εїз ต้นธรรม εїз เติบโตงดงามด้วยคุณธรรม
แหงนหน้ามองขึ้นใปจากโคนต้น เห็นรูปทรงแผ่ระย้ากิ่งสาขา จากร่มเงาแต่ละใบที่ได้มา เกิดจากว่าผู้มีใจไฝ่ในบุญ
Group Blog
 
All blogs
 
อุปาทานขันธ์ ๕ 500812

ธรรมะOnline บ่ายวันอาทิตย์ เรื่องอุปาทานขันธ์ ๕
(เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๐)

นอร์ท the-wealth-society ความมั่งคั่งไม่ใช่เงินตราที่เป็นสื่อกลางของการแลกเปลี่ยนคุณค่า หากแต่คือความสุขต่างหากที่เป็นคุณค่าแท้ says:
นมัสการพระคุณเจ้าครับ สบายดีไหมครับ?

พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
เจริญพรจ๊ะคุณนอร์ท อาตมาสบายดี

ซ้อม ซ้อม ซ้อม และก็ ซ้อม says:
นมัสการ พระอาจารย์ ครับ

หนูนิดจ้ะ. says:
ธรรมะสวัสดีทุกๆ ท่านเจ้าค่ะ นมัสการพระคุณเจ้าทุกรูปเจ้าค่ะ

นิมนต์ท่านบินก้าวเจ้าค่ะ นมัสการท่านบินก้าวเจ้าค่ะ
สมณะบินก้าว : สถานีโทรทัศน์เพื่อแผ่นดินที่ //www.asoke.info/earth.html says:
นมัสการพระอาจารย์ปิยะลักษณ์ครับ และเจริญธรรมญาติโยมทุกๆ คน สนทนาเรื่องอะไรกันอยู่ล่ะนี่ พอดีที่วัดอาตมาเป็นโรงเรียนมัธยมที่มีเด็กอยู่ประจำ กำลังจัดงานวันแม่อยู่ด้วยตอนนี้ เลยมาช้าไปหน่อย

เพิ่งเริ่มต้นเจ้าค่ะ ยังไม่ได้คิดเรื่องที่จะสนทนาเลย ...
นัฐพล-น.น้ำใจดี (FM89.25Mhz) says:
กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ

นิมนต์ท่านเอกเจ้าค่ะ
พระฐานจาโร says:
นมัสการพระอาจารย์ครับ

นมัสการพระอาจารย์อีกท่านเจ้าค่ะ
เจริญพรทุกท่าน
นมัสการพระอาจารย์ทุกท่านครับ
นมัสการท่านฐานจาโร
พระอาจารย์ปิยะลักษณ์ตอนนี้สุขภาพเป็นไงบ้างครับผม ผมได้ฟังคุณเป้เล่าให้ฟังก็รู้สึกเป็นห่วงครับ แล้วไม่ทราบว่าท่านเจ้าคุณฯ อาจารย์ ล่ะครับสุขภาพเป็นไงบ้าง สบายดีหรือเปล่า? ผมไม่ได้มาหาท่านกว่า ๑๕ ปีแล้ว เคยมาพบและถามปัญหาทางจดหมายกับท่านเจ้าคุณฯ อาจารย์ สมัยผมยังไม่ได้บวช แต่ครั้งยังทำงานที่การบินไทย

อ๋อ ท่านบินก้าว ท่านเจ้าคุณฯ ยังสบายดีอยู่ แต่ไม่ค่อยแข็งแรง
นมัสการท่านฐานจาโรครับ นานมากพอควรไม่ได้สทนากันเลย
ท่านเจ้าค่ะ ระหว่างคำว่า “อุปาทานขันธ์” และ “อุปาทานขันธ์ ๕” ความหมายอย่างเดียวกันรึป่าวเจ้าคะ
จ๊ะ ๒ คำนี้มีความหมายอย่างเดียวกัน, แต่สำหรับคำว่า “อุปาทานขันธ์ ๕” นี้กลับมีความหมายที่น่าสนใจอันหนึ่งซึ่งมักเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนถึงความหมายที่แตกต่างกันระหว่างคำว่า “ขันธ์ ๕” และ “อุปาทานขันธ์ ๕” นี้ต่างหาก ซึ่งมักเกิดข้อสงสัยว่า มีความหมายเหมือนกัน หรือต่างกันอย่างไร
ในขั้นต้นขอบอกก่อนว่า คำว่า “ขันธ์ ๕” และ “อุปาทานขันธ์ ๕” นี้มีความหมายที่กว้างแคบต่างกัน
คำว่า “ขันธ์” มีความหมายแปลว่า กลุ่ม กอง หรือ หมวด
คำว่า “ขันธ์ ๕” เป็นชื่อเรียกส่วนประกอบต่างๆ ในธรรมชาติ โดยเฉพาะในสัตว์ทั้งหลายที่ประกอบไปด้วยองค์ประกอบทางด้านวัตถุและทางด้านจิตใจ โดยจำแนกแยกย่อยออกมา เป็นฝ่ายรูปธรรมและอรูปธรรม(นามธรรม)
(๑)
และเมื่อแยกโดยความเป็น “ขันธ์” สามารถแบ่งออกมาได้ ๕ ขันธ์ หรือ ๕ ประเภท
(๒) ดังนี้ คือ
๑. รูปขันธ์ ได้แก่ องค์ประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด จัดอยู่ในฝ่ายรูปธรรม
๒. เวทนาขันธ์ ได้แก่ ความรู้สึกสุขทุกข์ต่างๆ
๓. สัญญาขันธ์ ได้แก่ ความกำหนดหมายในอารมณ์ หรือความทรงจำ
๔. สังขารขันธ์ ได้แก่ สภาพการปรุงแต่งของจิตใจ หรือคุณสมบัติของจิตที่เป็นอยู่
๕. วิญญาณขันธ์ ได้แก่ สภาพการรู้ในอารมณ์ที่เข้ามากระทบ เช่น การเห็น เป็นต้น
ตั้งแต่เวทนา สัญญา สังขาร จนถึง วิญญาณขันธ์ นี้ จัดอยู่ในฝ่ายนามธรรม
คำว่า “อุปาทานขันธ์” แปลว่า ขันธ์อันเป็นที่ตั้งของอุปาทาน หรือขันธ์ที่อาจถูกยึดถือได้ด้วยอุปาทาน
สำหรับอุปาทานขันธ์ ๕ นี้เป็นสิ่งที่มีได้กับบุคคลทั่วไป เว้นไว้แต่พระอรหันต์เท่านั้นที่ไม่มีอุปาทานขันธ์ ๕ เพราะเหตุว่า พระอรหันต์ทั้งหลายไม่มีอุปาทาน จึงไม่มีขันธ์อันเป็นที่ตั้งของอุปาทาน เพราะสำหรับพระอรหันต์แล้ว ขันธ์ใดๆ ก็ไม่สามารถเป็นที่ตั้งแห่งการยึดถือได้อีก ฉะนั้น จึงไม่มีขันธ์ที่จะสามารถถูกยึดถือ(ด้วยอุปาทาน)ได้ หรือไม่มีขันธ์อันสามารถเป็นที่ตั้งแห่งการยึดถือได้อีกต่อไป ฉะนั้น ท่านจึงมีเพียงขันธ์ ๕ แต่ไม่มีอุปาทานขันธ์ ๕ นั่นเอง

จะกล่าวเช่นนี้ได้ไหมเจ้าคะว่า อุปาทานขันธ์ คือ การที่จิต(นาม)ไปยึด ไปถือมั่นใน รูป นาม ว่าตัวว่าตน
มิใช่การที่จิตไปยึดถือหรอกนะ เพราะการยึดถือในขันธ์ ๕ นั้น เป็นชื่อของกิเลสที่ใช้ชื่อว่า “อุปาทาน” ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ (ทุกขสมุทัย)
ส่วนอุปาทานขันธ์ ๕ นั้น หมายถึง ขันธ์ ๕ ที่กำลังถูก(กิเลสได้แก่อุปาทาน) ยึดถือต่างหาก (เป็นทุกข์) มิใช่ตัวการยึดถือที่เป็นกิเลส (เป็นทุกขสมุทัย) อย่างที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น

มีอุปาทานในสิ่งอื่นๆ อีกไม๊เจ้าคะ หรือว่ามีแต่ในขันธ์เท่านั้น
ขันธ์ ๕ นั้นเป็นคำรวมของทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ (ทั้งฝ่ายรูปธรรมและนามธรรม) อันเป็นที่ตั้งแห่งการยึดถือ ไม่มีสิ่งใดอื่นนอกไปจากขันธ์ ๕ ที่เป็นที่ตั้งแห่งการยึดถืออีกแล้ว
เจ้าค่ะ เริ่มชัดเจนเจ้าค่ะ
เรามีเพียงแค่นี้ แค่ขันธ์ 5 ถ้าจะมีอุปาทาน ก็จะยึดแค่ขันธ์ 5 นี้เท่านั้น
ในธรรมชาติทั้งหลาย ประกอบไปด้วย (๓)
๑. ขันธ์ ๕ (องค์ประกอบฝ่ายรูปธรรมและนามธรรม อันมีความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ที่เรียกว่า สังขารธรรมหรือสังขตธรรม) และ
๒. ขันธวิมุตติ (ฝ่ายนามธรรมอันพ้นแล้วจากเหตุปัจจัย ที่เรียกว่า วิสังขารธรรมหรืออสังขตธรรม) ได้แก่ พระนิพพาน

ที่ว่า จิต เจตสิก รูป นิพพาน ใช่ไม๊เจ้าคะ
ใช่จ๊ะ ธรรมเมื่อว่าโดยปรมัตถ์ แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน (๔)
เอ ท่านคะ ขันธ์ ๕ เป็นคำรวมของทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ไม่มีสิ่งใดอื่นนอกจากขันธ์ ๕ ....แล้วสิ่งที่ไม่มีนามขันธ์ยึดครอง จะว่าเป็นขันธ์ ๕ ได้อย่างไรเจ้าคะ

ในสังขารธรรมทั้งหลาย โดยนัยหนึ่ง ประกอบไปด้วย (๕)
๑. อุปาทินนกสังขาร (สังขารที่มีอุปาทานครอง หรือสังขารที่มีใจครอง) และ
๒. อนุปาทินนกสังขาร (สังขารที่ไม่มีอุปาทานครอง หรือรูปธรรมอันไม่มีใจครอง)
คำว่า “สังขารธรรม” นั้น ในความหมายหนึ่งก็คือ ขันธ์ ๕ นี่เอง ไม่ต่างกัน ฉะนั้น ในคำว่าขันธ์ ๕ จึงมีทั้งส่วนที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมเช่นเดียวกับสังขารธรรม ไม่จำกัดว่าจะมีใจครองหรือไม่

ขันธ์ 5 เป้นทุกสิ่งทุกอย่างในโลกของสังขตธรรมหรือเปล่าคะ
ถูกต้อง
ส้ม says:
สวัสดีทุกคนค่ะ

เอะอะก็ว่ารัก เอะอะก็คิดถึง....คำพูดที่ไม่เคยคิดที่จริงมันคือ"ยาพิษ"ทำลายชีวิตของคนงมงาย says:
นมัสการท่านผู้เจริญและสวัสดีทุกท่านครับ พึ่งเข้ามาครั้งแรกครับ ขอนั่งอ่านไปก่อน สงสัยหลายเรื่องเลยครับ
เยิ่ยมเลย วันนี้ให้เข้าใจเรื่องขันธ์ 5 ครั้งต่อๆ ไป ถ้าเป็นไปได้แยกแยะนาม ให้รู้จักส่วนประกอบของนามให้ละเอียด และเข้าเรื่องสติปัฏฐาน 4 เพื่อให้รู้จักสภาพธรรม เพื่อเอาไปใช้ในการพิจารณาในชีวิตประจำวัน
พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ทุกข์ คือ สิ่งที่พึงกำหนดรู้ (ควรรู้จัก)" (๖) ทุกข์เป็นไฉน ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ..ฯลฯ.. ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ นั่นแลเป็นตัวทุกข์" (๗)
ที่เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ นั่นแลเป็นตัวทุกข์ ก็หมายถึงว่า เรามีหน้าที่ๆ ต้องรู้จักอุปาทานขันธ์ ๕ ในฐานะที่ตั้งแห่งกองทุกข์ และเมื่อถามว่า อะไรเล่าคืออุปาทานขันธ์ ๕ ก็ตอบว่า ขันธ์ ๕ ทั้งสิ้นอันเป็นที่ตั้งที่อาศัยแห่งอุปาทาน หรือเป็นที่เกิดได้ อาศัยได้แห่งอุปาทาน(ความยึดถือ) นั่นเอง คือสิ่งที่ควรกำหนดรู้

เจ้าค่ะ
ตอนนี้ก็มาลงรายละเอียดอีกครั้งหนึ่งว่า ขันธ์ ๕ ที่กำลังถูกยึดถือ หรือเป็นที่ตั้งที่อาศัยแห่งการยึดถือได้ นั้นคืออะไร ก็ตอบว่า ขันธ์ ๕ ที่ว่านี้ก็คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณขันธ์ นั่นเอง
ฉะนั้น เราพึงกำหนดรู้ คือ ทำความรู้จักในขันธ์ ๕ เหล่านี้ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งกองทุกข์ทั้งปวง

พอจะเข้าใจบ้างแล้วครับ แล้วการกำหนดรู้ครับ ที่ถูกเราควรทำอย่างไรครับ กำหนดรู้อย่างไรถึงจะถูกต้อง
คำว่า กำหนดรู้ (๘) นั้นหมายถึง เราจะต้องเข้าไปศึกษา คือเข้าไปดู เข้าไปเพ่งพินิจพิจารณาด้วยสติและสัมปชัญญะ เพื่อให้เห็นสภาพธรรมของขันธ์ ๕ ที่กำลังปรากฏอยู่ตามความเป็นจริงด้วยตัวเราเอง ไม่คิดปรุงไปก่อนล่วงหน้า
การมีสติและสัมปชัญญะนั้น ก็คือ การกำหนด (ใช้สติพินิจลงไปยังสิ่งที่เรากำลังศึกษา) และ การรู้ (มีสัมปชัญญะ ซึ่งหมายถึง ปัญญา เข้าไปพิจารณาธรรมในส่วนนั้นๆ) เพื่อให้เกิดการเห็นอย่างแจ่มแจ้งในสภาพธรรม เรียกรวมว่า การกำหนดรู้ (กำหนด+รู้)

สภาพธรรม คืออะไรหรอครับ
สภาพธรรม หรือสภาวธรรม ที่พึงกำหนดรู้นั้น หมายถึง สิ่งที่มีอยู่ เป็นอยู่ ปรากฏตัวอยู่โดยตัวมันเอง โดยความมีลักษณะเป็นอย่างนั้นๆ ตามธรรมชาติที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามความอยากความปรารถนาของผู้ใด เป็นไปตามกฏหรือเหตุปัจจัยของตัวมันเอง นี่ล่ะสภาพธรรม
เช่นว่า สีต่างๆ ที่เห็น เสียงต่างๆ ที่ได้ยิน ความรู้สึกสบายไม่สบาย ความรู้สึกเย็น ความรู้สึกร้อน ความนึกคิดปรุงแต่ง ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสภาพธรรมที่ปรากฏตัวขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ไม่ว่าเราจะกำหนดเรียกมันว่าอะไรก็ตาม มันก็มีธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น
สิ่งที่ไม่ใช่สภาพธรรมหรือปรมัตถธรรมนั้นได้แก่ “บัญญัติธรรม”
(๙) นั่นเอง ซึ่งก็คือ ชื่อ ภาษา รูปร่างสัญฐาน ความหมาย สัญลักษณ์ และเรื่องราวที่เรานึกคิดอยู่ในใจ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นบัญญัติธรรม ซึ่งเกิดขึ้นจากความนึกคิดของเราเองทั้งสิ้น ไม่ใช่ความจริง
ไม่ใช่ความจริง? แล้วอย่างไร ถึงจะคือความจริงเจ้าคะ
แล้วการที่จะสามารถกำหนดรู้ได้นั้น..ต้องอาศัยอะไรเป็นพื้นฐานอีกรึเปล่าครับนอกจากสติ และสัมปชัญญะ
การจะเข้าใจความจริงของธรรมชาติได้ ก็ต้องดูของจริง รู้ของจริงที่กำลังปรากฏขึ้นอยู่เฉพาะหน้านั่นเอง ไม่ใช่การไปดูความคิดที่กำลังปรุงแต่งอยู่ในใจเรา เพราะนั่นมิใช่ความจริงที่ปรากฏ เป็นเพียงภาพลวงตาหรือมายาที่จิตสร้างขึ้นเท่านั้น
เช่นว่า เรานั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นี่นะ เราก็ไปคิดถึงคนโน้นคนนี้ อาจเป็นเพื่อนที่อยู่ไกลแสนไกล ว่าเขากำลังทำอย่างนั้นอย่างนี้ หรืออยู่ที่นั่นที่นี่ ซึ่งนั่นไม่ใช่ความจริงเลย ไม่ใช่สิ่งที่มีจริงเลย มิได้ปรากฏให้เรารู้ เป็นแต่เพียงความคิดฝันไปเท่านั้น นี่ล่ะ เรื่องราวความนึกคิดที่เรียกว่า “บัญญัติธรรม”

โอ..อย่างนี้เอง...
แล้วการน้อมระลึกเข้าใจในธรรมล่ะเจ้าคะ
เราแต่ละคน หลงในบัญญัติคือความคิดเหล่านี้เรื่อยมา ตลอดชั่วชีวิต เราเชื่อในสิ่งที่เราคิด เช่นว่า คนนั้นเป็นอย่างนั้น คนนี้เป็นอย่างนี้ เราทำตามความคิดในใจเราตลอดเวลา ทั้งที่สิ่งเหล่านั้นมิได้ปรากฏมีจริงเลย เป็นแต่เพียงภาพความฝันอันเลือนลางที่เราปรุงแต่งขึ้นชั่วคราวจากสัญญา(ความทรงจำ)ในอดีตที่สั่งสมมาเท่านั้น
ฉะนั้น เราแต่ละคนจึงอยู่กับโลกของการปรุงแต่งส่วนตัว อยู่ในโลกของความฝันของตัวเราเองโดยมาก
แม้แต่การศึกษาพระธรรม ก็อยู่ในลักษณะเดียวกัน คือ เราเข้าใจว่า เราศึกษาธรรมแล้ว เราเข้าใจพระธรรมคำสอน ด้วยการคิด ด้วยการพิจารณาว่า ชีวิตเป็นอย่างนี้ๆ ขันธ์ ๕ เป็นเช่นนี้ๆ ตามที่เคยได้ยินได้ฟังมา เพียงเท่านี้เรากลับรู้สึกว่าเราเข้าถึงพระธรรมคำสอนนั้นแล้วอย่างดี มีความเข้าใจแจ่มแจ้งทะลุปรุโปร่ง
แต่ถามว่า สิ่งที่เรารู้แท้จริง ที่ปรากฏจนเห็นประจักษ์แก่ใจเรานั้นมีอยู่หรือ หรือเป็นเพียงความคิดปรุงแต่งที่มีขึ้นในใจเท่านั้น
คำตอบก็คือ ยังไม่ใช่สภาพธรรมที่เราเห็นแจ้ง เป็นแต่ความนึกคิดทำความเข้าใจที่มีในใจเท่านั้น ยังไม่ใช่ความรู้จริง เป็นแต่เพียงการทำความรู้จัก เข้าใจในบัญญัติธรรม ไม่ใช่ความจริงที่รู้เฉพาะตน ที่เป็นความรู้ของตน บ้างก็อยู่ในระดับขั้นของความเชื่อ หรืออย่างดีก็ยอมรับในเหตุผลของพระธรรมเท่านั้น แต่ยังไม่ใช่ขั้นการประจักษ์ด้วยตนเอง (เป็นแต่เพียง “สุตะ” ยังมิใช่ “สุตมยปัญญา”) ยังเป็นเพียงบัญญัติธรรมที่จำต้องยอมรับ เพราะไม่อาจปฏิเสธในเหตุผลของพระธรรมได้เท่านั้น

เป็นเพียงการพยามทำความเข้าใจว่าสภาพธรรมนั้นควรเป็นอย่างไร?
แล้ว..ผลมันเสมอกันรึเปล่าครับ การรู้ด้วยตนเอง กับการยอมรับเช่นว่า
ต่างกันไกลเลยล่ะ การยอมรับในเหตุผลทั้งปวง แม้แต่พระธรรมคำสอน ไม่สามารถเปลี่ยนจิตใจของเราได้ มีแต่เตือนใจเราได้ในบางครั้งบางคราวเท่านั้น เราเคยโกรธอย่างไร ก็คงขี้โกรธอย่างนั้น เคยโลภอย่างไร ก็คงโลภอยู่อย่างนั้น เพราะยังมิใช่ความรู้เฉพาะตนที่มีในตัวเรา
แล้วทำอย่างไรเจ้าคะ ที่ทำให้เรารู้ด้วยตนเอง?
ตอบสั้นๆ เพียงว่า "กำหนดรู้ในสภาวธรรม" ยังไงล่ะ
อย่างที่เรียกว่าวิปัสสนา?
“กำหนดรู้ในสิ่งที่ปรากฏ สิ่งใดไม่ปรากฏ สิ่งนั้นไม่ใช่ความจริง” (ไม่ใช่สภาวธรรม)
แล้วจะเป็นไปได้หรอครับที่สามารถกำหนดรู้ในสภาวะธรรม โดยที่จิตไม่คิดปรุงแต่ง
อยู่กับปัจจุบันขณะ
กับปัจจุบันก็ยังปรุงได้มั้ง
สรุป..ว่ายังไงครับ
ขอสรุปก่อนว่า ขันธ์ ๕ อันเป็นที่ตั้งของอุปาทาน อันเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ก็ได้แก่ รูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายที่กำลังปรากฏอยู่ในปัจจุบันนั่นเอง (หมายถึงสภาวธรรมตามธรรมชาติที่ปรากฏตัวอยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นความเปลี่ยนแปลงในชีวิต หรือความเป็นไปในธรรมชาติทั้งทางรูปธรรมและนามธรรม นี่ล่ะคือสภาพธรรมหรือสภาวธรรม หรือปรมัตถธรรม ที่พึงกำหนดรู้)
เจ้าค่ะ
แล้วรูป นาม ที่ควรกำหนด มีอะไรบ้างเจ้าคะ
ก็ตอบง่ายๆ ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั่นล่ะ
รูป <- กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน?
คือ พึงรู้จักสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตเราอย่างถูกต้อง แม้เพียงสิ่งเดียว เราก็จะรู้จักธรรมชาติของสิ่งทั้งหลายในโลกว่าคือสิ่งเดียวกัน มีความเป็นไปอย่างเดียวกัน (คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนเหมือนกัน) เรียกว่า “รู้เพียงหนึ่ง รู้ทั้งโลก” นั่นเอง เพียงแต่ว่า ขอให้รู้จริงๆ เถิด รู้ในสิ่งนั้นจริงๆ เท่านั้น
คำว่า อุปาทานขันธ์ ก็หมายถึง ขันธ์(สังขารธรรมทั้งหลาย) อันเกี่ยวข้องกับชีวิตของเรานั่นเองเป็นสิ่งที่ควรรู้จัก เพื่อทำให้เกิดการเห็นประจักษ์ด้วยใจ ขอเน้นว่า ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของเราเท่านั้นนะ คือสิ่งที่พึงกำหนดรู้ จึงจะเห็นแจ้งได้ ด้วยการพิสูจน์ของตน โดยการเห็นของตน จึงจะเรียกว่า "เข้าถึงธรรม" "เข้าสู่กระแสธรรม" "บรรลุธรรม" หรืออะไรก็ตามสุดแต่จะเรียกกันให้เข้าใจในความหมายเช่นนั้น

เจ้าค่ะ
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน และอนุโมทนาบุญกับญาติโยมทุกคนด้วยในวันนี้ ยินดีที่ได้มีโอกาสสนทนาธรรมร่วมกัน หวังว่าคงจะมีโอกาสได้สนทนาธรรมกันเช่นนี้เรื่อยไปในโอกาสข้างหน้า
สำหรับในวันนี้อาตมาต้องขอลาล่ะนะ

กราบขอบพระคุณเจ้าค่ะ
นมัสการท่านฐานจาโร และยินดียิ่งที่ได้ร่วมสนทนาธรรมกับท่านบินก้าวเป็นครั้งแรก และเจริญพรญาติโยมทุกๆ คนด้วย
กราบนมัสการพระอาจารย์ทุกรูป และธรรมรักษาทุกๆ ท่านเจ้าค่ะ
ขอบคุณค่ะที่ให้ความรู้
…………………………………………



๑ อภิ.สํ.๓๔/๗๐๕/๒๔๘, ๓๔/๙๑๐/๓๑๔
๒ สํ.ข.๑๗/๙๕-๙๖/๔๗, อภิ.วิ.๓๕/๑/๑
๓ อภิ.สํ.๓๔/๗๐๒/๒๕๗, ๓๔/๙๐๗/๓๑๔, ม.มู.๑๙ หน้า ๓๓๙ อรรถกถา
๔ สงฺคห ๑
๕ อภิ.สํ.๓๔/๗๗๙/๒๗๑ ม.มู.๑๗ หน้า ๖๙๕ อรรถกถา, อภิ.วิ.๗๘ หน้า ๗๓๘ อรรถกถา
๖ วินย.๔/๑๕/๑๗, สํ.ม.๑๙/๑๖๖๖/๔๒๐
๗ วินย.๔/๑๔/๑๖, อภิ.วิ.๓๕/๑๔๕/๙๒
๘ ที.ม.๑๐/๒๙๙/๒๓๒, สํ.สฬ.๑๘/๑๓๓/๗๔
๙ อภิ.ปุ.๗๙ หน้า ๑๘๑ อรรถกถา, สงฺคห.๔๙, สงฺคห.ฎีกา.๒๕๓




Create Date : 18 สิงหาคม 2550
Last Update : 12 กันยายน 2550 19:58:20 น. 1 comments
Counter : 278 Pageviews.

 
00-ดีเป้นดีที่สุด-00


โดย: กังวาลย์ ตะเกิดมี IP: 124.122.137.142 วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:20:22:48 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กลุ่มต้นธรรม
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




* * * * * * * * * * * * * * * * * * *

อันเวลาอันนับไม่ได้ที่เราหมักหมมมานานแสนนานแล้วนั้นถ้าเราไม่เริ่มรู้เราก็ไม่เริ่มตัด ถ้าไม่ตัดก็ไม่เห็นปลาย และเวลาอันนับไม่ได้นั้นก็เป็นปลายที่ยังอยู่
web site hit counter
We keep fighting fires because we keep adding fuel.
We truly putout fires only when we remove their fuel.

ถึงโลกกว้างไกล ใครๆ รู้
โลกภายในลึกซึ้งอยู่ รู้บ้างไหม
มองโลกภายนอก มองออกไป
มองโลกภายใน คือใจเรา

Friends' blogs
[Add กลุ่มต้นธรรม's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.