เรื่องตลกร้าย... ธีราธร กับทีมชาติไทย ยุคซิโก้

กระแสแรง อุ้ม ธีราธรหลุดทีมชาติ พร้อมกระหน่ำซ้ำ ทีมเวิร์ค แหกคอก อารมณ์รุนแรง ไม่เข้าระบบ เป็นเรื่องตลก สำหรับนิยายอุ้มในทีมชาติไทยยุคซิโก้ ถามว่าชุดซิโก้ตั้งไข่จากไหน ชุดซีเกมส์ใช่ไหม แล้วซิโก้จำได้ไหมว่า ก่อนไปซีเกมส์ ก็ยังไม่มีศรัทธาเท่าไหร่ ซิโก้ประกาศแต่ไก่โห่เลย ว่าใครเป็นกัปตันและแกนหลักหัวใจซีเกมส์ (สัมภาษณ์ทีไร ย้ำเป็นสิบรอบๆ) ใช่อุ้ม ธีราธร ที่หลากหลายในกระทู้นี้ว่าไม่เข้าระบบ ภาวะอารมณ์มีปัญหา แต่เจ้าตัวเลือกคนนี้เป็นกัปตันชุดตั้งไข่ตนเอง

ปัจจุบันเวลาไปไหน เจ้าตัวมิเคยลืมเลือนที่จะเอ่ยถึงความดีความชอบของชุดตั้งไข่ แม้ลืมกัปตันชุดนั้นเป็นใคร คนที่ตนเองขอให้อาสาขุนพลหลักนำน้องๆๆ คือใคร

แล้วเรื่องโควต้า 3 คนเอเชียนส์ เกมส์ เรื่องตลกร้ายมาก เกษมเข้ามาเป็นผู้จัดการประกาศเลย 3 ตัวนอกโควต้า ไม่มีอุ้ม มีกวิน มุ้ย อีกคนจำไม่ได้ แล้วกระแสแฟนบอลตอนนั้นถาม ทำไมเอาธีราธรที่เก่งสุด บอกแบ็คไม่ใช่ตำแหน่งสำคัญประคองทีม โกล์ กลาง หน้า สำคัญกว่า

พอใกล้แข่ง มุ้ยไปลาลีกา ปรากฏว่าเอเชียนส์ เกมส์แทบไม่ได้เตรียมตัวเป็นรูปเป็นร่าง โควต้าตอนนั้น ความตั้งใจหายไปกลางอากาศเฉยเลย แต่ในไทย ลีก บี้กันไปมิไปแหล่สำหรับบุรีรัมย์ สภาพนักเตะเยิน แพ้ติด เสมอติด หลุดจ่าฝูงก่อนเข้าเบรคเอเชียนส์ เกมส์ 3 โควต้า โผล่ 2 โควต้า บุรีรัมย์ ประทุม ธีราธร (การเมืองปล่าว)


ตอนผู้จัดการเข้ามา ประสานเสียงโค้ช แบ็ค หลังไม่สำคัญ เราจะเอาโกล์ กลาง หน้า แต่ตอนนี้บอกหลังสำคัญ ขอ 2 ตัวหลักบุรีรัมย์ ตรงๆ ผมเป็นเนวินก็ไม่ให้ ตอนนั้นสุริยา สิงห์มุ้ยแรงขึ้นมามากเลย แต่แล้วแต่ แต่เนวินก็ย้ำ อาเซียนส์ คัพ ชุดใหญ่ปล่อยทุกตัว เนวินก็หวังบอลทีมชาติไทยก้าวไกลอยู่แล้ว ไม่งั้นไม่ทุ่มพยายามสร้างทรัพยากรเยาวชนขึ้นมา พยายามใช้แกนหลักของทีมเป็นนักเตะไทย เพื่อบอลไทยไปบอลโลก ถ้าทำเป็นระบบ ขั้นตอน แต่พยานหลักฐานปัจจุบัน มันคงไม่ใช่คำตอบของซิโก้และทีมงาน

แต่เมื่อชุดเอเชียนส์ เกมส์ อาเซี่ยน คัพ ไปได้ ไม่มีธีราธร ก็โอ แต่ลองไปย้อนดูสิ ในบอลชุดใหญ่ อาเซียนส์ คัพ ไทย กองหลังชุดของซิโก้อ่อนขนาดไหน มาก..... สุทธินันท์ พุกหอมคือตัวเด่นสุด นั้นคือตัวประสบการณ์นอกเอเชียนส์ เกมส์ (มาเสียบนัดสองด้วย ) เพื่อชาติจริง ควรเรียกตัวที่ดีจริง อย่างที่พูด ไม่ใช่คอนเซป ดรีม ทีมชุดหอย ชุดเดียวลากยาวยัน (ตัวอื่นหรือคนอื่นไม่ได้เกิด) อย่างนี้นักเตะคนอื่นนอกโควต้า ไม่สนแล้วทีมชาติ เตะลีกดีกว่า อย่าทำบอลทีมชาติเป็นระบบปิด ในสถานการณ์เรามีลีกอาชีพเต็มรูปแบบ




 

Create Date : 05 มกราคม 2558   
Last Update : 5 มกราคม 2558 23:06:41 น.   
Counter : 1332 Pageviews.  


การกีดกันของ AFC CHAMPIONS LEAGUE จากบอลทวีป สู่บอลภูมิภาค

สืบเนื่องจากระทู้นี้

AFC CHAMPIONS LEAGUE 2013 : คะแนนของลีกไทยและมาตรฐานของเราในสายตา AFC อ

//www.pantip.com/cafe/supachalasai/topic/S13045479/S13045479.html//www.pantip.com/cafe/supachalasai/topic/S13045479/S13045479.html

สู่บริบทคำถาม A League กับ CHAMPIONS LEAGUEAMPIONS LEAGUE

A League มีปัญหา อยู่ 3-4 เรื่องนะครับ

1. สโมสร Wellington Phoenix เป็นสโมสรของนิวซีแลนด์ ซึ่งไม่ได้รับรองจาก AFC
ซึ่งออสเตรเลีย ไม่ยอมตัดออกไป เหมือนที่เกาหลีใต้ตัดสโมสรทหารออกจากลีกสูงสุด
ยังไม่รวมเรื่องที่ลีก มีสโมสรเพียงแค่ 10 ทีม ไม่ต่างจากสิงค์โปรเลย....การตกชั้นเลื่อนชั้นไม่ได้มาตรฐาน afc

2. ไม่มีแข่งเอฟเอคัพ.. หรือ ฟุตบอลถ้วย แม้ว่า ออสเตรเลีย จะบอกว่า มีบอลถ้วย (เอา8ทีมที่ผลงานดีในลีกมาเล่นน็อคเอาท์)ที่บริสเบนคว้าแชมป์ แต่ AFC ไม่นับว่าเป็นฟุตบอลน๊อคเอาท์ครับ

3. การสนับสนุนของภาครัฐ มีน้อย เนื่องจากเอลีก เป็นเอกชนเต็มตัว รัฐเลยไม่สนับสนุน
แต่ ทาง AFC เลยมองว่า รัฐบาลออสเตรเลียไม่ให้ความสำคัญ โดนหักคะแนนตรงนี้ไปอีก

4. องค์กรจัดการแข่งขัน ยังไม่ได้มาตรฐาน ปฏิทินของเอลีก ไม่สอดคล้องกับลีกอื่นๆในโซนตะวันออกอีก
เอลีกเปิดลีก เดือนตุลาคม จบ เดือนมีนาคม ต่อฟุตบอลถ้วย เดือนเมษายนอีกเดือน
8เดือน ตามทีAFC ต้องการก็จริง ก็ได้คะแนนตรงนี้น้อยไป

จุดแข็ง ของออสเตรเลีย มาตรฐานเทคนิค สนาม การจัดการแข่งขัน อคาเดมี่ ซึ่งคะแนนดีมาก
ถ้าปรับเรื่องจำนวนสโมสรที่แข่งให้ได้สัก 14ทีม ตัดทีมนิวซีแลนด์ออกไป มีดิวิชั่น1 คงกลับมาไม่ยาก

แต่ยากตรงที่ สมาคมฟุตบอลออสเตรเลีย ดื้อ...อ่ะไม่ค่อยเชื่อafc เท่าไร

จากคุณ : ตะวันรุ่งทุ่งรังสิต

นำมาสู่ทัศนะคำตอบทีว่าการกีดกันของAFC CHAMPIONS LEAGUE กับการยอมรับของ A League

เรื่องออสซี่จะไปยอมตาม เอเอฟซี ที่ขัดแย้งตามเงื่อนไข บอกตรงแทบจะเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้เลย เพราะมันจะผิดธรรมชาติทางกีฬาอาชีพของออสซี่ ปฏิทินที่บอกจะให้เปลี่ยน นี่เป็นไปไม่ได้ เพราะเว้นตามช่วงระยะให้เหลื่อมกันกับรักบี้ ลีก บางสนามของทีมฟุตบอล คือสนามเดียวกับรักบี้ ลีก

เรื่องแกรนด์ ไฟนอล ไม่ให้จัดไปจัดบอลถ้วย นี้ก็ยิงแล้วใหญ่ ออสซี่ ฟุตบอล รักบี้ ลีก จัดระบบลีก ก่อนเอาทีมดีสุดมาเพลย์ ออฟ แบบจัดชิงแชมป์ แกรนด์ไฟนอล นี่ออสซี่ไปลอกมาจากอเมริกัน เกมส์ แต่่ทำแบบออสซี่ ให้ซับซ้อนแล้วงงกว่าหน่อย

เรื่องรัฐจะอุ้ม หนุนระบบแข่ง นี้คงลำบาก นี้ลอกมาจากอเมริกัน เกมส์ ทำให้เป็นเกมส์ ธุรกิจ ต้องอยู่ให้ได้ มีช่วงนี้ แรทบิท ทีมรักบี้ ลีก จะล้มละลาย รัฐและสมาคมยังไม่ช่วย พวกกองเชียร์และสโมสรวิ่งหาทางรอดเอง ทั้งเดินไปขอบริจาค หานายทุนใหม่

ยิ่งการเข้าร่วม AFC ของออสเตรเลีย เพียงเพื่อโอกาสมากขึ้นในการไปบอลโลกเฉยๆ ไม่ได้อยากมีส่วนร่วม หรือเสวนามากมาย การรับรู้ซอคเกอร์ของคนออสซี่ และประชาสัมพันธ์ของรัฐก็น้อย อารมณ์ประมาณ เปรียบในไทย ความเติบโต กีฬาบาสในไทย ยิ่งปกติออสซี่ห่างไกลกับความรู้สึกสัมพันธ์เอเชีย คนออสรู้สึกตนเองสัมพันธ์อยู่สองชาติ อังกฤษ กับ อเมริกา  ดูจากรายการทีวีที่ไปซื้อมา ข่าวที่ออกติดตาม ถัดมาก็เป็นไทย อินโดนี้แหละ พอมีพื้นที่ข่าวในออส บ้าง ไม่นับพวกเชื้อผสมถิ่นกำเนิดตนเอง

มีอย่างเดียวที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยงแปลงตามเอเอฟ ซี เมื่อรายการสโมสรชิงแชมป์เอเชียของ เอเอฟซี ทำเงินได้จริง สร้างทั้งกำไร กระแส ยอดผู้ชม แต่บอกตรงเป็นสิบปี ปัจจุบันเหมือนเตะในกะลา แค่เอเชียตะวันออก และ เอเชียตะวันออกกลาง

เงื่อนไขที่ออกมากมายดูเหมือนเป็นเงื่อนกระตุ้นให้แต่ชาติพัฒนา แต่ไม่ได้ดูโครงสร้างพื้นฐานของแต่ละชาติในเอเชียเลยว่ามีโอกาสทำได้อย่างฝันไหม มันจึงเป็นกาตั้งกำแพงมากกว่า  การจำกัดสิทธิ์ทีมในชาติกลางและชาติเล็กชาติน้อย ทำให้วัฒนธรรมบอลสโมสรเอเชีย ไม่แพร่หลาย จึงจำกัดกระแสอยู่แค่ในวงกะลา เอเชียตะวันออก และ เอเชียตะวันออกกลาง (บอลUCL ไม่เห็นต้องไปกีดกันให้ พวกสโมสรลักเซมเบิรก์ หมู่เกาะฟาโรห์  ชาติเล็กชาติน้อยไม่ให้แข็ง ดดยเหตุบอลลีกไม่เป็นอาชีพ ไร้สาระมากเลย มันดูเป็นการกีดกันการค้าและการมีส่วนร่วมมากกว่า)

สิ่งที่เอเอฟซี ควรทำต่อไปคือการสร้างโอกาสร่วมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เขตภูมิภาคที่ศักยภาพทั้งเศรษฐกิจและสังคมถัดจากสองภูมิภาคกะลาของเอเอฟซี เมื่อนั้น ออสซี่คงเริ่มอยากมีส่วนร่วม ออสเตรเลียอยากมีทัวร์นาเมนท์บอลกับพวกอาเซียมาก อยากใช้เป็นส่วนหนึ่งเคาะสนิมและสร้างเด็กใหม่ขึ้นมา หลังจากค่อยมุ่งไปสู่พัฒนายกระดับบอลภูมิภาคเอเชียใต้  แต่ต้องทำให้ภูมิภาคมีส่วนร่วมการแข่งขัน เมื่อนั้นลิขสิทธิบอล สิทธิการค้า กระแสมันก็คงไม่จำกัดแค่ในกะลา สองเขตภูมิภาค เห็นเตะไปมาอยู่แค่นี้ ปีแรกของAFC จัดแบบแชมป์เปี้ยนส์ ลีก สโมสรไทย เทโรยังทะลุเข้าชิงได้เลย ขนาดAFC คัพ ไปมา กลายเป็น บอลของชาติของเอเชียตะวันออกไกล กัน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มันยิ่งทำให้ยิ่งเป็นตลาดเฉพาะภูมิภาค ไม่ใช่ทำแล้วขยายเป็นบอลMass ของระดับทวีป

สิ่งที่บอกทั้งหมดคือ เอเอฟซี อยากให้บอลสโมสรเอเชียพัฒนา ควรทำงานเชิงรุก เข้าหาพื้นที่ พัฒนาพื้นที่ ไม่ใช่เชิงรับ ตั้งเงื่อนไขให้พื้นที่เข้า และสร้างธรรมภิบาลเกิดขึ้น ไม่มีนอกมีใน ไอ้ตรงนี้มีนอกมีใน จนออสซี่ให้คลุกวงในเข้ามาเป็นสมาชิกเอเอฟซีแบบไม่มีมาตรฐานและบรรทัดฐาน นี้แหละทำให้ออสซี่ไม่ยอมรับบทบาทเอเอฟซี เชื่อในอำนาจเงินและอำนาจในประเทศตนเอง เรื่องออสซี่จะไปยอมตาม เอเอฟซี ที่ขัดแย้งตามเงื่อนไข บอกตรงแทบจะเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้เลย เพราะมันจะผิดธรรมชาติทางกีฬาอาชีพของออสซี่ ปฏิทินที่บอกจะให้เปลี่ยน นี่เป็นไปไม่ได้ เพราะเว้นตามช่วงระยะให้เหลื่อมกันกับรักบี้ ลีก บางสนามของทีมฟุตบอล คือสนามเดียวกับรักบี้ ลีก

เรื่องแกรนด์ ไฟนอล ไม่ให้จัดไปจัดบอลถ้วย นี้ก็ยิงแล้วใหญ่ ออสซี่ ฟุตบอล รักบี้ ลีก จัดระบบลีก ก่อนเอาทีมดีสุดมาเพลย์ ออฟ แบบจัดชิงแชมป์ แกรนด์ไฟนอล นี่ออสซี่ไปลอกมาจากอเมริกัน เกมส์ แต่่ทำแบบออสซี่ ให้ซับซ้อนแล้วงงกว่าหน่อย

เรื่องรัฐจะอุ้ม หนุนระบบแข่ง นี้คงลำบาก นี้ลอกมาจากอเมริกัน เกมส์ ทำให้เป็นเกมส์ ธุรกิจ ต้องอยู่ให้ได้ มีช่วงนี้ แรทบิท ทีมรักบี้ ลีก จะล้มละลาย รัฐและสมาคมยังไม่ช่วย พวกกองเชียร์และสโมสรวิ่งหาทางรอดเอง ทั้งเดินไปขอบริจาค หานายทุนใหม่

ยิ่งการเข้าร่วม AFC ของออสเตรเลีย เพียงเพื่อโอกาสมากขึ้นในการไปบอลโลกเฉยๆ ไม่ได้อยากมีส่วนร่วม หรือเสวนามากมาย การรับรู้ซอคเกอร์ของคนออสซี่ และประชาสัมพันธ์ของรัฐก็น้อย อารมณ์ประมาณ เปรียบในไทย ความเติบโต กีฬาบาสในไทย ยิ่งปกติออสซี่ห่างไกลกับความรู้สึกสัมพันธ์เอเชีย คนออสรู้สึกตนเองสัมพันธ์อยู่สองชาติ อังกฤษ กับ อเมริกา  ดูจากรายการทีวีที่ไปซื้อมา ข่าวที่ออกติดตาม ถัดมาก็เป็นไทย อินโดนี้แหละ พอมีพื้นที่ข่าวในออส บ้าง ไม่นับพวกเชื้อผสมถิ่นกำเนิดตนเอง

มีอย่างเดียวที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยงแปลงตามเอเอฟ ซี เมื่อรายการสโมสรชิงแชมป์เอเชียของ เอเอฟซี ทำเงินได้จริง สร้างทั้งกำไร กระแส ยอดผู้ชม แต่บอกตรงเป็นสิบปี ปัจจุบันเหมือนเตะในกะลา แค่เอเชียตะวันออก และ เอเชียตะวันออกกลาง

เงื่อนไขที่ออกมากมายดูเหมือนเป็นเงื่อนกระตุ้นให้แต่ชาติพัฒนา แต่ไม่ได้ดูโครงสร้างพื้นฐานของแต่ละชาติในเอเชียเลยว่ามีโอกาสทำได้อย่างฝันไหม มันจึงเป็นกาตั้งกำแพงมากกว่า  การจำกัดสิทธิ์ทีมในชาติกลางและชาติเล็กชาติน้อย ทำให้วัฒนธรรมบอลสโมสรเอเชีย ไม่แพร่หลาย จึงจำกัดกระแสอยู่แค่ในวงกะลา เอเชียตะวันออก และ เอเชียตะวันออกกลาง (บอลUCL ไม่เห็นต้องไปกีดกันให้ พวกสโมสรลักเซมเบิรก์ หมู่เกาะฟาโรห์  ชาติเล็กชาติน้อยไม่ให้แข็ง ดดยเหตุบอลลีกไม่เป็นอาชีพ ไร้สาระมากเลย มันดูเป็นการกีดกันการค้าและการมีส่วนร่วมมากกว่า)

สิ่งที่เอเอฟซี ควรทำต่อไปคือการสร้างโอกาสร่วมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เขตภูมิภาคที่ศักยภาพทั้งเศรษฐกิจและสังคมถัดจากสองภูมิภาคกะลาของเอเอฟซี เมื่อนั้น ออสซี่คงเริ่มอยากมีส่วนร่วม ออสเตรเลียอยากมีทัวร์นาเมนท์บอลกับพวกอาเซียมาก อยากใช้เป็นส่วนหนึ่งเคาะสนิมและสร้างเด็กใหม่ขึ้นมา หลังจากค่อยมุ่งไปสู่พัฒนายกระดับบอลภูมิภาคเอเชียใต้  แต่ต้องทำให้ภูมิภาคมีส่วนร่วมการแข่งขัน เมื่อนั้นลิขสิทธิบอล สิทธิการค้า กระแสมันก็คงไม่จำกัดแค่ในกะลา สองเขตภูมิภาค เห็นเตะไปมาอยู่แค่นี้ ปีแรกของAFC จัดแบบแชมป์เปี้ยนส์ ลีก สโมสรไทย เทโรยังทะลุเข้าชิงได้เลย ขนาดAFC คัพ ไปมา กลายเป็น บอลของชาติของเอเชียตะวันออกไกล กัน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มันยิ่งทำให้ยิ่งเป็นตลาดเฉพาะภูมิภาค ไม่ใช่ทำแล้วขยายเป็นบอลMass ของระดับทวีป

สิ่งที่บอกทั้งหมดคือ เอเอฟซี อยากให้บอลสโมสรเอเชียพัฒนา ควรทำงานเชิงรุก เข้าหาพื้นที่ พัฒนาพื้นที่ ไม่ใช่เชิงรับ ตั้งเงื่อนไขให้พื้นที่เข้า และสร้างธรรมภิบาลเกิดขึ้น ไม่มีนอกมีใน ไอ้ตรงนี้มีนอกมีใน จนออสซี่ให้คลุกวงในเข้ามาเป็นสมาชิกเอเอฟซีแบบไม่มีมาตรฐานและบรรทัดฐาน นี้แหละทำให้ออสซี่ไม่ยอมรับบทบาทเอเอฟซี เชื่อในอำนาจเงินและอำนาจในประเทศตนเอง




 

Create Date : 11 ธันวาคม 2555   
Last Update : 11 ธันวาคม 2555 5:42:08 น.   
Counter : 1342 Pageviews.  


เส้นทาง J League จากจุดกำเนิด ผ่านจุดรุ่งโรจน์และจุดตกต่ำ : The rise and The fall of J League

ลีค ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสนองนโยบาย ญี่ปุนจะไปบอลโลก ก่อนปี 2002 ที่จะเป็นเจ้าภาพ คือไปบอลโลก แบบไม่ใช้ตัวช่วย

เพื่อตอบสนองจุดประสงค์ การดึงนักเตะต่างชาติมาค้าแข้ง จึงเป็นพวกทมี่คัดมาแล้วมีมาตรฐานระดับสูง นักเตะต่างชขาติที่ดึงบางคนไปเล่นในลีกยุโรป สบายเลยต่อมา เช่น แพทริค เอ็มโบม่า เป็นต้น

ตอนแรก เจ ลีค อาจนำนักเตะดังที่ใกล้ปลด ระวาง มาเล่น เพื่อ บูมเจลีค เช่น ซิโก้ แกรี่ ลินิเกอร์ แต่ปัจจุบัน เมื่อเจ ลีค แกร่ง และนักเตะพัฒนาไปมากแล้ว อัตรานำนักเตะต่างชาติน้อยลง แถมเน้นคุณภาพ และ ไม่นำนักเตะใกล้ปลดระวาง บางรายเอามาเล่น สอง สามเดือนไม่รุ่งเจอปล่อยกลับเลย

นี่คือรายชื่อ นักเตะต่างชาติ ปัจจุบัน ของเจลีค

Magno Alves (G Osaka) บราซิล

Bare (Gamba Osaka) บราซิล

Cho Jae-Jin (Shimizu) เกาหลีใต้

Danilo (Kashima) บราซิล

Nenad Dorjovic ; (JEF United Ichihara Chiba) เซอร์เบีย ติดทีมชาติชุดใหญ่ 18 นัด ยิง 1ประตู

Fabao ;(Kashima) บราซิล เคยไปลุยลีก สเปน กับ รีล เบติส 1 ฤดูกาล

Franco (Kashiwa Reysol) บราซิล ติดทีมชาติบราซิล 8 นัด ยิง 1 ประตู เคยไปลุย บุนเดสลีก้า ที่เยอรมัน กับ ไบเอร์เลเวอร์คูเซ่น

Frode Johnsen (Nagoya) นอรืเวย์ ติดทีมชาติ 30 นัด ยิง 10 ประตู ลุยแชมป์เปี้ยน ลีค กับ โรเซนบอร์คมาแล้ว เป็นสูนย์หน้า สำรอง ยอห์น คาริวในทีมชาติ

Kim Jin-Kyu (Iwata) เกาหลีใต้

Kim Jung-Woo (Nagoya) เกาหลีใต้

Lopes (Vegalta Sendai) บราซิล

Marquinhos (Shimizu) บราซิล

Robson Ponte (Urawa) บราซิล ประสบการ์ณ ใน ลีก บุนเดสลีกา 4 ปี กับ ไบเออร์ เลเวอร์คูเซ่น กับ โวล์ฟสบวกซ์

Marek Spilar (Nagoya) สโลวะเกีย ติดทีมชาติ 30 นัด เคยไปลุยลีก เบลเยียม กับ คลับ บรู๊ช

Ilian Stoyanov (JEF United Chiba) บัลแกเลีย ติดทีมชาติบัลแกเรีย 32 นัด พร้อมลุย บอลชิงแชมป์ยุโรป ปี 2004

Emerson Thome (Kobe) บราซิล ลุยพรีเมียร์ ลีก มา 6 ปี กับ เชพฟิลด์ เวนเดย์ เชลซี ซันเดอร์แลน โบลตัน วีแกน

Washington (Urawa) บราซิลติดทีมชาติบราซิล 10 นัด ยิง 3 ประตู

Yoon Jung-Hwan (Tosu) เกาหลีใต้

ตำแหน่ง ที่ เจ ลีค ต้องการสำหรับนักเตะต่างชาติ คือ ตำแหน่งเชิงรุก ตัวยิง หรือ ตัวทำเกม ส่วนหนึ่ง เพื่อเอาให้นักเตะญีปุนเรียนรู้เทคนิค

อย่างที่กล่าวข้างต้น ว่า เจ ลีค ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อพัฒนาศักยภาพ นักเตะญี่ปุน และ ทีมชาติญี่ปุน

นี่คือ สถิต ดาวยิง ปี 2007

1st Juninho Kawasaki Frontale 22 ประตู บราซิล

2nd Bare Gamba Osaka 20 ประตู บราซิล

3rd Edmilson Albirex Niigata 19 ประตู บราซิล

4th Ueslei Sanfrecce Hiroshima 17 ประตู บราซิล

5th Washington Urawa Red Diamonds 16 ประตู บราซิล

6th Leandro Vissel Kobe 15 ประตู บราซิล

7th Hideo Oshima Yokohama F. Marinos 14 ประตู ญี่ปุน
Yoshito Okubo Vissel Kobe 14 ประตู ญี่ปุน
Marquinhos Kashima Antlers 14 ประตู ญี่ปุน


10th Frode Johnsen Nagoya Grampus Eight 13 ประตู นอร์เวย์

Cho Jae-Jin Shimizu S-Pulse 13 ประตู เกาหลีใต้

จะเห็นว่า ขนาดนักเตะเกาหลีใต้ นอร์เวย์ ที่ถูกซื้อมาเป็นดาวยิง ยังมีสถิติต่ำกว่า ญี่ปุนชาติเจ้าของลีก

สินค้าหลักของเจ ลีค คือ นักเตะ บราซิล

มาดูแต่ละทีมดีกว่า ว่ามีนักเตะต่างชาติกี่คน

อย่างที่บอก เจ ลีค สมัยนี้ อัตราส่วนนักเตะต่างชาติน้อยมาก

เริ่มจากทีมแชมป์

คาชิม่า แอนท์เลอร์ (สินค้าหลักตั้งแต่ตั้งสโมสร มาคือบราซิล โดยเฉพาะ สายสัมพันธ์กับ ซิโก้ ดาวดัง ที่เอามาเล่นยุคบุกเบิก)

มี 3 คน เป็น บราซิล Fabao Danilo Marquinhos


อุราวะ เรด ไดมอน รองแชมป์ ที่พึ่งถูกแย่งไปในปีที่ผ่านมา

มีนักต่างชาติ 2 คน บราซิล Edmilson Robson Ponte
โดย Robson Ponte คือนักเตะยอดเยี่ยม เจ ลีค ปีที่ผ่านมา

กัมบะ โอซาก้า อดีตทีม ของ เดอะ เฮง วิยา เลาหกุล

มีนักเตะต่างชาติ 2 คน บราซิล Sidiclei Bare

ชิมิสุ เอส พัลส์

มีนักเตะต่างชาติ 4 คน บราซิล 2 คน Fernandinho Anderson
เกาหลีใต้ 2 คน Kim Dong-Sub Kim Dong-Sub

Kawasaki Frontale
มีนักเตะต่างชาติ 4 คน บราซิล 3 คน Francismar Juninho Magnum
เกาหลีเหนือ 1 คน Chong Tese

Albirex Niigata
มีนักเตะต่างชาติ 3 คน บราซิล 3 คน Silvinho Edmilson Marcio Richardes

Yokohama F. Marinos
มีนักเตะต่างชาติ 2 คน บราซิล 2 คน Marques Eltinho

Kashiwa Reysol
มีนักเตะต่างชาติ 5 คน บราซิล 4 คน Alceu Franca Marcio Araujo
Bruno
บัลแกเลีย 1 คน Doumbia

จูบิโล อิวาตะ
มีนักเตะต่างชาติ 3 คน บราซิล 3 คน Marquinhos Parana, Fabricio, Henrique

Vissel Kobe
มีนักเตะต่างชาติ 6 คน บราซิล 4 คน Leandro Botti Emerson Thome Gabriel
เกาหลีใต้ 2 คน Park Kang-Jo Kim Tae-Yeon

Nagoya Grampus
มีนักเตะต่างชาติ 3 คน สโลวะเกีย 1 คน Marek Spilar
นอร์เวย์ 1 คน Frode Johnsen
เกาหลีใต้ 1 คน Kim Jung-Woo

F.C. Tokyo
มีนักเตะต่างชาติ 3 คน บราซิล 3 คน Evaldo Lucas Rychely

JEF United Ichihara Chiba
มีนักเตะต่างชาติ 3 คน บราซิล 1 คน Reinaldo
เกาหลีใต้ 1 คน Park Jong-Jin
เซอร์เบีย 1 คน Nenad Dorjovic
Oita Trinita
มีนักเตะต่างชาติ 3 คน บราซิล 3 คน Robert Edmilson Augusto

Omiya Ardija
มีนักเตะต่างชาติ 3 คน บราซิล 3 คน Leandro, Denis Marques, Pedro Junior

Ventforet Kofu
มีนักเตะต่างชาติ 2 คน มอนเตวิโก 1 คน Dzenan Radoncic
บราซิล 1 คน Alberto

ถูกปล่อยไปแล้ว เนื่องจากตกชั้น ปีนี้ทั้ง 2 คน

Sanfrecce Hiroshima
มีนักเตะต่างชาติ 5 คน บัลแกเลีย 1 คน Ilian Stoyanov
โครเอเชีย 1 คน Dario Dabac
เกาหลีเหนือ 1 คน Lee Han-Jae
เกาหลีใต้ 1 คน Cho Woo-Jin
บราซิล 1 คน Ueslei

เนื่องจากตกชั้นในปีนี้ นักเตะต่างชาติเป็นเหยื่อ 2 คน ที่ถูกปล่อยตัว Cho Woo-Jin กับ Ueslei

นักเตะที่ซื้อเข้า ก็เป็นญีปุนล้วนเหมือนหลายทีม

สุดท้าย

มีนักเตะต่างชาติ 5 คน เกาหลีใต้ 3 คน Oh Bum-Suk Cho Young-Cheol Bae Seung-Jin
บราซิล 2 คน Marcos Paulo Katatau

จากการตกชั้น นักเตะต่างชาติเจอปล่อย 3 คน Katatau Katatau Oh Bum-Suk

เจ ลีค เริ่มต้น เมื่อ ปี 1993 เวอร์ดี้ คาวาซากิ เปิดบ้านรับการมาเยือน ของ โยโกฮาม่า มารินอส ซึ่งสร้างกระแส ผู้ชมในญีปุนมาดูนัดนี้ อย่างไม่น่าเชื่อ เมื่อในฐานะกีฬาลูกเมียน้อย อย่าง ฟุตบอล ที่เป็นรอง เบสบอล ซูโม่ แม้กระทั่ง กอล์ฟ ยังมีคนนิยมมากกว่าเลย

ความเป็นจริง ถ้าใครยังจำได้ ในการจัดตั้ง ไทยลีก ครั้งแรก นัดเปิดสนามไทย ลีก ระหว่าง ทหารอากาศ กับ ธนาคารกสิกรไทย นัดเปิดสนาม เก็บคาดูก็ได้ ล้าน บาท (แบบ เก็บ ถูก คนแน่น) ตอนนี้ จัดมาแล้ว 11 ครั้ง มันอาจจะจมลง จนลืมอดีต ว่า คนเคยแน่นสนามไทยลีค ในปี 1996 -1997 ณ สนามศุภชลาสัย

ตอนจัดครั้งแรก มี 10 ทีม

ใครว่า เจ ลีค ไม่ประสบปัญหา

ปี 1997 เจ ลีค เริ่มประสบปัญหา ความนิยมตกต่ำ อย่างรุนแรง จากผู้คนเฉลี่ย 19000 คน เหลือแค่ 10 131 คน

จนสโมสรต่างเริ่มประสบปัญหาขาดทุน
จนกระทั่งกฤติส่งผลกระทบชัดเจน เมื่อ ปี 1999

หนึ่งในตัวอย่างคือการยุบร่วมสองสโมสรของคู่แข่งร่วมเมือง ในเมืองโยชิม่า เพื่อความอยู่รอด ระหว่าง โยโกฮาม่า ฟลูเกลส์ กับ โยโกฮาม่า มารินอส เหลือเพื่อ โยโกฮาม่า มารินอส


ทั้งที่ โยโกฮาม่า ฟลูเกลส์ ชนะบอลถ้วยสำคัญ เอมเพอเรอซ์คัพ นัดสุดท้าย ก่อน ยุบ ในวันที่ 1 มกรา 1999

แม้ตอนหลังแฟนบอลผุ้ภักดี จะจัดตั้งทีม Yokohama F.C. มาแทน (คล้ายกับ แมน ยู เลยกองเชียร์ มาตั้งทีมบอลกันเอง

จากการเกิด ฟองสบูแตก หลังจากประสบความสำเร็จ 3 ปีแรก อย่างมโหฬาร

ในปี 1999 สมาคมฟุตบอล ญี่ปุน เริ่มตระหนัก ที่ผ่านมา ทิศทางพัฒนา บอลลีก มาผิดทาง


สมาคมฟุตบอล ญี่ปุน เลยรื้อโครงสร้าง ฟุตบอล ลีก ซะ สร้าง 2 ลีกดิวิชัน

J 1 ดิวิชันหนึ่ง มี 16 ทีม J 2 มี 10 ทีม โดยร่วมเป็นการร่วม 1 ทีมตกชั้น J 1 กับ 9 ทีมสมัครเล่น ในดิวิชัน 2 เดิม

โดยทีมทีใน J 2 พยายามเข้มงวด ไม่ให้ลงทุนมากเหมือน J 1 ในสมัยก่อน โดยอาจมาจากเมืองเล็กๆ ที่มีความผูกพันธ์รัก ทีมสูง (ปัญหาการเงินสโมสร แก้ด้วยหลัก เศรษฐศาสตร์ ทั้งระบบ ไม่ใช่มาคิดแค่กระตุ้นให้คนเข้าสนามมาก แต่สนับสนุน สโมสรอยู่แบบพอเพียง ช่วยเหลือตัวเองได้)

ตอนนี้มีการปรับเปลี่ยระบบลีก ตามแบบ ยุโรป ไม่เล่น แบบ สอง เลค แล้วมาหาแชมป์ แบบนี้เข้าใจว่าลอกมาลีกอาร์เจนติน่า
แผนการในอนาคต ของ เจลีค หลังจากฟื้นตัวจากความตกต่ำ

หลัง ปี 2005 ที่ เจ ลีค เริ่มฟื้นตัว ทางเศษฐกิจ แล้ว มี ประ มาณ 40 - 60 สโมสร สนใจเข้าร่วมลีก ใน 30 ปี สมาคมฟุตบอล ญี่ปุน เลยวางแผนขยายลีคล่างเพื่องรองรับ คือ ขยาย J 2 เป็น 18 ทีม ใน ปี 2010 และ 22 ทีม ในปี 2016

เอาร่องรอย ความล้มหลว ไทย ลีค มาให้ดูประกอบ

ไทยลีก เริ่มจัด ปี 1996 - 2003

เริ่มด้วย ทีมรองแชมป์ ไทย ลีค ครั้งแรก ตลาดหลักทรัพย์ เริ่มต้นดี แต่ตอนหลังขาดทุน ทีมแทบตาย ดีที่กรุงเทพมหานคร มาอุ้มไว้เปลี่ยนชื่อ เป็น กรุงเทพ

ทีมสินธนา แชมป์ครั้งที่ 3 ก็ประสบปัญหาขาดทุน จนเจ้าของหมู่บ้านสินธนา สู้ไม่ไหว ล่าสุด ไปยุบ ร่วม กับ จุฬา กำลังกลับมาเล่นไทย ลีก อีกครั้ง หลังตกชั้นไปนาน

ทีม ธนาคาร กสิกรไทย อดีตแชมป์เอเชีย 2 สมัย เจอพิษเศษฐกิจ ถอนตัว ยุบทีม ในปี 2000 ภาพความยิ่งใหญ่เป็นเพียงร่องรอยอดีต

ทีมทหารอากาศ ไม่ได้รับทุนสนับสนุน จากผู้ใหญ่ ร่วมทั้งขาดการส่งนักเตะจากโรงเรียน จ่าอากาศ ที่เอาปั้นทดแทนรุ่นพี่ได้เสมอ จากแชมป์ 2 สมัย ตกชั้นไปนาน จนเกือบขึ้นชั้น แต่แพ้นัดสุดท้ายอดเลื่อนชั้น ในปีนี้

นี่คือตัวอย่างความล้มเหลวเรื่อยๆ ในการจัดไทยลีค ที่ผ่านมา

ข้อมูล เจ 2 ต่อนะครับ

Consadole Sapporo
มีนักเตะต่างชาติ 5 คน บราซิล 4 คน Davi , Bruno Quadros , Caue , Itacare
เกาหลีใต้ 1 คน Chung Yong-Dae
ปีที่แล้วได้แชมป์ เจ 2 เลื่อนชั้น ปล่อย 3 นักเตะบราซิล Bruno Quadros , Caue , Itacare
แต่นำเข้า 2 นักเตะบราซิล Alceu Nonato
Tokyo Verdy อดีตแชมป์ เจ ลีค สองสมัยแรก เลื่อนชั้นในฐานะรองแชมป์เจ 2
มีนักเตะต่างชาติ 5 คน บราซิล 3 คน Hulk Diego และ Gilmar Silva Santos
อียิปต์ 2 คน Ali Elsamni และ Osama Elsamni

Kyoto Sanga F.C. เลื่อนชั้นในฐานะทีมอันดับ 3
มีนักเตะต่างชาติ 4 คน บราซิล 3 คน Tiago Andre aulinho
เกาหลีเหนือ 1 คน Kang Hyun-Su

Vegalta Sendai
มีนักเตะต่างชาติ 4 คน บราซิล 3 คน Jonilson Lopes Fabinho
เกาหลีเหนือ 1 คน Ryan Yon-Gi

Cerezo Osaka
มีนักเตะต่างชาติ 3 คน บราซิล 3 คน Ale Giovani Germano

Shonan Bellmare
มีนักเตะต่างชาติ 4 คน บราซิล 3 คน Jean Eduardo Marques และ Adiel
เกาหลีเหนือ 1 คน Kim Yong-Gwi

Avispa Fukuoka
มีนักเตะต่างชาติ 5 คน บราซิล 3 คน Alex Lincoln Rafael
ออสเตรเลีย 2 คน Alvin Ceccoli และ Mark Rudan

Sagan Tosu
มีนักเตะต่างชาติ 4 คน บราซิล 2 คน Leonardo Josue
เกาหลีใต้ 2 คน Yoon Jung-Hwan และ Kim Sin-Young

Montedio Yamagata
มีนักเตะต่างชาติ 2 คน บราซิล 2 คน Leonard Gustavo

Ehime F.C.
มีนักเตะต่างชาติ 1 คน บราซิล 1 คน Josimar

Thespa Kusatsu
มีนักเตะต่างชาติ 3 คน บราซิล 3 คน Chika Marlon Careca

Mito HollyHock
มีนักเตะต่างชาติ 3 คน บราซิล 2 คน Edinaldo Biju
เกาหลีเหนือ 1 คน Kim Ki-Su
Tokushima Vortis
มีนักเตะต่างชาติ 4 คน บราซิล 3 คน Andre Cleberson และ Da Silva
เกาหลีใต้ 1 คน Kim Sang-Woo

จะเห็นว่าสินค้าหลัก ใน เจ 2 ก้ยังเป็นบราวิล โดยมี เกาหลีใต้ และ เกาหลีเหนือมาแย่งตลาดเล็กน้อย
มีแปลก คือ เวอร์ดี้ โตเกียว มี 2 นักเตะอียิปต์ ซึ่งเป็นสองพี่น้อง ที่เวอร์ดี้ ดึงตัวมาตั้งแต่เด็ก อยู่ทีมเยาวชน เอามาปั้น

//en.wikipedia.org/wiki/



"J2 ก็ยังใช้พวกบราซิล ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ หรือยุโรปตะวันออก เป็นนักเตะต่างชาติตัวหลักครับ โดยเฉพาะทีมที่มีความหวังเลื่อนชั้นยิ่งใช้ตัวต่างชาติดีๆมาช่วยทีม

J2 ในปัจจุบันก็มีทีมที่เราคุ้นชื่อกันดีตกลงมาเล่นหลายทีมแล้วนะครับ Sanfrece Hiroshima นี่ก็สมาชิกยุคก่อตั้ง J-league หรือทีมอย่าง Avispa Fukuoka, Shonan Bellmare หรือ Cerezo Osaka ต่างก็เคยเล่นในลีกสูงสุดมาแล้ว

ขอเล่าประสบการณ์ที่ญี่ปุ่นให้ฟังเป็นของแถมก็แล้วกัน ผมเคยไปอยู่ที่เมือง Utsunomiya ซึ่งเป็นบ้านของทีม Tochigi S.C. ทีมนี้เล่นอยู่ในระดับ JFL (รองจาก J2) ซึ่งเป็นลีกเดียวกับ Gainare Tottori ของโค้ชเฮง เคยเข้าไปดูการแข่งขันในสนามบ้าง รู้สึกว่าบรรยากาศไม่ค่อยคึกคักเท่าไหร่เพราะมาตรฐานของทีมในลีกต่างกันมาก ทีมนำแต้มกระฉูดไปเกือบร้อยแล้วทีมบ๊วยยังได้ไม่ถึง 10 แต้มเลย บางทีมเล่นดีแต่ไม่มีสิทธิเลื่อนชั้นเพราะไม่ได้เป็นสมาชิกของ J-League อย่าง Sagawa Kyubin S.C. ปีที่แล้วก็เป็นแชมป์ขาดลอยแต่ไม่ได้เลื่อนชั้น ปีนี้ก็ยังคงนำคู่แข่งขาดเหมือนเคย ส่วนนักเตะต่างชาติบางทีมไม่มีเลย อย่าง Tochigi S.C. ใช้นักเตะญี่ปุ่นล้วน แต่บางทีมที่หวังสร้างตัวไปถึง J-League ก็ลงทุนดึงพวกบราซิลหรือยุโรปตะวันออกมาบ้างเหมือนกัน แต่ที่นิยมมากคงเป็นนักเตะพลังโสมทั้งเกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ

พื้นฐานการซ้อมฟุตบอลที่โน่นต่างกับบ้านเรามาก เด็กไทยเราเล่นแบบไหนยังไงกับใครก็ได้ ไม่รู้จักใครไปยืนข้างสนามเดี๋ยวเค้าก็ให้เล่น แต่ที่ญี่ปุ่นต้องเล่นเป็นทีมเท่านั้น ไปไหนไปเป็นทีม ลงเล่นเป็นทีม เรื่องจะไปแจมเล่นกับคนอื่นนี่แทบเป็นไปไม่ได้ โดยเริ่มเล่นเป็นกลุ่มกันตั้งแต่อายุน้อยๆ อย่างลูกของหัวหน้างานผมเรียนชั้น ป.5 แต่ซ้อมทีมแทบทุกวัน เสาร์อาทิตย์ทางโรงเรียนก็พาไปเดินสายแข่งกับโรงเรียนอื่นๆภายในเมืองบ้าง ภายในจังหวัดบ้าง หรือระหว่างจังหวัดก็มี เรียกว่าแข่งระบบลีกกันตั้งแต่ประถมเลย

ผมก็เห็นเหมือนกับหลายๆคนว่าถ้าวัดกันที่ฝีเท้านักบอลญี่ปุ่นไม่ได้เก่งกว่านักบอลไทยเราเท่าไหร่เลย แต่พอเล่นรวมกันเป็นทีมแล้วเค้ามีความเข้าใจในเกมมากกว่าอย่างเทียบกันไม่ติด แต่ละคนรู้หน้าที่ของตัวเองว่าจะต้องทำอะไรตรงไหน คงเป็นเพราะการฝึกฝนที่ทำกันมาแต่เล็กแต่น้อยและเริ่มกันอย่างจริงจังมาเป็นสิบๆปีแล้วนั่นเอง
Verdy Kawasaki สู้ความนิยมของ Yokohama Marinos และ Yokohama Flugel ซึ่งอยู่เมืองติดกันไม่ได้ครับ แม้กระทั่ง Kawasaki Frontale ที่ตั้งอยู่ในเมืองเดียวกันและเข้ามาใน J-League ทีหลังยังมีแฟนบอลท้องถิ่นมากกว่าเลย สาเหตุจะเป็นอะไรนั้นก็ไม่รู้เหมอนกัน อาจจะเป็นเพราะความหมั่นไส้ก็ได้ประมาณว่า Verdy พยายามโปรโมทตัวเองให้มีแฟนบอลทั่วประเทศโดยลืมเหลียวมองแฟนบอลท้องถิ่นไป สุดท้ายพอขาดทุนหนักเข้าเลยต้องย้ายไปอยู่ Tokyo แล้วเปลี่ยนเป็นชื่อ Tokyo Verdy 1969 แทน

J-League มีคนดูเฉลี่ยน้อยถึงน้อยมากเมื่อเทียบกับค่าจ้างที่จ่ายให้นักกีฬา นัดนึงประมาณหมื่นถึงหมื่นต้นๆเท่านั้น ยิ่งทีมเล็กลงคนดูบางครั้งเหลือจำนวนแค่หลักพันก็มี ดังนั้นจึงมีการแข่งขันกันในเรื่องของจำนวนแฟนบอลสูงมาก โดยเฉพาะทีมในเขตคันโตซึ่งมีพื้นที่เมืองอยู่ประชิดติดกันยิ่งต้องหาแฟนคลับให้ได้เยอะๆ เพื่อหลึกเลี่ยงสภาวะถดถอยทางการเงิน" [จากคุณ : Gelgoog]


//topicstock.pantip.com/supachalasai/topicstock/2008/01/S6201641/S6201641.html




 

Create Date : 31 มีนาคม 2553   
Last Update : 31 มีนาคม 2553 22:22:01 น.   
Counter : 869 Pageviews.  


รำลึกถึง บิล แชงคลีย์ ผู้อยู่ในใจ ตลอดกาล : ชีวิต ผลงาน และ วาทกรรม


พูดถึง กุนซือ ที่มีผลงาน, ปรัชญา และ วาทะ ที่มีเสน่หาที่สุดในปัจจุบัน คงไม่พ้น โฮเซ่ มูริญโย่ ผู้จัดการเซลซี ที่ประสบความสำเร็จ สูงสุด รอบ ห้าปีที่ผ่านมา ผู้มีปรัชญา การทำทีมที่เน้นระเบียบวินัยสูงสุด จิตวิทยาการขั้นสูงกระตุ้นลูกทีม รวมถึง วาทะอันร้อนแรง

แต่ถ้าย้อนไปเมื่อ สี่สิบปีก่อน ทุกคนจะนึกถึง ชายที่เป็นจุดกำเนิด ลิเวอร์พูล ผู้นำลิเวอร์พูล จากจุดตกต่ำครั้งหนึ่ง ในสโมสร เมื่อต้องตกไปเล่นดิวิชัน สอง ใช้เวลาแค่ สองปี นำลิเวอร์พูล ขึ้นมาจากดิวิชัน สอง พร้อมคว้าแชมป์ ดิวิชันหนึ่ง พร้อมวางรากฐานความสำเร็จให้ลิเวอร์พูล มากว่า ยี่สิบปี ชายผู้นั้น มีนาม ว่า บิล แชงคลีย์

ชายผู้มีอนุสรน์สถาน ตั้งสง่าหน้าสนามแอนฟิลด์ เปรียบดังหนึ่งในฐานะ สัญลักษณ์ของทีมบอลที่ชื่อลิเวอร์พูล

บิล แชงคลีย์ เป็นชาวสก็อต โดยกำเนิด ในครอบครัวที่ยากจน มีพี่น้องถึงสิบคน แต่ในความจนและลำบากนี่กลับทำให้ บิล แชงคลีย์ เป็น ยอดนักสู้ และ อารมณ์ขัน เฉกเช่น มุขตลกของเขา ในช่วงบั้นปลาย ชีวิต เมื่อ เล่าชีวิต วัยเด็ก เขาไม่สามารถอาบน้ำจนถึงอายุ 15 ปี เนื่องจากความจน

บิล แชงคลีย์ เหมือนดัง ผู้จัดการทีมหรือ โค้ช ทีมฟุตบอล ทั่วไป ที่มีจุดเริ่มต้นจากการเป็น นักฟุตบอล อยู่กับ ศุนย์ฝึกเยาวชนของสมาคมฟุตบอล สก็อตแลนด์ ก่อนที่ ไปเข้าตาแมวมองของทีม คาสิลีย์ ยูไนเต็ด จับสัญญา แต่ด้วยสามารถเชิงเตะที่ไม่ธรรมดา บิล ถูก เปรสตัน นอร์ท เอ็น ซื้อตัวไป เป็นค่าตัว 500 ปอนด์ ทั้งที่ลงเล่นให้ คาสิลีย์ ยูไนเต็ด แค่ 16 นัด

บิล ได้กลายเป็นกลจักรสำคัญ ที่นำเปรสตัน ขึ้นสู่ ดิวิชัน หนึ่ง แถมยังพาเปรสตัน เข้าชิง เอฟ เอ คัพ สองครั้ง ผิดหวังหนึ่ง สมหวังหนึ่ง ครั้งแรกไป แพ้ ซันเดอร์แลนด์ ในปี 1937 แต่ชนะ ฮัสเดอร์ฟิลด์ ในปี 1938

แต่อาชีพการเล่น ของบิล เริ่มขัดจากภาวะสงครามโลก เขาระหกระเหิน ไป เล่นให้หลายทีม ระหว่างสงคราม Northampton Town, Liverpool, Arsenal, Cardiff City, Bolton Wanderers, Luton Town และ Partick Thistle จนแขวนสตั๊ด วัยแค่ 33 ปี ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาสงครามโลกครั้งที่สอง ที่พรากเอา ช่วงเวลาอันรุ่งโรจน์ ของชีวิตการเล่นเขาไป

เมื่อเขาแขวนสตั๊ด ชีวิตการเป็นผู้จัดการ เขาก็เริ่มต้น ที่ คาสิลีย์ ยูไนเต็ด ที่เขาเริ่มต้นนักเตะอาชีพ คุณสมบัติหนึ่ง ที่ทำให้บิล เป็นยอดผู้จัดการ คือ สายตาในการมองนักเตะ ที่ไม่ค่อยพลาด นักเตะคนแรกที่สามารถ โชว์ สายตา บิล แชงคลีย์ ยอดเยี่ยมเป็นเอกอุกในโลก เกิดขึ้น สมัย ที่ เขาเป็นผู้จัดการ ฮัดเดอร์ฟิลด์ กับ นักเตะนามระบือโลก เจ้าของฉายา สตั๊ดเหินหาว เดนนิส ลอร์ ดาวซัลโว ผู้ยิ่งใหญ่ของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เมือ บิล เซ็น สัญญากับ เดนนิส ลอร์ เจ้าหนูวัย 15 ปี สร้างความตื่นตะลึง ต่อโดย นำลอร์ ขึ้นสู่ทีมใหญ๋ในปีต่อมาแค่ วัย 16 ปี

กับเดนนิส ลอร์ กับ วาทะ เด็ด แรกที่บรรลือโลก

เมื่อเอฟเวอร์ตัน เห็นแววที่เจิดจรัส เดนนิส ลอร์ ยื่นข้อเสนอ จำนวนเงิ 45,000 ปอนด์ ให้ ฮัลเดอร์ฟิลด์ ทางบอร์ด ฮัลเดอร์ฟิลด์เห็นเงินตาโต ก็อยากจะขาย แต่ บิลล์ แชงคลีย์ ปฎิเสธ พร้อมกับ วาทะว่า : “Get out your diary and write this down. One day, Dennis Law will be transferred for £100,000.”

" ไปหยิบไดอารีคุณมา แล้วจดบันทึกซะ ว่าวันหนึ่งข้างหน้า เดนนิส ลอร์จะมีค่าตัว หนึ่งแสนปอนด์"

สุดท้าย อีกสี่ปี บอร์ด ฮัลเดอร์ ฟิลด์ ทนไม่ไหว ก็ขายเดนนิส ลอร์ให้แมนเชสเตอร์ ซิติ ไป 55,000 ปอนด์ เป็นสถิติใหม่ของ เกาะ อังกฤษ แต่ใครจะรู้ว่า หลังจากนั้น แค่ปีเดียว แมนซิติ ขายลอร์ ให้โตริโน่ ถึง 110,000 ปอนด์ ดังที่ บิล ทำนายไว้ ปีต่อมา ลอร์ยังทำสถิตติย้ายทีม ค่าตัวสูงสุด ด้วยค่าตัว 115,000 ปอนด์ เมื่อย้ายไปโด่งดังกับ อังกฤษ เรียกว่า เดนนิส ลอร์ ทำสถิติ ค่าตัวสูงสุดของอังกฤษ สามปี ติดต่อกันเลย

ลิเวอร์พูล เป็นสโมสร ที่ บิล แชงคลีย์ ผูกพันธ์สุดในชีวิต หลังจากเริ่มต้น ผู้จัดการที่ คาสิลีย์ ยูไนเต็ด เขาเคยไปสัมภาษณ์งาน ผู้จัดการ ที่ลิเวอร์พูล แต่ตก สัมภาษณ์ ก่อนย้าย ไปเป็นผู้จัดการที่ กริมส์บี้ ทาวน์ เวริค์ทิงตัน และ ฮัดเดอร์ฟิลด์

จนในที่สุด วันที่ สโมสรอันเป็นที่รักของเขาตกต่ำ ลิเวอร์พูล มีอันต้องตกชั้น ในปี 1954 และติดในวังวนตรงดิวิชัน สอง ถึง เจ็ดปี รวมทั้ง ความตกต่ำ แพ้ เบอร์มิงแฮม 1 - 9 ในเดือนธันวาคม 1954 เป็นสถิติสโมสรจนทุกวันนี้

บิล แชงคลีย์ รู้ว่าสโมสร อันเป็นที่รักของเขา ต้องการใครสักคนที่มากอบกู้ เขาเสนอตัวเอง ไปร่วมผจญภัย กับ สโมสร ในดิวิชัน สอง เมื่อ ปี 1959 ใช้เวลา เพียง 15 ปี ที่เปลี่ยน ให้ลิเวอร์พูล จากทีมดิวิชัน สอง กลับมาผงาดเป็นเจ้ายุโรป โดยในปี 1959 ลิเวอร์พูล ตกต่ำ อยู่ช่วงท้ายตารางดิวิชัน สอง กับ ภาวะต่างที่เลวร้าย ไม่ว่าจะเป็นสนามซ้อม ที่ไม่มาตรฐาน ขนาดผู้เล่นทีมที่มีมาก และ คุณภาพไม่ดี สิ่งที่พอมีคุณภาพอยู่ และเป็นศูนย์รวมที่สืบสานความยิ่งใหญ่ของลิเวอร์พูล ในเวลาต่อมาคือ สิ่งที่เรียกว่า the backroom staff (ทีมงานเบื้องหลัง ที่เป็นตำนานยาวนานก่อนมาจบลงที่ยุค รอย อีแวนส์ ผู้จัดการคนสุดท้ายที่มาจาก the backroom staff )

ตอนนั้น the backroom staff ประกอบด้วย โจ เฟแกน(ผู้จัดการรุ่นที่สองสานความสำเร็จ จากเพลสลีย์) , รูเบ็น บาร์เน็ท และ ผู้เล่นที่เลิกเล่นใหม่ๆ นามว่า บ็อบ เพลสลีย์(ผู้จัดการที่คว้าแชมป์ให้ลิเวอร์พูลมากสุด สานต่อความสำเร็จ ของ บิล แชงคลีย์) นี่คือสามกลไกสำคัญที่ยืนเคียงข้าง บิลแชงคลีย์ ในการปลุกยักษ์หลับ อย่างลิเวอร์พูลให้ตื่นอีกครั้ง


สิ่งแรกที่บิล แชงคลีย์ ตัดสินใจทำการปฏิวัติ คือ เมล วู๊ด สนามซ้อมของทีม ลิเวอร์พูล ที่มีสภาพเลวร้ายมาก ไม่ว่าจะเป็นสภาพทุ่งหญ้า ที่รก หรือ มีก๊อกน้ำ แค่ที่เดียว ไม่น่าเชื่อเลยนี่คือ หนึ่งสโมสรใหญ่ของอังกฤษ แต่แชงคลีย์ จัดการเปลี่ยนมันซะ โดยนำผู้เล่น ย้ายไปซ้อม และปรับปรุงที่เมล วู๊ด แทนที่จะใช้แอนฟิลด์ เป็นที่ซ้อม นำศูนย์ฟิตเนสมาใช้ รวมทั้งโปรแกรมทาง โภชนาการ ริเริ่ม การซ้อมจากพื้นฐานเล่นบอลโต๊ะเล็ก บอลห้าคน (เป็นที่มาการต่อบอลสวยงาม แบบ ลิเวอร์พูล ก่อนมาจบยุคสไตล์การเล่นที่สวยงาม ใน ยุค เชราด์ อุลลิเยร์ ที่ไปเน้นแท็คติก และ เกมรับแบบยุโรป แทน)

สิ่งที่ บิล แชงคลีย์ เน้นแก่ผู้เล่น คือการวอร์มร่างกายก่อนลงเล่นให้ถูกวิธีเพื่อลดอาการบาดเจ็บ สิ่งเหล่านี้เป็นรากฐานความสำเร็จของลิเวอร์พูลในเวลาต่อมา

แม้ว่าช่วงแรกจะเป็นไปอย่างทุลักทุเล ใช้เวลาสองปี ในการกลับ มาเล่นดิวิชันหนึ่ง ผู้เล่นใหม่ทีถูกเสริม เป็นกำลังหลักยุคแรก ของบิล แชงคลีย์ ได้แก่ รอน ยีสต์ , เอียน จอหน์ และ กอร์ดอน ไมน์ หลังเลื่อนขึ้นชั้น ใน ปี 1961-1962. ปีเตอร์ จอหน์ สัน ถูกเสริมแกร่ง สำหรับการเล่นลีกสูงสุด เป้าหมายในการเลื่อนขึ้นชั้น สำหรับ บิล แชงค์คลีย์ คือ ล้ม เอฟเวอร์ตันที่กำลัง อยู่ยุครุ่งโรจน์ เป็นทีมอันดับหนึ่ง ของ เมืองลิเวอร์พูล ซึ่งเขาทำสำเร็จ มาสู่วลีอมตะ ที่สร้างความเจ็บปวดแก่ชาว เอฟเวอร์โตเนียน เสมอมา

กับ เอฟเวอร์ตัน กับ วาทะ อมตะแด่ ชาวเมืองลิเวอร์พูล

เมื่อถูกถามถึงทีมเพื่อนบ้าน เอฟเวอร์ตัน

บิล แชงคลีย์ ตอบว่า "There are only two teams in Liverpool; Liverpool and Liverpool Reserves."

"ในเมืองลิเวอร์พูล มีทีมฟุตบอลแค่สองทีม ได้แก่ ทีม ลิเวอร์พูล และ ทีมสำรองของลิเวอร์พูล"

ในปี1963-1964 บิล แชงคลีย์ ก็ทำสำเร็จดังเป้าหมายที่ตั้งใจ เมื่อแย่ง แชมป์ดิวิชัน หนึ่ง มาจากเอฟเวอร์ตัน แชมป์เก่าได้สำเร็จ

ไม่ต้องสงสัยเลย คนที่แฟนบอลเอฟเวอร์ตัน เกลียดสุด ในตอนนั้น ไม่ใช่ใครอื่น นอกจาก บิล แชงคลีย์ ผู้พรากช่วงเวลารุ่งโรจน์ และ ทีมอันดับหนึ่งในเมืองลิเวอร์พูล

ก่อนมาสานความสำเร็จในปี 1965 คว้าแชมป์เอฟ เอ คัพ

โฉมหน้า รอน ยีสต์ ผู้เล่นคนแรกที่ บิล แชงคลีย์ นำเข้า พร้อมกับถ้วยแชมป์ เอฟ เอ คัพ ปี 1965

รอน ยีสต์ สูง 6 ฟุต 2 นิ้ว เล่นตำแหน่งกองหลังตัวกลาง ประตูแรกที่ทำได้ คือประตู ดับ แมน ยู ในปี 1963 ที่ โอลด์ แทรฟ ฟอร์ด เป็นผู้เล่นที่บิล แชงคลีย์ ภูมิใจมากกับ ร่างกายสูงใหญ่ ประโยคแรกที่บิล แชงคลีย์ พูดกับนักข่าววันแรกที่เซ็น ยีสต์เข้ามาคือ เข้ามาดูรอบๆตัวเขาสิ

รอน ยีสต์ เป็นกองหลังตัวหลัก ลิเวอร์พูล ตั้งแต่ ปี 1961 - 1971 ก่อนย้ายไปเล่นให้ทีมเพื่อนร่วมเมือง ทรานเมียร์ โรเวอร์ แขวนสตั๊ด ในปี 1974

แม้จะประสบสำเร็จอย่างงดงามกับฟุตบอลลีก อังกฤษ แต่การเล่นในบอลยุโรป ยังเป็นปัญหา แก่บิล แชงคลีย์ ในช่วงแรก กับการปรับสไตล์การเล่น กับการเล่นที่ยุโรป เริ่มจากรายการ คัพ วินเนอร์ คัพ หลังจาก คว้าแชมป์ เอฟ เอ คัพ 1965 เมื่อเจอ อินเตอร์ มิลาน ยุติเส้นทาง แม้ชนะในเลก แรก แต่นัดสอง ฤทธิของกรรมการ ในเลกสองที่ อิตาลี ตกรอบ

ปีต่อมา ยูโรเปี้ยน คัพ โดยฤทธิ ของเด็กหนุ่ม 19 ปี นามว่า โยฮัน ครัฟ นำพลพรรค อาแจ๊กซ์ เตะ ลิเวอร์พูลตกรอบ ผลรวม 7 - 3 ไปโดยยำที่อัมสเดอร์ดัม ซะ 5 - 1

หลังจากปี 66 คว้าแชมป์ลีก สภาพทีมชุดแรกที่ บิล แชงคลีย์ เริ่ม อยู่ช่วงปลด ระวาง ทำให้ เขาต้องซื้อนักเตะใหม่ และสร้างนักเตะใหม่ขึ้นมา โดยบรรดานักเตะ ลิเวอร์พูล ชุดสอง ของเขาที่สร้างขึ้นมาล้วนแต่เป็นนักเตะบันลือโลก ไม่ว่าจะเป็น เควิน คีแกน , เรย์ คลีเมนท์ และ แลรรี่ ลอยด์ พวกเขาเหล่านี้ บวกกับ นักเตะเก่าที่ยังไม่ปลดระว่าง ช่วยสานฝันความสำเร็จ ให้ เขา ในยุโรป โดยเริ่มต้นที่ถ้วยยูฟ่า คัพ ใน ปี 1973 พร้อมกวาดแชมป์ลีกครั้งที่สาม และสานต่อแชมป์เอฟ เอ คัพ ในปีต่อมา

กับ เควิน คีแกน กับ วาทะปลุกใจต่อการจัดการบ็อบบี้ มัวร์ กัปตันทีมแชมป์โลก

ในปี 1971 ขณะ คีแกน ลงเล่น ลิเวอร์พูล เจอ เวสต์แฮม
"Christ son, I've just seen that Bobby Moore. What a wreck. He's got bags under his eyes, he's limping. He's got dandruff and it looks as if he has been to a nightclub again".

"ไอ้ลูกชาย วันนี้ ฉันเห็น บ็อบบี้ มัวร์ ดูแปลกไป มีขอบตาดำช้ำที่ตา ขายังสั่นอยู่เลย แปลว่าเมื่อคืนเขาต้องตระเวนราตรีมาเมื่อคืนแน่ๆ"

ส่งผลให้คีแกนมีความมั่นใจ จัดการมัวร์ และ ยิงประตูได้

แต่หลังเกมส์ สิ่งที่บิล พูดกับ เควิน คีแกน กลับเป็น

"Aye he's some player that Bobby Moore isn't he?. You'll never play against anyone better than him"

"บ็อบบี้ มัวร์ เป็นผู้เล่นวิเศษที่ไม่เหมือนผู้เล่นทั่วไป นายจะไม่มีวันเจอผู้เล่นคนไหนที่สามารถประกบนายได้ดีกว่า บ็อบบี้ มัวร์เลย"

นี่คือหนึ่งในกลยุทธตัวอย่าง ที่บิล แชงคลีย์ ใช้ปลุกความมั่นใจ ตัวผู้เล่น

ซึ่งเควิน คีแกน เผยหลังจากนั้น ว่า ก่อนแข่งกับ เวสต์แฮม วันนั้น เขามีความกังวลใจ เป็นอันมากที่ต้อง เจอ กองหลัง บ็อบบี้ มัวร์ กับตันทีมชาติอังกฤษมาตาม ประกบ จน บิล แชงคลีย์ ต้องเข้ามาพูด ให้กำลังใจ และ ปลุกความมั่นใจ ทำให้เขาเชื่อ มัวร์ไป เที่ยว ตะลอนราตรี ที่ ผับมาจริงๆๆ และพึ่งพวกมารู้ทีหลังว่า เป็นเรื่องที่บิล สร้างขึ้นเพื่อไม่ให้เขากลัวมัวร์

เมื่อมีจุดเริ่มต้น ก็ มีจุดสิ้นสุด แม้ บิลดื แชงคลีย์ จะไม่สามารถ คว้าแชมป์ ยูโรเปี้ยน คัพ เกรียติยศ สูงสุด แต่เขารู้ตัวว่ามันถึงเวลา แล้ว ที่เขาจะต้อง อำลาตำแหน่งผู้จัดการทีม เขามั่นใจว่ารากฐาน ที่เขาวางไว้กับ ลิเวอร์พูล มันสามมารถต่อยอด ความสำเร็จไปอีก อย่างน้อย ยี่สิบปี ณ วัย 60 ปี เขาสมควรจะให้เวลาภรรยา ผู้เสียสละ อยู่เบื้องหลังมานาน นามว่า นีส และ ครอบครัวของเขา

บิล แชงคลีย์ เดินไปบอกประธานสโมสร ว่าเขาต้องการวางมือ โดยวางทายาทที่เขาปลุกปั้น มาอย่างดี บ็อบ เพลสลีย์ พร้อม เสริม Boot Room staff อีกสองคนที่ เป็นผู้เล่นที่พึ่งเลิกเล่นมา คือ รอนนี่ มอแลน กับ รอย อีแวนส์ แม้จะมีข่าววงในมาภายหลังว่า คนที่บิล ต้องการมาสืบตำแหน่งไม่ใช่ บ็อบ เพลสลีย์ แต่เป็น แจ๊คกี้ ชาร์ตัน แต่ไม่มีใครยืนยันข้อเท็จจริงนี้ได้ แต่ในที่สุด บ็อบ เพสลีย์ คือ ทางเลือกที่ถูกต้อง เมื่อ เขาคว้าแชมป์ 19 ตำแหน่ง ใน 9 ปี ผู้จัดการที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในโลก


วาทะหลังอำลาตำแหน่ง

"I was only in the game for the love of football - and I wanted to bring back happiness to the people of Liverpool."

"ผมเพียงอยู่ในเกมด้วยความรักฟุตบอล และ ต้องการนำความสุขกลับสู่ชาวเมืองลิเวอร์พูล"

เกรียติยศ ที่ บิล แชงคลีย์ ทำได้กับทีมลิเวอร์พูล ในฐานะผู้จัดการ

1962 Second Division champions
1964 First Division champions
1965 FA Cup Winners, European Champions' Cup semi-finalists.
1966 First Division champions, European Cup Winners Cup beaten finalists.
1969 First Division runners-up.
1971 FA Cup beaten finalists, Inter-Cities Fairs Cup semi-finalists.
1973 First Division champions, UEFA Cup winners.
1974 FA Cup winners, First Division runners-up.


บุคคลอื่นกล่าวถึง การปฏิวัติ ลิเวอร์พูล ของ บิล แชงคลีย์ กันครับ

เริ่มจากดาวซัลโวแชมป์โลก โรเจอร์ ฮันท์ " เมื่อบิลมาถึง เขาเปลี่ยนอะไรหลายอย่างมากมาย วิธีการฝึกซ้อม แนวคิดใหม่ของเขามากมายที่นำสู่คลับ เขาได้ใช้เงิน เพื่อสิ่งอำนวยความสะดวก และ ผู้เล่นใหม่ๆ ซึ่งมันตอบแทนคุ้มค่า เขาเหมือนคนำความสดชื่นกลับมาสู่สโมสร"

รอนนี่ มอแรน " บิล รักแฟนบอลลิเวอร์พูล แม้ตอนนั้น เราจะอยู่ดิวิชัน สอง แต่ เรามีผู้ชมเฉลี่ยมากกว่า 45,000 คน เขารู้สึกถึความรักของแฟนบอลที่มีต่อ สโมสร ลิเวอร์พูล และรู้ แฟนบอลสมควรได้รับความสำเร็จและชัยชนะตอบแทน"

ปีเตอร์ ฮุสตัน (นักร้องนำวง The Farm และ แฟนพันธ์แท้ลิเวอร์พูล) " ถ้าเรามีผู้จัดการ ความทะเยอทยาน ต่ำ ทีมคงไม่พัฒนาแน่ แต่กับ บิล ไม่ใช่ เขา เข้ามาพร้อมกับวลีอมตะว่า "จะสร้างสโมสรแห่งนี้ให้เป็นสถาบัน จนทีมที่มาเล่นกับลิเวอร์พูล ต้องมีความตื่นตะหนก มาแข่งพร้อมความคิด ว่า โอ!!!! นี่เรากำลังแข่งกับลิเวอร์อยู่นะ" (เป็นที่มาของตำนาน This is anfield)

ปิดท้ายด้วย เดวิท ฮิกค์สัน (ผู้เล่นลิเวอร์พูล 1959-61) "บิลมีปรัชญาในการทำทีมของตัวเอง ความรักที่เขามีต่อเกมฟุตบอล ไม่ใครเทียบเท่า เขาสามารถกระตุ้นลูกทีม ด้วยสุดยอดจิตวิทยา ที่ทำให้ ลูกทีม มีความมั่นใจ รู้สึกว่า ผู้เล่นระดับ บ็อบบี้ ชาลตัน บิลลี่ ไรท์ เป็นผู้เล่นระดับกระจอกได้เลย นั่นคือจิตวิทยาที่เขาใช้ได้ผลเสมอมา "

แม้บิล แชงคลีย์ จะเสียชีวิต ใน วันที่ 29 กันยา 1981 ด้วยวัย 68 ปี แต่ เขายังอยู่ในใจแฟนบอลลิเวอร์พูลทุกคนตลอดกาล "Shankly Lives Forever".

//topicstock.pantip.com/supachalasai/topicstock/2007/05/S5456819/S5456819.html




 

Create Date : 28 มีนาคม 2553   
Last Update : 28 มีนาคม 2553 13:00:31 น.   
Counter : 1491 Pageviews.  


ธวัชชัยฟรีคิกปาฎิหารย์ พลิกนำไทย 9 คน พิชิตเกาหลีใต้ เอเชียนส์ เกมส์ 1998

ตั้งแต่ผมดูฟุตบอลไทยมาติดตามเชียร์ตลอดมีหลายช็อตที่ประทับใจอยู่ในความทรงจำ แต่ถ้าช็อตที่ประทับใจที่สุดในชีวิต ต้องเป็นฟรีคิกของธวัชชัย ดำรงอ่อนตระกูล ในเอเชียน เกมส์ ที่กรุงเทพครั้งล่าสุด ทุกครั้งที่ไทยเจอเกาหลีใต้ ไทยจะสู้ได้ดีแค่ไม่เกินสามสิบนาที แล้วจะถูกความอึดและฟิตที่เหนือกว่าของเกาหลีจนพ่ายเละ ก่อนเอเชียนส์ เกมส์ รอบแปดทีมกับเกาหลีใต้ เกิดวิกฤติศรัทธากับทีมชาติไทย ทั้งฟอร์มที่ตกต่ำ มีมวยหมู่ในรอบคัดเลือกกับทีมอาหรับทีมหนึ่ง เป็นงานโค๊ชครั้งแรกของปีเตอร์ วิธ ซึ่งตอนแรกแฟนบอลไทยยังไ่ม่มีศรัืทธาอะไรกับโค้ชคนนี้เลย


แต่ศรัทธาเริ่มมาจิตวิทยาอันสูงส่งของปีเตอร์ วิธ(ส่วนตัวคิดว่าวิธแก้เกมไม่เก่ง เห็นจากรอบสิบทีมสุดท้ายเอเชียคัดบอลโลกที่ไม่เคยทำเกมทีมไทยดีขึ่นจากครึ่งหลัง แถมใช้สไตล์รูปแบบจู่โจมเดิมจากครึ่งแรก) ที่คอยบอกแฟนบอลไทยและนักเตะไทยในแต่ละนัด ด้วยสองประโยคง่าย We can do it และ We can win it แต่สร้างเชื่อมั่นให้ทุกคนคิคิดว่าทีมชาติไทยที่ไม่น่าสู้ใครได้ ก่อนทัวร์นาเมนท์สามารถสู้และชนะทุกทีม เมื่อมาถึงเกมสำคัญรอบแปดทีมกับเกาหลีใต้ ชาวไทยเริ่มหวังและเชื่อมั่นว่าทีมชาติไทยจะย้อนรอยประวัติศาสตร์ ทำได้เขาถึงรอบสี่ทีมสุดท้ายอีกครั้ง เหมือนที่เอเชียน เกมส์ที่ปักกิ่ง ที่ประเสริฐ ช้างมูลยิงดับจีนเจ้าภาพ 1 - 0 ในวันชาติจีนที่ทำให้คนจีนทั้งประเทศต้องหั่งน้ำตาผิดหวัง วันนี้ล่ะจะถึงคราวทีมชาติไทยอีกทีที่ประกาศวาฝีเท้านักเตะจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาไม่เป็นรองใครในเอเชีย กับคู่แข่งที่สำคัญที่แทบจะผูกปีแพ้ เรียกว่าแพ้ใจกันได้เลย มีนามว่าเกาหลีใต้ ต่อหน้าแฟนบอลไทยทั้งประเทศ

วันนั้นสนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถานแตก ฝูงชนทะลักเข้ามา มีผู้คนไปรอซื้อตั๋วแต่เช้ามืด และอีกหลายพันคนที่ไม่สามารถเข้าสนามได้เพราะไม่มีตั๋ว ทำให้บอลไทยซบเซ้ากลับมาคึกคัก ครั้งล่าสุดเกิดเหตุการ์ณนี้ขึ้นในความทรงจำ คือสมัยที่ดรีมทีมเกิดขึ้นใหม่ ลงแข่งในทีมชาติไทยชุดบีในปี 2537 ในรอบรองชนะเลิศและรอบชิงชนะเลิศที่สนามศุภชลาสัยแตก ซึ่งต้องรออีกสี่ปีึถึงจะเกิดปรากฏการ์ณนี้ขึ้น(ไม่รู้ต้องรออีกเมื่อไหร่ถึงจะเกิดอีก) มาสู่เกมในสนาม โดยทีมชาติไทยเริ่มต้นได้สวย ยิงนำไปก่อนจาก ซิโก้ 1 - 0 หลังจากนั้นเกมเริ่มพลิก เกาหลีใต้ยิงตีเสมอ แถมไทยถูกไล่ออกสองคน ณ สถานการ์ณแฟนบอลไทยเริ่มสิ้นหวัง

เกมการเล่นเหมือนทีมชาติไทยเล่นรอวันแพ้ รับการบุกแหลกของทีมเกาหลีใต้ แต่นักเตะไทยสวมหัวใจสิงห์อุดจนหมดเวลา พอต่อเวลาพิเศษสถานการณ์ยังไม่เปลี่ยน แฟนบอลไทยได้หวาดเสียวเป็นระยะกับการบุกของเกาหลีใต้ แต่แล้วปาฎิหารกำลังเกิด เมื่อทีมชาติไทยได้ฟรีคิก ระยะกลางค่อนข้างไกล นี่คงเป็นโอกาสเดียวที่ไทยจะชนะ แต่ณวินาทีนั้นไม่มีใครคาดคิดว่าจะเป็นประตูชัย ทุกคนได้แต่โล่งใจที่ไทยได้หายใจหายคอจากเกมบุกอันระห่ำของเกาหลีใต้ นักเตะทั้งสองทีมต่างกินน้ำก่อนจะเตะฟรีคิก ณวินาที ที่เตะฟรีคิก ไอ้วัง ธวัชชัยยืนเท้าสะเอว ก่อนตะบันยิงลูกจากระยะค่อนข้างไกลลอยข้ามเหนือโกล์ เกาหลีที่ยายามจะเซพ เข้าประตู เสียงโห่ร้องดีใจของแฟนบอลไทยทั้งสนามอึ้งก้องเเซ่ซึมท้งสนาม ไม่รู้เสียงใครต่อใคร ไอ้วัง ธวัชชัยผู้ยิงประตู วิ่งถอดเสื้อ โห่ร้องน้ำตาไหลอย่างไม่คิดว่าตนจะยิงได้ ผมในฐานะผู้ชมทางจอทีวี ขนลุกซู่ น้ำตาไหล อยากจะร้องตะโกนดังสุดแต่คงไม่เพียงพอความสะใจทั้งหมดที่อยู่ในใจ คืนนั้นผมนอนไม่หลับเพราะลูกยิงของธวัชชัยยังติดตาจนไม่อาจลับได้ ทุกครั้งที่ดูไฮไลท์ก็ยังขนลุกซู่ รู้แค่ว่าคนไทยทั้งประเทศได้มีความสุขกัน และพวกคุณยังจำความรู้สึกตอนธวัชชัยยิงฟรีคิกชนะเกาหลีใต้ทั้งที่ไทยเหลือผู้เล่นเก้าคนได้อยู่ปล่าวครับ




 

Create Date : 28 มีนาคม 2553   
Last Update : 28 มีนาคม 2553 12:59:09 น.   
Counter : 1584 Pageviews.  



still solo one
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add still solo one's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com