|
นกกางเขนบ้าน
เจ้านกน้อยน่ารักร้องทักว่า ไปไหนมา หนูเล็กเด็กชายหญิง ทั้งรูปร่างหน้าตาน่ารักจริง ข้ายิ่งดูก็ยิ่งจำเริญตา
สองพี่น้อง เห็นวิหค นกพูดได้ ก็พอใจ อยากจะรัก ให้นักหนา ต่างนึกชอบ ชิงกันตอบ สกุณา ทั้งสองข้า ไปโรงเรียน เพียรประจำ
The Oriental Magpie Robin, Copsychus saularis, is a small passerine bird that was formerly classed as a member of the thrush family Turdidae, but is now more generally considered to be an Old World flycatcher, family Muscicapidae. It is also known as Oriental Magpie Robin, Straits Robin and Magpie.
This magpie-robin is an insectivorous species which is a resident breeder in tropical southern Asia from Pakistan, India and Sri Lanka east to Indonesia, south China and the Philippines.
The Oriental Magpie Robin is found in open woodland, cultivated areas and around human habitation. It nests in a hole, often in a wall, laying 3-6 eggs which are incubated by both sexes.
This species is 19cm long, including the long cocked tail. It is similar in shape to the smaller European Robin, but is longer-tailed
The male has black upperparts, head and throat apart from a white shoulder patch. The underparts and the sides of the long tail are white. Females are grey above and greyish white. Young birds have scaly brown upperparts and head.
The Oriental Magpie Robin is a common and tame bird. It is terrestrial, hopping along the ground with cocked tail. The male sings a few melodic notes during courtship.
The Oriental Magpie Robin, locally called the Dhayal, was once common in the Indian songbird trade. When a specimen reached Linnaeus it was apparently labelled Dial and thinking this had something to do with a sun-dial, he gave it the scientific name of 'solaris' ('saularis' in error).
from : //en.wikipedia.org/
นกกางเขนบ้าน Copsychus saularis (oriental magpie-robin) เป็นนกที่มีขนาดตัวจากปลายปาก จรดปลายหางประมาณ 19-21 ซม. ตัวผู้มีสีดำเป็นมันเงาตั้งแต่หัว คอหน้าอก หลัง ปีก และหาง มีลำตัวด้านล่างสีขาวตัดกับสีลำตัวด้านบน มีแถบสีขาวตลอดความยาวของปีก ปากและขาสีดำ

นกตัวเมียเหมือนตัวผู้ แต่แทนสีดำด้วยสีเทา

และนกในวัยเด็กจะแทนที่สีดำด้วยสีเทาลายๆ

นกกางเขนบ้านเป็นนกที่พบได้ทั่วไปในประเทศไทย ตั้งแต่ป่าโปร่ง ป่าชายเลน พื้นที่เกษตรกรรม สวนผลไม้ สวนสาธารณะในเมือง และเมืองใหญ่ จากที่ราบถึงความสูง 1800เมตร แต่อย่างไรก็ตาม เรามักพบเค้าอยู่ใกล้กับบ้านคนมากกว่าในป่า
ด้วยเสียงร้องที่ไพเราะ และอยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์ค่อนข้างมาก ทำให้นกกางเขนบ้านเป็นนกที่ค่อนข้างเป็นที่รู้จัก ประมาณว่าในบ้านที่พอจะมีเนื้อที่ปลูกต้นไม้อยู่บ้าง จะมีนกกางเขนประจำบ้าน บ้านละ 1 ตัว หรือ 1 คู่ ที่มีเพียงเท่านั้นเพราะเค้าค่อนข้างจะเป็นนกที่หวงถิ่น หากมีใครข้ามถิ่นเข้ามาก็จะมีการปกป้องถิ่นอย่างอาจหาญ 
นกกางเขนเป็นนกที่ขยันหากิน อาหารของเค้าคือ หนอน แมลง หรือผลไม้สุก พวกกล้วยสุก เมื่อกินอิ่มก็จะบินขึ้นไปเกาะที่โล่งๆสูงๆอย่างสายไฟ เสาอากาศบนบ้าน และส่งเสียงร้องเจื้อยแจ้ว และเมื่อหิวก็จะลงมาหากินใหม่ แต่ปรกติ มักได้ยินเค้าร้องตอนเช้าๆ ตอนที่ตื่นนอน และตอนเย็นๆ

หากใครต้องการจะเชิญชวนให้นกกางเขนบ้านเข้ามาพักผ่อนหย่อนใจในบ้านตัวเอง ก็อาจทำได้โดยการจัดสวนเพื่อเรียกนก โดยหาต้นไม้มาปลูก ไม่จำเป็นต้องเป็นต้นไม้ใหญ่ แต่ให้ดูมีร่มเงา มีความชุ่มชื้น มีอ่างน้ำตื้นๆ นกกางเขน และนกอื่นๆก็อาจมาใช้บริการ "อ็อนเซ็น" จนเปียกมะล่อกมะแล่กแบบนี้ให้ได้ชื่นชมถึงในบ้าน
โดยปรกติแล้ว ถ้าไม่ใช่ฤดูผสมพันธุ์ ( เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ) เราอาจพบนกกางเขนบ้านอยู่เพียงตัวเดียว เพราะเค้าเป็นนกที่รักสันโดษ
แต่ถ้าเป็นช่วงจับคู่แล้ว นกกางเขนบ้านมักทำรังวางไข่ในบริเวณบ้านที่เค้าอาศัยอยู่นั่นเอง บางทีเราอาจพบเค้าทำรังในตู้ไปรษณีย์ โพรงต้นไม้ในบ้าน ศาลพระภูมิ แต่ถ้าเป็นนกที่อาศัยในสวนสาธารณะ โพรงไม้ตามธรรมชาติมักจะเป็นที่ที่เค้าเลือกใช้ทำรัง
นกทั้ง 2 เพศจะช่วยกันทำรัง แต่นกตัวเมียจะทำมากกว่า โดยใช้วัสดุจำพวกใบไม้แห้ง ใบหญ้าแห้ง รากไม้ หรือส่วนอื่นๆของพืชที่แห้งแล้ว เอามารองไว้ก้นรัง ดูเผินๆแล้วบางครั้งก็เหมือนไม่ใช่รังนก เพราะมันเพียงเอาวัสดุต่างๆ มายัดไว้ในโพรง หรือซอกใต้หลังคา หรือในศาลพระภูมิเท่านั้น

นกกางเขนบ้าน วางไข่ครอกละ 5 ฟอง เปลือกไข่สีฟ้าแกมเขียวอ่อน มีจุดกระสีน้ำตาลเป็นจุดเล็กประพรมไปทั่ว ไข่มีขนาด 21 X 17 มม. นกตัวเมียทำหน้าที่กกไข่เพียงตัวเดียว แต่นกตัวผู้จะคอยระวังภัยอยู่ใกล้ๆรัง คอยป้องกันอาณาเขตรอบๆรังไม่ให้นกหรือศัตรูอื่นๆบุกรุกเข้ามาใกล้รัง ในระหว่างนี้นกตัวผู้จะร้องเพลงไปเรื่อยๆ หรือไม่ก็หาเหยื่อมาป้อนนกตัวเมีย แต่ในบางครั้งนกตัวเมียก็ออกจากรังไปหากินเองบ้างแต่ไปไม่นานก็ต้องกลับมากกไข่ต่อ ถ้าหากนกตัวเมียทิ้งรังไปนานเกินไปนกตัวผู้ก็จะบินออกไปขับไล่ให้นกตัวเมียกลับมากกไข่โดยเร็ว
หากใครสนใจจะอ่านเรื่องลูกนกกางเขน 4 ตัว นิด นิ่ม หน่อย น้อย (แต่ไม่ใช่ฉบับที่เป็นบทเรียนแท้ๆนะคะ) คลิกที่นี่ค่ะ
ข้อมูลจาก: //www.bird-home.com/
Create Date : 05 กันยายน 2548 | | |
Last Update : 13 พฤษภาคม 2552 18:53:02 น. |
Counter : 25983 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
นกจับแมลงสีน้ำตาล
นกจับแมลงสีน้ำตาล Muscicapa dauurica (asian brown flycatcher) :
The Asian Brown Flycatcher, Muscicapa dauurica, is a small passerine bird in the flycatcher family Muscicapidae.
This is an insectivorous species which breeds in Japan, eastern Siberia and the Himalayas. It is migratory and winters in tropical southern Asia from southern India and Sri Lanka east to Indonesia.
Asian Brown Flycatcher is a common bird found in open woodland and cultivated areas. It nests in a hole in a tree, laying four eggs which are incubated by the female.
This species is 13cm long, including the cocked tail. It is similar in shape to the larger Spotted Flycatcher, but is relatively longer-tailed. The dark bill is relatively large and broad-based.
The adult has grey-brown upperparts, which become greyer as the plumage ages, and whitish underparts with brown-tinged flanks. Young birds have scaly brown upperparts, head and breast
The male Asian Brown Flycatcher sings a simple melodic song during courtship.
This bird is parastised by the chewing louse Philopterus davuricae.
จาก ://en.wikipedia.org/

นกจับแมลงสีน้ำตาลเป็นนกอพยพในฤดูหนาวที่พบได้บ่อยมากๆ และพบได้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทย ตั้งแต่ป่าดงดิบ ป่าโปร่ง ชายป่า สวน ป่าชายเลน จากที่ราบจนถึงความสูง1500เมตรจากระดับน้ำทะเล มีส่วนน้อยเป็นนกประจำถิ่นทางภาคตะวันตก และทางตะวันตกของภาคเหนือซึ่งหาพบได้ค่อนข้างยาก
นกจับแมลงสีน้ำตาลที่เป็นนกอพยพนี้มีถิ่นทำรังวางไข่อยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ตะวันออกของไซบีเรีย และแถบเทือกเขาหิมาลัย เมื่อถึงฤดูหนาวก็จะหลบหนาวลงมายังเอเชียใต้จากตอนใต้ของอินเดีย ศรีลังกา และทางตะวันออกถึงประเทศอินโดนีเซีย

มีขนาดตัวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 13 ซม. โคนปากล่างสีเนื้อหรือสีเหลือง ปลายปากดำปลายปีกอยู่ที่ประมาณครึ่งหนึ่งของหาง ขนคลุมลำตัวด้านบนสีน้ำตาลอมเทา และขนคลุมลำตัวด้านล่างเป็นสีขาว บริเวณหน้าอกจะมีสีออกเทาๆ มีวงรอบตาสีขาว
สำหรับขนปีก ถ้าเป็นขนใหม่จะเห็นแถบสีขาวบริเวณปลายและขอบขนชัดเจน แต่ถ้าเป็นขนเก่าจะออกสีเทาๆและแถบสีขาวนี้อาจไม่ชัด

เราอาจพบนกจับแมลงได้ทั่วไปตามสวนสาธารณะหรือในป่า ในช่วงฤดูหนาว นกจับแมลงสีน้ำตาลชอบเกาะเด่นๆตามกิ่งไม้ และเมื่อโฉบไปจับแมลงกลับมาที่กิ่งจะขยับหาง แต่ไม่ชอบกระดกหางมากอย่างนกจับแมลงคอแดง
สำหรับนกจับแมลงตัวนี้ถ่ายภาพมาจากพุทธมณฑล จ.นครปฐม

ข้อมูล :
A Guide to the birds of Thailand โดย นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล และ Philip D. Round
คู่มือดูนก โดย รุ่งโรจน์ จุกมงคล
//en.wikipedia.org/
Create Date : 27 สิงหาคม 2548 | | |
Last Update : 13 พฤษภาคม 2552 18:58:09 น. |
Counter : 4111 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
| |
|
|