4.2 ประวัติศาสตร์เล็กน้อย
ตามประวัติศาสตร์มองโกเลียเล่าขาน ว่าเจงกีสข่านมีความตั้งใจและเป้าหมายที่รวมชนเผ่าเร่ร่อนทีมีหลายหลายวัฒนธรรมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และท่านข่านก็ทำสำเร็จแต่กว่าจะสำเร็จสมบูรณ์ก็จนถึงรุ่นหลาน จากนั้นก็มีความสัมพันธ์แบบสงครามกับประเทศจีนมาตลอด
รวมถึงช่วงหลังๆนั้นยังตกเป็นเมืองขึ้นของจีนช่วงราชวงศ์ชิงอีกด้วย

พอถึงปีค.ศ.๑๙๑๑ ประเทศมองโกเลียก็ประกาศอิสรภาพ แต่แน่นอนว่าประเทศจีนปฎิเสธ ในปีค.ศ.๑๙๒๑ มองโกเลียประกาศอิสรภาพอีกครั้งด้วยความช่วยเหลือจากประเทศรัสเซีย โดยมีผู้นำนายหนึ่งชื่อSükhbaatar ที่มีรูปปั้นตั้งอยู่ใน Sükhbaatar Square นี่เอง อีกทั้งยังเป็นบุคคลที่รัฐบาลมองโกเลียยกย่องให้มีรูปอยู่บนธนบัติ (อีกคนคือเจงกิสข่าน) แอบจัดตั้งกลุ่มลับๆเพื่อนประกาศอิสรภาพ แน่นอนว่าเขาทำสำเร็จ และประเทศมองโกเลียก็ได้ประกาศอิสรภาพในวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๑๙๒๑


โดยรัฐบาลเจียงไคเช็คที่ตอนนั้นย้ายถิ่นฐานไปที่ไต้หวันแล้ว ได้กล่าวว่า “ถ้ามองโกเลียต้องการอิสรภาพ เราจะให้โหวตลงคะแนน” ส่วนผลโหวตแน่นอนว่าชาวมองโกเลียต้องการอิสรภาพ๑๐๐เปอร์เซ็นต์

จากนั้นมองโกเลียก็เป็นประเทศคอมมินิส ประเทศมองโกเลียเป็นที่รู้จักครั้งแรกจากสหประชาชาติในปี๑๙๔๕ และในปี๑๙๘๙หลังจากที่ระบอบคอมมินิสในรัสเซียล่มสลาย มองโกเลียก็ประกาศอิสรภาพและประชาธิปไตย (Freedom and Democracy)

มีมุมเล็กๆมุมหนึ่งในพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับหนังสือเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า The secret of Mongolian History ซึ่งเป็นหนังสือที่กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของเจงกิสข่านในด้านลบ เช่นเขาได้ทำการฆาตกรรมพี่น้องเพื่อขึ้นครองเป็นข่าน โดยหนังสือเล่มนี้ไม่ปรากฎชื่อผู้เขียน และพบในห้องสมุดในประเทศจีนโดยชาวรัสเซีย แน่นอนว่าในตอนที่ยังเป็นคอมมินิสอยู่หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือต้องห้าม หลังจากที่เปลี่ยนแปลงระบอกการปกครอบรัฐบาลได้ประกาศให้หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือเรียนหลังจากนั้นเป็นหนังสือที่ทุกคนต้องมีไว้ที่บ้าน


เจงกิสข่านตามประวัติศาสตร์เป็นผู้นำหัวก้าวหน้า ซึ่งเป็นผู้ออกกฎหมายต่างๆเช่น กฎหมายสิ่งแวดล้อม ที่ห้ามทำลายแม่น้ำไม่ว่าจะเป็นการทิ้งสิ่งปฎิกูลหรือชำระสิ่งสรกปกในแม่น้ำโดยตรง หรือกฎหมายยกเว้นภาษีให้แก่ครูและนักบวช กฎหมายด้านเศรษฐกิจเช่นถ้าทำการค้าและล้มละลาย จากนั้นทำการค้าและล้มละลายอีก ติดต่อกันสามครั้งจะได้รับโทษประหารชีวิต กฎหมายดูแลครอบครัวของทหารที่เสียชีวิตในสงคราม และกฎหมายที่อนุญาตให้ประชาชนเลือกนับถือศาสนาใดๆก็ได้ตามต้องการ

หลังจากนั้นเราก็นัดเจอบูก้า บูก้าพาไปกินหมี่ผัดที่บอกว่าเป็นเป็นอาหารประจำชาติ แต่รสชาติคล้ายยากิโซบะ ราคาอาหารที่อุลาบาต๊อกออกตะแพงอยู่เหมือนกัน จานละเกือบร้อยบาทเหมือนกันแต่ขนาดจานก็ใหญ่มากด้วย สั่งจานเดียวอิ่มแน่นอน ไม่ต้องสั่ง2เหมือนตอนอยู่ไทย ส่วนอาหารทะเล ไม่ต้องพูดถึงเพราะไม่มีพรหมแดดติดกับทะเลเลย

ก่อนจะจบวันที่อุลาบาต๊อก เราส่งโปสการ์ดหาตัวเองซักหน่อย เราเลือกโปรสกาดที่มีหน้าตาเหมือนเจ้าหญิงลีอาในสตาร์วอร์ เจ้าหญิงหน้าขาว แก้มแดง ปากแดง (นิดเดียว) และก็ทรงผมอันเป็นเอกลักษณ์

พอพระอาทิตย์ลับข้อบฟ้าไป บูก้าก็พาเราเดินไปส่งถึงสถานรถไฟ ตอนแรกเรานึกว่าบูก้าพามาส่งแล้วก็กลับเลย เพราะบูก้ายังไม่ทานอาหารเย็น (ชวนไม่กิน) แต่แล้วบูก้าก็นั่งรอรถไฟเป็นเพื่อนเรา ร
ะหว่างนั้นเราก็นั่งคุยเรื่องต่างๆกันมากมาย ตั่งแต่ประชาธิปไตยในมองโกเลีย ระบอบการศึกษา เรื่องที่บูก้าชกต่อยกับเพื่อนตอนที่เค้ายังเป็นเด็กนักเรียน ชีวิตของชายหนุ่มมองโกเลียนที่ต้องรู้จักกับม้าตั่งแต่อายุเริ่มเข้าสี่ขวบ สภาพอากาศ และอื่นๆอีกมากมาย เราจำได้ว่า มันเป็นบทสนทาที่ดีมาก 

และคืนนั้นเอง เราค่อยๆซึมซับทุกความสุขใจ ที่เกิดขึ้นจากบทสนทนา เพราะเรารู้อยู่ในใจว่า..นี่อาจเป็นบทสนทาครั้งสุดท้ายที่เราจะได้สัมผัสระหว่างการเดินทาง





Create Date : 13 มิถุนายน 2555
Last Update : 24 กรกฎาคม 2556 16:00:53 น.
Counter : 759 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อย่าลังเล
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]