εїз ต้นธรรม εїз เติบโตงดงามด้วยคุณธรรม
แหงนหน้ามองขึ้นใปจากโคนต้น เห็นรูปทรงแผ่ระย้ากิ่งสาขา จากร่มเงาแต่ละใบที่ได้มา เกิดจากว่าผู้มีใจไฝ่ในบุญ
Group Blog
 
All blogs
 
สังสารวัฏฏ์ และ อุปาทาน ความยึดถือ 501230

สังสารวัฏฏ์มีจริงหรือ และสังสารวัฏฏ์เป็นยังไง จะมองเห็นได้ยังไง ลองอ่านทำความเข้าใจในการสนทนาครั้งนี้ดูนะคะ

และที่พิเศษ รับพรปีใหม่ได้จากพระอาจารย์ เพื่อความเป็นมงคลกัน


ธรรมะ Online บ่ายวันอาทิตย์
เรื่อง สังสารวัฏฏ์ และ อุปาทาน ความยึดถือ
(วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๐)

ตัดต่อและเรียบเรียงโดย พระปิยะลักษณ์ ปัญฺญาวโร

เป้ says:
นิมนต์พระอาจารย์เจ้าค่ะ

ซ้อม ซ้อม ซ้อม และก็ ซ้อม says:
นมัสการพระอาจารย์ ครับ

นมัสการเจ้าค่ะ
พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
สวัสดีจ๊ะ ทุกคน

ส้ม says:
สวัสดีค่ะ

dutycompleted says:
นมัสการพระคุณเจ้าและสวัสดีทุกท่านครับ
นิมนต์ท่านสหพรเจ้าค่ะ
[b][c=12]สหพร[/c][/b] says:
นมัสการท่านพระอาจารย์ครับ และพระอาจารย์ทุกรูปครับ

นมัสการท่านสหพร จิรสกฺโก
ครับ นมัสการครับ
สังสารวัฏมีจริงเหรอค่ะ และคืออะไร

      สังสารวัฏ คือ การเวียนว่ายตายเกิดของร่างกายและจิตใจ ซึ่งก็มีอยู่แล้วในทุกขณะในปัจจุบัน ทั้งทางกายและทางใจ
      ความเกิดดับเปลี่ยนแปลงของรูปธรรมและนามธรรมนี้ มีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาทั้งร่างกายและจิตใจ เรียกว่า เป็นสังสารวัฏอย่างหนึ่งที่มีอยู่กับตัวเราตลอดเวลา
      เมื่อการเกิดดับเปลี่ยนแปลงที่ตัวเรามีอยู่เช่นนี้ เมื่อพรุ่งนี้มี อนาคตมี การเกิดดับเปลี่ยนแปลงก็ย่อมติดตามไป แม้เมื่อภพชาติมีอยู่ สงสารวัฏก็ย่อมเป็นไปอยู่เช่นนี้ ดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
      การจะเข้าใจสังสารวัฏได้ จะต้องเริ่มต้นเข้าใจที่ตัวเรา ที่ร่างกายและจิตใจของเราก่อน ว่ามีการเกิดดับเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร มีความสุขความทุกข์ มีความรัก ความโกรธ ความหลงอย่างไร มีสติ มีศรัทธา มีวิริยะความเพียร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปอย่างไร การหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปเช่นนี้ ก็ย่อมจะให้เห็นถึงความเป็นเหตุเป็นปัจจัยของสิ่งทั้งหลายได้

       การยึดติดทำให้เราต้องวนอยู่ในสังสารวัฎใช่ป่าวค่ะ ถ้าจิตเป็นอิสระได้ ก็จะหลุดออกมาได้ ใช่ป่าวค่ะ
      สังสารวัฏ คือ การหมุนเวียนไป การเกิดดับเปลี่ยนแปลงไปของสิ่งทั้งหลายโดยมีสภาพความเป็นทุกข์ถูกบีบคั้นด้วยเหตุปัจจัย
      รูปธรรม มีการเกิดดับเปลี่ยนแปลง เช่น มีการแก่ขึ้น เป็นหนุ่มเป็นสาว เซลล์และอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย ก็มีการเกิดดับเปลี่ยนแปลงแทนที่อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นกระแสเลือด การผลัดเซลล์ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นสภาพเปลี่ยนแปลง มีการหมุนเวียนเปลี่ยนไป ไม่คงอยู่ในสภาพเดิม สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงความเป็นอนัตตาของสังขาร ที่มีการเกิดดับเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุตามปัจจัยตามธรรมชาติ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน แทนที่กันไป เช่นนี้นี่ล่ะ สังสารวัฏที่มีอยู่ในตัวเรา
      ในทางจิตใจของเราก็เช่นเดียวกัน ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ก็มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น เดี๋ยวรู้สึกสบายใจ บางครั้งก็ไม่สบายใจ เดี๋ยวพอใจ บางครั้งไม่พอใจ เดี๋ยวรัก เดี๋ยวชัง เหล่านี้เป็นความเกิดดับเปลี่ยนแปลงของความคิดและความรู้สึกต่างๆ ที่มีสภาพหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปตลอดวัน ตลอดคืน ตลอดเวลาเช่นกัน นี่ล่ะ สังสารวัฏ การเกิดดับเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกนึกคิดเป็นไปอย่างนี้ เกิดดับสับเปลี่ยนไปไม่สิ้นสุด
      ความรู้สึกนึกคิดนี้ เป็นสภาพอาศัยปัจจัยปรุงแต่งในธรรมชาติปรุงประกอบขึ้น มีความเป็นปัจจัยแก่กันและกันสม่ำเสมอ เช่น เมื่อตาเห็นรูป เกิดความยินดีพอใจ เป็นเหตุให้คิดนึกปรุงแต่งเป็นไปต่างๆ ร่างกายเองก็เกิดความเร่าร้อนกระวนกระวาย เกิดความยึดถือ ต้องการครอบครอง เป็นต้น
      และเมื่อมีความยึดถือเช่นนี้ ก็เป็นเหตุให้กายแสดงออกเป็นไปต่างๆ ตามความรู้สึกที่มีในใจ เช่น ยิ้มแย้ม หัวใจเต้นระรัว รู้สึกเสียวแปลบปลาบ หรือพูดจาแสดงออกถึงความรู้สึก
เป็นต้น

คือเข้าใจถึงสภาพการเป็นเหตุปัจจัยของสิ่งต่างๆ ในตัวเราได้
เป็นธรรมชาติของผู้ที่อยู่ภายใต้สงสารวัฏเหรอ
      การที่รูปธรรมนามธรรม เป็นปัจจัยแก่กันและกันเช่นนี้ มีสภาพที่หมุนเวียนเปลี่ยนไป คือ เมื่อจิตคิด ร่างกายก็แสดงออก เมื่อร่างกายแสดงออกไป ก็เป็นเหตุให้จิตยึดถือในการกระทำนั้นว่าเป็นเรา เป็นของๆ เรา หลงรัก หลงพอใจในธรรมชาตินั้น มีความยึดถือต่อสภาพความคิดปรุงแต่ง แล้วก็เป็นเหตุแห่งการกระทำกรรมสืบเนื่องเรื่อยไป หมุนเวียนอยู่เช่นนี้ เป็นสังสารวัฏ สภาพแห่งการวนเวียนไปแห่งรูปธรรมนามธรรม นั่นเอง
วนเวียนไปเรื่อยๆ ไม่รู้จบ ถ้าเข้าครรลองของมัน
      การที่สิ่งทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กันและกันเช่นนี้ ไม่มีสิ่งใดอยู่ในอำนาจบังคับบัญชา เมื่อมีเหตุมีปัจจัยก็ย่อมให้ผลเกิดขึ้นตามมา ฉะนั้น ทั้งรูปธรรม นามธรรม คือ ร่างกายและจิตใจนี้ จึงมีลักษณะตกอยู่ในสภาพแห่งความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนนั่นเอง
      สังสารวัฏ ก็เริ่มต้นเช่นนี้ล่ะ เริ่มต้นที่ตัวเรา ที่ร่างกายที่จิตใจ แล้วก็เป็นเช่นนี้เรื่อยไป ตราบเท่าที่เรายังไม่มีปัญญารู้เท่าทันสภาพการปรุงแต่งนั้นว่าไม่ใช่ "เรา"

เหมือนกับปฎิจจสมุปบาท?
      ภพทั้งหลายอันจะเกิดขึ้นในอนาคตเบื้องหน้าก็เริ่มต้นเช่นนี้ คือ เป็นไปในปัจจุบันและสืบเนื่องไปสู่อนาคต
      เอ แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นต่างๆ นี้เป็นวิบากเรา ที่เราทำมา เป็นผลจากเราเป็นเหตุเท่านั้นเหรอเจ้าคะ
      วิบาก หรือผลทั้งหลายที่กำลังเกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตเรา ก็มาจากเหตุเหล่านี้นี่เอง คือ กรรม ที่เป็นตัวเจตนา ในการปรุงแต่งความคิด ด้วยความยึดติดถือมั่น ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า


"เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ"
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่า เป็นตัวกรรม


      วิบาก คือ ผลที่ปรากฏแก่ใจเรา เช่น ความรู้สึกสบายใจ ไม่สบายใจ การเห็น การได้ยินต่างๆ เหล่านี้ เมื่อเรารู้ไม่เท่าทัน เพราะมีอวิชชาเป็นม่านปิดบังไว้ ก็เป็นเหตุให้ปรุงแต่งตัณหาอุปาทานเข้ายึดถือต่อวิบากแห่งกรรมที่ปรากฏนั้น เรียกว่า สร้างกิเลสให้เกิดขึ้น
      และเมื่อกิเลสเกิดขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็เป็นเหตุให้กระทำ "กรรม" คือ การตั้งเจตนาเพื่อกระทำการต่างๆ ตามที่ยึดติดถือมั่นนั้นอีกครั้งหนึ่ง
      เมื่อกระทำกรรมด้วยเจตนาดังนี้แล้ว ก็ย่อมมีผลแห่งกรรมเกิดขึ้นติดตามมา เรียกว่า มีวิบากแห่งกรรมเกิดขึ้นอีก หมุนเวียนไปเช่นนี้ วิบาก กิเลส กรรม วิบาก กิเลส กรรม
วิบาก หมุนเวียนเช่นนี้เรื่อยไป

โง่ จน เจ็บ , จน เครียด กินเหล้า
      ตราบเท่าที่ยังไม่รู้เท่าทันอารมณ์ คือ สภาพการปรุงแต่งในจิตว่าไม่ใช่ตัวเราอยู่เพียงใด ก็จะหมุนวนเป็นวัฏฏะทั้ง ๓ นี้เรื่อยไป คือ วิบากวัฏฏ์ กิเลสวัฏฏ์ และกรรมวัฏฏ์ อยู่เพียงนั้นนั่นเอง นี้เรียกว่า สังสารวัฏฏ์อันยาวนาน เริ่มต้นเช่นนี้
เข้าใจแล้วค่ะ
      อันนี้คือ อกุศลวิบากใช่ไม๊เจ้าคะ ที่เกิดจากเจตนาที่มีความยึดติดเป็นเหตุ วิบากวัฏฏ์ กิเลสวัฏฏ์ กรรมวัฏฏ์ และ วัฏฏ์ แปลว่าอะไรเจ้าคะ
      ไม่เพียงแต่อกุศลวิบากเท่านั้น แม้กุศลวิบากก็อยู่ในรูปเดียวกัน คือ อาศัยความยึดติดถือมั่นเช่นเดียวกัน ในการกระทำกิจต่างๆ เช่น ทำบุญเพราะต้องการบุญ (ยึดถือในบุญ ปรารถนาในผลบุญ) ก็เช่นเดียวกัน ย่อมเป็นเหตุให้เวียนว่ายตายเกิด เพราะต้องการเสวยผลแห่งบุญนั้น พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า “โอปาทิกบุญ” บุญที่ยังประกอบอยู่ด้วยอุปธิ (คือกิเลส) หรือบุญที่นำไปสู่การเวียนว่ายตายเกิดนั่นเอง
      เหตุจากกรรม ที่เป็นเจตนาปรุงแต่งด้วยความยึดติดถือมั่น และแม้นไม่ถือมั่นแต่มีเจตนา ก็มีผลของกรรมด้วยใช่ไม๊เจ้าคะ
      ถ้ากรรมที่กระทำนั้น ไม่มีความยึดติดถือมั่นอย่างแท้จริง หมายถึง ไม่มีอุปาทานความยึดถือเลย การกระทำนั้นไม่เรียกว่า “กรรม” หรือไม่เป็นกรรม แต่เรียกในชื่อว่า “กิริยา” เพราะไม่มีตนผู้ยึดถือการกระทำนั้น ฉะนั้น ย่อมไม่มีผลแห่งกรรมติดตามไป
      พระพุทธองค์ตรัสถึงกรรมที่ประกอบด้วยเจตนาว่ามี ๓ ประเภท
คือ
      ๑ กัณหกรรม คือ กรรมดำ มีวิบากดำ หรือ กรรมชั่ว
      ๒ สุกกกรรม คือ กรรมขาว มีวิบากขาว หรือ กรรมดี
      ๓ กัณหสุกกกรรม คือ กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว หรือ กรรมที่ทั้งชั่วทั้งดีคละเคล้ากัน เช่น ขโมยของมาให้ทาน ฉลองบวชนาคด้วยการเลี้ยงสุรา เป็นต้น (สนับสนุนการบวชนั้นเป็นบุญ แต่การเลี้ยงสุรานั้นเป็นบาป)
      ๔ อกัณหอสุกกกรรม คือ กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม หรือ กรรมที่กระทำเพื่อทำลายความยึดถือในผลของกรรมนั้น เช่น การเจริญวิปัสสนา หรือโพธิปักขิยธรรมเพื่อไถ่ถอนกิเลสความยึดถือที่มีในใจตน
      ฉะนั้น ใน ๓ ประเภทเบื้องต้นนั้น จัดอยู่ในฝ่ายโอปาทิกะ นำไปสู่ความเกิดในภพภูมิต่างๆ เรียกว่า ย่อมมีผลแห่งกรรมติดตามมา
      ส่วนข้อสุดท้าย จัดอยู่ในฝ่ายอโนปาทิกะ คือ มีเจตนาทำลายเสียซึ่งความยึดติดถือมั่น มีเป้าประสงค์ก็เพื่อชำระล้างจิตใจ ไม่ปรารถนาเสวยผลแห่งบุญ ฉะนั้น จึงเป็นกุศลที่เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมและผลแห่งกรรม หยุดการเวียนว่ายตายเกิด หรือทำลายเสียซึ่งกำจักรแห่งสังสารวัฏนั่นเอง
      แต่โดยมากปุถุชนย่อมมีความยึดถือในการกระทำนั้นว่าเป็นเราเสมอไป และเมื่อกระทำกรรมใดก็ย่อมหวังผลจากการกระทำนั้น ฉะนั้นที่ว่ากระทำกรรมโดยไม่ยึดถือนั้น โดยแท้แล้ว ไม่มี
      ด้วยเหตุว่า ปุถุชน ยังมองไม่เห็นสภาพความไม่ใช่ตัวตนของสรรพสิ่ง เป็นเพียงการเข้าถึงในระดับขั้นความเข้าใจในเหตุผลเท่านั้น ฉะนั้น ไม่สามารถตัดการปรุงแต่งยึดถือว่าเป็นตนของตนได้แท้จริง

      "กระทำกรรมโดยไม่ยึดถือนั้น โดยแท้แล้ว ไม่มี" งั้นแสดงว่ารวมถึงกุศลกรรมที่ได้รับกุศลวิบากด้วย
      ถูกต้องแล้ว กรรม คือ การกระทำของปุถุชน จึงยังคงเป็นกรรมอยู่วันยังค่ำ คือ มีเจตนาปรุงแต่งด้วยความยึดถือ ในรูปใดรูปหนึ่งเรื่อยไป เพราะไม่อาจเข้าใจสภาพธรรมในธรรมชาติ
ว่าไม่ใช่ตัวตนอย่างไร เพราะคิด ก็เป็นเราคิด เพราะทำ ก็เป็นเราทำ ย่อมมีความรู้สึกเช่นนี้อยู่เป็นธรรมดา
      ไม่ว่ากุศลกรรม หรืออกุศลกรรมที่กระทำก็ตาม ก็ล้วนแต่กระทำด้วยความยึดมั่นถือมั่นทั้งนั้น เพราะไม่รู้ความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแห่งการกระทำนั้น ว่าไม่ใช่เรา ฉะนั้น สังสารวัฏของปุถุชน จึงไม่อาจกำหนดได้ ว่าจะยาวนานเพียงใด

ไปเรื่อยๆ ตราบเท่าที่ยังมีความรู้สึกเป็นตัวตนอยู่?
      เอ อย่างนี้ การที่เราจะพ้นจากสังสารได้ ก็ด้วยแต่หาตัวยึดให้เจอสิ แล้วเอาตัวยึดออก

      แต่สำหรับพระอริยเจ้าแล้ว เพราะกำหนดรู้ในสภาพความไม่ใช่ตัวตนของสรรพสิ่งนั่นเอง จึงตัดทอนสภาพความยึดถือในสภาวธรรมเหล่านั้น เป็นเหตุให้กำหนดภพได้ ว่าจะต้องเวียนว่ายไปในสังสารวัฏอีกนานเพียงใด เช่น พระโสดาบันบุคคล ย่อมกำหนดภพชาติในวัฏฏะได้ว่า จะไม่เกิดอีกเกินกว่า ๗ ชาติ
เป็นต้น

      แต่แม้พระอริยเจ้าจะรู้ถึงความไม่ใช่ตัวตนของสรรพสิ่ง แต่ทว่า เหตุใดยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่เล่า ข้อนี้น่าพิจารณา 

อืมม
      ตอบว่า เพราะแม้จะเห็นแจ้งถึงสภาพธรรมที่มิใช่ตัวตน แต่ก็ยังมีความยินดีในกามสุขบ้าง ในรูปสุขบ้าง ในอรูปสุขบ้างนี่เอง จึงทำให้ยังมีความพอใจในการเวียนว่ายไป แม้ภายใน ๗ ภพ(ชาติ) นั่นเอง
      เรียกว่า ยังไม่หยุดความปรารถนาที่จะส้องเสพอารมณ์ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส ฯลฯ นั่นเอง เรียกว่า "แม้จะรู้ ก็ยังไม่อาจละ" น่าตลกจริงๆ

      อืมม ยังปรารถนาอยู่ ก็แสดงว่ายังรู้สึกว่ามีความเป็นตัวตนอยู่ ไม่ปราศจากเสียทีเดียว
      ความรู้สึกว่าเป็นตัวตนนั้นไม่มี แต่แม้จะไม่รู้สึกว่าเป็นตัวตนเช่นนั้น ก็จะยังมีความปรารถนาต่อการเสพอารมณ์ที่น่าปรารถนาอยู่นั่นเอง
      คล้ายกับว่า เครื่องประดับภายในร้านค้า เช่น สร้อย แหวน เป็นต้น แม้จะรู้ว่าไม่ใช่ของเรา เราไม่สามารถซื้อหาครอบครองเป็นของตนได้ เพราะราคาแพง แต่ก็ขอลองสวมใส่สักหน่อยให้ชื่นใจก็ยังดี

แสดงว่ายังติดอยู่กับความสุข อยู่น้า
      เคยได้ยินว่า พระอรหันต์กำหนดว่าจะนิพพานในชาตินี้หรือชาติหน้าได้ พระอรหันต์ท่านไม่นิพพานในชาตินี้เท่านั้นเหรอเจ้าคะ

      พระอรหันต์ย่อมนิพพานในชาตินี้สิ เพราะสิ้นความปรารถนาในอารมณ์ทั้งปวงแล้ว ต่างกับพระอริยบุคคล ๓ ชั้นต้น ที่ยังมีความปรารถนาในอารมณ์อยู่ นี้คือความต่างกัน
      คือ ที่ถาม เพราะเคยได้ยินว่า พระอรหันต์ท่านกำหนดได้ว่าจะไปนิพพานในชาติต่อๆ ไปได้
      พระอรหันต์ ย่อมนิพพานในชาตินี้ ย่อมไม่เกิดอีกแล้ว ไม่ว่าในภพใดๆ
      งั้นแสดงว่าที่ได้ยินมา ไม่ถูกสิ ถึงว่ามันประหลาดๆ แล้วทำไงให้รู้ถึงความไม่มีตัวไม่มีตน
      อุปาทาน ความยึดติดถือมั่นนั้น มีจนถึงพระอนาคามีเชียวนะ พระอริยบุคคล ๓ เบื้องต้น คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี และพระอนาคามีนั้น ยังมีอุปาทานอยู่บ้างมากน้อยต่างกัน
แล้วภัยในสังสารวัฏล่ะเจ้าคะ จะอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ไง
      ก็ความทุกข์ยังไงเล่า ที่ไม่อาจเลี่ยงพ้นตราบเท่าที่ยังมีอัตภาพร่างกายนี้อยู่
แล้วต้องทำอย่างไรถึงจะไม่มีอุปทานได้ค่ะ
      ในที่นี้ จึงขออธิบายเรื่องอุปาทานสักนิด ว่าอุปาทาน ความยึดติดถือมั่น นั้นมี ๔ อย่าง คือ
      ๑ กามุปาทาน ความยึดติดในกามและสิ่งที่น่าปรารถนาทั้งปวง อันนี้มีจนถึงพระอนาคามี เว้นแต่พระอรหันต์เท่านั้นจึงจะละได้
      ๒ ทิฏฐุปาทาน ความยึดติดในความเห็นผิดต่างๆ ที่นอกเหนือไปจากสีลัพพตุปาทานและอัตตวาทุปาทาน อันนี้ก็เช่นเดียวกัน พระอริยบุคคลทุกระดับละได้แล้ว ตั้งแต่พระโสดาบัน

ความเห็นผิดในอะไรบ้างเหรอเจ้าคะ
      ทิฏฐุปาทาน คือ ความเห็นผิดทั่วๆ ไป เริ่มตั้งแต่ความเห็นผิดยึดถือว่า ชีวิตจะมีความสุขได้ ต้องมีทรัพย์สินเงินทองมากๆ ยศตำแหน่งและเกียรติยศในสังคม ย่อมแสดงถึงความสำเร็จในชีวิต จนถึงความเห็นผิดที่ว่าทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาพระรัตนตรัยไม่มีผล สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ผู้ปฏิบัติชอบ รู้ยิ่งเห็นแจ้งประจักษ์ซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้ว ประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ไม่มี ทุกอย่างเป็นไปตามพรหมลิขิต หรือมีเทพเจ้าผู้ดลบันดาลความสำเร็จให้แก่ชีวิตเรา เหล่านี้เป็นต้น
      ๓ สีลัพพตุปาทาน ความยึดติดในข้อปฏิบัติที่ผิดว่าสามารถนำไปสู่ความพ้นทุกข์หรือปัญหาได้ เช่น การทรมานตน หรือการถือศีลพรตอย่างเคร่งครัดงมงาย เป็นต้น อันนี้พระอริยบุคคลทุกระดับละได้แล้วเช่นกัน ตั้งแต่พระโสดาบัน

      อย่างนี้ พระที่อดอาหารเป็นเดือนๆ นี่เข้าข่ายไม๊เจ้าคะ อดจนร่างกายแย่  
      ถ้าอดอาหาร เพราะเข้าใจว่า จะเป็นเหตุให้บรรลุคุณวิเศษเบื้องสูง อย่างนี้ก็เป็น สีลัพพตุปาทาน
      ๔ อัตตวาทุปาทาน ความยึดติดในความเห็นผิดว่าเป็นตัวเป็นตน ว่ามีเราของเรา อาทิ สามี บุตร ภรรยา และทรัพย์ของเรา เป็นต้น เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิดว่าเป็นตัวเป็นตน ไม่เห็นความเป็นไปของเหตุและปัจจัย ติดอยู่ในสมมติบัญญัติว่าตัวเราของเรา อันนี้ก็เช่นเดียวกัน พระอริยบุคคลทุกระดับละได้แล้ว ตั้งแต่พระโสดาบัน

โห ความยึดติดในกามช่างร้ายเหลือ
      ดังนั้น จะเห็นได้ว่า อุปาทาน ความยึดมั่นทั้ง ๔ อย่างนั้น ๓ อย่างข้างท้าย ละได้แล้วตั้งแต่เป็นพระโสดาบัน มีเพียงกามุปาทาน ความยึดติดในกามคุณและในอารมณ์ทั้งหลายที่น่าปรารถนาเท่านั้น ที่จะละได้หมดจด ก็ต่อเมื่อเป็นพระอรหันต์ คือ ต้องดับตัณหาให้ได้ทั้งหมดนั่นล่ะ จึงจะดับกามุปาทานได้
      งั้น ข้อ 4 ก็คือ ทำข้อ 2 และ 3 ให้ถูกก่อนเหรอคะ ต้องทำทิฐิให้ถูกก่อน ใช่ไม๊เจ้าคะ
      ทั้งข้อ ๒ ๓ และ ๔ นั้น ละได้พร้อมๆ กัน เมื่อบรรลุโสดาปัตติผล แต่ก็เริ่มจากการมีสัมมาทิฏฐิก่อนนั่นล่ะ ซึ่งเป็นองค์แรกในอริยมรรคมีองค์ ๘
เอาแล้วน่ะ สัปดาห์นี้ คงพอสมควร
ขอฝากพระพุทธภาษิตสำหรับสัปดาห์นี้ไว้ว่า

ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา     
              ขันธ์ทั้งห้าที่ถูกยึดมั่นแล้วย่อมเป็นของหนัก
ภารหาโร จ ปุคฺคโล
              คนนั่นแหละแบกของหนักเอาไป
ภารา ทานํ ทุกฺขํ โลเก
              ผู้แบกของหนักเป็นความทุกข์ในโลก
ภารนิกฺเขปนํ สุขํ
              เหวี่ยงของหนักทิ้งไว้เสียเป็นความสุข
นิกฺขิปิตฺวา ครุ์ ภารํ อญฺญํ ภารํ อนาทิย
              พระอริยเจ้าสลัดทิ้งของหนักเสียแล้ว
              ทั้งไม่หยิบฉวยของหนักอันอื่นขึ้นมาอีก
สมูลํตณฺหํอพฺพุยฺหนิจฺฉาโตปรินิพฺพุโตติ
              ถอนตัณหาพร้อมทั้งมูลรากแล้ว
              เป็นผู้หายหิว ดับรอบแล้วดังนี้.

เห้อ เขาไม่รู้กันน่ะสิว่ามันหนัก
       สุดท้ายนี้ ขออำนวยพรในวาระสิ้นปีเก่า ต้อนรับปีใหม่พุทธศักราช ๒๕๕๑ ขอให้ทุกท่านได้มีความกำลังกาย ปราศจากโรคภัยทั้งปวง
      มีกำลังจิตที่เข้มแข็ง เต็มเปี่ยมด้วยความมุ่งมั่น ด้วยการประพฤติปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความสุข
      และมีกำลังปัญญาเต็มเปี่ยมในการดำเนินชีวิต สามารถผ่านพ้นอุปสรรคปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ ด้วยปัญญาความรู้ที่สว่างไสวดั่งดวงตะวัน และมีปัญญาชำแรกกิเลส เข้าถึงสัจจภาวะได้โดยไวด้วยกันทุกคน

ขอบพระคุณมากๆ ครับ โมทนากับทุกท่านอย่างสูงครับ โมทนา โยมเป้ สาธุ.
อยากให้พรช่วงสุดท้ายสำเร็จได้ในชาตินี้จัง
       ขอให้ทุกท่านเจริญด้วย อายุ วรรณะ สุข พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ ทุกทิพาราตรีกาล เทอญ
นมัสการลา ท่านจิรสกฺโก และเจริญพรญาติโยมทุกคน

ครับ นมัสการครับ นมัสการลาครับ
การสนทนาเหลืออีกสองครั้งนะเจ้าคะ
กราบขอบพระคุณมากเจ้าค่ะ

ขอบคุณค่ะ
ท้ายสุดนี้ ขอให้คุณพระ (ธรรม) คุ้มครองทุกท่าน....นะค่ะ

.............................................




๑. วิ.ม.อ.๑ หน้า ๑๘๖ , วิสุทธิมรรค
[สังสารวัฏ (วงเวียน) อันไม่ปรากฏที่สิ้นสุด เรียกว่าสังสารจักร ก็แลอวิชชา นับว่าเป็นดุมของสังสารจักรนั้น เพราะเป็นต้น(เหตุ) ชรามรณะนับว่าเป็นกง เพราะเป็นปลาย(เหตุ) ธรรมที่เหลือ ๑๐ ข้อนับเป็นซี่กำ เพราะมีอวิชชาอยู่ต้นและเพราะมีชรามรณะอยู่ปลาย ในธรรมเหล่านั้น
อนึ่ง ในธรรมเหล่านั้น ด้วยถือเอา (คือกล่าวถึง) อวิชชา สังขาร ก็เป็นอันถือเอา (คือกินความถึง) ตัณหาอุปาทาน ภพ (ซึ่งเป็นเหตุคือเป็นกิเลสและกรรมด้วยกัน) ด้วย เพราะฉะนั้น ธรรม ๕ ประการนี้ จึงจัดเป็นกรรมวัฏในอดีต
ธรรม ๕ มีวิญญาณ เป็นต้น (คือ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา) จัดเป็นวิปากวัฏในกาลบัดนี้
ด้วยถือเอา (คือกล่าวถึง) ตัณหา อุปาทาน ภพ ก็เป็นอันถือเอา (คือกินความถึง) อวิชชา สังขารด้วย เพราะฉะนั้น ธรรม ๕ ประการนี้จึงเป็นกรรมวัฏในกาลบัดนี้ (ด้วย)
ธรรม ๕ ประการนี้ (คือ วิญญาณ ฯลฯ เวทนา)จัดเป็นวิปากวัฏในกาลต่อไป (ด้วย) … ]
[วัฏฏะ (วงกลม) ๓] ส่วนในข้อว่า 'ภวจักรมีวัฏฏะ ๓ หมุนไปไม่หยุด'
นี้มีอรรถาธิบายว่า ภวจักรนี้มีวัฏฏะ ๓ โดยวัฏฏะ ๓ นี้ คือ สังขารและภพ เป็นกรรมวัฏ
อวิชชาตัณหาอุปาทานเป็นกิเลสวัฏ วิญญาณนามรูป สฬายตนะผัสสะเวทนาเป็นวิปากวัฏ พึงทราบเถิดว่ากิเลสวัฏยังไม่ขาดลงตราบใด
ก็ชื่อว่าหมุน เพราะเป็นไปรอบแล้วรอบเล่า ชื่อว่าไม่หยุด เพราะมีปัจจัยยังไม่ขาดลงตราบนั้นอยู่นั่นเอง…

๒. องฺ.ปญฺจ.๒๒/๓๓๔/๓๖๘ นิพเพธิกสูตร

๓. อภิ.สํ.อ.๗๖ หน้า ๑๕๔
[บรรดาบทอัพยากฤตเหล่านั้น บทว่า กิริยา ได้แก่ สักว่ากระทำ. จริงอยู่ ในกิริยาจิตทุกดวงทีเดียว กิริยาจิตใดไม่ถึงความเป็นชวนะ กิริยาจิตนั้นย่อมไม่มีผล เหมือนดอกไม้ลม* กิริยาจิตใดถึงความเป็นชวนะ กิริยาจิตนั้นก็ไม่มีผล เหมือนดอกไม้ที่ต้นมีรากขาดแล้ว ย่อมเป็นเพียงการกระทำเท่านั้น เพราะเป็นไปด้วยอำนาจยังกิจนั้นๆ ให้สำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า กิริยา (การกระทำ).]
อภิ.สํ.อ.๗๖ หน้า ๑๕๖
[ว่าด้วยมโนวิญญาณธาตุเป็นกิริยาจิตสหรคตด้วยโสมนัส จิตนี้ในพระบาลีว่า มโนวิญฺญาณธาตุ อุปฺปนฺนา โหติ ฯเปฯ โสมนสฺสสหคตา (มโนวิญญาณเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส) ดังนี้ เป็นจิตเฉพาะบุคคล ไม่ทั่วไปแก่สัตว์เหล่าอื่นนอกจากพระขีณาสพเท่านั้น ย่อมได้ในทวาร ๖.
          จริงอยู่ ในจักขุทวาร พระขีณาสพเห็นที่อันสมควรแก่การทำความเพียรย่อมถึงโสมนัสด้วยจิตนี้. ในโสตทวาร ท่านถึงที่ซึ่งควรแก่การจำแนกแจกภัณฑะ เมื่อบุคคลผู้ละโมบทำเสียงดังถือเอาอยู่ ท่านก็ถึงโสมนัสด้วยจิตนี้ว่า ตัณหาเป็นเหตุให้หวั่นไหวชื่อเห็นปานนี้เราละได้แล้วดังนี้. ในฆานทวาร เมื่อพระขีณาสพบูชาพระเจดีย์ด้วยของหอม หรือดอกไม้ก็ถึงโสมนัสด้วยจิตนี้. ในชิวหาทวาร พระขีณาสพแบ่งบิณฑบาตที่ถึงพร้อมด้วยรสที่ได้มาฉันอยู่ ก็ถึงโสมนัสด้วยจิตนี้ว่า สาราณิยธรรม (ธรรมที่ควรระลึกถึง) เราบำเพ็ญแล้วหนอ ดังนี้. ในกายทวาร พระขีณาสพบำเพ็ญอภิสมาจาริกวัตรอยู่ ก็ถึงโสมนัสด้วยนี้ว่า ก็วัตรของเราเต็มรอบแล้ว ดังนี้ พระขีณาสพย่อมได้ในปัญจทวารอย่างนี้ก่อน.
แต่ในมโนทวารจิตของพระขีณาสพย่อมเกิดขึ้นปรารภอดีตและอนาคต จริงอยู่ พระตถาคตทรงระลึกถึงเหตุที่ทรงกระทำแล้วในครั้งที่พระองค์เสวยพระชาติเป็นโชติปาละ เป็นท้าวมฆเทวราช และเป็นกัณหดาบสเป็นต้น จึงทรงกระทำการแย้มให้ปรากฏ ก็การระลึกนั้นเป็นกิจ (หน้าที่) ของบุพเพนิวาสญาณ และสัพพัญญุตญาณ ก็ในเวลาสิ้นสุดแห่งความเป็นไปของญาณทั้งสองเหล่านั้น จิตดวงนี้ย่อมเกิดร่าเริง. ในอนาคต พระองค์ก็ได้ทรงทำการแย้มให้ปรากฏว่า จักมีพระปัจเจกพุทธะ มีเสียงดังเสียงพิณ มีเสียงดังตะโพน ดังนี้ ก็การระลึกนั้นเป็นกิจของอนาคตังสญาณ และสัพพัญญุตญาณ ก็ในเวลาสิ้นสุดแห่งความเป็นไปของญาณทั้งสองเหล่านั้น จิตนี้ย่อมเกิดร่าเริง.]

๔. องฺ.จตุก.๒๑/๒๓๒/๒๑๙ สังขิตตสูตร, องฺ.จตุก.อ.๓๕ หน้า ๕๘๓
[บทว่า กณฺหํ ได้แก่ กรรมดำ คือ อกุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า กณฺหวิปากํ ได้แก่ มีวิบากดำ เพราะให้เกิดในอบาย. บทว่า สุกฺกํ ได้แก่ กรรมขาว คือ กุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า สุกฺกวิปากํ ได้แก่ มีวิบากขาว เพราะให้เกิดในสวรรค์. บทว่า กณฺหํ สุกฺกํ ได้แก่ กรรมคละกัน. บทว่า กณฺหสุกฺกวิปากํ ได้แก่ มีวิบากทั้งสุขและทุกข์. จริงอยู่ บุคคลทำกรรมคละกันแล้ว เกิดในกำเนิดเดียรัจฉานด้วยอกุศลในฐานะเป็นมงคลหัตถีเป็นต้น
เสวยสุขในปัจจุบันด้วยกุศล. บุคคลเกิดแม้ในราชตระกูลด้วยกุศล ย้อมเสวยทุกข์ในปัจจุบันด้วยอกุศล. บทว่า อกณฺหํ อสุกฺกํ ท่านประสงค์เอามรรคญาณ ๔ อันทำกรรมให้สิ้นไป. จริงอยู่ กรรมนั้นผิว่าเป็นกรรมดำ ก็พึงให้วิบากดำ ผิว่าเป็นกรรมขาว พึงให้วิบากขาว แต่ที่ไม่ดำ ไม่ขาว เพราะไม่ให้วิบากทั้งสอง ดังกล่าวมานี้เป็นใจความในข้อนี้.]

๕. สํ.ม.๑๙/๙๐๐/๒๒๔ สํ.ม.อ.๓๑ หน้า ๓๓
[ก็แล เอกพีชีบุคคล เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์ ๓ หมดไปอย่างสิ้นเชิง จึงเป็นพระโสดาบัน ซึ่งไม่มีความตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ มุ่งหน้าแต่จะตรัสรู้ ท่องเที่ยวไปสู่ภพมนุษย์อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า เอกพีชี.
          ส่วนบุคคลใด ท่องเที่ยวไปสองสามภพแล้ว จึงจะทำที่สุดทุกข์ได้ บุคคลนี้ชื่อ โกลังโกละ ผู้ออกจากตระกูลไปสู่ตระกูล. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ก็แล โกลังโกลบุคคล เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เพราะสังโยชน์ ๓ หมดไปอย่างสิ้นเชิง จึงเป็นพระโสดาบัน ซึ่งไม่มีความตกต่ำเป็นธรรมดา แน่นอนมุ่งหน้าแต่จะตรัสรู้ เขาเที่ยววิ่งไปอีกสองหรือสามตระกูลแล้ว จึงจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า โกลังโกละ.
          พึงทราบว่า ตระกูล ในพระพุทธดำรัสนั้น ได้แก่ ภพ. และคำว่า สองหรือสาม นี้ สักว่าเป็นการแสดงในที่นี้เท่านั้น เพราะผู้ท่องเที่ยวไปจนถึงภพที่ ๖ ก็ยังเป็นโกลังโกละอยู่นั่นเอง.
          ผู้ที่เกิดขึ้นอีกอย่างมากก็แค่เจ็ดครั้ง ไม่ถือเอาภพที่แปดนี้ชื่อ สัตตักขัตตุปรมะ มีเจ็ดครั้งเป็นอย่างยิ่ง สมดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ก็แล สัตตักขัตตุปรมบุคคล เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไปอย่างสิ้นเชิง จึงเป็นพระโสดาบัน ที่ไม่มีความตกต่ำเป็นธรรมดาเป็นผู้แน่นอน มุ่งหน้าแต่จะตรัสรู้ เขาท่องเที่ยวไปสู่เทพและมนุษย์ อีก ๗ ครั้งแล้ว จึงจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า สัตตักขัตตุปรมะ.]

๖. ม.มู.๑๒/๒๘๘/๑๙๕

๗. ม.มู.๑๒/๑๕๖/๙๒ อภิ.วิ.๓๕/๙๖๓/๔๕๗

๘. อภิ.สํ.๗๕ หน้า ๖๓๔ และ สงฺคห ธัมมสังคณี ทสฺสนติก และอุปาทานโคจฺฉก
[ก็ถ้าพระโสดาบันจักไม่เจริญให้โสดาปัตติมรรคเกิดแล้ว ความเป็นไปแห่งอุปาทินนกขันธ์ ก็พึงเป็นไปในสังสารวัฏอันมีเบื้องต้นและที่สุดที่บุคคลรู้ไม่ได้แล้ว เว้นไว้ ๗ ภพ. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุแห่งความเป็นไปของอุปาทินนกขันธ์นั้นยังมีอยู่ ก็โสดาปัตติมรรคเมื่อเกิดขึ้นนั่นแหละย่อมถอนขึ้นซึ่งกิเลส ๕ เหล่านี้ คือ สัญโญชน์ ๓ อย่าง ทิฏฐานุสัย และวิจิกิจฉานุสัย บัดนี้ ความเป็นไปแห่งอุปาทินนกะ จักเป็นในสังสารวัฏที่มีเบื้องต้นและที่สุด ซึ่งบุคคลรู้ไม่ได้แล้วของพระโสดาบันเว้น ๗ ภพแต่ที่ไหน. โสดาปัตติมรรคเมื่อกระทำความเป็นไปแห่งอุปาทินนกขันธ์ไม่ให้เป็นไป ชื่อว่า ย่อมออกจากอุปาทินนกขันธ์ ด้วยประการฉะนี้. ...
ถ้าพระอรหันต์จักไม่อบรมอรหัตมรรคให้เกิดไซร้ ความเป็นไปแห่งอุปาทินนกขันธ์ ก็พึงเป็นไปในรูปภพและอรูปภพ เพราะเหตุไร? เพราะเหตุทั้งหลายแห่งความเป็นไปในอุปาทินนกขันธ์ยังมีอยู่. ก็อรหัตมรรคนั้นเมื่อเกิดขึ้นนั่นแหละ ย่อมถอนขึ้นซึ่งกิเลส ๘ เหล่านี้ คือ รูปราคะ๑ อรูปราคะ๑ มานะ๑ อุทธัจจะ๑ อวิชชา๑ มานานุสัย๑ ภวราคานุสัย๑ อวิชชานุสัย๑. บัดนี้ ปวัตตะแห่งอุปาทินนกขันธ์ ของพระขีณาสพจักเป็นไปในภพใหม่ได้แต่ที่ไหน. อรหัตมรรคเมื่อกระทำปวัตตะแห่งอุปาทินนกขันธ์ไม่ให้เป็นไป
นั่นแหละ ชื่อว่า ย่อมออกจากอุปาทินนกขันธ์ ด้วยประการฉะนี้.
ก็บรรดามรรคทั้ง ๔ เหล่านั้น โสดาปัตติมรรคย่อมออกจากอบายภพ สกทาคามิมรรคย่อมออกจากเอกเทศแห่งสุคติกามภพ อนาคามิมรรคย่อมออกจากกามภพ อรหัตมรรคย่อมออกจากรูปภพและอรูปภพ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อรหัตมรรคย่อมออกแม้จากภพทั้งปวง ดังนี้ทีเดียว.]

๙. สํ.ข.๑๗/๕๓/๒๕




Create Date : 01 มกราคม 2551
Last Update : 2 มกราคม 2551 21:40:53 น. 0 comments
Counter : 327 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กลุ่มต้นธรรม
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




* * * * * * * * * * * * * * * * * * *

อันเวลาอันนับไม่ได้ที่เราหมักหมมมานานแสนนานแล้วนั้นถ้าเราไม่เริ่มรู้เราก็ไม่เริ่มตัด ถ้าไม่ตัดก็ไม่เห็นปลาย และเวลาอันนับไม่ได้นั้นก็เป็นปลายที่ยังอยู่
web site hit counter
We keep fighting fires because we keep adding fuel.
We truly putout fires only when we remove their fuel.

ถึงโลกกว้างไกล ใครๆ รู้
โลกภายในลึกซึ้งอยู่ รู้บ้างไหม
มองโลกภายนอก มองออกไป
มองโลกภายใน คือใจเรา

Friends' blogs
[Add กลุ่มต้นธรรม's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.