ความไม่พร้อมของระบบประชาธิไตยของคนไทย 2

การเปลี่ยนถ่ายอำนาจ แล้วเป็นกลุ่มรวมศูนย์อำนาจแบบแร้งทึ่ง เป็นกลุ่มคนหยิบมือ ท่านครับ การเปลี่ยนถ่ายอำนาจสู่ระบบประชาธิปไตย มันก็เป็นธรรมดา จากอำนาจคนหนึ่งคน สู่อำนาจกลุ่มหนึ่ง แล้วมาสู่อำนาจคนกลุ่มขนาดใหญ่ขึ้น เป็นคลื่นลูกระนาบ ครั้นจะเปลี่ยนจากอำนาจคนหนึ่ง สู่ปวงชนทั้งหมดแบบมีส่วนร่วม มันไม่มีอยู่จริงในโลกนี้หรอก ถ้าเริ่มต้นด้วยระบบสมบูรณาสิทธิราช นอกจากการเป็นพบดินแดนใหม่ ในยุคสมัยใหม่หลังปฏิวัติอุตสาหกรรม นั่นอาจเริ่มต้นด้วยกลุ่มอำนาจ

อังกฤษกว่าเขาจะเปลี่ยนถ่ายสำเร็จ ก็จะใช้เวลานานโข จากกษัตริย์ ก็มาสู่กลุ่มสภาขุนนาง แล้วถึงมาหลังปฏิวัติอุตสาหกรรม ทีกลุ่มแรงงานมีส่วนรวมมากขึ้น หรือท่านจะเอาแบบ Radical เปลี่ยนแปลงแบบรุนแรงอย่างฝรังเศส มันก็อีกแบบ

การเปลี่ยนแปลงถ่ายโอนอำนาจ มันก็เกิตการต่อสู้เชิงความขัดแย้ง แย่งชิงอำนาจ เป็นเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ การกระจายผลประโยชน์สู่กลุ่มใหญ่ขึ้น ที่บอกจะให้สักวันหนึ่ง ในความเป็นจริง ตามธรรมชาติมนุษย์ จะต้องถูกกลุ่มกดดันบีบให้ในสักวันหนึ่งต่างหาก การปฏิวัติเพื่อแย่งชิงอำนาจจากกษัตริย์ มันไม่ได้เกิดครั้งแรกในปี 2475 เช่น กบฏ รศ 130  ก่อนหน้านี้เป็นต้น ใยพวกท่านถึงคิดว่าไม่ถูกบีบใน พ.ศ. 2475 แล้วไม่เจอพ.ศ. หลัง เผลอๆ มีปฎิวัติถี่ขึ้น อาจรุนแรงขึ้น กระแสนิยมของกษัตริย์ ช่วง ร.6 มาต่อ ร.7 ก็ใช่ว่าสูงเทียบเท่าในปัจจุบัน ทั้งปัญหาเงินเฟ้อ สงครามโลก อันตัว  ร.7 ก็ขึ้นมาเป็นกษัตริย์แบบไม่พร้อม ไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน เป็นการขึ้นแบบฉุกละหุก ไม่ได้เตรียมตัวรับปัญหาที่รุมเร้ามากมาย โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจเป็นผลต่อเนื่องของการใช้เงินเกินตัวของชาติและความฝืดเคืองต่อเนื่องจากสงครามโลก ทั้งโลกเริ่มสู่ภาวะฝืดเคือง คู่ค้าฝืดเคือง

ทำไมพวกท่านไม่คิดว่าความไม่พร้อมและในความฉุกละหุกของการขึ้นเป็นกษัตริย์ของ ร.7 ยังไงต้องถูกบีบกดดันจนได้ละ ใยไปคิดมุมเดียวต้องมีการให้ ระบบประชาธิปไตยที่ได้มาในโลกทั้งหมดล้วนถูกเปลี่ยนแปลงจากการบีบขึ้นจากสถาบันด้านล่างของกลุ่มกดดัน การให้จากสถาบันส่วนบนแทบไม่ปรากฎในโลก มันดูไม่ผิดธรรมชาติไปหน่อย ที่ไปเชื่อกันอย่างนั้น

การศึกษาอนุมานทางประวัติศาสตร์ ควรอนุมานจากเหตุการณ์หลักฐานรอบๆ มาตีความเทียบเท่า ไม่ใชไปอนุมานเหตุปัจจัยภายใน โดยเฉพาะสภาพจิตใจและความคิดของบุคคลในประวัติศาสตร์ นั่นคือการอนุมานที่เราไปใส่จิตวามคิดเราเองไปสวมแทนในตัวตนบุคคลในประวัติศาสตร์นั้น

ส่วนการยกเลิกไพร่และทาส ทางหนึ่งเพื่อลดทอนอำนาจของกลุ่มสายอำมาตย์ ศักดินา อีกทางหนึ่งเพื่อต้องการแรงงานเพื่อวิถีการผลิตที่เปลี่ยนแปลงของประเทศก้าวไปสู่การผลิตเพื่อค้าขายแลกเปลี่ยนต่างประเทศ ยกระดับประเทศให้หลุดพ้นการล่าอาณานิคม

การเปลี่ยนถ่ายอำนาจของรัชกาลที่ 5 จึงไม่ใช่การทำอำนาจศักดินา แต่เป็นรวบอำนาจหลักจากอำมาตย์ โดยเฉพาะตระกูล บุนนาค กลับมาร่วมศูนย์อำนาจที่ราชวงศ์เหมือนเดิม หลังจากรัชกาลที่ 5 เปลี่ยนอำนาจสำเร็จ ก็กระจายส่วนต่างๆ ผ่าน เครือข่าย ญาติวงศ์และลูกหลาน บุตรของรัชการที่ 5 ก็ถูกส่งต่อไปศึกษาต่างประเทศ แล้วกลับมาต่อสายบริหารทางสืบต่อไป


หลักฐานคือ รัชกาลที่ 6 อำนาจสามารถถูกรวบกลับมาอีกครั้ง โดยสามารถจัดตั้งกองกำลังลูกเสือป่่า เฉกเช่นกองกำลังรักษาพระองค์ เพื่อสร้างฐานอำนาจของตนเอง ส่วนคู่ปฏิสัมพันธ์ความขัดแย้งที่ก่อเกิดทั้งประนีประนอมทางอำนาจ กลับมาเป็นทางสายเครือญาติราชวงศ์  

แต่แรงขับภายนอกที่ทำให้เกิดสถานะราชวงศ์ไม่มั่นคง จนในที่สุดเป็นบ่อเกิดของการปฎิวัติและเปลี่ยนถ่ายอำนาจ จะเรียกอีกมุมหนึ่ง คือความพร้อมไม่ของราชวงศ์ ในการเป็นผู้ควบคุมฐานการเปลี่ยนแปลง (ไม่แน่ใจว่า ฐานการเปลี่ยนแปลงจะสู่ประชาธิปไตยได้อย่างไร ถ้าไม่ถูกบีบจากสถาบันส่วนล่าง)เกิดสองปัจจัยที่สำคัญ

ปัจจัยแรก  สภาวะเศรษฐกิจ จากการใช้เงินเกินตัวของชาติ เริ่มส่งผลตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 5 ต่อเนื่องผสมผลกระทบของสงครามโลกที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจ ฝืดเคือง จากการส่งออกแลกเปลี่ยนลดลง จากบริเวณสงครามคือทวีปยุโรป ล้วนเป็นคู่ค้าหลักของประเทศตอนนั้น

ปัจจัยที่สอง ที่เอ่ยเกริ่นไปข้างต้นแล้ว คือ ความไม่พร้อมและฉุกละหุกของการขึ้นเป็นกษัตริย์ของราชวงศ์รัชการที่ 7 เมื่อขึ้นแบบไม่พร้อม ไม่มีการเตรียมตัวปรับโครงสร้างถ่ายโอนอำนาจก่อนขึ้นมา เฉกเช่นรัชกาลที่ 4 เตรียมไว้ให้รัชกาลที่ 5 และ รัชกาลที่ 5 เตรียมไว้ให้รัชกาลที 6

การขึ้นมาของรัชกาลที่ 7 จึงไปคล้ายการขึ้นมาของรัชกาลที่ 4 ที่ไม่มีการเตรียมตัวถ่ายโอนอำนาจ ศูนย์อำนาจตอนรัชกาลที่ 4 ขึ้น จึงถูกถ่ายและหนุนเนื่องจากตระกูล บุนนาค และ  แบ่งสรรอำนาจ กับ วังหลัง แต่ในกรณีรัชกาลที่ 4 ระบบการเมืองไทยยังเป็นระบบค่อนข้างปิด ไม่มีการเข้ามาแลกเปลี่ยนการค้าและวิทยาการจากประเทศฝั่งยุโรปมากหนัก แต่ในรัชกาลที่ 7 เริ่มมีคลื่นลูกใหม่ กลุ่มคนมีความเชื่อมโยงขุนนางข้าราชการ ได้มีโอกาสไปศึกษาต่างประเทศ แถมมีต้นแบบของการปฏิวัติที่ไม่สำเร็จ รศ 130  มาเป็นแบบจำลองรออยู่แล้ว

ฉะนั้นความไม่พร้อม มันจึงไม่ใช่ความไม่พร้อมของไพร่ หรือของใครก็ตาม แต่ความไม่พร้อมของรัชกาลที่ 7 ที่จะรักษาอำนาจโดยปราศจากการปฏิวัติที่สำเร็จตลอดรัชกาล มันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ นอกจากไปอนุมานจิตนาการไป ของคนทีไม่เคยพร้อมสำหรับ ระบบประชาธิปไตย แม้กระทั่งในปัจจุบัน

ปัจจัยที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เป็นการต้องการอำนาจ หรือ การชิงสุกก่อนหาม แต่ปัจจัยนำเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองทุกที และ ทุกเหตุการณ์จะเป็นปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ จากภาวะตกต่าเนื่องของเศรษฐกิจ ตั้งแต่รัชกาลที่ 6 มีอำนาจและสิทธิการบริหารมากกว่า ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ จนมาถึงรัฐกาลที่ 7 ซึ่งไม่ได้มีอำนาจหรือความพร้อมเท่ารัชกาลที่ 6 ยิ่งไปกว่านั้นก็ไม่ได้มีพระปรีชาความสามารถทางด้านเศรษฐกิจ ฉะนั้นเศรษฐกิจที่ตกต่ำ

การรวมศูนย์การเงินและพระคลังอยู่ส่วนบน ยังไงต้องถูกกดดันและบีบให้คลายออกมา ถ้ายังไงบีบไม่สำเร็จในปี พ.ศ. 2475  กระแสความล้มเหลวทางเศรษฐกิจต้องถูกแพร่กระจาย คลื่นระนาบกว้างขึ้น ย้อนกลับมาหาสถาบันส่วนบนอีกครั้งอย่างแน่นอน การรักษาสมบัติและทุนที่มีส่วนยังไม่แยกจากพระคลังบริหารประเทศ อย่างชัดเจน ก็คงทำให้ราชวงศ์ต้องพยายามต่อสู้ฟื้นเพื่อรักษาทุนและอำนาจของตนเอง

เมื่อปฏิวัติสำเร็จ 2475  รัฐบาลแรกที่เกิดขึ้น ก็ไม่ใช่รัฐบาลทหารด้วย เป็นรัฐบาลที่เกิดจากการประนีประนอมของกลุ่มอำนาจส่วนบน กับ คณะราษฎร หวยเลยไปออกที่พระยามโนปกรณ์ที่เป็นตัวประสาน แต่ความไม่เข้มแข็งทรงฐานอำนาจที่มั่นคงของรัชกาลที่ 7 และกลุ่มราชวงศ์สะท้อนจากกาที่สุดท้ายไม่สามารถรักษาดุลอำนาจ และสูญเสียต่อคณะราษฎร เมื่อเกิดรัฐประหารเปลี่ยนกลับที่พระยาพหลที่เป็นคณะราษฎร ช่วงนี้ก็ยังไม่เป็นสายการปกครองของทหาร แต่ช่วงสายทหารที่เกิดขึ้น จึงควรเป็นจอมพล ป.

ฉะนั้น ตามความเป็นจริง จากภาวะแวดล้อมตรงนั้น ไม่มีทางเลยที่รัชกาลที่ 7 จะมีความพร้อมในการส่งต่อรัฐธรรมนูญจนเป็นจิ๊กซอร์ที่อนุมานต่อเติมกันเป็นประชาธิปไตย อย่างมีการพยายามกล่าวอ้างและเชื่อมโยงในบทเรียนการศึกษา

แต่การเตรียมตัวความพร้อมของประชาธิปไตย มันจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ 2475 ที่ก่อเกิดมหาวิทยาลัยที่เป็นโอกาสของสามัญชนที่เรียกว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง จนขยายโอกาสการศึกษา และ การเรียนรู้ต่อไป สำหรับสามัญชนต่อไป จนเกิดโอกาสการศึกษาในมหาวิทยาลัยอื่นต่อไป  แล้วต้นทุนทางโอกาสการศึกษาที่เกิดตรงนี้ จาก 2475  ก็เป็นต้นทุนที่ก่อเกิดคลื่นของการเปลี่ยนแปลงจากฐานอำนาจจากรัฐเผด็จการ ของสายทหารที่ยึดครอง จนเป็นปรากฎการณ์ตุลาคม 2516 และ 2519  

ฉะนั้นต้อนทุนของโอกาสและการตะหนักสิทธิ์การมีส่วนรวมปกครองในระบบประชาธิปไตย มันถูกให้และสร้างพร้อมพลวัตรการเปลี่ยนแปลง 2475 แล้วสำหรับต้นทุนโอกาสการศึกษาที่นำความพร้อมของประชาธิปไตย ต้นทุนความพร้อมของประชาธิปไตย คือต้นทุนทางการศึกษา

ณ ปัจจุบันที่การศึกษากว้างไกล ปริญญาล้นตลาด แต่ยังบอกระบบพิกลพิกาล เป็นชิงสุกก่อนหามในอดีต แต่ปัจจุบันมีต้นทุนการศึกษาและสื่อสารประชาสัมพันธ์ขนาดนี้ แล้วยังบอกประเทศไทย ไม่พร้อมอีก ฉะนั้นคำตอบของการไม่พร้อม คือ คนที่ตอบว่าไม่พร้อม จึงเป็นคนที่ไม่พร้อมจะอยู่กรอบกติกาประชาธิปไตย อดทนอยู่กับมัน แล้วต่อสู้ตามวิถีระบบประชาธิปไตยต่างหาก




Create Date : 12 ธันวาคม 2555
Last Update : 12 ธันวาคม 2555 22:34:40 น. 0 comments
Counter : 1961 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

still solo one
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add still solo one's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com