εїз ต้นธรรม εїз เติบโตงดงามด้วยคุณธรรม
แหงนหน้ามองขึ้นใปจากโคนต้น เห็นรูปทรงแผ่ระย้ากิ่งสาขา จากร่มเงาแต่ละใบที่ได้มา เกิดจากว่าผู้มีใจไฝ่ในบุญ
Group Blog
 
All blogs
 

มีอะไรที่เป็นนิรันดรไหม 490702

สากัจฉาธรรม Online เรื่อง มีอะไรที่เป็นนิรันดรไหม
(เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๔๙)
เราทำอะไรอยู่ด้วยจิตที่ติดอยู่ says:
มีน้องเพิ่งถามมาว่า มีอะไรที่เป็นนิรันดร์ไหม

พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
นิรันดร์หรือ มีจ๊ะ นิพพาน

น้องเป็นธรรมกายค่ะ แดนนิพพานเขาเอาข้าวถวายพระพุทธเจ้าได้
ไม่มีในพระไตรปิฎก
ที่เป็นนิรันดร์ ก็คือ อสังขตธรรม ใช่ไหมเจ้าคะ (สะกดผิดหรือเปล่า)
สะกดถูกแล้ว คำว่า นิรันดร์ แปลว่า ไม่มีระหว่างคั่น ติดต่อกันไป ต่อเนื่อง ไม่ขาดสาย (นิร ไม่, อนฺตร ระหว่าง ช่องว่าง)
สิ่งทั้งหลายในโลกนี้มีลักษณะเป็นสังขตธรรม
คำว่า สังขตธรรม
(๑) คือ สิ่งทั้งหลายที่อาศัยปัจจัยปรุงแต่ง (ได้แก่ทุกสิ่งในโลกนี้) ฉะนั้น เมื่ออาศัยเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ก็แปรเปลี่ยนไปตามเหตุตามปัจจัย ซึ่งหมายถึงว่า ตั้งอยู่เช่นเดิมไม่ได้ ก็คือมีการเกิดดับนั่นเอง
การเกิดดับเมื่อรวดเร็วมากจนเรามองไม่เห็น เราก็เห็นเฉพาะการเกิดดับที่ต่อเนื่อง สืบเนื่องกันไปเป็นสาย มองเห็นเป็นการเปลี่ยนแปลง แต่ความจริงแล้วมันคือการเกิดดับที่รวดเร็วมากต่างหาก แต่เร็วมากจนเรามองไม่เห็น เห็นได้เฉพาะลักษณะที่สิ่งนั้นเกิดใหม่ เกิดใหม่ เปลี่ยนลักษณะเรื่อยไปทีละน้อยอย่างต่อเนื่อง
จนเห็นเป็นการเคลื่อนที่หรือการเปลี่ยนแปลงขึ้นมา
ฉะนั้น สังขตธรรมทั้งหลายจึงไม่เที่ยงแท้แน่นอน เพราะต้องแปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย จึงมีลักษณะความเป็น นิรันดร ไม่ได้นั่นเอง
ส่วน อสังขตธรรม นั้นหมายถึง สิ่งทั้งหลายที่ไม่อาศัยปัจจัยปรุงแต่ง หรือไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ไม่ได้ตั้งอยู่เพราะอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง ซึ่งก็หมายถึง พระนิพพาน นั่นเอง
สภาพของนิพพานนั้น พ้นจากเหตุจากปัจจัย ฉะนั้น จึงไม่ถูกกระทบด้วยเหตุปัจจัยให้ต้องเปลี่ยนแปลงไปหรือเกิดดับไป ตามแรงแห่งการกระทบนั้น ฉะนั้น สภาพนิพพานจึงมีอยู่ คงอยู่ ตั้งอยู่ ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด
พระพุทธองค์จึงทรงแสดงไว้ว่า นิพพานนั้นเที่ยง นิพพานนั้นเป็นสุข แต่นิพพานนั้นก็ยังคงเป็นอนัตตา (ในส่วนนี้ต้องอธิบายกันต่อไป ที่ว่าทำไมนิพพานจึงเป็นอนัตตา)
ความจริง หากเราเข้าใจแล้วว่า เพราะเหตุที่สังขตธรรมคือสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่งทั้งหลายนั้น เป็นอนัตตา เพราะความที่ต้องถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฉะนั้น จึงไม่อาจตั้งอยู่ คงรูปอยู่ชั่วนิรันดร์ได้ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไป ตามเหตุตามปัจจัย ตามธรรมชาติที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ฉะนั้น จึงไม่อาจให้อยู่ในอำนาจของใครของผู้ใด ที่จะเข้าไปบังคับบัญชาให้เป็นไปอย่างใจปรารถนาได้ (ในส่วนนี้คิดว่าคงเข้าใจดีแล้ว)
แต่ในส่วนที่ว่าทำไมนิพพานจึงเป็นอนัตตานั้น ? เป็นสิ่งที่มีความซับซ้อนเล็กน้อย เพราะคนส่วนใหญ่เข้าใจว่า สังขตธรรม เป็นไปตามเหตุปัจจัย จึงไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มิใช่ตัวตน
(๒) แต่ทีนี้ อสังขตธรรม ซึ่งหมายถึง นิพพาน นั้น เมื่อไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ไม่ต้องถูกกระทบด้วยเหตุปัจจัย จึงควรเที่ยง เป็นสุข และเป็นตัวตน คือควบคุมได้ดังใจเราปรารถนาสิ (คนทั่วไปคิดอย่างนั้น)
การจะเข้าใจภาวะนิพพานนั้น ปุถุชนไม่อาจรู้ได้ แต่ก็จะขอยกพระบาลีขึ้นมาแสดงให้เห็นก่อนว่าทรงแสดง นิพพานว่าเป็นอนัตตา ไว้อย่างไร
“สังขารทั้งปวงอันปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นิพพานและบัญญัติเป็นอนัตตา วินิจฉัยมีดังนี้”
(๓)
และควรทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างสังขตธรรมและอสังขตธรรมคือนิพพานดังนี้ คือ

ความสุขจะเกิดขึ้นได้อย่างไรเจ้าคะในเมื่อดับไม่มีเหลือแล้ว
ความสุขที่คุณถามถึงนั้น สำหรับภาวะนิพพาน ท่านหมายถึง ความสุขเพราะไม่มีทุกข์เหลือเลยเท่านั้น ไม่ใช่สุขเวทนาที่เรารู้สึกสุขได้ ยก ตย. เช่น ขณะที่เราหลับสนิท เราไม่รู้ว่ามีความรู้สึกอะไร สุขหรือทุกข์ แต่เรากลับเรียกการหลับนั้นว่าเป็นสุข มีความสบาย เพราะไม่ต้องเป็นทุกข์ใดๆ ทั้งกายและใจ คือสุขเพราะเกิดความสงบ หรือสงบสุข นั่นเอง
งั้นก็คือ สุขแบบที่ไม่มีทั้งสุขและทุกข์ (เพราะจริงๆแล้ว ความสุขก็นำความทุกข์มาให้ด้วย)
จ๊ะ ใช่จ๊ะ คุณยังจำที่เราสนทนากันเรื่อง ‘ความสุขที่แท้จริง’ ที่วัดญาณฯ ได้ไหม นั่นแหละ กามสุข ความสุขที่ต้องอาศัยความทุกข์เป็นพื้นฐานนั่นเอง
เจ้าค่ะ สุข ถ้าให้เกิด ต้องอาศัยทุกข์ และเมื่อเกิดแล้ว ก็มีทุกข์ตามมาทุกครั้ง(หรือเปล่าเจ้าคะ)
ไม่ใช่สิ มีสุขของผู้ที่ไม่มีตัณหา ถึงจะไม่มีทุกข์ตามมา แต่มีผู้รับรู้เหรอเจ้าคะ คือยังมีตัวเราอยู่เหรอ ท่านว่าจิตดวงสุดท้ายดับไปเลย ที่ได้ยินมาถูกไหมเจ้าคะ

นิพพาน ไม่ใช่ สุขเวทนานะ แต่เป็นสันติสุข (คือสุขจากความสงบ) สงบจากทุกข์กายและทุกข์ใจ เพราะไม่มีทั้งกายและใจให้ต้องเป็นทุกข์นั่นเอง
ดับไปเลย เป้เข้าใจถูกใช่ไหมเจ้าคะว่า จิตดวงสุดท้ายดับไปเลย ไม่มีปฏิสนธิจิตเกิดต่ออีก
จ๊ะ ถูกต้อง จิตดวงสุดท้ายที่เรียกว่าจุติจิตของพระอรหันต์ดับแล้วไม่เกิดอีก ในที่นี้ต้องเข้าใจนะว่า จิตนั้นเกิดดับ เกิดดับ ไม่สิ้นสุดเรื่อยไป ตราบใดที่ยังมีปัจจัย คือกิเลสที่ต้องการแสวงหาภพใหม่อยู่
และจิตนั้นเมื่อไม่มีปัจจัยคือกิเลสที่ต้องการแสวงภพหรือต้องการสิ่งใดๆ ในภพอีก จุติจิตของพระอรหันต์ เมื่อดับแล้วจึงไม่มีปัจจัยให้เกิดต่อ
ตอนนี้การจะเข้าใจภาวะแห่งนิพพานธาตุนั้น ต้องนำเอาพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงมาเปรียบเทียบให้เห็นดังนี้ คือ
พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า "นิพพานนั้นไม่มีดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณ ไม่มีโลกนี้ โลกหน้า ไม่มีพระจันทร์ พระอาทิตย์ และไม่มีอารมณ์ใดๆ ที่พระนิพพาน"
(๔)
ว่างเปล่า ไม่มีอะไรเลย แม้แต่พื้นที่ และเวลา
นั่นหมายถึงว่า ไม่มีอะไรๆ เลยในนิพพานธาตุนั้น คือ ว่างเปล่าจากสังขารทั้งหลายนั่นเอง (สุญโญ) ฉะนั้น จึงไม่มีทั้งรูปธรรม (ดิน น้ำ ลม ไฟ) และนามธรรม (คือ วิญญาณ และอารมณ์) ในนิพพานนั้น
จะพูดถึงว่า หายวั๊บไปเลย?? รูปก็กองอยู่ตรงนั้น แต่สิ่งสืบต่อไม่มีปรากฏอีกต่อไปแล้ว?
หายวั๊บไปหรือ? พูดอย่างนี้อาจจะถูกนักตรรกะกล่าวแย้งได้ว่าเป็นลัทธิ “อุจเฉททิฏฐิ” คือ ขาดสูญ (๕) ฉะนั้นจึงยังไม่ถูกนักในแง่ภาษา ต้องพูดใหม่(เพื่อไม่ให้ใครอาจแยังได้) ว่า ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณ ประกอบขึ้นจากเหตุปัจจัย (คืออวิชชาและตัณหา) ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณ นั้น เมื่อรวมกันเข้าแล้วเพราะเหตุปัจจัย ก็แยกกันแล้วเพราะหมดเหตุหมดปัจจัย อย่างนี้จึงจะถูกต้อง (มิใช่ว่า มีแล้วไม่มี หรือเกิดมีแล้วดับสูญไป อย่างนี้ยังไม่ถูกต้องนัก) อันนี้เป็นปัญหาในเชิงวิชาการทางศาสนาที่ซับซ้อน ตอนนี้จะมาประมวลเข้าด้วยกันล่ะนะ
เนื่องจาก พระนิพพาน นั้น เป็นสภาวะที่ไม่มีรูปธรรมและนามธรรมปรากฏอยู่ แต่นิพพานนั้นมีอยู่โดยตัวมันเอง คือ นิพพานนั้นมีอยู่ แต่ทว่า ในนิพพานนั้นไม่มีอะไรอยู่ คือ ไม่มีอารมณ์ใดๆ (อารมณ์ในที่นี้คือความหมายในทางบาลีว่า สิ่งที่จิตรับรู้ได้) ซึ่งก็หมายถึงในนิพพานไม่มีอะไรที่จิตจะเข้าไปรู้ไปเห็นได้ คือ เป็นสุญญตา เป็นความว่าง แต่ทว่า! นิพพานนั้นกลับเป็น ‘อารมณ์’
ตรงนี้สำคัญนะ นิพพานไม่มีอารมณ์ แต่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า นิพพานนั้นเป็นอารมณ์ คือเป็น ธรรมารมณ์ คือเป็นอารมณ์ที่จิตรู้ได้ คือ จิตรู้ภาวะนิพพานได้ รู้ความว่างของนิพพานได้นั่นเอง
(๖)
ฉะนั้น แม้นิพพานจะเป็นอสังขตธรรม คือ ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง จะเที่ยง เป็นสุข แต่ที่นี้ก็ยังไม่อาจเป็น ‘อัตตา’ ได้ เพราะในนิพพานนั้นไม่มีอะไรๆ ให้จับยึดเอาเป็นอัตตา เป็นตัวเป็นตนได้นั่นเอง
แต่ถ้าหากว่าในนิพพานนั้นมีตัวมีตนนี่สิ คือ มีรูปธรรมนามธรรมอยู่ในนิพพานนั้นได้จริงๆ อันนี้ล่ะ ย่อมจะทำให้ นิพพานนั้นเที่ยง เป็นสุข และเป็นตัวตน
แต่ทว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะมีรูปธรรมนามธรรมในนิพพานนั้น เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ก็เป็นอันว่า พระพุทธพจน์ก็เป็นเท็จ หรือพระพุทธเจ้าทรงตรัสผิดไป
เพราะการกล่าวว่ามีอะไรๆ ในนิพพานนั้น ย่อมขัดแย้งต่อพระพุทธพจน์ เช่น กล่าวว่า “มีพระพุทธเจ้าในพระนิพพาน” ย่อมเป็นสัทธรรมปฏิรูป คือ เป็นการบิดเบือนหรือกล่าวตู่พระพุทธพจน์นั่นเอง ‘ทั้งที่พระพุทธเจ้ามิได้ทรงแสดงอย่างนั้น แต่กลับกล่าวว่า นั่นเป็นหลักการของพระพุทธศาสนา’ ซึ่งถือเป็นบาปอย่างยิ่ง
ดังพุทธพจน์ที่ตรัสว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ”
(๔)
สรุปว่า เพราะนิพพานไม่มีอะไรไปเกิด(อุบัติ) ฉะนั้น นิพพานจึงไม่มีอะไรไปดับ(จุติ) เพราะนิพพานนั้นหาที่ตั้งที่อาศัยมิได้ นิพพานเป็นสภาวะที่ว่างจากตัวตน จากรูปธรรมและนามธรรม ฉะนั้นจึงไม่อาจมีอะไรๆ หรือแม้แต่จิตไปเกิดได้
พระพุทธองค์ทรงแสดงนิพพานนั้นว่า มี ๒ ความหมาย
(๗) คือ
๑. ภาวะที่กิเลสนั้นหมดสิ้นไปของพระอรหันต์ทั้งหลายซึ่งยังมีชีวิตอยู่ (สอุปาทิเสส นิพพาน) เรียกให้เข้าใจง่ายๆ ว่า “กิเลสนิพพาน”
๒. การดับขันธปรินิพพาน(สิ้นชีวิต)ของพระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นการดับรอบทั้งกิเลสและเบญขันธ์ (อนุปาทิเสสนิพพาน) เรียกให้เข้าใจง่ายๆ ว่า “ขันธ ปรินิพพาน”
การบรรลุถึงภาวะนิพพานหรือการเข้าไปรู้ถึงอารมณ์แห่งพระนิพพานนั้นก็มีด้วยกัน ๒ ลักษณะ คือ
๑. การที่จิตเข้าไปรู้ภาวะนิพพานในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่น การที่พระอริยบุคคลทั้งหลายในขณะที่ได้บรรลุธรรม (บรรลุมรรคผล) ได้รับนิพพานมาเป็นอารมณ์ ซึ่งก็คือการเข้าไปรู้ภาวะแห่งการดับสังขาร ซึ่งมีความว่าง(จากพระนิพพาน) เป็นอารมณ์ และ
๒. การบรรลุถึงภาวะแห่งนิพพานธาตุของพระอรหันต์ทั้งหลาย เมื่อท่านดับขันธ ปรินิพพานไปแล้ว [หมายถึง ความเป็นไปหลังจากที่พระอรหันต์ถึงแก่ความตายนั่นเอง]
ก็คือ ดิน ก็คืนกลับสู่ดิน น้ำ ก็คืนกลับสู่น้ำ ลม ก็คืนกลับสู่ลม ไฟ ก็คืนกลับสู่ไฟ อากาศ ก็คืนสู่อากาศ (ทั้งห้านี้เป็นรูปธรรม) วิญญาณเมื่อดับแล้วไม่มีปัจจัยให้เกิดอีก ก็ไม่เกิดอีก (สิ่งที่หกนี้เป็นนามธรรม)
ฉะนั้น สิ่งทั้งหลายก็กลับคืนสู่ธรรมชาติ เพราะอวิชชาสิ้นไป ตัณหาสิ้นไป อาสวะสิ้นไป ไม่มีการเกาะเกี่ยวกับสิ่งใดๆ ภพใดๆ อีก เกิดแล้วก็ดับไป แตกสลายแล้วก็คืนสู่ธรรมชาติ จึงเป็นภาวะที่สงบเย็นอย่างแท้จริง เพราะไม่มีรูปธรรมที่ต้องเป็นทุกข์อีก ไม่มีนามธรรมที่ต้องเป็นทุกข์ เป็นอันจบสิ้นไปแห่งสังสารวัฏฏ์อันยาวนานเหลือคณานับ อันไม่รู้เบื้องต้นเบื้องปลาย ที่ต้องผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านการร้องไห้ เสียน้ำตา มาแล้วไม่รู้สิ้นสุด แต่บัดนี้ กลับดับสนิท เป็นความเย็น เป็นความสงบอย่างแท้จริง ไม่ต้องเวียนว่ายไปในวัฏฏสงสารอันยาวนานอีก
สมกับพุทธวจนะที่ตรัสว่า
“นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
(๘)
นี้แลความสุขที่แท้จริง อันเป็นบรมธรรม ประเสริฐกว่าทุกสิ่งในสากลจักรวาล อันเป็นที่หมายของชาวพุทธทุกคน ผู้ที่ขนขวายในการศึกษาปฏิบัติเพื่อเข้าถึงภาวะนิพพานนี้ อันเป็นความดับสนิทแห่งทุกข์ทั้งปวงอย่างแท้จริง
ดังพวกเราชาวพุทธทั้งหลายได้ตั้งปณิธานในการกระทำความดีเจริญกุศลเสมอว่า
“นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ”

‘(ธรรมทั้งปวงนี้) จงเป็นปัจจัยแก่พระนิพพาน’

…………………………………………



๑ อภิ.สํ.๓๔/๗๐๒/๒๔๗
๒ องฺ.ติก.๒๐/๕๗๖/๒๗๓
[ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดาก็คงตั้งอยู่อย่างนั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ... ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯ
องฺ.ติก.อ.๓๔ หน้า ๕๗๕
[บทว่า ธมฺมฏฐิตตา ได้แก่ ภาวะที่ทรงตัวอยู่ได้เองตามสภาพ. บทว่า ธมฺมนิยามตา ได้แก่ ความแน่นอนโดยสภาพ. บทว่า สพฺเพ สงฺขารา ได้แก่ สังขารอันเป็นไปในภูมิ ๔. บทว่า อนิจฺจา ความว่า ชื่อว่า อนิจฺจา ด้วยอรรถว่า เป็นแล้วกลับไม่เป็น. บทว่า ทุกฺขา ความว่า ชื่อว่าทุกข์ ด้วยอรรถว่า บีบคั้นเสมอ. บทว่า อนตฺตา ความว่า ชื่อว่า อนตฺตา เพราะอรรถว่า ไม่เป็นไปตามอำนาจ.]
๓ วิ.ปริ.๘/๘๒๖/๒๒๔ ที่มิได้ตรัสไว้โดยตรง เช่น ม.อุ.๑๔/๒๔๕/๑๓๖ ขุ.ปฏิ.๓๑/๕๔๖/๒๕๖
และที่ตรัสว่าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เช่น สํ.ข.๑๗/๒๓๓/๑๒๘
อรรถกถา เช่น ขุ.ปฏิ.อ.๖๘ หน้า ๑๗๒
[ชื่อว่า อนิจจา-ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่า มีแล้วกลับไม่มี.ชื่อว่า ทุกขา-เป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า เบียดเบียน. คำว่า สพฺเพ ธมฺมา-ธรรมทั้งปวง ท่านกล่าวรวมเอาพระนิพพานเข้าไว้ด้วย. ชื่อว่า อนัตตา เพราะอรรถว่า ไม่เป็นไปในอำนาจ.]
๔ ขุ.อุ.๒๕/๑๕๘-๑๖๑/๑๔๓-๕
[ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะวิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้าพระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสองย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอาตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ]
[ฐานะที่บุคคลเห็นได้ยากชื่อว่านิพพาน ไม่มีตัณหา นิพพานนั้นเป็นธรรมจริงแท้ ไม่เห็นได้โดยง่ายเลย ตัณหาอันบุคคลแทงตลอดแล้ว กิเลสเครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้รู้ ผู้เห็นอยู่ ฯ]
[ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้วอันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ฉะนั้น การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้วจึงปรากฏ ฯ]
[ความไม่หวั่นไหวย่อมมีแก่บุคคลผู้อันตัณหาและทิฐิอาศัย ย่อมไม่มีแก่ผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยเมื่อความหวั่นไหวไม่มี ก็ย่อมมีปัสสัทธิ เมื่อมีปัสสัทธิ ก็ย่อมไม่มีความยินดี เมื่อไม่มีความยินดี ก็ย่อมไม่มีการมาการไป เมื่อไม่มีการมา การไป ก็ไม่มีการจุติและอุปบัติ เมื่อไม่มีการจุติและอุปบัติ โลกนี้โลกหน้าก็ไม่มี ระหว่างโลกทั้งสองก็ไม่มี นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ]
๕ สํ.ข.๑๗/๑๘๐/๙๖
๖ ม.อุ.๑๔/๒๔๕/๑๓๖
[ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ (๑) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ (โสดาบันบุคคล) พึงเข้าใจสังขารไรๆ โดยความเป็นของเที่ยง นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชน พึงเข้าใจสังขารไรๆ โดยความเป็นของเที่ยง นั้นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ
(๒) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ พึงเข้าใจสังขารไรๆ โดยความเป็นสุข นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชนพึงเข้าใจสังขารไรๆ โดยความเป็นสุขนั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ
(๓) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ พึงเข้าใจธรรมไรๆ โดยความเป็นอัตตา นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชนพึงเข้าใจธรรมใดๆ โดยความเป็นอัตตา นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ
…
๗ ขุ.อิติ.๒๕/๒๒๒/๑๙๒
๘ ม.ม.๑๓/๒๘๗/๒๑๖




 

Create Date : 16 มีนาคม 2550    
Last Update : 18 พฤศจิกายน 2550 18:24:07 น.
Counter : 475 Pageviews.  

การถวายสังฆทาน 500127 (การสนทนาธรรมครั้งล่าสุดก่อนที่พระอาจารย์จะอาพาธหนัก)

สนทนาธรรมครั้งนี้เป็นครั้งล่าสุดที่ท่านปิยะลักษณ์ได้ขอพักเบรคเพื่อปฏิบัติธรรมเป็นเวลา 2 เดือน แต่เนื่องด้วยจากว่าท่านมีอาการอาพาธมาก่อนหน้านี้ และทรุดหนักลงทุกที ทำให้ช่วงนี้เป็นช่วงที่ท่านต้องรักษาตัว และคงใช้เวลามากกว่าสองเดือนเพื่อรักษาตัวให้หายดี จะได้สามารถกลับมาสนทนาธรรมต่อ

ด้วยอาการอาพาธของท่านปิครั้งนี้มีทุกขเวทนามากเหลือเกิน ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งจิตอธิษฐาน น้อมกุศลผลบุญที่เคยได้ทำมาในอดีตอันยาวไกลหาที่สุดมิได้ และเช่นกัน ของท่านปิยะลักษณ์เองด้วย อุทิศให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายในทุกขเวทนาที่ท่านปิได้รับนี้ ขอให้ท่านเหล่านั้นอนุโมทนาบุญ ช่วยปัดเป่าทุกขเวทนาทั้งหมดของท่านปิให้สิ้นไป เพื่อที่ท่านปิยะลักษณ์จะได้มีโอกาสปฏิบัติกุศลเหตุและชี้ทางพระนิพพาน อันจะทำให้ทุกๆ ท่านมีความสุขยิ่งๆ กว่านี้

ขอให้ท่านปิพบหนทางรักษาที่ถูกกับโรคในเร็ววันเถิด


Chatธรรมวันเสาร์ เรื่องการถวายสังฆทาน
(เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๐)

ดวงดารามากมาย แต่หาทนอยู่ได้ตลอดไปสั says:
นมัสการท่านปิ ท่านเอก เจ้าค่ะ สวัสดีทุกๆ คนค่ะ

หนูนิดจ๊ะ *-* says:
กราบนมัสการเจ้าค่ะท่านปิ

นอร์ทthe-wealth-societyความมั่งคั่งไม่ใช่เงินตราที่เป็นสื่อกลางของการแลกเปลี่ยนคุณค่า หากแต่คือความสุขต่างหากที่เป็นคุณค่าแท้ says:
นมัสการพระคุณเจ้า และสวัสดีเพื่อนร่วมทางธรรมยามค่ำคืนทุกท่านครับ

ท่านปิบอกว่าพักสายตา 20 นาที ยังไม่มาเลย
วันนี้เป็นวันสุดท้ายนะคะที่ท่านปิจะแสดงธรรม อีกทีคงจะเป็นเดือนเมษาเลยถ้าท่านยังอยู่ ครั้งหน้าจะเป็นพระอีกรูป ได้นิมนต์ท่านไว้แล้ว ท่านใดมีคำถาม ถามได้เลยนะคะ

//gotoknow.org/planet/vacanet says:
กราบนมัสการ พระเอกชัย และพระปิยะลักษณ์นะเจ้าคะ

P*~ I +N~*K :กินอาหารหลากหลายมีผักผลไม้ 5 ชนิดต่อวัน อายุอ่ says:
นมัสการพระคุณเจ้าทั้ง 2

ขออนุญาตสอบถามเรื่องการทำสังฆทานครับ
ค่ะ เชิญถามได้เลยค่ะคุณนอร์ธ
ผมอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง เค้าบอกว่าหากทำสังฆทานจำเป็นต้องมีพระสงฆ์อย่างน้อย 4 รูปขึ้นไป หากน้อยกว่านี้ไม่ถือว่าเป็นการทำสังฆทาน และจะไม่ได้บุญ จริงไหมครับ เพราะปกติผมจะทำสังฆทานพระเพียงรูปเดียวเสมอเลยครับ
เค้ายังบอกอีกว่า พระรูปเดียวก็ได้ แต่ต้องเป็นพระอรหันต์เท่านั้น เลยอยากทราบเพื่อความกระจ่างแจ้งครับ

พระฐานจาโร says:
พระรูปเดียวเป็นการเจาะจงถวาย เรียกว่า ปุคคลิกทาน

กราบนมัสการท่านเอกชัยเจ้าค่ะ
พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
นมัสการท่านเอกชัยครับ สวัสดีจ๊ะทุกคน
แล้วจะได้บุญไหมครับท่าน
เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ความตั้งใจ(เจตนา)เป็นตัวกรรม
ดังนั้น ไม่ว่าท่านจะทำกุศลใด และได้กุศลนั้น ก็ขึ้นอยู่เจตนาค่ะ
นมัสการพระอาจารย์ครับ นิมนต์อธิบายเรื่องสังฆทานครับ
เรื่องของสังฆทาน มี ๒ นัย ที่ต้องพิจารณานะ
นัยที่ ๑ คือ คำว่าสงฆ์ในพระวินัยบัญญัติ
นัยที่ ๒ คือ วิธีการถวายสังฆทานตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง
นัยที่ ๑ เราจะต้องทราบก่อนว่าคำว่า "สังฆทาน" นั้นมาจากศัพท์ ๒ คำ คือ สังฆะ+ทาน
คำว่า ทาน นั้นไม่มีปัญหา แปลว่า การให้ ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า ทานมี ๒ อย่าง
(๑) คือ
๑. อามิสทาน (การให้วัตถุสิ่งของ) และ
๒. ธรรมทาน (การให้ธรรม)
ส่วนอภัยทานนั้น แม้จะใช้คำว่าทานเช่นกัน และพระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงไว้ในพระสูตรด้วย แต่ก็ไม่ได้ทรงจัดไว้เป็นหมวดหมู่ เป็นการกล่าวผ่านไปในที่ทั่วไปเท่านั้น โดยมีความหมายเท่ากับคำว่า เมตตา ส่วนที่จะมีครบทั้ง ๓ นั้นกล่าวไว้ในอรรถกถาเท่านั้น
(๒)
ตอนนี้มาดูคำว่า สังฆะ หรือ สงฆ์ บ้าง คำว่า “สงฆ์” นั้น มี ๒ ความหมาย คือ ความหมายในทางพระวินัยอย่างหนึ่ง และความหมายในทางธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งแตกต่างกัน
คำว่า “สงฆ์” ในทางพระวินัย ท่านใช้คำเต็มๆ ว่า “การกสงฆ์” ซึ่งหมายถึง หมู่สงฆ์ผู้กระทำกิจให้สำเร็จประโยชน์ตามพระวินัยบัญญัติ ซึ่งมีด้วยกันอยู่ ๔ ประเภท
(๓) คือ
๑. จตุวรรค คือ พระภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป เป็นสงฆ์ผู้พร้อมกระทำกิจบางประการให้สำเร็จได้ เช่น การประชุมสงฆ์เพื่อกระทำอุโบสถกรรมทุก ๑๕ วัน(สวดปาฏิโมกข์) เป็นต้น
๒.ปัญจวรรค คือ พระภิกษุตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป เป็นสงฆ์ผู้พร้อมกระทำกิจบางประการให้สำเร็จได้ เช่น การประชุมสงฆ์เพื่อกรานกฐินให้สำเร็จ (โดยนัยแห่งอรรถกถา) หรือการบวชพระในถิ่นที่ขาดแคลนพระภิกษุ(ปัจจันตชนบท) เป็นต้น
๓.ทสวรรค คือ พระภิกษุตั้งแต่ ๑๐ รูปขึ้นไป เป็นสงฆ์ผู้พร้อมกระทำกิจบางประการให้สำเร็จได้ เช่น การประชุมสงฆ์เพื่อทำการบวชพระในถิ่นที่มีพระภิกษุบริบูรณ์(มัชฌิมชนบท) เป็นต้น
๔.วีสติวรรค คือ พระภิกษุตั้งแต่ ๒๐ รูปขึ้นไป เป็นสงฆ์ผู้พร้อมกระทำกิจบางประการให้สำเร็จได้ เช่น การประชุมสงฆ์เพื่อการอัพภาน(แก้อาบัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุ เพื่อรับเข้าหมู่ต่อไป) เป็นต้น
ทั้ง ๔ อย่างนี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นสงฆ์ในทางพระวินัยบัญญัติ เพื่อการกระทำกิจให้ลุล่วงไป เรียกว่า การกระทำสังฆกรรม
ตอนนี้มาดูความหมายในทางธรรมบ้าง คำว่า “สงฆ์” ในทางธรรมนั้น พระพุทธเจ้าตรัสไว้ด้วยกัน ๒ ลักษณะ คือ
๑. สมมติสงฆ์ ซึ่งหมายถึง หมู่แห่งภิกษุทั้งหลายที่ได้อุปสมบทแล้วอย่างถูกต้องตามพระวินัยบัญญัติ
๒. อริยสงฆ์ หรือสาวกสงฆ์ ซึ่งมีด้วยกัน ๒ ประเภท คือ
๒.๑ หมู่แห่งภิกษุผู้ซึ่งได้บรรลุคุณธรรมชั้นสูง เป็นอริยบุคคลแล้ว คือ ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป นี้อย่างหนึ่ง และ
๒.๒ หมู่แห่งคฤหัสถ์ชาวบ้านผู้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันขึ้นไปเช่นกัน นี้อีกอย่างหนึ่ง

(ครับ)
ฉะนั้นคำว่า “อริยสงฆ์” นั้น จึงมีทั้งที่เป็นคฤหัสถ์และบรรพชิต ซึ่งต่างก็เรียกว่า อริยสงฆ์ หรือสาวกสงฆ์ เช่นกัน
แต่ที่ต่างกันคือ ถ้าเป็นหมู่แห่งภิกษุผู้บรรลุธรรม เราเรียกว่า พระอริยสงฆ์ หรือพระสาวกสงฆ์ แต่ถ้าเป็นหมู่แห่งคฤหัสถ์ชาวบ้านผู้บรรลุธรรม เราเรียกเพียงว่า อริยสงฆ์ หรือสาวกสงฆ์ เท่านั้น (ไม่มีคำว่า “พระ” นำหน้า) เข้าใจไหมล่ะ

งั้นคำว่าสงฆ์ ไม่ใช่หมายถึงพระเท่านั้น
ถูกต้อง
ค่ะ
อ๋อครับ
สังฆะ คือ?
พระพุทธเจ้าตรัสว่า สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า คือ คู่แห่งบุคคล ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ ก็คือ ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตนั่นเอง
อ๋อๆ จริงด้วยครับ สวดมนต์อยู่แท้ๆ
แต่แปลไม่ออก แม้แต่ภาษาไทยเอง
คำว่า สงฆ์ มาจากศัพท์ว่า สงฺโฆ ซึ่งแปลว่า หมู่ พวก หรือ กลุ่มชน ในภาษาไทยใช้คำว่า “สังคม” นั่นเอง
อ๋ออ กลุ่มคน งั้นเราเรียกพระรูปนี้รูปเดียวว่าพระสงฆ์ ก็ไม่ถูกเสียทีเดียวเหรอ
ควรจะเรียกว่า “พระภิกษุ” จะถูกต้องกว่า
อ๋ออ เจ้าค่ะ
ความจริงแล้ว คำว่า “สังฆทาน” นั้น ถ้าแปลโดยศัพท์ก็น่าจะหมายถึง การให้ทานแก่กลุ่มบุคคลทั้งหลายโดยไม่เจาะจงนั่นเอง เช่น ให้ทานเพื่อสร้างสะพาน สร้างถนนแก่ชุมชน หรือ สร้างศาลาให้พระภิกษุสงฆ์ก็ได้
แต่ในที่นี้ ในทางศัพท์บัญญัติ พระพุทธเจ้าทรงมุ่งหมายไปที่การให้ทานแก่พระภิกษุสงฆ์เท่านั้น จึงจะเรียกว่า สังฆทาน
เอาล่ะ เมื่อเราเข้าใจความหมายของ "สังฆะ" และ "ทาน" แล้ว ตอนนี้ก็มาถึงวิธีการถวายสังฆทานบ้างว่ามีวิธีการอย่างไร อย่างไรจึงจะเรียกว่า สังฆทาน

เอาของให้พระรูปใดรูปหนึ่งแล้วก็บอกท่านว่านี่ถวายเป็นสังฆทานนะ (เอางั้นเลย)
คำว่า สังฆทาน นั้น พึงทราบว่า มีความหมายถึงการให้โดยเจตนาอุทิศแก่สงฆ์หรือให้แก่สงฆ์นั่นเอง โดยไม่จำเพาะเจาะจงภิกษุผู้รับว่าจะเป็นใคร เป็นผู้ใด ไว้ก่อนล่วงหน้า อย่างนี้ท่านว่าเป็นสังฆทาน
อ๋อครับ
พระพุทธเจ้าทรงจำแนกทานที่ถึงแล้วในสงฆ์(สังฆทาน)ไว้ว่า มีด้วยกัน ๗ ประเภท (๔) คือ
๑. ถวายทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย (พระภิกษุสงฆ์และพระภิกษุณีสงฆ์) โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
๒. ถวายทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย (พระภิกษุสงฆ์และพระภิกษุณีสงฆ์) เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว หรือไม่มีพระพุทธเจ้า
๓. ถวายทานในพระภิกษุสงฆ์ (เมื่อไม่มีพระพุทธเจ้า)
๔. ถวายทานในพระภิกษุณีสงฆ์ (เมื่อไม่มีพระพุทธเจ้า)
๕. ถวายทานเจาะจง(จำนวน)พระภิกษุและพระภิกษุณี
๖. ถวายทานเจาะจง(จำนวน)พระภิกษุ
๗. ถวายทานเจาะจง(จำนวน)พระภิกษุณี
เอาล่ะ ครบล่ะนะ ตอนนี้จะอธิบายแต่ละข้อล่ะนะ
ในข้อแรก ๑. ถวายทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข อันนี้พ้นสมัยแล้ว เพราะพระพุทธเจ้าทรงปรินิพพานแล้ว ซึ่งในข้อแรกนี่นะ ไม่เจาะจงจำนวนพระผู้มารับ คือ
สุดแล้วแต่จะมารับ
๒. ถวายทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว หรือไม่มีพระพุทธเจ้า , ในข้อนี้ในปัจจุบันก็ไม่มีแล้วนะ เพราะพระภิกษุณีสงฆ์ที่บวชถูกต้องตามพระพุทธบัญญัตินั้นไม่มีแล้ว
๓. ถวายทานในพระภิกษุสงฆ์ ข้อนี้ในปัจจุบันยังมีอยู่ แต่จะต้องไม่ระบุจำนวน
๔. ถวายทานในพระภิกษุณีสงฆ์ ข้อนี้ก็ไม่มีแล้วเช่นกัน ดังได้อธิบายแล้วข้างต้น
๕. ถวายทานเจาะจง(จำนวน)พระภิกษุและพระภิกษุณี ข้อนี้ก็ไม่มีแล้วนะ เพราะไม่มีพระภิกษุณีแล้ว
๖. ถวายทานเจาะจง(จำนวน)พระภิกษุ ข้อนี้ยังมีอยู่ ซึ่งในข้อนี้ล่ะ หมายถึง การนิมนต์พระภิกษุกี่รูปก็ได้มารับเครื่องไทยธรรม โดยขอให้พระภิกษุรูปนั้นได้รับฉันทามติจากสงฆ์ให้มารับก็แล้วกัน
โดยท่านใช้คำว่า “เผดียง(ประกาศในท่ามกลาง) สงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๖”
๗. ถวายทานเจาะจง(จำนวน)พระภิกษุณี ข้อนี้ก็ไม่มีแล้ว
จบละจ๊ะ

ฉันทามติจากสงฆ์ คือได้รับการเลือกจากพระรูปอื่นๆให้มารับ?
แสดงว่าถ้าพระรูปนั้นไม่ได้รับฉันทามติจากสงฆ์ ก็รับสังฆทานไม่ได้น่ะสิครับ
ถูกต้องจ๊ะ คือ ต้องไม่ใช่แอบมาเอง หรือขืนมาทั้งที่ไม่ได้รับอนุญาตจากสงฆ์ จะใช้ไม่ได้
ถ้าไม่มีใครอยู่วัด แล้วอยู่รูปเดียว และไม่ได้รับมอบหมาย ก็รับไม่ได้สิเจ้าคะ
ทุกครั้งที่มารับ จะต้องขออนุญาตทุกครั้งเลยหรือขอรับ
ตอนนี้การได้รับฉันทามติจากสงฆ์ให้มารับนี่นะ ในปัจจุบันก็มีวิธีการปฏิบัติอยู่หลายอย่าง เช่นว่า จัดให้มีภัตตุเทศก์ (พระผู้ทำหน้าที่จัดหาพระเพื่อรับกิจนิมนต์หรือสังฆทาน) เป็นต้น
อย่างนี้ ถ้าพระภัตตุเทศก์เป็นผู้ที่สงฆ์ยอมรับให้ปฏิบัติหน้าที่นั้นแล้ว พระภัตตุเทศก์จะอนุญาตให้ใครเป็นผู้ไปรับก็ใช้ได้ทั้งนั้น
หรือบางทีอาจใช้วิธีการจับสลากภัตต์(คล้ายๆ จับไม้สั้นไม้ยาว) หรือให้เรียงตามลำดับพรรษาไปเรื่อยๆ หรือเรียงตามลำดับรายชื่อ ตามแต่สงฆ์จะมีมติเห็นชอบร่วมกันก็ใช้ได้
หรืออาจใช้วิธีการแจ้งอนุญาตกันไว้ก่อนล่วงหน้าในหมู่สงฆ์ เช่น ตั้งกติกากันในหมู่สงฆ์ว่า ใครอยู่วัดในวันนั้น ใครว่างในวันนั้น หรือใครจะเป็นผู้ลงไปรับ ก็ยินดีทั้งนั้น อย่างนี้ก็ใช้ได้ ขึ้นอยู่กับมติในที่ประชุมสงฆ์เป็นสำคัญว่าเห็นสมควรตั้งกติกากันไว้อย่างไร ถ้าไม่มีภิกษุรูปใดคัดค้าน สงฆ์ทั้งมวลเห็นชอบร่วมกันก็ใช้ได้

อ๋อ มอบหมายหน้าที่กันเอาไว้
เชิญคุณนัฐค่ะ

น.น้ำใจดี (FM89.25Mhz) says:
นมัสการพระอาจารย์ครับ

แล้วพระที่รับสังฆทาน จะต้องนำของที่ได้รับเข้ากองกลางทันทีหรือเปล่า แต่ในบางทีเห็นท่านถือกลับกุฏิล่ะเจ้าคะ
อันนี้อยู่ที่การตกลงกัน ถ้าคณะสงฆ์เห็นชอบว่าจะต้องนำเครื่องไทยธรรมที่ได้รับมาเข้าส่วนกลาง ก็ต้องนำเข้าส่วนกลางก่อน แล้วจึงขออนุญาตนำไปใช้ในภายหลัง
หรือ ถ้าคณะสงฆ์เห็นชอบว่า ภิกษุใดเป็นตัวแทนสงฆ์เป็นผู้มารับแล้ว ก็ขอให้สิทธิ์แก่ผู้นั้นในการอุปโภคบริโภคได้ตามแต่เห็นสมควร อย่างนี้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับมติในที่ประชุมจะตกลงร่วมกัน
เช่น ภิกษุ ก. เป็นตัวแทนสงฆ์รับนิมนต์ไปฉันตามบ้าน ภิกษุรูปนั้นทั้งฉันภัตตาหาร ทั้งได้รับเครื่องไทยธรรมกลับมา ก็อาจเป็นเจ้าของสิทธิ์ในสิ่งทั้งหลายได้ คราวหน้าถึงคราวภิกษุ ข. ไปบ้าง ก็มีสิทธิเช่นเดียวกัน มิใช่ว่าจะต้องนำภัตตาหารนั้นมาแบ่งกันที่วัดก่อนจึงจะฉันได้ อย่างนี้เป็นต้น
ตัวอย่างทั้งหมดที่ยกมา เป็นการกล่าวถึงพระภิกษุผู้เป็นตัวแทนสงฆ์มารับสังฆทานนั้นเอง โดยสาระสำคัญคือ ต้องเป็นผู้ที่สงฆ์ยินยอมพร้อมใจให้มารับนั่นเอง
จะขอกล่าวถึงประเด็นนี้ให้ชัดสักนิดหนึ่งว่า การจะเป็นสังฆทานได้นั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่าได้แก่ "การถวายทักษิณาทานในสงฆ์ ๗ ประการ" ข้างต้นนะ ซึ่งหมายถึงทุกข้อล้วนแต่เป็นสังฆทานเสมอกัน ต่างกันเพียงว่าอานิสงฆ์แห่งทานไม่เท่ากัน เรียงลำดับจากข้อที่ ๑ มีอานิสงฆ์มากที่สุด แล้วลดลงมาตามลำดับ
โดยพระพุทธเจ้าตรัสในท้ายพระสูตรนี้ว่า "บุคคลถวายทานแม้แก่พระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นเหล่าโคตรภูภิกษุ แม้ในเวลานั้นทักษิณาที่ถวายในสงฆ์นั้น ยังมีอานิสงส์นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ โดยเราไม่กล่าวเลยว่า ปาฏิปุคคลิกทาน (การถวายเจาะจงพระภิกษุผู้นั้นผู้นี้) มีผลมากกว่าทักษิณาที่ถวายในสงฆ์โดยปริยายใดๆ เลย"

แปลไม่ออกอ่ะ
จะขอแปลศัพท์ก่อนนะ คำว่า “โคตรภูภิกษุ” แปลว่า ภิกษุผู้มีเพียงผ้ากาสาวะพันคอเท่านั้น เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม
คำว่า “โคตรภู” นั้น ตามศัพท์แปลว่า ครอบโคตร ในที่นี้หมายถึง เป็นครึ่งบรรพชิตครึ่งคฤหัสถ์ หรือเป็นสมณะแต่เพียงชื่อ
(๕) เช่น พระภิกษุผู้ประพฤติไม่เรียบร้อย ไม่อยู่ในพระธรรมวินัย เป็นต้น เรียกว่า โคตรภูภิกษุ
แม่เป้ว่า โคตรภูภิกษุ คือ ผ้าเหลืองน้อย ห้อยหู
ที่ว่า โคตรภูภิกษุ คือ ผ้าเหลืองน้อย ห้อยหู ถูกต้องแล้ว เป็นสำนวนแปลในพระไตรปิฎกซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละฉบับ ซึ่งแปลยักเยื้องต่างกัน บางคนก็แปลว่า มีแต่ผ้าพันคอสีเหลือง มีแต่ผ้าพันข้อมือสีหลือง บางที่ก็ว่า มีตั่งหูเป็นผ้าเหลือง แต่ความหมายโดยรวมก็คือ มีความเป็นพระน้อยนั่นเอง
โห มีอานิสงส์นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ แม้แต่คนเหล่านี้เหรอ
พระพุทธเจ้าตรัสในตอนท้ายว่า "... เราไม่กล่าวเลยว่า ปาฏิปุคคลิกทาน (การถวายจำเพาะเจาะจงภิกษุผู้รับ) มีผลมากกว่าทักษิณาที่ถวายในสงฆ์โดยปริยายใดๆ เลย" นี้หมายความว่า การถวายทานโดยเจาะจงพระภิกษุผู้มารับนั้น มีอานิสงส์ไม่เสมอด้วยสังฆทานนั่นเอง
หมายความว่า ถึงถวายเป็นสังฆทาน แม้สงฆ์เหล่านั้นเป็นโคตรภูภิกษุ ก็มีอานิสงส์นับไม่ได้ อย่างนั้นหรือครับ
กล่าวอย่างตรงไปตรงมาตามพุทธวจนะนี้ หมายความว่า แม้การถวายทานโดยเจาะจงให้แก่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในสมัยพุทธกาลก็ตาม ก็ยังมีอานิสงส์ไม่เสมอด้วยสังฆทานนั่นเอง
อืมม เจ้าค่ะ
หมายความว่า ถ้าเจาะจงพระภิกษุผู้รับ แม้จะเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้รับ ก็ยังมีอานิสงส์ไม่มากเท่าการถวายสังฆทานในปัจจุบันโดยอุทิศแก่สงฆ์ (ตั้งเจตนาให้แก่สงฆ์)
อานิสงฆ์คือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นใช่ไม๊เจ้าคะ
อานิสงส์ แปลว่า ประโยชน์หรือผลดีที่เกิดขึ้น หรือบุญที่เกิดขึ้น ก็ได้
บุญคืออะไร
“บุญ” แปลได้หลายความหมายนะ จะกล่าวถึงความหมายหลักก่อนนะ บุญ แปลว่า ความดีที่กระทำ, วิบากของกุศลกรรม, ผลของความดี, ความสุข, ภพอันน่าชื่นใจ, เครื่องชำระล้างสันดาน, ความบริสุทธิ์
โห ตู้พระไตรฯเคลื่อนที่
เช่นว่า ทำบุญ ได้รับบุญ เสวยผลบุญ บุญคือความสุข เข้าถึงบุญ(ภพอันประณีต) โอปาทิกบุญ
ทำอะไรชื่อว่าเป็นการทำบุญล่ะเจ้าคะ
ตอบสั้นๆ ว่า ได้แก่ บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ หรือโดยย่อได้แก่ บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการ คือ ทาน ศีล และภาวนา นั่นเอง ในส่วนขยาย ๑๐ ข้อ เอาไว้ก่อนนะ
เชิญน้องส้มค่ะ
ฝนตกยังต้อง ฟ้าร้องยังถึง says:
สวัสดีค่ะ

ตอนนี้ขอกลับมากล่าวถึงว่า ทำไมการถวาย “สังฆทาน” จึงมีอานิสงส์มากกว่า “ปาฏิปุคคลิกทาน” พระพุทธเจ้าทรงแสดงองค์ประกอบในการให้ทานว่า มีเจตนาเป็นสำคัญ อย่างที่ “คุณหนูนิด”กล่าวไว้ในตอนแรกว่า "เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ" ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ความตั้งใจ(เจตนา)เป็นตัวกรรม นี่คือองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของกรรมนั่นเอง
พระพุทธเจ้าตรัสถึงองค์ประกอบในการให้ทาน
(๖) ว่าจะมีผลมีอานิสงส์มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ
๑. ผู้ให้ทาน
๒. วัตถุทานที่ให้ และ
๓. ผู้รับทาน

คุณธรรมของผู้รับ ดั่งเนื้อนาบุญ ดูได้ง่ายๆ คือในหลวงของเรา
ตอนนี้ในส่วนของผู้ให้ทานนั้น เจตนาให้การให้นั้นสำคัญที่สุด ผู้ที่ให้ทานโดยเยื่อไยในบุคคล(ผู้รับ) เช่นว่า ให้กับพระที่เคารพนับถือ ให้กับพระที่ตนชื่นชอบ ให้กับพระดังๆ อย่างนี้มีอานิสงส์น้อย เพราะเจตนาในการให้ประกอบไปด้วยความตระหนี่หวงแหนในกลุ่มพวก จำกัดอยู่เฉพาะในบุคคลที่รัก เรียกว่ามี “วรรณมัจฉริยะ” ทำให้มีอานิสงส์น้อย
ไม่ต่างอะไรกับบุคคลที่รักกัน จะให้อะไรๆ ต่อกันสักเท่าไรก็ได้ แต่กับคนที่ตนไม่รักแล้ว แม้นิดหนึ่งก็ไม่อาจให้ได้

ให้เพราะเราชอบเท่านั้นเอง แบบนี้นำทุกข์มาให้ภายหลัง การถวายสังฆทานทำให้ตัดข้อนี้ไปได้
เช่นว่า สามีกับภรรยา บิดากับบุตร ญาติกับญาติ พี่กับน้อง เพื่อนกับเพื่อน คนรักกับคนรัก อย่างนี้ จำเพาะเจาะจงให้เท่าไรก็ให้ได้ เป็นหมื่นเป็นแสนก็ให้ได้ แต่พอเขาไม่ใช่คนที่เรารักนี่สิ ให้ได้ยากมาก
เช่นว่า แฟนกันให้เท่าไรก็ให้ได้ แต่พอเลิกกันเท่านั้น ทุกอย่างต้อง fifty-fifty บาทเดียวก็ขาดไม่ได้ เป็นต้น หรือให้กับขอทานสักสิบบาท คิดแล้วคิดอีก เดินไปแล้วก็เดินมา เดินมาแล้วก็เดินกลับไป ให้ไม่ลง เป็นต้น

โอ้ย แม้แต่ฟิฟตี้ฟิฟตี้ก็ยังไม่อยากเลย
ขอยกตัวอย่าง พระนางปชาบดีโคตมี พระน้านางของพระพุทธองค์ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งการแสดงธรรมเรื่องอานิสงส์ของการถวายสังฆทานว่ามีอานิสงส์มาก
(๗) ดังนี้ คือ
ครั้งนั้น พระนางได้ทอผ้าเนื้อละเอียดคู่หนึ่ง โดยตั้งใจจะให้แก่พระพุทธองค์ในฐานะพระพุทธเจ้าและความเป็นบุตร(เลี้ยง)ที่แสนรัก (แม้แต่บุตรแท้ๆ คือ พระนันทเถระ ยังไม่ให้เลยนะ) พระองค์ทรงทอและเย็บด้วยพระหัตถ์เอง แล้วนำเข้าไปในท่ามกลางหมู่สงฆ์ถวายแก่พระพุทธองค์
พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธตรัสว่า “ดูก่อนโคตมี พระนางจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันพระนางได้บูชาทั้งอาตมภาพและสงฆ์” พระนางทรงเสียพระทัยมาก น้ำพระเนตรจะหลั่งออกทูลอ้อนวอนถึง ๓ ครั้งต่อพระพุทธองค์ให้ทรงรับ แต่พระพุทธองค์ก็ทรงปฏิเสธ กลับตรัสว่า "พระนางจงถวายสงฆ์เถิด "
พระนางไม่รู้จะทำเช่นไร จึงน้อมคู่ผ้ามอบให้กับพระสารีบุตรช่วยรับ พระสารีบุตรก็ไม่รับ ให้กับพระโมคคัลลานะๆ ก็ไม่รับ พระเถระทั้งหลายไม่มีใครยอมรับเลยแม้แต่รูปเดียว พระนางให้ไปโดยลำดับจนถึงพระภิกษุเพิ่งบวชใหม่ในวันนั้นซึ่งเป็นพระรูปสุดท้าย แล้วก็น้อมคู่ผ้าถวายแก่พระภิกษุหนุ่มรูปนั้น พระภิกษุรูปนั้นได้รับผ้านั้นเอาไว้ พระนางก็ทรงโทมนัสหลั่งน้ำพระะเนตรสุดที่จะกลั้นไว้ได้ ไม่รู้จะทำเช่นไร

น้อยใจสุดๆ ดูเหมือนได้บุญน้อยสุด
แล้วยังไงต่อค่ะ
พระพุทธเจ้าตรัสว่า การที่พระนางถวายผ้านั้นแก่สงฆ์ (ไม่จำเพาะให้เฉพาะพระองค์ๆ เดียว) นั้น ชื่อว่า ได้ให้ทานนั้นเป็นไปแล้วในสงฆ์ และชื่อว่าได้ถวายแม้แก่พระองค์ด้วย แล้วตรัสอานิสงส์แห่งการถวายสังฆทานว่ามีผลมากมีอานิสงส์มาก หาประมาณมิได้
เชิญคุณวัฒน์ค่ะ
รู้จัก,เชื่อ,บังคับ,พอใจ,เคารพตัว says:
กราบ นมัสการ พระอาจารย์ กับ ท่านเอกชัยครับ หวัดดีครับเพื่อน ๆ ทุกท่าน

พระพุทธองค์ต้องการจะสอนพระนางว่า ไม่พึงจำเพาะเจาะจงผู้รับ ไม่พึงตระหนี่ในทาน พึงทำจิตให้กว้างใหญ่ไพศาลหาประมาณมิได้ในสงฆ์ทั้งหลาย อย่าได้จำเพาะพระภิกษุว่าต้องรูปนั้นรูปนี้ เพราะนั่นไม่ประเสริฐเลย
ภายหลังได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า พระภิกษุหนุ่มรูปนั้น ในอนาคตกาลไม่นานนัก จะอุบัติเป็นพระศรีอริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไปในภัททรกัปป์นี้ (นั่นหมายถึง พระภิกษุรูปสุดท้ายนี้คือพระโพธิสัตว์ซึ่งกำลังบำเพ็ญบารมีให้เต็มบริบูรณ์นั่นเอง) พระภิกษุหนุ่มรูปนั้น มีนามมังกรว่า "อชิตภิกษุ"
เป็นไง happy ending ไม๊

ตอนนี้ท่านอยู่ไหนน้อ อย่างนี้ท่านต้องตั้งจิตไว้เพื่อให้มาเกิดในยุคพุทธกาลด้วยหรือเปล่าเจ้าคะ
คงกำลังบำเพ็ญบารมีอยู่ที่ไหนสักแห่งหนึ่งล่ะ อาจอยู่ข้างๆ คุณก็ได้
เจ้าโมเช่(แมว)
เอ สงสัยคนอื่นๆ อ่านจนหลับไปหมดแล้วกระมัง เงียบจัง
อาจมีคนเล่นเกมอยู่ก็ด้าย
เดี๋ยวขอห้อยพระก่อนนะ กลัวผีหลอก
บางคนก็ซุ่มโจมตีด้วยรอยยิ้ม
ไหน สหายธรรม ช่วยส่งเสียงกันหน่อยซิ
ถามแล้วอ่ะ สงสัยเบื่อ ถามคนเลียว
อาห้อย ๆ กาจ้ากา อิอิ โย่
ท่านเอกชัย นิมนต์ออกจากสมาธิก่อน
ป้านพ อย่าเพิ่งไปซาวน่า
คุณพิ้ง อย่าเพิ่งคุยโทรศัพท์
คุณหนูนิด อย่าเพิ่งเขียนจดหมาย
คุณส้ม อย่าเพิ่งทาครีมกันแดด
ส่งเสียงกันหน่อย อะไรกัน ปล่อยให้พูดอยู่คนเดียว

ท่าน ป่าวค่ะท่าน
ตกลงว่า พอเข้าใจเรื่อง การถวายสังฆทาน แล้วนะ
สรุปอีกครั้งหนึ่งว่า จะเป็นสังฆทานได้ จะต้องไม่เจาะจงพระภิกษุผู้รับนะ ใครก็ได้ ขอให้เป็นตัวแทนจากสงฆ์มารับก็แล้วกัน ใช้ได้ทั้งนั้น จะกี่รูปก็ได้ ๑ รูป ๒ รูป ๔ รูป ๘ รูป กี่รูปก็ได้ เป็นสังฆทานทั้งนั้น ตรงนี้คนจะสับสนกับเรื่อง "การกสงฆ์" คิดว่า ต้องนิมนต์พระ ๔ รูปเป็นอย่างน้อยจึงจะเป็นสงฆ์ อันนั้นใช้เฉพาะกับการทำสังฆกรรมของพระภิกษุเท่านั้น เพื่อให้ครบตามพระวินัยบัญญัติในแต่ละกรณี ไม่ได้ใช้ในความหมายนี้
เราไม่ได้ไปร่วมทำสังฆกรรมกับท่าน ไม่ต้องไปเกี่ยวกับเรื่อง "การกสงฆ์ ๔ ๕ ๑๐ ๒๐" นะ อันนี้คนเข้าใจผิดกันมาก การถวายสังฆทานตามที่พระพุทธเจ้าแสดง ดังเช่นเรื่องพระนางโคตมีนั้นถวายรูปเดียว แต่ก็เป็นอันถวายสงฆ์แล้วนะ
พูดง่ายๆ ว่า ถ้าจะถวายสังฆทาน จะต้องไม่ระบุพระภิกษุผู้รับนั่นเอง โดยขอนิมนต์ตัวแทนสงฆ์กี่รูปก็ได้มารับ เข้าใจไหมล่ะ

เข้าใจครับ
แมวหมาได้ป่ะ ที่เอาไปปล่อยวัดกันน่ะ
หุหุ
ครับ อยู่ที่เจตนาของผู้ให้ทานครับว่าต้องการถวายโดยไม่เฉพาะเจาะจง ภิกษุสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง เจตนาต้องการถวายทานเพื่อสงฆ์
ถูกต้องแล้ว อย่างคุณนัฐว่า "ต้องการถวายโดยไม่เฉพาะเจาะจงภิกษุสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง เจตนาต้องการถวายทานเพื่อสงฆ์"
พระศรีอริยะ ถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์ ประเภทใดครับ? ปัญญา วิริยะ ศรัทธา
ท่านเป็นศรัทธาธิกะโพธิสัตว์
พระพุทธเจ้าของเรา บำเพ็ญบารมีมา 4 อสงไขย กำไรแสนกัปล์
โห ยาวนานจังเลย
ศรัทธาธิกะโพธิสัตว์ ทำไมถึงได้เรียกว่าเป็นศรัทธาครับ ผมประมาณเอาว่า ปัญญาธิกะ คือ จะเน้นเรื่องการบำเพ็ญด้านบารมี ส่วนวิริยะ เน้นด้านความเพียร ส่วนศรัทธา เน้นด้านความเชื่อมั่น ทำให้ระยะเวลาในการทำให้บารมีเต็มต่างกัน ใช่ไหมครับ
จะขอตอบคำถามของคุณนัฐ เรื่องพระโพธิสัตว์นิดนึงก่อนนะ พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระโพธิสัตว์นั้นว่ามี ๓ ประเภท (๘) คือ
๑. พระโพธิสัตว์ผู้มีปัญญาแก่กล้า ศรัทธาอ่อน เรียกว่า ปัญญะธิกะ ต้องบำเพ็ญบารมี ๔ อสงไขย กับแสนกัปป์ เป็นอย่างน้อย
๒. พระโพธิสัตว์ผู้มีปัญญาปานกลาง เรียกว่า ศรัทธาธิกะ ต้องบำเพ็ญบารมี ๘ อสงไขย กับแสนกัปป์ เป็นอย่างน้อย
๓. พระโพธิสัตว์ผู้มีปัญญาอย่างอ่อน เรียกว่า วีริยาธิกะ ต้องบำเพ็ญบารมี ๑๖ อสงไขย กับแสนกัปป์ เป็นอย่างน้อย ตรงนี้พอเข้าใจนะ

เมื่อปัญญาน้อย ต้องอาศัยศรัทธามากขึ้น เมื่อปัญญาน้อยมาก ๆ ต้องอาศัยความเพียร เป็นเหตุปัจจัยใช่ไหมครับ วิริเยนะ ทุกขมัตเจติ
ส่วนเรื่องการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ๆ ไม่ว่าแบบใด ก็ต้องบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศทั้งสิ้น คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา (๙)
และจะขอขยายความ ให้เกร็ดความรู้อีกนิดหนึ่งนะว่า พระโพธิสัตว์ มี ๓ จำพวก คือ
๑. พระสัมมาสัมพุทธโพธิสัตว์ ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ผู้ตรัสรู้เอง แล้วประดิษฐานพระศาสนา
๒. พระปัจเจกโพธิสัตว์ ได้แก่ พระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้เอง แต่มิได้ประดิษฐานพระศาสนา
๓. พระสาวกโพธิสัตว์ ได้แก่ พระอรหันตสาวกทั่วไป
สำหรับเวลาในการบำเพ็ญบารมีนั้น
- ผู้ปรารถนาความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องบำเพ็ญบารมี อย่างน้อย ๔ อสงไขย ๑ แสนมหากัป
- ผู้ปรารถนาความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ต้องบำเพ็ญบารมี อย่างน้อย ๒ อสงไขย ๑ แสนมหากัป
- ผู้ปรารถนาความเป็นพระอนุพุทธเจ้า (พระอรหันตสาวก) ต้องบำเพ็ญบารมี อย่างน้อย ๑ แสนมหากัป

งั้นถ้าเริ่มต้นตอนนี้ อย่างน้อย 1 แสนมหากัป ก็ได้เป็นพระอรหันตสาวก
โถ ใครจะไปรู้ล่ะ นี่อาจจะเป็นชาติที่ ๙๙,๙๙๙ มหากัปป์ของคุณเป้แล้วก็ได้ เรื่องนี้ไม่มีใครรู้ได้ ไม่ใช่ว่าจะนับหนึ่งเสียที่ไหนเล่า
ใครจะไปรู้ว่าชาตินี้ เราอาจได้บำเพ็ญบารมีมาเต็มที่พร้อมแล้วก็ได้ จึงไม่ควรประมาท เร่งทำความเพียรต่อไปให้เต็มที่ของตนก็แล้วกัน
เดี๋ยว ๆๆ ก่อนจะจบ ตกลงว่าเข้าใจเรื่องสังฆทานแน่แล้วนะ ใครยังมีข้อสงสัยอยู่บ้าง
คือ อย่าไปสับสนระหว่าง การนิมนต์เจาะจงพระภิกษุ(ว่ากี่รูปก็ได้) กับ การกสงฆ์ (องค์ประชุมของพระสงฆ์ในการทำสังฆกรรมตามพระวินัย) ก็แล้วกัน มันคนละเรื่องกัน การกสงฆ์เป็นเรื่องเฉพาะของพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ใช้สำหรับข้อบัญญัติในทางพระวินัยเท่านั้น ว่าจะทำสังฆกรรมเป็นสงฆ์ได้ต้องมีการกสงฆ์ในเรื่องนั้นๆ อย่างน้อย ๔ รูปขึ้นไป ข้อนี้ไม่เกี่ยวกันเลยกับเรื่องการถวายอุทิศแก่สงฆ์

ท่านคะ แล้วสังฆทานแบบที่วัดจัดไว้พร้อม แล้วเราไปแค่ทำบุญใส่ซอง ยังงี้จะได้บุญมะคะ
เจตนาของผู้ให้ทานเพื่อเป็นสังฆทานเป็นหลักครับ เพราะบางคนมีการโอนเงินเข้าบัญชีของทางวัด แล้วแจ้งไปว่าขอถวายเป็นสังฆทานก็มีครับ
ค่ะ งั้นสะดวกค่ะ วัดแถวบ้านพิ้ง เป็นแบบนี้ค่ะ
สวัสดีค่ะคุณท๊อป
Top says:
สวัสดีครับ
ถามว่าไรครับ

วันนี้เราคุยกันเรื่อง สังฆทานครับ
อ๋อ ครับ ขอโทษทีครับ
การถวายสังฆทานแบบที่วัดจัดไว้พร้อมนั้น เราไม่ได้ตระเตรียมสิ่งของเอง ฉะนั้น เจตนาจึงมีกำลังอ่อน และไม่ได้พิจารณาให้ดีในเรื่องสิ่งของที่จะถวาย ฉะนั้น จึงได้บุญน้อย และนั่นก็มิใช่การถวายสังฆทานที่เป็นเครื่องไทยธรรมนั้นๆ ด้วยนะ
คือ เราไม่ได้ให้ผ้า ให้สบู่ในถังนั้นจริงๆ เราเช่าถังมาใช้ แล้วมันเป็นสังฆทานวน (เอาถังมาวนไปวนมา แล้วก็ตั้งที่เดิม) เป็นการเข้าลักษณะการบริจาคเงินมากกว่า ไม่ใช่การถวายของ ฉะนั้น เราไม่ได้อานิสงส์จากการถวายของนั้นหรอก

ค่ะท่าน
แล้วสิ่งใดที่ไม่ควรถวายเป็นสังฆทานเจ้าคะ
ผมว่า มังสะ 10 อย่าง และบางอย่างต้องดูกาลิกที่จะขัดต่อพุทธบัญญัติ ใช่ไหมครับ
คุณเป้ถามว่า "สิ่งใดที่ไม่ควรถวายเป็นสังฆทานเจ้าคะ" ตอบว่า ก็สิ่งที่ไม่มีประโยชน์กับพระ หรือมีโทษกับพระนั่นเอง ไม่ควรถวาย สิ่งที่ไม่มีประโยชน์ เช่น หวี เสื้อ กางเกง เข็มขัด ผ้าถุง พวกนี้พระใช้ไม่ได้ (เอามาทำไม) ของไม่มีประโยชน์กับพระ ให้พระมา บุญจะเกิดได้ยังไง
ค่ะ
คือ ให้โดยไม่คิด
สิ่งที่เป็นโทษก็ยิ่งไม่ควรถวาย เพราะนอกจากจะไม่เป็นบุญแล้ว ยังเป็นบาปอีกด้วย เช่น การถวายเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด กับพระ ซึ่งเมื่อพระเสพแล้วจะก่อให้เกิดโทษตามมา
สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถเป็น “ทานมัยกุศล” ได้ เป็นได้แต่ “ทานมัยอกุศล” คือ เกิดอกุศลจากการให้แทน

แสดงว่าบุญจะเกิดมาก อยู่ที่การมีประโยชน์มากต่อผู้รับด้วยใช่ไหมครับ?
บุหรี่นี่สุดฮิตสำหรับพระต่างจังหวัดเลย
ใช่จ๊ะ บุญจะเกิดมากน้อย องค์ประกอบที่ ๒ คือ เครื่องไทยธรรมนั้นจะต้องเป็นสิ่งที่ได้มาโดยบริสุทธิ์(สุจริตธรรม) และมีประโยชน์(ไม่มีโทษ) (๑๐)
ถ้าอย่างนั้นผมขอถามนะครับ ถ้าเกิดเรามีการเตรียมของไปถวายสังฆทานเอง มีความตั้งใจที่จะให้สิ่งนั้นกับพระ แต่ถังยังตั้งอยู่ที่บ้าน แล้วมีเหตุที่จะต้องนำใช้ก่อน อย่างเช่น ยา หรือ ผ้าพันแผล แล้วค่อยมีการจัดคืนให้ภายหลัง อย่างนี้จะบาปหรือเปล่าครับ
อืม น่าคิดนะ
อ๋อ ไม่บาปหรอกจ๊ะ เพราะยังมิได้มีการถวายของนั้น สิทธิ์ในวัตถุนั้นยังคงเป็นของเรา ต่อเมื่อถวายไปแล้วนั่นล่ะ จึงไม่ควรไปยุ่งเกี่ยว
เอาล่ะมั๊งจ๊ะ คืนนี้
ดึกมากแล้วนะ
โอโฮ เที่ยงคืนกว่าแล้ว
ไว้แค่นี้ก่อนนะ

ครับ กราบลาครับ
ค่ะท่าน กราบขอบพระคุณท่านทั้งสอง
คืนนี้อาตมาขออำลาล่ะนะ อีก ๒ เดือนเจอกัน
สาธุค่ะ
ขอบคุณค่ะ
พบกันใหม่ น่าจะเป็นต้นเดือนเมษายนนะ ได้ทราบว่า สัปดาห์หน้าคุณแก้วได้นิมนต์ "ท่านบินก้าว" ไว้ให้แล้ว
อาตมาคงจะขอตัวสักระยะหนึ่ง เพื่อการเจริญภาวนาให้ยิ่งขึ้น และถือโอกาสได้พิจารณาทบทวนพระธรรมที่ได้ศึกษาไปให้ยิ่งขึ้นด้วย
ขอโอกาสทุกคนนะ

ค่ะท่าน
ครับ
ยินดีที่ได้มีโอกาสสนทนาธรรม online ทุกวันเสาร์มาเป็นเวลากว่า ๑/๒ ปี หวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์บ้างตามแต่ความตั้งใจ และความปรารถนาของแต่ละบุคคล
ค่ะ
ครับ
ในท้ายที่สุดนี้ ขออาราธนาคุณแห่งพระรัตนตรัยพร้อมกับบุญกุศลที่เราท่านทั้งหลายได้ร่วมกันกระทำแล้วนี้ จงเป็นพลวปัจจัยอำนวยพรให้ทุกท่านได้มีกำลังกาย กำลังใจ และกำลังสติปัญญา ในการนำพาชีวิตของทุกท่านให้ได้ผ่านพ้นอุปสรรคปัญหา
มีปัญญาที่จะสามารถนำพาตนไปพ้นจากความทุกข์ มีความสุขยิ่งขึ้นไปในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
สามารถชักนำชีวิตของตนให้ผ่านพ้นจากอุปสรรคปัญหาและสามารถนำพาให้บุคคลรอบข้างได้เข้าถึงความสุขได้ด้วยเช่นเดียวกัน

สาธุ
"ความสุขใด เสมอด้วยความสงบไม่มี" ขอให้ทุกท่านจงพบกับสันติสุขภายในด้วยกันทุกคนเทอญ
ค่ะ
สาธุค่ะ
ขออวยพรให้หลวงพี่มั่งได้ป่ะ ขอให้หลวงพี่เบิกบาน แจ่มใส ทั้งกาย และใจ
สุขภาพแข็งแรง
ขอบใจสำหรับคำอวยพรของทุกคนนะ
ขอให้คุณพระ(ธรรม)คุ้มครองหลวงพี่นะค่ะ เดินทางปลอดภัยตลอด ๒ เดือน
ขอนมัสการท่านเอกชัยด้วยนะครับ ขอให้ท่านเจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป
เนื่องจากพี่เป้หาย ไหนไม่รู้ ขอปิดงานเลยนะค่ะ หลวงพี่จะได้พักผ่อน ขอให้ทุกคนกราบลาท่านปิพร้อมกันอีกครั้งค่ะ
สาธุ
สาธุ
สาธุ สาธุ สาธุ
เจริญพรทุกคนนะ ขอฝากพุทธภาษิตสำหรับสัปดาห์นี้ไว้ว่า
"ยอดแห่งมรรคา คือ อัษฎางคิกมรรค"
"ยอดแห่งสัจจะ คือ อริยสัจจะ ๔ ประการ"
"ยอดแห่งธรรม คือ ความปราศจากราคะ"
"ยอดแห่งมนุษย์ คือ พระผู้เห็นแจ้ง"

กราบลาค่ะ ราตรีสวัสดิ์ ลาทุกคนด้วยค่ะ
สุภาษิตทั้ง ๔ นี้ มาในพระธรรมบท หมวดว่าด้วยมรรค ทางดำเนินสู่ความบริสุทธิ์
.......
ออกไม่เป็น แฮะ

มคฺคานฏฺฐงฺคิโก เสฏฺโฐ (๑๑)
บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ ๘ ประเสริฐสุด

สจฺจานํ จตุโร ปทา
บรรดาสัจจะทั้งหลาย บททั้ง ๔ (อริยสัจ) ประเสริฐสุด

วิราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ
บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคธรรมประเสริฐที่สุด

ทิปทานญฺจ จกฺขุมา
บรรดาสัตว์สองเท้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุประเสริฐสุด

เอเสว มคฺโค นตฺถญฺโญ ทสฺสนสฺส วิสุทฺธิยา
ทางนี้เท่านั้นเพื่อความหมดจดแห่งทรรศนะ ทางอื่นไม่มี

เอตญฺหิ ตุมฺเห ปฏิปชฺชถ มารเสนปฺปมทฺทนํ
ท่านทั้งหลายจงเดินทางนี้ ที่เป็นเครื่องกำจัดกองทัพมาร

เอตญฺหิ ตุมฺเห ปฏิปนฺนา ทุกขสฺสสนฺตํ กริสฺสถ
ท่านทั้งหลายเดินทางนี้แล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดังนี้

ลาจริงๆ ล่ะนะ ขอให้คุณพระคุ้มครอง
……………….…………………………………………



๑ องฺ.ทุก.๒๐/๓๘๖/๘๕
๒ สํ.ส.๑๕/๙๐๐/๒๗๓ (อรรถกถาแสดงทาน๓ ใน ขุ.จริยา.อ. ๓๓ หน้า ๖๑๘)
๓ วิ.ปริ.๘/๑๓๕๘/๕๑๐
๔ ม.อุ.๑๔/๗๑๒/๓๔๔ ทักษิณาวิภังคสูตร
๕ ม.อุ.อ. ๒๓ หน้า ๔๐๗ มมร.
๖ ม.อุ.๒๘/๙/๔๓
๗ เค้าเรื่องจากทักษิณาวิภังคสูตร ม.อุ.๑๔/๗๐๗/๓๔๒ ปรากฏเรื่องใน ปฐมสมโพธิกถา
๘ ขุ.เถร.อ. ๕๐ หน้า ๑๘ มมร.
๙ ขุ.เถร.อ. ๕๐ หน้า ๑๔-๑๙ มมร.
๑๐ องฺ.อฏฺฐ.๒๓/๑๒๗/๑๘๙
๑๑ ขุ.ธ.๒๕/๓๐/๓๕


ยังมีเนื้อหาการสนทนาธรรมที่มีเนื้อหาน่าอ่านก่อนหน้านี้ แต่เนื่องจากท่านปิยะลักษณ์อาพาธไม่สามารถตรวจทานเนื้อหาให้ได้ สามารถตรวจให้ได้แค่อันล่าสุดนี้ จึงยังไม่สามารถนำมาลงได้ ณ ตอนนี้




 

Create Date : 13 มีนาคม 2550    
Last Update : 16 มีนาคม 2550 12:50:22 น.
Counter : 471 Pageviews.  

ขอกำลังใจจากศิษย์และกัลยาณมิตร ให้ท่านปิยะลักษณ์หายป่วยโดยเร็ววัน



เนื่องจากขณะนี้ พระอาจารย์ปิยะลักษณ์ ปัญฺญาวโร มีอาการอาพาธ ต้องไปรับการตรวจรักษาจากแพทย์อยู่เป็นประจำ และทางครอบครัวของท่าน มีความเป็นห่วงอย่างยิ่ง จึงได้นิมนต์ท่าน เพื่อให้ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด

ขอเชิญ ลูกศิษย์ กัลยาณมิตร และท่านผู้ที่มีความเป็นห่วง แสดงความกตัญญูตา และให้กำลังใจแด่ท่านพระอาจารย์ ร่วมกันด้วยเจ้าค่ะ…

พระอาจารย์ปิยะลักษณ์ผู้เมตตา
เปี่ยมปัญญา กรุณา คอยขานไข
ต่อศิษย์ผู้ ปุจฉา พระธรรมใน
เคยสงสัย ท่านแจังจักษ์ วิสัชนา

ยามนี้เล่า เหล่าศิษย์ ได้ทราบข่าว
ท่านถึงคราว อาพาธ น่าเป็นห่วง
ก้มกราบขอ พุทธบารมี คุณทั้งปวง
อีกแดนสรวง ปวงเทวา บูชาคุณ

โปรดปัดเป่า โรคาภัย อย่าได้หมาย
อาพาธหาย จากท่านปิฯ ด้วยเถิดหนา
บารมี แรงบุญใด ข้าฯทำมา
ทั้งกาลหน้า และกาลก่อน ช่วยบรรเทา

ขอเรียนเชิญ เหล่าศิษย์ ท่านอาจารย์
ร่วมอธิษฐาน ผลาญภัย ทุกแห่งหน
ให้ห่างหาย อย่ากล้ำกราย มาผจญ
ท่านปิยะลักษณ์พ้นโรคาภัย ด้วยเถิดเอย… ……(ศิษย์ชุติมา)




 

Create Date : 08 กุมภาพันธ์ 2550    
Last Update : 12 กุมภาพันธ์ 2550 20:23:49 น.
Counter : 1601 Pageviews.  

พินัยกรรมและมรดก ตามนัยแห่งพระพุทธศาสนา 491216

พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาติให้พระภิกษุทำพินัยกรรมอย่างนั้นหรือ แล้วตามพระวินัยล่ะทำไมถือว่าเป็นโมฆะ

การทำบุญโดยบริจาคอวัยวะ ทำไมได้บุญน้อย ว่าไปแล้วใครจะยอมควักลูกตาให้ทันทีเมื่อมีผู้ขอ


Chatธรรมวันเสาร์ เรื่องพินัยกรรมและมรดก
(เมื่อวันที่ ๑๖ ธ.ค. ๒๕๔๙)
ฝนตกยังต้อง ฟ้าร้องยังถึง says:
ผู้รู้มาพอดีเลย แฮะ

ดวงดารามากมาย แต่หาทนอยู่ได้ตลอดไปสั says:
อิอิ ท่านปิมาแล้ว ไปเที่ยวกันซะไกลประเด็นเลย

(รู้จัก,เชื่อ,บังคับ,พอใจ,เคารพตัว says:
มีแต่นอกเรื่องธรรมครับพระอาจารย์ เอ้หรือเฉียดๆ อิอิ

น.น้ำใจดี (FM89.25Mhz) says:
เรื่องการแบ่งทรัพย์ของชายตัดฟืนครับ และกำลังสงสัยเรื่องการเปรียบเทียบ งูเห่ากับภรรยา ผมเลยยกตัวอย่าง อดีตกรรมของพระโมคคัลลานะครับ แต่อยากให้พระอาจารย์เล่าน่าจะละเอียดกว่าครับ

พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
ขออ่านก่อนนะ ว่าคุยกันถึงไหนแล้ว

dutycompleted says:
นมัสการพระปิครับและทุกท่าน
หวัดดีครับ คุณเทิด
วันนี้คุยหัวข้ออะไรกันอยู่ครับ
เดี๋ยวจะคุยเรื่องนี้ค่ะ “ใครมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องการแบ่งมรดกของผู้ตาย ว่าควรจะแบ่งอย่างไร”
ถ้ามิได้มีพินัยกรรมไว้ ก็คงต้องใช้วิธีลงคะแนนเพื่อหาทางออก ทางออก อาจเป็น
๑.แบ่งเท่ากัน และ
๒.แบ่งโดยให้อำนาจคนที่ได้รับการโหวตให้เป็นผู้รับมรดก ผู้จัดสรรมรดก
เอาล่ะ อาตมาได้อ่านข้อความทั้งหมดที่ได้สนทนากันแล้ว โดยเฉพาะน่าสนใจมากที่คุณนัฐเล่าให้ฟังน่ะ ขออนุโมทนาด้วย
เรามาเริ่มต้นจากคำว่า พินัยกรรม และ มรดก ใครรู้บ้าง แปลว่าอะไร

ความตั้งใจ
ผมขอเดาก่อนนะครับ “พินัย” ใกล้เคียงกับ “วินัย” น่าจะเป็นระเบียบแบบแผน กรรม คือ การกระทำ พินัยกรรม ก็คือ การกระทำที่เป็นแบบแผนที่ถูกต้อง
ทรัพย์สมบัติ ที่ยกให้ การรับช่วง
สิ่งที่ตกทอดของผู้ตาย อิอิ
คิดว่าเราคงจะมีแต่อริยทรัพย์ให้เขาเท่านั้นน่าจะเป็นการดีที่สุด มรดกคิดว่าเป็นสำหรับผู้ที่ยังติดยู่ในโลกธรรม แต่ถ้าเรามุ่งที่จะเป็นพระอรหันต์ เราน่าจะทิ้งอริยทรัพย์ไว้น่าจะดีกว่า
มร-ดก มระ มาจาก มรณา แปลว่า ตายครับ, ดก แปลว่า มีมาก น่าจะมายถึงทรัพย์ครับ
คำว่า พินัยกรรม มาจากศัพท์ ๒ คำ คือ วินัย+กรรม จ๊ะ
วินัย แปลว่า นำไปสู่สิ่งที่ดีงามวิเศษ ส่วน กรรม ก็หมายถึง การกระทำ เหมือนกับที่คุณนัฐพลตอบนั่นล่ะจ๊ะ ถูกต้องแล้ว
คำว่า พินัยกรรม แผลงมาจาก วินัยกรรม ซึ่งหมายถึง ระเบียบปฏิบัติหรือการกระทำอันเป็นแบบแผนที่นำไปสู่ชีวิตที่ดีงามหรือสิ่งที่ดีงาม หรือจะแปลว่า ความประพฤติหรือแบบแผนที่ดีงามอันพึงกระทำก็ได้ (อันนี้แปลแบบขยายความหน่อยนะ)

ผมเดา โดยอาศัยวิชาหลักวิชาภาษาไทย สมัยเรียนตอนมัธยมครับ เรื่องคำสมาส คำสนธิ คำแผลง ครับ
ส่วนคำว่า มรดก มาจากคำบาลีว่า มตกะ สันสกฤตว่า มรตะ มีความหมายว่า ของๆ ผู้ตาย โดยแท้แล้วรากศัพท์ก็มาจากคำว่า มร หรือ มต ซึ่งแปลว่า ความตาย
ฉะนั้นในภาษาไทยคำว่า มรดก จึงมีความหมายว่า สิ่งที่ตกทอดมาจากผู้ตาย หรือสิ่งอันเป็นของผู้ตายนั่นเอง
ในภาษาไทย คำว่า มระ มีใช้อยู่มากมายนะในที่ต่างๆ เช่น คำว่า “อมร” ซึ่งมาจาก น+มร หรือ อ+มร แปลว่า ไม่ตาย ก็หมายถึงเทวดานั่นเอง เพราะตามคติความเชื่อแต่โบราณ โดยเฉพาะในประเทศอินเดียซึ่งศาสนาพราหมณ์มีอิทธิพลอยู่มากนั้น มีความเชื่อว่า เทวดาเป็นอมตะ คือ ไม่มีวันตาย ซึ่งต่างจากพระพุทธศาสนาเราที่สอนว่า สัตว์ทั้งหลายตราบใดที่ยังมีอาสวะกิเลส ย่อมเวียนว่ายตายเกิดไปในสงสารไม่มีสิ้นสุด
หรืออย่างคำว่า อมรินทร์ ก็มาจากคำว่า อมร+อินท ซึ่งคำว่า อินท แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ คำว่า อมรินทร์ ก็แปลว่า เทวดาผู้เป็นใหญ่ หรือเจ้าแห่งเทวดาทั้งหลาย ซึ่งเป็นชื่อหนึ่งของพระอินทร์หรือท้าวสักกะนั่นเอง แต่สำหรับคนจีน เขานิยมเรียกกันว่า “เง็กเซียนฮ่องเต้” ซึ่งหมายถึง ราชาแห่งเทวดา
เอาล่ะนะ เราจะย้อนกลับมาสู่เรื่องของมรดกกัน โดยปกติถ้าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้ ก็ไม่ค่อยจะมีปัญหาอะไร แต่ถ้าผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้นี่สิ บางครั้งก็อาจจะเกิดปัญหาบางอย่างขึ้นได้
การทำพินัยกรรมนั้น เป็นส่วนแห่งความตั้งใจของผู้ตายที่ได้สั่งไว้ ซึ่งบางครั้งหลายฝ่ายก็ไม่เห็นด้วย บางฝ่ายอาจเห็นว่าเป็นสิ่งยุติธรรม แต่บางฝ่ายก็อาจเห็นว่าไม่ยุติธรรมบ้างก็ได้ นี่ล่ะคือปัญหาประการหนึ่ง

ทรัพย์ ที่ใครๆ ก็อยากได้
พระอาจารย์ครับ คนที่บวชเป็นพระ ทางกฎหมายเขาว่าไม่สามารถรับมรดกได้ใช่ไหมครับ รู้สึกจะเคยได้ยินมาแว่วๆ นะครับ แฮะๆ ความจำไม่ค่อยดี
ได้ยินเสียงแว่ว ดังแผ่วมาแต่ไกล
ต้องแยกกรณี ในพระพุทธศาสนา การรับมรดกเป็นเรื่องหนึ่ง การให้มรดกหรือพินัยกรรมก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
สำหรับพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทำพินัยกรรม
(๑) (ไม่ว่าจะให้แก่คฤหัสถ์หรือบรรพชิตด้วยกันก็ตาม) แต่สำหรับการรับพินัยกรรมนั้นสามารถกระทำได้ เช่น ผู้ตายทำพินัยกรรมมอบกุฏิ(บ้าน) หรือสิ่งของให้แก่พระภิกษุ ถ้ามีผู้นำมาถวายอย่างนี้ก็รับได้
ในทางกฏหมาย แม้พระภิกษุยังคงดำรงสมณเพศอยู่ ก็สามารถรับพินัยกรรมหรือทรัพย์มรดกนั้นได้เช่นเดียวกัน แต่จะไม่อาจต่อสู้คดีเพื่อเรียกร้องทรัพย์มรดกได้เท่านั้น นั่นหมายถึงถ้ามีผู้นำมาถวายก็รับได้ แต่ไม่พึงเรียกร้องสิทธิ์
หากพระภิกษุรูปนั้นปรารถนาจะต่อสู้คดีเพื่อรับทรัพย์มรดก จะต้องสละสมณเพศออกมาเสียก่อน จึงจะมีสิทธิ์ต่อสู้คดีในเรื่องทรัพย์มรดกได้
ส่วนในการทำพินัยกรรมของพระภิกษุนั้น ในทางกฏหมายสามารถกระทำได้

โห
แล้วถ้าเกิด พระบวชหลังจากมีบุตรแล้วละครับ
ในกรณีนี้เข้าใจว่าคุณจะถามเรื่องของการทำพินัยกรรมของพระภิกษุรูปนั้นใช่หรือไม่ ในส่วนนี้ต้องแยกประเด็นออกเป็น ๒ อย่าง คือ
๑. ทรัพย์ที่เกิดขึ้นก่อนการดำรงสมณเพศ และ
๒. ทรัพย์ที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำรงสมณเพศ หรือทรัพย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยการดำรงสมณเพศ
(หมายความว่าอาศัยการดำรงสมณเพศเป็นเหตุแห่งการได้มาซึ่งทรัพย์)
ในส่วนของทรัพย์ที่เกิดขึ้นก่อนการดำรงสมณเพศนั้นไม่มีปัญหา เพราะก็เป็นสิทธิโดยชอบธรรมที่ผู้บวชจะมอบแก่ใครหรือยกให้ใครไว้ก่อนก็ได้หรือแม้การทำพินัยกรรมไว้ในส่วนของทรัพย์ที่เกิดขึ้นก่อนการดำรงสมณเพศนั้นก็พึงกระทำได้
แต่ทว่า โดยหลักการของพระพุทธศาสนานั้น เมื่อบุคคลออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว ก็ควรสละเสียซึ่งทรัพย์ทั้งหลาย และอำนาจในทรัพย์นั้นให้แก่บุคคลผู้อยู่ภายหลังเสียก่อนจึงจะสมควร
เรียกว่าตัดภาระผูกพันในทางโลกเสีย เรียกตามภาษาเดิมว่า “สละเรือนออกบวช หรือ สละกองโภคะสมบัติน้อยใหญ่บวชเป็นบรรพชิต เป็นอนาคาริกะ (ผู้ไม่มีเรือน)”
คำว่า “ผู้ไม่มีเรือน” นั้นมีความหมายว่า ไม่มีทรัพย์สมบัติหรือไม่ครอบครองทรัพย์สมบัตินั่นเอง มิใช่หมายถึง ไม่มีที่อยู่อาศัย

แล้วในขณะบวช ถ้าพระองค์นั้นเกิดมีทรัพย์ขึ้นมา พอพระท่านตาย ทรัพย์นั้น บุตรจะนำมาแบ่งกันไม่ได้ด้วยใช่ไหมครับ ต้องตกเป็นของสงฆ์ใช่ไหมครับ หรือว่าเป็นของลูกหลานของพระท่านนั้น นำมาแบ่งกันได้ครับ
อืมมม ทรัพย์นั้นก็ตกเป็นของสงฆ์หรือเปล่า
ซึ่งสำหรับทรัพย์ที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำรงสมณเพศนั้น โดยวินัยของสงฆ์พระภิกษุไม่มีสิทธิ์ที่จะทำพินัยกรรมเพื่อจะยกให้ใคร เมื่อพระภิกษุรูปนั้นถึงแก่มรณภาพลง ทรัพย์ทั้งปวงย่อมตกเป็นของสงฆ์หรือเป็นของกลางทันที (๑)
เพราะในธรรมวินัยนี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระภิกษุไม่พึงมีสิทธิ์ในทรัพย์ภายหลังเมื่อตนนั้นถึงแก่ความตาย เพราะเหตุใด ?
เพราะเหตุว่า อันการกระทำที่บุคคลกระทำแล้วด้วยเจตนาเท่านั้นจึงจะถือได้ว่าเป็นกรรม คือ จะต้องกระทำเมื่อตนยังสามารถกระทำได้ หรือเมื่อตนยังคงมีชีวิตอยู่เท่านั้น มิใช่ให้เป็นไปภายหลังที่ตนไม่สามารถครอบครองทรัพย์สินนั้นได้แล้ว
เพราะบุคคลย่อมไม่มีสิทธิโดยชอบธรรมต่อทรัพย์อันตนมิได้เป็นเจ้าของแล้ว ฉันใด บรรดาสิทธิ์ทั้งหลายในทรัพย์นั้นของเจ้าของทรัพย์ก็ย่อมหมดสิ้นไปด้วย ภายหลังเมื่อตนได้เสียชีวิตไปแล้ว ก็ฉันนั้น
เช่นว่า ถ้าเราปรารถนาจะให้อะไรกับใครสักคนหนึ่ง เราจะต้องให้ในขณะที่เรายังมีลมหายใจอยู่นะ ไม่ใช่ว่า ‘รอฉันตายก่อนแล้วเธอจึงค่อยมารับ’ อย่างนี้ใช้ไม่ได้
เรียกว่า การกระทำนั้น ไม่เป็นกรรมที่สมบูรณ์โดยเจตนา เพราะขาดเจตนาในการให้
(๒) และขาดองค์ประกอบในข้อที่ว่า ทรัพย์นั้นมีเจ้าของหวงแหน (๓) เป็นแต่เพียงว่า “จะให้ จะให้” เท่านั้น หรือเป็นแต่เพียงความตั้งใจที่จะให้ แต่ยังมิได้มีการให้เกิดขึ้นจริง
เมื่อกล่าวในด้านบุญกุศลแล้ว บุญกุศลอันเกิดแต่ทรัพย์ที่ตนบริจาคแก่ลูกหลานนั้นจะเกิดขึ้นได้ จะต้องเป็นการให้โดยสิทธิ์ขาดแก่ผู้นั้นทันทีในขณะที่ตนยังคงมีชีวิตอยู่ เรียกว่า ให้เขาไปโดยเราก็รู้อยู่ว่า เขาย่อมได้รับแล้วอย่างแน่นอน อีกทั้งยังถือว่า เป็นการสละขาดจากการครอบครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นด้วยเจตนาสละของตนเอง โดยตนก็พร้อมที่จะสูญเสีย หรือเสียสละไปให้แก่เขาโดยไม่เหลือเยื่อใย

เอ แล้วการบริจาคร่างกายเมื่อตายแล้ว ก็ไม่ถือว่าได้บุญด้วยสิ
Annie says:
แต่ก็มีการตัดสินใจจะบริจาคก่อนตายนี่คะ

ก็เหมือนพินัยกรรมค่ะ ตามที่ท่านปิกำลังอธิบายอยู่
ในเรื่องของการบริจาคร่างกายนั้น ความจริงก็เป็นบุญเช่นกัน แต่ก็มีอานิสงส์น้อย เพราะตนยินยอมพร้อมใจที่จะให้ภายหลังเมื่อตนใช้ประโยชน์ไม่ได้แล้ว (๔) แต่แม้อย่างนั้น คนในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถสละร่างกายให้กับโรงพยาบาลหรือผู้พิการได้ เพราะความตระหนี่หวงแหนเป็นสำคัญ หรือด้วยความเห็นผิดบางประการเกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย (เช่น เชื่อว่าจะเกิดมาพิการ เป็นต้น)
อย่างนี้การบริจาคตา ถ้าให้ได้กุศลจริง ก็ต้องทันทีที่รู้ว่ามีคนต้องการดวงตา
การทำพินัยกรรมเพื่อให้มีผลภายหลังการสิ้นชีวิตนั้น แม้ว่าผู้ตายจะต้องการให้ผู้นั้นผู้นี้ได้รับ แต่ทว่า ความเป็นจริง ผู้ตายมิได้มีเจตนาสละเลยแม้แต่น้อย เพราะเป็นการให้ภายหลังที่ตนไม่อาจใช้สอยได้แล้ว เช่นว่าหรือคล้ายๆ กับว่า อาหารบางอย่างเรากินไม่ได้หรือเป็นของแสลง แม้อยากจะกินก็กินไม่ได้ จึงต้องให้ผู้อื่นไป อย่างนี้เจตนาในการให้ไม่บริบูรณ์ คือมีกำลังอ่อนมาก
อืม น่าคิด
นั่นซิ
โห ชัดเจน ด้วยเพราะตนยังไม่ได้สละอย่างแท้จริง
พระพุทธเจ้าตรัสว่า การให้ทานนั้นจะมีผลมากมีอานิสงส์มากขึ้นกับองค์ประกอบ ๓ ประการ (๕) คือ
๑. ความตั้งใจของผู้ให้ (ศรัทธา)
๒. สิ่งของที่ให้ได้มาโดยบริสุทธิ์และมีประโยชน์ (ไทยธรรม)
๓. ผู้รับเป็นผู้ที่มีศีลมีธรรม (ทักขิไณยบุคคล)
๑. ผู้ให้มีเจตนาให้การสละสิ่งนั้นจริงๆ จึงจะเริ่มต้นเป็นทาน การให้ และท่านกล่าวว่า ถ้าผู้ให้มีคุณธรรมสูง ย่อมทำให้เกิดบุญมาก ซึ่งในข้อนี้ หมายถึง เมื่อผู้ให้เป็นผู้มีคุณธรรม ย่อมให้โดยพิจารณาโดยแยบคายก่อนให้ ฉะนั้น ย่อมให้สิ่งที่สมควร ในกาลที่ควร แก่บุคคลผู้ที่สมควรได้รับด้วย ฉะนั้น จึงย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก

ถ้าจะให้ ก็ต้องให้ทันทีเลย ไม่ใช่ทำหนังสือบอกว่าจะให้เมื่อตายแล้ว แต่ก็มีคนให้ทันทีนะ แต่ก็ด้วยความหวังว่าลูกหลานคนนั้นๆ จะทำดีด้วย อย่างนี้ก็ไม่น่าจะใช่บุญนะ ให้เพื่อหวังการตอบแทน
และท่านได้กล่าวไว้อีกว่า ในการให้ทานนั้น ถ้าผู้ให้ก่อนการให้ก็มีจิตยินดีมีความตั้งใจ ระหว่างให้ก็มีจิตยินดีมีความตั้งใจ และหลังจากได้ให้ไปแล้ว คือ เขาได้รับไปแล้ว ก็มีจิตยินดีมีความพึงพอใจ อย่างนี้จึงจะทำให้การให้นั้น มีผลมากมีอานิสงส์มาก (๒)
ตรงนี้ล่ะที่สำคัญ คือ ในฝ่ายของผู้ให้ เมื่อผู้ให้ยังมิได้มีเจตนาที่จะให้โดยสละขาดอย่างแท้จริง จึงมิได้ให้(ทรัพย์นั้น)ในขณะที่ตนยังมีชีวิตอยู่ เป็นเหตุที่ทำให้การให้นั้น มิได้เป็นบุญที่แท้จริง

ตรงนี้ล่ะเด็ด เพราะยังไม่ได้มีเจตนาสละขาดอย่างแท้จริง
ฉะนั้น หากจะกล่าวในแง่ของความเป็นบุญกุศลแล้ว ในขณะที่ให้ เช่น ในขณะที่ทำพินัยกรรม ผู้นั้นก็มิได้ให้ในสิ่งที่เขามีอำนาจครอบครองต่อทรัพย์นั้นอย่างแท้จริง เพราะเมื่อถืงเวลานั้น ผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจครอบครองทรัพย์นั้นอีกต่อไป จำต้องสละ เรียกว่า เจตนาในบุญนั้นมีกำลังอ่อน
แต่หากกล่าวในแง่ของเจตนาของผู้ให้ ก็อาจกล่าวได้ว่า ผู้ให้มีเจตนาที่จะให้แก่ผู้รับจริง หรืออาจเชื่อว่ากระบวนการทางกฎหมายจะคุ้มครองเพื่อปฏิบัติต่อพินัยกรรมนั้น เพื่อให้ผู้นั้นได้รับจริง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เจตนาในการให้นั้นก็เป็นบุญประการหนึ่ง แต่ความเสียสละซึ่งเป็นสาระสำคัญของการให้ทานนั้นกลับไม่มี
และแม้ได้ให้ไปแล้วโดยการทำพินัยกรรมไว้ ผู้ให้ก็ไม่อาจทราบได้ว่า ผู้รับนั้นจะได้รับทรัพย์นั้นจริงหรือไม่ เพราะบุคคลนั้นๆ ก็ได้ตายไปแล้ว เรียกว่า เจตนาทั้ง ๓ กาลไม่บริบูรณ์
๑ เจตนาก่อนให้มีกำลังอ่อน เพราะมิได้คิดสละขาดในขณะที่มีชีวิตอยู่
๒ เจตนาในระหว่างการให้ก็ไม่มี เพราะยังมิได้ให้ จะให้ต้องเมื่อฉันตายแล้วเท่านั้น หรือแม้คิดว่า ขณะทำพินัยกรรมก็ได้ให้แล้ว แต่โดยแท้แล้วก็ยังมิได้ให้อยู่นั่นเอง
๓ เจตนาหลังการให้ คือ ความปราโมทย์ ปีติ จากการได้ให้ หรือจากการได้เห็นว่าเขาได้รับส่วนนั้นแล้ว ย่อมไม่มี
ฉะนั้น วินัยของพระอริยเจ้าทั้งหลาย พระพุทธองค์จึงไม่ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทำพินัยกรรม ซึ่งระบุไว้ในพระวินัยปิฎก ว่าหากต้องการให้ ต้องให้ในขณะที่ตนยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น
(๖)
ตอนนี้ ขอย้อนกลับมาสู่ความรู้สึกที่ว่า การแบ่งทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรมนั้น บางครั้งอาจมีความรู้สึกว่าไม่ยุติธรรมในฐานะของบุตรธิดา เป็นต้น
ในกรณีการทำพินัยกรรมนั้น พึงเข้าใจว่า ควรต้องกลับมาพิจารณาความหมายของคำว่า “มรดก” โดยแท้กันเสียก่อน
คำว่า มรดก อย่างที่ได้กล่าวแล้วว่า เป็นส่วนของผู้ตาย ฉะนั้น ถ้าว่าโดยแท้แล้ว ย่อมเป็นสิทธิของผู้ตายในการมีจิตเสน่หาต่อผู้ใด และมอบทรัพย์สมบัติให้แก่ผู้นั้นตามแต่ใจปรารถนาได้
นั่นหมายความว่า เป็นสิทธิของผู้ตายในทรัพย์ที่ตนหามาด้วยความยากลำบากนั่นเอง ฉะนั้น ย่อมมีสิทธิ์ที่จะแบ่งอย่างไรก็ได้ โดยแท้แล้ว ลูกหลาน(ผู้รับ)ย่อมไม่ควรโต้แย้งต่อเจตนาของผู้ที่จากไปโดยอำนาจแห่งความเป็นเจ้าของทรัพย์
เพียงแต่ว่าในขณะที่ผู้ใกล้ตายจะทำพินัยกรรมนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกระทำบนพื้นฐานแห่งความมีสติสัมปชัญญะโดยพร้อมมูลที่สุด
ซึ่งโดยปกติ พ่อแม่ย่อมรักลูกทุกคนและปรารถนาที่จะให้บุตรธิดาได้รับทรัพย์นั้นอย่างเท่าเทียมหรือโดยหน้าที่ๆ ตนรับผิดชอบอยู่แล้วตามสมควร และปรารถนาอย่างที่สุดที่จะให้บุตรธิดามีความสมัครสมานสามัคคี มีความรักความเข้าใจต่อกันและกัน และไม่ถือเอาทรัพย์สินเงินทองเป็นใหญ่จนนำมาซึ่งการทะเลาะวิวาท หรือบั่นทอนความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน
สำหรับบุตรธิดา ภรรยา และผู้เกี่ยวข้องนั้น พึงทำใจไว้โดยแยบคายก่อนว่า ‘นั่นมิใช่ทรัพย์ของเรา’ แต่เป็นทรัพย์ที่ผู้ตายเขาทิ้งไว้ให้ แม้จะมากน้อยอย่างไรเราก็พึงยินดี เพราะนั่นคือส่วนแห่งทรัพย์ที่เพิ่มพูนขึ้นเองจากการให้ โดยได้เปล่า มิใช่ต้องลงทุนลงแรงอะไรไป จึงไม่ควรเสียใจ หากจะได้มากน้อยต่างกันไปบ้าง
คล้ายกับว่าก็เมื่อเรามิได้ทำขึ้น ก็เมื่อทรัพย์เรามิได้หามา ก็เมื่อทรัพย์เรามิได้เป็นเจ้าของ แล้วเราจะต้องการอะไรให้มากมายไปเล่า เพียงชีวิตที่บิดามารดามอบให้ ทั้งอัตตภาพแห่งความเป็นมนุษย์นี้ การดูแลคุ้มครองมาตลอดชั่วชีวิต ให้การศึกษา เท่านี้ยังไม่พออีกหรือ
ใยจะต้องนำเอาปัญหาการแบ่งปันทรัพย์ของบิดามารดา (ของบิดามารดานะ ไม่ใช่ของเรา) มาเป็นเหตุแห่งการทะเลาะเบาะแว้ง แย่งชิงกันในหมู่แห่งญาติพี่น้องร่วมสายโลหิตด้วยเล่า แล้วถ้าผู้ตายรู้ ท่านจะคิดอย่างไร ท่านจะเสียใจอย่างไร

ส่วนใหญ่ เท่าที่ผมรับรู้อ่ะครับพระอาจารย์ เหตุที่พี่น้องทะเลาะกัน หลายครอบครัว ก็เพราะเรื่องทรัพย์นี่แหละครับ ส่วนใหญ่จริง ๆ เกือบร้อยทั้งร้อยเลย ที่ได้รับรู้นะครับ
คนเราทุกคน จริงอยู่ย่อมมีความคาดหวังในทรัพย์มรดกของบิดามารดา แต่เราก็พึงต้องสำเหนียกไว้ว่า ชีวิตของคนทุกคนนั้นย่อมมีหน้าที่ๆ ต้องพึ่งพาตนเองเป็นอันดับแรก เมื่อเราได้รับการปกป้องคุ้มครองดูแลมาอย่างเพียงพอแล้ว ก็ควรใช้ความรู้ที่ได้จากการศึกษามาประกอบอาชีพด้วยความมั่นใจในตนเอง และพร้อมที่จะยืนหยัดขึ้นด้วยกำลังสติปัญญาของตน
ตามหลักของพระพุทธศาสนา ทรัพย์นั้นมี ๒ ประเภท
(๗) คือ
๑. ทรัพย์ภายใน ได้แก่ คุณธรรมความดีทั้งหลาย ทั้งความรู้และสติปัญญา
๒. ทรัพย์ภายนอก ได้แก่ ทรัพย์สินเงินทอง
ในบรรดาทรัพย์ ๒ ประเภทนั้น ทรัพย์ภายในเป็นสิ่งที่ประเสริฐ ท่านเรียกว่า “อริยทรัพย์” คือ ทรัพย์อันประเสริฐที่จะนำชีวิตไปสู่ความดีประเสริฐแท้จริง ส่วนทรัพย์ภายนอกนั้นไม่ประเสริฐอะไร เพราะมีแล้วก็มิได้ทำให้คนพ้นจากความทุกข์ไปได้ แต่กลับเป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อนวุ่นวายใจ และยังเป็นเหตุแห่งการเบียดเบียนแย่งชิงกันอีกด้วย
นี่สิจึงจะเรียกว่ายุติธรรม คือ ต่างฝ่ายต่างก็จบลงด้วยธรรม ยุติลงด้วยธรรม คือ มีความเข้าใจอย่างถูกต้องต่อทรัพย์นั้น แล้วมีความเมตตาต่อกัน ตกลงกัน แบ่งปันกันด้วยความรักความเข้าใจ ซึ่งจะเป็นไปตามธรรมะและหน้าที่ของแต่ละบุคคล
และที่สำคัญพึงพิจารณาอยู่เสมอว่า ‘เรามีหน้าที่ๆ จะต้องขนขวายในกิจทั้งปวง ตามบทบาทและหน้าที่เพื่อความอยู่ได้ด้วยดีในชีวิตของตน


ครับ ผมก็พยายามอยู่เหมือนกันครับพระอาจารย์ เอ้ พยายามหรือเปล่าน้า อิอิ
เห็นด้วยครับ เข้าใจแจ่มแจ้งครับพระอาจารย์ สาธุครับ
อยากให้พิจารณาเช่นนี้จริงๆ ‘นี่คือส่วนเกินนะ นี่คือส่วนเกิน’ ที่เกินพอดีอยู่แล้วตั้งแต่เราเกิดมา เราได้รับอะไรมากมายพอแล้วจากบิดามารดา ฉะนั้น ไม่พึงเศร้าเสียใจ เมื่อคิดถึงทรัพย์นั้นว่าควรเป็นของเราเท่านั้นเท่านี้ ซึ่งนั่นไม่เป็นความจริงเลย
P*^~ I +N~^*K :กินอาหารหลากหลายมีผักผลไม้ 5 ชนิดต่อวัน อายุอ่ says:
ค่ะท่าน
ชีวิตของคนเรานั้น มาก็มาตัวเปล่า แม้เสื้อผ้าสักชิ้นก็ไม่ติดตัวมา ทุกอย่างเราหามาและได้รับมาภายหลังทั้งสิ้น ซึ่งนั่นก็เป็นกำไรของชีวิตแล้ว จะมัวแก่งแย่งกันไปให้เกิดความขัดแย้งในหมู่ญาติเพื่ออะไร
ทรัพย์สินเงินทองไม่มี ภายหลังหากมีสติปัญญาก็สามารถหาได้ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องนี่สิ เป็นสิ่งที่หามาเพิ่มเติมอีกไม่ได้

ครับ
ถ้าพ่อแม่(ผู้ตาย) รู้ว่าลูกหลานมาแก่งแย่งหรือทะเลาะเบาะแว้งกันด้วยเรื่องเช่นนี้ ท่านคงจะเสียใจว่าทรัพย์ที่ท่านหามาได้ด้วยความยากลำบาก กลับเป็นเหตุแห่งการทะเลาะเบาะแว้งและแตกความสามัคคีในหมู่พี่น้อง สู้ไม่มีทรัพย์แล้วพี่น้องมีความรักกันยังไม่ได้
เป็นแง่คิดที่น่านำไปพิจารณา ในเรื่องมรดกให้มากครับ
ถ้าสังคมมีการกำหนดไว้ว่าให้ทรัพย์ตกเป็นของสาธารณะล่ะเจ้าคะ
ถ้าเป็นอย่างนั้น ผมว่าคนหลายคนคงไม่อยากสร้างทรัพย์มาก ๆ เพราะสร้างแล้วก็กลายเป็นของทุกคนไป
ก็ไม่แน่หรอกค่ะ คนที่ไม่มีทายาทแต่ก็มีการสร้างทรัพย์มากมายก็มีนะ ก็เพื่อตนเองได้สุขสบายไว้ก่อน ตายไปก็อีกเรื่อง
ในสมัยพระรัฐบาลท่านออกบวช เมื่อท่านบวชแล้ว มารดาบิดาปรารถนาจะให้ท่านสึกมารับทรัพย์สมบัติ เมื่อท่านไม่รับมารดาบิดากล่าวว่า “เจ้ารู้ไหมว่า ทรัพย์นี้พ่อแม่หามาก็เพื่อเจ้า ถ้าเจ้าไม่รับเอาแล้ว ก็จะต้องถูกหลวงยึดไป ขอเจ้าจงเห็นใจ อย่าให้เป็นเช่นนั้นเลย จงสึกออกมาเถิด”
เมื่อพระรัฐบาลได้ฟังจากโยมพ่อแม่แล้ว ก็ตอบว่า "หากทรัพย์เป็นเหตุที่ทำให้โยมเป็นทุกข์ถึงเพียงนี้ เพราะเกรงจะถูกหลวงยึดไป ก็ขอให้โยมนำทรัพย์ที่เป็นเหตุแห่งความทุกข์ไปโยนทิ้งในมหาสมุทรเสียเถิด เมื่อไม่มีทรัพย์ให้หวงแหนแล้ว โยมก็จะได้ไม่ต้องทุกข์อีกเพราะทรัพย์นั้น"

โอ้ว สุดยอด
เห็นด้วย คนเราก็โลภวันยังค่ำ
จะเห็นได้ว่าตามคติของพระพุทธศาสนา การมีอยู่ซึ่งทรัพย์สินเงินทองนั้น ก็เป็นแต่เพียงปัจจัยในการดำรงชีวิตเท่านั้น หมายความว่า เป็นปัจจัยต่อการมีชีวิตนะ มิใช่เป็นจุดหมายของชีวิต
หลายต่อหลายคนมองว่า ทรัพย์สินนั้นเป็นเป้าหมายของชีวิต หรือเป็นจุดหมายที่ควรจะเข้าถึง คือ ‘ความร่ำรวย’ มุ่งแสวงหาทรัพย์สินเงินทองไว้มากมาย บางครั้งก็ไม่มีโอกาสได้ใช้ จนกระทั่งแม้จนตลอดชั่วชีวิต
ซึ่งทรัพย์สินเงินทองที่หามาได้นั้น แม้จะจับจ่ายใช้สอย จะกินอยู่ฟุ่มเฟือยไปบ้างอย่างไรก็ไม่อาจให้หมดสิ้นไปได้ (เว้นแต่การสูญเสียไปเพราะอบายมุข เช่น การพนัน เป็นต้น) แต่ก็ยังคงเบียดเบียนกันเพื่อทรัพย์ อันเป็นเพียงปัจจัยเกื้อหนุนแก่การดำรงชีวิต
แท้จริงแล้วทรัพย์ทั้งหลายย่อมเป็นปัจจัยแก่การมีชีวิต แต่คนเรามีชีวิตอยู่เพียงเพื่อการมีชีวิตและการมีทรัพย์เท่านั้นหรือ

อืมม นะ เพราะเขาไม่เข้าใจความหมายของชีวิตหรือเปล่า
พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป้าหมายของชีวิตนั้นมีด้วยกัน ๓ ระดับ (๘) โดยในระดับที่ ๑ เรียกว่า “ทิฏฐธัมมิกัตถะ” ประโยชน์ที่พึงเห็นได้ในปัจจุบัน ซึ่งมีอยู่ ๔ ประการ และเป็นเป้าหมายของชีวิตในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น มิใช่เป้าหมายสูงสุด ๔ ประการ ได้แก่
๑ การมีสุขภาพแข็งแรง
๒.การมีอาชีพการงานที่สามารถเลี้ยงตนได้
๓.การได้รับการยอมรับในสังคม มีคนที่รักเรา
๔.การมีครอบครัวที่อบอุ่นผาสุข
พระพุทธองค์ตรัสว่า ๔ ประการนี้ เป็นเพียงจุดหมายในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น เพื่อทำให้ชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้ด้วยดีเพียงในปัจจุบัน
แต่เป้าหมายของชีวิตในอีก ๒ ระดับนั้น เรียกว่า “สัมปรายิกัตถะ” และ “ปรมัตถะ” นั้น ยิ่งกว่านี้อีกมาก ซึ่งสรุปโดยย่อ คือ การกระทำคุณงามความดีทั้งหลาย เพื่อเป็นที่พึ่งทางใจแก่ตนทั้งในปัจจุบัน อนาคต และในสัมปรายภพ และการมีปัญญาในการใช้ชีวิตอยู่อย่างไม่มีความทุกข์เหลืออยู่เลย เรียกว่า สามารถเอาชนะความโลภ โกรธ หลงในตนได้ จนมีจิตเป็นอิสระเหนือสิ่งทั้งปวง มีความสงบเย็นเป็นนิพพาน นี่ล่ะจุดมุ่งหมายของการมีชีวิตที่แท้จริง

สาธุครับพระอาจารย์
เอาไว้เท่านี้ก่อนนะ คืนนี้ดึกมากแล้ว
ครับ
จะมีใครรู้บ้างว่าเป้าหมายของชีวิตควรเป็นเช่นนี้
ขออนุโมทนาบุญกับทุกคนด้วย ที่ได้ร่วมฟังธรรม และสนทนาธรรมร่วมกัน
แหม แต่สองข้อสุดท้าย อธิบายสั้นจัง
สาธุค่ะ
สาธุ ครับพระอาจารย์ ขอบพระคุณมากครับ
กราบขอบพระคุณท่านที่สละเวลามาสนทนาธรรมค่ะ
ขอฝากพุทธภาษิตสำหรับสัปดาห์นี้ไว้ว่า
"อิจฺฉา หิ อนนฺตโคจรา"
ความอยากนั้น ไม่มีที่สิ้นสุดเลย
(ฉะนั้น อย่าไปตามใจกิเลสให้มันหลอกเอานะ)

กราบขอบพระคุณค่ะ
ขอบคุณค่ะ
........................................



๑ วิ.ม. ๕/๑๖๗/๑๘๓
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเมื่อภิกษุถึงมรณภาพ สงฆ์เป็นเจ้าของบาตรจีวร.. บรรดาสิ่งของเหล่านั้น สิ่งใดเป็นลหุภัณฑ์ ลหุบริขาร สิ่งนั้นเราอนุญาตให้สงฆ์พร้อมเพรียงกันแบ่ง บรรดาสิ่งของเหล่านั้น สิ่งใดเป็นครุภัณฑ์ ครุบริขาร สิ่งนั้นเป็นของสงฆ์ผู้อยู่ในจตุรทิศ ทั้งที่มาแล้วและยังไม่มา ไม่ควรแบ่ง ไม่ควรแจก”
๒ ขุ.ชาดก ๕๙ หน้า ๑๖๕ (อรรถกถามัยหกสกุณชาดก), องฺ.ฉกฺก.๒๒/๓๐๘/๓๐๖ (ขยาย ๓๖ หน้า ๖๓๐ อรรถกถา)
เจตนาในการให้มี ๓ กาล คือ
- บุพพเจตนา(เจตนาก่อนการให้)๑
- มุญจนเจตนา(เจตนาในระหว่างที่ให้อยู่)๑
- อปรเจตนา(เจตนาเมื่อได้ให้สำเร็จแล้ว)๑
ซึ่งในที่นี้ขาดองค์ประกอบ ๒ ข้อท้าย คือ มุญจนเจตนา และอปรเจตนา เพราะยังไม่มีการมอบทรัพย์นั้นจริงๆ
๓ ม.มู.๑๒/๔๘๕/๓๖๗ (ขยาย ม.มู.๑๗ หน้า ๕๔๗ อรรถกถา, อภิ.๗๕ หน้า ๒๘๖ อรรถกถา มมร.)
องค์แห่งอกุศลกรรมบถข้อที่ ๒ ว่าด้วยเรื่องอทินนาทาน มี ๕ ข้อ คือ
- ทรัพย์นั้นมีเจ้าของหวงแหน (มีเจ้าของทรัพย์ และเจ้าของทรัพย์ยังคงมีชีวิตอยู่)๑
- รู้อยู่ว่ามีเจ้าของหวงแหน - มีจิตคิดจะลัก
- ทำความพยายามลัก - ได้ทรัพย์นั้นมา
ซึ่งในที่นี้ขาดองค์ประกอบในข้อแรก คือ ทรัพย์นั้นมีเจ้าของหวงแหน
๔ องฺ.ปญฺจ.๓๖ หน้า ๘๑ อรรถกถาสีหสูตร, สํ.ส.๒๔ หน้า ๓๗๒ อรรถกถาเสรีสูตร (มมร.)
๕ องฺ.ติก.๒๐/๔๘๐/๑๖๘ (สัมมุขีสูตร)
๖ วิ.ม.๑ หน้า ๘๕๐ (อรรถกถา) ว่าด้วยเรื่อง การขาดประเคน(เสียสิทธิ์) เพราะเหตุ
๗ อย่าง
๗ องฺ.สตฺตก.๒๓/๕/๔, ขยาย ที.ปา.๑๖ หน้า ๓๗๕-๓๗๘ มมร., วิ.ม.๖ หน้า ๒๙๔ มมร.
๘ ขุ.อิติ.๒๕/๒๐๑/๑๗๔ ขุ.อป.๗๐ หน้า ๓๐๓(มมร) (ขยาย องฺ.อฏฺฐก.๒๓/๑๔๔/๒๘๙ องฺ.อฏฺฐก.๒๓/๑๓๙/๒๑๓)




 

Create Date : 16 มกราคม 2550    
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2550 20:33:01 น.
Counter : 393 Pageviews.  

เรื่องทำบาปโดยไม่รู้นั้นบาปยิ่งกว่าทำบาปทั้งที่รู้ / รักที่บริสุทธิ์แท้จริง 491007

Chatธรรมวันเสาร์ เรื่องทำบาปโดยไม่รู้นั้นบาปยิ่งกว่าทำบาปทั้งที่รู้ / รักที่บริสุทธิ์แท้จริง
(เมื่อวันที่ ๗ ต.ค. ๒๕๔๙)
พระเอกชัย ฐานจาโร says:
ในระหว่างนี้ขอถามที่ไม่เป็นหัวข้อส่วนรวมหน่อยครับ เจ้าภาพถวายข้าวหมาก ฉันได้หรือไม่ ถ้าเป็นเมรัยทำไมเขาจึงยกประเคนให้พระอีก

วัฒน์-รู้จัก, เชื่อ, บังคับ, พอใจ, เคารพ says:
ข้าวหมาก ถือเป็นเมรัยแล้วหรือครับ

พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
ข้าวหมากนั้น ถ้าสี กลิ่น และรสเมาของสุราปรากฏ ก็ฉันไม่ได้, ซึ่งข้าวหมากนั้นจัดเข้าในสุราประเภทหนึ่ง เพราะคำว่า สุรา นั้น คือ รสเมาที่เกิดจากการหมักข้าวหรือแป้งต่างๆ นั่นเอง, ส่วนเมรัยนั้น โดยทั่วไปหมายถึง รสเมาที่เกิดจากการหมักผลไม้ เช่น ไวน์ เป็นต้น

จะคำนึงถึงผลที่ทำให้เมาด้วยไม๊เจ้าคะ เพราะยาเสพติดก็ทำให้เมาได้
การดื่มสุรานั้น เป็นการผิดศีลข้อ ๕ ซึ่งไม่สำคัญว่าผู้ดื่มจะเมาหรือไม่เมา การละเมิดศีลนั้น อยู่ที่เจตนาในการดื่มของเมานั่นเอง ซึ่งยาเสพติดก็จัดเข้าในศีลข้อ ๕ ด้วย เพราะเสพแล้วทำให้เกิดอาการมีนเมาได้
ส้ม-ฝนตกยังต้อง ฟ้าร้องยังถึง says:
กรณีทำผิดโดยไม่เจตนา ผิดเปล่าค่ะ

การทำผิดโดยไม่เจตนานั้น เป็นสำนวนพูดนะ จะรู้ได้ว่าผิดหรือไม่ ขึ้นกับว่ามีเจตนาจะทำสิ่ง(ที่ผิด)นั้นหรือไม่ (ไม่ว่าจะรู้ว่าสิ่งที่ทำนั้น ผิดหรือไม่ก็ตาม)
แบบนี้เจตนาทำ แต่ไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำนั้นผิด ก็ไม่ผิด ??
การมีเจตนาทำ แม้ไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำนั้นผิด ก็ผิดนะ เพราะเป็นบาปที่ตัวการกระทำ
อ้าว.. แบบนี้คนไม่ศึกษาธรรมะ แล้วทำโดยไม่รู้ก็บาป???
คนที่ทำบาปโดยไม่รู้ว่ากำลังทำบาปนั้น เป็นบาปแก่ผู้นั้นยิ่งกว่าผู้ที่รู้ว่าบาปแล้วกระทำบาปเสียอีกนะ
ทำไมเป็นอย่างนั้นครับพระอาจารย์
ธรรมะมีอยู่ในธรรมชาติอยู่แล้ว ไม่ได้บัญญัติว่าบาปหรือไม่เมื่อรู้หรือไม่รู้ สิ่งใดที่บาปอยุ่ที่จิตที่กระทำ ถ้ามีกิเลส บาปแน่ๆ
อยากรู้ว่า คนที่ทำบาปโดยมโนกรรม.. บาปมากกว่ากายกรรมไหมค่ะ
การทำบาปโดยมโนกรรม อาจเป็นบาปมากหรือน้อยกว่าทางกายหรือวาจาก็ได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเจตนา
ในคัมภีร์มิลินทปัญหาท่านกล่าวว่า การที่คนทำบาปทั้งที่รู้ว่าบาปเป็นบาปน้อยกว่าผู้ที่ทำบาปโดยที่ไม่รู้ว่าบาป ก็เพราะว่า คนที่ทำบาปทั้งที่รู้ ย่อมไม่กล้าทำบาปนั้นเต็มที่เพราะมีจิตสำนึกในผลบาปนั้นเสมอ ส่วนคนที่ทำบาปโดยที่ไม่รู้ว่าเป็นบาปนั้น ย่อมกระทำบาปนั้นอย่างเต็มที่โดยไม่มีการยับยั้งชั่งใจเลย
ท่านเปรียบเหมือนกับเรารู้ว่า กะทะมันร้อน ถ้าจำเป็นต้องจับ เราก็จะจับอย่างระมัดระวัง หรือจับไม่เต็มมือ แต่ถ้าเราไม่รู้ว่ากะทะมันร้อน เราก็จะจับอย่างไม่ระวัง จะกำแน่นเต็มมือเลย ทำให้ปล่อยไม่ทัน จะเจ็บปวดมากในภายหลัง
อุปมาในปัจจุบัน เหมือนกับคนขับรถฝ่าไฟแดงโดยที่รู้ว่าเป็นไฟแดง ก็จะยังระมัดระวังมากกว่าคนที่ไม่รู้ว่าตรงนั้นเป็นไฟแดง

อือ หือ กระจ่างมากเลยครับพระอาจารย์ สุดยอด
โดยสัญชาติญาณของมนุษย์. จะรู้ว่าสิ่งใดผิดหรือถูกอยู่แล้วใช่เปล่าค่ะ ???
โดยสัญชาตญาณนั้น จะรู้ได้ว่าสิ่งใดถูกผิดในความจริงขั้นพื้นฐาน แต่มีข้อแม้อยู่ว่า ผู้นั้นต้องมีจิตที่สงบเพียงพอด้วย จึงจะไม่ถูกกิเลสที่มีในใจหลอกเอา
แต่คนที่ทำบาปบ่อย จนชิน.. ชา ไม่รู้สึกตัวว่าต้องเดือดเนื้อร้อนตัว เช่น โกหกบ่อย
คนที่ทำบาปเป็นประจำ จนจิตใจด้านชาไปแล้ว จนบางครั้งไม่รู้สึกกระดากอายนั้น สภาพจิตของบุคคลนั้นย่อมเป็นบาปอยู่เสมอโดยพื้นฐานของจิตซึ่งเป็นเช่นนั้น ฉะนั้น แม้ทำบาปมาก ก็อาจรู้สึกว่าเป็นบาปน้อย หรืออาจไม่รู้ตัวเลยว่ากำลังกระทำบาปอยู่ก็ได้
อ้าว. แบบนี้ก็ได้ผลของการกระทำน้อยซิ
อย่างเช่น คนตบตีกันทุกวัน แม้วันนี้จะถูกตบตีอีก ก็อาจไม่รู้สึกเจ็บใจหรือเจ็บกายอะไรมากนัก เพราะชินชา แต่ความเป็นจริงแล้ว ใจเขาจะไม่มีความสงบเลย กายเขาก็บอบช้ำอยู่มากมาย แม้ว่าเขาจะไม่รู้ก็ตาม และเวลาเขากระทำการตบตีบุคคลอื่น แม้ว่าเขาจะรู้สึกว่าทำเบาๆ แต่สำหรับบุคคลทั่วไป อาจรู้สึกได้ว่ารุนแรงมากก็ได้
นี่แสดงให้เห็นว่า การที่คนเราทำความชั่วจนเคยชิน กรรมนั้นย่อมรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อไรกรรมนั้นให้ผล เช่น บุคคลอื่นทนรับกระทบต่อไปไม่ได้ เมื่อนั้น เขาย่อมได้รับความทุกข์แสนสาหัส เช่น ถูกประทุษร้าย หรือถูกกฎหมายลงโทษ เป็นต้น

เทิด says:
มิน่าละครับ เวลาผมไปวัด พระถึงกล่าวเสมอว่า คนได้พบพุทธศาสนา ถือได้ว่าโชคดีที่สุดแล้ว
พิ้งP^ i +n *K He is a Hero says:
ท่านคะ ขออนุญาตถามแทรกนิดนึงค่ะ สามีภรรยาที่ตบตีกันแต่เดี๋ยวก็ดีกัน จะบาปมั๊ยคะ เค้าจะทุกข์มั๊ยคะ

สามี-ภรรยาตบตีกันเป็นประจำ ถึงเขาจะรู้สึกเป็นเรื่องธรรมดา แต่ร่างกายและจิตใจของเขาก็หยาบกร้านขึ้นทุกวันๆ เขาย่อมไม่สามารถรับรสจากความรู้สึกที่นุ่มนวลหรือความอ่อนโยนได้
เราได้ยินหรือเห็นเหตุการณ์เราต้องทำจิตของเรายังงัยคะ ข้างบ้านพึ่งย้ายมา ทะเลาะกันทุกคืนตอนเช้าก็ดีกันค่ะ
การตบตีกันนั้น แม้จะเป็นสามีภรรยากัน หรือแม้ตอนหลังจะคืนดีกัน แต่ความรู้สึกในใจที่มีต่อกันก็เสียไปแล้วนำกลับคืนไม่ได้ ความสุขที่เคยได้รับจากความรู้สึกผูกพันกันก็เกิดขึ้นได้ยากขึ้นๆ จิตใจที่หยาบกร้านที่ทวีขึ้นนั้น ย่อมทำให้แต่ละฝ่ายเป็นทุกข์อยู่ภายใน ไม่สามารถมีสุขอันประณีตอย่างแต่ก่อนได้อีก และนั่นล่ะ บาปที่เห็นได้ชัดในปัจจุบัน
อย่างนี้เรียก เสียความรู้สึก และชาติหน้า ถ้าพบกันอีก จะรู้สึกกันอย่างไรนะเจ้าคะ
แบบนี้พอจิตใจหยาบกร้าน การที่จะซึมซาบ ความละเอียดในธรรมะก็น้อยลงใช่เปล่า
การทำร้ายร่างกายกันนั้น เป็นบาปอยู่แล้วในตัวเอง แม้ว่าบุคคลทั้ง ๒ ฝ่ายอาจจะชินชา จนไม่อาจรู้สึกได้จากความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตน ซึ่งในชาติต่อๆ ไปนั้น ผู้ทำร้ายก็อาจถูกบุคคลอื่นทำร้ายโดยไม่ทราบสาเหตุได้ด้วยเช่นเดียวกัน อย่างที่เรียกว่า "ถูกลูกหลง" เป็นต้น
คิดว่าคงต้องทำใจครับสำหรับบัวเหล่าที่ ๔ สิ่งที่เราทำได้ก็คือ ตั้งตัวเราอยู่ในความไม่ประมาทและแนะนำเขาโดยการทำเป็นตัวอย่างให้เห็นในเรื่องของความอ่อนโยน
เราตีเขาครั้งนึง แล้วทำไมถูกผลกรรมนั้น หลายครั้งล่ะเจ้าคะ
ท่านว่า กรรมนั้นย่อมให้ผลมากให้อานิสงส์มาก ทั้งดีและร้าย
เคยได้ยินมาว่า คนที่ฆ่าตัวตาย พอเกิดมาทุกชาติก็ต้องฆ่าตัวตายอยู่ร่ำไป จริงเปล่าค่ะ
การฆ่าตัวตายนั้น เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีจิตใจไม่เข้มแข็งเพียงพอที่จะเผชิญหน้ากับอุปสรรค เมื่อถึงขั้นฆ่าตัวตาย ก็หมายถึง จิตใจไม่เข้มแข็งถึงที่สุด เพราะตามธรรมดาคนเราย่อมรักชีวิตของตนยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด ฉะนั้น การที่เราถึงขั้นฆ่าตัวตาย จึงหมายถึง จิตใจหมดความต้านทานต่อทุกสิ่งแล้ว
และหากการฆ่าตัวตายนั้นสำเร็จลง สภาพจิตเช่นนั้นก็ย่อมจะเป็นเหตุแห่งการอุบัติขึ้นในอัตภาพใหม่ ซึ่งมีสภาพจิตที่ไม่เข้มแข็งเช่นเดียวกัน
การที่บุคคลนั้นๆ เกิดมาโดยสภาพจิตที่ไม่เข้มแข็งเพียงพอ ไม่ทนทานต่อความเหนื่อยยาก ความลำบากกายใจ ย่อมทำให้เป็นสาเหตุให้ฆ่าตัวตายได้อีกเช่นกัน
อย่างเช่นว่า คุณเคยเห็นไหม บางคนก็ไม่สามารถอดทนต่ออะไรๆ ได้มากนัก เช่นว่า สูญเสียอะไรเล็กน้อย ก็ตีโพยตีพาย หรือร้องกรีดๆ แล้ว อย่างนี้เป็นต้น

เดี๋ยวนี้สังคมมีคนฆ่าตัวตายกันมากขึ้น
สังคมที่บีบรัดเป็นสาเหตุหนึ่ง แต่อีกสาเหตุหนึ่งที่ประกอบร่วมด้วยก็คือ ความโลภจัดและความโกรธจัดนั่นเอง ทนไม่ได้ต่อการสูญเสียต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น สุญเสียชื่อเสียง สูญเสียบุตร-ธิดา สุญเสียทรัพย์สิน เป็นต้น
………………………………………………….

เกี๊ยก-Kiak.. There is no phychiatrist in the world like a puppy licking says:
ความรักที่มีต่อบุตรธิดา ถือเป็นความโลภหรือครับ

ความรัก นั้นเป็นฝักฝ่ายของความโลภอย่างหนึ่งนะ อย่างเช่น บางคนมีความรักแล้ว ไม่สมรัก ฆ่าตัวตายก็เยอะไป
หรือไม่ก็ฆ่าเขาตาย แสดงว่ารักแบบผิดๆ
แบบนี้ทำยังไง.. จิตใจถึงจะเข้มแข็ง อดทน คนสมัยนี้ความอดทนน้อย (หรือเปล่าค่ะ)
รักเอาเข้าหาตัว รักเพื่อตัวเอง รักเพราะเป็นของตัว พอไม่ใช่ ไม่ได้อย่างต้องการก็เกิดโทสะ
บางคนรู้ว่าแฟนไม่รักหรือมีท่าทีจะเปลี่ยนใจ ก็เอามีดไปฆ่าแฟนตาย แล้วก็แทงตัวตายตาม เป็นต้น ซึ่งมีมากมายตามหน้าหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน

ความรักที่ยกตัวอย่างมา ค่อนข้างชัดเจนครับ แต่ผมยังรู้สึกว่าความรักที่มีให้ต่อบุตรธิดา น่าจะเป็นสิ่งประเสริฐ คือพ่อกับแม่รักเรา ไม่น่าจะจัดว่าโลภ
เรื่องนี้น่าคิดนะ อย่างเช่น ความรักของบิดามารดาที่มีต่อบุตรของตนนั้น สังเกตหรือไม่ว่า บิดามารดาสามารถรักได้เฉพาะบุตรของตนเท่านั้น บุตรของคนอื่นไม่เกี่ยว
ครับ ตรงนั้นผมมองว่าเป็นอีกประเด็น คือเหตุแห่งความรัก
ในด้านหนึ่งเพราะความรักที่บิดามารดามีนั้น เป็นความรักที่มีมูลฐานมาจากการรักตัวเอง และรักของของตนเอง ถ้าบุตรนั้นมิใช่บุตรของตนก็มิอาจที่จะรักได้
แต่เป็นความรักแบบเมตตานิค่ะ
โดยแท้แม้บิดามารดาจะรักบุตรของตนเพียงใด แต่ถ้ากลับกันนะ เกิดวันหนึ่งตรวจDNA พบว่า ไม่ใช่บุตรของตนแท้ ความรักที่เลี้ยงดูมานั้นก็จะจืดจางลงทันที เพราะเหตุใด ก็เพราะความยึดถือในความเป็นของของตนนั้นเอง
ความรักเช่นนี้ ถือเป็นความรักสามัญที่มีในสัตว์ทั้งหลายทั่วไป อย่างเช่นว่า ลองคิดดูว่า ถ้าหากเรารู้ว่า พ่อแม่เราไม่ใช่ผู้นี้ แต่ที่แท้เป็นอีกผู้หนึ่ง แม้แต่เราเองก็อาจหวั่นไหวไป เพราะความรู้สึกผูกพันกันของปุถุชนนั้น อาศัยความรู้สึกที่เป็นตัวตนและของของตนเป็นประการสำคัญ
แต่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงถึงความรักที่ดีงามนั้น มิใช่ความรักในลักษณะเช่นนี้ แต่ทรงชี้ให้เห็นถึงความรักที่บริสุทธิ์แท้จริง ที่เรียกว่า เมตตา นั่นเอง

อย่างนี้ ความรักพ่อรักแม่ ความรักลูก ก็ไม่บริสุทธิ์สิเจ้าคะ แล้วรักที่ถือว่าบริสุทธิ์คืออะไรเจ้าคะ คือรักแบบเมตตาเหรอ เป็นอย่างไรเจ้าคะ
ความเมตตาต่างจากความรักของสามัญชนทั่วไปที่เป็นลักษณะของเสน่หานะ แต่เป็นความรักที่ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุขอย่างแท้จริง โดยไม่อาศัยความเห็นแก่ตนเลย
อ้าว แบบนี้ความรักของพ่อแม่ก็ไม่ใช่ความรักแบบเมตตาซิค่ะ
ความรักของบิดามารดานั้น อาจจัดเป็นเมตตาก็ได้ในบางโอกาส แต่ไม่เสมอไปนะ
แต่พ่อแม่ก็ยอมสละตัวเองเพื่อลูก แบบนี้ก็ไม่ใช่เห็นแก่ตนซิค่ะ
อย่างเช่น บางครั้งลูกดื้อ พ่อแม่โกรธอาจตบหรือตีเราแรงๆ อย่างนี้นะ ความเมตตานั้นก็หายไปชั่วคราว กลายเป็นจิตใจที่ไม่ดี ขึ้นมาแทนความเมตตา ส่วนนี้มีความละเอียดอ่อนสักหน่อยนะ อาจต้องใช้เวลาอธิบายสักนิดหนึ่ง
ตามธรรมชาติแล้ว จิตสำนึกเราย่อมรู้ได้ถึงความรักที่พ่อแม่มีต่อเรา ฉะนั้น ความรักที่เรามีต่อท่านนั้น ก็ย่อมเป็นความรักที่แสดงตอบด้วยเมตตาจิตบ้าง ด้วยเสน่หาบ้าง สลับสับเปลี่ยนกันไป
เช่น พ่อแม่ซื้อของให้เรา เราก็เสน่หาพ่อแม่ , เราปรารถนาให้พ่อแม่มีสุขภาพที่แข็งแรง เราก็เมตตาพ่อแม่, แต่เวลาพ่อแม่ขัดใจเรา บางครั้งเราก็อาจเกลียดชังพ่อแม่ได้ นั่นเพราะอะไร เพราะว่า ความรักนั้นยังไม่ถึงขึ้นเป็นความรักที่บริสุทธิ์อย่างแท้จริง เพราะยังปะปนอยู่ด้วยความรู้สึกได้มาและเสียไปอยู่นั่นเอง
ต้องเข้าใจว่า ความเมตตา นั้น คือ ความรักปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุขนะ โดยที่ไม่ใส่ใจต่อตัวเราว่าจะได้รับความสุขนั้นตอบแทนหรือไม่ ส่วนความรักอย่างเสน่หา นั้น คือ ความรักที่เราจะรักเขาได้ก็ต่อเมื่อเขาต้องมาทำให้เราเป็นสุขเท่านั้น
อย่างเช่นว่า ขออภัยไว้ก่อนนะ จะพูดแบบแรงๆ และตรงๆ เพื่อให้เห็นภาพนะ
อย่างเช่น สุนัขตัวเมียออกลูก มันก็มีความรัก ความหวงแหนไม่ต่างจากความรักของคนเราเหมือนกันนะ เราลองดูสิว่า ถ้าเราไปเข้าใกล้ลูกสุนัข แม่สุนัขมันก็กัดเอานะ แม่สุนัขมันก็รักเป็นเฉพาะแต่ลูกของมันเท่านั้นล่ะ ลูกสุนัขอื่น มันก็รักไม่เป็นเหมือนกัน
อย่างเราไปเข้าใกล้ลูกสุนัขนะ แม่สุนัขมันก็กัดเราเข้าให้เลย มันไม่สนใจหรอกว่า เราจะเจ็บหรือไม่ เรียกว่า มันก็รักเป็นเฉพาะลูกมัน
คุณลองดูสิว่า นี่มันเพราะอะไร เพราะลูกสุนัขเป็นลูกมันใช่ไหม ถ้าเป็นลูกไก่ ลูกเป็ด มันก็กัดเอาเลย เอามาให้ลูกมันกินเลยนะ มันก็รักลูกคนอื่นเขาไม่เป็นเหมือนกัน
ลักษณะความรักอย่างนี้นะ คุณว่ามันจะประเสริฐที่ตรงไหนล่ะ ถ้ารู้จักแต่รักลูกของตัว ปกป้องเป็นเฉพาะลูกของตัว หวงแหนเฉพาะลูกของตัว ให้ความรักเป็นเฉพาะลูกของตัว และทำได้ทุกอย่างไม่ว่าถูกหรือผิดก็เพื่อให้ลูกของตัว

คือเป็นสัญชาติญาณที่ธรรมชาติสร้างมา ให้กับมนุษย์ และสัตว์ทั่วไป
แล้วคุณลองมองออกไปในสังคมสิ เวลาหนุ่มสาวเป็นแฟนกันนะ ถ้าแฟนของเราเจ็บ เราก็เจ็บนะ แต่ถ้าแฟนชาวบ้านเจ็บ เราจะเจ็บด้วยไหมล่ะ (เช่นตามหน้าหนังสือพิมพ์น่ะ) ซึ่งมีอยู่ทั่วไป ทั้งอุบัติเหตุ ฆ่าข่มขืน ลูกคนอื่น แฟนคนอื่น เราเจ็บด้วยไหมล่ะ
นี่ล่ะ ความรักแบบเสน่หา อย่างว่า ถ้ามองให้ลึก เราจะรู้ได้ว่า มันเป็นธรรมดาสามัญนะที่ไม่ต้องอาศัยการฝึกฝนพัฒนาตนเลยแม้แต่นิดเดียว เป็นกันทั่วไปในสัตว์ทั้งหลาย

แบบนี้ถ้าเราสามารถแผ่ความรัก ให้กับผู้อื่นได้ที่ไม่ใช่พ่อแม่ของตน หรือพ่อแม่เราแผ่ความรักให้กับผู้อื่นที่ไม่ใช่ลูก.. ก็ประเสริฐกว่า คือ ดีกว่า หรือค่ะ
Basic instinct

พระพุทธองค์จึงตรัสสอนถึงความรักที่ประเสริฐแท้จริงไว้ว่า ได้แก่ ความรักแบบเมตตา หรือ อัปปมัญญา นั่นล่ะ จึงจะประเสริฐ (อย่างที่ได้เคยแสดงไว้แล้วในครั้งก่อนโน้น)
ความรักที่มีตนเป็นศูนย์กลางแห่งความรักนั้น ซึ่งจะรักได้ก็ต่อเมื่อเขาเป็นคนของเราเท่านั้น จึงยังไม่ประเสริฐแท้จริง แต่ก็อยู่ในขั้นที่ดี แต่ความรักที่ประเสริฐอย่างแท้จริงนั้น คือ ความรักที่มิได้มีตนเป็นศูนย์กลางแห่งความรัก ที่จะต้องเป็นของของเรา หรือคนของเรา หรือจะต้องมีเงื่อนไขที่ทำให้เราเป็นสุข นี่สิ จึงประเสริฐกว่า
อย่างเช่น พระศาสดาโดยมากในโลก ส่วนใหญ่จะมีความรักเพื่อผู้อื่น แม้มิได้เกี่ยวข้องกับตัวท่านเลยก็ตาม นี่สิประเสริฐอย่างแท้จริง (เว้นแต่ศาสดาบางพระองค์นะ ที่รู้จักแต่จะรักเฉพาะศาสนิกของตนเท่านั้น เรียกว่า เธอต้องมาเป็นศาสนิกของฉันก่อน ฉันถึงจะรัก)
แต่ทว่า แม้พระศาสดาทั้งหลายในโลกจะทรงมีพระมหากรุณาต่อสรรพสัตว์ก็ตาม แต่ด้วยปัญญาที่เห็นความจริงลึกซึ้งไม่เท่ากัน ก็ยังคงเป็นอุปสรรคที่ทำให้ผู้ปฏิบัติตาม เข้าถึงความสุขที่ประณีตได้ไม่เท่ากัน

แล้วในการปฎิบัติ จะทำยังไงให้มีความรักแบบเมตตา. เข้าใจแต่ยังทำไม่ได้.. ทำไงดี
การเข้าใจต่อชีวิตและโลกอย่างถ่องแท้ จึงจะทำให้บุคคลวางท่าทีต่อความรักได้อย่างถูกต้อง และไม่ทำให้ตนต้องเป็นทุกข์เพราะความรักเลย
ความรักแบบเสน่หา เป็นความรักที่มีให้แก่ผู้ที่สามารถทำให้ตนเป็นสุขได้
ความรักแบบเมตตา เป็นความรักที่มีให้แก่ผู้อื่น ซึ่งไม่ว่าเขาจะทำให้เราเป็นสุขหรือไม่ก็ตาม ซึ่งประณีตกว่า ดีกว่า แต่ก็ยังจำกัดอยู่เฉพาะบุคคล เฉพาะกลุ่ม เช่น พ่อแม่รักลูกของตน
แต่ความรักแบบอัปปมัญญา คือความรักที่มีให้แก่ผู้อื่น โดยไม่คำนึงว่าเขาจะทำให้เราเป็นสุขได้หรือไม่ และเขาจะเกี่ยวข้องเป็นส่วนตัวกับเราหรือไม่ นี่คือความรักที่ประเสริฐสูงสุดอย่างแท้จริง เช่น ความรักของพระพุทธเจ้าที่มีต่อสัตว์ทั้งหลาย นั่นเอง
เอาล่ะ จบแล้วจ๊ะ
ขอให้ทุกท่านมีความรักที่พัฒนาขึ้นไปโดยลำดับนะ

สาธุ
กราบขอบพระคุณท่านปิมากเจ้าค่ะ
กราบขอบคุณครับ
จาก เสน่หา ไปสู่ เมตตา และจาก เมตตา ไปสู่ อัปปมัญญา กันทุกคน
ค่ะท่าน ปฏิบัติอยู่ค่ะ
กราบลาพระอาจารย์ครับ
ขอฝากพุทธภาษิตไว้ว่า
"โลโก ปตฺถมฺภิกา เมตตา"
เมตตาธรมเป็นสิ่งค้ำจุนโลก

แต่ทางที่ดี โดดข้ามเสน่หาไปเริ่มที่เมตตาก่อนเลยดีกว่า
………………………………………………….




 

Create Date : 29 ธันวาคม 2549    
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2550 21:12:24 น.
Counter : 495 Pageviews.  

1  2  3  4  

กลุ่มต้นธรรม
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




* * * * * * * * * * * * * * * * * * *

อันเวลาอันนับไม่ได้ที่เราหมักหมมมานานแสนนานแล้วนั้นถ้าเราไม่เริ่มรู้เราก็ไม่เริ่มตัด ถ้าไม่ตัดก็ไม่เห็นปลาย และเวลาอันนับไม่ได้นั้นก็เป็นปลายที่ยังอยู่
web site hit counter
We keep fighting fires because we keep adding fuel.
We truly putout fires only when we remove their fuel.

ถึงโลกกว้างไกล ใครๆ รู้
โลกภายในลึกซึ้งอยู่ รู้บ้างไหม
มองโลกภายนอก มองออกไป
มองโลกภายใน คือใจเรา

Friends' blogs
[Add กลุ่มต้นธรรม's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.