Introduction to Bahasa Melayu -- รู้จักภาษามลายูกันก่อน
Selamat !

วันนี้เข้ามาอัพบล็อกต่อ อยากทำให้เป็นนิสัย จะได้ฝึกตัวเองให้เรียนรู้ทุกวันครับ ^^

ทุกภาษาในโลกนี้ ก่อนที่เราจะเริ่มเรียนนั้น เราก็ต้องมาทำความรู้จักกับภาษานั้นๆกันก่อน
ว่าภาษานั้นมีลักษณะอย่างไร ธรรมชาติของภาษานั้นเป็นอย่างไร มีการใช้กันแพร่หลายแค่ไหน
เพื่อที่เราจะได้เข้าใจที่มาที่ไป และเปรียบเทียบความแตกต่างของภาษานั้นๆกับภาษาแม่ของตนเอง

สำหรับภาษามลายูก็เช่นเดียวกันครับ ครั้งนี้เรามาทำความรู้จักกับภาษานี้ไปพร้อมๆกันกับผมเลยนะครับ
เอาแค่ย่อๆละกันครับ เดี๋ยวหลายๆคนจะเบื่อไปซะก่อน รวมถึงตัวผมเองด้วย 555+

-------------------------------------------------------------------------

ภาษามลายู -- Bahasa Melayu

ภาษามลายูจัดอยู่ในกลุ่มภาษา Austronesian (ออสโตรนีเชียน) เป็นตระกูลภาษากลุ่มใหญ่ ที่พบว่ามีการพูดกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะตามหมู่เกาะต่างๆกินอาณาเขตตั้งแต่มหาสมุทรแปซิฟิก คาบสมุทรอินโดจีน ไปจนถึงหมู่เกาะในทวีปแอฟริกา ไม่ปรากฏภาษาตระกูลนี้บนแผ่นดินใหญ่ ยกเว้น ภาษาจาม ซึ่งพบในบางส่วนของประเทศกัมพูชาและเวียดนาม
ในอาเซียน ประเทศที่ใช้ภาษาตระกูลนี้ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย (บาฮาซามาเลเซีย) อินโดเนเซีย (บาฮาซาอินโดนีเซีย) บรูไนดารุสสลาม (มลายูบรูไน) และประเทศฟิลิปปินส์ (ตากาล็อก) แต่สำหรับภาษาตระกูลนี้ในประเทศฟิลิปปินส์นั้น มีความแตกต่างจากภาษาของอีกสามประเทศข้างต้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นภาษาอยู่คนละกลุ่มย่อย อีกทั้งยังได้รับอิทธิพลจากภาษาสเปนอีกด้วย ฉะนั้น เมื่อพูดถึงภาษามลายู ก็จะหมายถึงภาษาที่พูดกันในสามประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน รวมถึง สิงคโปร์อีกด้วย และในประเทศไทยก็พบภาษานี้อยู่ทางจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียกว่า ภาษามลายูปตานี หรือที่เรียกกันผิดๆว่า ภาษายาวี 

จริงๆแล้ว ภาษามลายูของทั้งสามประเทศเคยเป็นภาษาเดียวกันมาก่อน แต่เนื่องจากการเข้ามาของชาติตะวันตก ริเริ่มให้มีการปักปันแบ่งเขตประเทศให้ชัดเจน จึงทำให้ทั้งสามประเทศต้องสร้างอัตลักษณ์ของตนเอง ภาษาซึ่งถือเป็นหนึ่งในอัตลักษณ์ของชาติ จึงถูกยกขึ้นมาเพื่อหลอมรวมคนในประเทศเข้าด้วยกัน จึงเป็นที่มาของการเกิดภาษาทั้งสาม ได้แก่ บาฮาซามาเลย์ บาฮาซาอินโดนีเซีย และมลายูบรูไน ทั้งๆที่จริงแล้ว ทั้งสามภาษานี้สามารถพูดคุยเข้าใจกันได้ อาจมีความแตกต่างทางด้านสำเนียง และคำศัพท์เพียงบางคำเท่านั้น

-------------------------------------------------------------------------

เหนื่อยกันแล้วแน่ๆเลย งั้นพาร์ทนี้เอาไว้แค่ก่อนดีกว่า
ส่วนใครที่อยากต่อเนื่อง ติดตามอ่านได้พาร์ทถัดไปเลยนะครับ
พาร์ทถัดไป จะพูดถึงธรรมชาติของภาษามลายูว่าเป็นอย่างไร
แตกต่างจากกลุ่มภาษาอื่น รวมถึงภาษาไทยอย่างไรบ้าง
ติดตามกันให้ได้นะครับ :D

Terima kasih!
Jumpa lagi!




Create Date : 06 ตุลาคม 2555
Last Update : 6 ตุลาคม 2555 21:56:29 น.
Counter : 2387 Pageviews.

3 comments
  
ทำไมคุณถึงพูดว่า ภาษายาวี ภาษาที่พูดกันในสามจังหวัดนั้น เรียกกันผิดๆ ทั้งๆที่ คนในพื้นที่เค้ามีหลักสูตรเรียนในระดับโรงเรียนตาดีกาและยังมีตัวอักษรด้านภาษาเป็นของตัวเอง เวลาเรียนวิชานี้ เค้ารู้จักกันในวิชา "บาฮาซายาวี(ภาษายาวี)" ไม่มีใครเรียนวิชา "ภาษามลายูปตานี" ช่วยิธิบายด้วยค่ะ ดิฉันสงสัยมากกกก!!!
โดย: อดิน IP: 113.53.99.57 วันที่: 10 สิงหาคม 2556 เวลา:6:26:27 น.
  
ภาษายาวี ไม่มีในโลกนี้หรอกครับ... มีแต่ภาษามลายู อัขระยาวี และภาษามลายู อัขระรูมี Rumi
สรุปคือ"ยาวี" ไม่ใช่ภาษาครับ แต่เป็นอัขระ (เป็นอักษร ที่คล้ายกับของอาหรับ แต่มีการเพิ่มเติมบางตัวอักษร)

โดย Ruslee
โดย: สมาชิกหมายเลข 3014521 วันที่: 5 มีนาคม 2561 เวลา:12:28:39 น.
  
Bahasa Melayu tulisan Jawi // Bahasa Melayu tulisan Rumi
โดย: สมาชิกหมายเลข 3014521 วันที่: 5 มีนาคม 2561 เวลา:12:30:44 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

แมลงภู่บนหูกระต่าย
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



Welcome :)