เพลงชาติไทย ภาษาอังกฤษ
เพลงชาติไทยที่เป็นภาษาอังกฤษ โดย Frank Freeman (อิศรา อมันตกุล) จากหนังสือ Slang


Thailand Is Founded On Blood And Flesh

Thai People Share, Every Portion Of The Land Belongs To Us,

Thus We Must Care; The Reason Why This Country Still Exists

Is Because The Thai People Have Long Loved Another And Been United

We, Thai, Are Peace-loving People But In Time Of War, Uncowardly, We’ll Fight To The Bitter End. None Is Allowed To Oppress And Destroy

Our Independence;

To Sacrifice Every Droplet Of Blood As A National Offering, We Are Always Ready,

For The Sake Of Our Country’s Progress And Victory. Chaiyo


หวังว่าคงพอมีประโยชน์บ้างนะครับ




Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 3 กุมภาพันธ์ 2559 20:37:01 น.
Counter : 742 Pageviews.

0 comment
เพลงชาติไทย มีความหมายอย่างไร
มาดูกันว่า เพลงชาติไทย มีความหมายอย่างไร

1) ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา ได้อธิบายความหมายของเพลงชาติไทยไว้คือ

ประเทศไทยเป็นถิ่นที่รวมชนผู้มีเลือดเนื้อเชื้อชาติไทยไว้ให้ได้อยู่อาศัย ร่วมกัน แผ่นดินทุกส่วนของประเทศไทย ย่อมเป็นของชาวไทยทุกคน ประชาชนไทยรักษาแผ่นดินไทยทั้งหมดไว้ได้ ก็ด้วยทุกคนมีน้ำใจสามัคคี รักคนไทยด้วยกัน และรักประเทศชาติ ชนไทยรักที่จะอยู่อย่างสุขสงบ แต่ถ้าจำเป็นต้องรบกับศัตรูแล้วคนไทยไม่เคยขลาดกลัวเลย ไม่มีวันยอมให้ศัตรูหน้าไหนมาข่มขู่ทำลายความเป็นอิสระของชาติไทยได้ ทุกคนยอมสละเลือดทุกหยดเพื่อชาติไทยอยู่ยั่งยืน จะปกป้องคุ้มครองประเทศไทยให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป และให้มีแต่ชัยชนะตลอด

2) คุณเอกรินทร์ สี่มหาศาลและคณะ ได้แปลความหมายของเพลงชาติไทยไว้ในหนังสือแบบเรียน ประวัติศาสตร์ ป.1 โดยสำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ ไว้ว่า

ประเทศไทยเป็นที่รวมของคนไทย ทุกหนทุกแห่งเป็นของคนไทย
ชาติไทยดำรงอยู่ได้ เพราะคนไทยมีความสามัคคี
คนไทยเป็นผู้รักความสงบ แต่ถึงคราวรบก็ไม่เกรงกลัว
คนไทยจะไม่ยอมให้ใครมาย่ำยีเอกราชของชาติไทยเป็นอันขาด
เราพร้อมใจกันสละเนื้อและชีวิตเพื่อชาติ
ชาติไทยจะได้อยู่ด้วยความรุ่งเรืองและมีชัยชนะต่อไป


ทีนี้คงเข้าใจถึงความหมายของเพลงชาติไทยขึ้นมาบ้างแล้วนะครับ



Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 3 กุมภาพันธ์ 2559 20:34:51 น.
Counter : 290 Pageviews.

0 comment
กว่าจะมาเป็นเพลงชาติไทยในปัจจุบัน… เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อไหร่ และใครเป็นคนแต่ง
กว่าจะเป็นเพลงชาติไทยในปัจจุบัน…



"ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน"


ทันทีที่ได้ยินเพลงดังกล่าว เชื่อว่าคนไทยทุกคนคงต้องลุกขึ้นยืนตรงโดยอัตโนมัติ และก็เชื่ออีกเช่นกันว่า หลายๆ คนคงจะเคยขนลุกชันเมื่อได้ฟังเพลงชาติไทยที่ถูกบรรเลงในการแข่งขันกีฬานานาชาติ เมื่อนักกีฬาของไทยคว้าเหรียญทองมาครอง

ความรู้สึกที่ว่าคงไม่เกิดขึ้นกับคนชาติอื่นๆ เมื่อได้ยินเพลงชาติไทย ...ความฮึกเหิม ซาบซึ้งและความภาคภูมิใจในเอกราช มีไว้สำหรับคนไทยที่เกิดและเติบโตมาพร้อมๆ กับเพลงชาติไทย ที่จะได้ยินสม่ำเสมอเวลา 08.00 น. และ 18.00 น. นับแต่จำความได้

เหตุเพราะ “เพลงชาติไทย” เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของชาติและเป็นเพลงของคนไทยทุกคน ดังนั้น เมื่อมีกระแสข่าวออกมาว่าค่ายยักษ์ใหญ่ ซึ่งเป็นผู้นำธุรกิจวงการเพลงอย่าง จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ นำเอาเพลงชาติไปเรียบเรียงดนตรีและเสียงร้องขึ้นใหม่ แม้ว่าจะคงเนื้อและทำนองเดิมไว้ นั่นก็มากพอที่จะกระทบต่อความรู้สึกของคนในชาติ และตามมาด้วยกระแสต่อต้านอย่างมากมาย

แนวคิดเรื่องการแต่งเพลงประจำชาตินั้น เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ.2414 หรือเมื่อ 134 ปีล่วงมาแล้ว โดยแนวคิดดังกล่าวเป็นอิทธิพลมาจากชาติตะวันตก ซึ่งประเทศในแถบนั้นต่างมีเพลงประจำชาติมาก่อน

สำหรับประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากประเทศอังกฤษโดยตรง เนื่องจากในช่วงปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ปี พ.ศ.2395 ได้มีนายทหารอังกฤษ 2 คน เข้ามาปฏิบัติหน้าที่เป็นครูฝึกทหารเกณฑ์ในวังหลวงและวังหน้า ชื่อ ร้อยเอกอิมเปย์ (Impey) และ ร้อยเอกน็อกซ์ (Thomas G. Knox) นายทหารอังกฤษทั้ง 2 นายนี้ ได้ใช้ เพลง ก็อด เซฟ เดอะ ควีน (God Save the Queen) เป็นเพลงฝึกสำหรับทหารแตร ซึ่งขณะนั้นประเทศอังกฤษใช้เพลงดังกล่าวเป็นเพลงประจำชาติ


 การฝึกทหารของไทยในสมัยนั้นได้ถอดแบบของประเทศอังกฤษทั้งหมด รวมถึงการใช้เพลงก็อด เซฟ เดอะ ควีน เป็นเพลงเกียรติยศถวายความเคารพต่อพระมหากษัตริย์สำหรับกองทหารไทยด้วย ซึ่งเพลงดังกล่าวถูกนำมาใช้อยู่ในช่วงปี พ.ศ.2395-2414 โดยเรียกกันว่า "เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ"

ต่อมา พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นมาใหม่ โดยใช้เนื้อเพลงก็อดเซฟเดอะควีนเดิม และตั้งชื่อเพลงขึ้นใหม่ว่า "จอมราชจงเจริญ" ซึ่งเพลง “จอมราชจงเจริญ” นับว่าเป็นเพลงชาติฉบับแรกของประเทศสยาม มีเนื้อเพลงว่า “ความสุขสมบัติทั้งบริวาร เจริญพละ ปฏิภาณผ่องแผ้ว จงยืนพระชน...มาน นับรอบร้อย แฮ มีพระเกียรติเพริศแพร้ว เล่ห์ เพี้ยง จันทร”

ในปีพ.ศ.2414 ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์ ซึ่งขณะนั้นสิงคโปร์ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษอยู่ กองทหารดุริยางค์สิงคโปร์ได้บรรเลงเพลงก็อด เซฟ เดอะควีน เพื่อถวายความเคารพ

ครั้นเมื่อทรงเสด็จกลับถึงพระนคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้ตั้งคณะครูดนตรีไทยขึ้น เพื่อทรงปรึกษาหาเพลงชาติที่มีความเป็นไทยมาใช้แทนเพลงก็อด เซฟ เดอะควีน เนื่องจากพระองค์ทรงตระหนักดีว่าประเทศไทยจำเป็นจะต้องมีเพลงชาติที่เป็นของตัวเอง เพื่อแสดงถึงความเป็นเอกราชของชาติ

คณะครูดนตรีไทยได้เลือก เพลงทรงพระสุบันหรือเพลงบุหลันลอยเลื่อน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โดยนำมาเรียบเรียงใหม่ให้มีความเป็นสากลขึ้น โดย เฮวุดเซน (Heutsen) นับเป็น เพลงชาติไทยฉบับที่ 2 ใช้บรรเลงอยู่ในช่วงปีพ.ศ.2414-2431

สำหรับเพลงชาติไทยฉบับที่ 3 คือ เพลงสรรเสริญพระบารมี ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ประพันธ์โดย ปโยตร์ สชูโรฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์ชาวรัสเซีย คำร้องเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ใช้บรรเลงเป็นเพลงชาติ ในระหว่างปีพ.ศ.2431-2475

เพลงชาติไทยยังมีการเปลี่ยนแปลงต่อมาอีก เป็นเพลงชาติไทยฉบับที่ 4 ซึ่งนำ “เพลงชาติมหาชัย” มาใช้เป็นเพลงชาติ ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงการปกครองปีพ.ศ.2475 โดยอาศัยทำนองเพลงมหาชัย ส่วนคำร้องนั้น ประพันธ์โดย เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เพื่อใช้ขับร้องและบรรเลงปลุกเร้าใจประชาชน ก่อให้เกิดความรักชาติและสร้างความสามัคคี ในระหว่างที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เนื้อเพลง ดังนี้

" สยามอยู่คู่ฟ้าอย่าสงสัย เพราะชาติไทยเป็นไทยไปทุกเมื่อ
ชาวสยามนำสยามเหมือนนำเรือ ผ่านแก่งเกาะเพราะเพื่อชาติพ้นภัย
เราร่วมใจร่วมรักสมัครหนุน วางธรรมนูญสถาปนาพาราใหม่
ยกสยามยิ่งยงธำรงชัย ให้คงไทยตราบสิ้นดินฟ้า " 



เพลงชาติไทยฉบับที่ 5 คือ เพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ เป็นผู้ประพันธ์ทำนอง คำร้องประพันธ์โดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ใช้เป็นเพลงชาติระหว่างปีพ.ศ.2475-2477 ซึ่งมีอยู่ 2 บทด้วยกัน คือ

" แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตต์แดนสง่า
สืบชาติไทยดึกดำบรรพ์โบราณลงมา ร่วมรักษาเอกราชชนชาติไทย
บางสมัยศัตรูจู่มารบ ไทยสมทบสวนทัพเข้าขับไล่
ตลุยเลือดหมายมุ่งผดุงไผท สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา
อันดินสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราชคือกระดูกที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมมีใจ
ยึดอำนาจกุมสิทธิ์อิสระเสรี ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้
เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทย สถาปนาสยามให้เชิดชัย ชโย " 



ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงเพลงชาติไทยเป็นฉบับที่ 6 คือ เพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ ที่เพิ่มคำร้องของนายฉัน ขำวิไล เข้าต่อจากคำร้องของขุนวิจิตรมาตรา ใช้เป็นเพลงชาติระหว่างปีพ.ศ.2477-2482 เป็นเพลงชาติที่เป็นฉบับของทาง "ราชการ" ฉบับแรก เนื้อเพลง ดังนี้

" แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตแดนสง่า
สืบเผ่าไทยดึกดำบรรพ์โบราณลงมา รวมรักษาสามัคคีทวีไทย
บางสมัยศัตรูจู่โจมตี ไทยพลีชีวิตร่วมรวมรุกไล่
เข้าลุยเลือดหมายมุ่งผดุงไผท สยามสมัยโบราณรอดตลอดมา
อันดินสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราชคือเจดีย์ที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมมีใจ
รักษาชาติประเทศเอกราชจงดี ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้
เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินไทย สถาปนาสยามให้เทอดไทยไชโย
เหล่าเราทั้งหลายขอน้อมกายถวายชีวิต รักษาสิทธิ์อิสระ ณ แดนสยาม
ที่พ่อแม่สู้ยอมม้วยด้วยพยายาม ปราบเสี้ยนหนามให้พินาศสืบชาติมา
ถึงแม้ไทย ไทยด้อยจนย่อยยับ ยังกู้กลับคงคืนได้ชื่นหน้า
ควรแก่นามงามสุดอยุธยา นั้นมิใช่ว่า จะขัดสนหมดคนดี
เหล่าเราทั้งหลายเลือดและเนื้อเชื้อชาติไทย มิให้ใครเข้าเหยียบย่ำขยำขยี้
ประคับประคองป้องสิทธิ์อิสรเสรี เมื่อภัยมีช่วยกันจนวันตาย
จะสิ้นชีพไว้ชื่อให้ลือลั่น ว่าไทยมันรักชาติไม่ขาดสาย
มีไมตรีดียิ่งทั้งหญิงชาย สยามมิวายผู้มุ่งหมายเชิดชัยไชโย "



แต่เนื่องจากเนื้อเพลงชาติฉบับดังกล่าวยาวเกินไป ใช้เวลาบรรเลงถึง 3 นาที 52 วินาที จึงมีการประกวดเพลงชาติขึ้นใหม่ โดยใช้ทำนองเพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ (ฉบับที่ 5) เปลี่ยนคำร้องใหม่ ประพันธ์โดย พันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ซึ่งชนะการประกวด โดยส่งในนามของกองทัพบก รัฐบาลจึงได้ประกาศใช้เพลงชาติไทยฉบับดังกล่าว ซึ่งเป็นฉบับปัจจุบัน ตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2482 กระทั่งถึงปัจจุบัน โดยมีเนื้อร้อง ดังนี้

" ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย
เป็นประชารัฐไผทของไทยทุกส่วน
อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล
ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี
ไทยนี้รักสงบแต่ถึงรบไม่ขลาด
เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี
เถลิงประเทศชาติไทยทวีมีชัย ชโย " 


นอกจากนี้ ได้กำหนดให้การบรรเลงเพลงชาติ ใช้สำหรับธงประจำกองทหาร ธงประจำกองยุวชนทหาร ธงชาติประจำสำนักงานของรัฐบาลในขณะขึ้นลง และธงราชนาวีประจำเรือ ขณะทำพิธีขึ้นลง ธงชาติในพิธีการที่ชักขึ้นเพื่อเป็นเกียรติภูมิของชาติ ซึ่งเพลงชาติที่เปิดทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เป็นการบรรเลงและขับร้องโดยวงดุริยางค์สี่เหล่าทัพและกรมศิลปากร

กว่าจะมาเป็นเพลงชาติถึงทุกวันนี้...ใช่ว่าเป็นเรื่องง่ายๆ ใครที่คิดจะเอาไปทำใหม่ลองฟังกระแสเสียงของคนในชาติดูปะไร ว่าใครเขาเห็นด้วยบ้าง

หมายเหตุ : เรียบเรียงจากข้อมูล ห้องสมุดทางทหาร กองทัพบกไทย และบทความของ ดร.สุกรี เจริญสุข


ที่มาข้อมูล : ผู้จัดการออนไลน์



Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 3 กุมภาพันธ์ 2559 20:28:45 น.
Counter : 495 Pageviews.

0 comment
บ้านมือสองอย่างไรให้ได้ราคาสูง
บ้านเป็นสินค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่ราคาขายสูงจะเช่า จะซื้อก็ได้บ้านใหม่ๆราคาเบาๆก็เยอะบ้านมือสองจึงยากหน่อยที่จะขายให้ได้ในราคาสูงๆแต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีวิธีเมื่อคิดจะลงสนามขายบ้านมือสองที่คู่แข่งเยอะก็ต้องมีวิธีเด็ดงัดออกมาโชว์ลูกค้ากันหน่อย



วิธีขายบ้านมือสองให้ได้ราคาสูงมีดังต่อไปนี้

· ประกาศขายหลายช่องทางเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่กว้างขึ้นจึงต้องมีการลงประกาศในหลายช่องทางแต่ต้องลงในที่คนนั้นอยู่เยอะ ถ้าเป็นเว็บไซต์ก็ต้องเว็บไซต์ที่คนเข้าเป็นจำนวนมากตามหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และสื่ออื่นๆตามต้นทุนที่มี

· ตั้งราคาให้เหมาะสมกับบ้าน บ้านมือสองนั้นหากราคาสูงจนเกินไปลูกค้าก็ไม่สนฉะนั้นการตั้งราคาสูงได้แต่จะต้องให้เข้ากับสภาพของบ้านแสดงจุดเด่นทีทำให้ราคาบ้านมือสองนั้นสูงขึ้นมาตาม

· เพิ่มเสน่ห์ให้บ้าน บ้านจะดูมีเสน่ห์น่าสนใจนั้นจะต้องมีที่ตั้งทำเลดีอายุของบ้านนานเท่าไรแล้วปรับปรุงบ้านให้ใหม่ด้วย ปรับแต่งสวนตัดหญ้า ทำความสะอาดทำสีใหม่ ปรับโฉมให้บ้านน่าอยู่มากขึ้น บ้านจะดูมีสีสันน่าอยู่น่าซื้อมากขึ้น

· มุมเด็ดมัดใจ ถ้าบ้านนั้นมีมุมดีๆวิวสวยๆต้องรีบนำเสนอให้ลูกค้าเห็นเลย จะเป็นซีวิว เมาท์เทนวิวหรือวิวอะไรก็ตามที่ดูสวยงาม หรือจะเป็นมุมที่อยู่แล้วสบายอากาศถ่ายเทไม่ร้อนจะทำให้ลูกค้าสนใจบ้านมือสองมากขึ้น

· ตอบโจทย์ความต้องการเบื้องต้นได้ครบ ขึ้นชื่อว่าบ้านก็ต้องมีสิ่งที่ลูกค้าต้องได้มาด้วยในเบื้องต้นอยู่แล้วอย่าลืมเช็คและเพิ่มมาให้เรียบร้อยหามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งขาดหายไป เช่น น้ำประปาระบบอินเตอร์เน็ต เบรกเกอร์ ไฟฟ้า สายต่อโทรศัพท์ เป็นต้นถ้าขาดไปลูกค้าจะไม่พอใจตั้งแต่เริ่มต้นเพราะหากซื้อบ้านไปก็ต้องทำการติดตั้งเข้ามาใหม่หมดฉะนั้นเพื่อให้ลูกค้าพอใจก็เตรียมไว้ขายไปพร้อมกับบ้านเลย

· สำรวจความต้องการ มาเอาใจลูกค้ากันหน่อยลองสำรวจดูว่าในเบื้องต้นของคนที่อยากจะซื้อบ้านมือสองนั้นต้องการอะไรบ้างจะได้จัดเตรียมไว้ได้ถูก เช่นเป็นบ้านทำใหม่แล้วเรียบร้อย มีความแข็งแรงสิ่งอำนวยความสะดวกเบื้อต้นมีครบ เป็นต้น

· ให้นายหน้าช่วย ปกตินายหน้านั้นจะขายบ้านเก่งอยู่แล้วให้เขาเข้ามาเป็นผู้ช่วยในการขายบ้านคุณก็จะดีไปอีกแบบคุณเองก็ไม่ต้องเหนื่อยมาก



การขายบ้านมือสองให้ได้ราคาสูงนั้นก็มีโอกาสที่จะเป็นไปได้แล้วเมื่อทำตามวิธีดังกล่าวได้ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเวลาสถานการและอย่างอื่นประกอบกันไปด้วยคนที่จะขายบ้านเองต้องมีไหวพริบและมีทักษะในการขายในตัวเองด้วย


เวปไซต์แนะนำ

//buyhomedd.com
//siamproperty4u.com
//www.homethailand.biz
//www.hometh.net
//www.homesthailand.in.th
//www.thailandhomes.in.th
//www.ประกาศซื้อขายบ้าน.com
//www.thaipropertydb.com
//www.ฟรีประกาศซื้อขายบ้าน.com
//www.ฟรีประกาศซื้อขายบ้าน.com
//ตลาดซื้อขายที่ดิน.net
//ลงประกาศขายบ้าน.com
//ประกาศขายบ้าน.net
//ประกาศขายบ้านที่ดิน.com
//ตลาดบ้านและที่ดิน.net
//thaihomesale.net
//ซื้อขายบ้าน.net
//siamproperty4u.net
//propertyth.net
//thaihomeonlines.com
//108property.net

กลุ่มคนซื้อขายบ้าน : ประกาศซื้อขายบ้าน คอนโด ที่่ดิน
https://www.facebook.com/groups/653434481396703/





Create Date : 04 เมษายน 2558
Last Update : 12 เมษายน 2558 18:43:42 น.
Counter : 843 Pageviews.

3 comment
ประเภทของงานและการสร้างรายได้พิเศษจากงานพาร์ทไทม์
งาน part time คืออะไร? งานพาร์ทไทม์(part time) คือการทำงานโดยใช้เวลาว่างที่มีให้เกิดประโยชน์ในรูปแบบของรายได้เสริม นอกเหนือจากงานประจำและจะเป็นการสร้างลักษณะนิสัยการทำงานที่ดีในการบริหารว่างให้เกิดประโยชน์โดยมีรายได้เป็นค่าตอบแทน จึงเป็นที่มาของคำว่ารายได้เสริม รายได้พิเศษ แล้วแต่คนจะเรียกกัน โดยลักษณะของงานพาร์ไทม์จะอยู่ในรูปแบบการสร้างรายได้แบบชั่วคราว ไม่เหมือนงานหลักพนักงานประจำหรือที่เรียกว่า Full Time ซึ่งมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

การสร้างรายได้พิเศษจากงานพาร์ทไทม์ ก็เป็นอีกเป้าหมายหนึ่งของผู้ที่อยากมีรายได้พิเศษนอกเวลางาน โครงสร้างประเภทของงานนั้นแบ่งเป็นหมวดใหญ่ๆได้ 3 รูปแบบ คือ การทำงานแบบชั่วคราว(ลูกจ้างชั่วคราว) การทำงานประจำ(ลูกจ้างประจำ) และ การทำงานแบบอาชีพอิสระ(ฟรีแลนซ์) แน่นอนว่าแต่ละรูปแบบของงานมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยมีข้อดีข้อเสียดังต่อไปนี้

1. การทำงานชั่วคราว (Part Time) การทำงานนี้ผู้ทำงานจะถูกจัดออยู่ในส่วนของลูกจ้างชั่วคราวด้วยเช่นกัน หรือให้ช่วยงานชั่วคราวในกรณีใดๆก็ตาม ซึ่งรายได้จะมากน้อยก็อยู่ที่ความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย หรือผู้รับจ้างจำใจทำเพราะตกงานก็เป็นได้ การจ้างงานอยู่เพียงแค่ชั่วครั้งชั่วคราวไม่มีการรับประกันรายได้ที่แน่นอน

2. การงานประจำ(Full time) คืองานประจำ ที่สร้างรายได้ประจำที่มีการเข้าออกงานเป็นเวลาที่ชัดเจน และมีรูปแบบของการทำงานในองค์กรที่ชัดเจน เช่น ทำงานในบริษัท พนักงานราชการ ข้าราชการ โดยมีรูปแบบค่าตอบแทนเป็นรายเดือน มีสวัสดิการและวันหยุดและการรับประกันรายได้ที่ชัดเจน

3. งานอิสระ (Freelance) คืองานที่จัดอยู่ในกลุ่มของคนทำงานที่ไม่อยากทำงานทั้ง 2 อย่างตามที่กล่าวมา งานประเภทนี้ส่วนมากเป็นงานของมืออาชีพ เพราะต้องมีความเชี่ยวชาญ อีกทั้งยังการขายบริการงานในรูปแบบของไอเดียที่แปลกใหม่ ซึ่งเป็นอาชีพที่นิยมกัน รายได้และค่าตอบแทนของงานประเภทนี้จะออกมาในรูปแบบของความพึงพอใจของผู้ให้บริการ ข้อเสียของการทำงานอิสระคือความแน่อนและหลักประกันรายได้ที่ชัดเจน

สรุปประเภทของงานทั้งหมด คงไม่สามารถปฎิเสธได้เลยว่าในส่วนงานทั้งหมดนั้นมีเวลาว่าง ซึ่งเป็นช่องว่างในการสร้างรายได้เสริมและหางานพิเศษทำ เพื่อเพิ่มรายได้ ซึ่งก็แล้วแต่ความถนัดของแต่ละบุคคล ไม่ว่าคุณจำทำงานแบบไหน? อาชีพอะไร? การสร้างรายได้เสริมยังเป็นงานที่แทรกอยู่ในช่องว่างของเวลาของหลายๆคน




Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2558
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2558 0:08:33 น.
Counter : 1181 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  

yutcmri
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



Group Blog
All Blog