความรู้ และฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ จนกระทั่งประสบความสำเร็จ และผมก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ขอเพียงแค่อย่าท้อ อย่าถอย และอย่าหยุด

ผมขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคน และขอให้ประสบความสำเร็จดังที่มุ่งหวัง ไม่ว่าท่านจะหวังสิ่งใดก็ตามครับ

ท้ายที่สุด ผมขอฝากข้อคิดในเรื่อง Certificate ไว้สักนิดนะครับ:
*** "CCIE และ Certificate อื่นๆ มีไว้เพื่อทำมาหากิน และมีไว้เพื่อข่มตนไม่ให้เกรียน เพราะความเกรียนจะนำมาซึ่งการเป็นเป้าให้คนที่เค้าหมั่นไส้ยิงเอานะครับ" ***

Facebook: Chaiwat Amornhirunwong
New Comments
[Add kochaiwat's blog to your web]

MY VIP Friends


 
 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com