กระต่าย ฉี่เป็นเลือด...เกิดจากอะไร?



กระต่าย


เมื่อบันนี่ฉี่ป็นเลือด (โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยมหิดล)

          เจ้ากระต่ายแสนรักฉี่ออกมาเป็นเลือด ทำเอาเจ้าของและคุณหนูหนูในบ้านตกอกตกใจ เกรงว่าจะเกิดอันตรายต่อเจ้ากระต่ายน้อยไปใหญ่โต อย่าตื่นตูม ตกใจ แต่ต้องมีสติและความรู้เบื้องต้นของ "การฉี่เป็นเลือดในกระต่าย" ก็จะรู้ว่าควรทำอย่างไรกับเจ้าบันนี่ของคุณ

การฉี่เป็นเลือด ในที่นี้หมายถึง กระต่ายฉี่ออกมาปะปนด้วยเม็ดเลือด จะมากน้อยก็สุดแท้แต่ หรือมีลิ่มเลือด (เลือดที่แข็งตัวเป็นก้อน) ออกมาด้วยก็ได้ ทั้งนี้ เจ้ากระต่ายอาจไม่แสดงอาการป่วยอื่นๆ ให้เห็น หรือบางตัวถ้าเราอุ้มหรือจับบริเวณหน้าท้องตรงตำแหน่งกระเพาะปัสสาวะ เขาอาจแสดงอาการเจ็บและดิ้นรน หากฉี่ไม่ออก จะพบว่าท้องป่อง เนื่องจากฉี่อั้นไว้เต็มกระเพาะปัสสาวะนั่นเอง และฉี่เหล่านั้นมักปนด้วยเม็ดเลือด

สาเหตุของการฉี่เป็นเลือดสามารถเกิดได้จาก...

การติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้อักเสบ

เนื้องอกของระบบทางเดินปัสสาวะตอนปลาย

ถูกกระทบกระเทือนรุนแรงที่กระเพาะปัสสาวะ หรือตัวไต

ก้อนนิ่ว

กรวยไตอักเสบ ติดเชื้อ

เนื้องอกของไต

นิ่วในกรวยไต

มดลูกอักเสบ

มดลูกถูกกระทบกระเทือน

เนื้องอกของมดลูก

   ใน 3 กรณีหลังเป็นการเกิดในมดลูก แต่มีเลือดปนออกมากับฉี่ของกระต่าย เพราะขับถ่ายออกมาทางปากช่องคลอดด้วยกัน

          ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด ให้พากระต่ายของคุณไปพบสัตวแพทย์ โดยมีการตรวจที่ละเอียดเพื่อหาสาเหตุ เช่น ตรวจฉี่ เพาะเชื้อ ฉายเอกซเรย์ หรือแม้แต่ใช้อัลตร้าซาวน์ (เหมือนในคน) การตรวจพิเศษจำเพาะอื่นๆ ที่มีเฉพาะโรงพยาบาลสัตว์ใหญ่ๆ เช่น ใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะปัสสาวะ หรือตัดชิ้นเนื้อออกมาพิสูจน์ ฯลฯ

          เมื่อคุณหมอวินิจฉัยหาสาเหตุฉี่เป็นเลือดของกระต่ายได้แล้ว ก็จะทำการรักษาให้ตรงกับสาเหตุ ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย กรณีกระเพาะปัสสาวะอักเสบเพราะเชื้อแบคทีเรีย หรือผ่าตัดเอาก้อนนิ่วที่เป็นต้นเหตุออกจากกระเพาะปัสสาวะ ฯลฯ

  สำหรับกระต่ายที่วัยกลางกระต่ายหรือแก่ อาจพบว่าฉี่เป็นเลือดได้ เนื่องจากเนื้องอกของระบบปัสสาวะ
การป้องกันโดยทั่วไป ทำได้โดยอย่าให้กระต่ายต้องอั้นฉี่ เนื่องจากไม่มีสถานที่เหมาะสม หรือถูกรบกวนเกิดความเครียด (มีหมา แมว รายล้อม) ทั้งยังต้องจัดหาน้ำดื่มไว้ให้เพียบพร้อม แม้ว่าดูเหมือนมันจะไม่กินก็ตาม รวมถึงอาหารจำพวกพืชผักที่มีน้ำในตัวอีกด้วย นับเป็นอีกแหล่งน้ำที่สำคัญสำหรับกระต่ายของคุณ

  ส่วนสาเหตุที่ฉี่เป็นเลือดมาจากการกระทบกระเทือนนั้น คุณต้องมั่นใจว่าทุกครั้งที่อุ้มหรือจับกระต่าย ทำอย่างถูกต้อง ให้ระมัดระวังลูกๆ ทั้งหลายอาจทำกระต่ายหลุดมือตกกระแทกพื้นจนฉี่เป็นเลือดก็ย่อมได้ ฉะนั้น ต้องสอนเด็กๆ ให้รู้จักวิธีอุ้มหรือจับ และเล่นกับกระต่ายอย่างถูกวิธี และมีความอ่อนโยนละมุนละม่อม เชื่อว่าด้วยวิธีเหล่านี้ จะลดโอกาสที่กระต่ายจะฉี่เป็นเลือดลงได้ค่ะ



























Free TextEditor



Create Date : 22 ธันวาคม 2554
Last Update : 28 ธันวาคม 2554 14:23:53 น.
Counter : 704 Pageviews.

0 comment
โรคคันจาก กระต่าย
โรคคันจาก กระต่าย
กระต่าย


โรคคันจากกระต่าย (คมชัดลึก)
คอลัมน์ พิชิตปัญหาสัตว์เลี้ยง โดย ปานเทพ รัตนากร

"โรคคันจากกระต่าย" เป็นโรคที่พบในบรรดาหมู่คนรักกระต่าย เจ้าของหลายรายเกามือ เกาพุง เกาแขน พร้อมรอยด่าง ดวงเป็นวง ๆ บนนิ้ว ฯลฯ ขณะพากระต่ายมารับการรักษาอาการคันมีสะเก็ด หรือขนร่วงเป็นวงของกระต่ายที่ตนเลี้ยง ซึ่งจากการตรวจวินิจฉัยก็พบว่าอาการคันของกระต่าย จากโรคผิวหนังท็อปฮิตนี้ดูจะมีสาเหตุมาจาก 2 เรื่อง 1) ติดเชื้อรา 2) ติดเชื้อไร

"เชื้อรา" จำพวก Trichophyton mentagrophytes มักเกิดขึ้นร่วมกับการเลี้ยงที่สกปรก ขาดการดูแล เช่น ในกรงที่อับชื้น โดยมันจะก่อให้เกิดลักษณะโรคคือ ผิวหนังหนาตัวเป็นวงมีการอักเสบเป็นสีแดง อาจมีสะเก็ดขาวๆข้างบน และคัน โดยเริ่มพบบนผิวหนังบริเวณส่วนหัวของกระต่ายก่อน

           อีกทั้งยังสามารถแพร่สู่สมาชิกสัตว์เลี้ยงประเภทอื่น ๆ ในบ้าน เช่น หนูตะเภา หนูแรท และหนูถีบจักร ฯลฯ หากคุณหมอตรวจพบว่าเป็นเชื้อราชนิดนี้โดยการนำไปเพาะเชื้อและย้อมสีตรวจพบแล้วก็รักษาได้ไม่ยากด้วยยาทาและยากินพร้อมกับรักษาความสะอาด ส่วนผู้เป็นเจ้าของเมื่อพบแพทย์โรคผิวหนังแล้วก็รักษาให้หายได้ไม่ยากเช่นกันแต่ใช้เวลาเล็กน้อย

           "เชื้อไร" จำพวก "ไรหู" หรือ "Psoroptes cuniculi" เจ้าเชื้อนี้บางทีก็เรียกว่า "ขี้เรื้อนในหูกระต่าย" เพราะมักจำเพาะจะขึ้นมากในรูหูกระต่าย ทำให้คันจนหัวสั่นหัวคลอน แต่ไม่มีรายงานว่าติดต่อมาถึงคน ยกเว้น "ไรในผิวหนัง" ที่ทำให้เกิด "ขี้เรื้อนแห้ง" ตามตัวทั่วไป หรือ "Sarcoptes scabiei" หรือ "Notoedres cati" เจ้าตัวนี้แหละครับทำให้กระต่ายขนร่วงบริเวณจมูก คาง กกหู หัว แก้ม และอาจลามถึงตีนทั้ง 4 มันจะทั้งเกา ทั้งแกะ ทั้งถู จนบางครั้งผิวหนังอักเสบบวมแดง หรือถึงกับเป็นบาดแผลเหวอะหวะ

ส่วนเจ้าของที่ติดเชื้อไปด้วยก็คันไม่เบาเกากันคะเยอเป็นผื่นแดงบนผิวส่วนที่ไปสัมผัสกับบริเวณที่เกิดโรคบนตัวกระต่ายมา เช่น ง่ามนิ้วมือ เชื้อไรเหล่านี้รักษาให้หายได้ไม่ยากนักในกระต่ายและคนเรา ขอให้วินิจฉัยให้ถูกและยืนยันด้วยการขูดผิวตรงตำแหน่งคันไปส่องกล้องจุลทรรศน์ก็จะเห็นเจ้าตัวไรต้นเหตุแล้วการรักษาอาจแค่ใช้ยาทาก็เพียงพอแล้ว บ่อยครั้งที่ทายาบนผิวกระต่ายแล้วลูกพี่พลอยหายคันไปด้วย

ฉะนั้น "โรคคันจากกระต่าย" เป็นสิ่งที่ป้องกันได้โดยการเลี้ยงกระต่ายของท่านให้อยู่ในสภาพถูกสุขลักษณะ มีการแปรงขน ทำความสะอาดร่างกายและที่อยู่สม่ำเสมอ อีกทั้งกักกันกระต่ายตัวใหม่ให้ปลอดโรคก่อนนำเข้ามาเลี้ยงรวมกับสมาชิกเดิม รวมถึงการสังเกตอาการคันผิดปกติของกระต่ายแล้วพาไปหาหมอโดยเร็วด้วยครับ แค่นี้ก็แฮปปี้ทั้งกระต่ายและเจ้าของไม่มีคันอีกแล้ว !



























Free TextEditor



Create Date : 22 ธันวาคม 2554
Last Update : 28 ธันวาคม 2554 14:23:58 น.
Counter : 863 Pageviews.

1 comment
เกร็ดความรู้ เรื่องอาหาร กระต่าย
เกร็ดความรู้ เรื่องอาหาร กระต่าย
.





อาหาร กระต่าย (ม.เกษตรฯ)

  อาหารมีความสำคัญต่อการเลี้ยงกระต่ายอย่างยิ่ง เพราะต้นทุนในการเลี้ยงกระต่ายมากกว่าครึ่งหนึ่งใช้เป็นค่าอาหาร การที่จะเลี้ยงกระต่ายให้เติบโตเร็ว มีสุขภาพดี จำเป็นจะต้องเลี้ยงด้วยอาหารที่เหมาะสม และมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของกระต่าย

อาหารที่ใช้เลี้ยงกระต่ายแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

อาหารหยาบ (Roughage)

          หมายถึง อาหารที่มีโภชนะย่อยได้ต่ำ มีเยื่อใยสูง ซึ่งหมายถึงอาหารที่กินเข้าไปแล้วเหลือกากขับถ่ายออกมาเป็นของเสียมาก ส่วนใหญ่ได้มาจากลำต้น และใบของพืชตระกูลหญ้า และพืชตระกูลถั่ว เช่น หญ้าเนเปียร์ หญ้าขน หญ้ากินนี กระถิน ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วซีราโต ถั่วไกลซีน ถั่เทาสวิลสไลโล เป็นต้น

          หรืออาจจะใช้ต้นพืชผักชนิดต่าง ๆ เช่น ผักบุ้ง ผักโขม ผักกาด คะน้า กะหล่ำปลี แครอท ผักกาดหอม หัวผักกาด มันเทศ มันแกว ฯลฯ เลี้ยงกระต่ายก็ได้ อาหารหยาบประเภทใบพืช ผัก หญ้า ควรให้กินเต็มที่ กระต่ายชอบหญ้าสด ผักสด มากกว่าตากแห้ง แต่หญ้าแห้งก็อาจใช้ได้ แต่ควรเป็นหญ้าที่อยู่ในระยะยังอ่อน ตากแห้งสะอาดไม่มีรา ไม่สกปรก ไม่มียาฆ่าแมลง ควรหั่นเป็นท่อนๆได้ยาวพอควร

อาหารข้น (Concentrate)

          แม้ว่ากระต่ายจะสามารถยังชีพและขยายพันธุ์ตามปกติธรรมชาติ โดยอาศัยอาหารประเภทต้นหญ้า ใบพืชได้ก็ตาม แต่หากเราต้องการให้มันเจริญเติบโต ให้ผลผลิตเร็ว ให้เนื้อมาก ให้ขยายพันธุ์มีลูกดก ได้ลูกปีละหลายตัว เราจะต้องเลี้ยงดูให้ดี โดยมีอาหารข้น (Concentrates) เพิ่มเสริมให้ด้วย อาหารข้นนี้เป็นอาหารที่มีโภชนะย่อยได้สูง มีเยื่อใยต่ำ ย่อยง่าย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

อาหารที่เป็นแหล่งพลังงาน คือ อาหารที่มีแป้ง และน้ำตาล ( คาร์โบไฮเดรต ) หรือไขมันสูง ได้แก่ รำ ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันเส้น และไขมันจากพืชหรือสัตว

อาหารที่เป็นแหล่งโปรตีน ได้แก่ นมผง ปลาป่น กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง และใบกระถินป่น สำหรับอาหารข้นควรเสริมให้กินในตอนบ่าย กระต่ายไม่ได้เสริมด้วยอาหารข้นควรมีแร่ธาตุประกอบด้วย เกลือ กระดูกป่น และเปลือกหอยบดอย่างละเท่าๆกัน ผสมให้เข้ากัน ตั้งให้กินตามใจชอบ อาหารป่นที่แห้งอาจผสมน้ำเล็กน้อยพอชื้น เพื่อสะดวกในการกินและจะช่วยมิให้ร่วงหล่นเสียหาย

อาหารสำเร็จรูป (Complete feed)

          เกิดจากการนำอาหารข้นและหยาบมารวมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม มีสภาพเป็นผงหรืออัดเป็นเม็ด นำมาใช้เลี้ยงกระต่ายได้สะดวก กระต่ายที่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียวในปริมาณที่เพียงพอจะสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว แต่ในการเลี้ยงทั่วไปนิยมเสริมหญ้าสด เพื่อลดต้นทุนและควรให้หญ้าหลังจากที่กระต่ายกินอาหารสำเร็จรูปในปริมาณมากพอสมควร เพื่อให้กระต่ายได้รับสารอาหารที่จะเป็นอย่างเพียงพอ




























Free TextEditor



Create Date : 22 ธันวาคม 2554
Last Update : 28 ธันวาคม 2554 14:24:05 น.
Counter : 639 Pageviews.

0 comment
ถ้าแม่กระต่ายไม่เลี้ยงลูก จะทำอย่างไรดี






ถ้าแม่กระต่ายไม่เลี้ยงลูก จะทำอย่างไรดี (hamsteronline)

  การที่แม่กระต่ายไม่ยอมเลี้ยงลูก อาจจะมีสาเหตุหลาย ๆ อย่าง เช่น แม่กระต่ายถูกรบกวนเกินไปจนทำให้แม่กระต่ายเครียด และไม่ยอมเลี้ยงลูกหรือแม่กระต่ายนั้น ไม่พร้อมที่จะเลี้ยงลูก โดยแม่กระต่ายอาจจะเด็กไป หรือยังโตไม่เต็มที่ หรือแม่กระต่ายไม่มีน้ำนม ให้ลูกกระต่าย หรือมีน้ำนมไม่เพียงพอสำหรับลูกกระต่าย

          ทั้งนี้ เราจะสามารถสังเกตได้ว่าเขาไม่เลี้ยงลูก โดยดูจากลักษณะของลูกของเขา ถ้าลูกระต่ายไม่ได้รับน้ำนม หรือ ได้รับน้ำนมไม่เพียงพอตัวกระต่ายก็จะผอม แต่ถ้าลูกกระต่ายได้รับน้ำนมที่เพียงพอ ท้องของลูกกระต่ายก็จะเต่ง

ฝากแม่กระต่ายตัวอื่นเลี้ยง

          การฝากลูกกระต่ายเลี้ยงกับแม่กระต่ายตัวอื่น เราควรมีกระต่ายที่คลอดลูกออกมาในเวลาใกล้เคียงกัน โดยวิธีฝากลูกกระต่ายกับแม่กระต่ายตัวอื่น ทำได้โดย นำลูกกระต่ายไปถู ๆ กับขนของแม่กระต่ายตัวที่จะฝากเลี้ยง ที่ทำเช่นนี้ก็เพราะว่าทำให้ ตัวลูกกระต่ายนั้น มีกลิ่นของแม่กระต่ายตัวที่จะฝากเลี้ยง เพื่อป้องกันไม่ให้แม่กระต่ายกัดลูกกระต่ายหรือไม่ยอมเลี้ยงให้

การจับลูกกระต่ายให้ดูดนมแม่กระต่าย

          เมื่อเราต้องการให้นมลูกกระต่ายก็ให้เอาแม่กระต่ายมา แล้วพยายามทำให้แม่กระต่ายนั้นนอนนิ่ง ๆ อยู่เฉย ๆ แล้วจับลูกกระต่ายไปตรงนมของแม่กระต่าย โดยควรให้ลูกกระต่ายดูดนมเพียงแต่ชั่วเวลานึงโดย อาจจะสังเกตจากท้องของลูกกระต่ายได้ ไม่ควรให้ลูกกระต่ายดูดนม หรือกินนมมากจนเกินไป แล้วเมื่อดูดนมเสร็จก็เอาลูกกระต่ายออกมาเลี้ยงข้างนอก โดยการปล่อยให้เขานอนเฉย ๆ อาจจะเป็นในตระกร้าแล้วเมื่อต้องการให้นมอีกก็ให้ทำแบบเดิม ทั้งนี้ ควรให้นมลูกกระต่ายเพียงวันละครั้งเท่านั้น





Free TextEditor



Create Date : 22 ธันวาคม 2554
Last Update : 22 ธันวาคม 2554 11:12:53 น.
Counter : 601 Pageviews.

0 comment
3 กระต่ายพันธุ์ฮิต เลือกอย่างไรให้โดนใจ...แต่ไม่โดนหลอก!!

กระต่าย



เลือกกระต่ายสายพันธุ์ฮิตอยางไร?? ให้โดนใจ...แต่ไม่โดนหลอก!! (petnews2005)

ใครอยากเลี้ยงกระต่าย ยกมือขึ้น…

           ในปัจจุบันคงต้องยอมรับว่าการเลี้ยงกระต่ายไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่ใคร ๆ เคยคิด เพราะมีสิ่ง อำนวยความสะดวกในการเลี้ยงเจ้าขนปุยมากมาย ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น อาหาร หรืออุปกรณ์การเลี้ยงต่าง ๆ ที่เจ้าขนปุยของคุณต้องการ

    และหากคุณกำลังมองหาเพื่อนที่รู้ใจ หรือสัตว์เลี้ยงที่เต็มไปด้วยความน่ารัก ซุกซน แต่ไม่ส่งเสียงดัง และไม่ทำร้ายเด็ก ๆ คำตอบของคุณก็คือ เจ้ากระต่ายขนปุยแน่นอน เพียงคุณมีเวลาอย่างน้อย วันละ 3 ชั่วโมง มีสถานที่ที่เหมาะสม คือ มีอากาศถ่ายเทตลอดทั้งวัน ไม่ร้อนจัด ลมไม่พัดแรง และไม่ชื้นแฉะ คุณก็สามารถเลือกกระต่ายน่ารัก ๆ สักตัวมาเลี้ยงได้เลย

           อ้อ...แต่อย่างไรก็ตาม คุณก็ควรศึกษา ข้อมูลของสายพันธุ์กระต่ายที่คุณจะเลี้ยงให้ดีเสียก่อน เพราะเจ้าขนปุยแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะเด่น และความต้องการในเรื่องของการเลี้ยงดูที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งหากคุณไม่มีข้อมูลอะไรเลย คุณอาจได้ กระต่ายที่มีลักษณะไม่สมบูรณ์ตามลักษณะที่ควรจะเป็นของแต่ละสายพันธุ์ หรือเรียกง่าย ๆ ว่าโดน หลอกนั่นเอง

  วันนี้เราจึงขอนำเสนอข้อมูลดี ๆ ของเจ้าขนปุย 3 สายพันธุ์ ที่กำลังฮิต มาบอกถึงลักษณะเด่น และลักษณะที่แตกต่างของแต่ละสายพันธุ์ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อ และเลือกเลี้ยงให้ โดนใจ แต่ไม่โดนหลอกนั่นเอง

           โดยพันธุ์แรกที่แนะนำ คือ เนเธอร์แลนด์ ดวอฟ (Netherland Dwarf) เจ้าขนปุยหนึ่งเดียวที่ ได้ชื่อว่าเป็น อัญมณีแหงวงการกระตายสวยงาม (Gem of the Fancy Rabbits) ซึ่งได้มีการนำเข้า สายพันธุ์คุณภาพระดับประกวดจากสหรัฐอเมริกามาในประเทศไทยเมื่อประมาณปลายปี พ.ศ. 2546 โดยสีที่นำเข้ามา คือ สีขาว ตาฟ้า, สีดำสร้อยทอง (Black Otter) และสีดำสร้อยเงิน (Black Silver Marten)



เนเธอร์แลนด์ ดวอร์ฟ
เนเธอร์แลนด์ ดวอฟ


           และในปีต่อมาได้มีการนำเข้าสีอื่น ๆ เข้ามาอย่างต่อเนื่อง อาทิ สีทองแดง (Siamese Sable) ,สีควันบุหรี่ (Siamese Smoke Pearl) , สีฮิมาลายัน (Himalayan) และสีที่หายากอย่างสีวิเชียรมาศ (Sable Point) หรือสีพื้นต่าง ๆ อาทิ สีดำ ,สีบลู ,สีช็อกโกแลต ทำให้ในตอนนี้ ในตลาดบ้านเรามีกระต่าย เนเธอร์แลนด์ ดวอฟ สีต่าง ๆ มากมายให้เลือกซื้อเลี้ยงกันตามความชื่นชอบ อีกทั้งกระต่ายพันธุ์นี้ยังเป็นที่ยอมรับ และมีชื่อเสียงมากในวงการนักพัฒนาสายพันธุ์กระต่ายสวยงาม จนได้ชื่อว่าเป็น อัญมณีแห่งวงการกระต่ายสวยงามนั่นเอง

   กระต่ายแคระเนเธอร์แลนด์ หรือ เนเธอร์แลนด์ ดวอฟ มีลักษะเด่น คือ ลำตัวสั้น กะทัดรัด ไหล่ สะโพก ความสูง สมมาตรกันอย่างสวยงาม หัวกลม โต สมดุลกันกับลำตัว คอสั้น หูตั้งตรง ขนนุ่ม-แน่น สม่าเสมอและเป็นมันเงางาม ลักษณะของขนเป็นแบบโรลแบ็ค (Rollback) คือ เมื่อหวีย้อนแนวขน จะสามารถกลับมาเป็นทรงเดิมได้ ตากลมโต สดใส หางตรงและมีขนเต็ม ลักษณะของสีขน สีตา และสี เล็บต้องตรงกันตามมาตรฐานของสีนั้น ๆ เช่น สีบลู หรือสีสวาด หรือสีเทาควันบุหรี่ ต้องมีตาสีเทา เป็นต้น น้ำหนักที่เหมาะสมเมื่อโตเต็มที่ คือ 0.9 กิโลกรัม ส่วนน้ำหนักมากที่สุดของสายพันธุ์นี้ คือ 1.15 กิโลกรัม 

           กระต่ายสายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ ดวอฟ เป็นกระต่ายที่มีสีให้เลือกมากที่สุด โดยสามารถแบ่งได้ เป็น 5 กลุ่มสี และมีสีหรือลักษณะสีย่อย ๆ อีกกว่า 24 สี ตามมาตรฐานที่สมาคมพัฒนาพันธุ์กระต่าย แห่งสหรัฐอเมริกา หรือ ARBA กำหนดให้มีการประกวด ได้แก่ กลุ่มสีพื้น (Self Varieties), กลุ่มสีเฉด (Shaded Varieties) , กลุ่มสีขนอะกูติ (Agouti Varieties) , กลุ่มแทนหรือกลุ่มมีสร้อย (Tan Varieties) และกลุ่มสีอื่น ๆ (Any Other Varieties)




ฮอลแลนด์ลอป


           ส่วนกระต่ายที่ได้ชื่อว่าแสนรู้ที่สุด และเป็นที่นิยมเลี้ยงมากที่สุดในประเทศไทยในตอนนี้ คงต้องยกตำแหน่งให้กับเจ้าหูตก ฮอลแลนด์ ลอป (Holland lop) เพราะเป็นที่ทราบกันดีถึงลักษณะที่น่ารัก และโดดเด่น คือ มีหูตกอยู่ที่ข้างแก้ม ซึ่งเป็นลักษณะที่แตกต่างจากกระต่ายปกติที่เราคุ้นเคย แต่นั่นก็ไม่ใช่เหตุผลหลักที่ทำให้เจ้าหูตกสายพันธุ์นี้เป็นที่นิยมในหมู่คนเลี้ยงกระต่าย แต่เป็นเพราะว่า ฮอลแลนด์ ลอป เป็นกระต่ายที่มีความเชื่องมากที่สุดพันธุ์หนึ่ง และเป็นกระต่ายมีหุ่นแข็งแรง บึกบึน สามารถจดจำชื่อของตัวเองได้ และยังรู้จักเจ้าของอีกด้วย

           เรียกได้ว่าเป็นกระต่ายในดวงใจของหลาย ๆ คน โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ที่กระต่ายพันธุ์นี้เป็นที่นิยมเลี้ยง จนมีการตั้งมอตโต้ของกระต่ายสาย พันธุ์นี้ ว่าเป็น ฮอลมาร์กบรีด (The Hallmark Breed) หรือเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่เป็นตรา เครื่องหมายของกระต่ายเลยทีเดียว

    นอกจากนี้ ฮอลแลนด์ลอป ยังจัดได้ว่าเป็นกระต่ายกลุ่มหูตกที่มีขนาดเล็กที่สุด และมีลักษณะเด่นที่หัวกลมโต ดูน่ารักเหมือนตุ๊กตา น้าหนักน้อย ลำตัวสั้ น หูสั้ น ไหล่กว้างหนา และมีความสูงสมดุลกั ทั้ งตัว ในเพศผู้จะมีขนาดลำตัวและหัวที่ใหญ่กว่าเพศเมีย ส่วนน้าหนักของตัวผู้ที่เหมาะสมเมื่อโตเต็มที่ คือ 1.6 กิโลกรัม ตัวเมีย 1.7 กิโลกรัม และนํ้าหนักมากที่สุดที่พบคือ 1.8 กิโลกรัม ส่วนชื่อเรียกของ กระต่ายพันธุ์ฮอลแลนด์ลอปนั้น ในแต่ละประเทศจะเรียกแตกต่างกันไป เช่น ในประเทศอังกฤษ จะเรียก ฮอลแลนด์ลอป ว่า "มินิลอป" แต่เรียก มินิลอป ว่า "ดวอฟลอป"

           ความแตกต่างระหว่างเจ้าหูตกฮอลแลนด์ลอป และมินิลอปนั้น เห็นได้จาก ฮอลแลนด์ลอป จะมีหัวที่กลมกว่ามินิลอป และมีน้ำหนักตัวที่น้อยกว่ามาก คือประมาณ 1.6-1.8 กิโลกรัม ในขณะที่มินิลอป จะหนักกว่าถึงสองกิโลกรัมเลยทีเดียว (ประมาณ 2.5-2.7 กิโลกรัม) และเมื่อโตเต็มที่ ใบหน้าความยาวของหู และสัดส่วนระหว่างหัวกับตัวจะแตกต่างกันอย่างชัดเจน แต่ที่แตกต่างมากที่สุด ก็คือ เรื่องของ ขน ซึ่งกระต่ายฮอลแลนด์ลอปสายพันธุ์แท้จะมีขนที่นุ่มลื่นเป็นเอกลักษณ์

           ส่วนในเรื่องของสีสัน เจ้าหูตกฮอลแลนด์ลอป ก็เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่มีสีสันให้เลือกมากมาย โดยสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มสีต่าง ๆ ได้มากถึง 7 กลุ่มสี คือ กลุ่มอะกูติ (Agouti) , กลุ่มสีขาวแต้ม (Broken) , กลุ่มสีขาวมีมาร์กกิ้งแปดแต้ม (Pointed White) , กลุ่มสีพื้น (Self) , กลุ่มสีเฉด (Shaded) , กลุ่มสีพิเศษ (Ticked) และกลุ่มสีอื่น ๆ (Wide Band) ซึ่งได้รับการรับรองโดย ARBA แล้วทั้งสิ้น และในปัจจุบันได้มีสีอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับการรับรองเมื่อประมาณต้นปี พ.ศ. 2548 คือ กลุ่มสร้อยทอง หรือ ออตเตอร์

และเจ้าหูตกอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่หลาย ๆ คนนิยมเลี้ยงในปจจุบันก็คือ อเมริกันฟัซซี่ลอป (American Fuzzy Lop) กระต่ายขนาดเล็ก จัดอยูในกลุ่มกระต่ายแคระเช่นเดียวกัน แต่มีลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัด คือ หูตกแนบข้างแก้มสวยงาม และขนยาวสลวย ส่วนลักษณะเด่นอื่น ๆ ของสายพันธุ์นี้ ก็คือ ลำตัวสั้น กะทัดรัด หัวกลม ใหญ่ และติดกับหัวไหล่ เหมือนไม่มีคอ หูหนา แบน และยิ่งสั้นยิ่งดี เพราะเป็นการแสดงถึงลักษณะของกระต่ายแคระ หัวและหูปกคลุมด้วยขนสั้นธรรมดา ขนที่หน้าสามารถตัดแต่งได้ตามความเหมาะสมและสวยงาม ขาหลังมีขนธรรมดา

   ส่วนขนที่ตัวจะหนาแน่นเสมอกันตลอดทั้งตัว มีลักษณะขนค่อนข้างหยาบ และยาวไม่น้อยกว่า 2 นิ้ว ด้วยลักษณะของ ขนของเจ้าหูตก อเมริกันฟัซซี่ลอป ที่มีสองแบบ คือ ขนชั้นในที่นุ่มฟู และมีขนาดสั้นกว่าขนชั้นนอกที่มีความยาวและแลดูหยาบกว่าขนชั้นใน ทำให้ดูเหมือนว่าเจ้ากระต่ายพันธุ์นี้มีขนาดที่ใหญ่เกินกว่าความเป็นจริง ทั้งที่น้ำหนักของเค้าไม่ได้มากอยางที่คิด โดยตัวผู้จะมีนํ้าหนักเมื่อโตเต็มที่คือ 1.6 กิโลกรัม และตัวเมีย 1.7 กิโลกรัม ส่วนน้าหนักมากที่สุดของสายพันธุ์นี้ คือ 1.8 กิโลกรัม

           อเมริกันฟัซซี่ลอป มีกลุ่มสีตามมาตรฐาน ARBA 6 กลุ่มสี ได้แก่ กลุ่มสีพื้น (Self Group) กลุ่มสี ขนอะกูติ (Agouti Group) กลุ่มสีเฉด (Shaded Group) กลุ่มสีขาวมีแปดแต้ม (Pointed White Group) กลุ่มขาวลายแต้มสีต่าง ๆ (Broken Group) และกลุ่มสีอื่น ๆ (Wide Band Group)






Free TextEditor



Create Date : 22 ธันวาคม 2554
Last Update : 22 ธันวาคม 2554 10:36:15 น.
Counter : 614 Pageviews.

0 comment
1  2  3  

evezangz
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





Free Clock
★Rangsit University ★
Engineering วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม#1 Rsu Ł° ชิล ชิล งง่ายๆแต่ไม่ได้ใจง่ายนะ สบายๆ ถ่ายรูปคือสิ่งที่ชอบ


MY VIP Friend