Group Blog
 
All blogs
 
หุ่นสายเสมา ตัวแทนประเทศไทยคว้ารางวัลสูงสุดในเทศกาลหุ่นโลก






คณะหุ่นสายเสมา (SEMA THAI MARIONETTE)

ได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนประเทศไทย และรับเชิญเป็น 1 ใน

29 คณะหุ่นจาก 400 คณะทั่วโลก ไปร่วมเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม

ไทยในเทศกาลหุ่นโลกครั้งที่ 13(13 th World Festival

Of Puppet Art Prague 2009)ระหว่างวันที่

26 พฤษภาคม -1มิถุนายน 2552 ณ กรุงปราก สาธารณรัฐเชก

ณ โรงละคร City Library,Praha 1 โดยเปิดการแสดง

ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2552 เวลา 20.00 น.


และ หุ่นสายเสมา เป็นคณะเดียวที่ได้รับเกียรติให้จัดการแสดงชุด

“ LOVE IS WONDERFUL ”โชว์ในพิธีปิดวันที่ 31

พฤษภาคม 2552 ด้วย





และเป็นคณะที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศไทยด้วยรางวัลสูงสุดของเทศกาล

BEST TRADITIONAL ORIGINAL PERFORMANCE





การทำงานครั้งนี้คณะหุ่นสายเสมาได้รับแรงบันดาลใจจาก หุ่นหลวง

และวรรณกรรมเรื่อง “ รามเกียรติ์ ตอน ศึกพรหมมาสตร์ ” ซึ่งมี

เนื้อหาเกี่ยวกับความสามัคคีที่น่าสนใจ และเหมาะกับยุคสมัยปัจจุบัน

โดยทางคณะหุ่นสายเสมาได้นำโครงเรื่องดังกล่าวมาตีความ ในเชิง

ความคิด ให้มีความเป็นสากลมากขึ้น จนเกิดเป็น “ โครงการจัด

สร้างและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมการแสดงหุ่นสายไทยร่วมสมัย

เรื่อง “ ศึกพรหมมาสตร์ ” ขึ้น โดยได้ทดลองนำเอาเทคนิค

บางอย่างของ หุ่นหลวง มาปรับใช้กับ หุ่นสายไทยประยุกต์ที่เรียกว่า

Rod Marionette(อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการพัฒนา

ขยายผล ต่อจากการจัดทำ โครงการฟื้นฟูและพัฒนาศิลปะหุ่นสายไทย

ร่วมสมัย เมื่อพ.ศ. 2551 ซึ่งทาง สำนักงาน ศิลปวัฒนธรรม

ร่วมสมัย ได้ให้การสนับสนุนทุน จากการแสดงชุด “ เจ้าเงาะ ”

จนประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดีมาแล้ว )





“ รามเกียรติ์ ตอน ศึกพรหมมาสตร์ ”(The Battle of Prommas)

เป็นการร่วมมือกันระหว่างศิลปิน จากศิลปะหลากหลายแขนง ได้แก่ ศิลปะการแสดง

(หุ่นสายและการแสดงร่วมสมัย ),จิตรกรรม,ประติมากรรม และดนตรีร่วมสมัย

เป็นต้น โดยได้รับความร่วมมือจาก อาจารย์หฤทยา ขุนน้อย จากคณะจิตรกรรม

มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นที่ปรึกษาด้านการออกแบบฉาก และการออกแบบหัวหุ่น,

อาจารย์สุรัตน์ จงดา ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านหุ่นหลวง แห่งสถาบันพัฒนศิลป์

กรมศิลปากร เป็นที่ปรึกษาในการสร้างหุ่นสายไทยประยุกต์ และ คณะหุ่นสายเสมา

รับผิดชอบในส่วนของ การจัดสร้างประกอบตัวหุ่นสายไทยร่วมสมัย และพัฒนาหุ่น

สายไทยประยุกต์ (Rod marionette) ชุดใหม่รวม 21 ชีวิต เพื่อใช้สำหรับ

ผลิตงานการแสดง





ภาพเหล่านี้เป็นภาพที่ย่าถ่ายเมื่อวันที่ 24.6.52 เวลา 16.00น ที่

ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร(ไทย-ญี่ปุ่นดินแดง) ซึ่งเป็น รอบสื่อมวลชน

โดยการแสดงหุ่นสายเสมาครั้งนี้ จัดการแสดงเป็น วันละสองรอบ

คือ 14.00 น (ภาษาอังกฤษ) 16.00น (ภาษาไทย)


ส่วนวันที่ 25,26 เป็นรอบทั่วไป 14.00น (ภาษาไทย)19.30น

(ภาษาอังกฤษ)ซึ่งในวันที่ย่าไปชมและถ่ายรูป ได้ทราบข่าว จากคุณ

นิมิตร พิพิธกุล ว่าได้ถูกจองจนเกือบเต็มแล้ว แสดงว่าได้รับหุ่นสายเสมา

ได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม





จุดเริ่มต้นแห่งการก่อกำเหนิดศิลปะการชักเชิดหุ่นสายขึ้นมาในประเทศไทย

เมื่อ ปี พ.ศ. 2547 โดยคณะหุ่นสายเสมาได้พัฒนาศิลปะแขนงนี้ขึ้นจาก

แรงบันดาลใจที่ได้รับจากคณะแกะดำดำ ที่ได้ทดลองทำหุ่นสายต้นแบบขึ้น และ

คณะหุ่นสายเสมาได้นำมาศึกษาค้นคว้าต่ออย่างจริงจัง ทั้งจากการศึกษาวัตถุดิบ

การสร้างสรรค์





การจัดแสดงในพื้นที่ชุมชน ผ่านงานรณรงค์ร่วมกับสำนักงานกองทุน

สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ





ซึมซับวัฒนธรรมวิถีพื้นบ้าน





จนกระทั่งสามารถสืบสานเป็นผลงานการสร้าสรรค์หุ่นสาย เกือบ 100 ตัว

และมีผลงานละครหุ่นสายกว่า 30 เรื่อง ทั้งที่ประพันธ์ขึ้นใหม่และดัดแปลง

จากวรรณกรรมพื้นบ้าน และวรรณคดีไทย





จากการที่ผลงานของคณะหุ่นสายไทยได้เป็นที่ประจักษ์ในเวทีนานาชาติ ณ

เทศกาลหุ่นโลก World Festival of Puppet Art Praque

ในปี พุทธศักราช 2551 ในการแสดงละครหุ่นสายชุด"เจ้าเงาะ"

และได้รับรางวัลพิเศษ The Most Poetic creation

รวมทั้งได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงในรางวัลสูงสุดสาขา The Best Performance

และ The Best Director





ในปีพุทธศักราช 2552 คณะหุ่นสายเสมาได้เริ่มต้นการค้นคว้าศึกษา

เชิงบูรณาการ"หุ่นหลวง" ซึ่งเป็นศิลปะการเชิดที่ใช้สายในการควบคุม

การเคลื่อนไหวของหุ่นจากด้านล่างและอาจถือได้ว่าเป็นหุ่นสายประเภท

หนึ่งที่มีมาแต่โบราณ โดยได้มีการสร้างสรรค์หุ่นขึ้นใหม่ทั้งสิ้น 18 ตัว

ในรูปของหุ่นสายและหุ่นหลวงประยุกต์





และได้มีการออกแบบจัดสร้างหุ่นขึ้นใหม่ทั้งสิ้น 18 ตัว ในรูปของ

หุ่นสวย และหุ่นหลวงประยุกต์





และมีการออกแบบจัดสร้างหุ่นสายชุดรามเกียรต์ขึ้นใหม่เป็นครั้งแรก

ในประวัติศาสตร์การสร้างหุ่นสายไทย โดยได้แรงบันดาลใจมาจากงาน

ศิลปะหุ่นพื้นบ้านแบบโบราณและนำมาจัดแสดงเป็นผลงานสร้างสรรค์

งานศิลปะหุ่นสายในชื่อชุด "ศึกพรหมาสตร์" ภายใตการสนับสนุน

หลักอย่างเป็นทางการจาก กรุงเทพมหานคร และ สำนักงานศิลปะ

วัฒนธรรมร่วมสมัยกระทรวงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย




การแสดงครั้งนี้ได้ทำให้คณะหุ่นสายเสมาก้าวขึ้นสู่รางวัลสูงสุด จากรางวัล

"The Best Traditional PerformanceW และได้รับ

การเสนอเข้าชิงสาขา The Best Artistic Creation

ในการเข้าร่วมการประกวดหุ่นโลก"13th World Festival

of Puppet Art,Praque 2009" ณ กรุงปราก สาธาณรัฐเชก

นับได้ว่าเป็นความสำเร็จอันจะส่งผลสู่การสืบสานศิละหุ่นสายไทยต่อไป





ปัจจุบันคณะหุ่นสายของไทยได้ร้างสายสัมพันธ์กับหุ่นสายในภูมิภาค

เอเซียด้วยการได้รับการคัดเลือกจากโสครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม

โดยการสนับสนุนของ"The Rockefeller Foundation"

และรวมทั้งได้รับการติดต่อจากรัฐบาลประจำประเทศศรีลังกา ในการ

เชิญคณะหุ่นสายไทยร่วมพัฒนาหุ่นสายประจำประเทศศรีลังกา





ในภาคพื้นยุโรปคณะหุ่นสายเสมาได้รับคำชื่นชมและกล่าวขานถึง

จากนานาชาติโดย International Institute of

Marionette Arts และเป็นหุ่นสายที่ได้รับการยอมรับจาก

World Association of Puppeteers ในการ

เป็นหุ่นสายซึ่งแสดงออกถึงชนชาติไทยด้วยลีลาการชักเชิดเฉพาะ

และการนำเสนอเรื่องราวที่บ่งบอกถึงความเป็นไทย ในลีลาร่วมสมัย





ศิลปการชักเชิดหุ่นสาย ถือได้ว่าเป็นศาสตร์ของการเชิดหุ่นแขนง

หนึ่งที่มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 1,000 ปี และเผยแพร่

ไปในโลกตะวันตกและตะวันออกอย่างกว้างขวางกว่า 100 ประเทศ

ทั่วโลก โดยใช้ชื่อเรียกขานว่า "Marionette ในภูมิภาคเอเซีย

หุ่นสายได้แพร่ขยายไปในหลายประเทศไม่ว่าจะเป็น พม่า จีน

อินเดีย ศรีลังกา และตกทอดเป็นมรดกของชาติสืบมา





ในประเทศไทยจากข้อมูลที่มีการศึกษาค้นคว้าและบันทึกโดย อเนก นาวิกมูล

นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งหุ่นไทยออกเปน 5 ประเภทแรก ประกอบด้วย

หุ่นหลวง หุ่นกระบอก หุ่นวังหน้า และหุ่นละครเล็ก ซี่งเป็นส่วนงานบันทึกเชิง

ประวัติที่มีหลักฐานอ้างอิงจากภาพจิตรกรรมฝาผนัง และหลักฐานที่เป็นตัวหุ่น

เก่าแก่ที่ถูกสืบทอดรักษาไว้





ในขณะเดียวกันได้มีการยืนยันถึงประเภทของหุ่นไทยอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็น

ประเภทที่ 5 และอยู่ในความสนใจของการสืบค้นเชิงประวัติ นั่นคือ

หุ่นไทยที่ถูกเรียกขานแต่โบราณว่า"หุ่นชัก" โดยหุ่นประเภทนี้เป็น

หุ่นที่ใช้กลไกในการชักเชิดที่เกิดมาจากการควบคุมโดยใช้สายชัก และ

มีการบันทึกข้อมูลของหุ่นประเภทนี้ไว้ในรูปของภาพถ่ายหุ่นชักแบบ

โบราณ ดังที่มีการเก็บรักษาหุ่นชักบางส่วนไว้ที่วัดไทร จ.นครปฐม





จากข้อมูลของหุ่นชัก ซึ่งเป็นหุ่นที่ชักเชิดโดยใช้สายในการควบคุม

การเคลื่อนไหวนี้เอง จึงเป็นพลังใจสำคัญที่ทำให้ คณะหุ่นสายเสมา

ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2547 เกิดพลังใจสำคัญในการฟื้นฟู

พัฒนาศิลปะหุ่นสาย (String Puppet( หรือที่เรียกขาน

แต่โบราณว่า"หุ่นชัก" อย่างจริงจัง เพื่ออนุรักษ์งานศิละหุ่นไทย

แขนงนี้สืบไป





การแสดงมีการนำเอาศิลปะ แขนงอื่นมาร่วมสร้างสีสรรค์ด้วย





ผู้เชิดชักจะแต่งชุดสีดำ คลุมหน้าด้วยผ้าบางๆสีดำ เพื่อให้ผู้เชิดกลมกลืนไปกับฉาก





หนุมาณตัวชูโรง





คุณตา ,ลิงน้อย และหนุมาณ





ศิลปสร้างสรรค์หุ่นสายศึกพรหมาสตร์

นิมิตร พิพิธกุล...............บทและกำกับการแสดง


โดยมีศิลปินศิลปาธรสาขาศิลปะการแสดง 2550

18 ชีวิต ดูแลและแสดงในแต่ละภาคส่วน




หุ่นพระราม พระลักษณ์ และผู้เชิด เปิดเผยหน้าตาให้เห็นค่ะ อิอิ



ลีลาเชิดชักดูจมีชีวิต

ชมภาพบางส่วนจากการแสดง

เที่ยวนี้ย่าจำเป็นต้องใช้แฟลช(หัวกล้อง) เพราะแสงน้อยมาก

จึงได้ภาพออกมาไม่ค่อยสวย หากไปดูของจริงแสงจะสวยกว่านี้มาก




คณะหุ่นสายเสมา 16/225 หมู่ 2 ซอยวิภาวดี 58 ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทง 10210

โทร/แฟกซ์ 0-2956-4180 E-mail : sema_pupet@hotmail.com

แวะดู เวบไซด์ของหุ่นสายเสมาได้ที่ //www.semathai.com

ลงที่ติดต่อไว้เผื่อท่านใดสนใจจะติดต่อค่ะ





ตัวนี้มีสองหน้า ไว้หันสับเปลี่ยนจากยักษ์ กลายเป็นมนษย์ ตอนปลอมตัว





เจ้าลิงน้อย ขอลาคุณตาไปช่วยหนุมาณ ออกศึก





ลิงน้อยกับผู้เชิดชัก การเชิดที่ดูเหมือนจะง่าย แต่ไม่ง่ายเลย เพราะ

เป็นการบังคับหุ่นด้วยเส้นสาย โดยไม่ได้แตะต้องตัวหุ่นเลย





เรามาชมความงานของหุ่นใกล้





ลิงน้อย กับหนุมาณ





บังหน้า เชิดชัก





ทำพิธีชุบศร





หุ่นยักษ์จากการเชิดชัก





ชมหน้ายักษ์ใกล้ๆ





ท่าเต้นเชิดหนัง





หุ่นไม้กับไฟเวที ทำเอง เพื่อประหยัดงบ





ตัวหุ่นติดอยู่กับด้านลำตัวของผู้เชิด และบังคับหุ่นโดยการ

ดึงห่วงต่างๆจากด้านล่าง





หุ่นโครงกระดูกเต้นรำ นำมาชักโชว์สร้างเสียหัวเราะให้กับผู้ชมได้โขเชียว





ป้ายหน้างาน





ขอขอบคุณข้อมูลจาก เวบ//www.semathai.com

และโบรชัวร์ข้อมูลที่แจกภายในงาน มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ





ทีวีมาถ่ายทำและสัมภาษณ์

บายค่ะขออภัยถ้าต้องโหลดนาน




การไปแข่งและโชว์ครั้งนี้ มี หุ่นช่างฟ้อน(Hoon Chang Fon)

โดยโจ-หน่า(ทรัพย์ทวี - ภาสกร สุนทรมงคล) จากเชียงใหม่

ไปร่วมด้วยอีกคณะหนึ่ง และคณะนี้ได้รับรางวัลพิเศษ

"Aword for Poetic Interpretation"

จากเรื่อง "มะเมี๊ยะ"(Prince of Love) สร้างความ

ภาคภูมิใจและสร้างชื่อเสียงเกียรติยศ และเผยแพร่ศิลป

วัฒนธรรมให้กับประเทศไทย เป็นอย่างมาก

ย่าจะนำภาพคณะนี้มานำเสนอในโอกาสต่อไปค่ะ




Create Date : 30 มิถุนายน 2552
Last Update : 17 มิถุนายน 2554 12:59:03 น. 9 comments
Counter : 4995 Pageviews.

 
น่าประทับใจมากค่ะ
เป็นการนำงานศิลป์เดิมมาพัฒนาต่อยอดได้อย่างงดงาม
เคยได้ยินชื่อหุ่นสายเสมามาบ้างเหมือนกันค่ะ
ทำตัวหุ่นได้น่ารักดี

แต่ที่สำคัญ ขอบคุณย่าดา ที่ถ่ายทอดให้พวกเราทราบด้วยภาพแจ่มๆ นะคะ


โดย: นางไม้หน้า3 วันที่: 30 มิถุนายน 2552 เวลา:12:08:48 น.  

 
ขอบคุณย่าดามากๆค่ะ...ที่ให้ความรู้โดยละเอียด....
ประทับใจทั้งศิลปแบบไทย....ผู้ชักเฃิดหุ่น...และย่าดาค่ะ


โดย: ratana_sri วันที่: 30 มิถุนายน 2552 เวลา:14:58:36 น.  

 
คนชักหุ่นเก่งมากๆเลยนะคะ
คนไทยเก่งจริงๆค่ะ


โดย: Fullgold วันที่: 30 มิถุนายน 2552 เวลา:15:47:36 น.  

 
อุ้มเป็นคนชอบหุ่นกระบอกค่ะย่าดา
ชอบมาก
ภาพแหล่มมากๆ ค่ะย่าดา
ดีใจตั้งแต่ทราบข่าวว่าคนไทยคว้ารางวัล
เป็นปลื้มมากกับคณะนี้ด้วยค่ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 30 มิถุนายน 2552 เวลา:16:50:53 น.  

 
ดีจังเลยค่ะย่าดา..หุ่นสวยงดงามมากจริงๆ



ข้ามเรือที่อ่าวปอ ไปเกาะนาคาใหญ่ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 30 มิถุนายน 2552 เวลา:22:39:38 น.  

 
น่าชื่นชมค่ะ เก่งสุดสุด


โดย: วนิส IP: 124.121.89.171 วันที่: 1 กรกฎาคม 2552 เวลา:19:55:22 น.  

 


โดย: เกศสุริยง วันที่: 1 กรกฎาคม 2552 เวลา:23:52:48 น.  

 
น่าชมนะคะ ศิลปะไทยเรา ดูแล้วก็อดชื่นชมไม่ได้


โดย: no filling วันที่: 2 กรกฎาคม 2552 เวลา:11:46:23 น.  

 
น่าภูมิใจและน่าชื่นชมครับ แต่อย่าชื่นชมอย่างเดียวนะครับต้องช่วยสนับสนุนด้วย เพราะรัฐเราไม่ได้ดูแลและสนับสนุนอย่างจิงจัง เหมือนประเทศอื่นๆเค้า พูดแล้วมันน่าน้อยใจ จริงๆ


โดย: ศิลปินนักเชิดหุ่น IP: 58.8.12.241 วันที่: 21 สิงหาคม 2553 เวลา:1:57:58 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ดา ดา
Location :
1 Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]




Friends' blogs
[Add ดา ดา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.