การล่มสลาย“พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย”

 

 ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศไทยเริ่มมีพัฒนาการในรูปแบบองค์กรเคลื่อนไหว เมื่อมีการจัดตั้ง “สมาคมคนงานรถรางแห่งสยาม” โดยมีนายถวัติ ฤทธิเดช รับบทบาทเป็นพ่อครัวใหญ่ขององค์กรเคลื่อนไหว แต่องค์กรเคลื่อนไหวทำได้เพียงใช้การหยุดงานเพื่อเป็นเงื่อนไขต่อรองของการได้สวัสดิการด้านแรงงานที่ดีขึ้น นอกจากนี้แกนนำของขบวนการแรงงานก็ไม่ใช่ตัวแทนจากกลุ่มคนงาน แต่กลุ่มชนชั้นอื่นพยายามสวมบทบาทแทน ดังนั้นขบวนการคนงานที่เกิดขึ้นจึงเป็นเพียงแค่กระบวนการเลียนแบบยุทธวิธีเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงานทางตะวันตก ได้แก่การต่อรองด้านสวัสดิการแรงงานด้วยการหยุดงาน แต่ไม่ได้เรียนรู้แนวคิดอุดมการณ์ร่วมของการสร้างตัวแทนของชนชั้นเรียกร้องจากขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบเก่า(สำนักแนวคิดมาร์กซ์)

 

                อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมา กลุ่มปัญญาในสังคมไทยพยายามนำแนวคิดของมาร์กซ์แบบสุดโต่งมาสร้างเป็นฐานอุดมการณ์ร่วมขององค์กรเคลื่อนไหว “พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย” มีเป้าหมายต้องการให้เกิด“การปฏิวัติของชนชั้นกรรมมาชีพ”(Proletariat Revolution) เพื่อเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจการปกครองให้เป็นระบบสังคมนิยมที่มีความเท่าเทียมของชนชั้น โดยใช้ยุทธวิธีกองกำลังติดอาวุธแบบป่าล้อมเมือง  องค์กรเคลื่อนไหว “พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย” ได้พันธมิตรแนวร่วมที่เพิ่มขึ้นจากกลุ่มนักศึกษาที่ต้องเข้าป่า จากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 แต่“พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย”ก็ไม่ประสบความสำเร็จในการทำ“การปฏิวัติของชนชั้นกรรมมาชีพ”ขึ้น เนื่องจากท่วงทำนองเคลื่อนไหวที่รุนแรงและการผูกติดแนวคิดคอมมิวนิสต์ของเหมาเจ๋อตุงนั้นไม่สอดคล้องกับลักษณะของสังคมไทย นอกจากนี้“พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย”ยังเป็นการเรียนลัดของการใช้แนวคิดของมาร์กซ์สำหรับการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น เมื่อไม่มีกระบวนการขั้นตอนสร้างตัวแทนของชนชั้นล่าง แต่ยังเป็นการพยายามสวมบทบาทตัวแทนของชนชั้นล่างเช่นเดียวกับ“สมาคมคนงานรถรางแห่งสยาม” ทำให้เนื้อหาการเคลื่อนไหวจึงไม่ใช่เนื้อในความคิดของชนชั้นล่างในประเทศ แต่เนื้อของความคิดแทนของชนชั้นปัญญาชนไทยที่พยายามสร้างมายาคติของตัวแทนของชนชั้นล่างโดยอ้างอิงตามสภาพแวดล้อมทางทฤษฎีที่เกิดขึ้น

 

 

                ดังนั้นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศไทยหลังการล่มสลายของ“พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย” จึงเป็นบทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชน (ส่วนใหญ่ของบุคลากรขององค์กรเคลื่อนไหวก็เป็นคนเดือนตุลาคมที่มีประสบการณ์ร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมาก่อน) ที่เกิดขึ้น บทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชนเป็นความพยายามลงพื้นที่ชุมชน เพื่อทำความเข้าใจชนชั้นล่างในชุมชนเพื่อสร้างเนื้อหาการเคลื่อนไหวของตัวแทนของชนชั้นล่างในพื้นที่ชายขอบ ดังนั้นองค์กรเคลื่อนไหวภายใต้บทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชนจึงเป็นการเพิ่มกระบวนการสร้างตัวแทนของชนชั้นล่างขึ้นมาในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบเก่า

 

                เมื่อความล้มเหลวของ“พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย”เป็นความล้มเหลวของความพยายามเปลี่ยนอำนาจการปกครองในประเทศ เหล่าบุคลากรขององค์กรพัฒนาเอกชนที่มีประสบการณ์ร่วมกับความล้มเหลวของ“พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย” จึงพยายามหลีกหนีภาพล้มเหลวในอดีต จึงสร้างฐานคติแบบ “ชุมชนนิยม” อันแนวคิดสร้างวาทกรรมพัฒนาของการบริหารจัดการกันเองภายในชุมชน เนื่องจากการพัฒนาของรัฐเน้นการเติบโตของเศรษฐกิจเป็นหลัง การเกิดโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่บกพร่องของรัฐจึงส่งผลถึงความไม่ยั่งยืนของชุมชน  องค์กรเคลื่อนไหวบนฐานคติชุมชนนิยมจึงต้องการขับเคลื่อนไหวปกป้องชุมชนตนเองจากผลกระทบของโครงการขนาดใหญ่ที่บกพร่องเหล่านั้น แต่การเคลื่อนไหวขององค์กรเคลื่อนไหวไม่ต้องการไปเกี่ยวข้องการเปลี่ยนอำนาจการเมืองในประเทศ

 




Create Date : 17 กรกฎาคม 2557
Last Update : 17 กรกฎาคม 2557 20:58:00 น. 0 comments
Counter : 2478 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

still solo one
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add still solo one's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com