|
นกกระติ๊ดตะโพกขาว
นกกระติ๊ดตะโพกขาว Lonchura striata (White-rumped Munia) มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหาง 11 เซ็นติเมตรโดยประมาณ สีสันโดยรวมเป็นสีน้ำตาล ท้อง ข้างตัว และตะโพกสีขาวแกมสีเนื้อจางๆ ปากหนาแข็งแรงแบบนกกินเมล็ดพืชสีคล้ายตะกั่ว นกทั้งสองเพศคล้ายคลึงกัน
นกชนิดนี้อาจถูกพบเป็นคู่หรือเป็นฝูง บางฝูงมีจำนวนมากกว่า 100 ตัว โดยถ้าอยู่เป็นฝูงจะบินเกาะกลุ่มกันไปพร้อมกัน พบได้ตามทุ่งโล่ง ป่าชั้นรอง ป่าละเมาะ เขตเกษตรกรรม ทุ่งหญ้า ตั้งแต่ที่ราบจนถึงความสูง 1830 เมตรจากระดับน้ำทะเล นกกินอาหารจำพวกเมล็ดหญ้า เมล็ดข้าวเปลือก ข้าวไร่ ข้าวป่า เมล็ดธัญพืชอื่นๆและแมลง ตัวหนอน

ช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน เป็นช่วงที่นกจะจับคู่ทำรังวางไข่ แต่ถ้าอุดมสมบูรณ์ก็สามารถทำรังวางไข่ได้ตลอดปี นกตัวผู้บางตัวอาจจับคู่ทำรังได้มากกว่า 1 รัง ในฤดูเดียวกัน ทำรังตามไม้พุ่ม ต้นไม้ที่มีกิ่งรก กอหญ้ารกหรือไม้เลื้อยที่ค่อนข้างรกอย่างเช่นต้นเฟื่องฟ้า รังเป็นรูปทรงกลมมีทางเข้าออกด้านข้าง สูงจากพื้นดิน 2-6 เมตร ทำจากใบไม้ ใบหญ้า ดอกหญ้า ขนนก โดยนำวัสดุสร้างรังมากองรวมกันตามง่ามไม้ อาจรองรังด้วยขนนก ดอกหญ้า หรือวัสดุอื่นๆ วางไข่ครอกละ 5-6 ฟอง เปลือกไข่สีขาว ขนาด 11.2*17.4 มม. พ่อแม่นกช่วยกันทำรัง ฟักไข่และเลี้ยงลูกอ่อน ใช้เวลาฟักไข่ 11-12 วัน เลี้ยงลูกในรัง 14-15 วัน ลูกนกออกจากรังก็จะรวมฝูงกับลูกนกจากครอบครัวอื่นหรือรวมฝูงกับพ่อแม่

นกชนิดนี้เป็นนกประจำถิ่นของอนุทวีปอินเดีย ภาคกลางและใต้ของจีน ไต้หวัน สุมาตรา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับประเทศไทยเป็นนกประจำถิ่นที่พบได้บ่อยมาก โดยสามารถพบได้ 2 ชนิดย่อยจาก 6 ทั้งหมดชนิดย่อย เป็นนกอีกชนิดหนึ่งมักถูกจับมาปล่อยตามงานวันเกิดต่างๆ เพราะจับได้ง่ายเป็นจำนวนคราวละมากๆเมื่อลงกินข้าวในนา

ภาพนกในบล็อกถ่ายมาจากจังหวัดสมุทรสาคร นกทำรังบนต้นปาล์มขวดโดยใช้หญ้าแห้งมาสานเป็นรังกลมๆมีทางเข้าด้านข้างวางอยู่บนทะลายที่แห้งแล้วแต่ยังไม่หลุดออกจากต้น
ข้อมูลจาก :
//www.bird-home.com
Create Date : 16 มิถุนายน 2548 | | |
Last Update : 15 กรกฎาคม 2551 14:06:37 น. |
Counter : 6761 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
ยางกรอก 3 อย่าง
นกยางกรอก(pond heron)เป็นนกที่มักพบหากินบนพื้น หรือริมน้ำอยู่ทั่วไปในพุทธมณฑล ในช่วงที่ไม่ใช่ฤดูผสมพันธุ์นกพวกนี้จะมีหน้าตาแบบนี้

บางที่ก็ยืดคอยาวๆ บางทีก็หดคอ บางคนเมื่อเห็นนกชนิดนี้เป็นครั้งแรกอาจจะนึกว่าเป็นรูปปั้นได้ เพราะเค้าจะยืนนิ่งมากๆเพื่อเฝ้ามองเหยื่อ สามารถยืนนิ่งได้เป็นเวลานานๆโดยไม่เมื่อยขา แต่เห็นดูสีทึมๆอย่างนี้ เวลาบินปีกของเค้าจะเป็นสีขาวสะอาดตา ทำให้คนที่มองเห็นสีน้ำตาลๆอยู่เมื่อกี้อาจคิดว่าเป็นนกคนละตัวกัน
นกยางกรอกมีขนาด 46 เซ็นติเมตร นับว่าเป็นนกขนาดใหญ่พอสมควร นกยางกรอกที่พบที่พุทธมณฑลมีสองพันธุ์ โดยจะเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนในช่วงฤดูผสมพันธุ์เท่านั้นนกยางกรอกพันธุ์จีนเป็นนกที่มาเยือนในช่วงฤดูหนาว สามารถพบได้ทั้งประเทศตามบริเวณที่เป็นท้องทุ่ง หรือแหล่งน้ำทั่วไป เมื่อผลัดขนเป็นชุดขนฤดูผสมพันธุ์จะมีสีแดง-น้ำตาลบริเวณหัว และคอ บนหลังเป็นสีดำ ภาพนี้เป็นภาพที่กำลังค่อยๆผลัดขน (ไม่ได้ผลัดเสร็จในวันเดียว)

ส่วนนกยางกรอกพันธุ์ชวานั้นเป็นนกประจำถิ่น อยู่ตามพื้นที่เดียวกันกับพันธุ์จีน คือ บริเวณทุ่งนา แหล่งน้ำใหญ่น้อย เพียงแต่มีการประจายพันธุ์บริเวณภาคกลางเท่านั้น
ในพุทธมณฑลเราจะเจอนกยางกรอกได้ทั้งปี แต่บางช่วงอาจพบน้อย บางช่วงก็พบมากและพบได้ทั้ง3แบบ คือ ยางกรอกอะไรก็ไม่รู้ชุดขนปกติ ยางกรอกพันธุ์จีนและชวาในชุดขนฤดูผสมพันธุ์ นี่เป็นยางกรอกพันธุ์ชวากำลังจะรับประทานปลาดิบที่เพิ่งลงไปจับขึ้นมาจากหนองน้ำข้างทางเมื่อตะกี้นี้

ถ้าใครมีโอกาสไปเที่ยวพุทธมณฑลในช่วงเวลาต่างๆกัน ก็ลองมองหานกยางกรอกในชุดขนที่แตกต่างดู ...ตื่นเต้นดี...
Create Date : 09 มกราคม 2548 | | |
Last Update : 12 มกราคม 2548 7:29:11 น. |
Counter : 5587 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
| |
|
|