ไ ข มั น ใ น เ ลื อ ด สู ง

50 % ของคน กรุงเทพฯ มีระดับไขมัน Cholesterol
สูง

กว่า 240 มิลลิกรัมต่อ ดล. 

ไขมันในเลือดมีอะไรบ้าง

ไขมันในเลือดมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด
แต่ละชนิดมีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจ

ขาดเลือด การเกิดภาวะ หลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis)
แตกต่างกัน

ไปบ้าง ไขมันที่มีความสำคัญ มีดังนี้


-
โคเลสเตอรอล (Cholesterol)


เป็นไขมันที่มีความจำเป็นสำหรับเซลต่างๆของร่างกาย   
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

เซลสมอง เซลประสาท ร่างกายสามารถสังเคราะห์ไขมันนี้ได้เองที่ตับ (ผู้ป่วย

โรคตับ หรือ มะเร็ง จึงมีคอเลสเตอรอลต่ำ) และ ได้จากอาหารด้วย อาหารที่มีไขมันคอเลสเตอรอลสูง ได้แก่ อาหารมันๆต่างๆ    
โดยเฉพาะที่ได้

จาก ไขมันสัตว์ เช่น เนื้อติดมัน หมูติดมัน หมูสามชั้น ข้าวมันไก่ ขาหมู
เครื่อง

ใน หนังเป็ด หนังไก่ ไข่แดง ไข่ปลา กุ้ง ปลาหมึก หอยนางรม แกงกะทิ เป็นต้น


แต่ถ้ามีมากเกินไปก็จะเป็นโทษต่อร่างกายเช่นกัน
ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำ

ให้เกิดเส้นเลือดแข็งตัว และหลอดเลือดอุดตัน ระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน 

200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
เมื่อไปเจาะเลือดเพื่อตรวจโคเลสเตอรอล
ส่วนใหญ่

จะเป็นการตรวจ
โคเลสเตอรอลรวม (Total cholesterol) แต่ความจริงแล้ว

ยังมีคอเลสเตอรอลย่อยๆอีก คือ แอล-ดี-แอล (LDL-Cholesterol)

วี-แอล-ดี-แอล (VLDL-Cholesterol) เอช-ดี-แอล (HDL-Cholesterol)

LDL-C

จัดเป็นไขมัน"ตัวร้าย"ที่ทำให้เกิดการสะสมของไขมันในผนังของหลอดเลือด

แดงทั้งร่างกาย เช่น สมอง (เกิดอัมพาต) หัวใจ (เกิดโรคหัวใจขาดเลือด) ไต 

(เกิดไตวาย) อวัยวะเพศ (หย่อนสมรรถ ภาพทางเพศ) เป็นต้น
พบว่าความผิด

ปกติเหล่านี้สัมพันธ์กับระดับ Total cholesterol และ LDL-C อย่างมาก


แอลดีแอล (Low density lieoprotein-LDL) หากมีไขมันชนิดนี้ในเลือดสูง ก็จะไปเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดพอกหนาขึ้น
จนความยืดหยุ่น

ของหลอดเลือดเสียไป หลอดเลือดจะตีบแคบลง
ทำให้การไหลเวียนเลือดไม่

สะดวก จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดตีบตันได้มาก
ระดับปกติในเลือดไม่

ควรเกิน 130 มิลิกรัมต่อเดซิลิตร 


HDL-C

ตรงข้ามกับ LDL-C ไขมัน HDL-C นี้เป็น"พระเอก"ช่วยนำเอาไขมันที่สะสม

อยู่ตามผนังหลอดเลือด ออกมา แต่ทำงานช้ากว่าผู้ร้ายเสมอ ระดับไขมัน 

HDL-C ต่ำจะเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด ในทาง กลับกันหากยิ่งสูงยิ่งดี
ช่วย

ป้องกันโรคนี้ เราสามารถเพิ่ม HDL-C ให้สูงได้ด้วย การหยุดบุหรี่ ออกกำลัง

กายแบบแอโรบิคสม่ำเสมอ ลดน้ำหนัก ยาบางชนิด
ดื่มแอลกอฮอล์จำนวนเล็ก

น้อย (แต่ผมไม่ แนะนำ) HDL-C นี้ก็ถูกควบคุมโดยพันธุกรรมเช่นกัน
ดังนั้น

บางรายทำอย่างไร HDL-C ก็ไม่สูงขึ้น


HDLมีหน้าที่นำโครเลสเตอรอลจากกระแสเลือดไปทำลายที่ตับ ดังนั้นถ้าระดับ 

HDL ในเลือดสูง
จะทำให้อัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบน้อย

ลง จะสูงได้จากการออกกำลังกาย ระดับปกติในเลือดผู้ชายมากกว่า 35มิลิกรัม

ต่อเดซิลิตร ผู้หญิงมากกว่า 45 มิลิกรัมต่อเดซิลิตร 



ไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides)

เป็นไขมันอีกชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่ Cholesterol แต่ก็มีความสำคัญเช่นกัน
พบว่า

มีความสัมพันธ์กับโรค หัวใจขาดเลือด แต่ความสัมพันธ์นี้อาจไม่ "แรง" หรือ "

ชัดเจน" เหมือน cholesterol นัก พบได้บ่อย มากในผู้ที่อ้วน เบาหวาน
ดื่มสุรา

ประจำ หรือมีโรคบางชนิดอยู่ด้วย ที่ว่าความสัมพันธ์กับโรคหัวใจไม่ชัดเจน

ก็เพราะผู้ที่มีไขมันชนิดนี้สูง


มักมีปัจจัยเสี่ยงข้ออื่นๆของโรคหัวใจรวมอยู่ด้วย 

อีกทั้งยังไม่มี การศึกษายืนยันว่าการลดไขมัน Triglycerides
จะลดโอกาส

เกิดโรคหัวใจขาดเลือด (แตกต่างจาก ไขมัน Cholesterol
ที่มีการศึกษาแน่

นอนว่าการลดระดับไขมัน Cholesterol ได้ประโยชน์ทั้งใน
ผู้ที่ยังไม่มีโรค

หัวใจ หรือ เกิดโรคหัวใจขึ้นแล้ว)


ร่างกายยังเก็บสะสมไตรกลีเซอไรด์ไว้สำหรับให้พลังงานเมื่อมีความต้องการ 

ช่วยในการดูดซึมวิตามิน เอ ดี อี และ เค
อย่างไรก็ตาม
การมีไตรกลีเซอไรด์

ในเลือดสูงหรือพบว่าสูงในคนที่มีโคเลสเตอรอลสูงอยู่แล้ว
เชื่อว่ามีโอกาสเป็น

หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบมากขึ้น
ระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน 200
มิลิกรัม

ต่อเดซิลิตร 


Lipoprotein a หรือ Lp (a)

เป็นไขมันที่เกาะรวมอยู่กับโปรตีน
ซึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจขาด

เลือดเช่นเดียวกันกับ LDL-C
โดยทั่วไปไม่นิยมส่งตรวจเนื่องจากราคาแพง

และไม่สามารถทำได้แพร่หลาย


ค่าปกติของไขมันในเลือด

ความจริงแล้วไม่มีค่าปกติ ทั้งนี้เนื่องจากหากเอาผู้คนที่ปกติ
แข็งแรงดีมา

ตรวจหาระดับ Cholesterol อาจพบว่าค่าเฉลี่ยมากกว่า 240 มิลลิกรัมต่อดล. ซึ่งถือว่าผิดปกติ 
ดังนั้นเราเรียกว่า "ค่าที่แนะนำ" จะเหมาะสมกว่า 









ค่าที่แนะนำนี้เปลี่ยนแปลงไปตามความรู้ทางการแพทย์ สมัยก่อน
ถือว่า

ไขมัน Cholesterol ไม่ควรเกิน 250 มิลลิกรัมต่อดล.
แต่ความรู้ในปัจจุบันนี้เปลี่ยนแปลงค่านี้เป็น 

Total Cholesterol น้อยกว่า 200 มิลลิกรัมต่อดล.และ 

LDL-C น้อยกว่า 130 มิลลิกรัมต่อดล. ในผู้ที่ยังไม่เกิดโรค 



แต่สำหรับผู้ที่เกิดโรคหัวใจขึ้นแล้ว ควรรักษาให้ต่ำกว่านี้ คือ LDL-C
ควรน้อย

กว่า 100 มิลลิกรัมต่อดล. ในอีก 5
ปีข้างหน้าตัวเลขเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงไป

อีกแน่นอน 


สำหรับไขมัน Triglycerides แนะนำให้ต่ำกว่า
150-200 มิลลิกรัมต่อดล.

หลายท่านพยายามให้น้อย กว่า 150 มิลลิกรัมต่อดล. 



การศึกษาเกี่ยวกับไขมัน Cholesterol สรุปได้ดังนี้

Total Cholesterol, LDL-C สัมพันธ์กับภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
โรคหัวใจ

ขาดเลือด หลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย อัมพาต
การเสียชีวิตจาก

โรคหัวใจ ไขมัน Cholesterol สูงตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเด็ก หรือ วัยรุ่น
มีโอกาส

เกิดปัญหาจากโรคหัวใจ ขาดเลือดเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น 


การลดระดับไขมัน Cholesterol ได้ประโยชน์แน่นอน
ทั้งในกรณีที่ยังไม่เป็น

โรคหัวใจ และ เกิดโรคหัวใจขึ้นแล้ว
แต่ไม่ได้หมายความว่าจะได้ประโยชน์

ทุกราย หรือทุกคน เราก็ไม่ทราบว่าผู้ใดจะได้ประโยชน์
ผู้ใดจะไม่ได้

ประโยชน์ ดังนั้นการรักษาจึงเป็นเรื่องของสถิติ
ลดโอกาสเสี่ยงต่างๆลงเท่า

นั้น
การควบคุมไขมันให้ต่ำ ช่วยลดโอกาสเกิดอัมพาต (stroke) ด้วย
ในผู้ที่

มีโรคหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดหัวใจตีบ ควรให้ไขมัน LDL-C ต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม ต่อดล. เนื่องจากจะช่วยชลอการตีบของหลอดเลือด
และช่วยให้แผ่น

ไขมันไม่แตกง่าย การแตก
ของแผ่นไขมันทำให้เกิดการอุดตันของหลอด

เลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย (heart attack) 


ในผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง
การควบคุมอาหารอย่างเดียวสามารถลดไขมันได้

น้อย และ มักจะ ไม่ได้ระดับที่ต้องการ


การรักษาไขมันในเลือด  เป็นการรักษาเพื่อหวังผลในระยะยาว หมายถึงต้อง

ควบคุมให้ไขมันใน เลือดต่ำอยู่ตลอดเวลา เป็นระยะเวลานาน
อย่างน้อย 5 ปี

ขึ้นไป จึงจะได้ประโยชน์จากยา ดังนั้น การรับประทานยาไม่สม่ำเสมอจะทำ

ให้ไม่ได้ประโยชน์จากยา เสียค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์
ยาที่ดีที่สุดสำหรับ

การลด LDL-C ในขณะนี้คือยากลุ่ม Statin ซึ่งมีหลายตัว

ผลแทรกซ้อน จากยาต่ำมาก ยากลุ่ม Fibrate 
เช่น Gemfibrozil (Lopid) 

สามารถลด Triglycerides ได้ดี แต่สำหรับ LDL-C แล้วสู้กลุ่ม Statin ไม่ได้

ยา Cholestyramine (Questran) สามารถลด LDL-C ได้ดีเช่นกัน
แต่รับ

ประทานยาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถรับประทานได้นานๆ
การลดไขมันใน

เลือดเป็นสิ่งที่ควรทำในผู้ที่มี Total Cholesterol มากกว่า
200 มิลลิกรัมต่อ

ดล. ควรเริ่มต้นจากการควบคุมอาหาร  
หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงไขมันจาก

สัตว์ออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก   
หากไขมันในเลือดยังสูงอยู่
หรือ มีโรคหัวใจ

ท่านควรรับประทานยา (แนะนำกลุ่ม
Statin) และท่านต้อง
เข้าใจว่าหากหวัง

ผลในการชลอการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจ   
ท่านต้องรับประทานยาสม่ำ

เสมอเป็น ระยะเวลานาน หลายปี

ีแต่อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าหากรับประทานยาแล้วจะไม่เกิดโรค

เป็นเพียงลด "โอกาสเกิดโรค" เท่านั้น



ภาวะไขมันในเลือดสูง

ภาวะไขมันในเลือดสูงนี้ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ
โดยเฉพาะ

โรคหลอดเลือดแข็งตัว (Atherosclerosis)
ซึ่งนำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือดได้ 

นับเป็นโรคร้ายอีกชนิดหนึ่ง
ที่ทำให้ประชากรเสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ 

เราสามารถควบคุมและป้องกัน ไม่ให้เกิดภาวะนี้ได้ไม่ยาก
ซึ่งจะช่วยป้องกัน

การเกิดโรคหัวใจได้อย่างมาก


สาเหตุของภาวะไขมันในเลือดสูง 

- กรรมพันธุ์ 

- การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์ 

- โรคของต่อมไร้ท่อบางชนิด เช่น เบาหวาน ธัยรอยด์
และโรคของต่อม

  หมวกไตบางอย่าง 

- โรคตับ โรคไตบางชนิด 

- ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ฮอร์โมนเพศ(ยาคุมกำเนิด) เป็นต้น 

- การตั้งครรภ์ 

- การดื่มแอลกอฮอล์ 

- ภาวะขาดการออกกำลังกาย 


ผลของไขมันในเลือดสูง

จากการศึกษาพบว่า
ระดับไขมันในเลือดมีความสำคัญอย่างมากกับการเกิด

หลอดเลือดตีบตัน โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ
ผู้ที่มีภาวะไขมัน

เลือดสูง จึงมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือด สมองขาดเลือดจนเป็นอัมพาต 

อัมพฤกษ์ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม เป็นต้น


จะทำอย่างไรถ้าไขมันในเลือดสูง

ถ้าตรวจพบว่าระดับไขมันในเลือดสูง ควรมีการควบคุมปริมาณไขมันในเลือด โดยการปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้


การควบคุมอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไขมันสัตว์ 

สมองสัตว์ ไข่แดง อาหารทะเล เช่น หอยนางรม ปลาหมึก กุ้ง เป็นต้น
ควร

จำกัดไม่ให้เกิน 300 มิลิกรัมต่อวัน(ดูจากตารางปริมาณโคเลสเตอรอลใน

อาหารแต่ละชนิด)









































ประเภท
 รายการ 
มิลิกรัม 

อาหารทะเล


หอยนางรม

หอยแมลงภู่

หอยแครง

ปูม้า

ปูทะเล
มันปูทะเล

กุ้งกุลาดำ

กุ้งแชบ๊วย

แมงกระพรุน
ปลาหมึกกระดอง (หัว)
ปลาหมึกกระดอง (เนื้อ)
ปลาหมึกกล้วย (หัว)

ปลาหมึกกล้วย (เนื้อ)

ปลิงทะเล

ปลาแซลมอน

ปลาจาระเม็ด

ปลาทู

ปลาทูน่า

ปลาไหลทะเล 



231

148

195

90

87
361

175

192

24
405
322
321

251

0

86

126

76

186

186



ไข่

ไข่ขาว

ไข่แดง (เป็ด)


ไข่แดง (ไก่)


ไข่ทั้งฟอง

ไข่นกกระทา


ไข่ปลา
0

1120


2000


550

3640


มากกว่า 300

เนื้อสัตว์ต่าง ๆ 

เนื้อไก่

น่องไก่

เนื้อเป็ด

เนื้อหมู (แดง)

เนื้อหมูปนมัน

เนื้อวัว

เนื้อห่าน

เนื้อกบ

เนื้อนกพิราบ

ปลาช่อน

ปลาดุก

ปลากราย

กุนเชียง
70

100

82

60 - 70

126

65

89

47

110

44

94

77

150

เนย
เนยเหลว

เนยแข็ง

มาการีน (ไขมันจากพีช)
186

33

0

เครื่องในสัตว์ 
ตับไก่

ตับหมู


ตับวัว

หัวใจไก่

หัวใจหมู

หัวใจวัว

ไส้ตันหมู

กระเพาะหมู

เซี่ยงจี้ 
336

364


218

157

133

165

140

150

350

อื่น ๆ

นมสด

ครีม

น้ำมันตับปลา


แฮม

เบคอน

ไส้กรอก

สมองสัตว์


ไอศรีม
24

300

500


100

215

100

3160


40


ควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้อ้วนเกินไปโดยจำกัดอาหารประเภทแป้ง ข้าวต่าง ๆ 

ขนมหวาน หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา เบียร์  เพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์เร่งการสะสม

ไขมันตามเนื้อเยื่อ หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมัน อาหารทอด เจียว 



ควรเพิ่มอาหารพวกผักใบต่าง ๆ และผลไม้บางชนิดที่ให้ใยและกาก เช่น คะน้า ผักกาด ฝรั่ง ส้ม

เม็ดแมงลัก และอื่น ๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับกากใยมากขึ้น
กากใยเหล่านี้จะ

ช่วยในการดูดซึมของไขมันสู่ร่างกายน้อยลง รักษาโรคที่เป็นอยู่เช่น เบาหวาน

ธัยรอยด์ โรคตัว โรคไต และอื่นๆ  


หยุดยาที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ไขมันในเลือด

หรือเปลี่ยนเป็นยาชนิดอื่นๆ แล้วแต่ความเหมาะสม การออกกำลังกายจะช่วย

ลดปริมาณไขมันในเลือด และเพิ่มระดับของ HDL    ควรออกกำลังกายอย่าง

สม่ำเสมอ อย่างต่อเนื่อง ครั้งละ 20 - 30 นาที  อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 - 4 ครั้ง 


สำหรับการออกกำลังกายที่ดีที่สุดเพื่อเพิ่มสมรรถภาพของปอดและหัวใจ  คือ 

การเดินเร็ว จ๊อกกิ้ง เต้นรำ การขี่จักรยาน  
แต่ถ้ามีอาการของโรคหัวใจอยู่

แล้ว หรือมีอายุมากกว่า 40 ปี  


ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนว่าการออก

กำลังกายแบบใดจึงจะเหมาะสมเพื่อให้แน่ใจว่าจะได้รับประโยชน์โดยไม่มี

อันตรายต่อสุขภาพ ใช้ยาลดไขมัน
ซึ่งจะต้องใช้ร่วมกับการรักษาดังหัวข้อที่

กล่าวมาแล้วด้วย การใช้ยาแต่เพียงอย่างเดียวจะไม่ได้ผล
ควรควบคุมพฤติ

กรรมการรับประทานอาหาร และลักษณะนิสัยในการดำเนินชีวิตของตนเอง






Free TextEditor


Create Date : 30 กันยายน 2553
Last Update : 2 ตุลาคม 2553 10:06:44 น. 0 comments
Counter : 342 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

dinshay
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ออกกำลัยกันเถอะ
[Add dinshay's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com