I Love Fiction ^^//
Group Blog
 
All Blogs
 

ว. ณ ประมวญมารค

พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าหญิงวิภาวดีรังสิต ว. ณ ประมวลมารค




พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงวิภาวดีรังสิตทรงมีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้า(หญิง)วิภาวดี รัชนี
ประสูติเมื่อ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๓

ทรงเป็นพระธิดาในพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ (พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส) ผู้เป็นพระราชโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระองค์สุดท้ายของไทย
พระมารดาของพระองค์เจ้าหญิงวิภาวดีรังสิต หรือหม่อมเจ้า(หญิง) พรพิมลพรรณ วรวรรณ เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์(พระองค์เจ้าวรวรรณากร) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเขียน


พระองค์เจ้าหญิงวิภาวดี ทรงมีพระอนุชาร่วมพระมารดาเดียวกันอีกองค์หนึ่ง คือหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี

ทางด้านการศึกษา
พระองค์เจ้าหญิงวิภาวดีรังสิต ทรงเริ่มต้นที่ร.ร.ผดุงดรุณี อยู่ ๑ ปี แล้วย้ายมาเข้าที่ร.ร. วัฒนาวิทยาลัย ไม่ถึงปี ก็เสด็จไปศึกษาที่ร.ร.มาแตร์เดอีวิทยาลัย จนจบชั้นมัธยมปีที่ ๘


ร.ร.มาแตร์เดอีฯ เปิดชั้นพิเศษ ที่ไม่ค่อยจะมีโรงเรียนอื่นสอนกันนัก พูดจริงๆคือไม่รู้ว่ามีที่ไหนสอนกันอีกหรือเปล่าในประเทศไทย
เป็นหลักสูตรของยุโรป เรียกว่าฟินิชชิง คอร์ส (Finishing Course) ต้องเรียน ๓ ปีถึงจบหลักสูตร

ฟินิชชิง คอร์ส สอนเด็กสาวที่ไม่ประสงค์จะเรียนต่อขั้นมหาวิทยาลัย แต่เรียนรู้วิชาต่างๆที่จะเป็นประโยชน์แก่ตนเองต่อไปภายหน้า เช่นเรียนภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส (ในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ฝรั่งเศสเป็นภาษาสำคัญอีกภาษาหนึ่งของยุโรป) เรียนการเข้าสังคม เช่นการแต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศ มารยาทสังคม ลีลาศ การจัดโต๊ะดินเนอร์ จัดดอกไม้ ต้อนรับแขกในฐานะเจ้าภาพสตรี ความรู้รอบตัว ในการสมาคม การดูแลบ้านช่องให้มีระเบียบสวยงาม รวมทั้งการควบคุมเรื่องเงินทองให้ดีด้วย
หลักสูตรฟินิชชิ่ง คอร์สนี่แหละที่พระองค์เจ้าหญิงทรงนำมาเป็นฉากของ ชั้นพิเศษ ๑และ ๒ ของโรงเรียนสิกขาลัย ในเรื่องปริศนา
พระองค์เจ้าหญิงวิภาวดีรังสิต ทรงเสกสมรสกับหม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต เมื่อ วันที่ 6 พฤษภาคม 2489
โดยได้รับพระราชทานน้ำพระมหาสังข์ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
ทรงมีธิดา 2 คนคือ ม.ร.ว. วิภานันท์ และ ม.ร.ว. ปรียนันทนา



หม่อมเจ้าปิยะรังสิต ทรงเป็น พระโอรสใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรกับหม่อมเอลิซาเบท รังสิต ณ อยุธยา (ชารนแบรเกอร)(Elisabeth Scharnberger)
ทั้งสององค์ นับว่าสมศักดิ์สมตระกูลกันอย่างยิ่ง เหมือนพระเอกนางเอกในเรื่อง "รัตนาวดี"


ฉากสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ

พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต ขณะดำรงพระยศเป็นหม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี รังสิต สิ้นชีพิตักษัยเพราะถูกกระสุนจากผู้ก่อการร้ายยิงทะลุเฮลีคอปเตอร์ เมื่อเสด็จพร้อมทหาร ไปรับตำรวจตระเวนชายแดนผู้บาดเจ็บจากการต่อสู้กับผู้ก่อการร้าย ณ ตำบลบ้านส้อง อ.เวียงสระ จ. สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่16 กุมภาพันธ์ 2520


เช้าวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2520 พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิตจะเสด็จไปเยี่ยมเยียนทหาร ตำรวจตระเวนชายแดน ตำรวจภูธร และประชาชนตามปกติที่อำเภอเวียงสระ สุราษฎร์ธานี
ทรงได้รับรายงานข่าวว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดน 2 คน ถูกกับระเบิดบาดเจ็บสาหัส เกรงว่าจะได้รับอันตรายถึงชีวิตหากมิได้รับการรักษาพยาบาลให้ทันท่วงที จึงทรงให้นักบินนำเฮลิคอปเตอร์ร่อนลงเพื่อรับคนเจ็บนำส่งโรงพยาบาล

แต่ในขณะที่นักบินนำเครื่องร่อนลงต่ำที่บ้านเหนือคลอง ได้ถูกผู้ก่อการร้ายซึ่งซุ่มอยู่ภาคพื้นดินระดมยิงอย่างหนาแน่น กระสุนปืนของผู้ก่อการร้ายถูกเฮลิคอปเตอร์และทะลุเข้ามาถูกพระองค์เจ้าวิภาวดีฯ เป็นแผลฉกรรจ์ นักบินได้นำเฮลิคอปเตอร์ลงฉุกเฉินที่สนามหน้าโรงเรียนวัดบ้านส้องเพราะเครื่องชำรุดบินต่อไม่ได้
ครั้นแล้วเฮลิคอปเตอร์ลำใหม่ก็ได้บินไปรับพระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิตเพื่อนำไปโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี แล้วที่สุดก็สิ้นพระชนม์บนเฮลิคอปเตอร์ที่นำเสด็จกลับสู่จังหวัดสุราษฎร์ธานีนั้นเอง ได้มีการอัญเชิญพระศพไปแต่งบาดแผลที่โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ได้ถวายธงชาติคลุมพระศพ และทางราชการตำรวจได้นำพระศพมาทางเครื่องบินสู่ท่าอากาศยานดอนเมืองในตอนเย็นวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2520 แล้วได้อัญเชิญพระศพไปยังโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อแต่งบาดแผลและเปลี่ยนฉลองพระองค์และอัญเชิญเข้าสู่วังวิทยุ


ข่าวการสิ้นชีพิตักษัยของหม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต เป็นข่าวใหญ่พาดหัวหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ เป็นเรื่องสั่นสะเทือนจิตใจของประชาชนอย่างมาก ที่พระบรมวงศานุวงศ์ และผู้แทนพระองค์พระ
บาทพระเจ้าอยู่หัว ในการเสด็จเยี่ยมประชาชน โดยเฉพาะในหน่วยพระราชทาน ต้องจบพระชนม์ชีพลงด้วยน้ำมือผู้ก่อการร้ายในภาคใต้ ขณะที่ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจเพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ผู้บาดเจ็บจากการปฏิบัติงาน

"ม.จ.วิภาวดี รังสิต ท่านทรงเป็นผู้ทำบุญโดยไม่หวังบุญ ท่านทรงกระทำทุกอย่างโดยมีเมตตาธรรม หวังประโยชน์สุขและความเจริญที่จะให้บังเกิดกับประชาชนโดยแท้ ท่านทรงบำเพ็ญกุศลนี้มาเป็นเวลานานปี จนกระทั่งเกิดเหตุขึ้นในครั้งนี้ ท่านทรงกระทำโดยมิได้หวังอะไรเป็นส่วนพระองค์เลย ท่านทรงแนะนำอาชีพส่งเสริมหัตถกรรม การเพาะปลูก หาแพทย์ไปรักษาพยาบาลคนที่เจ็บป่วย จัดสิ่งของหยูกยาไปช่วยชาวบ้านผู้ที่ยากไร้ เมื่อท่านถึงชีพิตักษัยคราวนี้จึงเป็นเรื่องที่สลดใจอย่างยิ่ง และรัฐบาลตระหนักเป็นอันดีในวีรกรรมของท่าน
ท่านเป็นสตรีผู้กล้าหาญ ท่านไม่ได้ถึงชีพิตักษัยไปโดยเปล่าประโยชน์ วีกรรมของท่านยังคงเป็นสิ่งเตือนใจเราอยู่ ผมใคร่ที่จะขออัญเชิญกระแสพระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ มากล่าวไว้ ณ ที่นี้ คือ

" การถึงชีพิตักษัยของหม่อมเจ้าวิภาวดีฯ นั้น เป็นการปฏิบัติภารกิจของพระองค์ ซึ่งภารกิจอันนี้ พวกเราชาวไทยที่อยู่เบื้องหลังจะต้องจัดทำต่อไป"

ทรงเป็นแบบอย่างของคนไทยที่เปี่ยมล้นด้วยความรัก ความเสียสละ เพื่อชาติ ทั้งที่ทรงถึงพร้อมด้วยชาติวุฒิ คุณวุฒิ ทรัพย์ศฤงคาร และแวดล้อมด้วคนรักใคร่ใกล้ชิด แต่ก็ทรงสละความสุขส่วนตัวนั้นๆ ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจให้แก่งานของประเทศชาติ
โดยทรงมุ่งหมายจะผดุงรักษาความเป็นชาติไทยของเราไว้ แม้จะต้องแลกด้วยพระชนมชีพก็ตาม
ที่ ม.จ.วิภาวดี รังสิต ได้ทรงจุดนำทางไว้ จะลุกโพลงในจิตใจของเลือดเนื้อไทยชั่วนิจนิรันดร์"

ถนน วิภาวดีรังสิต รวมทั้ง น้ำตกวิภาวดี จ.สุราษฏร์ธาณี นั้นตั้งชื่อเพื่อเป็น อนุสรณ์ถึงท่านค่ะ รวมทั้ง ด้วย



ผลงานการประพันธ์
พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต ทรงสืบเชื้อสายมาจากนักประพันธ์ใหญ่สองพระองค์ คือเป็นพระธิดาของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ ผู้รักวรรณคดี คงทราบดีว่า กรมหมื่นพิทยาลงกรณ หรือน.ม.ส. (นามปากกา ทรงนำมาจากอักษรท้ายชื่อพระนาม) ทรงเป็นกวีเอกองค์หนึ่งของไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ พระนิพนธ์ "สามกรุง" " กนกนคร" "นิทานเวตาล" " พระนลคำฉันท์" เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย

และ ทรงเป็นพระนัดดาของ กรมพระนราธิปฯ ซึ่งทรงเป็นทั้งศิลปินและกวี เป็นกวีและนักประพันธ์ ที่มีชื่อเสียงจากงานพระนิพนธ์หลายชิ้นที่รู้จักกัน ได้แก่ บทละครพูดเรื่อง สร้อยคอที่หาย ที่เคยได้บรรจุอยู่ในหนังสือเรียนวิชาภาษาไทยเมื่อประมาณสิบปีมาแล้ว บทละครร้อง สาว
เครือฟ้า ซึ่งได้สร้างตัวละครให้กลายเป็นคนที่เหมือนกับมีตัวจริงขึ้นมา ๒ คน คือ ร้อยตรี พร้อม และสาวเครือฟ้า นอกจากนี้ยังมีงานพระนิพนธ์สำคัญ คือ จดหมายเหตุลาลูแบร์ ที่ แปลมาจากฉบับภาษาอังกฤษ ตำนานพระแท่นมนังคศิลาอาสน์ รุไบยาด และนรางกุโร
วาท เป็นต้น นอกจากนี้ได้ทรงใช้นามปากกา ประเสริฐอักษร นิพนธ์เรื่องสั้นไว้อีกด้วย



จึงทรงรักการอ่านหนังสือมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ท่าน น.ม.ส. เคยมีพระประสงค์จะให้พระองค์หญิงทำหน้าที่บรรณารักษ์จัดหนังสือในห้องสมุดส่วนพระองค์ แต่พระองค์หญิงสนพระทัยต่อการอ่านมากกว่าการจัด ทรงจับเล่มไหนได้ก็ทรงอ่านไปจนจบ แทบจะไม่ได้จัดหนังสือเลย ท่าน น.ม.ส. จึงทรงหาคนอื่นมาจัดแทน และทรงให้พระองค์หญิงทำหน้าที่เป็นเลขานุการ ช่วยค้นหนังสือหรือจดตามรับสั่ง



นวนิยายทุกเล่มที่พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิตทรงนิพนธ์จะใช้นามปากกาว่า “ ว.ณ ประมวญมารค ”
และจะใช้พระนามจริงเมื่องทรงเขียนเรื่องสารคดีเท่านั้น
ท่านทรงอธิบายนามปากกา ว.ณ ประมวญมารค ไว้ว่า
ตัว ว. คือ อักษรตัวย่อตัวแรกของชื่อคือ วิภาวดี ตัว
ณ (ณะ) แปลว่า แห่ง
คำว่าประมวญ คือ ชื่อถนนที่บ้านของท่านตั้งอยู่
คำว่า มารค หรือ มรคา คือถนนในภาษาแขก
ดังนั้น ว.ณ ประมวญมารค ก็คือ ว. ณ ถนนประมวญ เท่านั้น


พระองค์หญิงโปรดการเขียนหนังสือมาตั้งแต่พระเยาว์ “เด็กจอมแก่น” เป็นนวนิยายเรื่องแรกที่ทรงนิพนธ์เมื่อพระชนมายุ 14 พรรษา ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ประมวญสารสัปดาห์ละครั้ง หนังสือพิมพ์นี้ท่าน น.ม.ส. และหม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี ทรงเป็นบรรณาธิการ
นวนิยายเรื่องที่สองที่ทรงนิพนธ์คือ เรื่อง “ปริศนา” ทรงเขียนระหว่างสงครามโลกครั้ง 2 ขณะที่พระชนมายุ 18-19 พรรษา ได้ทรงเตรียมจะนำลงในหนังสือพิมพ์ประมวญวัน แต่บังเอิญไฟไหม้สำนักงานหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นเสียก่อน พระองค์หญิงทรงวิ่งฝ่าเพลิงเข้าไปหยิบต้นฉบับออกมาได้ ดังที่ทรงเล่าว่า

" เรื่องปริศนานี้ ข้าพเจ้าเขียนขึ้นเมื่ออายุไม่เกิน ๒๐ ปี คือเมื่อออกจากโรงเรียนมาอยู่บ้านใหม่ๆ
ใช้เวลาถึง ๓ ปีถึงเขียนเรื่องปริศนาจบ
ท่านเจ้าของโรงพิมพ์ประมวญมารค( ทรงหมายถึงกรมหมื่นพิทยาลงกรณ) รับไว้เพื่อลงในหนังสือพิมพ์รายอาทิตย์ ประมวญสาร
อีก ๒ อาทิตย์เรื่อง "ปริศนา" จะลงพิมพ์ โรงพิมพ์ประมวญมารคก็ถูกระเบิด เพลิงไหม้หมด
ข้าพเจ้าได้เสี่ยงชีวิตวิ่งฝ่าไฟเข้าไปในออฟฟิศ ของโรงพิมพ์ซึ่งกำลังไฟลุก ไปเอาต้นฉบับเรื่อง"ปริศนา"ซึ่งอยู่ในนั้น
มิฉะนั้น ปริศนาก็คงตายเสียในไฟ ไม่มีโอกาสให้ใครได้รู้จักเกิน ๔ คน"

ผลจากทรงวิ่งเข้าไปในกองไฟ สูดควันไฟเข้าไปมากทำให้ประชวรค่อนข้างหนัก แต่ก็ทรงโชคดีที่หายได้เป็นปกติ

ปริศนาได้ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ เดลิเมล์ วันจันทร์ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2596 จนจบเรื่อง

พระองค์หญิงทรงสร้างตัวละครทุกตัวอย่างประณีต เข้าพระทัยในความรู้สึกนึกคิดของตัวละครแต่ละตัวเป็นอย่างดี อุปนิสัยบางอย่างของ “ปริศนา” เป็นของพระองค์หญิงเอง เช่น นิสัยชอบเล่นและเชื่อฟังผู้ใหญ่ ยิ่งกว่านั้นสิ่งใดที่พระองค์หญิงโปรดเป็นพิเศษก็ได้ทรงเขียนไว้ในเรื่อง “ปริศนา” กระโปรงขาวบานสำหรับงานราตรี เข็มกลัดรูปดอกไม้ที่ท่านแม่ประทานในวันประสูติ ปรากฏว่า “ปริศนา” มีของอย่างเดียวกันนี้ นอกจากนี้ ยังเป็นการบังเอิญอย่างประหลาดที่หม่อมเจ้าพจนปรีชาในเรื่อง “ปริศนา” ซึ่งพระองค์หญิงทรงวาดขึ้นอย่างโก้หรู มีความรู้ความสามารถ มีน้ำพระทัยดีและยังทรงพูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมันได้ดีอีกด้วย กลับกลายเป็นคุณสมบัติของหม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต พระสวามีในชีวิตจริง พระองค์หญิงทางแต่งเรื่อง “ปริศนา” ด้วยความสนุกเพลิดเพลินและทรงแทรกอารมณ์ขันไว้เสมอ ในบางตอนเมื่อทรงเขียนแล้วก็ทรงพระสรวลเอง

ต่อมาพระองค์หญิงทรงแต่งเรื่อง “เจ้าสาวของอานันท์” และ “รัตนาวดี” ขึ้นอีกโดยใช้ตัวละครชุดเดียวกับ “ปริศนา” เพราะผู้อ่านสนใจใคร่จะทราบเรื่องของ “ปริศนา” ต่อไป ต่างก็รู้สึกพอใจที่ทราบว่าต่อมา “ปริศนา” มีลูกแฝด และยังได้เฝ้าติดตามเรื่องราวของตัวละครอื่นๆ ด้วย
นวนิยายเรื่อง “ รัตนาวดี ” ใช้ฉากในยุโรปเพราะเป็นเรื่องเที่ยวยุโรป แต่เขียนเป็นเรื่องอ่านเล่น เป็นเรื่องที่ผู้ทรงพระนิพนธ์พอพระทัยมากที่สุด และทรงเห็นว่ามีคุณค่าทางการประพันธ์มากกว่าเรื่อง “ ปริศนา ” โดยทรงใช้บันทึกการเดินทางของพระองค์เองและพระสวามีเป็นรากฐาน ส่วนตัวละครและการดำเนินเรื่องเป็นเรื่องสมมุติทั้งสิ้น เป็นเรื่องที่ทั้งสนุกสนานและให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ต่างๆ ในยุโรป ทรงใช้วิธีแต่งในรูปแบบของจดหมาย

เรื่องนี้ นิพนธ์ขึ้นเป็นที่ระลึกจากเมื่อครั้งเสด็จไปท่องเที่ยว(ฮันนีมูน) ในยุโรป หลังเสกสมรส เมื่อพ.ศ. 2490
เนื้อเรื่องเป็นการเดินทางด้วยรถยนต์ ไปท่องเที่ยวในประเทศต่างๆ ตั้งแต่อังกฤษจนถึงอิตาลี
ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2ซึ่งคนไทยน้อยคนนักจะมีโอกาสได้ไปเยือน
เนื้อเรื่องที่ทรงผูกขึ้นมา อยู่ในแนวโรแมนติค ใช้จดหมายเล่าสู่กันฟัง เป็นการดำเนินเรื่อง สร้างตัวละครเพื่อดึงอารมณ์ผู้อ่านไปตามโครงเรื่องที่วางไว้

เรื่องก็คือ หม่อมเจ้าหญิงรัตนาวดีซึ่งเคยเป็นเด็กนักเรียนรุ่นสาวใน "ปริศนา" บัดนี้ทรงเรียนจนจบมหาวิทยาลัยแล้ว เจ้าพี่คือหม่อมเจ้าพจนปรีชาก็ประทานรางวัลให้ไปเที่ยวยุโรป
โดยมี ป้าสร้อย พี่เลี้ยงชาววังไปเป็นเพื่อนด้วย

เดินทางไปถึงลอนดอน ปรากฏว่าหม่อมเจ้าดนัยวัฒนา ข้าราชการสถานทูต ซึ่งพระญาติและพระสหายของท่านชายพจน์ฯ เสด็จไปพักร้อน
ก็เลยไม่ทรงทราบว่าท่านหญิงมาถึงลอนดอนแล้ว
ก็เลยหายเงียบ ไม่ได้มาต้อนรับอย่างที่ควรจะทำ ทำให้ท่านหญิงทั้งผิดหวังทั้งกริ้ว ที่ต้องตกอยู่ในลอนดอนองค์เดียวตั้งหลายวัน

เมื่อเสด็จไปที่แฟลตของท่านชาย ท่านกำลังทำกับข้าวอยู่ ท่านหญิงก็เลยเข้าพระทัยผิดว่าเป็นมหาดเล็ก
ท่านชายก็ยอมตกบันไดพลอยโจน และทำหน้าที่คนขับรถให้ท่านหญิงได้ท่องเที่ยวยุโรป

ท่านชายก็ตกอยู่ในฐานะกระต่ายหมายจันทร์ มีป้าสร้อยเป็นแชปเปอโรนที่เฝ้าท่านหญิงไม่ให้คลาดสายตา
มีตัวละครอื่นๆที่เข้ามาในเส้นทางท่องเที่ยว เป็นผงชูรสของเรื่อง
จนกระทั่งความจริงเปิดเผยในตอนจบ ทั้งสององค์ก็จบด้วยความหวานชื่น
ดังที่ท่านหญิงเขียนบันทึกไว้ว่า

"เอ นี่ก็ดึกเต็มทีแล้ว เรายังนั่งนึกถึงความรักของเรา มัวเขียนไดอารี่อยู่จนป่านนี้
สมุดเล่มนี้เราจะเก็บไว้บันทึกเหตุการณ์ที่สำคัญๆในชีวิตของเราและพี่ดนัย
เราจะเก็บไว้อ่านในยามแก่เฒ่า จะได้ชุ่มชื่นหัวใจ
และ re-live our romance over and over again.

หนังสือเรื่องนี้หม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต ทรงเลือกมาพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงพระศพพระองค์หญิงอีกด้วย “ เพื่อหวนไปรำลึกความหลังอันอ่อนหวาน อ่อนโยน และรื่นรมย์นั่นเอง ทั้งที่เมื่อกลับไปอ่านแล้วก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากความปวดร้าวหัวใจและน้ำตาไหลหลั่งด้วยความอาลัยอาวรณ์อย่างสุดซึ้ง ”

นวนิยายอีกเรื่องหนึ่งที่ทรงนิพนธ์ได้แก่ “ นิกกับพิม ” ซึ่งเป็นตัวละครเอกของเรื่อง เป็นสุนัขที่พูดคุยกันได้เหมือนคนจริงๆ พระองค์หญิงทรงสร้างตัวละครนี้ขึ้นด้วยความเข้าพระทัยในนิสัยและอารมณ์ของสุนัขเป็นอย่างดี ด้วยทรงมีสุนัขอยู่ใกล้ชิดเสมอ จึงสนุกสนานสมจริงเป็นที่พอใจของผู้อ่านจำนวนไม่น้อย


นอกจากนี้พระองค์หญิงได้ทรงนิพนธ์นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ไว้ 3 เล่ม คือ
“ พระราชินีวิคตอเรีย ” “ คลั่งเพราะรัก ” และ “ ฤทธีราชินีสาว ”
แต่ละเรื่องได้ทรงใช้ความเชี่ยวชาญในภาษาต่างประเทศค้นคว้าจากหนังสือภาษาต่างประเทศหลายเล่มและใช้เวลานานหลายปี เพื่อที่จะประมวลเนื้องเรื่องเข้าด้วยกันและเขียนให้ชวนอ่านทำนองนวนิยาย จึงนับเป็นวิธีเขียนที่ยากยิ่ง เพราะจะต้องรักษาข้อเท็จจริงต่างๆ ไว้อย่างสมบูรณ์ และต้องผูกเรื่องให้สนุกสนานน่าอ่านอีกด้วย
พระองค์หญิงตั้งพระทัยจะทรงนิพนธ์เรื่อง “ พระเจ้าริชาร์ดที่ 3 ” เป็นอันดับสี่ แต่ก็มาด่วนสิ้นพระชนม์เสียก่อนนวนิยายประเภทนี้เป็นที่พอพระทัยของพระองค์หญิงมากในระยะหลังแห่งพระชนม์ชีพ

เนื่องจากพระองค์หญิงได้โดยเสด็จสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศหลายครั้งในฐานะนางสนองพระโอษฐ์จึงได้ทรงนิพนธ์เรื่อง “ ตามเสด็จอเมริกา ” และ “ ตามเสด็จปากีสถาน ” ไว้อย่างชวนอ่านแทรกอารมณ์ขันไว้ตามแบบฉบับพระนิพนธ์แทบทุกเรื่องของพระองค์ท่าน นอกจากนี้ยังทรงนิพนธ์เรื่องตามเสด็จ 14 ประเทศ เรื่องตามเสด็จอเมริกาครั้งที่ 2 เรื่องตามเสด็จประเทศอิหร่าน ซึ่งรวมพิมพ์ไว้ในหนังสือ “ เรื่องหลายรส ” อีกด้วย

เกียรติประวัติในด้านการประพันธ์อีกอย่างหนึ่งของพระองค์หญิงก็คือหนังสือ “ เรื่องหลายรส ” ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทหนังสืออ่านสำหรับเด็กของคณะกรรมการสวัสดิการเด็ก สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ทำให้เด็กเกิดความคิดอ่าน และสร้างสรรค์ในสิ่งที่ดีงาม

“ เรื่องหลายรส ” นอกจากจะรวมเรื่องตามเสด็จประเทศต่างๆ แล้ว ยังมีเรื่องน่าอ่านอื่นๆ เช่น จดหมายจากปารีส ละครพงศาวดารตอนสิ้นแผ่นดินพระนารายณ์เล่นเรื่องเมืองพระแสง เรื่องน่าคิด ละครพูดเรื่องนักสืบประจำค่ายกักกัน และเมื่อหน่วยพระราชทานขึ้นเขา เป็นต้น
สุดท้ายเป็นเรื่องวังวิทยุ (บังเอิญทำงานอยู่ที่ตึกแถวนั้นคะ เดินผ่านก็มอง อยู่บนตึกก็มอง เป็นวังที่สวยงามตั้งอยู่ท่ามกลางตึกสมัยใหม่ได้อย่างสง่างามจริงๆ) เป็นที่เดียวกับในวังของท่านชายพจน์ปรีชาในเรื่อง ปริศนา คะ

วังวิทยุ หรือ วังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร เป็นวังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร กับหม่อมเอลิซาเบท รังสิต ณ อยุธยา ตั้งอยู่ริมถนนวิทยุ ตรงข้ามกับปากซอยร่วมฤดี ๓

หลังจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔ หม่อมเอลิซาเบทได้ย้ายไปอยู่ที่เจนีวา วังนี้จึงตกทอดสู่หม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต และหม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี รังสิต ปัจจุบันวังนี้อยู่ในความดูแลของ หม่อมราชวงศ์ปรียนันทนา รังสิต

Credit: เทาชมพู เรือนไทย.วิชาการ.com
//www.reurnthai.com/index.php?PHPSESSID=561c3d971095570f493fdcdc959727e3&topic=1399.0
มูลนิธิวิภาวดีรังสิต
//vibhavadirangsitfoundation.com/d.htm
and others




 

Create Date : 04 ตุลาคม 2552    
Last Update : 4 ตุลาคม 2552 17:54:18 น.
Counter : 9513 Pageviews.  

ศุภร บุนนาค

เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ

รวบรวมมาจากหลายเวปมาก บางทีก็ลืม ต้องขอโทษผู้ที่เขียนบทความตัวจริงด้วยนะคะ ความตั้งใจคืออยากจะเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียงเผยแพร่ชื่อเสียง และความสามารถของผู้ประพันธ์ เผื่อว่าผู้ที่อาจจะสนใจจะได้มีโอกาสติดตามผลงานคะ

เกี่ยวกับผู้ประพันธ์



ท่านงามมากเลยคะ

กำเนิด
ศุภร บุนนาค เกิดเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2464 ที่ตำบลวังบูรพาภิรมณ์ กรุงเทพฯ เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 4 คนของศาสตราจารย์ พระวรเวทย์พิสิฐ ( ผึ่ง ศิวะ ศริยานนท์ )

การศึกษา
เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนเสาวภา แล้วย้ายไปอยู่ที่โรงเรียนสตรีวิทยา โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย และจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนราชินี จากนั้นเรียนต่อโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รุ่นที่ 1 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนได้รับปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิต เมื่อ พ.ศ.2487

การทำงาน
หลังจากเรียนจบเมื่อ พ.ศ.2487 แล้วก็ได้แต่งงานกับนายดำรง บุนนาค ซึ่งเป็นวิศวกรเหมืองแร่และติดตามสามีไปอยู่ต่างจังหวัดหลายปี ได้เข้าทำงานเป็นพนักงานรุ่นแรกของธนาคารศรีนคร จำกัด จนถึงแก่กรรมด้วยโรคไตเรื้อรังเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2517 รวมอายุได้ 53 ปี มีบุตรสาวเพียงคนเดียวคือ รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุริยา รัตนกุล
เนื่องจากเป็นคนสนใจทางด้านร้อยกรองทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน มาตั้งแต่เด็ก และได้เริ่มงานเขียนเรื่องสั้นเรื่องแรกชื่อ “ผ้าไหมผืนใหม่” ลงพิมพ์ใน “โฆษณาสาร” ที่ชอุ่ม ปัญจพรรค์ เป็นบรรณาธิการ เมื่อ พ.ศ.2493 ทำให้มีกำลังใจเขียนเรื้องสั้นต่อมาอีกมาก รวมเรื้องสั้นชุด “ร่มเย็น” และ “คนซื้อฝัน” ได้รับคำชื่นชมอย่างกว้างขวาง สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยจึงได้ประกาศยกย่องให้ ศุภร บุนนาค เป็นหนึ่งใน 25 นักเขียนเรื่องสั้นดีเด่นในรอบร้อยปี เมื่อ พ.ศ.2528 ส่วนผลงานนวนิยายเรื่องแรกคือ “ปาริชาติลวง” ได้รับการรวมพิมพ์เป็นเล่มเมื่อ พ.ศ.2497 อันนี้คุณ เมฆชรา ริวิวไว้แล้ว (ส่วนตัวอยากทราบตอนจบมาก) และมีนวนิยายที่โด่งดังในระยะต่อมาอีกหลายเรื่อง

ผลงานอันทรงคุณค่าของท่าน (ตั้งใจจะหามาอ่าน ตามความสามารถที่หาได้คะ เพราะหายากมาก) ท่านเขียนนวนิยายเอาไว้สิบเรื่องคือ (ซึ่งถือว่าน้อยมากเลยในความรู้สึกเรา)

๑. ปาริชาติลวง
๒. รถเมล์สายพระพุทธบาท
๓. รสลิน
๔. ฟ้าใหม่
๕. ไม้ร่วมกอ
๖. แผ่นดินยังกว้าง
๗. เกลียวทอง
๘. บุญเพรงพระหากสรรค์
๙. ขอบฟ้าฤๅจะกั้น
๑๐. แม้ความตายมาพราก

รวมเรื่องสั้น : ลมเย็น คนซื้อฝัน ที่รัก รอบตะเกียงลาน สวรรค์ขุมไหน

สารคดี : สมบัติกวี

ร้อยกรอง : ผืนแผ่นไผทนี้ล้ำ แหล่งคุณ

ในช่วงปลายชีวิตได้หันกลับมาสนใจร้อยกรองอีกครั้งหนึ่ง ได้เขียนลิลิตโครงดั้นเรื่อง “ผืนแผ่นไผทนี้ล้ำ แหล่งคุณ” และส่งเข้าประกวดวรรณกรรมประจำปี 2516 ของธนาคารกรุงเทพ จำกัด ปรากฏผลชนะเลิศได้รับรางวัลวรรณกรรมไทยชั้น 1 และหลังจากถึงแก่กรรมไปแล้ว 1 เดือนก็ยังมีเรื่องสั้นเรื่องสุดท้ายได้รับการลงพิมพ์ในนิตยสาร “ชาวกรุง” อีกด้วย
แม้ว่าผลงานประพันธ์ทั้งหมดของ ศุภร บุนนาค นั้นจะมีจำนวนไม่มากนัก แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นผลงานที่ล้วนแล้วแต่มีคุณภาพ จึงมีผู้สนใจนำไปศึกษาวิจัยในระดับปริญญาโท และในกลุ่มนักอ่าน นักวิจารณ์เรื่อยมา

ส่วนหนึ่งจากผลงานของท่าน หาข้อมูลจากแถวๆ นี้ล่ะคะ

ฟ้าใหม่ เป็นเรื่องสมัยอยุธยาตอนปลาย ตอนเสียกรุง ต่อมาจนถึงสมัยธนบุรี เคยสร้างเป็นละครโทรทัศน์และฉายวันจันทร์และอังคารปี 2547 ทางช่อง 7 สี นำแสดงโดย ณัฐวุฒิ สะกิดใจ และพัชราภา ไชยเชื้อ
ผู้แต่งใช้ทหารนายหนึ่งและลูกสาวข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นตัวดำเนินเรื่อง ผูกความสัมพันธ์ของบุคคลทั้งสองเข้ากับบุคคลจริงในประวัติศาสตร์ เช่น พระมหากษัตริย์ แม่ทัพ ฯลฯ
ฟ้าใหม่ มีตัวละครเอกคือ แสน หนุ่มน้อยเชื้อแขกเทศ เพื่อนร่วมสาบานรุ่นน้องของคุณคนใหญ่ คุณกลาง และคุณเล็ก เข้าชุดกันเป็น 4 ทหารเสือ ในตอนปลายอยุธยา
คุณคนใหญ่หรือคุณใหญ่ เราคงรู้กันแล้วว่าต่อมาก็คือเจ้าพระยาจักรีสมัยธนบุรี หรือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1
คุณกลาง หรือพระยากำแพงเพชร คือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
คุณเล็ก หรือนายสุดจินดามหาดเล็ก ต่อมาก็คือกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาทในรัชกาลที่ 1
ว่าแต่...แสนคือใคร?
แสน เป็นตัวละครสมมุติ แต่คุณศุภร ได้อาศัยพื้นฐานจากบุคคลจริงมาบ้าง แล้วแต่งเติมเสริมต่อให้เป็นตัวละครเอกในนิยายขึ้นมา
ตระกูลบ้านท่าตะเภาแขกของแสน เป็นเค้าเงื่อนแรกที่ทำให้รู้ว่าผู้เขียนอาศัยพื้นฐานจากตระกูลไหนเป็นฉากหลัง นั่นก็คือตระกูล "บุนนาค" ที่คุณศุภรเป็นสะใภ้คนหนึ่งของตระกูลนี้นั่นเอง

บุญเพรงพระหากสรรค์ เป็น เรื่องในสมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้น และเรื่องสงครามเก้าทัพ
ฟ้าใหม่ และ บุญเพรงพระหากสรรค์ไม่ต่อกันเป็นคนละเรื่องกัน
แต่ละเรื่องมีความสมบูรณ์อยู่ในตัวเอง สามารถอ่านแยกกันได้
แต่เหตุการณ์ของทั้งสองเรื่องเป็นยุคสมัยที่ต่อเนื่องกัน

จากคุณ Dr.โอ๊ต คะ
เรื่อง บุญเพรงพระหากสรรค์ นี้เป็นเรื่องที่เขียนขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๔-๒๕๑๕ ลงตีพิมพ์ในนิตยสาร ฟ้าเมืองไทย ครับ เป็นเรื่องที่ฮิตมากในเวลานั้น
เรื่องนี้เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นช่วงเวลาที่ต่อจาก ฟ้าใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องราวของกรุงศรีอยุธยาตอนปลายครับ คุณศุภรเล่าไว้ในคำนำว่า ' เรื่องบุญเพรงพระหากสรรค์นี้ ชื่อเรื่องมาจากใจความบาทหนึ่งในหนังสือนิราศนรินทร์ คือโคลงบทที่ว่า...

“อยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤๅ
สิงหาสน์ปรางครัตนบรร- เจิดหล้า
บุญเพรงพระหากสรรค์ ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
บังอบายเบิกฟ้า ฝึกฟื้นใจเมือง”


และท่านยังเล่าว่า เธอเขียนเรื่องนี้เพราะว่าอยากจะชี้ให้เห็นถึงความเหนื่อยยากของบรรพชนไทยที่กอบกู้และก่อร่างสร้างเมืองขึ้นมาใหม่ รวมถึงความสามัคคี ของบรรพชนไทยในการร่วมแรงร่วมใจในการต่อสู้กับทัพพม่า ในสงครามเก้าทัพ

อ่านเจอบทความที่น่าสนใจคะ เขียนโดยคุณ ไพลิน รุ้งรัตน์
ในงานวรรณกรรม ภาษาคือสื่อกลางที่จะเสนอสารหรือเรื่องราวจากผู้เขียนไปสู้ผู้อ่าน เปรียบก็คงเหมือนนักเขียนผู้มักมีโลกเฉพาะ เหมือคนมีบ้านอยู่กลางเกาะน้ำล้อม เมื่อประสงค์ให้คนอ่านรับรู้ รู้จัก คุ้นเคย ยินดี กับบ้านของตน นักเขียนก็จะต้องทอดสะพานออกไปสู่นักอ่าน ท้าทาย เชิญชวน ให้นักอ่านก้าวเข้ามาในบ้านตัวหนังสือกลางน้ำของนักเขียน หากสะพานนักเขียนแข็งแรงดี ทนทาน แถมสวยด้วยอีกต่างหาก ก็ย่อมสามารถพาคนอ่านเข้าไปสู่บ้านนักเขียนได้ด้วยดีแ ละด้วยประทับใจ
เธอเปรียบภาษาที่ใช้ของคุณศุภร ดังนี้คะ
สะพานบุคลิกลักษณะตัวละคร
มีนักเขียนหลายคนที่ทำให้นักอ่านติดตรึงอยู่กับบุคลิกลักษณะตัวละคร เพราะด้วยสะพานภาษาอันประณีต และมีการเลือกสรรคำมาพรรณนาบุคลิกลักษณะได้อย่างเห็นภาพการพรรณาบุคลิกลักษณะตัวละคร ไม่ใช่การแสดงครั้งเดียวในตอนใดตอนหนึ่ง แต่เป็นการเสริมใส่ได้ตลอดเรื่อง ผ่านทั้งบทพรรณนาและบทสนทนา ตลอดจนพฤติกรรมของตัวละครแต่ในส่วนที่เป็นจุดแรกเริ่มของการแนะนำตัวละครนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการบรรยายหรือพรรณา ศุภร บุนนาค นักเขียนหญิงนักอักษาศาสตร์ พรรณนาบุคลิกลักษณะตัวละคนได้ โดดเด่นและจับใจเสมอ

ใน "ฟ้าใหม่" เธอได้พรรณนาภาพของหญิงสองคน แม่ของแสงและผู้หญิ่งที่แสนระลึกขึ้นมมาในยามที่เห็นแม่

"แม่กลิ่นจันทน์ยังงามพริ้งแม้ลูกชายจะเข้าหาสะใภ้ให้ได้แล้ว วันนี้หล่อนนุ่งลายวิลลาศลีจันทน์อ่อนห่มจีบสีใบโศกหอมกรุ่นด้วยกลิ่นจันทร์สมชื่อ ผมตกถึงกลางหลังเป็นพุ่มพวงอย่างหญิงมีตระกูล รอยไรแทงเรียบหน้าผากมนเกลี้ยงดูคมขำไม่จืดตา แม้นางในกี่ร้อยกี่พันคนแสนก็ยังมิเคยชอบเนื้อพึงตาในหญิงใดว่าเจริญรูปและจริตเสมอด้วยมารดาของตนเอง เพิ่งจะนึกสะดุดตาในหญิงแรกรุ่น ท่าทางกระด้าง ปากคมนัยน์ตาแข็งที่ชื่อว่าแม่เรณูนวลนั้นเป็นคนแรก นอกไปเสียจากท่าทางไม้สู้ละมุนตาเหมือนหญิงอื่นในวัยเดียวกัน และถ้าจะว่าถึงรูปลักษะ แม่เรณูนวลนั้นมีรูปพอตาไม่ใช่น้อยเลย แขนแมนกลมกลึงเป็นนวลเนื้อลอออ่อน นิ้วน้อยที่กระพุ่มขึ้นเคารพคุณกลางเรียวลออดังลำเทียบ สอดแหวนก้อยนางด้วยแหวนมณฑปและแหวนงูตามนิยม เหมือนดังว่านำเส้นทองไปคาดไว้บนลำเลาของงาช้าง ท่าทีที่ทอดตามองเพียงปลายหางตารับกับคิ้วหนักเรียวและเชิดปลาย..."
(หน้า 158 - 159)


สะพานภาษาของศุภร บุนนาค นี้คือ สะพานพริ้งพราย ราวไม้ฉลุลายประณีตยังไม่พอ ดูราวกับว่าจะลงรักปิดทองเสียด้วย




 

Create Date : 30 กันยายน 2552    
Last Update : 30 กันยายน 2552 21:18:05 น.
Counter : 6337 Pageviews.  


litter
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add litter's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.